พลูคาว

พลูคาว

เผยแพร่เมื่อ 16-07-2020 ผู้ชม 2,045

[16.4258401, 99.2157273, พลูคาว]

พลูคาว ชื่อสามัญ Plu Kaow

พลูคาว ชื่อวิทยาศาสตร์ Houttuynia cordata Thunb. จัดอยู่ในวงศ์ผักคาวตอง (SAURURACEAE)

สมุนไพรพลูคาว มีชื่อเรียกท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ผักคาวตอง (ลำปาง, อุดรธานี) คาวทอง (อุตรดิตถ์, มุกดาหาร) ผักก้านตอง (แม่ฮ่องสอน) ผักคาวปลาผักเข้าตองผักคาวตอง (ภาคเหนือ) ส่วนทางภาคกลางมักจะนิยมเรียกว่า พลูคาว

พลูคาวเป็นพืชล้มลุกที่พบได้ทั่วไปในแถบทวีปเอเชียในแถบเทือกเขาหิมาลัยไปจนถึงเวียดนาม ญี่ปุ่น รวมถึงไทยด้วย เป็นที่รู้จักกันดีในทางภาคเหนือ 

สรรพคุณของพลูคาว

  1. มีฤทธิ์ในการช่วยต่อต้านมะเร็ง ยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง
  2. มีฤทธิ์ในการช่วยบำบัดฟื้นฟูโรคความดันโลหิตสูง
  3. ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย ต้านทานโรค ช่วยยืดอายุผู้ป่วยให้อยู่สู้โรคได้นานมากขึ้น
  4. มีส่วนช่วยยับยั้งเบาหวาน รักษาความสมดุลของร่างกาย
  5. ช่วยทำให้กระดูกเชื่อมติดกันเร็วขึ้น (ต้นสด)
  6. ช่วยรักษาปริมาณของเหลวในร่างกาย
  7. ช่วยรักษาอาการหูชั้นกลางอักเสบ (ทั้งต้น)
  8. ใช้รักษาโรคติดเชื้อและทางเดินหายใจ (ต้น)
  9. ประโยชน์ของผักคาวตองช่วยแก้ไข้ (ใบ)
  10. ช่วยรักษาโรคไข้มาลาเรีย (ต้น)
  11. ใช้เป็นส่วนผสมในตำรับยาที่เป็นน้ำยาข้น ใช้ทารักษาและช่วยต้านเชื้อโรคหวัด ไข้หวัดใหญ่
  12. ใช้เป็นส่วนประกอบในตำรับยา ช่วยรักษาอาการติดเชื้อเฉียบพลัน ติดเชื้อทางเดินหายใจ
  13. ใช้เป็นส่วนผสมในตำรับยาที่เป็นน้ำยาข้น ใช้ทารักษาคางทูม ต่อมทอนซิลอักเสบ และปอดอักเสบในเด็ก
  14. คาวตองมีสรรพคุณช่วยแก้และบรรเทาอาการไอ (ทั้งต้น)
  15. มีส่วนช่วยกระตุ้นการแบ่งตัวของเซลล์เม็ดเลือดขาวช่วยรักษาภาวะภูมิแพ้ หอบหืด
  16. ช่วยรักษาโรคไอกรน (ประยุกต์ใช้ทางการแพทย์)
  17. ช่วยรักษาการอักเสบชนิดธรรมดาบริเวณแก้วตา (ประยุกต์ใช้ทางการแพทย์)
  18. ช่วยรักษาโรคหลอดลมอักเสบ (ทั้งต้น)
  19. ช่วยรักษาโรคหลอดลมขยายตัวมากเกินไป (ประยุกต์ใช้ทางการแพทย์)
  20. ช่วยรักษาอาการปอดบวม ปอดอักเสบ (ทั้งต้น)
  21. ช่วยรักษาฝีหนองในปอด (ต้น)
  22. ช่วยรักษาอาการคั่งน้ำในอกจากโรคมะเร็ง (ประยุกต์ใช้ทางการแพทย์)
  23. ช่วยลดอาการบวมน้ำ (ทั้งต้น)
  24. ใช้เป็นยาระบาย อาหารไม่ย่อย (ใบ)
  25. รักษาอาการท้องเสีย (ใบ)
  26. ใช้แก้โรคบิด (ต้น, ใบ, ทั้งต้น)
  27. ช่วยขับพยาธิ (ใบ)
  28. ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ (ราก, ทั้งต้น)
  29. ช่วยรักษาอาการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ (ทั้งต้น)
  30. ช่วยรักษาริดสีดวงทวาร (ต้นสด, ใบ, ทั้งต้น)
  31. ช่วยรักษาโรคหนองใน (ใบ)
  32. ใช้ปรุงเป็นยาแก้กามโรค (ใบ)
  33. ช่วยรักษานิ่ว (ต้น)
  34. ช่วยแก้โรคไต (ใบ)
  35. ช่วยรักษาอาการไตผิดปกติ (ประยุกต์ใช้ทางการแพทย์)
  36. ช่วยรักษาโรคตับอักเสบชนิดดีซ่าน (ประยุกต์ใช้ทางการแพทย์)
  37. ช่วยขับระดูขาว (ต้น)
  38. ช่วยรักษาแผลอักเสบคอมดลูก (ประยุกต์ใช้ทางการแพทย์)
  39. ช่วยรักษาการอักเสบบริเวณกระดูกเชิงกราน (ประยุกต์ใช้ทางการแพทย์)
  40. ช่วยแก้โรคข้อ (ใบ)
  41. ช่วยรักษาโรคหัด (ใบ)
  42. ช่วยรักษาโรคผิวหนังต่างๆ (ต้นสด, ใบ)
  43. ช่วยรักษาผื่นคัน ฝีฝักบัว (ต้นสด)
  44. มีฤทธิ์ช่วยระงับอาการปวด
  45. ช่วยห้ามเลือด
  46. มีฤทธิ์ต้านการอักเสบต่างๆ
  47. ใช้พอกฝี บวมอักเสบ (ต้นสด, ทั้งต้น)
  48. ช่วยรักษาบาดแผล (ต้นสด)
  49. ช่วยรักษาแผลเปื่อย (ต้นสด)
  50. ช่วยรักษาแผลให้หายเร็วขึ้น (ใบ)
  51. ใช้พอกแผลที่ถูกงูพิษกัด (ต้นสด)
  52. ช่วยป้องกันการติดเชื้อหลังผ่าตัด (ประยุกต์ใช้ทางการแพทย์)
  53. ใบสดผิงไฟพอนิ่มใช้พอกเนื้องอกต่าง ๆ (ใบ)
  54. มีฤทธิ์ช่วยต่อต้านเชื้อรา เชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส
  55. ประโยชน์ของพลูคาวช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของไวรัสชนิดต่าง ๆ เช่น ไข้ทรพิษ หัด งูสวัด เริม เอดส์ (HIV)
  56. แก้โรคน้ำกัดเท้า
  57. ในประเทศจีนใช้เป็นส่วนผสมในตำรับยาช่วยป้องกันและรักษาโรคที่เกิดจากไวรัสในไก่ โดยใช้ผสมในอาหารที่ใช้เลี้ยงไก่
  58. ใบสดใช้ป้องกันปลาเน่าเสีย (ใบ)
  59. ใบนำมารับประทานเป็นผักสด
  60. ใบสดต้มน้ำนำมารดต้นข้าว ข้าวสาลี ต้นฝ้าย ป้องกันพืชเป็นโรคเหี่ยวเฉาตาย
  61. ใช้ขับทากที่ตายในท้อง (ดอก)
  62. เหมาะกับผู้ป่วยและผู้ที่ต้องการบำรุงร่างกาย ผู้ป่วยในระยะพักฟื้น
  63. เหมาะกับผู้ที่ต้องการ Detox ล้างพิษออกจากร่างกาย ป้องกันโรคร้าย ช่วยให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกันแข็งแรงขึ้น ทำให้โรคต่าง ๆ มีอาการดีขึ้น และหายจากอาการของโรคต่างๆ ได้ในที่สุด
  64. ใช้ควบคู่กับการรักษาด้วยเคมีบำบัดหรือการฉายรังสี จะช่วยให้ผู้ป่วยมีอาการแพ้น้อยลง
  65. ใช้เป็นส่วนผสมในเครื่องสำอางประเภทครีมทาแก้ผิวหนังแห้ง หยาบกร้าน ป้องกันผิวหนังแตก

วิธีใช้ทั้งต้นแห้งประมาณ 15-30 กรัม (ต้นสด 30-60 กรัม) นำมาแช่น้ำทิ้งไว้ประมาณ 3 นาที แล้วนำมาต้มน้ำให้เดือดประมาณ 5 นาทีแล้วนำมาดื่ม แต่หากใช้ร่วมกับสมุนไพรหรือยาชนิดอื่น ให้ต้มยาอื่นให้เดือดก่อนจึงใส่ยา ต้มให้เดือด การรับประทานถ้ามากเกินไปอาจจะทำให้หัวใจเต้นสั้นและถี่ อาจเป็นอันตรายได้

คำสำคัญ : พลูคาว

ที่มา : https://medthai.com/

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). พลูคาว. สืบค้น 17 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?code_db=610010&code_type=01&nu=pages&page_id=1744

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1744&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

ชบา

ชบา

ชบา มีลักษณะเป็นไม้พุ่มขนาดกลาง ใบค่อนข้างมนรี มีปลายแหลม ขอบของใบเป็นจักเล็กน้อย และมีสีเขียวเข้ม เมื่อขยี้ใบจะเป็นเมือกเหนียว ดอกชบามีทั้งกลีบชั้นเดียวและหลายชั้น หากเป็นชั้นเดียวปกติจะมีกลีบดอก 5 กลีบ มีก้านเกสรอยู่ตรงกลางดอกหนึ่งก้าน ลักษณะของกลีบดอกชบาจะมีขนาดใหญ่ มีหลายสีไม่ว่าจะเป็น ขาว แดง แสด เหลือง ม่วง ชมพู และสีอื่นๆ โดยดอกชบาแบ่งออกเป็น 3 ลักษณะคือ ดอกบานเป็นรูปถ้วย, ดอกบานเป็นรูปแผ่แบน, กลีบดอกบานแบบแผ่โค้ง และขยายพันธุ์ด้วยการปักชำ การติดตา และการเสียบยอด

เผยแพร่เมื่อ 26-05-2020 ผู้เช้าชม 14,007

ตองกง

ตองกง

ต้นตองกง จัดเป็นไม้ล้มลุกจำพวกหญ้า มีอายุหลายปี ลำต้นกลม มีลักษณะคล้ายต้นไผ่ ลำต้นตั้งมีกอที่แข็งแรงมาก มีความสูงของต้นประมาณ 3-4 เมตร ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดและส่วนของลำต้นหรือเหง้าที่อยู่ใต้ดิน มีเขตการกระจายพันธุ์กว้าง โดยสามารถพบได้ทั่วไปในประเทศอินเดีย จีน หม่า รวมไปถึงประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สำหรับในประเทศไทยสามารถพบได้ทั่วทุกภาค โดยขึ้นเป็นวัชพืชตามที่โล่งสองข้างทาง ตามไหล่เขา และตามชายป่า ที่ระดับความสูงจนถึงประมาณ 1,800 เมตร

เผยแพร่เมื่อ 01-06-2020 ผู้เช้าชม 3,677

ก้นปิด

ก้นปิด

ต้นก้นปิดเป็นไม้เถาเลื้อยไม่มีมือจับ มีหัวใต้ดิน ลำต้นแก่มักมีรอยแตกเป็นขีดตามยาว ใบก้นปิดเป็นใบเดี่ยว ใบรูปไข่ ปลายใบแหลมฐานใบกลมและบังก้านใบ ขนาดกว้าง 8-15 ซม. ยาว 8-17 ซม. ขอบใบเรียบ ใบนิ่มแต่ไม่ฉ่ำน้ำ เป็นคลื่นเล็กน้อย ก้านใบยาว 5-17 ซม. ดอกก้นปิดสีเหลืองส้ม ออกเป็นคลื่นเล็กน้อย ก้านใบยาว 5-17 ซม. ดอกสีเหลืองส้ม ออกเป็นช่อตามซอกใบหรือลำต้น ช่อดอกทรงก้านร่ม ยาว 5-12 ซม. ดอกย่อยขนาดเล็ก ดอกตัวผู้และดอกตัวเมียแยกกันคนละต้น

เผยแพร่เมื่อ 12-05-2020 ผู้เช้าชม 2,587

ผักโขมหนาม

ผักโขมหนาม

ลักษณะทั่วไป  ต้นเป็นพันธุ์ไม้ล้มลุก ที่มีลำต้นตั้งตรง และแตกกิ่งก้านสาขามากมาย ตามโคนต้น    จะเรียบ และเป็นมันแต่ส่วนปลายนั้นจะมีขนปกคลุมอยู่บ้างประปราย ลำต้นมีสีเขียวเป็นมัน แต่บางที่ก็มีสีแดง สูงประมาณ 1 – 2 ฟุต เป็นพรรณไม้ที่มีอายุแค่ปีเดียว ใบเป็นไม้ใบเดี่ยว ออกสลับกันไปตามข้อต้น ลักษณะของใบจะเป็นหอกปลายแหลม โคนใบสอบเข้าหาก้านใบ ขอบใบเป็นคลื่นทั้งสองด้านและที่สังเกตได้ง่ายคือที่โคนก้านใบจะมีหนามแข็งแรงอยู่ 1 คู่ ใบกว้างประมาณ 0.5 – 1.5 นิ้ว ยาว 1.5 – 4 นิ้วมีสีเขียว ดอกจะมีออกเป็นช่อที่ปลายกิ่งและตามง่ามใบ ซึ่งดอกนี้เพศผู้และเมีย จะแยกกันอยู่คนละดอก ดอกเพศเมียจะออกอยู่จะออกอยู่ตรงง่ามใบในลักษณะเป็นกลุ่ม ส่วนเพศผู้ออกตรงปลายกิ่ง เป็นเส้นกลีบดอกมีกลีบอยู่ 5 กลีบ สีเขียวอ่อนสีขาวหรือสีเขียว

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 4,366

มะจ้ำก้อง

มะจ้ำก้อง

ต้นมะจ้ำก้อง จัดเป็นไม้พุ่มขนาดใหญ่หรือไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ที่มีความสูงได้ประมาณ 1-4 เมตร มีเขตการกระจายพันธุ์ในอินเดีย อินโดนีเซีย มาเลเซีย และไทย พบขึ้นทั่วไปในป่าชั้นกลางในป่าดิบแล้ง ป่าดิบชื้น โดยเฉพาะบริเวณริมลำธารหรือตามทุ่งหญ้าที่ชื้น ที่ความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 30-1,050

เผยแพร่เมื่อ 10-07-2020 ผู้เช้าชม 2,039

กระเทียม

กระเทียม

กระเทียมเป็นพืชล้มลุกประเภทกินหัว ลำต้นสูง 1-2 ฟุต มีหัวลักษณะกลมแป้นขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 1-2 นิ้ว ภายนอกของหัวกระเทียมมีเปลือกบางๆหุ้มอยู่หลายชั้น ภายในหัวประกอบแกนแข็งตรงกลาง ด้านนอกเป็นกลีบเล็กๆ จำนวน 10-20 กลีบ เนื้อกระเทียมในกลีบมีสีเหลืองอ่อนและใส  มีน้ำเป็นองค์ประกอบสูง มีกลิ่นฉุนจัด

เผยแพร่เมื่อ 29-04-2020 ผู้เช้าชม 7,440

กระแจะ

กระแจะ

ต้นกระแจะเป็นไม้พุ่มกึ่งไม้ต้น หรือไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง เนื้อไม้สีขาว เปลือกต้นสีน้ำตาล ขรุขระ ลำต้นและกิ่งมีหนาม มีหนามแข็ง และยาว หนามออกเดี่ยวหรือเป็นคู่ ตรง ยาวได้ถึง 5 เซนติเมตร ไม่ผลัดใบ สูง 8-15 เมตร ลำต้นเปลาตรง แตกกิ่งต่ำ กิ่งก้านตั้งฉากกับลำต้น กิ่งอ่อนและยอดอ่อนเกลี้ยง ใบกระแจะเป็นใบประกอบแบบขนนกชั้นเดียว เรียงสลับ ใบย่อย 4-13 ใบ รูปวงรีแกมไข่กลับ กว้าง 5-3 เซนติเมตร ยาว 2-7 เซนติเมตร ก้านใบแผ่เป็นปีก ลักษณะเป็นครีบออกสองข้าง เป็นช่วงๆ ระหว่างคู่ใบย่อย โคนและปลายใบสอบแคบ 

เผยแพร่เมื่อ 12-05-2020 ผู้เช้าชม 2,426

โทงเทง

โทงเทง

ลักษณะทั่วไป เป็นไม้ต้นล้มลุกระบบรากแก้ว  เนื้อไม้อ่อน  แตกกิ่งก้านมาก ทรงพุ่มสูง ประมาณ 40-60 ซม.  ใบเป็นใบเดี่ยว ออกจากลำต้นลักษณะเรียงสลับกัน รูปไข่ ค่อนข้างกลม ปลายใบแหลมสั้น ฐานใบโค้งมน ด้านบนแผ่นใบสีเขียว ก้านใบยาวประมาณ 2 – 4 ซม.มีขนขึ้นปกคลุมก้านใบ  ดอกเป็นดอกเดี่ยว เกิดตามซอกใบมีกลีบเลี้ยงเป็นแผ่นสีเขียวบาง ๆ 5 กลีบ มีขน กลีบเลี้ยงจะเจริญขยายใหญ่ขึ้นมากหุ้มผลคล้ายโคมไฟจีน กลีบดอกมี 5 กลีบ สีเหลืองอ่อน หรือสีเขียวอ่อน บริเวณส่วนฐานของกลีบ มีเกสตัวผู้ 5 อัน ติดที่ฐานกลีบดอก เกสรตัวเมียเป็นเส้นตรงและมีตุ้มที่ปลาย  รังไข่แบ่งเป็น 2 ห้อง

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 3,361

ไพล

ไพล

ต้นไพล เป็นไม้ล้มลุก สูง 0.7-1.5 เมตร มีลำต้นใต้ดินเป็นเหง้า เปลือกสีน้ำตาลแกมเหลือง เหง้าสดมีเนื้อในสีเหลืองถึงเหลืองแกมเขียว ฉ่ำน้ำ มีกลิ่นหอมเฉพาะ แทงหน่อหรือลำต้นเทียมขึ้นเป็นกอ ประกอบด้วยกาบหรือโคนใบหุ้มซ้อนกันเป็นลำกลม สีเขียวเข้ม โคนกาบสีแดง

เผยแพร่เมื่อ 17-02-2017 ผู้เช้าชม 3,443

มะตูม

มะตูม

ลักษณะทั่วไป  ไม้ต้นผลัดใบ สูง 5-10 เมตร แตกกิ่งต่ำ ตามลำต้นมีหนามยาว เปลือกสีเทา เรือนยอดโปร่ง  ประกอบรูปขนนกเรียงสลับกัน ใบมีใบย่อยรูปไข่  3 ใบ  สองใบล่างออกตรงกันข้าม ใบปลายมีขนาดใหญ่กว่า  กว้าง 3-6 เซนติเมตร ยาว 4-12 เซนติเมตร ปลายใบแหลมโคนสอบ ดอกเล็ก สีขาวอมเขียวหรือสีเหลืองอ่อน กลิ่นหอม  ผลรูปไข่แข็งมาก เนื้อในสีเหลืองมียางเหนียว เมล็ดรูปรี  พบประปรายตามป่าเบญจพรรณ ยกเว้นภาคตะวันออกเฉียงใต้ และภาคใต้ ออกดอกมีนาคม-พฤษภาคม ผลแก่ ธันวาคม-กุมภาพันธ์

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 1,552