ไฟเดือนห้า

ไฟเดือนห้า

เผยแพร่เมื่อ 09-07-2020 ผู้ชม 3,768

[16.4258401, 99.2157273, ไฟเดือนห้า]

ไฟเดือนห้า ชื่อสามัญ Bastard ipecacuanha, Butterfly Weed, Blood Flower, Milkweed, Silkweed
ไฟเดือนห้า ชื่อวิทยาศาสตร์ Asclepias curassavica L. จัดอยู่ในวงศ์ตีนเป็ด (APOCYNACEAE) และอยู่ในวงศ์ย่อยนมตำเลีย (ASCLEPIADOIDEAE หรือ ASCLEPIADACEAE)
สมุนไพรไฟเดือนห้า มีชื่อท้องถิ่นอื่นๆ ว่า คำแค่ (แม่ฮ่องสอน), บัวลาแดง (เชียงใหม่), ค่าน้ำ เด็งจ้อน (ลำปาง), ไม้จีน (ประจวบคีรีขันธ์), ดอกไม้เมืองจีน ไม้เมืองจีน (สุราษฎร์ธานี), เทียนแดง (ภาคกลาง), เทียนใต้ (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ), เหลียนเซิงกุ้ยจื่อฮวา จิงเฟิ่งฮวา (จีนกลาง) เป็นต้น

ลักษณะของไฟเดือนห้า
       ต้นไฟเดือนห้า จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุก มีอายุหลายปี ลำต้นมีความสูงได้ประมาณ 40-60 เซนติเมตร และอาจสูงได้ถึง 1 เมตร ตามกิ่งอ่อนและก้านดอกมีขน กิ่งและก้านมียางสีขาวคล้ายน้ำนมอยู่ภายใน ไฟเดือนห้ามีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกาเขตร้อน ถูกนำเข้ามาปลูกและขยายพันธุ์ในประเทศไทยนานแล้ว โดยขึ้นเป็นวัชพืชทั่วไป
       ใบไฟเดือนห้า ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้าม ก้านใบสั้น ลักษณะของใบเป็นรูปใบหอกยาวหรือรูปขอบขนานแกมรูปใบหอก ปลายแหลม ขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 1-3.5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 7-13 เซนติเมตร
       ดอกไฟเดือนห้า ออกดอกเป็นช่อกระจุกที่ง่ามใบและที่ปลายกิ่ง ช่อหนึ่งมีดอกประมาณ 7-20 ดอก ก้านช่อดอกยาวประมาณ 3.5-6 เซนติเมตร มีขนสั้นนุ่มปกคลุม ดอกเป็นสีแดง ยาวเกือบ 1 เซนติเมตร กลีบดอกมีลักษณะพับงอ และมีรยางค์รูปมงกุฎหรือกระบังรอบสีเหลืองหรือส้มยื่นออกมา ดอกหนึ่งจะมีกลีบดอก 5 กลีบ มีเกสรเพศผู้ 5 อัน
        ผลไฟเดือนห้า ผลมีลักษณะเป็นรูปทรงยาวคล้ายรูปกระสวย ยาวประมาณ 5-10 เซนติเมตร เมื่อแก่จะแตกออกได้ ภายในมีเมล็ดสีน้ำตาลเข้ม ลักษณะของเมล็ดเป็นรูปไข่แบนและมีขนยาวสีขาว เมล็ดมีขนาดยาวประมาณ 6-7 มิลลิเมตร และกระจุกขนยาวประมาณ 2-4 เซนติเมตร

สรรพคุณของไฟเดือนห้า
1. เมล็ดมีรสขม เป็นยาเย็น ใช้เป็นยาบำรุงให้ร่างกายอบอุ่น (เมล็ด)
2. ต้นมีสรรพคุณเป็นยาบำรุงธาตุไฟ (ต้น)
3. ใช้เป็นยาขับพิษเลือดในเดือนอยู่ไฟ (เมล็ด)[1]แก้เลือดทำพิษในเรือไฟ (การติดเชื้อที่มดลูกหลังการคลอดบุตร) (ต้น)
4. ช่วยแก้โรคหัวใจอ่อน (ต้น, เมล็ด)
5. ต้นใช้เป็นยาแก้ไข้ตัวเย็นหมดสติ ไข้ตรีโทษ (อาการไข้กระหายน้ำ เหงื่อออกมา ซึม เบื่ออาหาร ปวดเมื่อย บางครั้งมีอาการอาเจียนเป็นสีเหลืองปนเลือด) (ต้น)
6. ช่วยแก้อาการเหงื่อออกมากไม่รู้ตัว (เมล็ด)
7. รากมีรสเผ็ด เป็นยาสุขุม มีพิษเล็กน้อย ใช้เป็นยาทำให้อาเจียน (ราก, ทั้งต้น)
8. ช่วยแก้เต้านมอักเสบ ด้วยการใช้เมล็ดไฟเดือนห้าประมาณ 6-10 กรัม นำมาต้มกับน้ำรับประทาน และใช้รากสดตำพอกบริเวณที่เป็น (ราก, เมล็ด)
9. ทั้งต้นใช้เป็นยาแก้บิด รักษาแผลในลำไส้ กระเพาะอาหาร รวมถึงแผลในมดลูก (ทั้งต้น)
10. ใบสดนำมาคั้นเอาแต่น้ำดื่มเป็นยาขับพยาธิ พยาธิไส้เดือน (ใบ)
11. ใช้เป็นยาขับประจำเดือนของสตรี (ต้น, เมล็ด)
12. ตำรับยาแก้อาการปวดประจำเดือน ระบุให้ใช้รากไฟเดือนห้าสด 35 กรัม และเมล็ดพริกไทย 10 กรัม นำมารวมกันต้มกับน้ำรับประทาน (ราก)[1]ส่วนเมล็ดก็มีสรรพคุณเป็นยา
      แก้ปวดประจำเดือนเช่นเดียวกัน (เมล็ด)
13. ช่วยรักษาหนองใน (ใบ)
14. เมล็ดใช้เป็นยาแก้ปวด แก้อักเสบ ห้ามเลือด (เมล็ด, ใบ, ทั้งต้น)
15. ใช้รักษาแผลสด แก้อาการฟกช้ำ เนื่องจากถูกกระแทกหรือหกล้ม ด้วยการใช้ดอกไฟเดือนห้าแห้งและเมล็ด อย่างละเท่ากัน นำมารวมกันบดเป็นผง ใช้โรยลงบนบาดแผล (ดอก, เมล็ด)[1]ส่วนรากก็มีสรรพคุณเป็นยาแก้ฟกช้ำจากการหกล้มได้เช่นกัน (ราก)
16. ใช้รักษาฝีหนองภายนอก ด้วยการใช้เมล็ดประมาณ 6-10 กรัม นำมาต้มกับน้ำรับประทาน และใช้รากสดตำพอกบริเวณที่เป็น (เมล็ด)
17. เมล็ดใช้ภายนอกเป็นยาแก้โรคผิวหนังผดผื่นคัน กลากเกลื้อน (เมล็ด)
18. ใบใช้เป็นยาฆ่าเชื้อโรคเรื้อน แก้พิษฝี (ใบ)
19. รากใช้เป็นยารักษากระดูกร้าว หรือกระดูกหัก (ราก)
20. ตำรับยารักษามะเร็งชนิดต่างๆ ของหมอสมหมาย ทองประเสริฐ จะประกอบไปด้วยพืชสมุนไพร 5 ชนิด และชิ้นส่วนของสัตว์อีก 5 ชนิด อันได้แก่ ไฟเดือนห้า, ข้าวเย็น
      เหนือ, ลิ้นงู, หญ้าสาบกา, หลอดเถื่อน สำหรับชิ้นส่วนของสัตว์นั้นไม่ได้บอกไว้ จากการวิจัยพบว่าหากไม่ใช้ชิ้นส่วนสัตว์จะทำให้ประสิทธิภาพในการรักษาลดลงประมาณ
      10% (ซึ่งจะไม่ใช้ก็ได้) และหากแยกใช้โดด ๆ ประสิทธิภาพในรักษาก็จะไม่ดีเท่าที่ควร แต่หากรวมพืชทั้ง 5 ชนิด ประสิทธิภาพในการรักษาก็จะยิ่งมากขึ้นเป็นทวีคูณ
      ส่วนสูตรของสถาบันมะเร็งแห่งชาติและองค์การเภสัชที่นำมาใช้จะแตกต่างไปจากนี้ครับ แต่ก็ยังมีส่วนประกอบของไฟเดือนห้าเป็นส่วนประกอบหลักเหมือนเดิม แต่อย่างไร
      ก็ดีสมุนไพรตำรับนี้ยังไม่ได้มีการศึกษาวิจัยทางคลินิกในผู้ป่วยมะเร็งแต่อย่างใด คงมีเพียงแต่ข้อมูลจากประสบการณ์การใช้สมุนไพรตำรับนี้ในคลินิกของนายแพทย์
      สมหมายเท่านั้น

ขนาดและวิธีใช้
        การใช้ตาม [1] เมล็ดให้ใช้ครั้งละ 6-10 กรัม นำมาต้มกับน้ำรับประทาน ส่วนรากให้ใช้ครั้งละ 15-30 กรัม นำมาต้มกับน้ำรับประทาน หรือตำคั้นเอาน้ำรับประทานหรือใช้ภายนอกนำไปตำพอกแผลบริเวณที่เป็น

ข้อควรระวัง
        รากและดอกหากใช้มากเกินไปจะเกิดพิษ โดยเฉพาะกับสัตว์เลี้ยง ซึ่งเกิดจากสาร Asclepiadin ถ้ากินมากเกินไปจะทำให้กล้ามเนื้อหัวใจเป็นอัมพาตและอาจทำให้เสียชีวิตได้

ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของไฟเดือนห้า
      - สารสำคัญที่พบ ได้แก่ Ascurogenin, Asclepin, Calotropin, Curassvicin เป็นต้น
      - จากการทดลอง พบว่าสาร Ascurogenin, Asclepin และ Curassicin มีฤทธิ์กระตุ้นหัวใจของกระต่ายทดลอง ทำให้หัวใจของกระต่ายมีการบีบตัวแรงขึ้น
      - ยางจากต้นไฟเดือนห้ามีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อราบางชนิด
      - สาร Calotropin มีฤทธิ์ยับยั้งเซลล์มะเร็งในโพรงจมูกที่อยู่นอกตัวของสัตว์ทดลอง

ประโยชน์ของไฟเดือนห้า
       - นิยมปลูกเป็นไม้ประดับเป็นกลุ่มหลาย ๆ ต้น ตามบ้าน ตามสำนักงาน และตามสวนสาธารณะทั่วไป เพราะดอกมีสีสันสวยงามเจิดจ้าน่าชม
       - ขนที่หุ้มเมล็ดสามารถนำไปใช้ยัดหมอนแทนการใช้นุ่น ทำให้หมอนนุ่มหนุนนอนได้สบายไม่แพ้การยัดนุ่นแม้แต่น้อย

คำสำคัญ : ไฟเดือนห้า

ที่มา : https://medthai.com/

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). ไฟเดือนห้า. สืบค้น 13 ตุลาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1667&code_db=610010&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1667&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

พันงูน้อย

พันงูน้อย

พันงูน้อย จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุกขนาดเล็ก มีความสูงของต้นประมาณ 30-100 เซนติเมตร มีรากอยู่ใต้ดินยาวเล็ก มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 0.6-1 เซนติเมตร ลักษณะของลำต้นจะคล้ายกับหญ้าพันงูขาว แต่ก้านค่อนข้างเป็นสี่เหลี่ยมและมีสีน้ำตาลเหลือง ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงเป็นคู่ ลักษณะของใบเป็นรูปไข่กว้าง ปลายใบและโคนใบแหลม ส่วนขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 1-5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 2-10 เซนติเมตร แผ่นใบเป็นสีเขียว ผิวใบเรียบ ใบมีขนปกคลุมเล็กน้อย ก้านใบยาวประมาณ 5-20 มิลลิเมตร 

เผยแพร่เมื่อ 16-07-2020 ผู้เช้าชม 1,914

บวบเหลี่ยม

บวบเหลี่ยม

บวบเหลี่ยม เชื่อว่ามีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย เนื่องจากพบต้นที่มีลักษณะเป็นพืชป่าในบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศอินเดีย และมีเขตการกระจายพันธุ์และนิยมบริโภคกันมากในประเทศเขตร้อน เช่น ไทย จีน ฮ่องกง และอินเดีย โดยจัดเป็นพรรณไม้ล้มลุกมีอายุเพียงปีเดียว ชอบเลื้อยพาดพันไปตามต้นไม้อื่นหรือทอดเลื้อยไปตามพื้นดิน ยอดอ่อนนุ่ม เถาหรือลำต้นเป็นเหลี่ยม ตามข้อเถามีมือสำหรับใช้ยึดเกาะเป็นเส้นยาว บางทีแยกเป็นหลายแขนง ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด ทนแล้ง ทนฝนได้ดี โรคและเมล็ดไม่มารบกวน พรรณไม้ชนิดนี้มักขึ้นตามที่รกร้าง ตามริมห้วย หนอง คลอง และตามบึงทั่วไป

เผยแพร่เมื่อ 02-06-2020 ผู้เช้าชม 11,629

โมกมัน

โมกมัน

ลักษณะทั่วไป  ต้นเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ถึงขนาดกลาง เปลือกสีขาวหรือเทาอ่อน อ่อนนิ่ม คล้ายจุกไม้ค็อร์ค  ใบมน ปลายยาวเรียว โคนแหลม  ดอกออกเป็นช่อสั้นๆ เมื่อเริ่มบานภายนอกมีสีเขียวอ่อน ด้านในสีขาวอมเหลือง ใกล้ร่วงเป็นสีม่วงแกมเหลืองหรือม่วงแดง  ผลเป็นฝักรูปทรงกระบอก ผิวขรุขระ เมล็ดคล้ายเมล็ดโมกหลวง  ขึ้นตามป่าโปร่ง และป่าเบญจพรรณทั่วไป  การขยายพันธุ์ใช้เมล็ดและตอนกิ่ง

 

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 2,150

พิกุล

พิกุล

พิกุล มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย ศรีลังกา ไทย พม่า อินโดจีน และในหมู่เกาะอันดามัน จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ไม่ผลัดใบ มีความสูงของต้นประมาณ 10-25 เมตร ลำต้นแตกกิ่งก้านเป็นพุ่มกว้างหนาทึบ เปลือกต้นเป็นสีเทาอมสีน้ำตาลและแตกเป็นรอยแตกระแหงตามแนวยาว ทั้งต้นมีน้ำยางสีขาว ส่วนกิ่งอ่อนและตามีขนสีน้ำตาลขึ้นปกคลุม ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด การตอนกิ่ง และวิธีการปักชำกิ่ง ชอบขึ้นในพื้นที่ดินดี ชอบแสงแดดจัด ทนทานต่อสภาพน้ำท่วมขังได้นานถึง 2 เดือน 

เผยแพร่เมื่อ 16-07-2020 ผู้เช้าชม 11,780

บอน

บอน

บอนมีถิ่นกำเนิดอยู่ในเขตที่ราบลุ่มของเอเชียอาคเนย์ ซึ่งรวมถึงพื้นที่ของประเทศไทยด้วย โดยจัดเป็นไม้ล้มลุกมีอายุได้หลายปี มีเหง้าลักษณะเป็นรูปทรงกระบอกอยู่ใต้ดิน มักขึ้นเป็นกลุ่ม ๆ หลายต้นเรียงรายตามพื้นที่ลุ่มริมน้ำ มีความสูงของต้นประมาณ 0.7-1.2 เมตร ลำต้นประกอบไปด้วยหัวกลางและหัวย่อยอยู่รอบ ๆ หัวใหญ่ ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการแยกหน่อ ไหล และวิธีการปักชำหัว เจริญเติบโตได้ดีในดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ อุ้มน้ำได้ดี เพาะปลูกได้ง่าย ในประเทศไทยสามารถพบได้ทุกภาค มักขึ้นเองตามที่ลุ่ม บนดินโคลน บริเวณริมน้ำลำธาร หรือบริเวณที่มีน้ำขังตื้น ๆ

เผยแพร่เมื่อ 17-02-2017 ผู้เช้าชม 15,971

โสก

โสก

ต้นโสก หรือ ต้นโศก มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมอยู่ในประเทศอินเดีย จัดเป็นไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ที่มีความสูงของต้นได้ประมาณ 5-15 เมตร และอาจสูงได้ถึง 20 เมตร เรือนยอดเป็นรูปทรงกลมพุ่มทึบ แตกกิ่งก้านเป็นพุ่ม ปลายกิ่งห้อยย้อยลู่ลง เปลือกต้นเรียบเป็นสีน้ำตาลเข้มหรือแตกเป็นร่องตื้นตามยาวและตามขวางของลำต้น ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ดและตอนกิ่ง เจริญเติบโตได้ดีในดินเกือบทุกชนิด ชอบดินร่วนที่ระบายน้ำดีและมีความอุดมสมบูรณ์สูง ชอบอยู่ริมน้ำ ต้องการความชื้นสูง 

เผยแพร่เมื่อ 16-07-2020 ผู้เช้าชม 10,536

ผักตบไทย

ผักตบไทย

ผักตบไทย มีถิ่นกำเนิดในแถบเชียตะวันออกเฉียงใต้ จัดเป็นไม้ล้มลุกมีอายุได้หลายปี อาศัยอยู่ในน้ำ มีเหง้าใหญ่ แตกลำต้นเป็นกอ มีความสูงได้ประมาณ 50-100 เซนติเมตร ลำต้นอยู่ใต้ดิน ชูก้านใบเหนือระดับน้ำ ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดหรือแยกต้นอ่อนไปปลูกในบริเวณที่ต้องการ มีเขตการกระจายพันธุ์กว้าง พบได้ตั้งแต่อินเดีย เนปาล ศรีลังกา พม่า ภูมิภาคอินโดจีน และภูมิภาคมาเลเซีย ในประเทศไทยพบได้ทุกภาคของประเทศ โดยมักขึ้นตามแหล่งน้ำจืด ริมหนองน้ำ คลองบึง ที่ชื้นแฉะ โคลนตม และตามท้องนาทั่วไป

เผยแพร่เมื่อ 10-07-2020 ผู้เช้าชม 5,569

เห็ดเข็มทอง

เห็ดเข็มทอง

หากเอ่ยถึงเห็ดเหมันต์ หลายคนอาจเริ่มขมวดคิ้วเข้าหากันและสงสัยว่ามันคือเห็ดอะไร แต่หากพูดถึงเห็ดเข็มทอง เชื่อว่าแทบทุกคนต้องร้องอ๋อรู้จักและคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี เพราะในปัจจุบันเรียกว่าเห็ดชนิดนี้เป็นที่นิยมบริโภคกันเป็นอย่างมาก เนื่องจากมีรสชาติดีอร่อยกรุบกรอบในปาก และยังสามารถนำมาประกอบอาหารรับประทานได้หลากหลาย

เผยแพร่เมื่อ 12-05-2020 ผู้เช้าชม 6,151

ตองกง

ตองกง

ต้นตองกง จัดเป็นไม้ล้มลุกจำพวกหญ้า มีอายุหลายปี ลำต้นกลม มีลักษณะคล้ายต้นไผ่ ลำต้นตั้งมีกอที่แข็งแรงมาก มีความสูงของต้นประมาณ 3-4 เมตร ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดและส่วนของลำต้นหรือเหง้าที่อยู่ใต้ดิน มีเขตการกระจายพันธุ์กว้าง โดยสามารถพบได้ทั่วไปในประเทศอินเดีย จีน หม่า รวมไปถึงประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สำหรับในประเทศไทยสามารถพบได้ทั่วทุกภาค โดยขึ้นเป็นวัชพืชตามที่โล่งสองข้างทาง ตามไหล่เขา และตามชายป่า ที่ระดับความสูงจนถึงประมาณ 1,800 เมตร

เผยแพร่เมื่อ 01-06-2020 ผู้เช้าชม 3,924

ดีปลี

ดีปลี

ดีปลี (Indian Long Pepper) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกเถาล้มลุก ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ภาคใต้เรียก ดีปลีเชือก, พิษพญาไฟ, ปานนุ หรือประดงข้อ ส่วนชาวจีนเรียก ปิกผัววะ เป็นต้น ซึ่งต้นดีปลีนั้นหลายๆ คนมักสับสนกับพริกต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นพริกชี้ฟ้า หรือพริกขี้หนู นิยมปลูกแบบใช้เถาที่นำไปชำจนกระทั่งเกิดรากงอก สามารถทนความแห้งแล้งได้ดี และเจริญเติบโตดีในดินร่วน ชุ่มชื้น และมีแสงแดดอยู่รำไร โดยเฉพาะในฤดูฝน อีกทั้งยังถือเป็นพืชสมุนไพรที่เก่าแก่ มีแหล่งผลิตอยู่ที่ประเทศมาเลเซียและอินโดนีเซีย ส่วนในประเทศไทยทางภาคใต้และภาคเหนือมักนิยมใช้เป็นเครื่องเทศแทนพริกและพริกไทย

เผยแพร่เมื่อ 08-05-2020 ผู้เช้าชม 5,006