ชำมะนาด

ชำมะนาด

เผยแพร่เมื่อ 28-05-2020 ผู้ชม 2,179

[16.4258401, 99.2157273, ชำมะนาด]

 

ชื่ออื่น : ชำมะนาดกลาง, ชมมะนาด, ดอกข้างใหม่, อ้มส้าย, ชำปะนาด, หางเม้นเครือ, หญ้าช้างย้อย, อุ่มฟูม
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Vallaris glabra Ktze.
ชื่อวงศ์ :  APOCYNACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
      ชำมะนาดเป็นไม้เถาเลื้อย ลำต้นแข็งสีเขียวคล้ำตกกระ มีน้ำยางขาว
      ใบชำมะนาดเป็นใบเดี่ยว ออกตรงข้าม รูปรีกว้างแกมรูปไข่กลับ กว้าง 4-8 ซม. ยาว 7-15 เซนติเมตร ก้านใบยาว 2-3 เซนติเมตร
      ดอกชำมะนาดสีขาว มีกลิ่นหอม ออกเป็นช่อที่ซอกใบ ใกล้ปลายกิ่ง ช่อดอกยาว 2-6 เซนติเมตร มี 10-15 ดอก กลีบดอกเชื่อมกันเป็นรูปถ้วย ปลายแยกเป็น 5 แฉก เกสรผู้ 5 อัน ติดกันกลางดอกเป็นรูปลูกศร
       ผลชำมะนาดเมื่อแก่แห้งแตกตามรอยตะเข็บเพียงด้านเดียว

ส่วนที่ใช้เป็นยา : ยาง, ดอก
สรรพคุณชำมะนาด :
       ยางรสร้อนเมา ใส่แผลสด ช่วยสมานแผลและห้ามเลือด
       ดอกรสเมาเบื่อร้อน ช่วยถ่ายน้ำเหลือง ทำให้อาเจียน มีฤทธิ์ถ่ายแรงมาก เป็นยาอันตราย

คำสำคัญ : ชำมะนาด

ที่มา : https://www.samunpri.com

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). ชำมะนาด. สืบค้น 17 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?code_db=610010&code_type=01&nu=pages&page_id=1615

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1615&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

ยี่หร่า

ยี่หร่า

ยี่หร่าเป็นไม้พุ่มเตี้ย มีความสูงประมาณ 50-80 เซนติเมตร ลำต้นมีสีน้ำตาลแก่ แตกกิ่งก้านสาขาขนาดเล็ก กิ่งก้านไม่ใหญ่ ในช่วงปีแรกและปีที่สองจึงออกดอกออกผล ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดและการปักชำกิ่ง เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนซุยและมีความชื้นปานกลางในสภาพกลางแจ้ง ใบยี่หร่าเป็นใบเดี่ยวออกตรงข้ามกันเป็นคู่ ๆ ลักษณะของเป็นรูปกลมรี โคนใบสอบ ปลายใบแหลม ขอบใบหยักเป็นฟันเลื่อย ใบสีเขียวสด ผิวใบสากมือ ใบยี่หร่ามีกลิ่นหอมเฉพาะตัว มีรสร้อน จึงช่วยดับกลิ่นคาวจากอาหารจำพวกเนื้อสัตว์เนื้อปลาได้เป็นอย่างดี

เผยแพร่เมื่อ 27-05-2020 ผู้เช้าชม 36,350

เถาวัลย์เปรียง

เถาวัลย์เปรียง

เถาวัลย์เปรียง จัดเป็นไม้เถาเลื้อยขนาดใหญ่ สามารถเลื้อยไปได้ไกลถึง 20 เมตร มีกิ่งเหนียวและทนทาน กิ่งแตกเถายืดยาวอย่างรวดเร็ว เถามักเลื้อยพาดพันตามต้นไม้ใหญ่ เถาแก่มีเนื้อไม้แข็ง เปลือกเถาเรียบและเหนียว เป็นสีน้ำตาลเข้มอมสีดำหรือแดง เถาใหญ่มักจะบิด เนื้อไม้เป็นสีออกน้ำตาลอ่อน ๆ มีวงเป็นสีน้ำตาลไหม้คล้ายกับเถาต้นแดง ตามกิ่งอ่อนและยอดอ่อนมีขนสีน้ำตาลปกคลุม ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดหรือวิธีการแยกไหลใต้ดิน ชอบอากาศเย็นแต่แสงแดดจัด ทนความแห้งแล้งได้ดี

เผยแพร่เมื่อ 02-06-2020 ผู้เช้าชม 5,818

ข้าวเย็นใต้

ข้าวเย็นใต้

ต้นข้าวเย็นใต้ จัดเป็นพรรณไม้เลื้อย เถาและลำต้นเป็นสีน้ำตาลเข้ม มีเหง้าหรือหัวอยู่ใต้ดิน เหง้ามีลักษณะกลมหรือแบนหรือเป็นก้อน มีรูปร่างที่ไม่แน่นอน ผิวไม่เรียบ พบก้อนแข็งนูนขึ้น เสมือนแยกเป็นแขนงสั้น ๆ เหง้ามีความกว้างประมาณ 2-5 เซนติเมตรและยาวประมาณ 5-22 เซนติเมตร ผิวเป็นสีน้ำตาลเหลืองหรือเป็นสีเทาน้ำตาล ตามผิวพบส่วนที่เป็นหลุมลึกและนูนขึ้น มีร่องที่เคยเป็นจุดงอกของรากฝอย อาจพบปมของรากฝอยที่พร้อมจะงอกในลักษณะกลมยื่นนูนมาจากบริเวณผิวเหง้า 

เผยแพร่เมื่อ 25-05-2020 ผู้เช้าชม 7,680

โด่ไม่รู้ล้ม

โด่ไม่รู้ล้ม

โด่ไม่รู้ล้ม (Prickly Leaved Elephant’s Foot) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกหญ้า ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ภาคเหนือเรียก หนาดผา, หญ้าสามสิบสองหาบ หรือหญ้าไก่นกคุ้ม ส่วนภาคใต้เรียก หญ้าปราบ ชัยภูมิเรียก คิงไฟนกคุ้ม สุราษฎร์ธานีเรียก หนาดมีแคลน ชาวกะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอนเรียก ตะชีโกวะ ชาวกะเหรี่ยงเรียก นกคุ้มหนาดผา หรือหญ้าไฟ ส่วนชาวจีนแต้จิ๋วเรียก โช่วตี่ต้า และชาวจีนกลางเรียก ขู่ตี่ต่าน เป็นต้น โดยลักษณะพิเศษตามชื่อของต้นโด่ไม่รู้ล้มนี้คือ เมื่อถูกเหยียบหรือถูกทับแล้วจะสามารถดีดตัวขึ้นมาใหม่ได้ตลอด เรียกว่าสมชื่อโด่ไม่รู้ล้มจริงๆ ซึ่งสามารถขยายพันธุ์ได้โดยการใช้เมล็ด ชอบขึ้นตามป่าโปร่ง, ป่าดิบ, ป่าเต็งรัง, ป่าสนเขา หรือดินทราย เรียกได้ว่าแทบทุกภาคในประเทศไทยเลยทีเดียว รวมทั้งประเทศในเขตร้อนด้วย

เผยแพร่เมื่อ 08-05-2020 ผู้เช้าชม 5,893

พริกขี้หนู

พริกขี้หนู

พริกขี้หนูเป็นพรรณไม้พุ่มขนาดเล็ก ลำต้นมีความสูงประมาณ 45-75 ซม. ใบพริกขี้หนูเป็นใบเดี่ยว ออกตรงกันข้ามกัน ลักษณะใบจะกลมรี ตรงปลายจะแหลม ดอกพริกขี้หนูจะออกตรงง่ามใบเป็นกลุ่มประมาณ 1-3 ดอก เป็นสีขาว มีกลีบดอกประมาณ 5 กลีบ ส่วนเกสรตัวผู้จะมีอยู่ 5 อัน จะขึ้นสลับกบกลีบดอก เกสรตัวเมียมี 1 อันและมีรังไข่ประมาณ 2-3 ห้อง ผลพริกขี้หนูผลสุกจะเป็นสีแดง หรือแดงปนน้ำตาล ลักษณะผลมีผิวลื่นเป็นมัน ภายในผลนั้นจะกลวง และมีแกนกลาง รอบ ๆ แกนจะมีเมล็ดเป็นสีเหลืองเกาะอยู่มากมาย และเมล็ดจะมีรสเผ็ด

เผยแพร่เมื่อ 27-05-2020 ผู้เช้าชม 12,482

มะกล่ำตาหนู

มะกล่ำตาหนู

ต้นมะกล่ำตาหนู มีเขตการกระจายพันธุ์ตั้งแต่อินเดียไปจนถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยจัดเป็นไม้เถาเลื้อยมีอายุได้หลายปี มีความสูงของต้นได้ถึง 5 เมตร โดยจัดเป็นไม้เถาเนื้ออ่อนสีเขียวขนาดเล็ก เถามีลักษณะกลมเล็กเรียวและมีขนสีขาวขึ้นปกคลุม ที่โคนเถาช่วงล่างจะแข็งและมีขนาดใหญ่ ขยายพันธุ์โดยการใช้เมล็ด เจริญเติบโตได้ดีในดินทุกประเภท เป็นพรรณไม้ที่ชอบขึ้นตามบริเวณที่มีความชื้น มักพบขึ้นทั่วไปตามป่าเปิดหรือในที่โล่ง ที่รกร้าง ป่าตามทุ่งนา หรือตามป่าเต็งรัง

เผยแพร่เมื่อ 09-07-2020 ผู้เช้าชม 9,083

ตะแบก

ตะแบก

ตะแบกนา (ตะแบกไข่, เปื๋อยนา, เปื๋อยหางค่าง) เป็นต้นไม้ผลัดใบ สูง 15 - 30 เมตร ใบเดี่ยว ออกตรงข้ามหรือเยื้องกันเล็กน้อยใบอ่อนสีแดงมีขนสั้นอ่อนนุ่มปกคลุม ใบแก่ขนจะหลุดหายไป แผ่นใบรูปขอบขนานแกมรูปหอก กว้าง 5 - 7 เซนติเมตร ยาว 12 - 20 เซนติเมตร ปลายใบเป็นติ่งแหลม โคนสอบ ดอกสีม่วงอมชมพูต่อมาเปลี่ยนเป็นสีขาวหรือเกือบขาว ออกรวมกันเป็นช่อตามปลายกิ่ง ผล รูปรี ยาวประมาณ 2 เซนติเมตร ออกดอก กรกฎาคม - กันยายน ไม่แน่นอนแล้วแต่สภาพพื้นที่และสิ่งแวดล้อม เก็บเมล็ดได้ประมาณเดือน ธันวาคมขึ้นไป ผลแก่ จะแตกเพื่อโปรยเมล็ดในราวเดือน มีนาคม การขยายพันธุ์โดยเมล็ด

เผยแพร่เมื่อ 16-02-2017 ผู้เช้าชม 1,986

กระเจานา

กระเจานา

ต้นกระเจานาเป็นไม้ล้มลุก ต้นเตี้ยเรี่ยพื้นจนถึงสูง 1 เมตร ลำต้นสีแดง เกลี้ยงหรือมีขน ใบกระเจานาใบเดี่ยวเรียงสลับ รูปไข่ กว้าง 3-5 เซนติเมตร ยาว 4-10 เซนติเมตร ปลายแหลม โคนมน ขอบจักฟันเลื่อย จักสุดท้ายตรงโคนใบมีระยางค์ยื่นออกมายาวประมาณ 7 มิลลิเมตร ข้างละ 1 เส้น เส้นแขนงใบออกจากโคนใบ 1 คู่ ยาวเกือบถึงปลายใบ ด้านล่างมีขนและเห็นเส้นแขนงใบชัดเจน ก้านใบยาว 2-3 เซนติเมตร มีขนและเป็นร่องทางด้านบน หูใบรูปสามเหลี่ยมเรียวแหลมยาวประมาณ 3 เซนติเมตร

เผยแพร่เมื่อ 12-05-2020 ผู้เช้าชม 2,717

มะกอกเกลื้อน

มะกอกเกลื้อน

ต้นมะกอกเกลื้อน จัดเป็นไม้ยืนต้นผลัดใบขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ลำต้นมีลักษณะตั้งตรง ตามกิ่งมีแผลใบเห็นชัดเจน กิ่งอ่อนมีขนสีน้ำตาลอมส้มขึ้นหนาแน่น เปลือกต้นเป็นสีน้ำตาลหรือสีน้ำตาลอมเทาถึงเทาแก่ เปลือกต้นแตกเป็นสะเก็ดหรือแตกเป็นร่องตามยาว ส่วนเปลือกชั้นในเป็นสีน้ำตาลอ่อนมีขีดเส้นขาวๆ เมื่อสับจะมีน้ำยางสีขาวขุ่นหรือน้ำยางใส น้ำยางเมื่อแห้งจะเป็นสีน้ำตาลดำหรือสีดำ มีกลิ่นคล้ายน้ำมันสน ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดและวิธีการตอนกิ่ง เป็นพรรณไม้กลางแจ้งที่ทนต่อแสงแดดได้ดี ชอบขึ้นในที่แล้ง ในประเทศไทยพบได้ทุกภาค 

เผยแพร่เมื่อ 09-07-2020 ผู้เช้าชม 5,912

พันงูน้อย

พันงูน้อย

พันงูน้อย จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุกขนาดเล็ก มีความสูงของต้นประมาณ 30-100 เซนติเมตร มีรากอยู่ใต้ดินยาวเล็ก มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 0.6-1 เซนติเมตร ลักษณะของลำต้นจะคล้ายกับหญ้าพันงูขาว แต่ก้านค่อนข้างเป็นสี่เหลี่ยมและมีสีน้ำตาลเหลือง ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงเป็นคู่ ลักษณะของใบเป็นรูปไข่กว้าง ปลายใบและโคนใบแหลม ส่วนขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 1-5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 2-10 เซนติเมตร แผ่นใบเป็นสีเขียว ผิวใบเรียบ ใบมีขนปกคลุมเล็กน้อย ก้านใบยาวประมาณ 5-20 มิลลิเมตร 

เผยแพร่เมื่อ 16-07-2020 ผู้เช้าชม 1,745