บุนนาค

บุนนาค

เผยแพร่เมื่อ 02-06-2020 ผู้ชม 9,783

[16.4258401, 99.2157273, บุนนาค]

บุนนาค ชื่อสามัญ Iron wood, Indian rose chestnut
บุนนาค ชื่อวิทยาศาสตร์ Mesua ferrea L. ปัจจุบันจัดอยู่ในวงศ์ CALOPHYLLACEAE
สมุนไพรบุนนาค มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ อีก เช่น สารภีดอย (เชียงใหม่), ก๊าก่อ ก้ำก่อ (แม่ฮ่องสอน), ปะนาคอ ประนาคอ (ปัตตานี), นาคบุตร นากบุต รากบุค (ภาคใต้), ต้นนาค เป็นต้น
ต้นบุนนาค กับความเชื่อ คนไทยโบราณเชื่อว่าบ้านใดปลูกต้นไม้ชนิดนี้ไว้เป็นไม้ประจำบ้าน จะช่วยทำให้เป็นผู้มีความประเสริฐและมีบุญ (พ้องกับความหมายของชื่อ) และคำว่านาคยังหมายถึง พญานาคที่มีแสนยานุภาพ ที่จะช่วยปกป้องคุ้มครองภัย นอกจากนี้ยังเชื่อว่าจะช่วยป้องกันภัยอันตรายต่าง ๆ จากภายนอกได้ด้วย เนื่องจากใบของบุนนาคสามารถช่วยรักษาพิษต่าง ๆ ได้ โดยจะนิยมปลูกต้นบุนนาคไว้ทางทิศตะวันตกของบ้าน และปลูกกันในวันเสาร์เพื่อเอาคุณ

ลักษณะของบุนนาค
        ต้นบุนนาค มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย ศรีลังกา อินโดจีน พม่า ไทย คาบสมุทรมาเลเซีย และสิงค์โปร์ โดยจัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ มีความสูงประมาณ 15-25 เมตร และอาจสูงได้ถึง 30 เมตร ลักษณะเป็นทรงยอดพุ่มทึบและแคบ มีทรงพุ่มใหญ่ลักษณะคล้ายเจดีย์ต่ำ ๆ มีพูพอนเล็กน้อยตามโคนต้น เป็นไม้ไม่ผลัดใบ เนื้อไม้แข็ง กิ่งก้านเรียวเล็กห้อยลง เปลือกต้นมีสีน้ำตาลเข้ม มีรอยแตกตื้น ๆ หลุดร่วงได้ง่าย ที่เปลือกชั้นในจะมีน้ำยางสีเหลืองอ่อนเล็กน้อย ส่วนในเนื้อไม้จะมีสีแดงคล้ำเป็นมันเลื่อม พบได้มากในป่าดิบชื้น ตามลำธารหรือริมห้วย พบได้มากในประเทศอินเดียและศรีลังกา นอกจากนี้ต้นบุนนาคยังจัดเป็นพันธุ์ไม้มงคลพระราชทานประจำจังหวัดพิจิตรอีกด้วย
         ใบบุนนาค ใบเป็นใบเดี่ยว ออกตรงข้ามกัน ลักษณะของใบคล้ายรูปหอกหรือรูปขอบขนานแกมรูปหอก ปลายใบเรียวแหลม คล้ายใบมะปราง โคนใบสอบ แผ่นใบหนา ผิวใบเรียบเกลี้ยง ท้องใบมีคราบขาวปกคลุมอยู่ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 1.2-4 เซนติเมตร และยาวประมาณ 5-13 เซนติเมตร ใบอ่อนจะมีสีชมพูออกแดง ส่วนใบแก่ด้านบนจะมีสีเขียวเข้ม ส่วนด้านล่างมีนวลสีเทา มีเส้นใบข้างมากแต่ไม่เห็นชัด ใบห้อยลงเป็นพู่ ก้านใบยาวประมาณ 0.8-1.2 เซนติเมตร ออกพร้อมกันทั้งต้นช่วงไม่กี่วันในแต่ละปี
          ดอกบุนนาค ออกดอกเป็นดอกเดี่ยวหรือดอกคู่ตามซอกใบหรือปลายกิ่ง กลีบดอกมีสีขาวจนถึงสีเหลืองอ่อน กลีบดอกมี 5 กลีบซ้อนกัน ลักษณะของกลีบดอกเป็นรูปไข่หัวกลับ ปลายบานและเว้า โคนสอบ ปลายกลีบย่นเล็กน้อย เมื่อดอกบานเต็มกลีบจะแผ่กว้างออก และมีเส้นผ่านศูนย์กลางของดอกราว 5-10 เซนติเมตร ดอกบุนนาคเป็นดอกสมบูรณ์เพศ ดอกจะห้อยลง ก้านดอกยาวน้อยกว่า 1 เซนติเมตร มีเกสรตัวผู้มากกว่า 50 อัน เกสรตัวผู้ยาวประมาณ 1.5 เซนติเมตร มีสีเหลืองส้มและเป็นฝอย ส่วนอับเรณูเป็นสีส้ม ส่วนก้านเกสรตัวเมียมีสีขาว ก้านยาว มีรังไข่ 2 ช่อง กลีบเลี้ยง 4 กลีบ คล้ายรูปช้อน งอเป็นกระพุ้ง แยกเป็น 2 วง ลักษณะกลม และกลีบเลี้ยงจะแข็งหนาและอยู่คงทน เมื่อเป็นผลก็ยังคงติดกับผลอยู่ และดอกมีกลิ่นหอมเย็น ส่งกลิ่นไปได้ไกล และดอกบุนนาคจะออกดอกในช่วงระหว่างฤดูร้อนถึงฤดูฝน
          ผลบุนนาค ลักษณะของผลเป็นรูปไข่ ผลแข็งมาก ส่วนปลายโค้งแหลม ปลายไม่แตก เปลือกผลมีรอยด่างสีน้ำตาล มีขนาดกว้างประมาณ 2.5-3.5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 4 เซนติเมตร ผลมีสีส้มแก่หรือสีม่วงน้ำตาล มีเปลือกเป็นเส้นใยห่อหุ้มอยู่ และมีหยดยางเหนียว ที่ฐานมีกลีบเลี้ยงหนารองรับอยู่ 4 กลีบติดอยู่ และจะขยายโตขึ้นเป็นกาบหุ้มผล ภายในผลมีเมล็ด 1-4 เมล็ด ส่วนเมล็ดบุนนาคมีลักษณะของเมล็ดแบนและแข็ง มีสีน้ำตาลเข้ม
          สมุนไพรบุนนาค ในตำรายาแผนไทยระบุว่า สามารถนำมาใช้ประโยชน์ทางยาสมุนไพรได้ทุกส่วนของต้น ไม่ว่าจะเป็นดอกสดและแห้ง เกสร ใบ เมล็ด ราก เปลือก กระพี้ แก่น และผล

สรรพคุณของบุนนาค
1. ช่วยชูกำลัง รักษาอาการอ่อนเพลีย (ดอก, ราก, แก่น)
2. ช่วยแก้กระหาย แก้ร้อน อาการกระสับกระส่าย (ดอก)
3. ช่วยบำรุงธาตุในร่างกาย (ดอก)
4. ช่วยบำรุงโลหิต (ดอก, ราก, แก่น)
5. ช่วยบำรุงหัวใจให้ชุ่มชื่น (ดอก)
6. ดอกบุนนาคมีสรรพคุณช่วยแก้ไข้ (ดอก)
7. ใบใช้ตำเป็นยาพอกโดยผสมรวมกับน้ำนมและน้ำมันมะพร้าวใช้สุมหัวแก้ไข้หวัดอย่างแรง (ใบ)
8. ช่วยแก้ไข้สำประชวร (ดอก, ราก, แก่น)
9. ดอกใช้เป็นยารักษาไข้กาฬ (ดอก)
10. ผลมีสรรพคุณช่วยขับเหงื่อ หรือจะใช้เปลือกต้นนำมาต้มรวมกับขิงกินก็ได้ (ผล, เปลือกต้น)
11. แก่นมีรสเฝื่อน ช่วยรักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน (แก่น, เนื้อไม้)
12. ช่วยแก้รัตตะปิตตะโรค (ดอก, ราก, แก่น)
13. แก้เลือดกำเดาไหล (ดอก, ราก, แก่น)
14. ช่วยแก้เสมหะในลำคอ (ดอก, ใบ, กระพี้)
15. สรรพคุณต้นบุนนาค กระพี้ช่วยแก้อาการสะอึก (กระพี้)
16. แก้ลมหาวเรอ ลมที่ทำให้หูอื้อ ตามัว (ดอก)
17. ช่วยแก้ลมกองละเอียดที่ทำให้มีอาการวิงเวียนศีรษะ หน้ามืดตาลาย ใจสั่น ใจหวิว (ดอก)
18. ช่วยแก้อาการร้อนในกระสับกระส่าย (ดอก)
19. แก้อาเจียน (ดอก)
20. รากมีรสเฝื่อน ช่วยขับลมในลำไส้ (ราก, ดอก, แก่น)
21. ผลบุนนาคใช้รับประทานเป็นยากระตุ้นการทำงานของร่างกาย ช่วยแก้น้ำเหลืองเสีย (ผล)
22. เปลือกต้น มีรสฝาดร้อนเล็กน้อย ช่วยฟอกน้ำเหลือง กระจายน้ำเหลือง และช่วยกระจายหนอง (เปลือกต้น)
23. ช่วยแก้ทางเดินปัสสาวะอักเสบ (ผล)
24. น้ำมันจากเมล็ดเป็นยาทาช่วยรักษาโรคผิวหนัง แก้ผดผื่นคัน แก้คิด และแผลเล็ก ๆ น้อย ๆ (น้ำมันจากเมล็ด)
25. ช่วยรักษาบาดแผลสด แก้แผลสด ใช้พอกบาดแผลสด (ใบ, ดอก)
26. ใช้เป็นยาฝาดสมาน (ผล, ดอกแห้ง, เปลือกต้น)
27. สรรพคุณ บุนนาคเปลือกต้นช่วยแก้อาการฟกช้ำ (เปลือกต้น)
28. น้ำมันจากเมล็ดใช้เป็นยานวดช่วยรักษาโรคปวดตามข้อ (น้ำมันจากเมล็ด)
29. ช่วยแก้พิษงู (ดอก,ใบ,เปลือกต้น)
30. น้ำมันจากดอกบุนนาค มีสาร Mesuol และ Mesuone ซึ่งมีฤทธิ์เหมือนยาปฏิชีวนะที่ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อโรค (น้ำมันจากดอก)
31. น้ำมันจากเมล็ดมีฤทธิ์เป็นยาปฏิชีวนะช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อโรคได้เช่นเดียวกับน้ำมันจากดอก ใช้เมล็ดตำใส่บาดแผล (เมล็ด)
32. ช่วยแก้กลิ่นเหม็นสาบในร่างกาย (ดอก, ราก, แก่น)
33. ช่วยบำรุงผิวกายให้สดชื่น (ดอก)
34. บุนนาคมีสรรพคุณช่วยคุมกำเนิด (ดอก, ใบ)
35. ดอกนำมาใช้เข้าเครื่องยาไทยสูตร "พิกัดเกสรทั้งห้า" (ดอกบุนนาค ดอกมะลิ ดอกพิกุล ดอกบัวหลวง ดอกสารภี), สูตร "พิกัดเกสรทั้งเจ็ด" (เพิ่มดอกจำปาและดอกกระดังงา), และสูตร "พิกัดเกสรทั้งเก้า" (เพิ่มดอกลำดวนและดอกลำเจียก) ซึ่งมีสรรพคุณ
      ช่วยบำรุงหัวใจ บำรุงดวงจิตให้ชุ่มชื่น ช่วยทำให้ชื่นใจ แก้ลมกองละเอียด อาการวิงเวียนศีรษะ หน้ามืดตาลาย แก้ร้อนในกระสับกระส่าย บำรุงครรภ์สตรี มีกลิ่นหอม (ดอก)
36. ใช้อบเครื่องหอม ใช้แต่งกลิ่น เข้าเครื่องยาเป็นยาฝาดสมาน ช่วยบำรุงธาตุ บำรุงโลหิต แก้ไข้ แก้ไอ แก้ร้อนใน ขับเสมหะ ดับกระหายหรือนำมาบดเป็นผงผสมกับเนยเหลว ใช้เป็นยาพอกรักษาริดสีดวง (ดอก)
37. เกสรบุนนาคมีรสหอมเย็น นำมาใช้เข้ายาหอม มีฤทธิ์เป็นยาฝาดสมาน ช่วยบำรุงธาตุ ทำให้หัวใจชุ่มชื่น ชื่นใจ แก้ไข้ ช่วยขับลม และบำรุงครรภ์ (เกสร)
ข้อควรระวัง ! : กรดในน้ำมันจากเมล็ดบุนนาคมีพิษต่อหัวใจ

ประโยชน์ของบุนนาค
1. ยอดอ่อนบุนนาคสามารถนำมาใช้เป็นผักสด แกล้มกับน้ำพริก หรือจะนำมายำหรือแกงก็ได้เช่นกัน แต่ถ้าหากไม่อยากรับประทานแบบดิบก็สามารถนำไปลวกก่อนนำมารับประทานก็ได้ ก็จะได้รสชาติที่แปลกและอร่อยไปอีกแบบหนึ่ง
2. ต้นบุนนาคในปัจจุบันมีการนำมาเพาะปลูกเป็นไม้ประดับอาคารสถานที่กันอย่างแพร่หลาย เพราะมีดอกหอมและสวยงาม มีทรงพุ่มสวย ใบเขียวเข้มตลอดปี ให้ร่มเงาได้
3. กิ่งบุนนาคสามารถนำมาทำฐานรองพานดอกไม้ไหว้พระ ถือเป็นไม้ศักดิ์สิทธิ์สำหรับชาวไทใหญ่
4. ไม้บุนนาคเป็นไม้เนื้อแข็ง แก่นมีสีแดงเข้ม แข็งแรงทนทาน ขัดเงาได้ดี เหมาะสำหรับใช้ทำหมอนรถไฟ สิ่งก่อสร้างบ้านเรือน ทำเสาสะพาน ต่อเรือน ต่อเกวียน ไม้เท้า ด้ามร่ม ทำสายพานท้ายปืน ฯลฯ
5. ดอกสามารถนำมาใช้กลั่นเป็นน้ำมันหอมระเหย นำมาใช้ในการอบเครื่องหอมได้เป็นอย่างดี และยังใช้ในการแต่งกลิ่นสบู่อีกด้วย
6. เปลือกลำต้นบุนนาคนำมาบดเป็นผงใช้แต่งกลิ่นธูปได้
7. เมล็ดบุนนาคมีน้ำมันที่กลั่นได้ ใช้เป็นส่วนผสมในเครื่องสำอางต่าง ๆ และนำมาใช้จุดตะเกียงให้กลิ่นหอม

คำสำคัญ : บุนนาค

ที่มา : https://medthai.com/

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). บุนนาค. สืบค้น 27 เมษายน 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1656&code_db=610010&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1656&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

คันทรง

คันทรง

คันทรง จัดเป็นไม้พุ่มขนาดกลางกึ่งไม้เลื้อย ลำต้นตั้งตรงและมีความสูงของต้นประมาณ 2-3 เมตร บ้างว่าสูงได้ประมาณ 1-9 เมตร แตกกิ่งก้านมากตั้งแต่โคนต้น กิ่งก้านมีขนาดเล็กกลมสีเขียว กิ่งก้านสีเขียวเข้มเป็นมัน เปลือกต้นเป็นสีเทา มีรอยแตกเป็นร่องตื้นๆ ถี่ๆ และตามลำต้นจะมีตาที่ทิ้งใบเป็นตุ่มห่างๆ ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เมล็ดและวิธีการปักชำลำต้น มักขึ้นเองตามป่าราบ ป่าดงดิบ ป่าละเมาะ หรือที่รกร้างข้างทางทั่วไป

เผยแพร่เมื่อ 25-05-2020 ผู้เช้าชม 3,480

ชุมเห็ดเทศ

ชุมเห็ดเทศ

ชุมเห็ดเทศ (Ringworm Bush, Golden Bush) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกต้น ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ภาคเหนือเรียก ชุมเห็ด, ชุมเห็ดใหญ่, ขี้คาก, ลับหมื่นหลวง, หญ้าเล็บหมื่นหลวง หรือหมากกะลิงเทศ เป็นต้น ซึ่งมีการขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด สามารถเจริญเติบโตได้ดีในที่ที่มีความชุ่มชื้น โดยขึ้นได้ดีในดินแทบทุกชนิดเลยทีเดียว แถมยังปลูกได้ง่ายอีกด้วย เพราะต้นชุมเห็ดเทศนี้ไม่ต้องดูแลเอาใจใส่อะไรมากมายนัก และส่วนใหญ่มักพบต้นชุมเห็ดเทศนี้ได้ทั่วทุกภาคของประเทศไทย

เผยแพร่เมื่อ 08-05-2020 ผู้เช้าชม 1,553

ตะขบฝรั่ง

ตะขบฝรั่ง

ตะขบฝรั่งเป็นพืชผลไม้ตระกูลเบอรี่ของไทยที่อยู่ใกล้ตัว หาได้ง่าย และสามารถพบเห็นได้ทั่วไปทั่วทุกภาคของประเทศไทย ถือเป็นต้นไม้โตเร็วและให้ร่มเงา กิ่งก้านแผ่ออกกว้างส่งผลให้บริเวณใต้ต้นตะขบนั้นจะเป็นที่บังแดดให้ความร่มรื่นในยามแดดจัดได้ดี และยังถือได้อีกว่าเป็นผลไม้ที่มีใยอาหารสูงชนิดหนึ่งโดยใน 100 กรัมหรือประมาณ 25 ผล จะมีใยอาหารมากกว่า 6 กรัม เมื่อเทียบกับปริมาณสารอาหารที่แนะนำให้บริโภคประจำวันอยู่ที่ 25 กรัม ดังนั้นการกินตะขบ 1 ถ้วยจะเท่ากับได้ปริมาณ 1 ใน 4 ของใยอาหารที่แนะนำเลยทีเดียว

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 2,175

ขึ้นฉ่าย

ขึ้นฉ่าย

ขึ้นฉ่ายเป็นผักที่ใบคล้ายกับผักชี แต่ใบใหญ่กว่าและมีกลิ่นฉุน โดยขึ้นฉ่ายเป็นชื่อผักที่มาจากภาษาจีน หรือที่คนไทยเรียกว่า ผักข้าวปีน, ผักปืน, ผักปิ๋ม เป็นต้น ผักขึ้นฉ่าย มีอยู่ 2 สายพันธุ์ สายพันธุ์แรกก็คือ ขึ้นฉ่ายฝรั่ง ลักษณะต้นจะอวบใหญ่มาก ลำต้นมีความสูงประมาณ 40-60 เซนติเมตร ลำต้นขาวใบเหลืองอมเขียว และอีกสายพันธุ์คือ ขึ้นฉ่ายจีน หรือ "Chinese celery" ซึ่งจะมีขนาดของลำต้นที่เล็กกว่า มีความสูงประมาณ 30 เซนติเมตร และใบค่อนข้างแก่ ส่วนสรรพคุณก็จะคล้ายๆ กัน

เผยแพร่เมื่อ 25-05-2020 ผู้เช้าชม 10,299

พันงูเขียว

พันงูเขียว

พันงูเขียว จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุกจำพวกหญ้า ลำต้นมีลักษณะตั้งตรง มีความสูงได้ประมาณ 50 เซนติเมตร แตกกิ่งก้านสาขาทางด้านข้าง ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด พรรณไม้ชนิดนี้พบได้ในแถบเขตร้อนทั่วไป โดยมักขึ้นตามเนินเขา ตามทุ่งนา ทุ่งหญ้า พื้นที่เปิด หรือตามริมถนน ที่ความสูงจากระดับน้ำทะเลจนถึง 600 เมตร ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้ามกัน ลักษณะของใบเป็นรูปไข่ ปลายใบแหลม โคนใบเป็นรูปลิ่ม ขอบใบหยักคล้ายฟันเลื่อย ใบมีขนาดกว้างประมาณ 2-3 เซนติเมตร และยาวประมาณ 4-6 เซนติเมตร 

เผยแพร่เมื่อ 16-07-2020 ผู้เช้าชม 13,818

ผักกวางตุ้ง

ผักกวางตุ้ง

กวางตุ้ง เป็นผักที่นิยมนำมาประกอบอาหาร ไม่ว่าจะผัดหรือต้มเป็นแกงจืด ให้รสชาติหวานกรอบ โดยเฉพาะเมนูบะหมี่หมูแดงหรือเกี๊ยวก็จะมีผักชนิดนี้แซมอยู่เสมอ โดยสามารถรับประทานได้ทั้งลำต้น ใบ และดอก ขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้บริโภค แต่จะนิยมนำมาปรุงให้สุกก่อนนำมารับประทาน ตามธรรมชาติแล้วผักกวางตุ้งจะมีเส้นใยเหนียวๆ เคี้ยวยากสักหน่อย

เผยแพร่เมื่อ 09-07-2020 ผู้เช้าชม 12,392

ผักปลัง

ผักปลัง

ผักปลัง มีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนของเอเชียและแอฟริกา โดยจัดเป็นไม้เถาเลื้อยล้มลุก ลำต้นอวบน้ำ เกลี้ยง กลม ไม่มีขน แตกกิ่งก้านสาขามาก มีความยาวประมาณ 2-6 เมตร หากลำต้นเป็นสีเขียวจะเรียกว่า "ผักปลังขาว" ส่วนชนิดที่ลำต้นเป็นสีม่วงแดงจะเรียกว่า "ผักปลังแดง" ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดและวิธีการปักชำเถาแก่ เจริญเติบโตได้ดีในที่ชื้นระบายน้ำได้ดี ชอบแสงแดดรำไร สามารถพบได้ทั่วทุกภาคของประเทศ ตามป่าทุ่ง ที่รกร้าง หรือตามที่ชุ่มชื้นทั่วไป

เผยแพร่เมื่อ 10-07-2020 ผู้เช้าชม 5,368

สาบเสือ

สาบเสือ

ลักษณะทั่วไป  เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก สูง 1-2เมตร อายุหลายปี   ใบเป็นใบเดี่ยว ออกตรงข้ามเป็นคู่ รูปขอบขนานแกน สามเหลี่ยมกว้าง 3-7 ซม. ยาว6-12ซม.ขอบใบหยัก  ดอกสีขาวถึงม่วงอ่อน ออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง ลักษณะเป็นก้อน ขนาด 4-8 มม. ดอกย่อยจำนวนมาก รอบนอกเป็นดอกเพศเมีย มีก้านชูเกสรยาว ด้านในเป็นดอกสมบูรณ์เพศกลีบ ดอกเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 5 แฉก เกสรผู้สั้น 5 อันอยู่ภายในหลอดดอกเมล็ดขนาดเล็ก รูปกระสวย แบนส่วนปลายมีขนยาวสีขาว  เป็นพืชพื้นดินเดิมของทวีปอเมริกากลางและอเมริกาใต้ ปัจจุบันพบทั่วไปในเขตร้อนตามพื้นที่เปิดหรือบริเวณป่าที่ถูกทำลายตั้งแต่ระดับน้ำทะเลจนถึงความสูง1,500เมตร

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 4,808

กระเชา

กระเชา

ต้นกระเชาไม้ต้นขนาดใหญ่ ผลัดใบ สูง 15-30 ม. แตกกิ่งต่ำ ลำต้นมักแตกง่ามใกล้โคนต้น เปลือกสีน้ำตาลอมเทา มีช่องอากาศสีขาวทั่วไป ใบกระเชาใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปรีหรือรูปไข่กลับแกมรูปขอบขนาน กว้าง 4-9 ซม. ยาว 7-14 ซม. ปลายแหลม โคนเบี้ยว มน มักเว้าเล็กน้อยตรงก้านใบเป็นรูปคล้ายหัวใจ ขอบเรียบหรือเป็นจักห่างๆ แผ่นใบด้านบนมีขนเล็กน้อยตามเส้นกลางใบ และเส้นแขนงใบ ด้านล่างมีขนนุ่มทั่วไป ก้านใบยาว 5-1.3 ซม. มีหูใบรูปใบหอกขนาดเล็ก 2 อัน ร่วงง่าย

เผยแพร่เมื่อ 13-05-2020 ผู้เช้าชม 3,661

ยอเถื่อน

ยอเถื่อน

ลักษณะทั่วไป  เป็นไม้ยืนต้น สูง 15 เมตร  ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปวงรี  กว้าง 5-10 ซม. ยาว 10-20 ซม. หูใบอยู่ระหว่างก้านใบ ดอกช่อ ออกเป็นก้อนทรงกลมที่ซอกใบ กลีบดอกสีขาว ผลเป็นผลรวม รูปกลม  การขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดประโยชน์    สมุนไพร ตำรายาไทยใช้ ราก แก้เบาหวาน แก่นต้มน้ำดื่ม บำรุงเลือด ผลอ่อน แก้อาเจียน ผลสุก ขับระดู ขับลม ใบ อังไฟพอ ตายนึ่งปิดหน้าอก หน้าท้อง แก้ไอ แก้จุกเสียด หรือตำพอกศีรษะฆ่าเหา

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 2,157