ชบา
เผยแพร่เมื่อ 26-05-2020 ผู้ชม 12,332
[16.4258401, 99.2157273, ชบา]
ชบา ชื่อสามัญ Shoe flower, Hibiscus, Chinese rose
ชบา ชื่อวิทยาศาสตร์ Hibiscus rosa-sinensis L. จัดอยู่ในวงศ์ชบา (MALVACEAE)
ชบา มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ชุมเบา (ปัตตานี), ใหม่ ใหม่แดง (ภาคเหนือ), บา (ภาคใต้) เป็นต้น โดยต้นชบานั้นมีต้นกำเนิดในประเทศจีน อินเดีย และในหมู่เกาะฮาวาย
ลักษณะของดอกชบา :
มีลักษณะเป็นไม้พุ่มขนาดกลาง ใบค่อนข้างมนรี มีปลายแหลม ขอบของใบเป็นจักเล็กน้อย และมีสีเขียวเข้ม เมื่อขยี้ใบจะเป็นเมือกเหนียว ลักษณะดอกชบา มีทั้งกลีบชั้นเดียวและหลายชั้น หากเป็นชั้นเดียวปกติจะมีกลีบดอก 5 กลีบ มีก้านเกสรอยู่ตรงกลางดอกหนึ่งก้าน ลักษณะของกลีบดอกชบาจะมีขนาดใหญ่ มีหลายสีไม่ว่าจะเป็น ขาว แดง แสด เหลือง ม่วง ชมพู และสีอื่น ๆ โดยดอกชบาแบ่งออกเป็น 3 ลักษณะคือ ดอกบานเป็นรูปถ้วย, ดอกบานเป็นรูปแผ่แบน, กลีบดอกบานแบบแผ่โค้ง และขยายพันธุ์ด้วยการปักชำ การติดตา และการเสียบยอด
ประวัติดอกชบา
ความเชื่อของคนโบราณในบ้านเรานั้นยังมีอคติกับดอกชบาอยู่ อาจเป็นเพราะเราได้รับดอกชบามาจากอินเดีย จึงได้รับความเชื่อของคนอินเดียมาด้วย เพราะในอินเดียนั้นดอกชบาจะนำมาใช้บูชาเจ้าแม่กาลี และนำมาร้อยพวงมาลัยสวมคอนักโทษประหาร และความหมายของดอกชบาในสมัยสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯ จะใช้ดอกชบาไว้สำหรับลงโทษและประจานผู้หญิงร้ายหรือผู้หญิงแพศยา ด้วยการนำดอกชบามาทัดหูทั้ง 2 ข้าง และร้อยดอกชบาแดงเป็นมาลัยใส่ศีรษะและใส่คอ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้คนโบราณไม่นิยมใช้และมีอคติกับดอกชบานั่นเอง
แต่ความสวยงามของดอกชบานั้น ในต่างประเทศให้สมญานามดอกชบาว่าเป็น ราชินีแห่งไม้ดอกเมืองร้อน (Queen of tropic flower) เลยทีเดียว และยังจัดเป็นดอกไม้ประจำชาติของประเทศมาเลเซีย จาไมก้า รวมไปถึงรัฐฮาวายอีกด้วย ซึ่งเป็นที่ได้รับความนิยมอย่างมากในการนำมาทัดหูหรือแซมผม
สรรพคุณของดอกชบา
1. มีส่วนช่วยบำรุงผิวพรรณ ช่วยบำรุงจิตใจให้สดชื่นแจ่มใส
2. ช่วยฟอกโลหิต
3. ช่วยรักษาและบรรเทาอาการของโรคที่เกี่ยวกับไต
4. ช่วยดับร้อนในร่างกาย แก้กระหาย และช่วยแก้ไข้ ด้วยการใช้ดอกชบา 4 ใบนำมาแช่ในน้ำต้มสุก 2 แก้วแล้วดื่มต่างน้ำ (ดอก)
5. ช่วยเรียกน้ำย่อย ทำให้อาการมีรสชาติดีขึ้น ด้วยการใช้รากชบาน้ำไปต้มกับน้ำดื่ม
6. ช่วยแก้ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ มีระดูขาว ด้วยการใช้ดอกชบาสดประมาณ 4 ดอกนำมาตำให้ละเอียด แล้วกินตอนท้องว่างในช่วงเช้าติดต่อกันประมาณ 1 สัปดาห์ หรือจะนำดอกชบา
มาตากให้แห้งในที่ร่ม แล้วนำมาบดเป็นผงกินครั้งละ 1 ช้อนชาติดต่อกัน 1 สัปดาห์ (ดอก)
7. ช่วยแก้ประจำเดือนไม่มา หรือมาช้า ด้วยการใช้ดอกชบา 3 ดอกนำมาบดให้ละเอียด แล้วผสมกับน้ำมะนาว 2 ช้อนโต๊ะ (หรือจะผสมกับนม 1 แก้วก็ได้) แล้วนำมาดื่มตอนท้องว่างในช่วง
เช้า จะช่วยปรับเรื่องประจำเดือนได้ (ดอก)
8. ใช้ปรุงเป็นยาบำรุงประจำเดือน ด้วยการใช้กลีบดอกชบาผสมกับน้ำตาลอ้อยหรือน้ำตาลปี๊ปอย่างละเท่า ๆ กัน ใส่ลงไปในโถแก้วมีฝาปิด แล้วเอาโถแก้วไปตากแดดทิ้งไว้ประมาณ 3
สัปดาห์ น้ำตาลก็จะละลายผสมกับดอกชบา แล้วยำมากินครั้งละ 2 ช้อนชา วันละสองครั้งติดต่อกันประมาณ 3 สัปดาห์ (ดอก)
9. ใบชบาสามารถช่วยรักษาแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวกได้ ด้วยการใช้ใบชบาหรือฐานของดอกชบาก็ได้ นำมาตำให้แหลก แล้วนำมาพอกบริเวณที่เป็นแผล ก็จะช่วยรักษาแผลได้ (ใบ)
10. เปลือกต้นชบาสามารถใช้รักษาโรคผิวหนังที่เกิดจากเชื้อราได้ (เปลือก)
11. รากสด ๆ ของชบาพันธุ์ดอกขาวหรือแดง นำมาตำละเอียดใช้พอกฝีได้ (ราก)
12. ช่วยแก้อาการฟกช้ำบวม ด้วยการใช้รากสดของชบาพันธุ์ดอกขาวหรือแดงนำมาตำให้ละเอียด ใช้พอกแก้อาการฟกช้ำ (ราก)
13. ใบชบาช่วยบำรุงผมให้ดกดำเงางาม ด้วยการใช้ใบชบาประมาณ 1 กำมือ ล้างให้สะอาด แล้วนำมาตำให้แหลก เติมน้ำเล็กน้อย ให้คั้นเอาแต่น้ำแล้วกรองกากทิ้ง หลังจากนั้นให้ใช้น้ำ
เมือกจากใบชบามาใช้สระผม จะช่วยชำระล้างสิ่งสกปรกและช่วยบำรุงผมด้วย (ใบ)
14. สามารถนำมาใช้ทำเป็นสีย้อมผ้าได้ โดยจะให้สีดำ เพราะในอดีตมีการนำมาใช้ย้อมผม ย้อมขนตา หรือนำไปทารองเท้า (จึงเป็นที่มาของ Shoe flower หรือดอกรองเท้านั่นเอง) (ดอก)
15. เปลือกของต้นชบาสามารถนำมาใช้ทำเป็นเชือก หรือใช้ทอกระสอบได้อีกด้วย (เปลือก)
16. ต้นชบานิยมปลูกไว้เป็นแนวรั้วเพื่อชมดอก เพราะนอกจากจะให้ความสวยงามแล้วยังปลูกง่าย แข็งแรง และตายยากอีกด้วย (ต้นชบา)
17. ดอกเหมาะสำหรับนำมาร้อยเป็นพวงมาลัย เพราะมีสีสดใสและดอกโต (หากไม่ยึดติดกับอคติในอดีต) เป็นดอกไม้ที่ทัดหูได้งดงามอีกชนิดหนึ่งเลยล่ะครับ
คำสำคัญ : ชบา
ที่มา : ้https://medthai.com/
รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). ชบา. สืบค้น 9 ธันวาคม 2566, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1600&code_db=610010&code_type=01
Google search
ต้นกระโดนไม้ยืนต้น ขนาดกลาง ผลัดใบ สูง 10-20 เมตร เปลือกต้นสีดำ หรือสีน้ำตาลดำหนา แตกล่อนเป็นแผ่น มีกิ่งก้านสาขามาก เนื้อไม้สีแดงเข้มถึงสีน้ำตาลแกมแดง เรือนยอดเป็นพุ่มกลม แน่นทึบ เปลือกหนา แตกล่อน ใบกระโดนเป็นใบเดี่ยว เรียงสลับเวียนเป็นกลุ่มตามปลายกิ่ง รูปไข่กลับ กว้าง15-25 เซนติเมตร ยาว 30-35 เซนติเมตร ปลายใบมน มีติ่งแหลมยื่น ฐานใบสอบเรียว ขอบใบหยักเล็กน้อยตลอดทั้งขอบใบ ผิวใบทั้งสองด้านเกลี้ยง เนื้อใบหนา ค่อนข้างนิ่ม ก้านใบอวบ ยาว 2-3 เซนติเมตร หน้าแล้งใบแก่ท้องใบเป็นสีแดง แล้วทิ้งใบเมื่อออกใบอ่อน ยอดอ่อนเป็นสีน้ำตาลแดง
เผยแพร่เมื่อ 13-05-2020 ผู้เช้าชม 4,787
งิ้วจัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกว้างถึงขนาดใหญ่ ลักษณะของต้นเป็นรูปทรงพุ่มเป็นรูปไข่ มีความสูงของลำต้นประมาณ 15-25 เมตร (บ้างว่าสูงประมาณ 25-30 เมตร) และความกว้างของทรงพุ่มประมาณ 15 เมตร ลำต้นมีลักษณะเปลาตรงและมีหนามอยู่ทั่วลำต้นและกิ่ง เห็นข้อปล้องไม่ชัดเจน ต้นอ่อนจะเป็นสีเขียวอ่อน เมื่อแก่จะเป็นสีเขียวเข้ม ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เมล็ด โดยจะพบขึ้นในที่ราบและตามป่าเบญจพรรณ
เผยแพร่เมื่อ 25-05-2020 ผู้เช้าชม 10,958
ลักษณะทั่วไป เป็นต้นไม้ล้มลุก เป็นไม้พันอาศัย หรือเถาทอดเลื้อย ไปตามพื้นดิน ปลายยอดตั้งขึ้นลำต้นสีเขียวมีข้อเป็นปม มีไหลงอกเป็นต้นใหม่ได้ ใบเป็นใบเดี่ยว สีเขียวเข้ม เรียงสลับ รูปหัวใจ ผิวใบมัน มีเส้นแขนงใบชัดเจน มีกลิ่นหอม และมีรสเผ็ดเล็กน้อย ดอกเป็นช่อออกตามใบรูปทรงกระบอก ห้อยเป็นสาย มีดอกฝอย ขนาดเล็ก แยกเพศ กลีบดอกสีขาว ผลเป็นผลสดสีเขียว ลักษณะกลมผิวมัน ชอบขึ้นอยู่ตามที่ชื้นบริเวณโคนต้นไม้ใหญ่ในที่ร่ม การขยายพันธุ์ โดยการปักชำ แตกหน่อ ตำรายาไทยใช้ทั้งต้นขับเสมหะ ใบเป็นยาขับลม ช่วยเจริญอาหาร ขับเสมหะ รากบำรุงธาตุ นำไปรับประทานเป็นผัก
เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 1,351
ต้นไฟเดือนห้า จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุก มีอายุหลายปี ลำต้นมีความสูง อาจสูงได้ถึง 1 เมตร ตามกิ่งอ่อนและก้านดอกมีขน กิ่งและก้านมียางสีขาวคล้ายน้ำนมอยู่ภายใน มีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกาเขตร้อน ถูกนำเข้ามาปลูกและขยายพันธุ์ในประเทศไทยนานแล้ว โดยขึ้นเป็นวัชพืชทั่วไป ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้าม ก้านใบสั้น ลักษณะของใบเป็นรูปใบหอกยาวหรือรูปขอบขนานแกมรูปใบหอก ปลายแหลม ขอบใบเรียบ ออกดอกเป็นช่อกระจุกที่ง่ามใบและที่ปลายกิ่ง ก้านช่อดอกยาว มีขนสั้นนุ่มปกคลุม ดอกเป็นสีแดง กลีบดอกมีลักษณะพับงอ และมีรยางค์รูปมงกุฎหรือกระบังรอบสีเหลืองหรือส้มยื่นออกมา ดอกหนึ่งจะมีกลีบดอก 5 กลีบ มีเกสรเพศผู้ 5 อัน
เผยแพร่เมื่อ 09-07-2020 ผู้เช้าชม 2,927
ต้นกระพี้จั่นเป็นไม้ต้น ขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ผลัดใบ สูง 8-20 เมตร เรือนยอดทรงกลม โคนต้นเป็นพูพอน เปลือกสีน้ำตาลหรือ น้ำตาลเทาแตกเป็นสะเก็ดเล็กๆ ตามกิ่งมีรอยแผลทั่วไป ใบกระพี้จั่นประกอบรูปขนนก ออกเวียนสลับ มีใบย่อย 7-21 ใบ แผ่นใบย่อยรูปรีแกมขอบขนาน กว้าง 1-3 เซนติเมตร ยาว 3-7 เซนติเมตร ปลายใบเรียวแหลม โคนมนหรือแหลม แผ่นใบบาง
เผยแพร่เมื่อ 13-05-2020 ผู้เช้าชม 8,907
ลักษณะทั่วไป เป็นพืชล้มลุก สามารถเจริญเติบโตโดยอยู่ข้ามปีได้ มีลำต้นทอดเลื้อยไปตามพื้นดิน ลำต้นกลม เรียบหรือมีขนเล็กน้อย อวบน้ำ จะชูส่วนปลายยอด แตกแขนงบริเวณโคนต้น รากฝอยแตกออกตามข้อของลำต้น ใบเป็นใบเดี่ยวออกจากลำต้นแบบสลับ ใบรูปร่างยาวรีรูปหยก ปลายใบแหลมไม่มีก้านใบ ฐานใบเรียวและแผ่ออกเป็นกาบห่อหุ้มลำต้น ใบกว้าง 1-2 ซม. ยาว 4-7 ซม. ดอกออกเป็นช่อชนิดไซม์ บนก้านช่อดอกจะมีใบประดับดอก สีเขียวคล้ายใบเป็นแผ่นกลม หรือรูปหัวใจห่อหุ้มดอกเอาไว้ ช่อดอกแตกออกเป็น 2 กิ่ง กิ่งบนมีดอกย่อย 1-3 ดอก ก้านดอกยาว กิ่งล่างมีดอกย่อย 2-5ดอก ก้านดอกสั้น ดอกย่อยแต่ละดอกจะมีกลีบดอกด้านล่าง มีเกสรตัวผู้ 6 อัน เป็นหมัน 4 อัน เกสรตัวเมียมีท่อรังไข่ยาวสีขาว
เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 4,651
ขิงเป็นไม้ล้มลุก มีเหง้าอยู่ใต้ดินสีน้ำตาลอมเหลือง ส่วนเนื้อในจะเป็นสีนวลๆ มีกลิ่นอันเป็นเอกลักษณ์ของขิง ขึ้นโดยการแทงหน่อหรือลำต้นเทียมขึ้นมาบนดิน ส่วนใบเป็นใบเดี่ยวออกแบบเรียงสลับกันเป็นรูปขอบขนาน แผ่นใบสีเขียวเข้ม ขอบเรียบ และดอกนั้นจะออกเป็นช่อสีเหลืองอมเขียว แทงออกมาจากเหง้าใต้ดิน ส่วนผลจะมีลักษณะกลมและแห้ง ข้างในมีเมล็ดมากมาย
เผยแพร่เมื่อ 29-04-2020 ผู้เช้าชม 3,706
เพชรสังฆาต เป็นไม้เถา เถาอ่อนสีเขียวเป็นสี่เหลี่ยมเป็นข้อต่อกัน ใบเป็นใบเดี่ยวรูปสามเหลี่ยม แผ่นใบเรียบสีเขียวเป็นมัน ออกเรียงสลับตามข้อต้น ปลายใบมน โคนใบเว้า ขอบใบหยักมนห่าง ๆ ก้านยาว ดอกเป็นสีเขียวอ่อน ออกเป็นช่อตามข้อตรงข้ามกับใบ กลีบดอกมี 4 กลีบ โคนด้านนอกสีแดง ด้านในเขียวอ่อน เมื่อดอกบานเต็มที่จะงองุ้มไปด้านล่าง ผลเป็นรูปทรงกลม ผิวเรียบเป็นมัน ผลอ่อนสีเขียว ผลสุกสีแดงออกดำ โดยส่วนที่นำมาใช้เป็นยาสมุนไพร ได้แก่ เถา ราก ใบยอดอ่อน และน้ำจากต้น
เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 3,182
ต้นมะกล่ำเผือก จัดเป็นไม้เถาเลื้อยพาดพันกับต้นไม้อื่นหรือเลื้อยบนพื้นดิน ยาวประมาณ 50-100 เซนติเมตร ลำต้นแตกกิ่งก้านมากเป็นพุ่มทึบ สีน้ำตาลเข้มอมสีม่วงแดง ก้านเล็กปกคลุมด้วยขนสีเหลืองบาง ๆ เถามีลักษณะกลมเป็นสีเขียว รากมีลักษณะกลมใหญ่ ยาวประมาณ 60 เซนติเมตร มีเขตการกระจายพันธุ์ในจีน ภูฏาน เนปาล อินเดีย บังกลาเทศ ศรีลังกา พม่า ฟิลิปปินส์ ปาปัวนิวกินี ภูมิภาคอินโดจีนและมาเลเซีย โดยมักขึ้นกระจายทั่วไปตามป่าดิบชื้นและป่าดิบแล้งระดับต่ำ
เผยแพร่เมื่อ 10-07-2020 ผู้เช้าชม 1,962
มะฝ่อ จัดเป็นไม้ยืนต้นผลัดใบช่วงสั้น มีความสูงได้ประมาณ 20-30 เมตร กิ่งก้านใหญ่และแผ่กว้าง โคนต้นมีพูพอนเล็กๆ เปลือกต้นเป็นสีน้ำตาลอมเทา กิ่งก้านภาคตัดขวางเป็นรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ตามกิ่งอ่อน ท้องใบ และช่อมีขนรูปดาว ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด มีเขตการกระจายพันธุ์ในอินเดียถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พบขึ้นในป่าเบญจพรรณ ป่าดิบ ป่าชุ่มชื้นหรือริมห้วย ที่ระดับความสูงประมาณ 50-600 เมตร
เผยแพร่เมื่อ 13-07-2020 ผู้เช้าชม 2,919