ตรีผลา

ตรีผลา

เผยแพร่เมื่อ 01-06-2020 ผู้ชม 2,383

[16.4258401, 99.2157273, ตรีผลา]

        ตรีผลา (Triphala) (อ่านออกเสียงว่า ตรี-ผะ-ลา) คืออะไร ? คำว่าตรี แปลว่า สาม ส่วนคำว่าผลานั้นหมายถึงผลไม้ จึงหมายถึงผลไม้ 3 อย่าง ซึ่งประกอบไปด้วยลูกสมอพิเภก (Terminalia belerica (Gaertn.) Roxb.), ลูกสมอไทย (Terminalia chebula Retz.), ลูกมะขามป้อม (Phyllanthus emblica Linn.) สรุปก็คือ ตรีผลาเป็นยาสมุนไพรที่เป็นส่วนผสมของสมอพิเภก สมอไทย และมะขามป้อม
        เมื่อผลไม้ทั้งสามตัวนี้มารวมกันก็จะมีสรรพคุณทางยาที่ช่วยควบคุมและกำจัดสารพิษในร่างกาย ซึ่งจะส่งเสริมสรรพคุณซึ่งกันและกันเป็นอย่างดี จนปัจจุบันได้มีการนำยาตำรับตรีผลามาใช้ในรูปของผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มกันอย่างกว้างขวาง ใช้ได้ทุกเพศทุกวัยตั้งแต่เด็กเล็กจนถึงคนชรา และยังเป็นที่นิยมอย่างมากในสหรัฐอเมริกาเพราะมีส่วนช่วยลดน้ำหนักและล้างพิษในร่างกาย และที่สำคัญคือมีความปลอดภัยสูง ไม่มีผลข้างเคียงใด ๆ
         โดยตัวยาทั้งสามจะช่วยควบคุมพิษข้างเคียงของกันและกัน เช่น รสเปรี้ยวของลูกสมอพิเภกมีฤทธิ์เป็นยาระบาย จึงต้องใช้ลูกสมอไทยและลูกมะขามป้อมซึ่งมีรสฝาดและขมไปช่วยแก้อาการจุกเสียดแน่นท้องและลดอาการท้องมวน เป็นต้น

สรรพคุณของตรีผลา
1. ช่วยสารต่อต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันความเสื่อมของเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกาย
2. ช่วยทำให้สุขภาพแข็งแรง ป้องกันไม่ให้ร่างกายอ่อนเพลีย
3. ใช้เป็นยาอายุวัฒนะ ทำให้มีอายุยืนยาว
4. ช่วยชะลอความแก่ชรา คงความอ่อนเยาว์
5. ช่วยเพิ่มคอลลาเจน ทำให้ผิวพรรณผ่องใสยิ่งขึ้น
6. มีส่วนช่วยทำให้แผลสิว จุดด่างดำหายและจางเร็วยิ่งขึ้น
7. ตรีผลามีประโยชน์ช่วยทำให้หลับสบาย หลับลึก และตื่นมาอย่างสดชื่น มีชีวิตชีวา ไม่ง่วงนอน
8. ช่วยปรับธาตุ ปรับสมดุลในร่างกาย กระตุ้นการไหลเวียนของโลหิต
9. มหาพิกัดตรีผลา (สมอพิเภก 3 ส่วนใช้แก้ธาตุไฟ / สมอไทย 2 ส่วนช่วยแก้ธาตุลม / มะขามป้อม 1 ส่วนช่วยแก้ธาตุดินและน้ำ) สูตรช่วยแก้กองปิตตะ แก้ธาตุไฟกำเริบในช่วงฤดูร้อนหรือธาตุร้อนในร่างกาย
10. มหาพิกัดตรีผลา สูตรแก้กองวาตะ สำหรับฤดูฝน (สมอพิเภก 1 ส่วน / สมอไทย 3 ส่วน / มะขามป้อม 2 ส่วน)
11. มหาพิกัดตรีผลา สูตรแก้ในกองเสมหะ สำหรับฤดูหนาว (สมอพิเภก 1 ส่วน / สมอไทย 3 ส่วน / มะขามป้อม 2 ส่วน)
12. ใช้ตรีผลาเพื่อป้องกันและแก้ไขโรคต่าง ๆ ในทุกฤดูกาล ให้ใช้ผลไม้ทั้ง 3 อย่างในอัตราส่วนเท่า ๆ กัน จะช่วยทำให้มีสุขภาพดีและแข็งแรง
13. ประโยชน์ตรีผลาช่วยบำรุงเส้นเสียง
14. ช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานโรคให้กับร่างกาย
15. ช่วยควบคุมความดันโลหิต ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ป้องกันการเกิดโรคเบาหวาน
16. ช่วยป้องกัน ยับยั้ง และต่อต้านเซลล์มะเร็ง ชะลอการเติบโตของเซลล์มะเร็งได้
17. ช่วยต่อต้านเนื้องอก ช่วยทำลายเซลล์มะเร็งเต้านม มะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งปอด มะเร็งตับ
18. ช่วยป้องกันหวัด
19. ช่วยป้องกันและบำบัดรักษาโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกัน โรคหวัด และวัณโรค
20. ตรีผลามีสรรพคุณช่วยขับสารพิษ ล้างพิษในร่างกาย ระบบน้ำเหลือง ล้างน้ำเหลืองเสีย ชำระเมือกในลำไส้
21. ตรีผลาช่วยควบคุมน้ำหนัก ลดน้ำหนัก และมวลไขมันออกจากร่างกาย
22. ช่วยในการขับถ่ายระบายท้องหากใช้ก่อนนอน
23. เป็นยาที่ช่วยควบคุมการขับถ่ายและหยุดถ่ายโดยอัตโนมัติ
24. ตรีผลารักษาริดสีดวง และช่วยบรรเทาอาการของโรคริดสีดวงทวาร
25. ช่วยปกป้องไต
26. ช่วยต่อต้านโรคไขข้ออักเสบอย่างประสิทธิภาพ
27. ช่วยบรรเทาอาการของโรคเกาต์ ด้วยการรับประทานตรีผลาร่วมกับมหาหิงคุ์เป็นประจำ
28. ปัจจุบันมีการนำมาแปรรูปผลิตเป็นเครื่องดื่ม น้ำตรีผลา ตรีผลาแคปซูล ซึ่งใช้กันอย่างแพร่หลาย
        ตรีผลาสามารถหาซื้อมาใช้ได้ง่ายในรูปของเครื่องดื่ม แต่ถ้าจะทำเองก็ได้โดยใช้สมอไทย สมอพิเภก มะขามป้อม อย่างละ 1 ส่วนเท่า ๆ กัน แล้วใส่น้ำพอประมาณ ใช้รับประทานก่อนอาหารครั้งละ 1 แก้ว เช้าและเย็น แต่ถ้าอยากจะได้แบบเข้มข้นก็ให้ใส่น้ำน้อย ๆ หรือถ้าอยากได้แบบเจือจางก็ใส่น้ำเยอะหน่อย หรืออีกสูตรให้ใช้สมอพิเภก 100 กรัม / สมอไทย 200 กรัม / มะขามป้อม 400 กรัม นำมาใส่ในหม้อต้มกับน้ำ 6 ลิตร แล้วต้มจนเดือดประมาณ 30 นาที หลังจากนั้นให้ใส่น้ำตาลทรายแดง 600 กรัมและเกลืออีก 1 ช้อนชา เคี่ยวจนเข้ากันแล้วจึงยกออกจากเตาไฟ กรองเอาแต่น้ำมาใส่ขวดแช่เย็นไว้ จะดื่มร้อน ๆ เป็นชาก็ได้ ดื่มได้ทุกเวลา เช้า กลางวัน เย็น โดนไม่มีผลข้างเคียงใด ๆ 
         สำหรับตัวยาทั้ง 3 นี้ มะขามป้อมกับสมอไทยนั้นหาซื้อได้ง่ายในรูปของสด แต่สมอพิเภกอาจจะหายากซักหน่อย หรือจะหันไปใช้ของแห้งทั้งหมดก็ได้เหมือนกัน แต่สิ่งที่ต้องระวังก็คือเรื่องความสะอาดที่อาจจะปนเปื้อนเชื้อราได้ง่าย โดยเฉพาะมะขามป้อม ดังนั้นควรเลือกซื้อให้ดี ๆ หน่อย ถ้าเจอราก็ให้ทิ้งไปเลยไม่ต้องเสียดาย เพราะบางทีความร้อนสูงก็ไม่อาจจะฆ่าเชื้อราเหล่านี้ได้ การรับประทานเข้าไปแทนที่จะช่วยบำรุงร่างกาย แต่อาจจะเป็นโทษต่อร่างกายซะเอง

ข้อควรระวัง : สำหรับสตรีในช่วงมีประจำเดือนควรงดการรับประทานตรีผลา เพราะอาจจะทำให้เลือดออกมามากกว่าปกติ และสำหรับผู้ที่เป็นโรคหัวใจไม่แนะนำให้รับประทาน

คำสำคัญ : ตรีผลา

ที่มา : https://medthai.com/

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). ตรีผลา. สืบค้น 18 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?code_db=610010&code_type=01&nu=pages&page_id=1621

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1621&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

ตะโกนา

ตะโกนา

ลักษณะทั่วไป ต้นเป็นไม้ยืนต้นสูง 8-15 ม. ลำต้นมีเปลือกสีดำ แตกเป็นสะเก็ดหนา ๆ ทรงพุ่มที่ยอดลักษณะกลมรี  ใบเดี่ยวเรียงสลับปลายใบโค้งมน และเป็นติ่งสั้นมีรอยหยักเว้าเข้าเล็กน้อย ฐานใบสอบเข้าหรือป้อมมนเนื้อในค่อนข้างหนา เหนียว ด้านบนจะเกลี้ยง ด้านล่างมีขนนุ่ม ปกคลุม เส้นกลางใบจะแห้งมีสีแดงเรื่อ ๆ  ดอกตัวผู้ออกเป็นช่อเล็กตามกิ่งช่อหนึ่งมีดอกย่อย 3 ดอก กลีบเลี้ยงมี 4 กลีบ แยกเป็นแฉกเล็ก ๆ เกสรตัวผู้มี 14-15 อัน มีรังไข่ไม่เจริญ 1 อัน มีสีน้ำตาลปกคลุมผิวหนาแน่น ดอกตัวเมียออกตรงซอกใบ มีกลีบเลี้ยงและกลีบดอกเหมือนกับดอกตัวผู้ มีเกสรตัวผู้เทียมหรือไม่เจริญ 8-10 อัน เกสรตัวเมียมี 1 อัน รูปร่างป้อม ๆ ติดอยู่เหนือฐานของดอกมี 8-10 ห้อง ออกดอกเดือน มีนาคม-เมษายน

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 4,626

เฟื่องฟ้า

เฟื่องฟ้า

เฟื่องฟ้า จัดเป็นไม้ยืนต้นประเภทพุ่มกึ่งเลื้อย มีอายุยืนหลายสิบปี สามารถเลื้อยไปได้ไกลถึง 10 เมตร ลักษณะของทรงพุ่มสามารถตัดแต่งและบังคับทิศทางการเจริญเติบโตได้ ลำต้นมีลักษณะกลมใหญ่ เนื้อแข็ง ผิวเป็นสีเทาหรือสีน้ำตาล ลำต้นเปราะและหักได้ง่าย มีหนามขึ้นตามลำต้นอยู่เหนือใบ หนามมีความยาวประมาณ 0.5-1 เซนติเมตร ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการตอนกิ่ง การปักชำกิ่ง เสียบยอด เจริญเติบโตได้ดีในดินปนทรายระบายน้ำดี ชอบความชื้นต่ำและแสงแดดแบบเต็มวัน

เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 17,704

ต้นตะเคียน

ต้นตะเคียน

ต้นตะเคียนทอง จัดเป็นไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบขนาดใหญ่ ลำต้นเปลาตรง มีความสูงของต้นประมาณ 20-40 เมตร วัดรอบได้ถึงหรือกว่า 300 เซนติเมตร ลักษณะของเรือนยอดเป็นทรงพุ่มทึบ กลม หรือเป็นรูปเจดีย์แบบต่ำๆ เปลือกต้นหนาเป็นสีน้ำตาลดำ แตกเป็นสะเก็ด กะพื้นเป็นสีน้ำตาลอ่อน ส่วนแก่นไม้ตะเคียนเป็นสีน้ำตาลแดง ลักษณะของไม้ตะเคียน เนื้อไม้เป็นสีเหลืองหม่นหรือสีน้ำตาลอมสีเหลือง มักมีเส้นสีขาวหรือเทาขาวผ่านเสมอ ซึ่งเป็นท่อน้ำมันหรือยาง เนื้อไม้มีความละเอียดปานกลาง 

เผยแพร่เมื่อ 01-06-2020 ผู้เช้าชม 12,507

พันงูขาว

พันงูขาว

ลักษณะทั่วไป   เป็นต้นวัชพืชล้มลุก ลำต้นตั้งตรง รากเป็นระบบรากแก้ว ทรงพุ่ม กิ่งอ่อนมีสีเขียวหรือสีแดง เป็นสี่เหลี่ยมมีขนสีขาว  ใบเป็นใบเดี่ยวรูปไข่ ฐานใบเรียว แหลมมากกว่าปลายใบ ขอบใบเรียบ แผ่นใบบาง ดอก   ออกเป็นช่อชนิดสไปด์ ปลายขอด ช่อดอกยาว 10-30 ซม. ดอกย่อย มีสีเขียวติดอยู่บนก้านดอก  ดอกย่อยไม่มีก้านดอก มีกลีบเลี้ยงแข็ง 2 กลีบ เมื่อแก่จะกลายเป็นหนามแหลมติดบนผลมีเกสรตัวผู้ 5 อัน ก้านชูเกสรตัวผู้มีสีม่วงแดง  มีเกสรตัวเมีย 1 อันเป็นเส้นกลม มักจะออกดอกในฤดูร้อน

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 5,800

โมกหลวง

โมกหลวง

ลักษณะทั่วไป  ต้นเป็นพันธุ์ไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ถึงขนาดกลาง ลำต้นสูงประมาณ 2 – 12 เมตร  ใบเป็นใบเดี่ยว ลักษณะของใบเป็นใบรี หรือรูปไข่ ปลายใบแหลม หรือมน ใบมี ขนาดกว้างประมาณ 2-5 นิ้วยาวประมาณ 4-10 นิ้วมีพื้นผิวใบบางใต้ท้องใบมีขนเส้นประมาณ 10-20 คู่เห็นได้ชัด  ดอกออกเป็นช่อออกบริเวณปลายยอด ช่อหนึ่งยาวประมาณ 2-4 เซนติเมตร ลักษณะของดอกมีกลีบรองกลีบดอก  โคนกลีบเชื่อมติดกันเป็นรูปท่อเล็ก ๆ ปลายกลีบแยกเป็น 5 กลีบ ในท่อหลอดทีทั้งเกสรตัวผู้และตัวเมีย  ผลมีลักษณะเป็นฝักลักษณะฝักออกเป็นคู่ฝักตรง ปลายฝักแหลม ส่วนโคนแบน ฝักยาวประมาณ 6-12 นิ้ว กว้างประมาณ 6 – 7 มิลลิเมตร พื้นผิวเปลือกเรียบเกลี้ยง ฝักแก่มีสีดำ แล้วแต่อ้าออกจากกันเป็น 2 ซีก ภายในมีเมล็ดเรียงกันอยู่เป็นแถวหลายเมล็ดเป็นรูปขอบขนานยาวประมาณ 15 มิลลิเมตร

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 3,246

ดองดึง

ดองดึง

ดองดึง (Superb Lily, Turk’s cap, Climbing Lily) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกหัว ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ภาคอีสานเรียก พันมหา, หัวขวาน, หัวฟาน หรือดาวดึง ซึ่งต้นดองดึงนั้นเป็นพืชที่อยู่ในแถบทวีปแอฟริกาเขตร้อนและเอเชียเขตร้อน รวมทั้งในประเทศไทยของเราด้วย โดยต้นดองดึงนั้นเป็นพืชสมุนไพรที่ชอบขึ้นอยู่ตามชายป่า ที่โล่ง หรือดินปนทราย ส่วนใหญ่มักจะนิยมนำต้นดองดึงมาปลูกไว้เป็นไม้ประดับเพื่อตกแต่ง และนำไปทำเป็นยาสมุนไพร รวมถึงใช้ในการรักษามะเร็งได้ด้วย

เผยแพร่เมื่อ 08-05-2020 ผู้เช้าชม 1,421

ขนุน

ขนุน

ขนุน (Jackfruit) เป็นผลไม้และพืชสมุนไพรจำพวกต้นขนาดใหญ่ ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ภาคเหนือเรียกมะหนุน เขมรเรียกขะเนอ ภาคอีสนเรียกหมักมี้ กะเหรี่ยงเรียกนะยวยซะ จันทร์บุรีเรียกขะนู ปัตตานีเรียกนากอ และชาวเงี้ยวเรียกล้าง เป็นต้น ซึ่งขนุนนี้มีรสชาติหวานอร่อยเป็นที่ถูกอกถูกใจของหลายๆ คนเลยทีเดียว แต่ผู้เป็นเบาหวานไม่ควรรับประทานนะคะ แถมเม็ดขนุนนั้นก็สามารถนำไปต้มรับประทานได้อีกด้วย

เผยแพร่เมื่อ 29-04-2020 ผู้เช้าชม 3,835

มะเขือดง

มะเขือดง

ต้นมะเขือดง จัดเป็นไม้พุ่มผลัดใบตามฤดูกาล ลำต้นมีความสูงได้ประมาณ 1-4 เมตร เปลือกต้นเป็นสีขาว ทุกส่วนของต้นมีขน มีเขตการกระจายพันธุ์จากทางตอนใต้ของทวีปอเมริกาถึงอินเดีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และทางตอนเหนือของทวีปออสเตรเลีย ส่วนในประเทศไทยพบขึ้นทั่วไปตามชายป่าละเมาะและที่เปิด และตามที่รกร้างทั่วไป ที่ระดับความสูงใกล้น้ำทะเลจนถึงระดับความสูง 1,000 เมตร

เผยแพร่เมื่อ 10-07-2020 ผู้เช้าชม 1,707

โด่ไม่รู้ล้ม

โด่ไม่รู้ล้ม

โด่ไม่รู้ล้ม (Prickly Leaved Elephant’s Foot) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกหญ้า ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ภาคเหนือเรียก หนาดผา, หญ้าสามสิบสองหาบ หรือหญ้าไก่นกคุ้ม ส่วนภาคใต้เรียก หญ้าปราบ ชัยภูมิเรียก คิงไฟนกคุ้ม สุราษฎร์ธานีเรียก หนาดมีแคลน ชาวกะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอนเรียก ตะชีโกวะ ชาวกะเหรี่ยงเรียก นกคุ้มหนาดผา หรือหญ้าไฟ ส่วนชาวจีนแต้จิ๋วเรียก โช่วตี่ต้า และชาวจีนกลางเรียก ขู่ตี่ต่าน เป็นต้น โดยลักษณะพิเศษตามชื่อของต้นโด่ไม่รู้ล้มนี้คือ เมื่อถูกเหยียบหรือถูกทับแล้วจะสามารถดีดตัวขึ้นมาใหม่ได้ตลอด เรียกว่าสมชื่อโด่ไม่รู้ล้มจริงๆ ซึ่งสามารถขยายพันธุ์ได้โดยการใช้เมล็ด ชอบขึ้นตามป่าโปร่ง, ป่าดิบ, ป่าเต็งรัง, ป่าสนเขา หรือดินทราย เรียกได้ว่าแทบทุกภาคในประเทศไทยเลยทีเดียว รวมทั้งประเทศในเขตร้อนด้วย

เผยแพร่เมื่อ 08-05-2020 ผู้เช้าชม 5,898

อัคคีทวาร

อัคคีทวาร

อัคคีทวาร จัดเป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก ลำต้นตั้งตรงและจะแยกเป็นช่อๆ มีความสูงของต้นประมาณ 1-4 เมตร ลำต้นกลมหรือเป็นเหลี่ยมเล็กน้อย เปลือกลำต้นเรียบเป็นสีน้ำตาลอ่อนหรือสีเทาเข้ม ตามกิ่งอ่อนและยอดอ่อนเป็นเหลี่ยม เปลือกมีรูสีขาวและมีขนปกคลุม ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด การปักชำ การตอนกิ่ง เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วน ชอบความชื้นและแสงแดดปานกลาง มีเขตการกระจายพันธุ์กว้างตั้งแต่ประเทศปากีสถาน อินเดีย พม่า จีน มาเลเซีย อินโดนีเซีย และไทย ในประเทศไทยพบขึ้นได้ตามป่าเต็งรังและป่าเบญจพรรณที่เปิดและค่อนข้างชื้น 

เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 3,632