เอื้องเข็มแสด

เอื้องเข็มแสด

เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้ชม 2,510

[16.4258401, 99.2157273, เอื้องเข็มแสด]

เอื้องเข็มแสด ชื่อวิทยาศาสตร์ Ascocentrum miniatum (Lindl.) Schltr. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Ascocentrum miniatum (Lindl.) Schltr. ex J.J. Sm., Gastrochilus miniatus (Lindl.) Kuntze, Saccolabium miniatum Lindl.) จัดอยู่ในวงศ์กล้วยไม้ (ORCHIDACEAE)

สมุนไพรเอื้องเข็มแสด มีชื่อท้องถิ่นอื่นๆ ว่า พุ่มสุวรรณ เอื้องไข่เหลือง เอื้องมันปู เอื้องฮางคาง (เชียงใหม่), เอื้องฮ่องคำ (ลำปาง), เอื้องเหลืองพระฝาง (กรุงเทพฯ), เข็มเหลือง, เข็มแสด, สุขสำราญ เป็นต้น

ลักษณะของเอื้องเข็มแสด

  • ต้นเอื้องเข็มแสด จัดเป็นกล้วยไม้อิงอาศัยที่อยู่ในสกุลเข็ม มีความสูงได้ประมาณ 10-20 เซนติเมตร ลำต้นเรียว รากเป็นแบบรากอากาศ มีเขตการกระจายพันธุ์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อินโดจีน มาเลเซีย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ ส่วนในประเทศไทยพบได้ทั่วทุกภาค ยกเว้นทางภาคตะวันออก โดยมักขึ้นตามป่าผลัดใบ ป่าดิบแล้ง และตามป่าเบญจพรรณ ทั้งในลักษณะภูมิประเทศที่ราบและที่เป็นภูเขา จึงสามารถปลูกเลี้ยงได้ดีในทุกภาคของประเทศ
  • ใบเอื้องเข็มแสด ใบออกเรียงสลับในระนาบเดียวกันและซ้อนกัน ลักษณะของใบเป็นรูปขอบขนาน ปลายใบตัดเป็นจักแหลม ด้านล่างเป็นสันเหลี่ยม ใบมีขนาดกว้างประมาณ 1-1.5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 10-12 เซนติเมตร แผ่นใบหนาแข็งเป็นสีเขียวแก่ ใบพับเป็นร่อง และอาจมีสีม่วงบ้างเล็กน้อยเมื่ออยู่ในสภาพอากาศแห้งแล้ง
  • ดอกเอื้องเข็มแสด ออกดอกเป็นช่อตั้งตามซอกใบ ยาวประมาณ 12-15 เซนติเมตร มีดอกประมาณ 20-50 ดอกต่อช่อ ช่อดอกมีลักษณะเป็นรูปทรงกระบอก กลีบดอกหนา กลีบเลี้ยงและกลีบดอกเป็นมันสีส้มหรือสีเหลืองอมส้ม กลีบปากเป็นสีแสด ฝาปิดกลุ่มเรณูเป็นสีน้ำตาลเข้มเกือบดำ เมื่อดอกบานเต็มที่จะมีขนาดกว้างประมาณ 1.5 เซนติเมตร โดยจะออกดอกในช่วงประมาณเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนเมษายน

สรรพคุณของเอื้องเข็มแสด

  • ในหนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย ระบุว่า รากของพรรณไม้ชนิดที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Ascocentrum miniatum (Lindl.) (ตามตำราเรียกต้น "เข็มเหลือง") มีสรรพคุณใช้ปรุงเป็นยารักษาฝีกาฬจับหัวใจ (ราก)

ประโยชน์ของเอื้องเข็มแสด

  • ใช้ปลูกเป็นไม้กล้วยไม้ประดับทั่วไปเพื่อความสวยงาม เป็นกล้วยไม้ชนิดที่ให้ดอกสีจัดจ้านและแทงดอกเก่ง ปลูกเลี้ยงง่าย ขอแค่อย่าลืมรดน้ำ และเนื่องจากเข็มแสดเป็นกล้วยไม้ที่ชอบแสงมาก การปลูกเลี้ยงจึงต้องให้ได้รับปริมาณแสงมาก ๆ ต่อวัน ไม่ควรปลูกร่มหรือใต้ชายคาเพราะจะไม่ยอมออกดอก สามารถปลูกได้แบบ ทั้งปลูกเป็นกล้วยไม้ออกขวด ปลูกติดขอนไม้ หรือปลูกลงในกระเช้าก็ได้

คำสำคัญ : เอื้องเข็มแสด

ที่มา : https://medthai.com/

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). เอื้องเข็มแสด. สืบค้น 16 เมษายน 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1783&code_db=610010&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1783&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

มะเขือยาว

มะเขือยาว

มะเขือยาวจัดเป็นพันธุ์ไม้ล้มลุก ที่อุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุที่จำเป็นสำหรับร่างกาย อย่างเช่น วิตามินเอ วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินบี 3 วิตามินบี 5 วิตามินบี 6 วิตามินบี 9 วิตามินซี วิตามินพี ธาตุแคลเซียม ธาตุเหล็ก ธาตุแมกนีเซียม ธาตุแมงกานีส ธาตุฟอสฟอรัส ซิงค์ สารไกลโคอัลคาลอยด์ และสารต้านอนุมูลอิสระอย่างเทอร์ปีน เป็นต้น และยังมีเกลือแร่ต่างๆ 

เผยแพร่เมื่อ 10-07-2020 ผู้เช้าชม 5,488

ชะมวง

ชะมวง

ชะมวงเป็นไม้ยืนต้น ขนาดเล็กถึงกลาง สูง 15-30 เมตร ไม่ผลัดใบ ทรงพุ่มเป็นรูปกรวยคว่ำทรงสูง เปลือกสีน้ำตาลปนเทา แตกเป็นสะเก็ด มีน้ำยางสีเหลือง ใบชะมวงเป็นใบเดี่ยวเรียงตรงข้ามสลับตั้งฉาก รูปวงรีแกมใบหอกหรือรูปขอบขนาน กว้าง 2-3.5 เซนติเมตร ยาว 7-15 เซนติเมตร ปลายใบป้านหรือแหลมเล็กน้อย ฐานใบสอบแหลม ขอบใบเรียบ เนื้อใบหนาและแข็งเปราะ ก้านใบสีแดงยาว 5-1 เซนติเมตร  

เผยแพร่เมื่อ 28-05-2020 ผู้เช้าชม 6,371

กระเจานา

กระเจานา

ต้นกระเจานาเป็นไม้ล้มลุก ต้นเตี้ยเรี่ยพื้นจนถึงสูง 1 เมตร ลำต้นสีแดง เกลี้ยงหรือมีขน ใบกระเจานาใบเดี่ยวเรียงสลับ รูปไข่ กว้าง 3-5 เซนติเมตร ยาว 4-10 เซนติเมตร ปลายแหลม โคนมน ขอบจักฟันเลื่อย จักสุดท้ายตรงโคนใบมีระยางค์ยื่นออกมายาวประมาณ 7 มิลลิเมตร ข้างละ 1 เส้น เส้นแขนงใบออกจากโคนใบ 1 คู่ ยาวเกือบถึงปลายใบ ด้านล่างมีขนและเห็นเส้นแขนงใบชัดเจน ก้านใบยาว 2-3 เซนติเมตร มีขนและเป็นร่องทางด้านบน หูใบรูปสามเหลี่ยมเรียวแหลมยาวประมาณ 3 เซนติเมตร

เผยแพร่เมื่อ 12-05-2020 ผู้เช้าชม 2,573

จิงจูฉ่าย

จิงจูฉ่าย

“จิงจูฉ่าย” หรือ “โกศจุฬาลัมพา” หรือที่ชาวต่างชาตินิยมเรียกว่า “เซเลอรี” (Celery) อยู่ในวงศ์ Asteraceae เป็นพืชล้มลุกไม้พุ่มขนาดเล็ก สูงประมาณ 0.5 – 1 ฟุต ใบเป็นรูปรีขอบเป็นแฉกๆ 5 แฉกสีเขียว เนื้อใบหนา คล้ายต้นขึ้นฉ่าย รากหรือเหง้าใหญ่จะกระจายเป็นวงกว้าง แตกกิ่งก้านหนาแน่นเป็นกอคล้ายๆ ใบบัวบก จะมีกลิ่นหอม รสชาติขมเล็กน้อย สามารถขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดได้ เจริญงอกงามได้ดีในที่แสงแดดรำไร ปลูกได้ดีในอากาศเย็นมากกว่าอากาศร้อน โดยทางการแพทย์เชื่อว่าจิงจูฉ่ายนั้นเป็นยาเย็น ชาวจีนจึงนิยมนำมาปรุงเป็นอาหารรับประทานในหน้าหนาวเพื่อปรับสมดุลภายในร่างกายนั่นเอง

เผยแพร่เมื่อ 08-05-2020 ผู้เช้าชม 5,559

ผักเสี้ยนผี

ผักเสี้ยนผี

ลักษณะทั่วไป  เป็นพืชล้มลุก มีระบบรากแก้ว ลักษณะลำต้นตั้งตรง สูงประมาณ 40 – 80 ซม.  ใบเป็นใบประกอบ  ออกจากลำต้นบริเวณข้อแบบสลับ  ประกอบด้วยใบย่อย    3 - 5 ใบ ออกจากจุดเดียวกันใบย่อยเป็นรูปไข่ใบตรงกลางค่อนข้างจะใหญ่กว่าใบทางด้านข้างทั้งสองข้าง  ดอกออกตามซอกใบและที่ปลายยอดมีกลีบดอก  4  กลีบ  สีเหลือง มีเกสร ตัวผู้ 8-30 อัน อับละอองเกสรเป็นเส้นยาวที่ปลายมีสีน้ำเงิน มีกลิ่นเหม็นเขียว  ผลเป็นชนิดแคปซูล มีลักษณะเป็นฝัก ยาว 4-10 ซม. มีเมล็ดอยู่ภายใน เมล็ดมีลักษณะกลม สีน้ำตาล

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 2,572

กำจาย

กำจาย

ต้นกำจาย จัดเป็นพรรณไม้พุ่มรอเลื้อย มีความสูงได้ประมาณ 2.5-10 เมตร ลำต้นและก้านใบมีหนามแหลมแข็งและโค้งคล้ายหนามกุหลาบ ตามกิ่งอ่อนมีขนสั้นขึ้นปกคลุม ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด ส่วนใหญ่จะไม่นิยมปลูกต้นกำจายไว้ตามบ้าน เนื่องจากต้นกำจายเป็นไม้ที่มีหนามแหลมและเป็นไม้เถาเลื้อย แต่จะมีปลูกไว้เพื่อใช้ประโยชน์ทางยาตามสวนยาแผนไทย 

เผยแพร่เมื่อ 18-05-2020 ผู้เช้าชม 3,794

กัดลิ้น

กัดลิ้น

ต้นกัดลิ้น หรือ ต้นลำไยป่า จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก มีความสูงประมาณ 5-12 เมตร ลักษณะของต้นเป็นทรงเรือนยอดแผ่กว้างถึงค่อนข้างกลม ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด ในประเทศไทยสามารถพบได้ทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงใต้ ส่วนต่างประเทศนั้นจะพบได้มากในประเทศพม่าและกัมพูชา มีใบเป็นใบประกอบแบบขนนก มีใบย่อยจำนวน 3 ใบ โดยใบย่อยใบกลางจะมีขนาดใหญ่สุด ใบย่อยคู่ข้างจะอยู่ตรงข้ามกัน ส่วนที่เชื่อมกับก้านใบย่อยจะป่องเป็นข้อ ลักษณะใบย่อยเป็นรูปรีแกมรูปขอบขนานถึงรูปขอบขนานแกมรูปใบหอก ปลายใบเรียวแหม ส่วนโคนใบสอบ ผิวใบด้านบนสีเขียว ส่วนท้องใบสีอ่อนกว่า

เผยแพร่เมื่อ 09-07-2020 ผู้เช้าชม 2,540

ปอผี

ปอผี

ต้นปอผี หรือ ผักกะเดียง จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุก ทอดเลื้อยไปตามพื้นดิน แตกแขนงมาก ชูยอดตั้งขึ้น สูงได้ประมาณ 10-100 เซนติเมตร ลำต้นมีลักษณะกลมและแข็ง มีรากออกตามข้อ ลำต้นเรียบหรือมีขนนุ่ม ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด มีเขตการกระจายพันธุ์ในอินเดียถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และในเขตร้อนของทวีปออสเตรเลีย ชอบขึ้นบริเวณที่ชื้นแฉะ บนดินชื้นและมีน้ำขัง ตามนาข้าว หนองน้ำ ริมหนองน้ำ หรือขึ้นแผ่คลุมผิวน้ำ

เผยแพร่เมื่อ 04-06-2020 ผู้เช้าชม 1,598

มะกา

มะกา

ต้นมะกา จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก มีความสูงของต้นประมาณ 5-10 เมตร แตกกิ่งก้านแผ่กว้าง เปลือกลำต้นเรียบเป็นสีน้ำตาล พอลำต้นแก่จะแตกเป็นสะเก็ดยาว ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด การตอนกิ่ง และวิธีการปักชำกิ่ง เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนระบายน้ำได้ดี ชอบความชื้นมาก และมีแสงแดดแบบเต็มวัน พบขึ้นตามป่าโปร่งทั่วทุกภาคของประเทศไทย ใบเป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปรี ปลายใบมน โคนใบมน ขอบใบเรียบหรือเป็นคลื่น ตลอดทั้งขอบใบอ่อนและยอดอ่อนเป็นสีแดง แผ่นใบด้านหลังเกลี้ยงเป็นสีเขียวเข้ม ส่วนท้องใบเป็นคราบสีขาว เนื้อใบบาง หลังใบและท้องใบเรียบ ก้านใบสั้น

เผยแพร่เมื่อ 09-07-2020 ผู้เช้าชม 9,185

ก้นปิด

ก้นปิด

ต้นก้นปิดเป็นไม้เถาเลื้อยไม่มีมือจับ มีหัวใต้ดิน ลำต้นแก่มักมีรอยแตกเป็นขีดตามยาว ใบก้นปิดเป็นใบเดี่ยว ใบรูปไข่ ปลายใบแหลมฐานใบกลมและบังก้านใบ ขนาดกว้าง 8-15 ซม. ยาว 8-17 ซม. ขอบใบเรียบ ใบนิ่มแต่ไม่ฉ่ำน้ำ เป็นคลื่นเล็กน้อย ก้านใบยาว 5-17 ซม. ดอกก้นปิดสีเหลืองส้ม ออกเป็นคลื่นเล็กน้อย ก้านใบยาว 5-17 ซม. ดอกสีเหลืองส้ม ออกเป็นช่อตามซอกใบหรือลำต้น ช่อดอกทรงก้านร่ม ยาว 5-12 ซม. ดอกย่อยขนาดเล็ก ดอกตัวผู้และดอกตัวเมียแยกกันคนละต้น

เผยแพร่เมื่อ 12-05-2020 ผู้เช้าชม 2,374