กำจาย
เผยแพร่เมื่อ 18-05-2020 ผู้ชม 4,361
[16.4258401, 99.2157273, กำจาย]
กำจาย ชื่อสามัญ Teri Pods
กำจาย ชื่อวิทยาศาสตร์ Caesalpinia digyna Rottler จัดอยู่ในวงศ์ถั่ว (FABACEAE หรือ LEGUMINOSAE) และอยู่ในวงศ์ย่อยราชพฤกษ์ (CAESALPINIOIDEAE หรือ CAESALPINIACEAE)
สมุนไพรกำจาย มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า กระจาย ขี้คาก (แพร่), มะหนามจาย (ตาก), หนามหัน (จันทบุรี), หนามแดง (ตราด), จิงจ่าย งาย ฮายปูน (นครศรีธรรมราช), ฮาย (สงขลา), งาย (ปัตตานี), ขี้แรด (ภาคกลาง), ฮาย ฮายปูน (ภาคใต้), มะเบ๋น (เงี้ยว-ภาคเหนือ), ตาฉู่แม สื่อกีพอ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) เป็นต้น
ลักษณะของกำจาย
ต้นกำจาย จัดเป็นพรรณไม้พุ่มรอเลื้อย มีความสูงได้ประมาณ 2.5-10 เมตร ลำต้นและก้านใบมีหนามแหลมแข็งและโค้งคล้ายหนามกุหลาบ ตามกิ่งอ่อนมีขนสั้นขึ้นปกคลุม[1] ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด พบขึ้นตามป่าเบญจพรรณและตามชายป่าทั่วทุกภาคของประเทศไทย พบได้มากที่จังหวัดเชียงใหม่, แม่ฮ่องสอน, แพร่, เลย, ขอนแก่น, นครราชสีมา, กาญจนบุรี, ราชบุรี, กรุงเทพมหานคร, ชลบุรี, ปราจีนบุรี, จันทบุรี, เพชรบุรี, ประจวบคีรีขันธ์, สุราษฎร์ธานี, นครศรีธรรมราช และปัตตานี ส่วนในต่างประเทศมีเขตการกระจายพันธุ์ในจีนตอนใต้ อินเดีย เนปาล ศรีลังกา พม่า ภูมิภาคอินโดจีน และในมาเลเซีย
ใบกำจาย ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกสองชั้น ออกเรียงสลับ ก้านใบประกอบยาวประมาณ 15-20 เซนติเมตร มีใบย่อยประมาณ 8-12 คู่ ออกเรียงตรงข้ามกัน ลักษณะของใบเป็นรูปขอบขนาน ปลายใบมน โคนใบเบี้ยว ใบย่อยมีขนาดกว้างประมาณ 3-4 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 8-12 มิลลิเมตร แผ่นใบเป็นสีเขียวสด ก้านใบย่อยมีขนาดสั้นมาก ใบอ่อนมีขนนุ่ม แต่พอใบแก่จะร่วงหมด หูใบเรียวแคบ ยาวประมาณ 2 มิลลิเมตร ร่วงได้ง่าย
ดอกกำจาย ออกดอกเป็นช่อกระจะ โดยจะออกตามง่ามใบและที่ปลายกิ่ง ยาวประมาณ 15-20 เซนติเมตร ก้านดอกยาวประมาณ 1.5-2.5 เซนติเมตร ดอกย่อยมีขนาดเล็กและมีจำนวนมาก กลีบดอกมี 5 กลีบ เป็นสีเหลืองสด มีขนาดไม่เท่ากัน แต่ละกลีบค่อนข้างกลม ปลายหยักเว้า เมื่อดอกบานเต็มที่จะมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 5-7 มิลลิเมตร ส่วนกลีบเลี้ยงดอกมี 5 กลีบ แต่ละกลีบมีขนาดไม่เท่ากัน กลีบด้านนอกจะมีขนาดใหญ่กว่ากลีบชั้นอื่น โคนกลีบเลี้ยงเชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วยตื้น ๆ ดอกมีเกสรเพศผู้ 10 อัน ก้านชูอับเรณูมีขนเป็นปุย รังไข่เกลี้ยงหรือมีขนขึ้นประปราย มีออวุล 3-4 เม็ด สามารถออกดอกได้ตลอดทั้งปี แต่จะออกดอกมากในช่วงประมาณเดือนกรกฎาคมถึงเดือนตุลาคม เมื่อออกดอกดกเต็มต้นจะมีความสวยงามอร่ามน่าชมยิ่งนัก
ผลกำจาย ผลมีลักษณะเป็นฝักแบน ลักษณะของฝักเป็นรูปรีแกมขอบขนาน ตรงกลางป่องเล็กน้อย ปลายเป็นจะงอย ขอบเป็นสัน ฝักมีขนาดกว้างประมาณ 1.5-2 เซนติเมตร และยาวประมาณ 3.5-5 เซนติเมตร ก้านสั้น ฝักดิบเป็นสีเขียว เมื่อแก่จะเปลี่ยนเป็นสีดำ และไม่แตกอ้า เมล็ดมีประมาณ 2-3 เมล็ด เมล็ดเป็นสีน้ำตาลมีลักษณะค่อนข้างกลม มีขนาดกว้างประมาณ 9 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 12 มิลลิเมตร ออกผลในช่วงประมาณเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนมกราคม
สรรพคุณของกำจาย
1. ตำรายาไทยจะใช้รากนำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้ไข้ตัวร้อน (ราก)
2. ผลหรือฝักใช้ต้มดื่มเป็นยาแก้ท้องร่วงได้ดีมาก (ผล)
3. รากใช้ปรุงเป็นยาขับประจำเดือนของสตรี (ราก)
4. ตำรายาพื้นบ้านภาคอีสานจะใช้รากกำจายผสมกับรากมะขามป้อม นำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้กามโรค (ราก)
5. ทั้งต้นใช้ต้มให้สัตว์เลี้ยงกินเป็นยาแก้พิษงู (ทั้งต้น)
6. รากใช้ตำพอกเป็นยาถอนพิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย ขับพิษงู ช่วยดับพิษ แก้ปวดฝีทุกชนิด และช่วยดับพิษฝี (ราก)
7. รากใช้ตำพอกเป็นยารักษาแผลสด แผลเรื้อรัง และแผลเปื่อยได้เด็ดขาดนัก (ราก)
8. ผลหรือฝักสดของต้นกำจายมีรสฝาด นำมาตำให้ละเอียดห่อด้วยผ้าขาวบางคั้นเอาน้ำมาใช้ชะล้างแผลสด ห้ามเลือด สมานแผล ทำให้แผลหายเร็ว และรอยแผลเป็นไม่มี (ผลสด)
ประโยชน์ของกำจาย
1. ส่วนใหญ่จะไม่นิยมปลูกต้นกำจายไว้ตามบ้าน เนื่องจากต้นกำจายเป็นไม้ที่มีหนามแหลมและเป็นไม้เถาเลื้อย แต่จะมีปลูกไว้เพื่อใช้ประโยชน์ทางยาตามสวนยาแผนไทย และปลูกไว้ตาม
หัวไร่ปลายนาในชนบททั่วไป ซึ่งในสมัยก่อนจะถือว่า "กําจาย" นั้น เป็นสุดยอดยาสมุนไพรชนิดหนึ่งเลยทีเดียว
2. น้ำฝาดที่ได้จากผลหรือฝักสามารถนำมาใช้ในการย้อมผ้า แห และอวนได้
คำสำคัญ : กำจาย
ที่มา : ้https://medthai.com/
รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). กำจาย. สืบค้น 7 ตุลาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1567&code_db=610010&code_type=01
Google search
ต้นตะเคียนทอง จัดเป็นไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบขนาดใหญ่ ลำต้นเปลาตรง มีความสูงของต้นประมาณ 20-40 เมตร วัดรอบได้ถึงหรือกว่า 300 เซนติเมตร ลักษณะของเรือนยอดเป็นทรงพุ่มทึบ กลม หรือเป็นรูปเจดีย์แบบต่ำๆ เปลือกต้นหนาเป็นสีน้ำตาลดำ แตกเป็นสะเก็ด กะพื้นเป็นสีน้ำตาลอ่อน ส่วนแก่นไม้ตะเคียนเป็นสีน้ำตาลแดง ลักษณะของไม้ตะเคียน เนื้อไม้เป็นสีเหลืองหม่นหรือสีน้ำตาลอมสีเหลือง มักมีเส้นสีขาวหรือเทาขาวผ่านเสมอ ซึ่งเป็นท่อน้ำมันหรือยาง เนื้อไม้มีความละเอียดปานกลาง
เผยแพร่เมื่อ 01-06-2020 ผู้เช้าชม 12,932
พรมมิแดง จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุก ลำต้นเตี้ย แตกกิ่งก้านสาขาบริเวณโคนต้น ส่วนกิ่งที่แตกนั้นจะทอดเลื้อยไปตามพื้นดิน ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด พรรณไม้ชนิดนี้มักขึ้นตามดินปนทรายทั่วไป ในประเทศไทยพบได้ที่จังหวัดเพชรบุรีและประจวบคีรีขันธ์ ส่วนในต่างประเทศพบในแอฟริกา ปากีสถาน อินเดีย พม่า มาเลเซีย และออสเตรเลีย
เผยแพร่เมื่อ 16-07-2020 ผู้เช้าชม 1,697
ครอบฟันสี (Country Mallow, Chinese Bell Flower) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกต้น ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น โคราชเรียกโผงผาง หรือในภาคเหนือเรียกมะก่องข้าว, ปอบแปบ, คอบแคบ, ฟันสี, ครอบ, ขัดมอน เป็นต้น ครอบฟันสีนั้นมีเหลืองแสด มีประโยชน์มากมายโดยเฉพาะในคนที่เป็นโรคเบาหวาน เป็นตัวช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดที่ดี
เผยแพร่เมื่อ 29-04-2020 ผู้เช้าชม 1,473
ต้นมะจ้ำก้อง จัดเป็นไม้พุ่มขนาดใหญ่หรือไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ที่มีความสูงได้ประมาณ 1-4 เมตร มีเขตการกระจายพันธุ์ในอินเดีย อินโดนีเซีย มาเลเซีย และไทย พบขึ้นทั่วไปในป่าชั้นกลางในป่าดิบแล้ง ป่าดิบชื้น โดยเฉพาะบริเวณริมลำธารหรือตามทุ่งหญ้าที่ชื้น ที่ความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 30-1,050
เผยแพร่เมื่อ 10-07-2020 ผู้เช้าชม 2,196
สำหรับต้นกระเบาน้ำนั้นเป็นพืชจำพวกต้นขนาดกลาง เป็นไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบ สูงประมาณ 10-15 เซนติเมตร เปลือกเรียบสีเทา เป็นใบเดี่ยวสีชมพูแดง เมื่อแก่จะเปลี่ยนเป็นสีเขียวเข้ม ออกเรียงแบบสลับ รูปรียาวแกมขอบขนาน ปลายใบแหลม โคนมน ขอบเรียบ ส่วนดอกของกระเบาน้ำนั้นจะมีสีขาวนวล ช่อหนึ่งมีประมาณ 5-10 ดอก กลิ่นหอมฉุน
เผยแพร่เมื่อ 29-04-2020 ผู้เช้าชม 3,527
ต้นคันทรง จัดเป็นไม้พุ่มขนาดกลางกึ่งไม้เลื้อย ลำต้นตั้งตรงและมีความสูงของต้นประมาณ 2-3 เมตร บ้างว่าสูงได้ประมาณ 1-9 เมตร แตกกิ่งก้านมากตั้งแต่โคนต้น กิ่งก้านมีขนาดเล็กกลมสีเขียว กิ่งก้านสีเขียวเข้มเป็นมัน เปลือกต้นเป็นสีเทา มีรอยแตกเป็นร่องตื้น ๆ ถี่ ๆ และตามลำต้นจะมีตาที่ทิ้งใบเป็นตุ่มห่าง ๆ ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เมล็ดและวิธีการปักชำลำต้น มักขึ้นเองตามป่าราบ ป่าดงดิบ ป่าละเมาะ หรือที่รกร้างข้างทางทั่วไป โดยจะพบได้มากทางภาคเหนือ บ้างว่าพบได้มากตามชายทะเลหรือชายหาดหินปูน
เผยแพร่เมื่อ 01-06-2020 ผู้เช้าชม 1,758
ฝาง จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง หรือเป็นไม้พุ่ม หรือไม้พุ่มกึ่งไม้เถาผลัดใบ มีความสูงของต้นประมาณ 5-13 เมตร ลำต้นและกิ่งมีหนามแข็งและโค้งสั้นๆ อยู่ทั่วไป ถ้าเนื้อไม้หรือแก่นเป็นสีแดงเข้มและมีรสขมหวานจะเรียกว่า "ฝางเสน" แต่ถ้าแก่นไม้เป็นสีเหลืองส้มและมีรสฝาดขื่นจะเรียกว่า "ฝางส้ม" พรรณไม้ชนิดนี้เป็นไม้กลางแจ้ง ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด เจริญเติบโตได้ดีในดินที่ร่วนซุย มักจะพบพรรณไม้ชนิดนี้ได้ตามป่าละเมาะ ป่าเต็งรัง ป่าดิบแล้ง และตามเขาหินปูน
เผยแพร่เมื่อ 16-07-2020 ผู้เช้าชม 12,758
ต้นติ่งตั่ง จัดเป็นไม้พุ่มเลื้อยขนาดใหญ่หรือไม้เถาเลื้อยเนื้อแข็งขนาดใหญ่ สูงได้ประมาณ 1-5 เมตร เปลือกเป็นสีน้ำตาลมีขนปกคลุม ตามกิ่งอ่อนเป็นสันสี่เหลี่ยม มีขนสีน้ำตาลแกมแดงขึ้นปกคลุม ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด ตอนกิ่ง และปักชำกิ่ง เจริญเติบโตได้ในดินทุกประเภท ชอบแสงแดดจัด น้ำปานกลาง มีถิ่นกำเนิดในอินเดีย จีนตอนใต้ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ส่วนในประเทศไทยพบได้ทุกภาคตามป่าเบญจพรรณและตามป่าดิบแล้งทั่วไป
เผยแพร่เมื่อ 26-05-2020 ผู้เช้าชม 3,171
สายน้ำผึ้ง มีถิ่นกำเนิดในแถบเอเชีย เช่น ประเทศไทย จีน ญี่ปุ่น จัดเป็นไม้เถาเลื้อยพัน มีอายุหลายปี มีความยาวประมาณ 9 เมตร เถามีลักษณะกลมเป็นสีน้ำตาล ส่วนเนื้อในเถากลวง แตกกิ่งก้านสาขาออกมากมายเป็นทรงพุ่ม ตามกิ่งอ่อนมีขนสั้นนุ่มสีน้ำตาลปกคลุม ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการปักชำ ตอนกิ่ง และเพาะเมล็ด (แต่การปักชำเป็นวิธีที่ได้ผลดีที่สุด) โดยจัดเป็นพรรณไม้กลางแจ้ง ที่เจริญเติบโตได้ดีสวยในดินร่วนซุยและมีความชื้นปานกลาง มักพบขึ้นมากทางป่าแถบภูเขา
เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 5,167
มะพลับ เปลือกต้นและเนื้อไม้ รสฝาด เปลือกต้นและเนื้อไม้ ต้มเอาน้ำดื่ม บำรุงธาตุ เจริญอาหาร เปลือกและผลแก่มีสรรพคุณ ลดไข้ แก้บิด แก้ท้องร่วง ขับลม แก้ไข้มาเลเรีย รักษาแผลในปาก แก้คออักเสบ เป็นยาสมาน และใช้ห้านเลือดได้ นอกจากนี้ เปลือกมะพลับยังให้น้ำฝาดสำหรับฟอกหนัง ผลดิบให้ยางสีน้ำตาลใช้ละลายน้ำ แล้วนำไปย้อมผ้า แห อวน เพื่อให้ทนทาน ไม่ทำให้เส้นด้ายแข็งกรอบ
เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 2,203