มะดัน

มะดัน

เผยแพร่เมื่อ 13-07-2020 ผู้ชม 11,011

[16.4258401, 99.2157273, มะดัน]

มะดัน ชื่อสามัญ Madan (ตรงตัว)

มะดัน ชื่อวิทยาศาสตร์ Garcinia schomburgkiana Pierre จัดอยู่ในวงศ์มังคุด (CLUSIACEAE หรือ GUTTIFERAE)

สมุนไพรมะดัน มีชื่อเรียกอื่นๆ ว่า ส้มมะดัน, ส้มไม่รู้ถอย เป็นต้น

ลักษณะของมะดัน

  • ต้นมะดัน เป็นไม้ยืนต้น ไม่ผลัดใบ สูงประมาณ 7-10 เมตร แตกกิ่งก้านออกเป็นพุ่ม ลักษณะของเปลือกต้นจะเรียบ สีน้ำตาลอมดำ
  • ใบมะดัน เป็นใบเดี่ยว สีเขียวเข้ม รูปขอบขนาน ขอบใบเรียบออกเรียงสลับกัน โคนใบและปลายใบแหลม แผ่นใบเรียบลื่น
  • ดอกมะดัน เป็นดอกเดี่ยวหรือออกดอกเป็นกระจุกประมาณ 3-6 ดอก โดยดอกจะออกตามซอกใบ ดอกมีสีเหลืองอมส้มนิด ๆ ดอกมีทั้งดอกสมบูรณ์เพศและดอกเพศผู้ มีกลีบเลี้ยง 4 กลีบ ค่อนข้างกลม กลีบดอกมี 4 กลีบ คล้ายรูปแกมรูปไข่ ส่วนปลายกลีบจะมน และดอกเพศจะมีเกสรเพศผู้อยู่ 10-12 อัน
  • ผลมะดัน หรือ ลูกมะดัน ลักษณะของผลจะคล้ายรูปรีปลายแหลม ผลมีสีเขียว ลักษณะผิวเรียบเป็นมันลื่น ผลมีรสเปรี้ยวถึงเปรี้ยวจัด ด้านในผลมีเมล็ดประมาณ 3-4 เมล็ดติดกัน เมล็ดแข็งและขรุขระ โดยในผลจะมีวิตามินซีสูงและยังมีสารอาหารหรือสารสำคัญอย่างเบตาแคโรทีน รวมไปถึงแร่ธาตุชนิดต่าง ๆ เช่น แคลเซียม เหล็ก ฟอสฟอรัส เป็นตัน

สรรพคุณของมะดัน

  1. ในทางเภสัชวิทยาพบว่ามะดันมีสารสำคัญซึ่งมีฤทธิ์ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเนื้องอกได้
  2. สรรพคุณมะดันผลช่วยแก้อาการคอแห้ง ช่วยทำให้ชุ่มชื่นคอ (ผล)
  3. ใบและรากปรุงเป็นยาต้มรับประทานแก้กระษัย (รก, ราก, ใบ, ผล, เปลือกต้น)
  4. ใบปรุงเป็นยาต้ม ช่วยขับฟอกโลหิต (รก, ราก, ใบ, ผล, เปลือกต้น)
  5. ช่วยแก้เบาหวาน (ราก)
  6. มะดันมีสรรพคุณช่วยรักษาไข้หวัด (รก, ราก, ใบ, ผล, เปลือกต้น)
  7. ช่วยแก้ไข้ทับระดู (รก, ราก, เปลือกต้น)
  8. ช่วยแก้อาการหวัด (ใบ)
  9. ช่วยแก้อาการไอ ด้วยการทำเป็นยาสูตรดองเปรี้ยวเค็ม (ใบ, ผล)
  10. ใช้เป็นยาแก้เสมหะ เสมหะพิการ กัดเสมหะในลำคอได้เป็นอย่างดี หรือจะปรุงเป็นยาต้มกินก็ได้ (รก, ราก, ใบ, ผล, เปลือกต้น)
  11. สรรพคุณของมะดันผลใช้ทำเป็นยาดองเปรี้ยวเค็ม ช่วยฟอกเสมหะ ล้างเสมหะ (ผล)
  12. ผลมะดันนำมาดองน้ำเกลือ ใช้รับประทานเพื่อแก้อาการน้ำลายเหนียวหรือเป็นเมือกในลำคอ (ผล)
  13. ใช้เป็นยาระบายอ่อน ๆ โดยปรุงเป็นยาต้ม (ราก)
  14. ช่วยขับปัสสาวะ (ราก, ใบ)
  15. ใบมะดันและรากปรุงเป็นยาต้มช่วยแก้ระดูเสียในสตรี แก้ประจำเดือนมาไม่ปกติ หรือจะทำเป็นยาดองเปรี้ยวเค็มก็ได้เช่นกัน (ราก, ใบ, ผล)

วิธีการปรุงเป็นยาต้ม ด้วยการใช้ใบหรือผลประมาณ 1 กำมือ ใส่น้ำพอท่วมยาแล้วต้มให้เดือดประมาณ 10 นาที และบางตำราบอกให้ต้มแบบไม่ใช้ไฟแรง ให้น้ำค่อยเดือดๆ และต้ม 3 ส่วน เคี่ยวจนเหลือ 1 ส่วน โดยขนาดที่รับประทานคือครึ่งแก้วถึงหนึ่งแก้ว (125-250 cc) สรรพคุณช่วยแก้กระษัย ฟอกโลหิต ฟอกประจำเดือน เป็นยาระบายอ่อนๆ แต่สำหรับผู้ที่เป็นโรคโลหิตจางไม่ควรรับประทานอาหารหรือยาที่มีรสเปรี้ยวเพราะจะยิ่งไปกัดฟอกโลหิตมากขึ้น และอาจทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกายได้

ประโยชน์ของมะดัน

  1. ประโยชน์ของมะดันช่วยในการผลัดเซลล์ผิวได้ เพราะมีสารกลุ่ม AHA และ BHA โดยได้มีการนำมาใช้ในวงการเครื่องสำอาง ใช้เป็นส่วนผสมในสบู่ โทนเนอร์ ครีมบำรุงผิว เป็นต้น
  2. มีการนำมะดันมาทำเป็นน้ำหมักชีวภาพแล้วกรองเอาน้ำมาใช้ บ้างก็ใช้ปรุงในเครื่องดื่ม บ้างก็นำไปใช้ทำเป็นโทนเนอร์เช็ดหน้า
  3. ผลใช้รับประทานเป็นผลไม้สด โดยจิ้มกับพริกเกลือ
  4. ผลสามารถนำไปแปรรูปเป็นมะดันแช่อิ่ม หรือ มะดันดองแช่อิ่ม
  5. ผลมีรสเปรี้ยวจัด ใช้แทนมะนาวได้ เช่น การตำน้ำพริก น้ำพริกลงเรือ น้ำพริกทรงเครื่อง น้ำพริกสับกากหมู หรือใช้ใส่ในแกงที่ต้องการความเปรี้ยวอย่างแกงส้มหรือต้มยำ เป็นต้น
  6. ยอดอ่อนและใบอ่อนใช้รับประทานเป็นผักได้
  7. ยอดอ่อนนำมาใส่ต้มปลา ต้มไก่ จะให้รสเปรี้ยวแทนมะนาวได้และยังทำให้รสชาติของอาหารหวานและหอมขึ้นด้วย
  8. กิ่งของมะดันนำมาใช้หนีบไก่ปิ้งหรือไก่ปิ้งไม้มะดัน จะช่วยทำให้มีกลิ่นหอมน่ารับประทานยิ่งขึ้น
  9. ต้นมะดันเป็นไม้ที่ทนน้ำท่วมขังได้ดีมากที่สุดชนิดหนึ่ง มันจึงเหมาะถ้าจะปลูกไว้ในบริเวณที่อาจเกิดน้ำท่วม
  10. ต้นมะดันมีทรงพุ่มที่สวยงาม จึงเป็นต้นไม้ที่สามารถใช้ประดับสถานที่ได้เป็นอย่างดี

คำสำคัญ : มะดัน

ที่มา : https://medthai.com/

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). มะดัน. สืบค้น 18 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?code_db=610010&code_type=01&nu=pages&page_id=1715

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1715&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

หญ้างวงช้าง

หญ้างวงช้าง

หญ้างวงช้าง เก็บ ทั้งต้นที่เจริญเต็มที่ มีดอก ล้างให้สะอาด ใช้สดหรือตากแห้งเก็บเอาไว้ใช้ก็ได้ ทั้งต้นรสขม ใช้เป็นยาเย็น แก้กระหายน้ำ ดับร้อนใน ขับปัสสาวะ แก้บวม แก้พิษปอดอักเสบ มีหนองในช่องหุ้มปอด เจ็บคอ นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ เด็กตกใจในเวลากลางคืนบ่อยๆ ปากเปื่อย แผลบวม มีหนอง และแก้ตาฟาง

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 3,967

งาดำ

งาดำ

งาดำ (Black Sesame Seeds) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกต้น งาดำอุดมไปด้วยสารอาหารที่มีคุณประโยชน์สูงมากๆ อย่าง เซซามิน (Sesamin) ที่มีสารต้านอนุมูลอิสระรวมทั้งวิตามินมากมายหลากหลายชนิดเลยทีเดียว ที่ช่วยเสริมการทำงานของระบบต่างๆ ที่สำคัญในร่างกายของเรา รวมทั้งช่วยบำรุงเซลล์ผิวพรรณให้ชุ่มชื้น ช่วยให้ผมดกดำ ตลอดจนทำให้ระบบหัวใจแข็งแรง

เผยแพร่เมื่อ 30-04-2020 ผู้เช้าชม 6,335

ผักตบชวา

ผักตบชวา

ผักตบชวา จัดเป็นพรรณไม้น้ำที่มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมอยู่ในทวีปอเมริกาใต้ ได้มีการนำเข้ามาปลูกครั้งแรกไว้ที่วังสระปทุมในกรุงเทพมหานครเมื่อปี พ.ศ.2444 แต่จากการขยายพันธุ์อย่างรวดเร็วและเกิดน้ำท่วมจึงทำให้ผักตบชวาหลุดรอดออกมา และเกิดการแพร่กระจายไปทั่ว จนกลายเป็นวัชพืชน้ำที่รุนแรง โดยผักตบชวานั้นจัดเป็นพืชน้ำล้มลุกมีอายุหลายฤดู มีลำต้นสั้นแตกใบเป็นกอลอยไปตามน้ำ มีไหล ซึ่งเกิดตามซอกใบแล้วเจริญเป็นต้นอ่อนที่ปลายไหล ลำต้นมีลักษณะอวบน้ำ ผิวลำต้นเรียบเป็นสีเขียวอ่อนและเข้ม ลำต้นจะมีขนาดสั้นหรือยาวจะขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์ของแม่น้ำ ก้านใบจะพองออกตรงช่องกลาง ภายในมีลักษณะเป็นรูพรุน จึงช่วยพยุงลำต้นให้ลอยน้ำได้ 

เผยแพร่เมื่อ 10-07-2020 ผู้เช้าชม 28,039

ชุมเห็ดไทย

ชุมเห็ดไทย

ชุมเห็ดไทยเป็นพืชที่ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด โดยมักพบขึ้นเองตามริมคลอง ตามที่รกร้าง หรือตามริมทางทั่วไป เมล็ดมักนำมาใช้เป็นยาโดยเฉพาะช่วยบรรเทาอาการนอนไม่หลับได้เป็นอย่างดี ทั้งยังมีกรดครัยโซเฟนิค ซึ่งมีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อราที่ทำให้เกิดโรคผิวหนัง โดยต้องนำเมล็ดไปตากให้แห้งอีกครั้ง ก่อนนำมาใช้ให้นำมาคั่วจนเริ่มพองตัวและมีกลิ่นหอม โดยเมล็ดที่ได้จะมีรสขมเล็กน้อย ลื่นเป็นเมือก

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 1,770

กำจาย

กำจาย

ต้นกำจาย จัดเป็นพรรณไม้พุ่มรอเลื้อย มีความสูงได้ประมาณ 2.5-10 เมตร ลำต้นและก้านใบมีหนามแหลมแข็งและโค้งคล้ายหนามกุหลาบ ตามกิ่งอ่อนมีขนสั้นขึ้นปกคลุม ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด ส่วนใหญ่จะไม่นิยมปลูกต้นกำจายไว้ตามบ้าน เนื่องจากต้นกำจายเป็นไม้ที่มีหนามแหลมและเป็นไม้เถาเลื้อย แต่จะมีปลูกไว้เพื่อใช้ประโยชน์ทางยาตามสวนยาแผนไทย 

เผยแพร่เมื่อ 18-05-2020 ผู้เช้าชม 4,109

กระโดน

กระโดน

ต้นกระโดนไม้ยืนต้น ขนาดกลาง ผลัดใบ สูง 10-20 เมตร เปลือกต้นสีดำ หรือสีน้ำตาลดำหนา แตกล่อนเป็นแผ่น มีกิ่งก้านสาขามาก เนื้อไม้สีแดงเข้มถึงสีน้ำตาลแกมแดง เรือนยอดเป็นพุ่มกลม แน่นทึบ เปลือกหนา แตกล่อน ใบกระโดนเป็นใบเดี่ยว เรียงสลับเวียนเป็นกลุ่มตามปลายกิ่ง รูปไข่กลับ กว้าง15-25 เซนติเมตร ยาว 30-35 เซนติเมตร ปลายใบมน มีติ่งแหลมยื่น ฐานใบสอบเรียว ขอบใบหยักเล็กน้อยตลอดทั้งขอบใบ ผิวใบทั้งสองด้านเกลี้ยง เนื้อใบหนา ค่อนข้างนิ่ม ก้านใบอวบ ยาว 2-3 เซนติเมตร หน้าแล้งใบแก่ท้องใบเป็นสีแดง แล้วทิ้งใบเมื่อออกใบอ่อน ยอดอ่อนเป็นสีน้ำตาลแดง 

เผยแพร่เมื่อ 13-05-2020 ผู้เช้าชม 5,824

บอนส้ม

บอนส้ม

บอนส้ม จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุก ลำต้นสั้นป้อมเป็นกาบหุ้มคล้ายบอน แต่จะมีขนาดเล็กกว่า โดยจะมีความยาวได้ประมาณ 5-7.5 เซนติเมตร ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการแยกหัว พรรณไม้ชนิดนี้มักพบขึ้นตามที่ชื้นในป่าทั่วไป โดยเฉพาะทางภาคใต้ ใบบอนส้ม ลักษณะของใบเป็นรูปขอบขนานหรือรูปหอกกลับ ปลายใบเรียวแหลม โคนใบกลมหรือแคบ ส่วนขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 5-15 เซนติเมตร และยาวประมาณ 15-60 เซนติเมตร ส่วนก้านใบยาวได้ประมาณ 60 เซนติเมตร

เผยแพร่เมื่อ 02-06-2020 ผู้เช้าชม 2,232

ผักแขยง

ผักแขยง

ต้นผักแขยง จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุกเนื้ออ่อน เป็นพืชฤดูเดียวหรือหลายฤดู และจัดเป็นวัชพืชในนาข้าว ลำต้นกลมกลวงและเป็นข้อๆ และมีความสูงได้ประมาณ 30-70 เซนติเมตร อาจแตกกิ่งมากหรือไม่แตกกิ่ง ลำต้นทอดเลื้อย ผิวเกลี้ยงหรือมีต่อม แตกรากจากข้อ ทั้งต้นและใบเมื่อนำมาหักจะมีกลิ่นหอมฉุนและเผ็ดร้อน ออกดอกและติดในช่วงประมาณเดือนมีนาคมถึงเดือนกันยายน ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด เจริญเติบโตได้ดีในดินชื้นแฉะ มักขึ้นตามริมคูหรือคันนา อ่างเก็บน้ำ บริเวณที่มีน้ำขังเล็กน้อย และพื้นที่ชุ่มชื้นอื่นๆ 

เผยแพร่เมื่อ 10-07-2020 ผู้เช้าชม 5,959

ผักปลาบช้าง

ผักปลาบช้าง

ผักปลาบช้าง จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุก ที่มีลำต้นตั้งตรง ส่วนโคนของลำต้นจะทอดราบกับพื้นก่อน แล้วจึงชูตั้งขึ้น ลำต้นมีลักษณะเป็นข้อปล้อง ลำต้นอ่อนเป็นสีเขียวเมื่อแก่เป็นสีม่วงอ่อน ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด จัดเป็นพรรณไม้กลางแจ้ง ที่ชอบความชุ่มชื้น ดินที่ปลูกจึงควรมีความชื้นให้มาก ในประเทศไทยพบได้ทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยมักพบขึ้นตามที่ชุ่มชื้นหรือลุ่มน้ำขังบริเวณชายป่าดิบที่ความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 1,000-1,800 เมตร

เผยแพร่เมื่อ 10-07-2020 ผู้เช้าชม 2,063

กระไดลิง

กระไดลิง

ต้นกระไดลิงเป็นไม้เถาเนื้อแข็งขนาดใหญ่ มีมือเกาะ ขึ้นพาดพันตามเรือนยอดของต้นไม้ไปได้ไกล เถาแก่แข็ง เหนียว แบน โค้งไปมาเป็นลอนสม่ำเสมอลักษณะเป็นขั้นๆ คล้ายบันได จึงเรียกกันว่า “กระไดลิง” กิ่งอ่อนมีขนประปราย กิ่งแก่เกลี้ยง ใบกระไดลิงใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่หรือรูปพัด กว้าง 5-12 ซม. ยาว 6-11 ซม. ปลายแหลมหรือเว้ามากหรือน้อย ใบที่ส่วนปลายเว้าลึกลงมาค่อนใบแผ่นใบมีลักษณะเป็น 2 แฉก โคนใบกว้าง มักเว้าเล็กน้อยที่รอยต่อก้านใบเป็นรูปคล้ายหัวใจ เส้นใบออกจากโคนใบ 5-7 เส้น แผ่นใบด้านบนเกลี้ยงเป็นมัน ด้านล่างมีขนประปรายหรือเกลี้ยง ก้านใบยาว 5-5 ซม. หูใบเล็กมาก เป็นติ่งยาว ร่วงง่าย

เผยแพร่เมื่อ 13-05-2020 ผู้เช้าชม 7,865