พลูคาว

พลูคาว

เผยแพร่เมื่อ 16-07-2020 ผู้ชม 1,874

[16.4258401, 99.2157273, พลูคาว]

พลูคาว ชื่อสามัญ Plu Kaow

พลูคาว ชื่อวิทยาศาสตร์ Houttuynia cordata Thunb. จัดอยู่ในวงศ์ผักคาวตอง (SAURURACEAE)

สมุนไพรพลูคาว มีชื่อเรียกท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ผักคาวตอง (ลำปาง, อุดรธานี) คาวทอง (อุตรดิตถ์, มุกดาหาร) ผักก้านตอง (แม่ฮ่องสอน) ผักคาวปลาผักเข้าตองผักคาวตอง (ภาคเหนือ) ส่วนทางภาคกลางมักจะนิยมเรียกว่า พลูคาว

พลูคาวเป็นพืชล้มลุกที่พบได้ทั่วไปในแถบทวีปเอเชียในแถบเทือกเขาหิมาลัยไปจนถึงเวียดนาม ญี่ปุ่น รวมถึงไทยด้วย เป็นที่รู้จักกันดีในทางภาคเหนือ 

สรรพคุณของพลูคาว

  1. มีฤทธิ์ในการช่วยต่อต้านมะเร็ง ยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง
  2. มีฤทธิ์ในการช่วยบำบัดฟื้นฟูโรคความดันโลหิตสูง
  3. ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย ต้านทานโรค ช่วยยืดอายุผู้ป่วยให้อยู่สู้โรคได้นานมากขึ้น
  4. มีส่วนช่วยยับยั้งเบาหวาน รักษาความสมดุลของร่างกาย
  5. ช่วยทำให้กระดูกเชื่อมติดกันเร็วขึ้น (ต้นสด)
  6. ช่วยรักษาปริมาณของเหลวในร่างกาย
  7. ช่วยรักษาอาการหูชั้นกลางอักเสบ (ทั้งต้น)
  8. ใช้รักษาโรคติดเชื้อและทางเดินหายใจ (ต้น)
  9. ประโยชน์ของผักคาวตองช่วยแก้ไข้ (ใบ)
  10. ช่วยรักษาโรคไข้มาลาเรีย (ต้น)
  11. ใช้เป็นส่วนผสมในตำรับยาที่เป็นน้ำยาข้น ใช้ทารักษาและช่วยต้านเชื้อโรคหวัด ไข้หวัดใหญ่
  12. ใช้เป็นส่วนประกอบในตำรับยา ช่วยรักษาอาการติดเชื้อเฉียบพลัน ติดเชื้อทางเดินหายใจ
  13. ใช้เป็นส่วนผสมในตำรับยาที่เป็นน้ำยาข้น ใช้ทารักษาคางทูม ต่อมทอนซิลอักเสบ และปอดอักเสบในเด็ก
  14. คาวตองมีสรรพคุณช่วยแก้และบรรเทาอาการไอ (ทั้งต้น)
  15. มีส่วนช่วยกระตุ้นการแบ่งตัวของเซลล์เม็ดเลือดขาวช่วยรักษาภาวะภูมิแพ้ หอบหืด
  16. ช่วยรักษาโรคไอกรน (ประยุกต์ใช้ทางการแพทย์)
  17. ช่วยรักษาการอักเสบชนิดธรรมดาบริเวณแก้วตา (ประยุกต์ใช้ทางการแพทย์)
  18. ช่วยรักษาโรคหลอดลมอักเสบ (ทั้งต้น)
  19. ช่วยรักษาโรคหลอดลมขยายตัวมากเกินไป (ประยุกต์ใช้ทางการแพทย์)
  20. ช่วยรักษาอาการปอดบวม ปอดอักเสบ (ทั้งต้น)
  21. ช่วยรักษาฝีหนองในปอด (ต้น)
  22. ช่วยรักษาอาการคั่งน้ำในอกจากโรคมะเร็ง (ประยุกต์ใช้ทางการแพทย์)
  23. ช่วยลดอาการบวมน้ำ (ทั้งต้น)
  24. ใช้เป็นยาระบาย อาหารไม่ย่อย (ใบ)
  25. รักษาอาการท้องเสีย (ใบ)
  26. ใช้แก้โรคบิด (ต้น, ใบ, ทั้งต้น)
  27. ช่วยขับพยาธิ (ใบ)
  28. ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ (ราก, ทั้งต้น)
  29. ช่วยรักษาอาการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ (ทั้งต้น)
  30. ช่วยรักษาริดสีดวงทวาร (ต้นสด, ใบ, ทั้งต้น)
  31. ช่วยรักษาโรคหนองใน (ใบ)
  32. ใช้ปรุงเป็นยาแก้กามโรค (ใบ)
  33. ช่วยรักษานิ่ว (ต้น)
  34. ช่วยแก้โรคไต (ใบ)
  35. ช่วยรักษาอาการไตผิดปกติ (ประยุกต์ใช้ทางการแพทย์)
  36. ช่วยรักษาโรคตับอักเสบชนิดดีซ่าน (ประยุกต์ใช้ทางการแพทย์)
  37. ช่วยขับระดูขาว (ต้น)
  38. ช่วยรักษาแผลอักเสบคอมดลูก (ประยุกต์ใช้ทางการแพทย์)
  39. ช่วยรักษาการอักเสบบริเวณกระดูกเชิงกราน (ประยุกต์ใช้ทางการแพทย์)
  40. ช่วยแก้โรคข้อ (ใบ)
  41. ช่วยรักษาโรคหัด (ใบ)
  42. ช่วยรักษาโรคผิวหนังต่างๆ (ต้นสด, ใบ)
  43. ช่วยรักษาผื่นคัน ฝีฝักบัว (ต้นสด)
  44. มีฤทธิ์ช่วยระงับอาการปวด
  45. ช่วยห้ามเลือด
  46. มีฤทธิ์ต้านการอักเสบต่างๆ
  47. ใช้พอกฝี บวมอักเสบ (ต้นสด, ทั้งต้น)
  48. ช่วยรักษาบาดแผล (ต้นสด)
  49. ช่วยรักษาแผลเปื่อย (ต้นสด)
  50. ช่วยรักษาแผลให้หายเร็วขึ้น (ใบ)
  51. ใช้พอกแผลที่ถูกงูพิษกัด (ต้นสด)
  52. ช่วยป้องกันการติดเชื้อหลังผ่าตัด (ประยุกต์ใช้ทางการแพทย์)
  53. ใบสดผิงไฟพอนิ่มใช้พอกเนื้องอกต่าง ๆ (ใบ)
  54. มีฤทธิ์ช่วยต่อต้านเชื้อรา เชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส
  55. ประโยชน์ของพลูคาวช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของไวรัสชนิดต่าง ๆ เช่น ไข้ทรพิษ หัด งูสวัด เริม เอดส์ (HIV)
  56. แก้โรคน้ำกัดเท้า
  57. ในประเทศจีนใช้เป็นส่วนผสมในตำรับยาช่วยป้องกันและรักษาโรคที่เกิดจากไวรัสในไก่ โดยใช้ผสมในอาหารที่ใช้เลี้ยงไก่
  58. ใบสดใช้ป้องกันปลาเน่าเสีย (ใบ)
  59. ใบนำมารับประทานเป็นผักสด
  60. ใบสดต้มน้ำนำมารดต้นข้าว ข้าวสาลี ต้นฝ้าย ป้องกันพืชเป็นโรคเหี่ยวเฉาตาย
  61. ใช้ขับทากที่ตายในท้อง (ดอก)
  62. เหมาะกับผู้ป่วยและผู้ที่ต้องการบำรุงร่างกาย ผู้ป่วยในระยะพักฟื้น
  63. เหมาะกับผู้ที่ต้องการ Detox ล้างพิษออกจากร่างกาย ป้องกันโรคร้าย ช่วยให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกันแข็งแรงขึ้น ทำให้โรคต่าง ๆ มีอาการดีขึ้น และหายจากอาการของโรคต่างๆ ได้ในที่สุด
  64. ใช้ควบคู่กับการรักษาด้วยเคมีบำบัดหรือการฉายรังสี จะช่วยให้ผู้ป่วยมีอาการแพ้น้อยลง
  65. ใช้เป็นส่วนผสมในเครื่องสำอางประเภทครีมทาแก้ผิวหนังแห้ง หยาบกร้าน ป้องกันผิวหนังแตก

วิธีใช้ทั้งต้นแห้งประมาณ 15-30 กรัม (ต้นสด 30-60 กรัม) นำมาแช่น้ำทิ้งไว้ประมาณ 3 นาที แล้วนำมาต้มน้ำให้เดือดประมาณ 5 นาทีแล้วนำมาดื่ม แต่หากใช้ร่วมกับสมุนไพรหรือยาชนิดอื่น ให้ต้มยาอื่นให้เดือดก่อนจึงใส่ยา ต้มให้เดือด การรับประทานถ้ามากเกินไปอาจจะทำให้หัวใจเต้นสั้นและถี่ อาจเป็นอันตรายได้

คำสำคัญ : พลูคาว

ที่มา : https://medthai.com/

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). พลูคาว. สืบค้น 19 เมษายน 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1744&code_db=610010&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1744&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

แก้ว

แก้ว

ต้นแก้ว เป็นพันธุ์ไม้ที่มีถิ่นกำเนิดในเอเชียใต้ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประเทศจีน และในออสเตรเลีย ในประเทศไทยสามารถพบได้ทั่วทุกภาคในป่าดิบแล้งจากที่ราบสูงจนถึงที่ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 400 เมตร โดยจัดเป็นไม้พุ่มกึ่งไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบขนาดเล็ก มีความสูงของต้นประมาณ 5-10 เมตร ต้นแตกกิ่งก้านเป็นพุ่มกลมแน่นทึบ เปลือกลำต้นเป็นสีเทาแตกเป็นร่อง ๆ เนื้อไม้สีขาวนวล เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนที่ระบายน้ำได้ดี ชอบแสงแดดเต็มวัน-รำไร และความชื้นปานกลาง-ต่ำ ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดและวิธีการตอน

เผยแพร่เมื่อ 18-05-2020 ผู้เช้าชม 6,300

เลียบ

เลียบ

ลักษณะทั่วไป  ต้นเป็นพรรณไม้ยืนต้น มีขนาดใหญ่ มีความสูงประมาณ 8-15 เมตร  ใบลักษณะของใบยาวเรียว ผิวใบเรียบ ใบอ่อนมีสีน้ำตาลแดงปนสีเขียวอ่อน  เป็นพรรณไม้ที่ทนต่อความร้อนและแสงแดดได้ดีต้องการน้ำและความชื้น  ขยายพันธุ์ด้วยการตอนกิ่ง และการปักชำกิ่ง  ประโยชน์สมุนไพร ใบขับพยาธิตัวกลม ขับฤดู ขับปัสสาวะ ไล่แมลง ดอกฆ่าเหา แก้โรคผิวหนัง ผล ทาแผลพุพองจากไฟไหม้หรือน้ำร้อนลวก  เปลือกใช้เป็นยาทำให้อาเจียน

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 10,851

ถั่วแปบ

ถั่วแปบ

ถั่วแปบ (Hyacinth Bean, Bonavista Bean, Lablab) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกเถา ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ภาคเหนือเรียก ถั่วมะเปกี, มะแปบ, ถั่วแล้ง หรือถั่วหนัง เป็นต้น โดยเป็นพืชสมุนไพรที่มีสายพันธุ์มากมายหลากหลาย จะเรียกว่ามากกว่าบรรดาพืชสมุนไพรชนิดอื่นๆ เลยก็ว่าได้ ซึ่งเป็นพืชตระกูลถั่ว มีแหล่งกำเนิดในแถบร้อนของทวีปเอเชีย รวมทั้งในภาคเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือของไทยเราด้วย สำหรับถั่วแปบนี้มักนิยมนำมาทำเป็นขนมหวานของไทย โดยผสมกับแป้งเคี้ยวเหนียวนุ่มรับประทานอร่อย

เผยแพร่เมื่อ 08-05-2020 ผู้เช้าชม 8,998

กระโดน

กระโดน

ต้นกระโดนไม้ยืนต้น ขนาดกลาง ผลัดใบ สูง 10-20 เมตร เปลือกต้นสีดำ หรือสีน้ำตาลดำหนา แตกล่อนเป็นแผ่น มีกิ่งก้านสาขามาก เนื้อไม้สีแดงเข้มถึงสีน้ำตาลแกมแดง เรือนยอดเป็นพุ่มกลม แน่นทึบ เปลือกหนา แตกล่อน ใบกระโดนเป็นใบเดี่ยว เรียงสลับเวียนเป็นกลุ่มตามปลายกิ่ง รูปไข่กลับ กว้าง15-25 เซนติเมตร ยาว 30-35 เซนติเมตร ปลายใบมน มีติ่งแหลมยื่น ฐานใบสอบเรียว ขอบใบหยักเล็กน้อยตลอดทั้งขอบใบ ผิวใบทั้งสองด้านเกลี้ยง เนื้อใบหนา ค่อนข้างนิ่ม ก้านใบอวบ ยาว 2-3 เซนติเมตร หน้าแล้งใบแก่ท้องใบเป็นสีแดง แล้วทิ้งใบเมื่อออกใบอ่อน ยอดอ่อนเป็นสีน้ำตาลแดง 

เผยแพร่เมื่อ 13-05-2020 ผู้เช้าชม 5,336

กล้วยน้ำว้า

กล้วยน้ำว้า

กล้วยน้ำว้าเป็นไม้ล้มลุก ลำต้นสูงประมาณ 3.5 เมตร กาบเรียงซ้อนกันเป็นลำต้น สีเขียวอ่อน เป็นใบเดี่ยวขนาดใหญ่ เรียงสลับกัน รูปขอบขนาน ปลายมน ขอบและแผ่นใบเรียบ ก้านใบเป็นร่องแคบๆ ส่วนดอกจะออกเป็นช่อตรงปลายห้อยลง หรือที่เรียกกันว่า หัวปลี และผลเป็นรูปทรงรี ยาวประมาณ 11-13 เซนติเมตร ผิวเรียบ เนื้อในขาว ผลดิบมีสีเขียว เมื่อสุกจะเป็นสีเหลือง รสชาติหวาน อร่อย โดยใน 1 หวี มีผลอยู่ประมาณ 10-16 ผล

เผยแพร่เมื่อ 29-04-2020 ผู้เช้าชม 6,420

พุดตาน

พุดตาน

พุดตาน มีถิ่นกำเนิดมาจากประเทศจีน ชาวจีนเชื่อว่าต้นพุดตานเป็นไม้มงคล เพราะดอกพุดตานสามารถเปลี่ยนสีได้ถึง 3 สีภายในวันเดียว เปรียบเสมือนของชีวิตคนที่เริ่มต้นเหมือนเด็กที่เป็นผ้าขาว แล้วค่อย ๆ เจริญเติบโตพร้อมกับสีสันที่แต่งแต้มขึ้นมา เมื่ออายุมากขึ้นก็พร้อมที่จะเปลี่ยนสีเป็นสีเข้มจนกระทั่งได้ร่วงโรยลงไป เชื่อว่าต้นพุดตานนี้ได้มีการนำเข้ามาปลูกในประเทศไทยในช่วงสมัยรัตนโกสินทร์ ซึ่งเป็นช่วงค้าขายกับชาวจีน โดยจัดเป็นพรรณไม้พุ่มที่มีความสูงประมาณ 5 เมตร ต้นและกิ่งมีขนสีเทา ต้นพุดตานชอบอยู่กลางแจ้ง ชอบแสงแดดจัด ๆ ไม่ชอบที่มีน้ำขังหรือที่แฉะ เจริญเติบโตได้ดีในที่ดอน มีดินร่วนซุย ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการตอนกิ่งและวิธีการปักชำ

เผยแพร่เมื่อ 16-07-2020 ผู้เช้าชม 6,678

จิกนม

จิกนม

ต้นจิกนม จัดเป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดเล็กจนถึงขนาดกลาง มีความสูงได้ประมาณ 4-20 เมตร แตกกิ่งก้านสาขาออกรอบต้น แต่ไม่มากนัก เป็นพรรณไม้กลางแจ้งที่ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด พบขึ้นตามป่าดงดิบทางภาคใต้ และภาคตะวันออกเฉียงใต้ของไทย ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับกันไปตามข้อต้น ลักษณะของใบเป็นรูปยาวรี ออกดอกเป็นช่อตรงส่วนยอดของต้น ช่อดอกมีลักษณะห้อยลง ช่อยาวประมาณ 9-18 นิ้ว ในแต่ละช่อดอกจะประกอบไปด้วยดอกเป็นจำนวนมาก

เผยแพร่เมื่อ 26-05-2020 ผู้เช้าชม 4,419

ผักหวานป่า

ผักหวานป่า

ลักษณะทั่วไป  ต้นเป็นต้นขนาดย่อม กิ่งเล็กเรียวงอไปมาเล็กน้อยตามข้อ  ใบเดี่ยว รูปไข่ ปลายแหลม ขอบเรียบ ออกเป็นคู่ตรงข้ามกัน ตามกิ่งดูคล้ายใบประกอบ เหมือนใบมะยมดอกเล็ก  กลีบดอกมีสีขาว กลีบรองแดง ออกเป็นช่อตามง่ามใบ  ผลกลมฉ่ำน้ำ ผิวเป็นพูเล็กน้อย สีเขียวถึงขาว ขั้วสีแดงห้อยลงใต้ใบ  การขยายพันธุ์ใช้เมล็ด หรือกิ่งปักชำ   ประโยชน์ด้านสมุนไพรใบและต้น รสหวานเย็น ใช้น้ำยาหยอดตาแก้อักเสบ รักษาแผลในจมูก ราก รสเย็นระงับความร้อน ถอนพิษไข้กลับไข้ซ้ำ แก้โรคคางทูม

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 1,788

กะเพรา

กะเพรา

กะเพราเป็นไม้ล้มลุกที่มีความสูงของต้นประมาณ 30-60 เซนติเมตร โคนต้นออกแข็ง กะเพราแดงจะมีลำต้นสีแดงอมเขียว กะเพราขาวมีลำต้นสีเขียวอมขาว และยอดอ่อนมีขนสีขาว มีใบเป็นใบเดี่ยวสีเขียวรูปรีออกตรงข้ามกัน ปลายใบมนหรือแหลม โคนใบแหลม ขอบใบเป็นจักฟันเลื่อยและเป็นคลื่น แผ่นใบมีขนสีขาว ส่วนดอกกะเพราจะออกเป็นช่อที่ปลายยอด ดอกสีขาวแกมม่วงแดงมีจำนวนมาก กลีบเลี้ยงโคนจะเชื่อมติดกัน ปลายเรียวแหลม 

เผยแพร่เมื่อ 18-05-2020 ผู้เช้าชม 4,008

กุ่มบก

กุ่มบก

กุ่มบก (Sacred Barnar) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกต้น ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ภาคอีสานเรียกผักก่าม เขมรเรียกถะงัน หรือสะเบาถะงัน เป็นต้น ซึ่งกุ่มบกนั้นมีแหล่งกำเนิดอยู่ในประเทศญี่ปุ่น, ออสเตรเลีย, เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิกใต้, เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตลอดจนภาคกลางและใต้ของไทย รวมทั้งในพุทธประวัติยังได้กล่าวไว้ว่าขณะที่พระพุทธเจ้าทรงนำห่อบังสุกุลที่ห่อศพนางมณพาสีไปซักแล้วนำไปตากไว้ที่ต้นกุ่ม และเทวดาที่สถิตอยู่ในต้นกุ่มก็ได้น้อมกิ่งลงมาให้พระพุทธเจ้าได้ทรงตากจีวรอีกด้วย

เผยแพร่เมื่อ 29-04-2020 ผู้เช้าชม 3,382