กะเม็งตัวเมีย

กะเม็งตัวเมีย

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้ชม 4,385

[16.4534229, 99.4908215, กะเม็งตัวเมีย]

ลักษณะสมุนไพร :
กะเม็งจัดเป็นไม้ล้มลุกขนาดเล็ก ความสูงเพียง 10-60 เซนติเมตร เปลือกลำต้นมีสีเขียวหรือสีน้ำตาลแดงบางก็มีขนละเอียด บ้างก็ผิวเกลี้ยง กิ่งก้านมักจะแตกออกจากที่โคนต้น ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้ามกัน ใบมีลักษณะเป็นรูปรีหรือรูปหอก ปลายใบเรียวแหลม โคนใบสอบแคบ ฐานใบเป็นรอยเว้าเข้าเล็กน้อย ขอบใบเรียบหรือเป็นจักห่างๆ ขอบใบทั้งสองด้านมีขนสีขาวสั้นๆ ขนาดกว้างประมาณ 0.8-2 เซนติเมตร ยาวประมาณ 4-10 ซึ่งขนาดใบขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์ของแหล่งเพาะปลูก หากปลูกในที่แห้งแล้งใบจะมีขนาดเล็ก แต่ถ้าปลูกในที่ชุ่มชื้นมีใบจะมีขนาดใหญ่ ดอกออกเป็นช่อค่อนข้างกระจุกตัวแน่น และออกดอกเป็นช่อเดี่ยวที่บริเวณยอด ดอกมีสีขาว ดอกวงนอกเป็นดอกเพศเมีย มีดอกประมาณ 3-5 ดอก ส่วนดอกวงในกลีบดอกติดกันเป็นหลอด ที่ปลายแยกออกเป็นกลีบ 4 กลีบ และเป็นดอกแบบสมบูรณ์เพศ ผลกะเม็งมีลักษณะเป็นรูปลูกข่าง ขนาดยาว 3-3.5 มิลลิเมตร กว้างประมาณ 1.5 มิลลิเมตร มีสีเหลืองปนดำ ปลายผลมีรยางค์เป็นเกล็ดขนาดยาวประมาณ 2.5 มิลลิเมตร  มักพบต้นไม้ชนิดนี้ขึ้นตามที่โล่งแจ้งชุ่มชื้นหรือริมคูน้ำ

สรรพคุณทางยา :
ส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์ : 
ทั้งต้น ลำต้น ราก และ ใบ
ทั้งต้น แก้โรคกระษัยช่วยขับปัสสาวะ ใช้เป็นยาอายุวัฒนะ รักษาโรคมะเร็ง รักษาโรคเกี่ยวกับตา ลดไข้ในเด็ก
ลำต้น บำรุงเลือดรักษาโรคเบาหวานรักษาโรคดีซ่านแก้อาการปวดศีรษะข้างเดียว(ลมตะกัง) แก้อาการหูอื้อแก้อาการไอกรน แก้อาเจียนเป็นเลือด รักษาลำไส้อักเสบ แก้ริดสีดวงทวาร
ราก บำรุงเลือดแก้โรคโลหิตจางแก้ท้องร่วง
ใบ แก้อาการปากเปื่อย ปากเจ็บจากเชื้อรารักษาหนองใน แก้ปัสสาวะเป็นเลือดห้ามเลือด

ภาพโดย : http://www.google.com

คำสำคัญ : กะเม็งตัวเมีย, สมุนไพร

ที่มา : กมลทิพย์ ประเทศ และคนอื่นๆ. (2543). การสำรวจพรรณไม้ในอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2560). กะเม็งตัวเมีย. สืบค้น 27 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=58&code_db=610010&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=58&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

คาง

คาง

คางเป็นพรรณไม้ยืนต้นที่มีขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ซึ่งตามกิ่งก้านจะมีขนขึ้นปกคลุม ต้นสูงใหญ่  ใบดกหนาทึบ  ใบเล็กเป็นฝอยคล้ายใบมะขามไทย  คล้ายใบทิ้งถ่อนหรือ ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก มีจำนวน 3-4 ใบ ใบย่อยของแต่ละเป็นใบประกอบจะมีจำนวน 15-25 คู่ เรียงอยู่ตรงข้ามกัน ไม่มีก้านใบ ใบย่อยเป็นรูปขอบขนาน ปลายใบมนหรือใบแหลม

เผยแพร่เมื่อ 23-02-2017 ผู้เช้าชม 4,464

มะหาด

มะหาด

มะหาด ต้น ไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ ลำต้นตั้งตรง ผิวเปลือกนอกขรุขระ สีน้ำตาล บริเวณเปลือกของลำต้นมักมีรอยแตก ไหลซึมแห้งติดกันใบเดี่ยวเรียงสลับ รูปไข่รูปยาวรี ปลายแหลม โคนเว้ามน ใบอ่อนมีขอบใบหยักใบแก่ขอบเรียบหูใบเรียวแหลมดอก ช่อกลมเล็ก ๆ สีเขียว อมเหลือง ดอกตัวผู้และดอกตัวเมียอยู่คนละช่อ แต่อยู่บนต้นเดียวกัน ดอกตัวเมียกลีบดอกกลมมนโคนกลีบเชื่อมติดกันเป็นหลอดดอกตัวผู้กลีบเป็นรูปขอบขนานผล เป็นผลรวม กลมแป้นใหญ่ เปลือกนอกขรุขระ เนื้อผลนุ่ม สีเขียว แก่มีสีน้ำตาลเหลือง เมล็ดรูปรี

เผยแพร่เมื่อ 23-02-2017 ผู้เช้าชม 1,427

กล้วยหักมุก

กล้วยหักมุก

สำหรับกล้วยหักมุกนั้นเป็นกล้วยที่สามารถเจริญเติบโตได้ดีในที่ดอน และไม่ชอบน้ำมาก ลำต้นสูงประมาณ 2.5-3.5 เมตร มีเส้นผ่านศูนย์กลางมากกว่า 15 เซนติเมตร กาบด้านในสีเขียวอ่อน ส่วนด้านนอกมีประดำเล็กน้อย บริเวณก้านใบมีร่องแคบ มีครีบ ใช้ทำเป็นใบตองได้ดี ส่วนดอกนั้นจะออกเป็นช่อ ปลีรูปไข่แบบป้อมๆ ม้วนงอขึ้นด้านบน และเมื่อออกผลใน 1 เครือ จะมีอยู่ประมาณ 7 หวี และในหวีหนึ่งๆ จะมีประมาณ 10-16 ผลใหญ่ ก้านผลจะยาว ปลายลีบลง เหลี่ยมค่อนข้างชัด เปลือกค่อนข้างหนา เมื่อดิบเป็นสีเขียว หากสุกแล้วจะเป็นสีเหลืองอมน้ำตาล เนื้อในสีส้ม

เผยแพร่เมื่อ 29-04-2020 ผู้เช้าชม 27,826

ติ่งตั่ง

ติ่งตั่ง

ต้นติ่งตั่ง จัดเป็นไม้พุ่มเลื้อยขนาดใหญ่หรือไม้เถาเลื้อยเนื้อแข็งขนาดใหญ่ สูงได้ประมาณ 1-5 เมตร เปลือกเป็นสีน้ำตาลมีขนปกคลุม ตามกิ่งอ่อนเป็นสันสี่เหลี่ยม มีขนสีน้ำตาลแกมแดงขึ้นปกคลุม ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด ตอนกิ่ง และปักชำกิ่ง เจริญเติบโตได้ในดินทุกประเภท ชอบแสงแดดจัด น้ำปานกลาง มีถิ่นกำเนิดในอินเดีย จีนตอนใต้ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ส่วนในประเทศไทยพบได้ทุกภาคตามป่าเบญจพรรณและตามป่าดิบแล้งทั่วไป

เผยแพร่เมื่อ 26-05-2020 ผู้เช้าชม 2,939

ชงโค

ชงโค

ชงโค เป็นไม้ยืนต้นสูงประมาณ 5-15 เมตร กิ่งอ่อนมีขนปกคลุม ลักษณะของใบชงโคเป็นใบเดี่ยวคล้ายรูปหัวใจ ปลายของใบเว้าลึกมาก ปลายใบทั้งสองด้านกลมมนดูคล้ายใบแฝดติดกัน (คล้ายๆ กับใบกาหลง) ส่วนลักษณะของผลจะเป็นฝักแบนคล้ายฝักถั่ว กว้างประมาณ 1.5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 15-20 เซนติเมตร เมล็ดในฝักค่อนข้างแบน ฝักแก่จะแตกออกเป็นสองซีกตามความยาวของฝัก เป็นต้นไม้ที่ชอบแสงแดด 

เผยแพร่เมื่อ 26-05-2020 ผู้เช้าชม 19,145

ชำมะนาด

ชำมะนาด

ชำมะนาดเป็นไม้เถาเลื้อย ลำต้นแข็งสีเขียวคล้ำตกกระ มีน้ำยางขาว ใบชำมะนาดเป็นใบเดี่ยว ออกตรงข้าม รูปรีกว้างแกมรูปไข่กลับ กว้าง 4-8 ซม. ยาว 7-15 เซนติเมตร ก้านใบยาว 2-3 เซนติเมตร ดอกชำมะนาดสีขาว มีกลิ่นหอม ออกเป็นช่อที่ซอกใบ ใกล้ปลายกิ่ง ช่อดอกยาว 2-6 เซนติเมตร มี 10-15 ดอก กลีบดอกเชื่อมกันเป็นรูปถ้วย ปลายแยกเป็น 5 แฉก เกสรผู้ 5 อัน ติดกันกลางดอกเป็นรูปลูกศร ผลชำมะนาดเมื่อแก่แห้งแตกตามรอยตะเข็บเพียงด้านเดียว

เผยแพร่เมื่อ 28-05-2020 ผู้เช้าชม 2,190

พลูคาว

พลูคาว

พลูคาวเป็นพืชล้มลุกที่พบได้ทั่วไปในแถบทวีปเอเชียในแถบเทือกเขาหิมาลัยไปจนถึงเวียดนาม ญี่ปุ่น รวมถึงไทยด้วย เป็นที่รู้จักกันดีในทางภาคเหนือ วิธีใช้ทั้งต้นแห้งประมาณ 15-30 กรัม (ต้นสด 30-60 กรัม) นำมาแช่น้ำทิ้งไว้ประมาณ 3 นาที แล้วนำมาต้มน้ำให้เดือดประมาณ 5 นาทีแล้วนำมาดื่ม แต่หากใช้ร่วมกับสมุนไพรหรือยาชนิดอื่น ให้ต้มยาอื่นให้เดือดก่อนจึงใส่ยา ต้มให้เดือด การรับประทานถ้ามากเกินไปอาจจะทำให้หัวใจเต้นสั้นและถี่ อาจเป็นอันตรายได้

เผยแพร่เมื่อ 16-07-2020 ผู้เช้าชม 2,063

จิก

จิก

จิก (Indian oak) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกต้น ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ภาคใต้เรียก จิกนา ส่วนหนองคายเรียก กระโดนน้ำ หรือกระโดนทุ่ง ภาคเหนือเรียก ดอง และเขมรเรียก เรียง เป็นต้น มักขึ้นในพื้นที่ชุ่มน้ำ ทนต่อภาวะน้ำท่วมขังได้เป็นอย่างดี ส่วนใหญ่มักนำไปต้นจิกนี้ไปปลูกอยู่ริมน้ำหรือในสวน ด้วยเพราะมีช่อดอกที่มีสวยงามมองแล้วสดชื่น

เผยแพร่เมื่อ 08-05-2020 ผู้เช้าชม 3,035

มะกอกน้ํา

มะกอกน้ํา

ต้นมะกอกน้ำ มีเขตการกระจายพันธุ์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พบได้บริเวณริมน้ำและลำห้วย ปัจจุบันนิยมปลูกกันทั่วไป โดยจัดเป็นไม้ยืนต้นผลัดใบแต่ไม่พร้อมกัน มีความสูงของต้นประมาณ 8-15 เมตร แตกกิ่งก้านเป็นพุ่มโปร่ง มีรูอากาศเป็นแนวยาว เปลือกลำต้นค่อนข้างเรียบเป็นสีน้ำตาล มีรอยแตกเป็นร่องเล็ก ๆ ตื้น ๆ ตามความยาวของลำต้น ตามกิ่งมีรอยแผลใบชัดเจน ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ดและการตอนกิ่ง เจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่ชื้นหรือบริเวณริมน้ำ 

เผยแพร่เมื่อ 09-07-2020 ผู้เช้าชม 16,363

มะกล่ำตาหนู

มะกล่ำตาหนู

ต้นมะกล่ำตาหนู มีเขตการกระจายพันธุ์ตั้งแต่อินเดียไปจนถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยจัดเป็นไม้เถาเลื้อยมีอายุได้หลายปี มีความสูงของต้นได้ถึง 5 เมตร โดยจัดเป็นไม้เถาเนื้ออ่อนสีเขียวขนาดเล็ก เถามีลักษณะกลมเล็กเรียวและมีขนสีขาวขึ้นปกคลุม ที่โคนเถาช่วงล่างจะแข็งและมีขนาดใหญ่ ขยายพันธุ์โดยการใช้เมล็ด เจริญเติบโตได้ดีในดินทุกประเภท เป็นพรรณไม้ที่ชอบขึ้นตามบริเวณที่มีความชื้น มักพบขึ้นทั่วไปตามป่าเปิดหรือในที่โล่ง ที่รกร้าง ป่าตามทุ่งนา หรือตามป่าเต็งรัง

เผยแพร่เมื่อ 09-07-2020 ผู้เช้าชม 9,110