ติ่งตั่ง

ติ่งตั่ง

เผยแพร่เมื่อ 26-05-2020 ผู้ชม 2,917

[16.4258401, 99.2157273, ติ่งตั่ง]

ติ่งตั่ง ชื่อวิทยาศาสตร์ Getonia floribunda Roxb. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Calycopteris floribunda (Roxb.) Lam. ex Poir.) จัดอยู่ในวงศ์สมอ (COMBRETACEAE)
สมุนไพรติ่งตั่ง มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ดอกโรค (เลย), งวงชุม (ขอนแก่น), มันเครือ (นครราชสีมา), ดวงสุ่ม (อุบลราชธานี), เถาวัลย์นวล (ราชบุรี), มันแดง (กาญจนบุรี), ประโยค ดอกประโยค (ตราด), งวงสุ่มขาว เมี่ยงชะนวนไฟ สังขยาขาว (พิษณุโลก, สงขลา), ตะกรูด (นครศรีธรรมราช), กรูด (สุราษฎร์ธานี), ติ่งตั่งตัวผู้ (ภาคเหนือ), งวงสุ่ม ฮวงสุ่ม (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ), ข้าวตอกแตก (ภาคกลาง), หน่วยสุด (ภาคใต้), เครือตีนตั่ง (คนเมือง), เครืองวงสุ่ม, เถาวัลย์ชนวน, ตะกรุด, สะแกวัลย์, หมันเครือ เป็นต้น

ลักษณะของติ่งตั่ง
         ต้นติ่งตั่ง จัดเป็นไม้พุ่มเลื้อยขนาดใหญ่หรือไม้เถาเลื้อยเนื้อแข็งขนาดใหญ่ สูงได้ประมาณ 1-5 เมตร เปลือกเป็นสีน้ำตาลมีขนปกคลุม ตามกิ่งอ่อนเป็นสันสี่เหลี่ยม มีขนสีน้ำตาลแกมแดงขึ้นปกคลุม ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด ตอนกิ่ง และปักชำกิ่ง เจริญเติบโตได้ในดินทุกประเภท ชอบแสงแดดจัด น้ำปานกลาง มีถิ่นกำเนิดในอินเดีย จีนตอนใต้ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ส่วนในประเทศไทยพบได้ทุกภาคตามป่าเบญจพรรณและตามป่าดิบแล้งทั่วไป
        ใบติ่งตั่ง ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้ามหรือกึ่งตรงข้าม ลักษณะของใบเป็นรูปรีหรือรูปไข่ ปลายใบสอบแหลม โคนใบมน ส่วนขอบใบเรียบมีลักษณะเป็นคลื่น ใบมีขนาดกว้างประมาณ 2-7 เซนติเมตร และยาวประมาณ 6-17 เซนติเมตร หลังใบด้านบนมีขนนุ่มหนาแน่นเมื่อยังอ่อนอยู่ ส่วนท้องใบมีขนสีน้ำตาลอ่อนหรือสีน้ำตาลแกมเหลืองขึ้นหนาแน่น
        ดอกติ่งตั่ง ออกดอกเป็นช่อขนาดใหญ่แบบแยกแขนง โดยจะออกที่ปลายกิ่ง ดอกย่อยมีจำนวนมาก ดอกย่อยเป็นสีเขียวแกมเหลือง มีกลีบรองดอก 5 กลีบ โคนกลีบเชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายเป็นรูปถ้วย มี 5 แฉก ข้างในมีขน ส่วนกลีบดอกไม่มี ดอกมีเกสรเพศผู้ 10 อัน เรียงกันเป็น 2 วง วงละ 5 อัน ออกดอกในช่วงประมาณเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนมีนาคม
        ผลติ่งตั่ง ลักษณะของผลเป็นรูปทรงรีหรือรูปกระสวย มีสันยาว 5 สัน ที่ปลายมีกลีบรองดอกที่เจริญเป็นปีก 5 ปีก ภายในผลมีเมล็ด 1 เมล็ด

สรรพคุณของติ่งตั่ง
1. ใบมีรสเฝื่อน มีสรรพคุณเป็นยาเจริญอาหาร (ใบ)
2. ใบใช้เป็นยารักษาไข้ป่า ไข้มาลาเรีย (ใบ)
3. รากใช้เป็นยาแก้พิษไข้เด็ก (ราก)
4. เปลือกต้นมีสรรพคุณเป็นยาบำรุงหัวใจ (เปลือกต้น)
5. เนื้อไม้เป็นยาแก้เบื่อเมา แก้พิษสุราเรื้อรัง (เนื้อไม้)
6. ใช้เป็นยาแก้อาการจุกเสียดแน่น (ใบ)
7. ใช้เป็นยาแก้ปวดท้อง แก้บิด (ใบ)
8. ใช้เป็นยาระบายท้อง (ใบ)
9. ใบใช้เป็นยาขับพยาธิ (ใบ)
10. ช้เป็นยาแก้นิ่วในทางเดินปัสสาวะ (เปลือกต้น)
11. ช่วยแก้ปัสสาวะดำหรือปัสสาวะเป็นเลือด (เนื้อไม้)
12. ตำรายาพื้นบ้านอีสานจะใช้รากติ่งตั่งนำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้กามโรค (ราก)
13. ตำรายาพื้นบ้านของจังหวัดนครราชสีมาจะใช้ใบติ่งตั่งเป็นยารักษาแผลเรื้อรัง ด้วยการนำใบมาตำให้ละเอียดผสมกับเนยทาแผล (ใบ)
14. ใบใช้เป็นยาแก้แมลงพิษกัดต่อย (ใบ) ส่วนรากใช้เป็นยาแก้พิษงู (ราก)
15. ตำรับยาพื้นบ้านล้านนาจะใช้ลำต้นและรากติ่งตั่ง ผสมกับลำต้นเปล้าลมต้น ลำต้นเปล้าลมเครือ ลำต้นบอระเพ็ด ลำต้นรางแดง ลำต้นแหนเครือ และลำต้นหนาด นำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยา
      แก้อาการปวดเมื่อย (ลำต้นและราก)

ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของติ่งตั่ง
       ดอกติ่งตั่งมีสารในกลุ่มฟลาโวนอยด์ซึ่งมีฤทธิ์ต้านเนื้องอก

ประโยชน์ของติ่งตั่ง
       ลำต้นสามารถนำมาใช้ทำเป็นเครื่องจักสานได้
       เครือติ่งตั่งมีเนื้อไม้เหนียว สามารถนำมาใช้ทำขอบกระบวยวิดน้ำสำหรับตักน้ำรดน้ำผักหรือขอบเครื่องจักสาน ทำด้ามมีด เครื่องใช้สอย

คำสำคัญ : ติ่งตั่ง

ที่มา : ้https://medthai.com/

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). ติ่งตั่ง. สืบค้น 17 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?code_db=610010&code_type=01&nu=pages&page_id=1601

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1601&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

มะฝ่อ

มะฝ่อ

มะฝ่อ จัดเป็นไม้ยืนต้นผลัดใบช่วงสั้น มีความสูงได้ประมาณ 20-30 เมตร กิ่งก้านใหญ่และแผ่กว้าง โคนต้นมีพูพอนเล็กๆ เปลือกต้นเป็นสีน้ำตาลอมเทา กิ่งก้านภาคตัดขวางเป็นรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ตามกิ่งอ่อน ท้องใบ และช่อมีขนรูปดาว ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด มีเขตการกระจายพันธุ์ในอินเดียถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พบขึ้นในป่าเบญจพรรณ ป่าดิบ ป่าชุ่มชื้นหรือริมห้วย ที่ระดับความสูงประมาณ 50-600 เมตร

เผยแพร่เมื่อ 13-07-2020 ผู้เช้าชม 3,518

กวาวเครือแดง

กวาวเครือแดง

กวาวเครือแดงเป็นไม้ที่ชอบขึ้นตามภูเขาสูง และในช่วงเดือนมกราคมถึงกุมภาพันธ์ แต่ในปัจจุบันหาได้ยาก เพราะมีไม่มากเท่ากวาวเครือขาว กวาวเครือแดงเป็นสมุนไพรในตำรายาไทยมีสรรพคุณมากมาย ได้แก่ หัวช่วยบำรุงเนื้อหนังให้เต่งตึง บำรุงสุขภาพ แก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย ทำให้หน้าอกโต บำรุงความกำหนัด ราก แก้ลมอัมพาต แก้โลหิต จัดเป็นสมุนไพรสำหรับเพศชายอย่างแท้จริง เพราะมีสรรพคุณในการบำรุงร่างกาย เป็นยาอายุวัฒนะ และที่สำคัญที่สุดยังช่วยเพิ่มสมรรถภาพทางเพศ

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 2,927

น้ำเต้า

น้ำเต้า

น้ำเต้า มีถิ่นกำเนิดทางทวีปแอฟริกาตอนใต้ โดยจัดเป็นไม้เถาล้มลุกอายุปีเดียวหรืออาจข้ามปี เลื้อยตามพื้นดินหรือไต่พันกับต้นไม้อื่น ลำต้นแข็งแรง ลำต้นมีมือสำหรับใช้ยึดเกาะต้นไม้อื่น ๆ ตามเถามีขนยาวสีขาว ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด ชอบดินร่วนระบายน้ำได้ดี สามารถพบได้ทั่วทุกภาคของประเทศไทย น้ำเต้านั้นมีอยู่หลายสายพันธุ์ เช่น น้ำเต้าที่ลักษณะเป็นน้ำเต้าทรงเซียน ชนิดนี้นิยมนำมาทำเป็นเครื่องประดับ เราจะเรียกว่า "น้ำเต้า

เผยแพร่เมื่อ 02-06-2020 ผู้เช้าชม 6,124

กระเช้าฝีมด

กระเช้าฝีมด

ต้นกระเช้าฝีมดเป็นไม้พุ่ม อิงอาศัยบนคาคบของต้นไม้อื่น ลำต้นสูง 30-60 ซม. โคนต้นขยายใหญ่เป็นรูปกลมป้อมสีน้ำตาลเทา อวบน้ำ ขนาด ผ่านศูนย์กลาง 15-40 ซม. ภายในเป็นโพรงจำนวนมาก มักเป็นที่ อาศัยของมด ใบกระเช้าฝีมดใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปรีแกมรูปขอบขนาน กว้าง 2-5 ซม. ยาว 4-10 ซม. แผ่นใบหนาอวบน้ำ ผิวใบเกลี้ยง ปลายใบมน ดอกกระเช้าฝีมดสีขาว ออกเป็นกระจุก 2-5 ดอก ตามซอกใบ ดอกย่อย ขนาดเล็ก 2-4 เมตร โคนกลีบดอกเชื่อมติดกัน ปลายกลีบแยกเป็น 4 แฉก

เผยแพร่เมื่อ 13-05-2020 ผู้เช้าชม 1,594

ฝอยทอง

ฝอยทอง

ฝอยทอง จัดเป็นพรรณไม้จำพวกกาฝากขึ้นเกาะ ดูดน้ำกินจากต้นไม้อื่น มีอายุประมาณ 1 ปี ลำต้นมีลักษณะเป็นเส้นกลม อ่อน แตกกิ่งก้านสาขามากเป็นเส้นยาว มีสีเหลืองทอง ยาวประมาณ 100 เซนติเมตร และมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน 1 เซนติเมตร ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด จัดเป็นพรรณไม้ที่ต้องการความชื้นในปริมาณมาก มักพบขึ้นตามบริเวณพุ่มไม้ที่ชุ่มชื้นทั่วไป ตามสวน เรือนเพาะชำ ริมถนน พื้นที่รกร้างทั่วไป

เผยแพร่เมื่อ 13-07-2020 ผู้เช้าชม 8,223

บุนนาค

บุนนาค

บุนนาค มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย ศรีลังกา อินโดจีน พม่า ไทย คาบสมุทรมาเลเซีย และสิงค์โปร์ โดยจัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ มีความสูงประมาณ 15-25 เมตร และอาจสูงได้ถึง 30 เมตร ลักษณะเป็นทรงยอดพุ่มทึบและแคบ มีทรงพุ่มใหญ่ลักษณะคล้ายเจดีย์ต่ำ ๆ มีพูพอนเล็กน้อยตามโคนต้น เป็นไม้ไม่ผลัดใบ เนื้อไม้แข็ง กิ่งก้านเรียวเล็กห้อยลง เปลือกต้นมีสีน้ำตาลเข้ม มีรอยแตกตื้น ๆ หลุดร่วงได้ง่าย ที่เปลือกชั้นในจะมีน้ำยางสีเหลืองอ่อนเล็กน้อย ส่วนในเนื้อไม้จะมีสีแดงคล้ำเป็นมันเลื่อม พบได้มากในป่าดิบชื้น ตามลำธารหรือริมห้วย พบได้มากในประเทศอินเดียและศรีลังกา

เผยแพร่เมื่อ 02-06-2020 ผู้เช้าชม 10,674

ชิงชัน

ชิงชัน

ชิงชันเป็นไม้ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ผลัดใบ สูงถึง 25 เมตร เปลือกหนา สีน้ำตาลเทา กระเทาะล่อน เป็นแผ่นขนาดเล็ก เปลือกในสีเหลือง ยอดและใบอ่อนออกสีแดง เกลี้ยงหรือมีขนเพียงเบาบาง ใบชิงชันเป็นช่อ มีใบประกอบย่อย 11-17 ใบ มีลักษณะยาวรี รูปขอบขนานแกมรูปหอก ฐานใบมนกลม ปลายใบมนทู่และหยักเว้าเล็กน้อย ทางด้านท้องใบจะมีสีจางกว่าด้านหลังใบ ดอกชิงชันสีขาวอมม่วง ออกเป็นช่อดอกเชิง ประกอบตามปลายกิ่ง ดอกจะเกิดพร้อมกับการผลิตใบใหม่ เกสรผู้แยกเป็น 2 กลุ่มๆ ละ 5 อัน

เผยแพร่เมื่อ 28-05-2020 ผู้เช้าชม 3,140

ถั่วพู

ถั่วพู

ถั่วพู (Winged Bean, Manila Pea, Goa Bean, Four-angled Bean) เป็นพืชจำพวกเถาที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ถั่วพูตะขาบ, ถั่วพูจีน, หรือถั่วพูใหญ่ เป็นต้น ซึ่งถั่วพูนั้นนับเป็นพืชสมุนไพรที่คนไทยนิยมนำฝักอ่อนมาบริโภคกันมากเลยทีเดียว เป็นพืชในเขตร้อน มีแหล่งกำเนิดอยู่ในไทย, พม่า, ลาว, ฟิลิปปินส์, อินเดีย, และปาปัวนิวกินี และขณะนี้ในรัฐฟลอริดาของสหรัฐอเมริกาก็ได้นำถั่วพูนี้ไปปลูกด้วย

เผยแพร่เมื่อ 08-05-2020 ผู้เช้าชม 1,857

จำปี

จำปี

จำปี (White Champaka) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกยืนต้นขนาดกลาง ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ภาคเหนือเรียก จุ๋มปี๋ หรือจุมปี เป็นต้น อยู่ในวงศ์เดียวกับจำปี ซึ่งมีถิ่นกำเนิดอยู่ในภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยบ้างก็ว่ามีถิ่นกำเนิดในประเทศจีนตอนใต้ หรือประเทศมาเลเซีย และประเทศอินโดนีเซีย โดยสามารถแบ่งสปีชีส์ออกได้ประมาณ 50 ชนิดเลยทีเดียว พร้อมสรรพคุณในต้นจำปีอีกมากมายที่ให้คุณประโยชน์และรักษาโรค อาการต่างๆ รวมถึงการนำมาใช้เพื่อทำสิ่งของต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ได้อีกมากมายเลยทีเดียว

เผยแพร่เมื่อ 30-04-2020 ผู้เช้าชม 6,645

มะจ้ำก้อง

มะจ้ำก้อง

ต้นมะจ้ำก้อง จัดเป็นไม้พุ่มขนาดใหญ่หรือไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ที่มีความสูงได้ประมาณ 1-4 เมตร มีเขตการกระจายพันธุ์ในอินเดีย อินโดนีเซีย มาเลเซีย และไทย พบขึ้นทั่วไปในป่าชั้นกลางในป่าดิบแล้ง ป่าดิบชื้น โดยเฉพาะบริเวณริมลำธารหรือตามทุ่งหญ้าที่ชื้น ที่ความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 30-1,050

เผยแพร่เมื่อ 10-07-2020 ผู้เช้าชม 2,038