วัดพระแก้ว

วัดพระแก้ว

เผยแพร่เมื่อ 03-02-2017 ผู้ชม 6,976

[16.488276, 99.518003, วัดพระแก้ว]

              ตั้งอยู่กลางเมืองกำแพงเพชร เป็นวัดที่สำคัญอยู่ติดกับบริเวณวังเช่นเดียวกับวัดพระศรีสรรเพชญ์ ที่จังหวัดอยุธยาหรือวัดมหาธาตุ กลางเมืองสุโขทัย กำแพงวัดเป็นศิลาแลงกลมทั้งท่อนสูงประมาณเมตรเศษแผนผังของวัด เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนานไปกับกำแพงเพชร กำแพงวัดขาดเป็นตอน ๆ สิ่งก่อ สร้างภายในใช้ศิลาแลงเป็นส่วนใหญ่ ตรงกลางของวัดมีพระเจดีย์กลมแบบลังกาองค์ใหญ่เป็นประธาน ฐานสี่เหลี่ยม ที่ฐานทำเป็นซุ้มคูหาโดย รอบมี สิงห์ยืนอยู่ในคูหา แต่ชำรุดหมด วัดพระแก้วนี้หลังจากขุดแต่งแล้วปรากฏว่า พบฐานเจดีย์แบบต่าง ๆ กัน รวม 35 ฐาน วิหารใหญ่และเล็ก 8 วิหาร ฐานโบสถ์ 3 แห่ง ซึ่งแสดงว่าเป็นวัดใหญ่ และสำคัญมากมาก่อน ปัจจุบันงานนบพระเล่นเพลง และงานวันสารทไทยกล้วยไข่เมืองกำแพงเพชรก็จัดให้มีขึ้นในบริเวณวัดพระแก้วแห่งนี้พระพุทธรูปที่ทรงคุณค่าควรเมืองที่สุดในประเทศไทยคือพระแก้วมรกตเป็นสิ่ศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองของไทยมาช้านาน .ตามตำนานกล่าวว่าผู้สร้างคือพระนาคเสนเถระ พระอรหันต์เจ้าแห่งประเทศอินเดีย ท่านต้องการบำรุงพระพุทธศาสนาให้รุ่งเรืองสืบไป จึงดำริที่สร้างพระพุทธรูปด้วยแก้วมณี เมื่อสร้างเสร็จได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ เจ็ดพระองค์ เข้าประดิษฐานในองค์พระแก้วมรกต พระแก้วมรกตเดิมประดิษฐานที่นครปาตลีบุตร แห่งประเทศอินเดีย ต่อมาเกิดสงครามประชาชนจึงได้อัญเชิญพระแก้วมรกตไปยังลังกาทวีป จากนั้นหลังปีพุทธศักราช 1000 พระแก้วมรกตประดิษฐานอยู่ที่พระมหานครเอกราช แต่เกิดอุทกภัย ทำให้ประชาชนตายทั้งพระนคร...ต่อพระเจ้าอาทิตยราช แห่งอโยชยา ยกกองทัพมาตีชายแดนมหานครเอกราชจึงอัญเชิญมาไว้ที่ นครอโยชยา พระยาวิเชียรปราการแห่งเมืองกำแพงเพชร ได้มาอัญเชิญพระแก้วมรกตมาประดิษฐานที่เมืองกำแพงเพชร
              จากตำนานพระแก้วมรกต ฉบับเจ้านันทเสน กล่าวถึงการเกิดน้ำท่วมใหญ่ในประเทศเขมรพระเถระรูปหนึ่งได้อัญเชิญพระแก้วมรกตไปประดิษฐานทางเหนือของนครอินทปัตถ์พระเจ้าอติราชแห่งแค้วนสยามฝ่ายเหนือคือนครศรีอยุธยากรงว่าพระแก้วมรกตจะเป็นอันตรายจึงยกกองทัพไปสืบหาพระแก้วมรกตแล้วอัญเชิญไปไว้ในพระนครศรีอยุธยา ประดิษฐานอยู่หลายชั่วกษัตริย์ ภายหลังเจ้าเมืองกำแพงเพชรเป็นพระญาติกับพระเจ้ากรุงศรีอยุธยา ได้อัญเชิญพระแก้วมรกตมาไว้ที่กำแพงเพชรและถ้ามาอยู่ที่กำแพงเพชร พระพุทธเจ้าหลวงได้ตั้งข้อสังเกตในจดหมายเหตุประพาสต้นเมืองกำแพงเพชรไว้ว่า...ซึ่งยอมรับจะเรียกวัดพระแก้วได้นั้น เพราะเหตุที่มีตำนานว่า พระแก้วได้เคยมาอยู่ที่เมืองนี้ ถ้าหากว่าได้มาอยู่คงจะไม่ได้อยู่วัดอื่น คงอยู่วัดนี้แน่ ซึ่งหมายถึงวัดพระแก้วกลางเมืองกำแพงเพชรในปัจจุบัน และได้ถูกอัญเชิญไปไว้ที่เชียงรายและเชียงใหม่ตามลำดับ
              พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีความเห็นว่า พระแก้วมรกตมีหลักฐานชัดเจนเมื่อ คราวพบ ในเจดีย์ ณ วัดพระแก้วเมืองเชียงราย ซึ่งเป็นวัดคู่เมืองเชียงรายมาแต่อดีตกาล ในปีพุทธศักราช 1977 ฟ้าได้ผ่าอยู่ด้านหลังของวัด ป่าเยี้ยะ (วัดป่าไผ่) พบพระพุทธรูปทำด้วยพระแก้วมรกต ลักษณะงดงามมาก เป็นที่เลื่องลือไปทั่ว และเปลี่ยนชื่อวัดป่าเยี้ยะว่าวัด พระแก้วตั้งแต่นั้นมาพระแก้วมรกตได้ไปอยู่ที่เขลางค์นคร ( เมืองลำปาง) 32 ปี แล้วนำไปไว้เชียงใหม่ ในสมัยพระเจ้า ติโลกราช จนมาถึงปลายราชวงศ์มังราย พระไชยเชษฐาได้เสด็จมาครองเมืองเชียงใหม่ ได้ไม่นานพระเจ้าโพธิสารพระราชบิดาที่เมืองหลวงพระบางสวรรคต พระไชยเชษฐาเสด็จกลับแล้วนำพระแก้วมรกตไปด้วย ไปไว้ที่หลวงพระบาง แต่เมื่อพระองค์เสด็จมาครองเมืองเวียงจันทน์ พระแก้วมรกตมาประดิษฐานที่เวียงจันทน์ด้วย จนกระทั่งได้อัญเชิญมาไว้ที่กรุงธนบุรี และกรุงเทพใน ปัจจุบัน เมื่อพระแก้วมรกตมาประดิษฐานที่เมืองกำแพงเพชรนั้น ..ต้องประดิษฐาน ณ วัดในกำแพงเมือง วัดประจำเมืองกำแพงเพชรคือวัดที่เรียกกันว่าวัดพระแก้ว เพราะเชื่อกันว่าถ้ามาอยู่กำแพงเพชร ต้องอยู่ที่วัดนี้อย่างแน่นอน และประกอบกับที่วัดพระแก้วมีมณฑปขนาดใหญ่ ตั้งอยู่บนฐานบัวลูกฟัก ย่อมุม 28 ตั้งซ้อนกันอยู่ 2 ชั้น ฐานชั้นล่างกว้างประมาณ 12 เมตร สูงประมาณ 2 เมตร ตรงกลางด้านทิศตะวันออก ทำเป็นทางขึ้น ถัดจากนั้นเป็นฐานบัวลูกฟัก ย่อมุม 36 อีก 1 ชั้น แต่ชั้นนี้ไม่มีบันไดทางขึ้น ต่อไปเป็นฐานย่อมุม 28 กว้างประมาณ 8 เมตร รองรับตัวเรือนธาตุ ย่อมุมไม้ 12 มีประตูทางเข้าทั้ง 4 ด้าน ภายในเป็นห้อง ที่สันนิษฐานว่า น่าจะประดิษฐานพระแก้วมรกตพระแก้วมรกตประดิษฐานที่กำแพงเพชรระยะหนึ่งทำให้เมืองกำแพงเพชรมีชื่อเสียงโด่งดังว่าเป็นเมืองสำคัญในทางพระพุทธศาสนาทำให้หัวเมืองฝ่ายเหนือคิดจะแย่งชิงพระแก้วมรกตไปแต่ทำไม่สำเร็จ เพราะความแข็งแกร่งของเมืองกำแพงเพชรเจ้านครเชียงราย ยกกองทัพใหญ่มีไพร่พล นับแสน มากำแพงเพชร เพื่อทูลขอพระแก้วมรกต ไปเป็นขวัญพระนครเชียงราย ด้วยแสนยานุภาพที่เกรียงไกร กำแพงเพชรจึงให้พระแก้วมรกตไปด้วยความโศกเศร้าเสียดายของอาณาประชาราษฏร์คงมีการแย่งชิงพระแก้วมรกตกันอีกหลายครั้งทำให้เจ้าผู้ครองนครเชียงราย นำพระแก้วมรกตไปซ่อนไว้ภายในพระเจดีย์ วัดป่าเยี้ยะ ทำให้พระแก้วมรกตหายสาบสูญไป จนกระทั่งเกิด ฟ้าผ่า พระเจดีย์ ทำให้พบพระแก้วมรกตอีกครั้ง เจ้าเมืองเชียงใหม่ตั้งใจจะอัญเชิญพระแก้วมรกตไปไว้ที่เชียงใหม่ แต่มาถึงกลางทางช้างที่ประดิษฐานพระแก้วมรกตไม่ยอมเดิน แต่กลับมาที่เขลางค์นคร จึงมาประดิษฐานที่นครลำปาง ต่อมาพระเจ้าติโลกราช กษัตริย์ เชียงใหม่ ได้อัญเชิญพระแก้วมรกตจาก ลำปางมาไว้ที่สถูปเจดีย์หลวง เมืองเชียงใหม่ต่อมาพระเจ้าไชยเชษฐาได้อัญเชิญพระแก้วมรกต ไปไว้ที่นครหลวงพระบาง และไปประดิษฐานที่เมืองเวียงจันทน์ในที่สุด .อยู่ในประเทศลาว เป็นเวลาประมาณ 200 ปี
              พระแก้วมรกต ได้รับการอาราธนาอีกครั้งหนึ่งในสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี จากเมืองเวียงจันทน์ มายังพลับพลาที่วัดแจ้ง (วัดอรุณราชวราราม) โดยพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับพระราชหัตถเลขาว่า ได้อาราธนา จากเมืองเวียงจันทน์ ข้ามมายังเมืองพานพร้าว(น่าจะเป็นเมืองศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย) ฝั่งตรงข้ามแม่น้ำโขงเดินทัพมาถึงเมืองสระบุรี พระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนอินทรพิทักษ์ เสด็จขึ้นไปรับพระแก้วมรกต ว่าเป็นขบวนเรือไปรับที่ท่าเจ้าสนุก หลังจากที่อัญเชิญมาทางบก แล้วทำพิธีสมโภช 3 วัน 3 คืนจึงอัญเชิญมาที่ท่าพระราชวังหลวงมาประทับแรมที่พระตำหนักบางธรณี(วัดตำหนักใต้บางกระสอนนทบุรี)และในที่สุดพระแก้วมรกตมาประดิษฐานที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม กรุงเทพมหานครในปัจจุบัน

ภาพโดย : http://www.thailovetrip.com/view.php?id_view=93

 

คำสำคัญ : วัดพระแก้ว

ที่มา : http://sunti-apairach.com/06N/06NJ.htm

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2560). วัดพระแก้ว. สืบค้น 17 มิถุนายน 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?code_db=610009&code_type=01&nu=pages&page_id=265

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=265&code_db=610009&code_type=01

Google search

Mic

วัดหม่องกาเล

วัดหม่องกาเล

เดิมชื่อวัดใดไม่ปรากฏชัดเจนชาวบ้านเมืองนครชุมเรียกตามภูมินามที่พบเห็น โดยสันนิษฐานว่า บริเวณที่ค้นพบวัด อยู่ในที่จับจองของชาวพม่า ที่ชื่อหม่องกาเล ซึ่งสืบหาลูกหลานของท่านไม่ได้ รู้แต่ว่าหลังจากหม่องกาเล ที่บริเวณนั้น เป็นที่ครอบครองของตาหมอหร่อง ตาหมอหร่อง มีลูกเขยชื่อนายจันทร์ ได้ครอบครองที่ดินบริเวณนี้ต่อมา และได้ขายที่ดินทั้งหมดให้ผู้อื่น

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 2,892

วัดพระธาตุ

วัดพระธาตุ

อีกหนึ่งสถานที่ท่องเที่ยวที่มีความสำคัญมากแห่งหนึ่งของอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร โดยวัดตั้งอยู่ด้านทิศตะวันออกของวัดพระแก้ว มีพระเจดีย์ฐานสี่เหลี่ยมเป็นประธาน ล้อมรอบด้วยระเบียบคด ที่เชื่อมต่อกับวิหารด้านทิศตะวันออก ที่สองข้างวิหารมีเจดีย์รายอยู่ข้างละ 1 องค์ มีกำแพงแก้วล้อมรอบ

เผยแพร่เมื่อ 11-02-2017 ผู้เช้าชม 2,134

วัดมะเคล็ด

วัดมะเคล็ด

เป็นอีกวัดหนึ่งในอุทยานประวัติศาสตร์ที่ยังไม่ได้ไปสำรวจอย่างเป็นทางการ เมื่อศึกษาจากแผนที่แล้วจึงดั้นด้นเข้าไปสำรวจ ป้ายชื่อของวัดมะเคล็ดซึ่งเป็นป้ายขนาดใหญ่ มาหายไปทั้งหมดอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 986

วัดหมาผี

วัดหมาผี

วัดหมาผีเป็นวัดที่อยู่ในบริเวณอรัญญิกของเมืองกำแพงเพชร ตัววัดมีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมมีกำแพงศิลาแลงคั่นกลางระหว่างเขตพุทธาวาสและสังฆาวาสโดยมีคูน้ำล้อมรอบ ปัจจุบันเขตสังฆาวาสไม่ปรากฏหลักฐานของสิ่งก่อสร้าง ส่วนเขตพุทธาวาสปรากฏสิ่งก่อสร้างที่สำคัญ ได้แก่ เจดีย์ประธาน และวิหาร

เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 3,016

วัดเจดีย์กลม

วัดเจดีย์กลม

เป็นวัดที่อยู่ห่างจากทุกวัดในบริเวณเดียวกัน ทางเข้าอยู่ตรงข้ามวัดสิงห์ เลี้ยวขวาเข้าไปประมาณ 400 เมตร ในป่าค่อนข้างทึบ ห่างไกลผู้คน ไปสำรวจหลายครั้งแล้วยังไม่เคยพบผู้คนเข้าไปท่องเที่ยวในบริเวณเจดีย์กลม อาจเป็นเพราะถ้ามองภายนอกแล้วเหมือนเนินดินที่ยังไม่มีการขุดแต่งแต่ประการใด

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 2,765

บ้านโบราณสมัยรัชกาลที่ 5

บ้านโบราณสมัยรัชกาลที่ 5

เป็นอาคารไม้ 2 ชั้น สร้างด้วยไม้สักทั้งหลัง รูปแบบไทยผสมตะวันตก ประดับด้วยไม้ฉลุลายอย่างประณีต เป็นบ้านของ พะโป้ คหบดีชาวพม่า ซึ่งมีอาชีพค้าไม้ที่บริเวณปากคลองสวนหมาก เมืองนครชุม ในสมัยรัชกาลที่ 5 โดยได้ซื้อบ้านมาจากพระยาราม ครั้งหนึ่ง สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเสด็จประพาสต้น เมืองกำแพงเพชร เมื่อปี พ.ศ. 2449 ได้เสด็จเยือนบ้านพะโป้ จนเป็นที่มาของชื่อ บ้านห้าง ร.5 ตามประวัติกล่าวว่า มองสุภอ หรือ พระยาตะก่า พี่ชายพะโป้ ได้เข้ามาขอรับเช่าทำการค้าไม้ จากพระยากำแพงเพชร (อ่อง) ในราวปลายรัชกาลที่ 4 พ.ศ. 2418 จนถึงปี พ.ศ. 2418 ได้ถึงแก่กรรม

เผยแพร่เมื่อ 16-02-2018 ผู้เช้าชม 6,105

 วัดบ่อสามแสน

วัดบ่อสามแสน

เป็นวัดใหม่ สร้างเมื่อประมาณปีพุทธศักราช 2500 โดยเป็นที่พักสงฆ์มาตลอด แต่เดิมมีศาลาไม้ไผ่หนึ่งหลัง และกุฏิพระเพียงหลังเดียว เมื่อปีพุทธศักราช 2510 ชาวบ้านบ่อสามแสนได้ไปอาราธนาหลวงพ่อพล กุสโล จากวัดคลองเมืองนอก ตำบลโกสัมพี อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร มาเป็นเจ้าอาวาสรูปแรก

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 5,380

วัดมะคอก

วัดมะคอก

เป็นวัดที่สำคัญอีกวัดหนึ่ง ในอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ตั้งชื่อตามชื่อต้นไม้ในบริเวณวัดคือต้นมะคอก เป็นวัดขนาดกลางที่ยังมิได้ขุดแต่ง วัดหันหน้าไปทางทิศตะวันออก ไม่พบกำแพงด้านนอกวัดทั้งสี่ด้าน อาจเป็นเพราะวัดมะคอก อาจสร้างก่อนวัดอื่นๆในบริเวณเดียวกัน

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 1,553

วัดวังพระธาตุ (วัดท้าวแสนปม)

วัดวังพระธาตุ (วัดท้าวแสนปม)

ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของเมืองไตรตรึงษ์ มีวังแม่น้ำปิงขนาดใหญ่ใกล้บริเวณวัด คนในท้องถิ่นเรียกว่า "วัดวังพระธาตุ" ภายในมีโบราณสถานที่สำคัญคือ เจดีย์พระประธานทรงข้าวบิณฑ์ (ทรงดอกบัว) ศิลปะสุโขทัย 

เผยแพร่เมื่อ 11-02-2017 ผู้เช้าชม 4,993

วัดพระแก้ว

วัดพระแก้ว

ตั้งอยู่กลางเมืองกำแพงเพชร เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มโบราณสถานมรดกโลกในอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร เป็นวัดที่สำคัญอยู่ติดกับบริเวณวังเช่นเดียวกับวัดพระศรีสรรเพชญ์ ที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา หรือวัดมหาธาตุกลางเมืองสุโขทัย ภายในบริเวณวัดประกอบด้วยเจดีย์ประธานที่ฐานมีสิงห์ล้อม เจดีย์ทรงกลมที่ฐานมีช้างรอบ วิหาร มณฑป อุโบสถ และเจดีย์ราย ทั้งหมดล้อมรอบด้วยกำแพงศิลาแลงเป็นแท่งๆ โดยรอบ

เผยแพร่เมื่อ 03-02-2017 ผู้เช้าชม 6,976