ต้นตะเคียน

ต้นตะเคียน

เผยแพร่เมื่อ 01-06-2020 ผู้ชม 11,944

[16.4258401, 99.2157273, ต้นตะเคียน]

ตะเคียนทอง ชื่อสามัญ Iron wood, Malabar iron wood, Takian, Thingan, Sace, Takian
ตะเคียนทอง ชื่อวิทยาศาสตร์ Hopea odorata Roxb. จัดอยู่ในวงศ์ยางนา (DIPTEROCARPACEAE)
สมุนไพรตะเคียนทอง มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ตะเคียน ตะเคียนทอง ตะเคียนใหญ่ (ภาคกลาง), จะเคียน (ภาคเหนือ), แคน (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ), ไพร (ละว้า เชียงใหม่), กะกี้ โกกี้ (กะเหรี่ยง เชียงใหม่), จูเค้ โซเก (กะเหรี่ยง กาญจนบุรี), จืองา (มลายู-นราธิวาส) (บางข้อมูลระบุมีชื่ออื่นว่า กากี้, เคียน) เป็นต้น

ลักษณะของต้นตะเคียน
        ต้นตะเคียนทอง จัดเป็นไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบขนาดใหญ่ ลำต้นเปลาตรง มีความสูงของต้นประมาณ 20-40 เมตร วัดรอบได้ถึงหรือกว่า 300 เซนติเมตร ลักษณะของเรือนยอดเป็นทรงพุ่มทึบ กลม หรือเป็นรูปเจดีย์แบบต่ำ ๆ เปลือกต้นหนาเป็นสีน้ำตาลดำ แตกเป็นสะเก็ด กะพื้นเป็นสีน้ำตาลอ่อน ส่วนแก่นไม้ตะเคียนเป็นสีน้ำตาลแดง ลักษณะของไม้ตะเคียน เนื้อไม้เป็นสีเหลืองหม่นหรือสีน้ำตาลอมสีเหลือง มักมีเส้นสีขาวหรือเทาขาวผ่านเสมอ ซึ่งเป็นท่อน้ำมันหรือยาง เนื้อไม้มีความละเอียดปานกลาง เสี้ยนมักสน ไม้แข็ง เหนียว ทนทาน และเด้งตัวได้มาก นิยมขยายพันธุ์ด้วยวิธีการผลิตกล้าจากเมล็ด เจริญเติบโตได้ดีที่ระดับความสูงประมาณ 130-300 เมตร และเป็นดินร่วนปนทรายที่มีความอุดมสมบูรณ์และรายน้ำได้ดี มีเขตการกระจายพันธุ์ตามธรรมชาติทางตอนใต้และทางตอนตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปเอเชียในแถบประเทศไทย ลาว พม่า กัมพูชา เวียดนาม และมาเลเซีย โดยเป็นไม้ในป่าดงดิบที่มักขึ้นเป็นหมู่กระจัดกระจายอยู่ตามที่ราบ หรือในที่ค่อนข้างราบใกล้ฝั่งแม่น้ำ[1] ตามป่าดิบใกล้ลำธาร ที่ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 100-800 เมตร
        ใบตะเคียนทอง ใบเป็นใบเดี่ยว ลักษณะของใบเป็นรูปไข่แกมรูปใบหอกหรือรูปดาบ ปลายใบเรียว ส่วนโคนใบมนป้านและเบี้ยว ใบมีขนาดกว้างประมาณ 3-6 เซนติเมตรและยาวประมาณ 10-15 เซนติเมตร แผ่นใบบางแต่ค่อนข้างเหนียว หลังใบเกลี้ยงเป็นมัน ท้องใบมีตุ่มหูดหรือตุ่มดอมเมเซียเกลี้ยง ๆ อยู่ตามง่ามแขนงของใบ ใบมีเส้นแขนงใบประมาณ 9-13 คู่ ปลายโค้งแต่ไม่จรดกัน เชื่อมใบย่อยเชื่อมกันเป็นขั้นบันได ส่วนหูใบมีลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยม
        ดอกตะเคียนทอง ออกดอกเป็นช่อยาวแบบช่อแยกแขนงตามปลายกิ่งและตามง่ามใบ มีดอกย่อยอยู่ช่อละประมาณ 40-50 ดอก ช่อดอกมีความยาวประมาณ 5-7 เซนติเมตร ดอกเป็นสีเหลืองแกมสีน้ำตาลขนาดเล็ก มีกลิ่นหอมและมีขนนุ่ม ดอกมีกลีบดอก 5 กลีบ เมื่อดอกบานเต็มที่กลีบดอกจะบิดเป็นกงจักร มีขนาดของดอกประมาณ 0.3-1 เซนติเมตร กลีบดอก 3-5 มิลลิเมตร ปลายกลีบดอกหยัก ส่วนล่างกลีบบิดและเชื่อมติดกัน ดอกมีเกสรตัวผู้ 15 อัน อับเรณูมียอดแหลม ส่วนเกสรตัวเมียมีรังไข่เหนือวงกลีบ ลักษณะเรียวเล็ก มีความยาวเท่ากับรังไข่ เมื่อหลุดจะร่วงทั้งชั้นรวมทั้งเกสรตัวผู้ติดไปด้วย และดอกยังมีกลีบเลี้ยงขนาดเล็ก 5 กลีบ โดยจะออกดอกในช่วงเดือนมกราคมถึงเดือนมีนาคม แต่จะไม่ออกดอกทุกปี และช่วงที่ดอกออกมากจะมีประมาณ 3-5 ครั้งต่อปี
         ผลตะเคียนทอง ผลเป็นผลแห้งไม่แตก ผลเป็นสีเขียวอ่อน เมื่อสุกจะเป็นสีน้ำตาลเข้ม ผลมีลักษณะกลมหรือเป็นรูปไข่เกลี้ยง ผลมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 0.6 เซนติเมตร (มีขนาดไม่เกิน 1 เซนติเมตร) ปลายมนเป็นติ่งคล้ายหนามแหลม มีปีกยาว 1 คู่ ลักษณะเป็นรูปใบพาย ยาวประมาณ 4-6 เซนติเมตร ปลายปีกกว้างประมาณ 1 เซนติเมตร และค่อย ๆ เรียวสอบมาทางด้านโคนปีก เส้นปีกตามยาวประมาณ 9-11 เส้น และยังมีปีกสั้นอีก 3 ปีกซ้อนกัน มีความยาวไม่เกินความยาวของตัวผลหรือยาวน้อยกว่า 0.5 เซนติเมตร ปีกจะซ้อนกันอยู่ แต่จะหุ้มส่วนกลางผลไม่มิด โดยในหนึ่งผลจะมีเมล็ด 1 เมล็ด เมล็ดมีลักษณะค่อนข้างกลมสีน้ำตาล โดยปลีกเหล่านี้จะมีหน้าที่ห่อหุ้มผลและสามารถพาผลให้ปลิวไปตามลมได้ไกลออกไปจากต้นแม่ และจะเป็นผลในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนเมษายน

สรรพคุณของตะเคียนทอง
1. แก่นมีรสขมอมหวาน ช่วยแก้โลหิตและกำเดา (แก่น)
2. ช่วยคุมธาตุ (เนื้อไม้) ปิดธาตุ (แก่น,ยาง)
3. ช่วยแก้ไข้สัมประชวรหรือไข้ที่เกิดมาจากหลายสาเหตุ และมักมีอาการแสดงที่ตา เช่น แดง เหลือง หรือขุ่นคล้ำ เป็นต้น (แก่น)
4. แก่นไม้ตะเคียนใช้ผสมกับยารักษาทางเลือดลม กษัย (แก่น)
5. ช่วยแก้อาการลงแดง (เปลือกต้น)
6. ช่วยขับเสมหะ (แก่น)
7. เปลือกต้นนำมาต้มกับเกลือ ใช้อมช่วยป้องกันฟันหลุดเนื่องจากกินยาเข้าปรอท (เปลือกต้น)
8. ช่วยแก้อาการปวดฟัน แก้เหงือกบวม (แก่น)
9. ช่วยแก้อาการเหงือกอักเสบ (เปลือกต้น)
10. ช่วยฆ่าเชื้อโรคในปาก (เปลือกต้น)
11. ช่วยแก้บิดมูกเลือด (เปลือกต้น)
12. ช่วยแก้อาการท้องร่วง (แก่น, เนื้อไม้)
13. ช่วยแก้อาการท้องเสีย (ยาง)
14. ช่วยห้ามเลือด (เปลือกต้น, เนื้อไม้)
15. ใช้เป็นยาสมานแผล (เปลือกต้น)
16. เปลือกต้นนำมาต้มกับน้ำใช้ชะล้างรักษาบาดแผลเรื้อรัง (เปลือกต้น)
17. ช่วยแก้อาการอักเสบ (เปลือกต้น, เนื้อไม้)
18. ยางใช้ผสมกับน้ำใช้ทารักษาบาดแผล หรือจะทำเป็นยางแห้งบดเป็นผงใช้รักษาบาดแผล (ยาง)[1],[4],[7],[8]บ้างว่าใช้รักษาไฟไหม้และน้ำร้อนลวก (ยาง)[10]
19. เปลือกเนื้อไม้มีฤทธิ์เป็นยาปฏิชีวนะ ใช้ฆ่าเชื้อโรค (เปลือกต้น, เนื้อไม้)
20. ยางจากไม้ตะเคียนเมื่อนำมาบดเป็นผง สามารถใช้เป็นยารักษาช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวด เช่น ใช้ทำยาหม่องเพื่อช่วยบรรเทารักษาบาดแผลหรือบริเวณที่มีอาการฟกช้ำตามร่างกาย (ยาง)
21. ช่วยรักษาคุดทะราด (แก่น)
22. ดอกใช้เข้าในตำรับยาเกสรร้อยแปด ใช้ผสมเป็นยาทิพย์เกสร (ดอก)
23. ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของตะเคียนทอง มีข้อมูลระบุว่ามีฤทธิ์แก้แพ้ ต้านเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา และยีสต์

ประโยชน์ตะเคียนทอง
1. ไม้ตะเคียนจัดเป็นไม้ที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจชนิดหนึ่งของประเทศ เพราะเนื้อไม้มีความทนทาน ทนปลวกดี เลื่อย ไสกบ ตกแต่งและชักเงาได้ดีมาก นิยมใช้ในการก่อสร้างอาคารบ้านเรือน เฟอร์นิเจอร์ตกแต่งบ้าน เครื่องเรือน หน้าต่าง วงกบประตู ทำพื้นกระดาน ฝ้าหลังคา รั้วไม้ หีบใส่ของ ด้ามเครื่องมือกสิกรรมต่าง ๆ พานท้ายและรางปืน หรือใช้ทำสะพาน ต่อเรือ ทำเรือมาด เรือขุด เรือแคนู เสาโป๊ะ กระโดงเรือ ทำรถลาก ทำหมอนรองรางรถไฟ ตัวถังรถ กังหัน เกวียน หูกทอผ้า ทำไม้ฟืน ฯลฯ ไม้ชนิดนี้สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในงานไม้ได้ทุกอย่างที่ต้องการความแข็งแรงทนทาน เหนียวและเด้ง
2. เปลือกต้นให้น้ำฝาดชนิด Catechol และ Pyrogallol
3. ชันจากไม้ตะเคียนใช้ทำน้ำมันชักเงาตบแต่งเครื่องใช้ในร่ม ใช้ผสมกับน้ำมันทาไม้ยาแนวเรือ หรือใช้ผสมกับวัสดุอื่น ๆ เพื่อใช้ในงานต่าง ๆ เช่น ใช้สำหรับทาเคลือบเรือเพื่อช่วยรักษาเนื้อไม้และป้องกันเพรียงทำลาย เป็นต้น
4. ใบตะเคียนมีสารแทนนินอยู่ประมาณ 10% โดยน้ำหนักแห้ง ส่วนในเปลือกต้นก็มีสารประกอบนี้อยู่ด้วยเช่นกัน โดยคุณสมบัติของแทนนินที่ได้จากไม้ตะเคียนทองนี้ เมื่อนำมาใช้ฟอกหนังจะช่วยทำให้แผ่นหนังแข็งขึ้นกว่าเดิม จึงเหมาะกับการนำมาใช้เฉพาะงานได้เป็นอย่างดี
5. ใช้ปลูกตามป่าหรือตามสวนสมุนไพรเพื่อเป็นไม้บังลม เพื่อให้ร่มเงา และช่วยรักษาสมดุลทางธรรมชาติ เพราะไม้เป็นไม้ไม่ผลัดใบพร้อมกัน จึงเป็นไม้ที่ช่วยรักษาความเขียวได้ตลอดปี ช่วยลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้เป็นอย่างดี

คำสำคัญ : ต้นตะเคียน

ที่มา : https://medthai.com/

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). ต้นตะเคียน. สืบค้น 20 เมษายน 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1620&code_db=610010&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1620&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

เห็ดหอม

เห็ดหอม

ในปัจจุบันบรรดาคนรักสุขภาพทั้งหลายต่างหันมาดูแลเอาใจใส่ในสุขภาพของตัวเองกันมากขึ้น โดยเฉพาะด้านอาหารการกินนั้นเรียกว่าเลือกสรรแต่สิ่งที่ดีมีประโยชน์ให้แก่ร่างกายกัน นับเป็นเรื่องดีที่คนไทยต่างหันมาดูแลสุขภาพกันมากขึ้น ซึ่งอาหารเพื่อสุขภาพอย่างเห็ดหอม หรือชิตาเกะ นั้นก็ถือเป็นอีกหนึ่งอาหารสุขภาพที่คนไทยเราต่างรู้จักและคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี เพราะจะเห็นได้จากกรนำเห็ดหอมมาเป็นส่วนประกอบในอาหารเพื่อเพิ่มรสชาติและคุณค่าให้แก่เมนูโปรดกัน

เผยแพร่เมื่อ 12-05-2020 ผู้เช้าชม 4,638

ผักแพว

ผักแพว

ผักแพว จัดเป็นพืชล้มลุก มีลำต้นสูงประมาณ 30-35 เซนติเมตร ลำต้นตั้งตรง มีข้อเป็นระยะๆ ตามข้อมักมีรากงอกออกมา หรือลำต้นเป็นแบบทอดเลื้อยไปตามพื้นดินและมีรากงอกออกมาตามส่วนที่สัมผัสกับพื้นดิน เป็นพืชที่เจริญเติบโตได้ดีในที่ชื้นแฉะ เช่น ในบริเวณห้วย หนอง คลอง บึง หรือตามแอ่งน้ำต่าง ๆ ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดและการใช้ลำต้นปักชำ (เมล็ดงอกยาก นิยมใช้กิ่งปักชำมากกว่า) พรรณไม้ชนิดนี้เป็นพืชล้มลุก พบได้ทั่วทุกภาคของประเทศไทย เพราะเกิดได้เองตามธรรมชาติ

เผยแพร่เมื่อ 10-07-2020 ผู้เช้าชม 7,323

มะปราง

มะปราง

มะปราง มีถิ่นกำเนิดในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ ไทย ลาว พม่า และมาเลเซีย จัดเป็นไม้ผลที่มีทรงของต้นค่อนข้างแหลมถึงทรงกระบอก มีรากแก้วที่แข็งแรง มีกิ่งก้านสาขาค่อนข้างทึบ ลำต้นสูงประมาณ 15-30 เมตร ลักษณะของใบมะปรางจะคล้ายใบมะม่วงแต่มีขนาดเล็กกว่า และใบเป็นใบเรียวยาว มีสีเขียว ขอบใบเรียบ แผ่นใบเหนียว มีเส้นใบเห็นเด่นชัด ใบอ่อนมีสีม่วงแดง ยาวประมาณ 14 เซนติเมตร กว้างประมาณ 3.5 เซนติเมตร ส่วนดอกมะปราง จะออกดอกเป็นช่อ ออกบริเวณปลายกิ่งแขนง ดอกเมื่อบานจะมีสีเหลือง เป็นดอกสมบูรณ์เพศ และช่อดอกจะยาวประมาณ 8-15 เซนติเมตร

เผยแพร่เมื่อ 13-07-2020 ผู้เช้าชม 11,189

กระพี้เขาควาย

กระพี้เขาควาย

ลักษณะทั่วไป เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ผลัดใบสูง 15 - 25 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มกลมยาว ค่อนข้างโปร่ง เปลือกสีเทานวลๆ เปลือกในสีน้ำตาลแดง กระพี้สีน้ำตาลอ่อน กิ่งอ่อนยอดอ่อนมีขน ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกเรียงสลับ ยาว 10 - 15 ซม. มีใบย่อย รูปขอบขนานแกมไข่กลับ กว้าง 2 - 2.5 ซม. ยาว 6 – 7.5 ซม. ส่วนกว้างที่สุดค่อนไปทางปลายใบมนโค้งหยักเว้าเห็น  ได้ชัด โดนฐานใบสอบเข้าเป็นรูปลิ่มหรือมนกลม เนื้อใบค่อนข้างหนา ใบแก่เกลี้ยง ดอกออกเป็นช่อ  มีลักษณะเป็นกระจุกคล้ายรังผึ้งสีขาวอมชมพูอ่อนๆ ออกที่กิ่งข้างตาและปลายยอด ฐาน กลีบดอกเชื่อมติดกันรูปถ้วยกลีบดอกบานแล้วขอบกลีบดอกม้วนขึ้น

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 6,058

ตรีผลา

ตรีผลา

ตรีผลา (Triphala) (อ่านออกเสียงว่า ตรี-ผะ-ลา) คืออะไร ? คำว่าตรี แปลว่า สาม ส่วนคำว่าผลานั้นหมายถึงผลไม้ จึงหมายถึงผลไม้ 3 อย่าง ซึ่งประกอบไปด้วยลูกสมอพิเภก (Terminalia belerica (Gaertn.) Roxb.), ลูกสมอไทย (Terminalia chebula Retz.), ลูกมะขามป้อม (Phyllanthus emblica Linn.) สรุปก็คือ ตรีผลาเป็นยาสมุนไพรที่เป็นส่วนผสมของสมอพิเภก สมอไทย และมะขามป้อม เมื่อผลไม้ทั้งสามตัวนี้มารวมกันก็จะมีสรรพคุณทางยาที่ช่วยควบคุมและกำจัดสารพิษในร่างกาย ซึ่งจะส่งเสริมสรรพคุณซึ่งกันและกันเป็นอย่างดี

เผยแพร่เมื่อ 01-06-2020 ผู้เช้าชม 2,206

ฟักเขียว

ฟักเขียว

ฟักเขียว จัดเป็นพืชล้มลุกจำพวกไม้เถาเช่นเดียวกับบวบ มะระ หรือแตงชนิดอื่น ๆ มีถิ่นกำเนิดไม่แน่นอนระหว่างทวีปเอเชีย แอฟริกา และอเมริกา เพาะปลูกกันมากในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เอเชียตะวันออก และเอเชียใต้ ลักษณะของผลจะเป็นรูปทรงกระบอกปลายมน มีสีเขียวแก่จะเรียกว่า "ฟัก" ถ้าเป็นพันธุ์เล็กผิวมีสีเขียวอ่อน ๆ เราจะเรียกว่า "แฟง" หรือ "ฟักแฟง" (ภาพซ้าย) แต่ถ้าเป็นพันธุ์ที่ลักษณะของผลค่อนข้างกลมสีเขียวแก่ ๆ จะเรียกว่า "ฟักหอม" (ภาพขวา) หรือถ้าเป็นพันธุ์ที่รสขมเราจะเรียกว่า "ฟักขม" เป็นต้น 

เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 8,212

กากหมากตาฤาษี

กากหมากตาฤาษี

ต้นกากหมากตาฤาษี จัดเป็นพืชเบียน เกาะอาศัยแย่งอาหารจากรากพืชชนิดอื่น มีความสูงได้ประมาณ 10-25 เซนติเมตร ลำต้นอยู่รวมกันเป็นก้อนขนาดใหญ่อยู่ใต้ดิน โดยลำต้นจะมีอยู่หลายสี เช่น สีน้ำตาล สีแดง สีแดงปนน้ำตาล สีเหลือง หรือสีเหลืองปนส้ม มีเขตการกระจายพันธุ์ในอินเดีย จีนตอนใต้ พม่า ภูมิภาคอินโดจีน มาเลเซีย และทวีปออสเตรเลีย ส่วนในประเทศไทยพบได้ทั่วทุกภาคของประเทศ โดยพบขึ้นในป่าดิบชื้นทั่วไป บนเขาสูง ที่ความสูง 500-2,000 เมตร จากระดับน้ำทะเล 

เผยแพร่เมื่อ 18-05-2020 ผู้เช้าชม 2,458

มะตาด

มะตาด

มะตาด จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ มีความสูงประมาณ 10-20 เมตร เป็นไม้ไม่ผลัดใบ ลักษณะต้นเป็นทรงเรือนยอดทรงพุ่มกลมหรือรูปไข่ เป็นทรงพุ่มทึบ ลำต้นของมะตาดมักคดงอ ไม่ตั้งตรง และมักมีปุ่มปมปรากฏอยู่บนลำต้น ซึ่งจะเกิดจากร่องรอยของกิ่งแก่ที่หลุดร่วง ส่วนเปลือกต้นเป็นเปลือกหนา มีสีน้ำตาลอมแดงหรือสีทองแดง เมื่อแก่เปลือกต้นจะเปลี่ยนเป็นสีเทา และหลุดล่อนออกเป็นแผ่นบาง ๆ ส่วนการแตกกิ่งก้านของลำต้นจะไม่สูงจากพื้นดินมากนัก และการแตกกิ่งย่อยจะเกิดที่ส่วนปลายของยอดกิ่งหลัก ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เมล็ดและกิ่งตอน ต้นไม้มะตาดเป็นไม้ที่ทนต่อความแห้งแล้งและน้ำท่วมได้ดี 

เผยแพร่เมื่อ 13-07-2020 ผู้เช้าชม 8,577

คาง

คาง

คางเป็นพรรณไม้ยืนต้นที่มีขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ซึ่งตามกิ่งก้านจะมีขนขึ้นปกคลุม ต้นสูงใหญ่  ใบดกหนาทึบ  ใบเล็กเป็นฝอยคล้ายใบมะขามไทย  คล้ายใบทิ้งถ่อนหรือ ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก มีจำนวน 3-4 ใบ ใบย่อยของแต่ละเป็นใบประกอบจะมีจำนวน 15-25 คู่ เรียงอยู่ตรงข้ามกัน ไม่มีก้านใบ ใบย่อยเป็นรูปขอบขนาน ปลายใบมนหรือใบแหลม

เผยแพร่เมื่อ 23-02-2017 ผู้เช้าชม 4,148

สับปะรด

สับปะรด

สับปะรด มีต้นกำเนิดมาจากทวีปอเมริกาใต้ มีความทนทานต่อสภาพแวดล้อมต่างๆ ได้ดี และจัดว่าเป็นผลไม้เศรษฐกิจของบ้านเราด้วย แหล่งปลูกที่สำคัญ ๆ มักจะอยู่ใกล้ ๆ ทะเล เช่น ประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี ชลบุรี หรืออุตรดิตถ์ ลำปาง พิษณุโลก เป็นต้น สำหรับพันธุ์ที่นิยมปลูกในบ้านเราก็มีหลายสายพันธุ์ เช่น พันธุ์ปัตตาเวีย (สับปะรดศรีราชา ผลใหญ่ เนื้อฉ่ำ สีเหลืองอ่อน), พันธุ์อินทรชิต (หรือพันธุ์พื้นเมือง), พันธุ์ภูเก็ต (ผลเล็กเปลือกหนา เนื้อสีเหลือง หวานกรอบ), พันธุ์นางแล (พันธุ์น้ำผึ้ง เนื้อจะเข้มเหลือง รสออกหวานจัด) เป็นต้น

เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 7,926