พันงูน้อย
เผยแพร่เมื่อ 16-07-2020 ผู้ชม 2,216
[16.4258401, 99.2157273, พันงูน้อย]
พันงูน้อย ชื่อวิทยาศาสตร์ Achyranthes bidentata Blume (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Achyranthes bidentata var. longifolia Makino)[2] จัดอยู่ในวงศ์บานไม่รู้โรย (AMARANTHACEAE)
สมุนไพรพันงูน้อย ยังมีชื่อตามท้องถิ่นอื่น ๆ อีกว่า หญ้าพันงูน้อย พันธุ์งูเล็ก พันงูเล็ก หญ้าพันงูเล็ก ควยงูน้อย (ไทย), หงู่ฉิก (จีนแต้จิ๋ว), หนิวชี (จีนกลาง) เป็นต้น
ลักษณะของพันงูน้อย
- ต้นพันงูน้อย จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุกขนาดเล็ก มีความสูงของต้นประมาณ 30-100 เซนติเมตร มีรากอยู่ใต้ดินยาวเล็ก มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 0.6-1 เซนติเมตร ลักษณะของลำต้นจะคล้ายกับหญ้าพันงูขาว แต่ก้านค่อนข้างเป็นสี่เหลี่ยมและมีสีน้ำตาลเหลือง
- ใบพันงูน้อย ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงเป็นคู่ ลักษณะของใบเป็นรูปไข่กว้าง ปลายใบและโคนใบแหลม ส่วนขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 1-5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 2-10 เซนติเมตร แผ่นใบเป็นสีเขียว ผิวใบเรียบ ใบมีขนปกคลุมเล็กน้อย ก้านใบยาวประมาณ 5-20 มิลลิเมตร
- ดอกพันงูน้อย ดอกมีขนาดเล็กสีเขียวมีสีขาวปนแดง โดยจะออกที่ง่ามใบและปลายกิ่ง มีกาบใบช่อดอก 1 ใบ ก้านช่อดอกกลมและตั้งตรง ยาวประมาณ 15-20 เซนติเมตร กลีบดอกยาวประมาณ 3-5 มิลลิเมตร มีกลีบ 5 กลีบ กลีบเลี้ยง 2 กลีบ ลักษณะเป็นรูปแหลม ดอกมีเกสรเพศผู้ 5 อัน มีรังไข่ 2 อัน
- ผลพันงูน้อย ผลมีลักษณะเป็นรูปทรงกลมรี ยาวประมาณ 2-5 มิลลิเมตร ผิวผลเรียบมัน ภายในมีเมล็ด 1 เมล็ด[1]
สรรพคุณของพันงูน้อย
- เหง้าหรือราก (บางที่ก็ใช้ทั้งต้น) มีรสชุ่มเปรี้ยวเล็กน้อย เป็นยาสุขุมไม่มีพิษ ออกฤทธิ์ต่อตับและไต ใช้เป็นยากระจายโลหิต (ราก)
- ทั้งต้นมีสรรพคุณช่วยลดความดันโลหิตสูง (ราก)
- ใช้เป็นยาแก้คอบวม คอเจ็บ (ราก)
- ตำรับยาแก้คอตีบ ระบุให้ใช้รากหญ้าพันงูน้อยสด รากครอบฟันสีสด 30 กรัม และรากว่านหางช้างพอสมควร นำมาตำคั้นเอาแต่น้ำมาผสมกับปัสสาวะให้เด็กรับประทาน (ราก)
- ช่วยแก้อาการปวดท้องน้อยหลังการคลอดบุตรของสตรี (ราก)
- ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ (ราก)
- ช่วยแก้ปัสสาวะเป็นเลือด (ราก)
- ใช้แก้สตรีที่มีประจำเดือนมาไม่เป็นปกติ หรือมีเลือดคั่งในมดลูก หรือเลือดอุดตันในมดลูก ให้ใช้หญ้าพันงูน้อยทั้งต้นสด 30-50 กรัม นำมาต้มกับเหล้าขาวรับประทาน (ราก)
- ใช้เป็นยาบำรุงตับ บำรุงไต (ราก)
- ใช้เป็นยาแก้ฝีบวม (ราก)
- ช่วยแก้อาการฟกช้ำ (ราก)
- ช่วยแก้อาการปวดตามร่างกาย ปวดหลัง ปวดเอว (ราก)[1]ส่วนตำรายาพื้นบ้านล้านนาจะใช้รากพันงูน้อยหรือรากพันงูขาว รากพันงูแดง แลกรากเดือยหิน นำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้ปวดหลัง (ราก)
- ใช้แก้อาการปวดขาและหัวเข่า ด้วยการใช้หญ้าพันงูน้อย 20 กรัม, มะละกอจีน 12 กรัม, หลักหั่ง 12 กรัม นำไปบดให้เป็นผงปั้นเป็นยาลูกกลอนรับประทาน (ทั้งต้น)
- ช่วยแก้อาการมือเท้าเป็นเหน็บชา (ราก)
หมายเหตุ : การนำมาใช้เป็นยาตาม [1] ในส่วนของรากหรือเหง้า (บางที่ก็ใช้ทั้งต้น) ให้ใช้ต้นแห้งครั้งละ 10-20 กรัม นำมาต้มกับน้ำดื่ม[1] หญ้าพันงูน้อยและหญ้าพันงูขาว สามารถนำมาใช้แทนกันได้
ข้อห้ามในการใช้สมุนไพรพันงูน้อย
- ผู้ที่มีพลังหย่อนหรือพร่อง หรือสตรีมีครรภ์ หรือมีประจำเดือนมามากเกินควร ห้ามรับประทานสมุนไพรชนิดนี้
ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของพันงูน้อย
- สารที่พบ ได้แก่โพแทสเซียม และสารจำพวก Alkaloid เช่น Oleanolic acid, ส่วนรากและเมล็ดพบสาร Ecdysterone, Innokosterone เป็นต้น[1]
- สารที่สกัดได้จากหญ้าพันงูน้อยมีผลต่อการหดเกร็งตัวของมดลูกของกระต่าย ไม่ว่าจะตั้งครรภ์หรือไม่ก็ตาม และมีผลต่อการหดเกร็งตัวของมดลูกที่อยู่นอกตัวของหนูทดลองอีกด้วย แต่จะมีฤทธิ์กระตุ้นการหดเกร็งตัวของมดลูกของแมวน้อยกว่า แสดงว่าหญ้าพันงูน้อยจะออกฤทธิ์ต่อมดลูกของสัตว์ทดลองแต่ละชนิดแตกต่างกันออกไป[1]
- เมื่อนำสารที่สกัดได้จากหญ้าพันงูน้อยหรือน้ำที่ต้มกับหญ้าพันงูน้อยมาฉีดเข้าทางเส้นเลือดดำของสัตว์ทดลอง พบว่าสามารถทำให้ความดันโลหิตลดลง และทำให้การหายใจถี่ขึ้น[1]
- เมื่อนำน้ำที่ต้มกับหญ้าพันงูน้อย มาฉีดเข้าทางท้องน้อยของสัตว์ทดลอง พบว่าสามารถแก้ปวดได้ แต่จะมีฤทธิ์น้อยกว่ามอร์ฟีนมาก[1]
คำสำคัญ : พันงูน้อย
ที่มา : https://medthai.com/
รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). พันงูน้อย. สืบค้น 20 เมษายน 2568, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1748&code_db=610010&code_type=01
Google search
กรรณิการ์ หรือกันลิกา (Night Blooming Jasmine, Night Jasmine) นั้นเป็นพืชจำพวกต้นชนิดหนึ่งซึ่งมีอยู่ทั้งในอินเดีย ชวา สุมาตรา รวมทั้งไทยด้วย โดยของไทยเราจะมีกรรณิการ์อยู่ 2 ชนิดด้วยกัน ได้แก่ กรรณิการ์ที่มักนำมาปลูกเป็นไม้ประดับอย่าง Nyctanthes arbor-tristis L. ส่วนกรรณิการ์อีกชนิดหนึ่งนั้นได้สูญพันธุ์ไปจากไทยแล้วคือ Nyctanthes Aculeate Craib ซึ่งเป็นที่น่าเสียดายมาก
เผยแพร่เมื่อ 28-04-2020 ผู้เช้าชม 7,669
คำฝอยเป็นไม้ล้มลุก ลำต้นสูงประมาณ 40-130 ซม. มีลำต้นเป็นสัน แตกกิ่งก้านสาขามาก เป็นใบเดี่ยว ลักษณะแบบเรียงสลับ รูปทรงรี ขอบใบหยักเป็นฟันเลื่อย บริเวณปลายเป็นหนามแหลม ออกดอกเป็นช่อ ดกช่อ ออกดอกที่ปลายยอด และมีดอกย่อยขนาดเล็กๆ จำนวนมาก เมื่อบานใหม่ๆ กลีบดอกมีสีเหลือง แล้วจึงค่อยๆ เปลี่ยนเป็นสีแดง ใบประดับแข็งเป็นหนามคอยรองรับช่อดอก ส่วนผลแห้ง ไม่แตก เมล็ดรูปทรงสามเหลี่ยมเล็กเป็นสีขาว
เผยแพร่เมื่อ 29-04-2020 ผู้เช้าชม 2,477
ผักเสี้ยนผี จัดเป็นไม้ล้มลุก มีความสูงได้ประมาณ 1 เมตร ที่ส่วนต่าง ๆ ของต้นจะมีต่อมขนเหนียวสีเหลืองปกคลุมอยู่หนาแน่น มีกลิ่นเหม็นเขียว มีเขตกระจายพันธุ์กว้างขวาง พบได้ทั่วไปในทวีปเอเชีย แอฟริกา และออสเตรเลีย สำหรับในประเทศไทยมักจะพบขึ้นได้ตามข้างถนนหรือที่รกร้าง ตามริมน้ำลำธาร บางครั้งก็อาจพบได้บนเขาหินปูนที่แห้งแล้งหรือตามชายป่าทั่วๆ ไป
เผยแพร่เมื่อ 13-07-2020 ผู้เช้าชม 16,976
ผักเสี้ยน จัดเป็นไม้ล้มลุก มีความสูงประมาณ 30-15 เซนติเมตร ส่วนต่างๆ ของต้นมีขนปกคลุม ส่วนรากเป็นรากแก้ว และรากแขนงจำนวนมาก ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด โดยมีถิ่นกำเนิดและมีเขตการกระจายพันธุ์อยู่ทั่วไปในทวีปเอเชีย (รวมทั้งไทย) และแอฟริกา สำหรับในประเทศไทย แหล่งที่พบผักเสี้ยน มักพบขึ้นเป็นวัชพืชตามท้องไร่ปลายนา ที่รกร้างว่างเปล่าทั่วไป และริมลำธาร
เผยแพร่เมื่อ 13-07-2020 ผู้เช้าชม 17,768
มะเดื่อหอม จัดเป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก มีน้ำยางสีขาว ลำต้นมีความสูงได้ถึง 10 เมตร ไม่ค่อยแตกกิ่ง ลำต้นและกิ่งก้านมีขนแข็งและสากคาย มีสีน้ำตาลแกมสีเหลืองอ่อน เมื่อแก่ลำต้นจะกลวง ที่ตาดอกและใบอ่อนมีขนขึ้นหนาแน่น มีรากเก็บสะสมอาหารเป็นหัวอยู่ใต้ดิน มีกลิ่นหอม ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดและวิธีการปักชำกิ่ง พบขึ้นตามป่าดิบแล้ง ป่าละเมาะ ป่าโปร่ง และที่โล่งแจ้ง มีเขตการกระจายพันธุ์ในประเทศศรีลังกา จีนตอนใต้ เอเชียใต้ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เผยแพร่เมื่อ 13-07-2020 ผู้เช้าชม 3,897
หากเอ่ยถึงเรื่องของอาหารเพื่อสุขภาพ แน่นอนว่าเมนูเห็ดย่อมเป็นหนึ่งในอาหารที่หลายๆ คนคิดถึงกันเป็นอันดับแรกๆ ด้วยความที่เห็ดนั้นเป็นอาหารที่มีรสชาติอร่อยถูกปาก ที่ปราศจากไขมัน แคลอรีต่ำ แถมยังมีปริมาณโซเดียมหรือเกลือน้อยมากๆ อีกด้วย เหมาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่ร่างกายอ่อนแอหรือกำลังลดน้ำหนักกันอยู่ และสามารถนำมาประกอบอาหารรับประทานกันได้หลากหลายเมนูมากๆ จึงทำให้หลายๆคนต่างติดใจในเมนูเห็ดกันอย่างมากมาย
เผยแพร่เมื่อ 12-05-2020 ผู้เช้าชม 16,342
ผักกาดหัวตามตำราจีนนั้นถือว่ามีฤทธิ์เป็นยาเย็น แต่มีรสเผ็ดร้อน ซึ่งถือว่าผักชนิดนี้มีประโยชน์อย่างมากต่อการทำงานของปอด กระเพาะอาหาร ลำไส้ใหญ่ ช่วยดับกระหายคลายร้อน แก้อาการไอเรื้อรัง มีเสมหะมาก อาหารไม่ย่อย ท้องอืด ท้องเฟ้อ ท้องผูก ซึ่งหากรับประทานผักกาดหัวไปสักระยะหนึ่งแล้วอาการต่างๆ เหล่านี้ก็จะได้รับการบรรเทาให้ดีขึ้น เนื่องจากมีฤทธิ์เป็นยาเย็น จึงไม่ควรที่จะรับประทานหัวผักกาดกับยาหรือสมุนไพรที่มีฤทธิ์ร้อนอย่างโสมหรือตังกุย เพราะมันอาจจะไปสะเทินฤทธิ์กันเอง ทำให้โสมหรือตังกุยออกฤทธิ์ไม่ดีเท่าที่ควร แต่อย่าเข้าใจผิดไปว่าหัวผักกาดนี้มันจะไปทำลายฤทธิ์ของยาหรือสมุนไพรอื่นๆ ทั้งหมด และการรับประทานหัวผักกาดนั้นจะรับประทานสุกหรือดิบก็ได้ แต่การรับประทานแบบดิบ ๆ นั้นจะมีประโยชน์ต่อร่างกายมากกว่า
เผยแพร่เมื่อ 10-07-2020 ผู้เช้าชม 5,783
ตะแบกนา (ตะแบกไข่, เปื๋อยนา, เปื๋อยหางค่าง) เป็นต้นไม้ผลัดใบ สูง 15 - 30 เมตร ใบเดี่ยว ออกตรงข้ามหรือเยื้องกันเล็กน้อยใบอ่อนสีแดงมีขนสั้นอ่อนนุ่มปกคลุม ใบแก่ขนจะหลุดหายไป แผ่นใบรูปขอบขนานแกมรูปหอก กว้าง 5 - 7 เซนติเมตร ยาว 12 - 20 เซนติเมตร ปลายใบเป็นติ่งแหลม โคนสอบ ดอกสีม่วงอมชมพูต่อมาเปลี่ยนเป็นสีขาวหรือเกือบขาว ออกรวมกันเป็นช่อตามปลายกิ่ง ผล รูปรี ยาวประมาณ 2 เซนติเมตร ออกดอก กรกฎาคม - กันยายน ไม่แน่นอนแล้วแต่สภาพพื้นที่และสิ่งแวดล้อม เก็บเมล็ดได้ประมาณเดือน ธันวาคมขึ้นไป ผลแก่ จะแตกเพื่อโปรยเมล็ดในราวเดือน มีนาคม การขยายพันธุ์โดยเมล็ด
เผยแพร่เมื่อ 16-02-2017 ผู้เช้าชม 2,465
ต้นกระดอมเป็นไม้เถา ลำต้นเป็นร่อง และมีมือเกาะ (tendril) ใบกระดอมเป็นใบเดี่ยว เรียงสลับ มีรูปร่างต่างๆ กัน มีตั้งแต่รูปไตจนถึงรูปสามเหลี่ยม ห้าเหลี่ยม หรือเป็นแฉก โคนเว้าลึกเป็นรูปหัวใจ โคนใบเว้าลึกเป็นรูปหัวใจ ดอกกระดอมดอกแยกเพศ อยู่บนต้นเดียวกัน ใบประดับยาว 5-2 ซม. ขอบจักเป็นแฉกลึกแหลม ดอกเพศผู้ออกเป็นช่อ กลีบเลี้ยงติดกันเป็นหลอดยาว ปลายแยกเป็นแฉกรูปใบหอก 5 แฉก กลีบดอก 5 กลีบ สีขาว โคนติดกันเล็กน้อย เกสรเพศผู้ 3 อัน ดอกเพศเมียออกเดี่ยวๆ กลีบเลี้ยง และกลีบดอกมีลักษณะเหมือนดอกเพศผู้ รังไข่มีช่อเดียว ยอดเกสรเพศเมียแยกเป็น 3 แฉก
เผยแพร่เมื่อ 13-05-2020 ผู้เช้าชม 4,080
ผักกระเฉด จัดเป็นพืชที่เกิดตามผิวน้ำ ลำต้นเป็นเถากลม เนื้อนิ่ม ลักษณะของใบจะคล้ายกับใบกระถิน โดยใบจะหุบในยามกลางคืน จึงเป็นที่มาของชื่อ "ผักรู้นอน" ระหว่างข้อจะมีปอดเป็นฟองสีขาวหุ้มลำต้นที่เรียกว่า "นมผักกระเฉด" ซึ่งทำหน้าที่ช่วยพยุงให้ผักกระเฉดลอยน้ำได้นั่นเอง และยังมีรากงอกออกมาตามข้อซึ่งจะเรียกว่า "หนวด" ลักษณะของดอกจะเป็นช่อเล็ก ๆ สีเหลือง และผลจะมีลักษณะเป็นฝักโค้งงอเล็กน้อย แบน มีเมล็ดประมาณ 4-10 เมล็ด คุณค่าทางโภชนาการของผักกระเฉด 100 กรัมจะมี ธาตุแคลเซียม 123 มิลลิกรัม ซึ่งถือว่าสูงมาก นอกจากนี้ยังประกอบไปด้วย เส้นใย ธาตุเหล็ก ธาตุฟอสฟอรัส วิตามินเอ เบตาแคโรทีน วิตามินบี 3 วิตามินซี อีกด้วย
เผยแพร่เมื่อ 04-06-2020 ผู้เช้าชม 8,356