พันงูน้อย

พันงูน้อย

เผยแพร่เมื่อ 16-07-2020 ผู้ชม 1,715

[16.4258401, 99.2157273, พันงูน้อย]

พันงูน้อย ชื่อวิทยาศาสตร์ Achyranthes bidentata Blume (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Achyranthes bidentata var. longifolia Makino)[2] จัดอยู่ในวงศ์บานไม่รู้โรย (AMARANTHACEAE)

สมุนไพรพันงูน้อย ยังมีชื่อตามท้องถิ่นอื่น ๆ อีกว่า หญ้าพันงูน้อย พันธุ์งูเล็ก พันงูเล็ก หญ้าพันงูเล็ก ควยงูน้อย (ไทย), หงู่ฉิก (จีนแต้จิ๋ว), หนิวชี (จีนกลาง) เป็นต้น

ลักษณะของพันงูน้อย

  • ต้นพันงูน้อย จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุกขนาดเล็ก มีความสูงของต้นประมาณ 30-100 เซนติเมตร มีรากอยู่ใต้ดินยาวเล็ก มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 0.6-1 เซนติเมตร ลักษณะของลำต้นจะคล้ายกับหญ้าพันงูขาว แต่ก้านค่อนข้างเป็นสี่เหลี่ยมและมีสีน้ำตาลเหลือง 
  • ใบพันงูน้อย ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงเป็นคู่ ลักษณะของใบเป็นรูปไข่กว้าง ปลายใบและโคนใบแหลม ส่วนขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 1-5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 2-10 เซนติเมตร แผ่นใบเป็นสีเขียว ผิวใบเรียบ ใบมีขนปกคลุมเล็กน้อย ก้านใบยาวประมาณ 5-20 มิลลิเมตร 
  • ดอกพันงูน้อย ดอกมีขนาดเล็กสีเขียวมีสีขาวปนแดง โดยจะออกที่ง่ามใบและปลายกิ่ง มีกาบใบช่อดอก 1 ใบ ก้านช่อดอกกลมและตั้งตรง ยาวประมาณ 15-20 เซนติเมตร กลีบดอกยาวประมาณ 3-5 มิลลิเมตร มีกลีบ 5 กลีบ กลีบเลี้ยง 2 กลีบ ลักษณะเป็นรูปแหลม ดอกมีเกสรเพศผู้ 5 อัน มีรังไข่ 2 อัน 
  • ผลพันงูน้อย ผลมีลักษณะเป็นรูปทรงกลมรี ยาวประมาณ 2-5 มิลลิเมตร ผิวผลเรียบมัน ภายในมีเมล็ด 1 เมล็ด[1]

สรรพคุณของพันงูน้อย

  1. เหง้าหรือราก (บางที่ก็ใช้ทั้งต้น) มีรสชุ่มเปรี้ยวเล็กน้อย เป็นยาสุขุมไม่มีพิษ ออกฤทธิ์ต่อตับและไต ใช้เป็นยากระจายโลหิต (ราก)
  2. ทั้งต้นมีสรรพคุณช่วยลดความดันโลหิตสูง (ราก)
  3. ใช้เป็นยาแก้คอบวม คอเจ็บ (ราก)
  4. ตำรับยาแก้คอตีบ ระบุให้ใช้รากหญ้าพันงูน้อยสด รากครอบฟันสีสด 30 กรัม และรากว่านหางช้างพอสมควร นำมาตำคั้นเอาแต่น้ำมาผสมกับปัสสาวะให้เด็กรับประทาน (ราก)
  5. ช่วยแก้อาการปวดท้องน้อยหลังการคลอดบุตรของสตรี (ราก)
  6. ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ (ราก)
  7. ช่วยแก้ปัสสาวะเป็นเลือด (ราก)
  8. ใช้แก้สตรีที่มีประจำเดือนมาไม่เป็นปกติ หรือมีเลือดคั่งในมดลูก หรือเลือดอุดตันในมดลูก ให้ใช้หญ้าพันงูน้อยทั้งต้นสด 30-50 กรัม นำมาต้มกับเหล้าขาวรับประทาน (ราก)
  9. ใช้เป็นยาบำรุงตับ บำรุงไต (ราก)
  10. ใช้เป็นยาแก้ฝีบวม (ราก)
  11. ช่วยแก้อาการฟกช้ำ (ราก)
  12. ช่วยแก้อาการปวดตามร่างกาย ปวดหลัง ปวดเอว (ราก)[1]ส่วนตำรายาพื้นบ้านล้านนาจะใช้รากพันงูน้อยหรือรากพันงูขาว รากพันงูแดง แลกรากเดือยหิน นำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้ปวดหลัง (ราก)
  13. ใช้แก้อาการปวดขาและหัวเข่า ด้วยการใช้หญ้าพันงูน้อย 20 กรัม, มะละกอจีน 12 กรัม, หลักหั่ง 12 กรัม นำไปบดให้เป็นผงปั้นเป็นยาลูกกลอนรับประทาน (ทั้งต้น)
  14. ช่วยแก้อาการมือเท้าเป็นเหน็บชา (ราก)

หมายเหตุ : การนำมาใช้เป็นยาตาม [1] ในส่วนของรากหรือเหง้า (บางที่ก็ใช้ทั้งต้น) ให้ใช้ต้นแห้งครั้งละ 10-20 กรัม นำมาต้มกับน้ำดื่ม[1] หญ้าพันงูน้อยและหญ้าพันงูขาว สามารถนำมาใช้แทนกันได้

ข้อห้ามในการใช้สมุนไพรพันงูน้อย

  • ผู้ที่มีพลังหย่อนหรือพร่อง หรือสตรีมีครรภ์ หรือมีประจำเดือนมามากเกินควร ห้ามรับประทานสมุนไพรชนิดนี้

ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของพันงูน้อย

  • สารที่พบ ได้แก่โพแทสเซียม และสารจำพวก Alkaloid เช่น Oleanolic acid, ส่วนรากและเมล็ดพบสาร Ecdysterone, Innokosterone เป็นต้น[1]
  • สารที่สกัดได้จากหญ้าพันงูน้อยมีผลต่อการหดเกร็งตัวของมดลูกของกระต่าย ไม่ว่าจะตั้งครรภ์หรือไม่ก็ตาม และมีผลต่อการหดเกร็งตัวของมดลูกที่อยู่นอกตัวของหนูทดลองอีกด้วย แต่จะมีฤทธิ์กระตุ้นการหดเกร็งตัวของมดลูกของแมวน้อยกว่า แสดงว่าหญ้าพันงูน้อยจะออกฤทธิ์ต่อมดลูกของสัตว์ทดลองแต่ละชนิดแตกต่างกันออกไป[1]
  • เมื่อนำสารที่สกัดได้จากหญ้าพันงูน้อยหรือน้ำที่ต้มกับหญ้าพันงูน้อยมาฉีดเข้าทางเส้นเลือดดำของสัตว์ทดลอง พบว่าสามารถทำให้ความดันโลหิตลดลง และทำให้การหายใจถี่ขึ้น[1]
  • เมื่อนำน้ำที่ต้มกับหญ้าพันงูน้อย มาฉีดเข้าทางท้องน้อยของสัตว์ทดลอง พบว่าสามารถแก้ปวดได้ แต่จะมีฤทธิ์น้อยกว่ามอร์ฟีนมาก[1]

 

คำสำคัญ : พันงูน้อย

ที่มา : https://medthai.com/

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). พันงูน้อย. สืบค้น 1 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?code_db=610010&code_type=01&nu=pages&page_id=1748

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1748&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

ไฟเดือนห้า

ไฟเดือนห้า

ต้นไฟเดือนห้า จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุก มีอายุหลายปี ลำต้นมีความสูง อาจสูงได้ถึง 1 เมตร ตามกิ่งอ่อนและก้านดอกมีขน กิ่งและก้านมียางสีขาวคล้ายน้ำนมอยู่ภายใน มีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกาเขตร้อน ถูกนำเข้ามาปลูกและขยายพันธุ์ในประเทศไทยนานแล้ว โดยขึ้นเป็นวัชพืชทั่วไป ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้าม ก้านใบสั้น ลักษณะของใบเป็นรูปใบหอกยาวหรือรูปขอบขนานแกมรูปใบหอก ปลายแหลม ขอบใบเรียบ ออกดอกเป็นช่อกระจุกที่ง่ามใบและที่ปลายกิ่ง ก้านช่อดอกยาว มีขนสั้นนุ่มปกคลุม ดอกเป็นสีแดง กลีบดอกมีลักษณะพับงอ และมีรยางค์รูปมงกุฎหรือกระบังรอบสีเหลืองหรือส้มยื่นออกมา ดอกหนึ่งจะมีกลีบดอก 5 กลีบ มีเกสรเพศผู้ 5 อัน

เผยแพร่เมื่อ 09-07-2020 ผู้เช้าชม 3,461

กรวยป่า

กรวยป่า

ต้นกรวยป่าเป็นไม้ต้นขนาดเล็ก ผลัดใบ สูง 5-15 เมตร ใบกรวยป่าใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปขอบขนานหรือรูปขอบขนานแกมรูปไข่ ปลายแหลม โคนมนกว้าง มักเว้าเล็กน้อยที่รอยต่อก้านใบ ขอบจักถี่ แผ่นใบด้านบนเกลี้ยงหรือมีขนเล็กน้อยที่เส้นกลางใบ ด้านล่างมีขนนุ่มทั่วไป ดอกกรวยป่ามีจำนวนมาก ออกเป็นกระจุกเล็กๆ ตามง่ามใบที่ใบร่วงไปแล้ว ดอกสมบูรณ์เพศ สีขาวหรือเหลืองอมเขียว กลีบเลี้ยงเล็ก ไม่มีกลีบดอก เกสรเพศผู้ 8-10 อัน ผลกรวยป่ามีเนื้อ รูปไข่ ผิวเรียบ ผนังหนา สุกสีเหลือง เนื้อหุ้มเมล็ดสีแสด

เผยแพร่เมื่อ 12-05-2020 ผู้เช้าชม 3,731

ย่านาง

ย่านาง

ย่านางนับว่าเป็นผักที่มีประโยชน์อีกชนิดหนึ่ง มีคุณค่าทางโภชนาการสูง ใช้ในการประกอบอาหารพื้นบ้านไทยหลายๆ ตำรับ ในใบย่านางมีวิตามินเอและซีสูง นอกจากนี้ยังประกอบด้วยสารอาหารสำคัญอื่นๆ เช่น โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน ไฟเบอร์ แคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก ไทอะมีน ไรโบฟลาวิน และไนอะซีน

เผยแพร่เมื่อ 20-02-2017 ผู้เช้าชม 1,700

พะยอม

พะยอม

พะยอมเป็นต้นไม้ที่ในประเทศไทยสามารถพบได้ตามป่าเบญจพรรณแล้งและชื้น หรือป่าดิบแล้งทั่วไป ทุกภาคของประเทศที่ความสูงจากระดับน้ำทะเล 60 – 1,200 เมตร และดอกพะยอมยังเป็นดอกไม้ประจำจังหวัดกาฬสินธุ์ด้วย จัดว่าเป็นต้นไม้ที่สวยโดยธรรมชาติ ไม่จำเป็นต้องทำการตัดแต่งกิ่งแต่อย่างใด ขยายพันธุ์วิธีการเพาะเมล็ดและการตอนกิ่ง ซึ่งในปัจจุบันพันธุ์ไม้ชนิดนี้กำลังเริ่มลดน้อยลงไปเรื่อยๆ คนไทยโบราณเชื่อว่า หากปลูกไว้ประจำบ้าน จะช่วยทำให้คนในบ้านมีนิสัยที่อ่อนน้อม และยังช่วยทำให้ไม่ขัดสนเงินทองอีกด้วย

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 2,129

ขีกาขาว

ขีกาขาว

ลักษณะทั่วไป ต้นเป็นพรรณไม้เถาเลื้อยตามพื้นดิน เถาจะกลมและโตขนาดเท่าก้านไม้ขีดไฟหรือโตกว่าเล็กน้อย ตามข้อของเถาจะมีมือเกาะ ใบจะมีขนหนากลมโต ดูผิวเผินแล้วจะคล้ายผักเขียว แต่เถาและใบจะเล็กกว่าไม่กลวง ดอกโตและมีสีขาว ผลมีลักษณะกลมและโต มีผลขนาดเท่าผลมะนาว ผลสุกมีสีแดง  นิเวศวิทยาชอบขึ้นเองตามธรรมชาติบนพื้นดินที่รกร้างทั่วไป และตามไร่นา  การขยายพันธุ์ใช้เมล็ด ประโยชน์ด้านสมุนไพร เถาใช้ปรุงยาบำรุงถุงน้ำดี ลูกถ่ายแรงกว่าเถา บำรุงงาน้ำดีล้างเสมหะ ดับพิษเสมหะและโลหิต รักษาตับปอดพิการ ใช้เถาต้มกับน้ำให้เดือดนาน ๆ ใช้เป็นยาฆ่าเรือดไรและเหาได้ ใบสดใช้ตำสุมขม่อมเด็กเวลาเย็น รักษาอาการคัดจมูกได้ดี ใช้ปรุงเป็นยา ขี้กาขาวจะใช้น้อยกว่าขี้กาแดง

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 1,994

ชิงชัน

ชิงชัน

ชิงชันเป็นไม้ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ผลัดใบ สูงถึง 25 เมตร เปลือกหนา สีน้ำตาลเทา กระเทาะล่อน เป็นแผ่นขนาดเล็ก เปลือกในสีเหลือง ยอดและใบอ่อนออกสีแดง เกลี้ยงหรือมีขนเพียงเบาบาง ใบชิงชันเป็นช่อ มีใบประกอบย่อย 11-17 ใบ มีลักษณะยาวรี รูปขอบขนานแกมรูปหอก ฐานใบมนกลม ปลายใบมนทู่และหยักเว้าเล็กน้อย ทางด้านท้องใบจะมีสีจางกว่าด้านหลังใบ ดอกชิงชันสีขาวอมม่วง ออกเป็นช่อดอกเชิง ประกอบตามปลายกิ่ง ดอกจะเกิดพร้อมกับการผลิตใบใหม่ เกสรผู้แยกเป็น 2 กลุ่มๆ ละ 5 อัน

เผยแพร่เมื่อ 28-05-2020 ผู้เช้าชม 3,088

แตงไทย

แตงไทย

แตงไทยเป็นผลไม้ที่มีถิ่นกำเนิดในแถบเอเชียแถวเชิงเขาหิมาลัย มีทั้งพันธุ์ผิวเรียบและผิวไม่เรียบ เช่น แคนตาลูป แตงเปอร์เซีย แตงกวาอาร์เมเนีย โดยเป็นผลไม้ที่สามารถปลูกได้ทุกภาคในประเทศไทยเรา เพราะปลูกง่าย ทนทาน แข็งแรง และให้ผลผลิตในช่วงหน้าร้อน ลักษณะของผลอ่อนจะมีสีเขียวและมีลายสีขาวพาดยาว เมื่อผลแก่เปลือกจะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง ผิวจะเรียบเป็นมัน เนื้อด้านในของผลจะมีสีเหลืองอ่อนอมเขียว ให้กลิ่นหอม มีเมล็ดรูปแบนรีสีครีมจำนวนมาก

เผยแพร่เมื่อ 02-06-2020 ผู้เช้าชม 7,930

ติ่งตั่ง

ติ่งตั่ง

ต้นติ่งตั่ง จัดเป็นไม้พุ่มเลื้อยขนาดใหญ่หรือไม้เถาเลื้อยเนื้อแข็งขนาดใหญ่ สูงได้ประมาณ 1-5 เมตร เปลือกเป็นสีน้ำตาลมีขนปกคลุม ตามกิ่งอ่อนเป็นสันสี่เหลี่ยม มีขนสีน้ำตาลแกมแดงขึ้นปกคลุม ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด ตอนกิ่ง และปักชำกิ่ง เจริญเติบโตได้ในดินทุกประเภท ชอบแสงแดดจัด น้ำปานกลาง มีถิ่นกำเนิดในอินเดีย จีนตอนใต้ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ส่วนในประเทศไทยพบได้ทุกภาคตามป่าเบญจพรรณและตามป่าดิบแล้งทั่วไป

เผยแพร่เมื่อ 26-05-2020 ผู้เช้าชม 2,876

คูณ

คูณ

คูนเป็นไม้ยืนต้น ผลัดใบขนาดเล็กถึงขนาดกลาง สูง 15 เมตร เปลือกสีเทาอมน้ำตาล  ใบเป็นช่อ ช่อหนึ่งมีใบอ่อน 3-8 คู่ ก้านช่อใบยาว 7-10 ซม. แก่นช่อใบยาว 15-25 ซม. ใบย่อยรูปป้อม ๆรูปไข่ หรือรูปขอบขนานแกนรูปไข่ ปลายใบแหลม ฐานใบมน เนื้อไม้เกลี้ยงค่อนข้างบางเส้นใบแขนงใบถี่ โค้งไปตามรูปใบก้านใบอ่อน หูใบค่อนข้างเล็ก ออกเป็นช่อเป็นกลุ่มตามง่ามใบ ห้อยย้อยลงมาจากกิ่งช่อดอกค่อนข้างโปร่ง ก้านดอกย่อย ใบประดับยาว กลีบรองดอกรูปมนแกมไข่ ผิวนอกกลีบสีเหลือง ผลรูปทรงกระบอกยาว แขวนห้อยลงจากกิ่ง ผิวเกลี้ยงไม่มีขนฝักอ่อนมีสีเขียวและออกสีดำ เมื่อแก่จัดในฝักมีหนังเยื่อบาง ๆ ตามขวางของฝัก ตามช่องมีเมล็ดรูปมน แบนสีน้ำตาล

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 1,533

ไทรย้อย

ไทรย้อย

ต้นไทรย้อย มีถิ่นกำเนิดในทวีปเอเชีย อินเดีย และภูมิภาคมาเลเซีย จัดเป็นไม้ยืนต้นหรือพุ่มไม้ผลัดใบขนาดกลาง ที่มีความสูงได้ประมาณ 5-15 เมตร ลำต้นแตกเป็นพุ่มหนาทึบและแผ่กิ่งก้านสาขาทิ้งใบห้อยย้อยลง เปลือกต้นเป็นสีน้ำตาล กิ่งก้านห้อยย้อยลง มีลำต้นที่สูงใหญ่ ตามลำต้นจะมีรากอากาศแตกย้อยลงสู่พื้นดินเป็นจำนวนมากดูสวยงาม รากอากาศเป็นรากขนาดเล็ก เป็นเส้นสีน้ำตาล ลักษณะรากกลมยาวเหมือนเส้นลวดย้อยลงมาจากต้น รากอากาศที่มีขนาดใหญ่จะมีเนื้อไม้ด้วย มีรสจืดและฝาด ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด การตอนกิ่ง และวิธีการปักชำ

เผยแพร่เมื่อ 02-06-2020 ผู้เช้าชม 12,940