กากหมากตาฤาษี

กากหมากตาฤาษี

เผยแพร่เมื่อ 18-05-2020 ผู้ชม 2,595

[16.4258401, 99.2157273, กากหมากตาฤาษี]

กากหมากตาฤาษี ชื่อวิทยาศาสตร์ Balanophora fungosa J.R.Forst. & G.Forst. จัดอยู่ในวงศ์ขนุนดิน (BALANOPHORACEAE)
สมุนไพรกากหมากตาฤาษี มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า เห็ดหิน (เลย), ว่านดอกดิน (สระบุรี), กากหมากตาฤาษี (ตราด), บัวผุด (ชุมพร), ดอกกฤษณารากไม้ (ประจวบคีรีขันธ์), กกหมากพาสี (ภาคเหนือ), ขนุนดิน (ภาคกลาง) เป็นต้น

ลักษณะของกากหมากตาฤาษี
         ต้นกากหมากตาฤาษี จัดเป็นพืชเบียน เกาะอาศัยแย่งอาหารจากรากพืชชนิดอื่น มีความสูงได้ประมาณ 10-25 เซนติเมตร ลำต้นอยู่รวมกันเป็นก้อนขนาดใหญ่อยู่ใต้ดิน โดยลำต้นจะมีอยู่หลายสี เช่น สีน้ำตาล สีแดง สีแดงปนน้ำตาล สีเหลือง หรือสีเหลืองปนส้ม มีเขตการกระจายพันธุ์ในอินเดีย จีนตอนใต้ พม่า ภูมิภาคอินโดจีน มาเลเซีย และทวีปออสเตรเลีย ส่วนในประเทศไทยพบได้ทั่วทุกภาคของประเทศ โดยพบขึ้นในป่าดิบชื้นทั่วไป บนเขาสูง ที่ความสูง 500-2,000 เมตร จากระดับน้ำทะเล โดยมักเกาะเบียนพืชในวงศ์ LEGUMINOSAE และพืชในวงศ์ VITACEAE หรือ VITIDACEAE
         ใบกากหมากตาฤาษี ใบเป็นใบเดี่ยว เรียบเวียนรอบลำต้น ใบมีขนาดเล็ก มีประมาณ 10-20 ใบ ใบเป็นสีเหลืองอมส้ม สีเหลืองอมแดง หรือสีน้ำตาล ปลายใบแหลม มีขนาดกว้างมากที่สุดประมาณ 2 เซนติเมตร และยาวประมาณ 3 เซนติเมตร
         ดอกกากหมากตาฤาษี ออกดอกเป็นช่อ ดอกเป็นสีแดงอมน้ำตาล มีกลิ่นหอมเอียน ดอกเป็นแบบแยกเพศอยู่คนละต้น ช่อแก่จะชูก้านขึ้นพ้นผิวดินเป็นกลุ่มหรือเป็นกระจุก กลุ่มหนึ่งอาจมีดอกถึง 10 ดอก โดยช่อดอกเพศผู้มีลักษณะเป็นรูปไข่แกมรี มีขนาดกว้างประมาณ 2-6 เซนติเมตร และยาวประมาณ 4-15 เซนติเมตร ส่วนก้านดอกยาวประมาณ 0.7-1 เซนติเมตร กาบรองดอกเป็นรูปเหลี่ยมหรือมน ยาวประมาณ 5 มิลลิเมตร ดอกมีจำนวนมาก กลีบดอกมีประมาณ 4-5 กลีบ สีเหลืองอมเขียวอ่อน มีขนาดเล็กมาก ดอกเรียงชิดกัน ไม่เบี้ยว กลีบดอกมีขนาดเท่ากัน มีเกสรเพศผู้ 4-5 อัน เชื่อมติดกันเป็นก้อนแบนแคบ ๆ ยาวได้ประมาณ 2.5-5 มิลลิเมตร ตุ่มเกสรเป็นรูปเกือกม้า
         ส่วนช่อดอกเพศเมียจะเป็นสีน้ำตาลอมแดง ลักษณะค่อนข้างกลมหรือรี มีขนาดประมาณ 2-10 เซนติเมตร ดอกเล็กละเอียดจำนวนมากอยู่ชิดกันแน่น ออกดอกในช่วงประมาณเดือนกันยายนถึงเดือนกุมภาพันธ์ พบออกดอกนอกฤดูกาลบ้าง แต่ก็ไม่บ่อยนัก

สรรพคุณของกากหมากตาฤาษี
1. ทั้งต้นกากหมากตาฤาษี มีรสฝาด แพทย์ตามชนบทจะเอาผลตากแห้ง นำมาฝนกับน้ำฝนบนฝาละมีหม้อดิน ใช้เป็นยาแก้หูเป็นน้ำหนวก แก้แผลเน่าเรื้อรังเป็นอย่างดี (ต้น)
2. ชาวบ้านในแถบตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง จะนำหัวของกากหมากตาฤาษี ไปผสมกับสมุนไพรอื่น ๆ ทำเป็นยาแก้หอบหืดมานมนาน ซึ่งว่านับเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่น่าทึ่ง เพราะมี
    รายงานทางด้านการแพทย์ว่า ลำต้นที่มีลักษณะเป็นหัวที่ฝังอยู่ใต้ดินนำมาสกัดได้สารโคนิเฟอริน (coniferin) สามารถใช้ทำยาแก้โรคหอบหืดได้ (ต้น)

คำสำคัญ : กากหมากตาฤาษี

ที่มา : https://medthai.com/

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). กากหมากตาฤาษี. สืบค้น 30 มิถุนายน 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?code_db=610010&code_type=01&nu=pages&page_id=1566

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1566&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

มะขามแขก

มะขามแขก

ต้นมะขามแขก จัดเป็นไม้พุ่ม เป็นพืชทนแร้ง ไม่ชอบที่น้ำท่วมขัง เพราะจะทำให้รากเน่า สามารถเจริญเติบโตได้ดีในดินที่ลักษณะร่อน มีความอุดมสมบูรณ์ ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เมล็ดและการใช้ต้นกล้า ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก เรียงสลับ ใบย่อยเป็นรูปวงรีและใบรูปหอก ใบแห้งมีสีเขียวอมน้ำตาล ขอบใบเรียบ ปลายและโคนใบแหลม โคนใบทั้งสองมีขนาดไม่สมมาตรกัน และมีขนนุ่มปกคลุมอยู่ ใบมีกลิ่นเหม็นเขียว มีรสเปรี้ยว หวานชุ่ม ออกดอกเป็นช่อตามซอกใบตอนปลายกิ่ง กลีบดอกมีสีเหลือง ลักษณะของผลเป็นฝักแบน รูปขอบขนาน ฝักอ่อนมีสีเขียว

เผยแพร่เมื่อ 10-07-2020 ผู้เช้าชม 8,051

จิงจ้อเหลือง

จิงจ้อเหลือง

ลักษณะทั่วไป  ต้นเป็นไม้เถา ขนาดเล็ก  ลำต้นกลม เกลี้ยง หรือตามกิ่งก้านมีขนแข็งสีขาว หรือสีน้ำตาลปนเหลืองกระจายทั่ว  ใบรูปกลม กว้าง ยาว โคนใบรูปหัวใจ ขอบใบจักเป็นแฉกรูปพัด 5-7 แฉก เป็นรูปสามเหลี่ยมกว้าง หรือรูปหอกปลายแหลมหรือมน มีติ่งสั้น ขอบแฉกจักเป็นซี่ฟันหยาบ ๆ หรือเว้าตื้น ๆ หรือค่อนข้างเรียบ มีขนกระจายหนาแน่นทั้ง 2 ด้าน ก้านใบยาว 2-15 ซม. มีขนกระจายหรือเกลี้ยง ดอกออกเป็นช่อตามง่ามใบมี 1-3 หรือหลายดอก ก้านช่อดอกยาว 1-15 ซม. หรือยาวกว่านี้ ก้านดอกยาว 8-20 มม.  เมื่อเป็นผลจะใหญ่ขึ้นเป็นรูปกระบองใบประดับแหลมเรียว ยาว 1.5-2 มม. กลีบรองดอกรูปขอบขนาน หรือแหลม มีติ่งสั้น กลีบที่อยู่ด้านนอกมีขนแข็งหรือเกลี้ยงกลีบอยู่ด้านใน

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 3,594

กะเม็งตัวเมีย

กะเม็งตัวเมีย

ต้นกะเม็งตัวเมียจัดเป็นพืชสมุนไพรล้มลุกที่เต็มไปด้วยสรรพคุณในการรักษาโรค ใช้เป็นยาอายุวัฒนะ ช่วยป้องกันไม่ให้ตับถูกทำลายจากสารพิษหรือแอลกอฮอล์ ยับยั้งการกระจายตัวของเชื้อ HIV และยังเชื่อกันว่าสามารถใช้ในการรักษาโรคมะเร็งได้ดีอีกด้วย ด้วยเหตุนี้ จึงนิยมนำพืชชนิดนี้มาทำเป็นยาเพื่อรักษาโรค ซึ่งหากต้องการให้ได้ผลดี ควรใช้ต้นกะเม็งตัวเมียที่อยู่ในช่วงเจริญเต็มที่และกำลังออกดอกจะทำให้ได้ประสิทธิภาพในการรักษาโรคได้ดีที่สุด ซึ่งนอกจากสรรพคุณในการรักษาโรคแล้วยังสามารถใช้สีดำจากลำต้นมาย้อมผ้าหรือย้อมผมได้ด้วย

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 4,309

ตับเต่านา

ตับเต่านา

ต้นตับเต่านา จัดเป็นพืชลอยน้ำ มีอายุหลายฤดู ลำต้นมีลักษณะเป็นไหลทอดเลื้อย หากน้ำตื้นจะหยั่งรากลงยึดดินใต้น้ำ มักขึ้นในน้ำนิ่งทั่วไป เช่น ตามนาข้าวหรือบริเวณหนองน้ำ ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการแตกไหลและอาศัยเมล็ด โดยต้นตับเต่านาเป็นพืชที่มีเขตการกระจายพันธุ์อยู่ในทวีปยุโรปและเอเชีย สามารถพบได้ตามแหล่งน้ำตื้น ๆ ที่ระดับใกล้น้ำทะเลจนถึงระดับ 1,200 เมตร

เผยแพร่เมื่อ 01-06-2020 ผู้เช้าชม 3,802

สายน้ำผึ้ง

สายน้ำผึ้ง

สายน้ำผึ้ง มีถิ่นกำเนิดในแถบเอเชีย เช่น ประเทศไทย จีน ญี่ปุ่น จัดเป็นไม้เถาเลื้อยพัน มีอายุหลายปี มีความยาวประมาณ 9 เมตร เถามีลักษณะกลมเป็นสีน้ำตาล ส่วนเนื้อในเถากลวง แตกกิ่งก้านสาขาออกมากมายเป็นทรงพุ่ม ตามกิ่งอ่อนมีขนสั้นนุ่มสีน้ำตาลปกคลุม ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการปักชำ ตอนกิ่ง และเพาะเมล็ด (แต่การปักชำเป็นวิธีที่ได้ผลดีที่สุด) โดยจัดเป็นพรรณไม้กลางแจ้ง ที่เจริญเติบโตได้ดีสวยในดินร่วนซุยและมีความชื้นปานกลาง มักพบขึ้นมากทางป่าแถบภูเขา

เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 4,836

เห็ดเข็มทอง

เห็ดเข็มทอง

หากเอ่ยถึงเห็ดเหมันต์ หลายคนอาจเริ่มขมวดคิ้วเข้าหากันและสงสัยว่ามันคือเห็ดอะไร แต่หากพูดถึงเห็ดเข็มทอง เชื่อว่าแทบทุกคนต้องร้องอ๋อรู้จักและคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี เพราะในปัจจุบันเรียกว่าเห็ดชนิดนี้เป็นที่นิยมบริโภคกันเป็นอย่างมาก เนื่องจากมีรสชาติดีอร่อยกรุบกรอบในปาก และยังสามารถนำมาประกอบอาหารรับประทานได้หลากหลาย

เผยแพร่เมื่อ 12-05-2020 ผู้เช้าชม 5,480

ว่านลูกไก่ทอง

ว่านลูกไก่ทอง

ว่านลูกไก่ทอง จัดเป็นพรรณไม้จำพวกเฟิร์น ลำต้นมีความสูงได้ประมาณ 2.5-3 เมตร เหง้ามีเนื้อแข็งคล้ายไม้ ปกคลุมไปด้วยขนนิ่มยาวสีเหลืองทองวาว เหมือนขนอ่อนของลูกไก่ มีใบจำนวนมากออกมารอบ ๆ เหง้า ลักษณะคล้ายมงกุฎ ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการแยกหน่อ ชอบดินเปรี้ยว ความชื้นสูง ระบายน้ำได้ดี มีแสงแดดรำไร มีเขตการกระจายพันธุ์ในประเทศจีน อินเดีย และมาเลเซีย ในประเทศไทยพบได้มากทางภาคเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ โดยมักพบขึ้นเองตามหุบเขา เชิงเขา และตามที่ชื้นแฉะ ที่ความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 800-1,500 เมตร

เผยแพร่เมื่อ 16-07-2020 ผู้เช้าชม 35,253

ชะมวง

ชะมวง

ชะมวงเป็นไม้ยืนต้น ขนาดเล็กถึงกลาง สูง 15-30 เมตร ไม่ผลัดใบ ทรงพุ่มเป็นรูปกรวยคว่ำทรงสูง เปลือกสีน้ำตาลปนเทา แตกเป็นสะเก็ด มีน้ำยางสีเหลือง ใบชะมวงเป็นใบเดี่ยวเรียงตรงข้ามสลับตั้งฉาก รูปวงรีแกมใบหอกหรือรูปขอบขนาน กว้าง 2-3.5 เซนติเมตร ยาว 7-15 เซนติเมตร ปลายใบป้านหรือแหลมเล็กน้อย ฐานใบสอบแหลม ขอบใบเรียบ เนื้อใบหนาและแข็งเปราะ ก้านใบสีแดงยาว 5-1 เซนติเมตร  

เผยแพร่เมื่อ 28-05-2020 ผู้เช้าชม 6,928

จมูกปลาหลด

จมูกปลาหลด

ต้นจมูกปลาหลด จัดเป็นพรรณไม้เถาเลื้อยพาดพันต้นไม้อื่น สามารถเลื้อยไปได้ไกลเกินกว่า 5 เมตร เถามีขนาดเล็กกลมเป็นสีเขียวและมียางสีขาวอยู่ในเถา ยอดอ่อนมีขนเล็กน้อยและจะค่อนข้างเกลี้ยงเมื่อแก่ลำต้นและใบเมื่อนำมาขยี้ดมดูจะมีกลิ่นเหม็น พรรณไม้ชนิดนี้ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดและวิธีการปักชำ ชอบอยู่ในร่มรำไร ชอบความชื้น มีเขตการกระจายพันธุ์ในอินเดียถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ส่วนในประเทศไทยพบอยู่ทั่วไปทางภาคตะวันออกและภาคกลางของประเทศไทย โดยมักขึ้นบริเวณน้ำตื้นริมบึงทั่วไป

เผยแพร่เมื่อ 25-05-2020 ผู้เช้าชม 4,161

ชบา

ชบา

ชบา มีลักษณะเป็นไม้พุ่มขนาดกลาง ใบค่อนข้างมนรี มีปลายแหลม ขอบของใบเป็นจักเล็กน้อย และมีสีเขียวเข้ม เมื่อขยี้ใบจะเป็นเมือกเหนียว ดอกชบามีทั้งกลีบชั้นเดียวและหลายชั้น หากเป็นชั้นเดียวปกติจะมีกลีบดอก 5 กลีบ มีก้านเกสรอยู่ตรงกลางดอกหนึ่งก้าน ลักษณะของกลีบดอกชบาจะมีขนาดใหญ่ มีหลายสีไม่ว่าจะเป็น ขาว แดง แสด เหลือง ม่วง ชมพู และสีอื่นๆ โดยดอกชบาแบ่งออกเป็น 3 ลักษณะคือ ดอกบานเป็นรูปถ้วย, ดอกบานเป็นรูปแผ่แบน, กลีบดอกบานแบบแผ่โค้ง และขยายพันธุ์ด้วยการปักชำ การติดตา และการเสียบยอด

เผยแพร่เมื่อ 26-05-2020 ผู้เช้าชม 13,823