ตองกง
เผยแพร่เมื่อ 01-06-2020 ผู้ชม 4,293
[16.4258401, 99.2157273, ตองกง]
ตองกง หรือ หญ้าตองกง ชื่อสามัญ Bamboo grass, Tiger grass
ตองกง ชื่อวิทยาศาสตร์ Thysanolaena latifolia (Roxb. ex Hornem.) Honda (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Agrostis maxima Roxb., Thysanolaena maxima (Roxb.) Kuntze, Melica latifolia Roxb. ex Hornem.) จัดอยู่ในวงศ์หญ้า (POACEAE หรือ GRAMINEAE)
สมุนไพรตองกง มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า หญ้าไม้กวาด หญ้ายูง (ยะลา), หญ้ากาบไผ่ใหญ่ (เลย), เลาแล้ง (สุโขทัย), ก๋ง ต้นก๋ง (คนเมือง, ภาคเหนือ), ตองกง (ไทใหญ่), เค่ยแม (กะเหรี่ยงเชียงใหม่), เควยะหล่า (กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน), มิ้วฮูเหมาะ (กะเหรี่ยงแดง), ต้าวฉึเจ๋ (ม้ง), น่ำหยาว (เมี่ยน), ลำก๋ง ลำกร่อล (ลั้วะ), ตาร์ล (ขมุ), บ่งบิ๊ (ปะหล่อง) เป็นต้น
ลักษณะของตองกง
ต้นตองกง จัดเป็นไม้ล้มลุกจำพวกหญ้า มีอายุหลายปี ลำต้นกลม มีลักษณะคล้ายต้นไผ่ มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของลำต้นประมาณ 7.6-17.6 มิลลิเมตร ลำต้นตั้งมีกอที่แข็งแรงมาก มีความสูงของต้นประมาณ 3-4 เมตร ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดและส่วนของลำต้นหรือเหง้าที่อยู่ใต้ดิน[1],[2],[3] มีเขตการกระจายพันธุ์กว้าง โดยสามารถพบได้ทั่วไปในประเทศอินเดีย จีน หม่า รวมไปถึงประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สำหรับในประเทศไทยสามารถพบได้ทั่วทุกภาค โดยขึ้นเป็นวัชพืชตามที่โล่งสองข้างทาง ตามไหล่เขา และตามชายป่า ที่ระดับความสูงจนถึงประมาณ 1,800 เมตร
ใบตองกง ใบมีลักษณะเป็นรูปใบหอก ขนาดใหญ่ ค่อนข้างกว้าง โดยมีความกว้างประมาณ 4-7 เซนติเมตรและยาวประมาณ 30-55 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบป้าน ส่วนขอบใบเป็นจักละเอียด เนื้อใบค่อนข้างหนา ส่วนกาบใบเกลี้ยง ยกเว้นบริเวณขอบตอนบนจะมีขนสั้น ๆ ส่วนกาบใบตอนปลายจะเป็นก้านสั้น ๆ ซึ่งเป็นสีแดงเข้ม มีลิ้นใบที่ระหว่างรอยต่อด้านในของกาบใบและแผ่นใบเป็นเยื่อบาง ๆ มีความยาวประมาณ 2 มิลลิเมตร และปลายตัด
ดอกตองกง ออกดอกเป็นช่อแบบกระจายและมีขนาดใหญ่ ปลายช่อดอกโค้งลง มีความยาวประมาณ 50 เซนติเมตร ช่อดอกย่อยมีก้านและมักอยู่เป็นคู่ ๆ ส่วนกาบช่อย่อยมี 2 อันลักษณะคล้ายกัน เป็นรูปไข่ โดยอันบนจะยาวและบางกว่าอันล่าง และในแต่ละช่อย่อยจะมีดอกย่อยอยู่ 2 ดอก และอาจมีถึง 3 ดอก แต่จะพบได้น้อยมาก ดอกล่างเป็นแบบไม่มีเพศ มีแต่กาบล่างและมีขนใกล้ ๆ ขอบ ส่วนดอกบนเป็นดอกแบบสมบูรณ์เพศ กาบล่างมีสันตามยาว 3 สัน ขอบทั้ง 2 ด้านบางใสและมีขนค่อนข้างแข็ง ส่วนกาบบนมีเส้นสันตามยาว 2 เส้น เนื้อบางและใส เกสรตัวผู้มี 2 อัน ส่วนเกสรตัวเมียปลายจะแยกเป็น 2 แฉก และเป็นขุย สามารถออกดอกได้ตลอดทั้งปี
ผลตองกง ลักษณะของผลเป็นรูปไข่ ผลเป็นสีน้ำตาลแดง มีความยาวประมาณ 0.6 มิลลิเมตร
สรรพคุณของตองกง
1. รากตองกงนำมาต้ม ใช้อมกลั้วคอเมื่อมีไข้ (ราก)
2. ใบตองกงนำมาใช้กวาดแก้อาการไอของเด็กและผู้ใหญ่ (ใบ)
ประโยชน์ของตองกง
1. นอกจากจะใช้เป็นยาสมุนไพรแล้ว ยังสามารถนำมาใช้ทำเป็นเครื่องจักสารและเครื่องมือใช้สอยต่าง ๆ ได้ (เข้าใจว่าคือก้านช่อดอก)
2. ใช้ทำเป็น "ไม้กวาดตองกง" โดยใช้ก้านช่อดอกนำมาตากแห้งนำมามัดกับด้ามไม้ไผ่ใช้ทำเป็นไม้กวาด ส่วนดอกนำมาถักยึดกับด้ามไม้ใช้ทำเป็นไม้กวาด
3. ใบสามารถนำมาใช้ห่อขนม ห่อข้าวต้ม ห่อข้าวเหนียวนึ่งได้
4. ใบนอกจากจะใช้ห่อขนมแล้ว ยังนำมาใช้ในงานพิธีสำคัญต่าง ๆ อีกด้วย เช่น พิธีการผูกข้อมือ (กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน)
5. ในต่างประเทศอย่างอเมริกา แอฟริกา และทางยุโรป พบปลูกเป็นหญ้าประดับและนำไปใช้ประโยชน์อื่น ๆ
6. ใบและยอดอ่อนใช้เป็นอาหารสำหรับสัตว์ตามธรรมชาติ โดยการแทะเล็มของโค กระบือ ช้าง และสัตว์ป่าอื่น ๆ โดยใบและยอดอ่อนนั้นมีคุณค่าทางโภชนาการดังนี้ เส้นใย 15.9%, ไขมัน 2.7%, เถ้า 5.6%, โปรตีน 10.9%, ธาตุแคลเซียม 0.1%, ธาตุฟอสฟอรัส 0.38% และแทนนิน 1.01%
คำสำคัญ : ตองกง
ที่มา : https://medthai.com/
รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). ตองกง. สืบค้น 25 มีนาคม 2568, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1622&code_db=610010&code_type=01
Google search
ผักปลัง มีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนของเอเชียและแอฟริกา โดยจัดเป็นไม้เถาเลื้อยล้มลุก ลำต้นอวบน้ำ เกลี้ยง กลม ไม่มีขน แตกกิ่งก้านสาขามาก มีความยาวประมาณ 2-6 เมตร หากลำต้นเป็นสีเขียวจะเรียกว่า "ผักปลังขาว" ส่วนชนิดที่ลำต้นเป็นสีม่วงแดงจะเรียกว่า "ผักปลังแดง" ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดและวิธีการปักชำเถาแก่ เจริญเติบโตได้ดีในที่ชื้นระบายน้ำได้ดี ชอบแสงแดดรำไร สามารถพบได้ทั่วทุกภาคของประเทศ ตามป่าทุ่ง ที่รกร้าง หรือตามที่ชุ่มชื้นทั่วไป
เผยแพร่เมื่อ 10-07-2020 ผู้เช้าชม 7,470
หงอนไก่ฝรั่ง จัดเป็นพรรณไม้พุ่มขนาดเล็ก มีความสูงของต้นประมาณ 20 นิ้ว ลำต้นแตกกิ่งก้านสาขาไม่มากนัก และไม่มีแก่นด้วย เป็นพรรณไม้ที่กลายพันธุ์ได้ง่าย ทำให้บางต้นจึงมักไม่เป็นสีเขียวเสมอไป โดยอาจจะเป็นสีเขียวอ่อน สีขาว หรือสีแดง เป็นต้น ซึ่งก็แล้วแต่พันธุ์ของต้นนั้น ๆ สามารถขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนซุยและระบายน้ำได้ดี เป็นพรรณไม้กลางแจ้ง ชอบแสงแดดจัด และเจริญเติบโตได้ง่ายและงอกงามเร็ว
เผยแพร่เมื่อ 16-07-2020 ผู้เช้าชม 20,977
เถาเอ็นอ่อน (Cryptolepis buchanani Roem. & Schult.) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกเถา ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ภาคเหนือเรียก ตีนเป็ดเครือ ส่วนเชียงใหม่เรียก เครือเขาเอ็น หรือเครือเจน สุราษฎร์ธานีเรียก หม่อนตีนเป็ด หรือเมื่อย และปัตตานีเรียก หญ้าลิเล เป็นต้น ซึ่งพืชสมุนไพรอย่างต้นเถาเอ็นอ่อนนั้นมักมีการขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด ส่วนใหญ่ชอบขึ้นอยู่ตามป่าราบหรือในพื้นที่รกร้าง โดยเฉพาะในจังหวัดหวัดสระบุรี สำหรับปัจจุบันนอกจากการนำต้นเถาเอ็นอ่อนมาใช้เป็นยาสมุนไพรแล้ว ยังมีการนำมาปลูกเป็นไม้ประดับตามบ้านอีกด้วย
เผยแพร่เมื่อ 08-05-2020 ผู้เช้าชม 10,837
ลักษณะ ต้นเป็นไม้พุ่ม สูงประมาณ 2-4 เมตร ใบเป็นใบเดี่ยว รูปไข่ ปลาบตัด โคนใบรูปหัวใจ ดอกมีสีส้ม ออกเป็นช่อกระจุก ผลเป็นฝักบิดเป็นเกลียว การออกดอกมีสีส้ม ส้มแกมแดง ออกเป็นช่อกระจุกที่ใบการขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด ประโยชน์ด้านสมุนไพรใช้เปลือกต้นและรากบำรุงธาตุ ผลแห้งแก้ปวดท้อง โรคกระเพาะอาหาร ท้องอืด ท้องเสีย แก้บิด ขับเสมหะ แก้ปวด เคล็ดบวม
เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 1,688
ต้นกระเจานาเป็นไม้ล้มลุก ต้นเตี้ยเรี่ยพื้นจนถึงสูง 1 เมตร ลำต้นสีแดง เกลี้ยงหรือมีขน ใบกระเจานาใบเดี่ยวเรียงสลับ รูปไข่ กว้าง 3-5 เซนติเมตร ยาว 4-10 เซนติเมตร ปลายแหลม โคนมน ขอบจักฟันเลื่อย จักสุดท้ายตรงโคนใบมีระยางค์ยื่นออกมายาวประมาณ 7 มิลลิเมตร ข้างละ 1 เส้น เส้นแขนงใบออกจากโคนใบ 1 คู่ ยาวเกือบถึงปลายใบ ด้านล่างมีขนและเห็นเส้นแขนงใบชัดเจน ก้านใบยาว 2-3 เซนติเมตร มีขนและเป็นร่องทางด้านบน หูใบรูปสามเหลี่ยมเรียวแหลมยาวประมาณ 3 เซนติเมตร
เผยแพร่เมื่อ 12-05-2020 ผู้เช้าชม 3,278
อัญชัน เป็นพืชที่มีต้นกำเนิดในแถบอเมริกาใต้ ปลูกทั่วไปในเขตร้อน ลักษณะของดอกอัญชันจะมีสีขาว สีฟ้า สีม่วง ส่วนตรงกลางดอกจะมีสีเหลือง และรูปทรงคล้ายหอยเชลล์ มีสรรพคุณที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว เพราะมีสารที่ชื่อว่า "แอนโทไซยานิน" (Anthocyanin) ซึ่งมีหน้าที่ไปช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของโลหิต ทำให้เลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ได้ดีมากขึ้น เช่น ไปเลี้ยงบริเวณรากผม ซึ่งช่วยทำให้ผมดกดำ เงางาม หรือไปเลี้ยงบริเวณดวงตาจึงช่วยบำรุงสายตาไปด้วยในตัว หรือไปเลี้ยงบริเวณปลายนิ้วมือ ซึ่งก็จะช่วยแก้อาการเหน็บชาได้ด้วย
เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 6,126
ต้นแห้ม หรือ ต้นแฮ่ม จัดเป็นพืชวงศ์เดียวกับบอระเพ็ด ลำต้นที่นำมาใช้เป็นยาสมุนไพร จะมีลักษณะเป็นชิ้นหรือแท่งตรงทรงกระบอก เรียกว่า "Coscinium" อาจพบในขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางถึง 10 เซนติเมตร ผิวภายนอกเป็นสีน้ำตาลเหลือง ส่วนเนื้อในเป็นสีเหลือง ไม่มีกลิ่นแต่มีรสขม โดยพืชชนิดนี้ถูกบรรจุอยู่ใน The British Phamaceutical Codex 1991 ภายใต้หัวข้อ Coscinium[1] ยังไม่มีการปลูกในประเทศไทย และต้องนำเข้ามาจากประเทศลาวเท่านั้น สามารถหาซื้อได้ตามร้านขายสมุนไพร โดยจะมีทั้งแบบที่เป็นผงสีเหลือง (คล้ายขมิ้น) และแบบที่หั่นเป็นชิ้นเฉียงๆ หนาประมาณ 2-3 มิลลิเมตร เนื้อไม้มีรูพรุนและเป็นสีเหลือง
เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 7,152
ต้นหญ้าเกล็ดหอย จัดเป็นพรรณไม้หรือวัชพืชล้มลุก ลำต้นทอดเลื้อยแผ่ไปตามพื้นดิน แตกแขนงมาก บริเวณที่สัมผัสดินหรือข้อต่อจะออกราก มีความสูงได้ประมาณ 15-30 เซนติเมตร ลำต้นมีลักษณะเรียวยาว ผิวลำต้นเรียบ ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด พบได้บ้างเล็กน้อยทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือและทางภาคใต้ของประเทศไทย ชอบสภาพชุ่มชื้นในไร่ชา กาแฟ และสวนผลไม้
เผยแพร่เมื่อ 18-05-2020 ผู้เช้าชม 6,180
ต้นเคี่ยม จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ลำต้นตั้งตรง มีความสูงประมาณ 20-40 เมตร ลักษณะเรือนยอดเป็นพุ่มทึบ รูปเจดีย์แบบต่ำ ๆ ส่วนเปลือกต้นเป็นสีน้ำตาล เปลือกเรียบ มีรอยด่างสีเทาและสีเหลืองสลับกัน และมีต่อมระบายอากาศกระจายอยู่ทั่วไป เปลือกด้านในเป็นสีน้ำตาลอ่อน มีชันใสตามลำต้นและจะจับกันเป็นก้อนสีเหลืองเมื่อทิ้งไว้นานๆ ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เมล็ด (โดยเด็ดปีกออกก่อนการนำไปเพาะ) และวิธีการตอนกิ่ง
เผยแพร่เมื่อ 25-05-2020 ผู้เช้าชม 6,981
ต้นผักกาดหอม ลักษณะของลำต้นในระยะแรกมักจะมองไม่เห็น เพราะใบมักปกคลุมไว้ แต่จะเห็นได้ชัดเมื่อถึงระยะแทงช่อดอก ลำต้นมีลักษณะเป็นข้อสั้น โดยแต่ละข้อจะเป็นที่เกิดของใบ ลักษณะของลำต้นจะค่อนข้างอวบอ้วนและตั้งตรงสูงชะลูดขึ้นจนสามารถมองเห็นได้ชัดเจน หากปลูกในพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์มากๆ ลำต้นอาจมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางได้ถึง 2 นิ้ว
เผยแพร่เมื่อ 10-07-2020 ผู้เช้าชม 9,845