มะกล่ำเผือก

มะกล่ำเผือก

เผยแพร่เมื่อ 10-07-2020 ผู้ชม 2,324

[16.4258401, 99.2157273, มะกล่ำเผือก]

มะกล่ำเผือก ชื่อวิทยาศาสตร์ Abrus pulchellus Thwaites (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Abrus fruticulosus auct. non Wight & Arn., Abrus pulchellus subsp. pulchellus) จัดอยู่ในวงศ์ถั่ว (FABACEAE หรือ LEGUMINOSAE) และอยู่ในวงศ์ย่อยถั่ว FABOIDEAE (PAPILIONOIDEAE หรือ PAPILIONACEAE)

สมุนไพรมะกล่ำเผือก มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า มะกล่ำตาหนู แปบฝาง (เชียงใหม่), คอกิ่ว มะขามป่า (จันทบุรี), มะขามย่าน (ตรัง), โกยกุกเช่า (จีนแต้จิ๋ว), จีกู่เฉ่า (จีนกลาง) เป็นต้น

ลักษณะของมะกล่ำเผือก

  • ต้นมะกล่ำเผือก จัดเป็นไม้เถาเลื้อยพาดพันกับต้นไม้อื่นหรือเลื้อยบนพื้นดิน ยาวประมาณ 50-100 เซนติเมตร ลำต้นแตกกิ่งก้านมากเป็นพุ่มทึบ สีน้ำตาลเข้มอมสีม่วงแดง ก้านเล็กปกคลุมด้วยขนสีเหลืองบาง ๆ เถามีลักษณะกลมเป็นสีเขียว รากมีลักษณะกลมใหญ่ ยาวประมาณ 60 เซนติเมตร มีเขตการกระจายพันธุ์ในจีน ภูฏาน เนปาล อินเดีย บังกลาเทศ ศรีลังกา พม่า ฟิลิปปินส์ ปาปัวนิวกินี ภูมิภาคอินโดจีนและมาเลเซีย โดยมักขึ้นกระจายทั่วไปตามป่าดิบชื้นและป่าดิบแล้งระดับต่ำ
  • ใบมะกล่ำเผือก ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกปลายคู่ ออกเรียงสลับ มีใบย่อยประมาณ 4-7 คู่ ออกเรียงตรงข้าม ลักษณะของใบย่อยเป็นรูปขอบขนานหรือรูปไข่กลับ ปลายใบเป็นติ่งหนามหรือมน โคนใบเบี้ยว ส่วนขอบใบเรียบ ใบมีขนาดยาวประมาณ 3.2-4.5 เซนติเมตร แผ่นใบบาง ผิวใบด้านบนเกลี้ยง ส่วนด้านล่างมีขนสีขาวประปราย ก้านใบยาวประมาณ 2-3 เซนติเมตร ก้านใบย่อยยาวประมาณ 1.5 มิลลิเมตร มีขนหนาแน่น เส้นกลางใบนูนขึ้นเล็กน้อย หูใบเป็นรูปใบหอก ยาวประมาณ 6-7 มิลลิเมตร หูใบย่อยเป็นเส้นเรียวยาว ยาวประมาณ 2 มิลลิเมตร
  • ดอกมะกล่ำเผือก ออกดอกเป็นช่อกระจะตามซอกใบ ยาวประมาณ 4-9 เซนติเมตร ใบประดับและใบประดับย่อยเป็นรูปไข่ ยาวได้ประมาณ 1 มิลลิเมตร ดอกเป็นรูปดอกถั่ว กลีบเลี้ยงดอกเป็นสีเขียวปนสีชมพูอ่อน โคนเชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วย ปลายเว้าเป็นรอยหยักตื้น ๆ หรือเป็นปลายตัด กลีบดอกมี 5 กลีบ กลีบกลางเป็นสีขาว ลักษณะเป็นรูปรี ยาวประมาณ 1.2-1.3 เซนติเมตร ปลายเว้าบุ๋ม โคนเป็นรูปลิ่ม ขอบเรียบ ส่วนกลีบคู่ด้านข้างเป็นสีชมพูอ่อน ลักษณะเป็นรูปเคียว มีความยาวรวมก้านกลีบประมาณ 1.1-1.2 เซนติเมตร ปลายมน โคนสอบเรียว คอดลงไปคล้ายก้านกลีบ มีรยางค์เป็นติ่ง ส่วนกลีบคู่ล่างเป็นสีชมพู โคนเป็นสีขาว ลักษณะเป็นรูปเคียว ยาวประมาณ 1.3-1.5 เซนติเมตร ปลายมน โคนสอบเรียว คลอดลงไปคล้ายก้านกลีบ ดอกมีเกสรเพศผู้ 9 อัน โคนเชื่อมติดกันเป็นหลอด มีแบบสั้นและแบบยาวออกเรียงสลับกัน แบบสั้นก้านชูอับเรณูยาวประมาณ 1 เซนติเมตร ส่วนแบบยาวก้านชูอับเรณูยาวประมาณ 1.2-1.3 เซนติเมตร อับเรณูเป็นสีเหลือง ลักษณะเป็นรูปขอบขนาน ยาวประมาณ 1 มิลลิเมตร ติดทางด้านหลัง ส่วนเกสรเพศเมียเป็นรูปแถบ แบน และมีขนขึ้นหนาแน่น 
  • ผลมะกล่ำเผือก ออกผลเป็นฝักรูปขอบขนาน ขนาดกว้างประมาณ 0.8-1.5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 4-8 เซนติเมตร มีขนสีเหลืองอ่อน ฝักแห้งแตกออกได้ ในฝักมีเมล็ดประมาณ 4-5 เมล็ด เมล็ดมีลักษณะค่อนข้างกลมรี แบนเล็กน้อย ผิวเงาเรียบ เมล็ดอ่อนเป็นสีขาว เมื่อสุกเป็นสีดำเข้มหรือสีเหลืองอ่อน

สรรพคุณของมะกล่ำเผือก

  1. ทั้งต้นมีรสจืด ชุ่ม เป็นยาเย็นเล็กน้อย ใช้เป็นยาแก้อาการร้อนใน แก้พิษร้อน ถอนพิษไข้ (ทั้งต้น)
  2. เถาและรากมีรสเปรี้ยวหวานชุ่ม ใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้หืด หลอดลมอักเสบ แก้ไอแห้ง แก้เจ็บคอ ช่วยกัดเสมหะ ขับเสมหะ แก้อาเจียน แก้ร้อนใน (เถาและราก)
  3. ใบมีรสเปรี้ยวหาน ใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้เจ็บคอ หลอดลมอักเสบ ช่วยกระตุ้นน้ำลาย (ใบ)
  4. ทั้งต้นหรือเครือ นำไปต้มกับน้ำดื่มช่วยลดความดันโลหิต (ทั้งต้น)
  5. รากใช้เป็นยาแก้อาการปวดท้องและแก้จุกเสียด (ราก)
  6. ทั้งต้นใช้เป็นยาแก้อาการปวดกระเพาะ (ทั้งต้น)
  7. ใบนำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาขับปัสสาวะ (ใบ, เถาและราก)
  8. ใช้เป็นยากล่อมตับ ใช้รักษาตับอักเสบชนิดเฉียบพลันหรือเรื้อรัง ตับแข็ง ท้องมาน ช่วยคลายและกระจายการคั่งของตับ รักษาตับอักเสบที่ติดเชื้อแบบดีซ่าน ตำรายาแก้การติดเชื้อของตับอักเสบชนิดเฉียบพลันแบบดีซ่าน ให้ใช้ต้นสดของมะกล่ำเผือก 30 กรัม, ต้นยินเฉิน 30 กรัม, ตี้เอ๋อเฉ่า 30 กรัม, ซานจีจื่อ (เมล็ดพุดตานแห้ง) 15 กรัม นำมาต้มกับน้ำรับประทาน และถ้ามีอาการตัวร้อนและอักเสบ ก็ให้เพิ่มต้นหมากดิบน้ำค้าง 30 กรัม และดอกสายน้ำผึ้ง 30 กรัม นำมาต้มรวมกันรับประทาน (ทั้งต้น)
  9. ใบใช้ตำพอกแก้อักเสบ ปวดบวม (ใบ)
  10. เมล็ดมีรสขมเผ็ดเมาเบื่อ เป็นพิษ ใช้ได้เฉพาะภายนอก ด้วยการนำมาบดผสมกับน้ำมันพืช ใช้ทาแก้กลากเกลื้อน ฆ่าพยาธิผิวหนัง ฝีมีหนอง บวมอักเสบ (เมล็ด)
  11. ทั้งต้นใช้ภายนอกเป็นยาแก้พิษงู (ทั้งต้น)
  12. ทั้งต้นใช้เป็นยาขับความชื้น แก้อาการปวดข้อ ปวดกระดูกเนื่องจากลมชื้นเกาะติด (ทั้งต้น)
  13. ใบมีสรรพคุณแก้อาการปวดตามแนวประสาท ปวดบวมตามข้อ (ใบ)

ขนาดและวิธีใช้ : ยาแห้งให้ใช้ครั้งละ 10-15 กรัม นำมาต้มกับน้ำรับประทานหรือใช้เข้ากับตำรายาอื่น ส่วนยาสดให้ใช้ภายนอก ประมาณ 30-60 กรัม หรือตามที่ต้องการ ห้ามใช้เมล็ดรับประทานเพราะมีพิษ ก่อนใช้จะต้องเอาเมล็ดออกให้หมดก่อน

ข้อควรระวัง : เมล็ดมะกล่ำเผือกมีพิษเหมือนเมล็ดมะกล่ำตาหนู ทำให้ตายได้ เมล็ดใช้เป็นยารับประทานไม่ได้ ให้ใช้เฉพาะภายนอก ต้องระมัดระวังในการใช้

ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของมะกล่ำเผือก 

  • ในใบพบสารรสหวานชื่อ Glycyrrhizin, Abrine และสาร Choline อีกทั้งยังพบสารจำพวก Flavonoid, Amino acid และมีกลูโคสกลูโคลิน รวมทั้งมีสารจำพวก Sterol อีกด้วย

ประโยชน์ของมะกล่ำเผือก

  1. ใบใช้ตำพอกแก้จุดด่างดำบนใบหน้า (ใบ)
  2. เมล็ดใช้ทำเป็นยาฆ่าแมลง มีพิษแรง ถ้าเคี้ยวกินเพียง 1-2 เมล็ด อาจทำให้ตายได้ โดยสามารถออกฤทธิ์ได้นานถึง 2 วัน
  3. ใบมะกล่ำเผือกมีสารให้ความหวานชื่อ glycyrrhizin ซึ่งมีความหวานกว่าน้ำตาลทรายประมาณ 50 เท่า ซึ่งอาจนำมาพัฒนาใช้ในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มแทนน้ำตาลทรายได้

 

คำสำคัญ : มะกล่ำเผือก

ที่มา : https://medthai.com/

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). มะกล่ำเผือก. สืบค้น 1 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?code_db=610010&code_type=01&nu=pages&page_id=1685

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1685&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

มะขาม

มะขาม

มะขามจัดเป็นพันธุ์ไม้ยืนต้นที่มีถิ่นกำเนิดในทวีฟแอฟริกาและมีการนำเข้ามาปลูกในแถบเอเชีย นอกจากนี้มะขามยังเป็นต้นไม้ประจำจังหวัดเพชรบูรณ์ และตามตำราพรหมชาติยังถือว่ามะขามเป็นไม้มงคลชนิดหนึ่งที่ช่วยป้องกันสิ่งเลวร้าย ผีร้ายต่างๆ ไม่ให้มากล้ำกราย อีกทั้งยังเป็นต้นไม้ที่มีชื่อมงคล ถือกันเป็นเคล็ดทำให้มีคนเกรงขาม สำหรับประโยชน์ของมะขามและสรรพคุณมะขามนั้นมีมากมาย จัดว่าเป็นผลไม้เพื่อสุขภาพที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูงและยังมีสรรพคุณใช้เป็นยารักษาโรคอีกด้วย 

เผยแพร่เมื่อ 10-07-2020 ผู้เช้าชม 5,802

จักรนารายณ์

จักรนารายณ์

ต้นจักรนารายณ์ หรือ ต้นแปะตําปึง มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมในประเทศจีน โดยจัดเป็นพรรณไม้ล้มลุก มีอายุได้หลายปี มีความสูงของต้นประมาณ 30-50 เซนติเมตร ลำต้นและกิ่งก้านเป็นทรงกลมโตประมาณเท่านิ้วก้อยและเป็นสีม่วงแดง ทั้งต้นมีขนขึ้นปกคลุม รากอยู่ใต้ดินเป็นหัวเหง้าและแตกเป็นรากฝอย ขยายพันธุ์ด้วยการตัดกิ่งปักชำ พืชชนิดนี้ไม่ชอบอยู่ในที่ร่มมากนัก ชอบแสงแดดพอสมควร เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วน ชอบน้ำ แต่อย่าให้มีที่รองน้ำที่ก้นกระถาง เพราะรากจะเน่าได้

เผยแพร่เมื่อ 25-05-2020 ผู้เช้าชม 5,315

ต้นตะเคียน

ต้นตะเคียน

ต้นตะเคียนทอง จัดเป็นไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบขนาดใหญ่ ลำต้นเปลาตรง มีความสูงของต้นประมาณ 20-40 เมตร วัดรอบได้ถึงหรือกว่า 300 เซนติเมตร ลักษณะของเรือนยอดเป็นทรงพุ่มทึบ กลม หรือเป็นรูปเจดีย์แบบต่ำๆ เปลือกต้นหนาเป็นสีน้ำตาลดำ แตกเป็นสะเก็ด กะพื้นเป็นสีน้ำตาลอ่อน ส่วนแก่นไม้ตะเคียนเป็นสีน้ำตาลแดง ลักษณะของไม้ตะเคียน เนื้อไม้เป็นสีเหลืองหม่นหรือสีน้ำตาลอมสีเหลือง มักมีเส้นสีขาวหรือเทาขาวผ่านเสมอ ซึ่งเป็นท่อน้ำมันหรือยาง เนื้อไม้มีความละเอียดปานกลาง 

เผยแพร่เมื่อ 01-06-2020 ผู้เช้าชม 12,398

งิ้ว

งิ้ว

ลักษณะทั่วไป  เป็นไม้ต้น ผลัดใบ ลำต้นและกิ่งมีหนามแหลม กิ่งแผ่ ออกตั้งฉากกับลำต้น ใบประกอบแบบนิ้วมือ ออกสลับ ใบย่อย 5-7 ใบ รูปไข่หรือรูปรีปลายเรียวแหลมโคนสอบแคบ ดอกสีแดง ตามปลาย ๆ กิ่ง กลีบเลี้ยงรูปถ้วย ปลายแยก 3-4 แฉก ไม่เท่ากัน ด้านนอกมีขน มันเป๋นเงากลีบดอก 5 กลีบ ปลายกลีบม้วนออก เมื่อบานเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 8 เซนติเมตร เกสรตัวผู้ จำนวนมากโคนก้าน เกสรติดกันเป็นกลุ่ม ๆ ผลรูปรี หรือรูปขอบขนาน คล้ายผลนุ่น เมล็ดสีดำ หุ้มด้วยปุยสีขาว

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 1,758

คัดเค้า

คัดเค้า

คัดเค้าเป็นไม้เถาเนื้อเหนียวแข็งที่มีความสูงของลำต้นประมาณ 3 – 6 เมตร เปลือกลำต้นมีสีน้ำตาล มักขึ้นพันเลื้อยไปยังต้นและกิ่งไม้ และตามลำต้นจะมีข้อและใบงอกออกมาเป็นคู่ๆ ข้อละ 1 คู่ พร้อมหนามแหลมงองุ้มออกจากโคนใบคล้ายเขาของควาย ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นเอกลักษณ์โดดเด่นของต้นคัดเค้าเลยทีเดียว ส่วนใบนั้นจะเป็นใบเดี่ยว ออกแบบตรงข้ามกัน รูปรี โคนสอบ ปลายแหลม ขอบเรียบ และดอกนั้นจะออกเป็นช่อกระจุกอยู่ตามซอกใบเป็นช่อใหญ่ โดยมีลักษณะคล้ายกับดอกเข็ม ส่วนผลของคัดเค้าจะออกเป็นพวงหรือกลุ่ม มีลักษณะกลมหรือรี ผิวผลจะเรียบและมัน สีเขียวเข้ม แต่เมื่อสุกจะมีสีดำ ปลายผลจะแหลม ภายในมีเมล็ดจำนวนมาก โดยออกผลในช่วงเดือนเมษายน

เผยแพร่เมื่อ 29-04-2020 ผู้เช้าชม 2,742

เอื้องเข็มแสด

เอื้องเข็มแสด

เอื้องเข็มแสด จัดเป็นกล้วยไม้อิงอาศัยที่อยู่ในสกุลเข็ม มีความสูงได้ประมาณ 10-20 เซนติเมตร ลำต้นเรียว รากเป็นแบบรากอากาศ มีเขตการกระจายพันธุ์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อินโดจีน มาเลเซีย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ ส่วนในประเทศไทยพบได้ทั่วทุกภาค ยกเว้นทางภาคตะวันออก โดยมักขึ้นตามป่าผลัดใบ ป่าดิบแล้ง และตามป่าเบญจพรรณ ทั้งในลักษณะภูมิประเทศที่ราบและที่เป็นภูเขา จึงสามารถปลูกเลี้ยงได้ดีในทุกภาคของประเทศ

เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 2,664

ก้นจ้ำ

ก้นจ้ำ

ต้นก้นจ้ำเป็นพรรณไม้ล้มลุก ที่มีลำต้นสูงประมาณ 5-2 เมตร ลำต้นมีลักษณะเป็นเหลี่ยม บริเวณลำต้น กิ่ง ก้านสาขา มีขนขึ้นประปราย ใบก้นจ้ำออกเป็นช่อยอดเดี่ยว ซึ่งจะออกตรงข้ามกัน ช่อยาวราว 5-14 ซม. ใบย่อยมีลักษณะเป็นรูปไข่ โคนใบสอบเข้าหากัน ปลายใบแหลมเรียว ริมขอบใบยักย่อยคล้ายฟันปลาหลัง และใต้ท้องใบมีขนประปราย หรืออาจเกลี้ยง ก้านใบจะยาวประมาณ 5 ซม. ดอกก้นจ้ำออกเป็นดอกเดี่ยว ลักษณะของดอก มีสีเหลือง ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 7-10 มม. ปลายกลีบดอกค่อนข้างแหลม หรือเป็นฝอย กลีบดอกยาวประมาณ 5 มม.เป็นรูปท่อ ดอกวงในเป็นดอกสมบูรณ์เพศ

เผยแพร่เมื่อ 12-05-2020 ผู้เช้าชม 2,306

ต้นหมีเหม็น

ต้นหมีเหม็น

มีชื่อพฤกษศาสตร์ว่า Litsea glutinosa C.B. Robinson ในวงศ์ Lauraceae บางถิ่นเรียก ดอกจุ๋ม(ลำปาง) ตังสีไพร(พิษณุโลก) ทังบวน(ปัตตานี) มะเย้อ ยุบเหยา(พายัพ) มัน(ตรัง) หมี(อุดรธานี) หมูทะลวง(จันทบุรี) หมูเหม็น(แพร่) อีเหม็น(กาญจนบุรี ราชบุรี) กำปรนบาย(ชอง-จันทบุรี) มือเบาะ(มาเลย์-ยะลา)

เผยแพร่เมื่อ 06-02-2017 ผู้เช้าชม 3,126

งาขี้ม้อน

งาขี้ม้อน

ต้นงาขี้ม้อน จัดเป็นไม้พุ่มหรือไม้ล้มลุก มีความสูงของต้นประมาณ 1-2 เมตร ลำต้นตั้งตรง แตกกิ่งก้านสาขา ต้นมีกลิ่นหอม เป็นสันสี่เหลี่ยมมน ๆ และระหว่างเหลี่ยมเป็นร่องตามยาว มีขนยาวละเอียดสีขาวขึ้นปกคลุมอยู่หนาแน่น เมื่อโตเต็มที่โคนต้นจะเกลี้ยง โคนต้นและโคนกิ่งจะแข็ง ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้ามกัน ลักษณะของใบเป็นรูปไข่ถึงรูปไข่กว้าง หรือรูปกลม ออกดอกเป็นช่อกระจะตามง่ามใบและที่ปลายกิ่ง แต่ละช่อมีดอกย่อยจำนวนมาก ริ้วประดับดอกย่อยลักษณะเป็นรูปไข่ 

เผยแพร่เมื่อ 25-05-2020 ผู้เช้าชม 9,240

หงอนไก่

หงอนไก่

หงอนไก่ฝรั่ง จัดเป็นพรรณไม้พุ่มขนาดเล็ก มีความสูงของต้นประมาณ 20 นิ้ว ลำต้นแตกกิ่งก้านสาขาไม่มากนัก และไม่มีแก่นด้วย เป็นพรรณไม้ที่กลายพันธุ์ได้ง่าย ทำให้บางต้นจึงมักไม่เป็นสีเขียวเสมอไป โดยอาจจะเป็นสีเขียวอ่อน สีขาว หรือสีแดง เป็นต้น ซึ่งก็แล้วแต่พันธุ์ของต้นนั้น ๆ สามารถขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนซุยและระบายน้ำได้ดี เป็นพรรณไม้กลางแจ้ง ชอบแสงแดดจัด และเจริญเติบโตได้ง่ายและงอกงามเร็ว

เผยแพร่เมื่อ 16-07-2020 ผู้เช้าชม 18,887