ผักตบชวา

ผักตบชวา

เผยแพร่เมื่อ 10-07-2020 ผู้ชม 26,853

[16.4258401, 99.2157273, ผักตบชวา]

ผักตบชวา ชื่อสามัญ Water Hyacinth, Floating water hyacinth, Java Weed

ผักตบชวา ชื่อวิทยาศาสตร์ Eichhornia crassipes (Mart.) Solms (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Eichhornia speciosa Kunth) จัดอยู่ในวงศ์ผักตบ (PONTEDERIACEAE)

ผักตบชวา มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ผักปง (นครราชสีมา), ผักปอด (อ่างทอง), ผักป่อง (สุพรรณบุรี), บัวลอย (เชียงราย), ผักตบ (ภาคตะวันตกเฉียงเหนือ), ผักตบป่อง สวะ (ภาคกลาง) เป็นต้น

ลักษณะของผักตบชวา

  • ต้นผักตบชวา จัดเป็นพรรณไม้น้ำที่มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมอยู่ในทวีปอเมริกาใต้ ได้มีการนำเข้ามาปลูกครั้งแรกไว้ที่วังสระปทุมในกรุงเทพมหานครเมื่อปี พ.ศ.2444 แต่จากการขยายพันธุ์อย่างรวดเร็วและเกิดน้ำท่วมจึงทำให้ผักตบชวาหลุดรอดออกมา และเกิดการแพร่กระจายไปทั่ว จนกลายเป็นวัชพืชน้ำที่รุนแรง โดยผักตบชวานั้นจัดเป็นพืชน้ำล้มลุกมีอายุหลายฤดู มีลำต้นสั้นแตกใบเป็นกอลอยไปตามน้ำ มีไหล ซึ่งเกิดตามซอกใบแล้วเจริญเป็นต้นอ่อนที่ปลายไหล ลำต้นมีลักษณะอวบน้ำ ผิวลำต้นเรียบเป็นสีเขียวอ่อนและเข้ม ลำต้นจะมีขนาดสั้นหรือยาวจะขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์ของแม่น้ำ ก้านใบจะพองออกตรงช่องกลาง ภายในมีลักษณะเป็นรูพรุน จึงช่วยพยุงลำต้นให้ลอยน้ำได้ ลำต้นสั้น มีความสูงได้ประมาณ 3-90 เซนติเมตร รากจะแตกออกจากลำต้น บริเวณข้อ รากมักมีสีม่วงดำ ซึ่งลำต้นลอยอยู่บนผิวน้ำบางต้นอาจจะขึ้นอยู่ตามโคลนในที่น้ำตื้น สามารถขึ้นบนบกก็ได้ มีความทนทานต่อความแห้งแล้งได้ดี แต่จะไม่ทนน้ำเค็ม ผักตบชวาเป็นพืชที่ขยายพันธุ์ได้รวดเร็ว โดยการแยกกอหรือใช้ไหล พบได้ทั่วไปตามริมน้ำ 
  • ใบผักตบชวา ใบเป็นใบเดี่ยว แตกจากลำต้นเป็นกอ โคนก้านใบแผ่เป็นกาบหุ้มประกันไว้ ใบจะป่องออก เพื่อช่วยให้ลอยตัวอยู่ในน้ำได้ ใบเป็นรูปไข่หรือเกือบกลม ก้านใบอวบน้ำตรงกลางพองออก ภายในเป็นช่องอากาศคล้ายกับฟองน้ำ จึงช่วยพยุงลำต้นให้ลอยน้ำได้ ลักษณะของใบจะคล้ายกับใบโพธิ์ แต่ขนาดของใบจะกว้างกว่าและปลายใบจะป้านเล็กน้อย ใบมีขนาดกว้างใหญ่ รูปร่างค่อนข้างกลม ปลายใบมน โคนใบเว้าเข้าหาก้านใบ มีหูใบ ขนาดของใบและความยาวของก้านจะขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม แผ่นใบเป็นสีเขียวสด มีลายเส้นโค้งทั้งใบ ใบสดจะประกอบไปด้วยสารแคโรทีนในปริมาณที่ค่อนข้างสูง
  • ดอกผักตบชวา ออกดอกเป็นช่ออยู่กลางกอ ไม่มีก้านดอก ในช่อหนึ่งจะประกอบไปด้วยดอกขนาดเล็กหลายดอก มีดอกประมาณ 3-25 ดอก ดอกย่อยเป็นสีชมพูอมฟ้าหรือสีม่วง มีกลีบดอก 6 กลีบ กลีบบนสุดจะมีขนาดใหญ่กว่ากลีบอื่น ๆ และจะมีจุดหรือแต้มสีเหลืองที่กลางกลีบ กลีบดอกจะมีลักษณะบาง เมื่อช่อดอกเจริญขึ้น ก้านช่อดอกจะค่อย ๆ ยาว พองใหญ่ขึ้น ทำให้ภายในที่หุ้มก้านช่อดอกกับก้านใบขาดออก เมื่อก้านช่อดอกเจริญมากขึ้นจะดันกาบใบก้านในขาด ก้านช่อดอกจะแทงชูช่อดอกเจริญโผล่ขึ้นมาก โดยมีใบเล็ก ๆ ที่ปลายก้านใบและภายในทำหน้าที่เป็นใบประดับรองรับช่อดอกอีกหนึ่ง เมื่อเจริญเต็มที่แล้วดอกมักจะบานพร้อมกันหมดทั้งช่อ โดยจะเริ่มบานตั้งแต่แสงอาทิตย์เริ่มส่อง และจะบานเต็มที่เมื่อแสงแดดส่องจ้า โดยดอกจะบานแค่เพียง 1 วัน มีความสวยเด่นสะดุดตา และดึงดูดสายตาได้ดีมาก โดยจะออกดอกช่วงปลายฤดูหนาวถึงต้นฤดูร้อน และเนื่องจากช่อดอกของผักตบชวามีลักษณะคล้ายคลึงกับดอกไฮยาซินธ์ จึงเป็นที่มาของชื่อสามัญว่า Water Hyacinth 
  • ผลผักตบชวา ผลเป็นแบบแคปซูลแห้งและแตกได้ ลักษณะเป็นรูปทรงกระบอก แบ่งเป็นพู 3 พู เมื่อแก่จะแตกกลางพู ภายในมีเมล็ดจำนวนมาก ลักษณะของเมล็ดเป็นรูปกลมขนาดเล็ก

สรรพคุณของผักตบชวา

  • ต้นมีรสจืด มีสรรพคุณเป็นยาแก้พิษในร่างกาย ช่วยขับลม ใช้ตำพอกแก้แผลอักเสบ
  • ช่วยระบายความร้อนในร่างกาย (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)

ประโยชน์ของผักตบชวา

  1. ยอดอ่อน ใบอ่อน และดอกอ่อน สามารถนำมาลวกจิ้มกับน้ำพริกรับประทาน หรือนำมาทำแกงส้ม ในไต้หวันจะนำผักชนิดนี้มาปรุงเป็นอาหารจำพวกผัก (เฉพาะผักตบชวาที่อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ค่อนข้างบริสุทธิ์) โดยคุณค่าทางโภชนาการของส่วนที่รับประทานได้ของผักตบชวา ต่อ 100 กรัม จะประกอบไปด้วย พลังงาน 30 แคลอรี, น้ำ 89.8%, โปรตีน 0.5 กรัม, ไขมัน 0.1 กรัม, คาร์โบไฮเดรต 7.5 กรัม, ใยอาหาร 2.4 กรัม
  2. ผักตบชวาสามารถนำมาเลี้ยงสุกร เลี้ยงไก่ได้ เนื่องจากมีคุณค่าทางอาหาร โดยพบว่าผักตบชวาแห้งจะมีโปรตีนประมาณ 14-20% ไขมัน 1-2.5% เส้นใย 17-19% ซึ่งโดยปกติแล้วสัตว์หลายชนิดก็กินผักตบชวาอยู่แล้ว กล่าวคือ วัว ควาย แกะ แพะ มักจะกินผักตบชวาที่ขึ้นอยู่ตามริมฝั่ง หรือบางชนิดก็กินผักตบชวาในน้ำ ส่วนหมูก็กินผักตบชวาที่ผู้เลี้ยงนำมาต้มให้กิน โดยสัตว์เหล่านี้ก็จะช่วยกำจัดผักตบชวาให้ลดน้อยลงได้บ้าง และเรายังได้ประโยชน์จากสัตว์เลี้ยงเหล่านี้อีกด้วย นอกจากนี้ยังมีการนำผักตบชวาไปแปรรูปใช้เป็นส่วนประกอบของสูตรอาหารสุกรและสัตว์ปีก[1],[2],[6]แต่มีข้อควรระวังในการเลือกใช้คือ ให้เลือกผักตบชวาจากแหล่งน้ำที่ปลอดสารพิษจำพวกยาฆ่าแมลงหรือโลหะหนักเท่านั้น เพราะสารเหล่านี้จะถูกผักตบชวาดูดซับเอาไว้ และเมื่อนำไปให้สัตว์กิน ก็จะทำให้สัตว์ได้รับสารพิษเหล่านี้ไปด้วย
  3. มีการนำผักตบชวาแห้งทั้งต้นมาใช้ทำเป็นแอลกอฮอล์และ gas แต่ผลที่ได้ยังไม่เป็นที่น่าพึงพอใจมากนัก
  4. ผักตบชวาสามารถนำมาใช้ทำปุ๋ยหมัก สำหรับการปลูกพืชผักต่าง ๆ เนื่องจากผักตบชวามีโพแทสเซียมอยู่มากเป็นพิเศษ ส่วนฟอสฟอรัสและไนโตรเจนก็มีอยู่พอสมควร หรือนำมาใช้คลุมต้นไม้ที่ปลูกเอาไว้ให้เกิดความชุ่มชื้น เนื่องจากผักชนิดนี้มีคุณสมบัติในการอุ้มน้ำได้ดี
  5. ผักตบชวาที่ตากแดดจนแห้งดีแล้ว สามารถนำมาเพาะเห็ดฟางเพื่อสร้างรายได้ได้เป็นอย่างดี
  6. ใช้ทำเป็นกระถางชนิดพิเศษที่เป็นปุ๋ยในตัวเอง โดยต้นกล้าที่จะนำมาเพาะชำในกระถางนี้ เราสามารถขุดหลุมปลูกได้เลย เพราะกระถางจะย่อยสลายไปได้เองและยังเป็นปุ๋ยให้กับพืชที่ปลูกอีกด้วย
  7. นำมาใช้ทำเป็นเชื้อเพลิงแท่งโดยการนำมาผสมกับแกลบอัดเป็นแท่งเชื้อเพลิงได้ โดยไม่มีปัญหาในการอัด ค่าพลังงานความร้อนที่ได้ก็ใกล้เคียงกับแกลบอัด[2]
  8. ผักตบชวาสามารถขึ้นได้ในทุกสภาพน้ำและสามารถช่วยบำบัดน้ำเสียได้โดยตรง โดยทำหน้าที่เป็นตัวกรอง ทำให้ของแข็งหรือสารแขวนลอยต่าง ๆ ที่ปนอยู่ในน้ำถูกสกัดกั้นเอาไว้ นอกจากนั้นระบบรากของผักตบชวาที่มีจำนวนมาก ยังช่วยกรองสารอินทรีย์ที่ละเอียดและจุลินทรีย์ที่อาศัยเกาะอยู่ที่ราก จึงช่วยดูดสารเหล่านี้ไว้ด้วยอีกทางหนึ่ง แต่ถ้าน้ำเสียนั้นมีสารพิษในปริมาณมากหรือน้ำเสียมาก การใช้ผักตบชวาเพื่อบำบัดน้ำเสียจะให้ผลช้าและอาจทำให้น้ำเน่าได้ จึงควรใช้ผักตบชวาร่วมกับการบำบัดน้ำเสียระบบอื่นไปด้วย จึงจะได้ผลดี
  9. ผักตบชวาสามารถนำมาแปรรูปทำเป็นผลิตภัณฑ์จักสานหรือสินค้าอื่น ๆ ผลิตภัณฑ์จากผักตบชวาก็เช่นกล่อง กล่องใส่กระดาษทิชชู ตะกร้าผักตบชวา กระเป๋าผักตบชวา เก้าอี้ผักตบชวา เปลญวน รองเท้าแตะหรือรองเท้าผักตบชวา ถาดรองผลไม้ ถาดรองแก้วน้ำ แจกันสาน เสื่อผักตบชวา กระดาษจากผักตบชวา ฯลฯ
  10. นอกจากนี้ผักตบชวายังมีประโยชน์ที่ช่วยทำให้น้ำสะอาดขึ้น ช่วยสะสมพลังงานจากดวงอาทิตย์ ทำให้อากาศบริสุทธิ์และเย็นสบาย ช่วยลดปัญหาที่เกิดจากวัชพืชใต้น้ำ เป็นที่อยู่อาศัยของปลาและสัตว์น้ำ ช่วยทำให้เกิดทัศนียภาพที่เจริญตา (สำหรับบางคน) ฯลฯ

ปัญหาที่เกิดจากผักตบชวา

  • การชลประทาน : ผักตบชวาทำให้การพัฒนาแหล่งน้ำไม่ได้ผลตามเป้าหมายเนื่องจากผักตบชวาไปลดการไหลของน้ำลงประมาณ 40% ส่วนต่าง ๆ ของผักตบชวาก่อให้เกิดอุปสรรคกับการระบายน้ำของฝายหรือประตูระบายน้ำ การระเหยของน้ำในพื้นที่ที่มีผักตบชวาจะสูงกว่าในพื้นที่ที่ไม่มีผักตบชวาประมาณ 3-8 เท่า
  • การไฟฟ้าพลังน้ำ : ผักตบชวาตายที่ทับถมกันจะทำให้อ่างเก็บน้ำตื้นเขิน แย่งเนื้อที่การเก็บกักน้ำของอ่างเก็บน้ำ ทำให้เก็บน้ำได้น้อยลง อีกทั้งยังทำให้อัตราการระเหยน้ำเป็นไปอย่างรวดเร็ว
  • การกสิกรรม : ผักตบชวาจะไปแย่งน้ำและอาการจากพืชที่ปลูก แพผักตบชวาที่ไหลมาตามน้ำจะเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของศัตรูพืชนานาชนิด เช่น หนูและศัตรูอื่น ๆ ที่จะไปทำความเสียหายแก่พืชผลของเกษตรกร และผักตบชวาที่ลอยมากับน้ำจะก่อให้เกิดปัญหาแก่นาข้าวขึ้นน้ำ เพราะผักตบชวาจะลอยมาทับต้นข้าวจนก่อให้เกิดความเสียหายแก่ต้นข้าว
  • การประมง : ผักตบชวาที่ขึ้นหนาแน่นจะเป็นอุปสรรคต่อการเจริญเติบโตของปลาและการจับปลา ทำให้แหล่งน้ำตื้นเขิน จึงไปลดที่อยู่อาศัยของปลา และปริมาณของผักตบชวาที่ลอยอยู่อย่างหนาแน่นบนผิวน้ำ ยังทำให้แสงสว่างในน้ำลดลง เป็นผลทำให้พืชอาหารปลาขนาดเล็กหรือไฟโตแพลง์ตอนมีปริมาณลดลง ซึ่งไฟโตแพลงก์ตอนนี้เป็นตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดก๊าซออกซิเจนในน้ำ ซึ่งจำเป็นต่อการหายใจของปลาและสัตว์น้ำทุกชนิด
  • การคมนาคมทางน้ำ : ผักตบชวาเป็นอุปสรรคสำคัญที่กีดขวางการสัญจรทางน้ำ ทำให้การสัญจรทางเรือเป็นไปได้ยาก
  • การท่องเที่ยว : แหล่งท่องเที่ยวทางน้ำต่าง ๆ ถ้ามีผักตบชวาขึ้นอยู่อย่างหนาแน่น จะทำให้การพัฒนาสถานที่นั้น ๆ เป็นแหล่งท่องเที่ยวเป็นไปได้ยาก เพราะผักตบชวามีส่วนในการทำลายความสวยงามของแหล่งน้ำต่าง ๆ และยังไปรบกวนกิจกรรมอื่น ๆ ในขณะพักผ่อนหย่อนใจในแหล่งน้ำนั้น ๆ อีกด้วย เช่น การลงเรือท่องเที่ยว การว่ายน้ำ ตกปลา เป็นต้น
  • การเศรษฐกิจและสังคม : เมื่อการพัฒนาแหล่งน้ำไม่ได้ผลเต็มตามเป้าหมาย การเพาะปลูกซึ่งต้องอาศัยน้ำก็ย่อมจะได้ผลผลิตน้อยลงกว่าที่ควรจะเป็น ทำให้รายได้ลดลง ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญอย่างยิ่งที่จะทำให้แผนพัฒนาประเทศไม่ได้ผลตามที่มุ่งหมาย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาแหล่งน้ำ ก็ต้องเสียค่าใช้จ่ายจากงบประมาณแผ่นดินปีละหลายสิบล้านบาทเพื่อใช้ในการกำจัดวัชพืชน้ำเหล่านี้ ส่วนในด้านความเดือดร้อนรำคาญของประชาชนที่ได้รับอันเนื่องมาจากสาเหตุของผักตบชวา ก็ไม่สามารถประเมินเป็นตัวเงินได้ ดังตัวอย่างเช่นที่ผู้อยู่อาศัยตามเรือแพต้องประสบความเดือดร้อนจากผักตบชวาเป็นประจำ โดยเฉพาะในหน้าน้ำที่ทำให้การสัญจรเป็นไปด้วยความยากลำบาก และบางครั้งเมื่อแพผักตบชวาที่ลอยมาปะทะกับเรือนแพ ก็อาจทำให้เรือนแพพังเสียหายได้
  • การสาธารณสุข : ผักตบชวาเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำบางชนิดที่เป็นพาหะนำโรค เช่น หอยไบธีเนียที่เป็นพาหะนำโรคพยาธิใบไม้ในตับ เป็นที่อยู่อาศัยของลูกน้ำของยุงนำโรคเท้าช้าง และน้ำค้างตามซอกใบก็เป็นที่อาศัยวางไข่ของยุงชนิดอื่น ๆ เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ร้ายหลายบางชนิด เช่น งูพิษ เป็นต้น เมื่อแพผักตบชวาลอยไปติดเรือนแพหรือท่าน้ำ เป็นที่อยู่อาศัยของหนู และอาจแพร่เชื้อโรคกาฬโรคได้ นอกจากนี้ผักตบชวาที่ขึ้นอย่างหนาแน่น ยังเป็นตัวการทำให้การกำจัดหอยเป็นไปได้โดยยากและสิ้นเปลืองมาก และผักตบชวายังเป็นตัวกันไม่ให้ยาถูกพ่นลงในน้ำได้สะดวก ทำให้การใช้ยาในการกำจัดหอยจึงต้องเพิ่มปริมาณมากขึ้น ซึ่งจะเป็นอันตรายแก่คนและสัตว์อื่น ๆ

การกำจัดผักตบชวา

การกำจัดผักตบชวาที่ระบาดอยู่ทั่วไปมีอยู่ด้วยกัน 2 ประการ คือ การกำจัดให้หมดไปโดยสมบูรณ์แบบไม่ให้เหลือซาก (วิธีนี้ทำได้ไม่ยาก ถ้าการระบาดยังอยู่ในระยะเริ่มแรก มีจำนวนน้อย และอยู่ในบริเวณที่จำกัด) และการกำจัดโดยวิธีการควบคุม (ควบคุมปริมาณมิให้แพร่ระบาดหรือขยายออกไปได้เองตามธรรมชาติ ซึ่งวิธีนี้จะปฏิบัติกันทั่วไปในเมื่อไม่สามารถทำลายผักตบชวาให้หมดไปได้) ส่วนกรรมวิธีการกำจัดผักตบชวาที่นิยมปฏิบัติกันทั่วไป ก็มีดังนี้

  • การกำจัดด้วยสารเคมีกำจัดวัชพืช : สารเคมีที่นิยมนำมาใช้เพื่อกำจัดผักตบชวา เช่น คลอโรฟีนอคซี (Chlorophenoxy), กลัยโฟเสต (Glyphosate:N-(phosphonomethyl giycine), ไบไพริดิล (Bipyridyl)
  • การกำจัดโดยวิธีกล : การกำจัดด้วยวิธีนี้หมายถึงการใช้แรงคน แรงสัตว์ เครื่องมือ หรือเครื่องจักรต่าง ๆ เช่น การถก ลาก ดึง ตัก หรือยกผักตบชวาขึ้นจากแหล่งน้ำ ซึ่งเป็นวิธีที่ทำได้ง่ายและสะดวก ไม่ทำให้สิ่งแวดล้อมเป็นพิษเหมือนวิธีแรก แต่การปฏิบัติต้องใช้แรงงานมากและต้องมีอุปกรณ์อย่างพร้อมเพรียง
  • การกำจัดทางชีววิธี : การกำจัดด้วยวิธีนี้หมายถึงการใช้สิ่งมีชีวิต เช่น แมลง โรคพืช ศัตรูอื่นที่เข้ามากัดกินหรือทำลายวัชพืชให้หมดสิ้นไป การกำจัดโดยวิธีนี้ถือว่าเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพมากถ้ามีสิ่งมีชีวิตที่เหมาะสม แต่การกำจัดด้วยวิธีนี้จะต้องใช้เวลาในการศึกษาวิจัยมาก
  • การกำจัดโดยการนำมาใช้ประโยชน์ : เป็นที่ทราบกันว่า ผักตบชวาหาได้มีแต่โทษและก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญเพียงอย่างเดียว แต่ส่วนดีของผักตบชวาที่คนทั่วไปมักมองไม่ค่อยเห็น มีดังต่อไปนี้ เช่น ช่วยทำให้น้ำสะอาดขึ้น ช่วยสะสมพลังงานจากดวงอาทิตย์ ช่วยทำให้อากาศบริสุทธิ์และเย็นสบาย ช่วยลดปัญหาที่เกิดจากวัชพืชใต้น้ำ เป็นที่อยู่อาศัยของปลาและสัตว์น้ำ ช่วยทำให้เกิดทัศนียภาพที่เจริญตา (แม้ว่าจะเป็นที่รำคาญของใครหลาย ๆ คน) ฯลฯ

การป้องกันการแพร่ระบาดของผักตบชวา

  • หมั่นขุดลอกคูคลองหรือท้องร่องให้น้ำไหลผ่านได้สะดวก เนื่องจากผักตบชวาจะเจริญเติบโตได้ยากที่ที่มีน้ำไหลแรง
  • หมั่นตรวจดูแลแหล่งน้ำบริเวณใกล้บ้านอยู่เสมอ หากพบเห็นก็ให้ดึงขึ้นจากน้ำและทำลายเสีย โดยการนำมาตากแห้งหรือเผาทำลาย
  • หากพบเห็นผู้ใดปลูกหรือกักผักตบชวาเอาไว้ใช้ประโยชน์ ก็ควรให้คำแนะนำให้รู้ถึงโทษของผักตบชวา และวิธีการป้องกันการแพร่ระบาด
  • หากพบว่ามีแหล่งเพาะขยายพันธุ์เกิดขึ้นและเกินกำลังที่จะกำจัดได้เอง ก็ให้แจ้งผู้นำชุมชนและช่วยกันกำจัดให้หมดสิ้น

 

คำสำคัญ : ผักตบชวา

ที่มา : https://medthai.com/

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). ผักตบชวา. สืบค้น 27 เมษายน 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1704&code_db=610010&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1704&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

แตงกวา

แตงกวา

แตงกวา มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย ในบ้านเราก็นิยมปลูกแตงกวาเป็นอาชีพ เนื่องจากเป็นผักที่ปลูกง่าย ให้ผลผลิตเร็ว การเก็บรักษาง่ายกว่าผักชนิดอื่น ๆ โดยแตงกวานั้นจัดเป็นพืชล้มลุก มีรากแก้วและรากแขนงจำนวนมาก สามารถแผ่กว้างและหยั่งลึกได้มากถึง 1 เมตร ลำต้นเป็นเถาเลื้อยยาว 2-3 เมตร (ด้วยเหตุนี้จึงนิยมปลูกขึ้นค้างเพื่อประหยัดเนื้อที่ในการปลูกและง่ายต่อการเก็บเกี่ยว) มีข้อยาว 10 ถึง 20 เซนติเมตร และหนวดบริเวณข้อช่วยเกาะยึดลำต้น

เผยแพร่เมื่อ 02-06-2020 ผู้เช้าชม 5,957

มะกล่ำตาช้าง

มะกล่ำตาช้าง

มะกล่ำตาช้าง, มะกล่ำต้น, มะแค้ก, หมากแค้ก, มะแดง, มะหัวแดง หรือ มะโหกแดง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Adenanthera pavonina) เป็นไม้ยืนต้นในวงศ์ Leguminasae วงศ์ย่อย Mimosoideae โคนต้นมีพูพอน ผิวเรียบ สีเทาอมน้ำตาล ใบประกอบแบบขนนกสองชั้น ใบย่อยรูปไข่ ดอกช่อแบบแตกแขนง เกสรตัวผู้สีเหลืองจำนวนมาก เห็นเป็นพู่ ผลเดี่ยว เป็นฝักแบน ยาวขดเป็นวง เมื่ออ่อนสีเขียวอ่อน สุกแล้วสีน้ำตาล เป็นผลแห้ง แตกตามตะเข็บ เมล็ดแบนสีแดง

เผยแพร่เมื่อ 23-02-2017 ผู้เช้าชม 3,083

ตำแยแมว

ตำแยแมว

ตำแยแมวเป็นพรรณไม้ล้มลุกชนิดหนึ่งซึ่งขยายพันธุ์ด้วยวิธีการปักชำและการแยกต้น ชอบขึ้นตามที่ดินเย็นๆ พบขึ้นเป็นวัชพืชตามที่รกร้างทั่วไป และตามที่มีอิฐปูนเก่าๆ ผุๆ โดยทั้งต้นใช้เป็นยาถอนพิษของโรคแมวได้ดี มีผู้ค้นพบว่าในขณะที่แมวไม่สบายหรือมีไข้ หากมันได้เคี้ยวลำต้นของตำแยแมวเข้าไป ไม่นานก็จะหายจากอาการไข้ได้ และในขณะเดียวกันถ้าแมวนั้นกินสารที่มีพิษเข้าไป ก็แก้โดยการให้กินต้นตำแยแมวเข้าไป แล้วมันก็จะอาเจียนหรือสำรอกพิษออกมา

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 3,981

หญ้าตีนกา

หญ้าตีนกา

หญ้าปากควาย (อังกฤษ: Crowfoot grass, Beach wiregrass; ชื่อวิทยาศาสตร์: Dactyloctenium aegyptium) เป็นพืชวงศ์หญ้าและเป็นพืชฤดูเดียว แตกหน่อเป็นกลุ่ม ออกรากและยอดจากข้อของไหลที่อยู่ด้านล่าง สูง 30 - 50 ซม.ใบเป็นเส้นตรงยาว 20 ซม. มีขนที่ขอบใบ ดอกเป็นดอกช่อแบบ spike ประกอบด้วยช่อดอกย่อย 2-7 อัน ยาว 2-4 ซม. มีขนตรงกลาง วงชีวิตสั้น ออกดอกได้ตลอดปี ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดและไหล ชอบดินแห้ง พบตามที่สูง และที่ดินรกร้าง กระจายพันธุ์ทั่วประเทศไทยในทวีปแอฟริกา พืชชนิดนี้ใช้เป็นพืชอาหารแบบดั้งเดิม โดยมีการใช้เมล็ดของพืชชนิดเป็นอาหารสัตว์เมื่อความแห้งแล้ง อดอยาก ในขณะที่ในพื้นที่อื่นๆถือว่าเป็นวัชพืช

เผยแพร่เมื่อ 09-02-2017 ผู้เช้าชม 5,487

แตงโม

แตงโม

แตงโม เป็นผลไม้ที่มีต้นกำเนิดในแถบทวีปแอฟริกาในทะเลทรายคาลาฮารี ซึ่งชาติที่แรกที่ปลูกแตงโมไว้รับประทานนั้นก็คือชาวอียิปต์ สำหรับประเทศไทยนั้นการปลูกแตงโมจะมีอยู่ทั่วทุกภาคและปลูกได้ทุกฤดู โดยพันธุ์ที่นิยมปลูกกันมากโดยทั่วไปจะมีอยู่ 3 สายพันธุ์หลักๆ คือ พันธุ์ธรรมดาทั่วไป (เมล็ดมีขนาดเล็ก รสหวาน เช่น แตงโมจินตหรา แตงโมตอร์ปิโด แตงโมกินรี แตงโมน้ำผึ้ง แตงโมไดอานา แตงโมจิ๋ว เป็นต้น) สายพันธุ์ต่อมาก็คือ พันธุ์ไร้เมล็ด (เป็นพันธุ์ผสมผลิตเพื่อส่งออก) และพันธุ์กินเมล็ด

เผยแพร่เมื่อ 02-06-2020 ผู้เช้าชม 10,900

จอก

จอก

ต้นจอก จัดเป็นวัชพืชน้ำขนาดเล็ก หรือเป็นพรรณไม้ที่ขึ้นลอยและเจริญเติบโตติดกันเป็นกลุ่มลอยอยู่บนผิวน้ำ มีอายุยืนหลายปี ลำต้นทอดขนานไปกับผิวน้ำ ลำต้นมีลักษณะอวบน้ำ และมีรากระบบรากแก้วและมีรากฝอยเป็นจำนวนมากออกเป็นกระจุกอยู่ใต้น้ำ สีขาว ลำต้นมีความสูงประมาณ 2.5-10 เซนติเมตร ลำต้นมีไหล ต้นใหม่จะเกิดจากโคนต้นและเกิดบนไหล โดยต้นจอกเป็นพรรณไม้น้ำที่ชอบแสงแดดจัด ชอบน้ำจืด สามารถพบได้ตามลำคลอง หนองน้ำ นาข้าว และที่มีน้ำขัง ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เมล็ด หรือแตกไหล และวิธีการแยกต้นอ่อน

เผยแพร่เมื่อ 25-05-2020 ผู้เช้าชม 10,156

มะขาม

มะขาม

มะขามจัดเป็นพันธุ์ไม้ยืนต้นที่มีถิ่นกำเนิดในทวีฟแอฟริกาและมีการนำเข้ามาปลูกในแถบเอเชีย นอกจากนี้มะขามยังเป็นต้นไม้ประจำจังหวัดเพชรบูรณ์ และตามตำราพรหมชาติยังถือว่ามะขามเป็นไม้มงคลชนิดหนึ่งที่ช่วยป้องกันสิ่งเลวร้าย ผีร้ายต่างๆ ไม่ให้มากล้ำกราย อีกทั้งยังเป็นต้นไม้ที่มีชื่อมงคล ถือกันเป็นเคล็ดทำให้มีคนเกรงขาม สำหรับประโยชน์ของมะขามและสรรพคุณมะขามนั้นมีมากมาย จัดว่าเป็นผลไม้เพื่อสุขภาพที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูงและยังมีสรรพคุณใช้เป็นยารักษาโรคอีกด้วย 

เผยแพร่เมื่อ 10-07-2020 ผู้เช้าชม 5,413

กระชายดำ

กระชายดำ

ต้นกระชายดำเป็นไม้ล้มลุก อายุหลายปี มีเหง้าใต้ดิน สีม่วงดำ ใบกระชายดำ ใบเดี่ยว รูปไข่ หรือรูปรี กว้าง 5-10 เซนติเมตร 10-15 เซนติเมตร ดอกกระชายดำออกเป็นช่อแทรกที่โคนกาบใบ ก้านช่อยาว 5-6 เซนติเมตร กลีบดอกส่วนโคนเชื่อมเป็นหลอด ยาว 3-3.2 เซนติเมตร ปลายแยกเป็นแฉก เกสรเพศผู้เป็นหมัน สีขาว รูปขอบขนาน กว้าง 3 มิลลิเมตร ยาว 10-13 มิลลิเมตร กลีบปากสีม่วง

เผยแพร่เมื่อ 13-05-2020 ผู้เช้าชม 1,677

อัญชัน

อัญชัน

อัญชัน เป็นพืชที่มีต้นกำเนิดในแถบอเมริกาใต้ ปลูกทั่วไปในเขตร้อน ลักษณะของดอกอัญชันจะมีสีขาว สีฟ้า สีม่วง ส่วนตรงกลางดอกจะมีสีเหลือง และรูปทรงคล้ายหอยเชลล์ มีสรรพคุณที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว เพราะมีสารที่ชื่อว่า "แอนโทไซยานิน" (Anthocyanin) ซึ่งมีหน้าที่ไปช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของโลหิต ทำให้เลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ได้ดีมากขึ้น เช่น ไปเลี้ยงบริเวณรากผม ซึ่งช่วยทำให้ผมดกดำ เงางาม หรือไปเลี้ยงบริเวณดวงตาจึงช่วยบำรุงสายตาไปด้วยในตัว หรือไปเลี้ยงบริเวณปลายนิ้วมือ ซึ่งก็จะช่วยแก้อาการเหน็บชาได้ด้วย 

เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 4,487

ตะขาบหิน

ตะขาบหิน

ต้นตะขาบหิน มีถิ่นกำเนิดในหมู่เกาะทางภาคตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิก จัดเป็นพรรณไม้พุ่มขนาดเล็ก แตกกิ่งก้านจำนวนมาก มีความสูงของต้นประมาณ 1-2 เมตร เปลือกลำต้นเรียบเป็นสีน้ำตาล ต้นอ่อนแบนเป็นสีเขียว เมื่อแก่จะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลและกลมขึ้น ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการปักชำ พรรณไม้ชนิดนี้มักขึ้นตามพื้นที่ป่าทั่วไป โดยจะกระจายอยู่ตามภาคต่าง ๆ ของประเทศไทย ออกดอกและติดผลในช่วงเดือนเมษายนถึงเดือนกรกฎาคม

เผยแพร่เมื่อ 01-06-2020 ผู้เช้าชม 4,654