วัดดงหวาย
เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้ชม 2,239
[16.496092, 99.519300, วัดดงหวาย]
วัดที่อยู่นอกบริเวณอรัญญิกของอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ที่สำคัญแห่งหนึ่งคือ วัดดงหวาย ก่อนที่จะเปิดอุทยานประวัติศาสตร์ วัดดงหวาย มีชื่อเสียงมาก ในการค้นพบพระเครื่องและพระบูชา วัดดงหวายตั้งอยู่แนวถนนพระร่วง เป็นวัดขนาดใหญ่ ก่อนที่จะตัดถนน กำแพงเพชร – สุโขทัย สภาพวัดสมบูรณ์มาก
วัดดงหวายตั้งอยู่นอกกำแพงเมืองไปทางทิศเหนือ ห่างจากประตูสะพานโคมไปประมาณ 200 เมตร ปัจจุบันทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 101 กำแพงเพชร สุโขทัย ตัดผ่านด้านหลังวัด ทำให้บริเวณสังฆาวาส และเจดีย์รายบางส่วน ได้หายไปกับการสร้างถนน เหตุที่เรียกว่าวัดดงหวาย เพราะสมัยที่ประชาชนเข้าไปขุดค้นพระเครื่องและพระบูชานั้น บริเวณนั้นเป็นดงหวายจริงๆ กว่าจะเข้าไปถึงเจดีย์และวิหารได้ ต้องแหวกดงหวายเข้าไป รกทึบมาก จึงเรียกวัดนี้ว่าวัดดงหวาย บริเวณข้างวัดมีสระน้ำขนาดใหญ่ มิใช่สระที่สำหรับขุดเอาศิลาแลง แต่เป็นสระน้ำที่ขุดไว้เพื่อใช้น้ำจริงๆ บริเวณนี้คงขาดน้ำมาก อาจเป็นเพราะน้ำเปลี่ยนทิศทาง หรือท่อปู่พญาร่วงที่ผ่านบริเวณนี้ ถูกถมหายไป ตามหลักฐานจากจารึกฐานพระอิศวร
เจดีย์ประธานวัดดงหวาย เป็นแบบเจดีย์ทรงกลมหรือทรงระฆัง ก่อด้วยอิฐ มีซุ้มพระเฉพาะด้านหน้าคือทางทิศตะวันออก เพียงด้านเดียว เจดีย์มีลักษณะต่ำกว่าพื้นปกติ และต่ำกว่าพื้นวิหาร น่าจะมีการบูรณะ ปฎิสังขรณ์วิหารในภายหลัง เจดีย์รายที่อยู่ รอบเจดีย์ประธาน การสร้างค่อนข้าง ไม่เป็นระเบียบ เพราะคงมีการมาสร้างเพิ่มเติมในภายหลัง ในเนื้อที่ที่จำกัด ลักษณะเด่นขององค์เจดีย์ประธานคือ การสร้างฐานแปดเหลี่ยมลดหลั่น ลงมาหลายชั้น จนทำให้รูปทรงของเจดีย์เพรียว ชลูด ชั้นบัวถลาทำเป็นบัวคว่ำ บัวหงาย สามชั้นองค์ระฆังเล็กมาก นักวิชาการบางท่านให้ข้อสังเกตว่า ฐานแปดเหลี่ยมลักษณะนี้ อาจได้รับอิทธิพลมาจากล้าน มาพัฒนาให้เป็นลักษณะเจดีย์ ในรูปแบบของกำแพงเพชร
วิหารขนาดใหญ่ตั้งอยู่ด้านหน้าของเจดีย์ประธาน ฐานเดิมก่อด้วยศิลาแลง มาเสริมอิฐ เป็นอาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ก่อเป็นแบบฐานหน้ากระดาน เป็นอาคารขนาดใหญ่ เมื่อเทียบกับ พระประธาน ซึ่งมีขนาดใหญ่มาก ได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์ เพียงแค่พระอุระ พระเศียร และพระอังสะ พังทลายไปสิ้น แต่ดูจากพุทธลักษณะเท่าที่ปรากฏ มีรูปทรงที่งดงามมาก รอบฐานพระพุทธรูปยังมีลายปูนปั้น รูปกลีบบัวคว่ำและบัวหงาย และมีเส้นเกสรบัวประกอบที่งดงามมาก ลายกลีบบัว ปูนปั้นนี้ มีรูปแบบคล้ายฐานกลีบบัว คว่ำบัวหงาย ของพระพุทธรูป สำริด แบบเชียงแสนรุ่นแรก วัดดงหวาย คงได้รับอิทธิพล จากล้านนา มาผสมผสานกับศิลปะของสุโขทัย แล้วพัฒนามาเป็นศิลปะของกำแพงเพชร ในที่สุด
วัดดงหวาย อยู่ริมถนนก็จริง แต่มิใคร่มีคนมาเที่ยวชม เพราะมุมมอง จากถนนไม่งดงาม แต่ถ้ามามองทางด้าน หน้าวัด คือทางทิศตะวันออกแล้ว เป็นวัดที่งดงามมาก ที่ชัดเจน
ภาพโดย : http://tis.dasta.or.th/dasta_survey//tourist_profile_img/dasta_3_20170725105429.jpg
คำสำคัญ : วัดดงหวาย,อุทยานประวัติศาสตร์,กำแพงเพชร
ที่มา : http://sunti-apairach.com/03N/03NG.htm
รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2560). วัดดงหวาย. สืบค้น 16 มกราคม 2568, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=289&code_db=610009&code_type=01
Google search
วัดบ้านใหม่สุวรรณภูมิ ซึ่งเป็นที่ตั้งของตลาดท่องเที่ยว 3 วิถี แต่ก่อนจะไปเดินเล่นที่ตลาด แวะมาชมความงดงามของตัวพระวิหาร รวมทั้งเสาและประตูวิหารที่แกะสลักอย่างอ่อนช้อยสวยงาม เป็นเอกลักษณ์ของวิถีภาคเหนือ พร้อมกราบสักการะหลวงพ่อโตองค์ใหญ่ พระพุทธรูปศิลปะล้านนาในวิหารวัด เดินเข้าไปภายในวิหารรู้สึกได้ถึงความร่มเย็นและเงียบสงบ วัดบ้านใหม่สุวรรณภูมิ เป็นวัดในท่าขุนราม ที่มีสถาปัตยกรรมโดดเด่นตามแบบฉบับล้านนาทางเหนือ ที่ไม่ควรพลาดมาเยี่ยมชม
เผยแพร่เมื่อ 30-09-2022 ผู้เช้าชม 1,235
วัดหนองปลิง บนเนินเขา ริมสายน้ำปิงลมพัดโบกโบยเย็นสบายตลอดทั้งวันริมคลองบางทวน ดินแดนทางประวัติศาสตร์ ติดกับค่ายลูกเสือในปัจจุบันสถานที่งดงามตอนเหนือของตัวเมืองกำแพงเพชรที่ตำบลหนองปลิง สร้างตามหลักของฮวงจุ้ย มีวัดขนาดใหญ่วัดหนึ่งที่ดูสงบเงียบและงดงามและมีระเบียบ
เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 3,764
วัดพระนอน อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๒๐ – ๒๑ (พ.ศ. ๒๑๐๐ – พ.ศ. ๒๒๙๙) เป็นวัดขนาดใหญ่ที่มีแผนผังวัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ตั้งอยู่นอกเมืองทางทิศเหนือ หรือบริเวณที่เรียกว่าอรัญญิก หันหน้าไปทางทิศตะวันออก กำแพงวัดก่อด้วยศิลาแลงเฉพาะด้านทิศตะวันออกและด้านทิศใต้ หน้าวัดมีศาลา บ่อน้ำ และห้องน้ำ ภายในวัดแบ่งพื้นที่ออกเป็น ๒ ส่วน คือ เขตพุทธาวาส และเขตสังฆาวาส มีกำแพงแก้วก่อด้วยศิลาแลง สิ่งก่อสร้างสำคัญในเขตพุทธาวาสประกอบด้วย พระอุโบสถ วิหารพระนอน เจดีย์ทรงระฆังขนาดใหญ่ และมณฑปประดิษฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัย เขตสังฆาวาสตั้งอยู่ด้านเหนือของเขตพุทธาวาส เป็นบริเวณที่พักอาศัยของสงฆ์ มีกุฏิ ศาลา บ่อน้ำ และเว็จกุฎิ (ห้องส้วม) และได้พบใบเสมาหินชนวนจำหลักลวดลาย ปัจจุบันนำไปแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์สถานกำแพงเพชร
เผยแพร่เมื่อ 08-02-2017 ผู้เช้าชม 7,377
มณฑปจตุรมุข ซึ่งมีรูปแบบเหมือนดังที่พบที่วัดเชตุพนและวัดพระพายหลวง จ.สุโขทัย จากจารึกลานเงินที่พบบริเวณเจดีย์รอบมณฑปได้กล่าวไว้ว่าพระมหามุนีรัตนโมลีเป็นผู้สร้างและเสด็จพ่อพระยาสอยเป็นเจ้าเมืองกำแพงเพชรในยุคนั้น โดยโบราณสถานแห่งนี้ มีเอกลักษณ์ตรงที่แต่ละทิศเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูป 4 ปางหรือ 4 อิริยาบถ อันได้แก่ อิริยาบถยืน (ปางประทานอภัย) อิริยาบถเดิน (ปางลีลา) อิริยาบถนั่ง (ปางมารวิชัย) และอิริยาบถนอน (ปางไสยาสน์) โดยปัจจุบันเหลือเพียงอิริยาบถยืน (ปางประทานอภัย) ที่สภาพค่อนข้างสมบูรณ์กว่าอิริยาบถอื่นๆ กล่าวคือพระพักตร์เป็นลักษณะพระพุทธรูปศิลปะสุโขทัยแบบกำแพงเพชร คือพระนลาฏกว้างพระหนุเสี้ยม
เผยแพร่เมื่อ 08-02-2017 ผู้เช้าชม 9,219
สถานที่สำคัญในการศึกษาประวัติศาสตร์แห่งหนึ่งของกำแพงเพชร นอกเหนือไปจากอุทยานประวัติศาสตร์แล้ว ยังมีอีกที่หนึ่งที่รวบรวมปูชนียวัตถุ ปูชนียสถานเอาไว้ สิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่งคือเป็นถิ่นกำเนิดของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ จากตัวเมืองกำแพงเพชรใช้ถนนสายเล็กๆ หมายเลข 1084 เป็นถนนขนานกับแม่น้ำ เชื่อมต่อหลายอำเภอของกำแพงเชรและนครสวรรค์
เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 4,122
วัดดงหวายตั้งอยู่นอกกำแพงเมืองไปทางทิศเหนือ ห่างจากประตูสะพานโคมไปประมาณ 200 เมตร ปัจจุบันทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 101 กำแพงเพชร สุโขทัย ตัดผ่านด้านหลังวัด ทำให้บริเวณสังฆาวาส และเจดีย์รายบางส่วนได้หายไปกับการสร้างถนน เหตุที่เรียกว่าวัดดงหวาย เพราะสมัยที่ประชาชนเข้าไปขุดค้นพระเครื่องและพระบูชานั้น บริเวณนั้นเป็นดงหวายจริงๆ กว่าจะเข้าไปถึงเจดีย์และวิหารได้ต้องแหวกดงหวายเข้าไป รกทึบมาก จึงเรียกวัดนี้ว่าวัดดงหวาย
เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 2,239
วัดฆ้องชัย ตั้งอยู่ทางด้านหน้าหรือด้านตะวันออกของวัดพระสี่อิริยาบถ มีกำแพงวัดเฉพาะด้านตะวันตกและด้านใต้เพียงสองด้านเท่านั้น นอกกำแพงวัดด้านทิศตะวันตกและด้านใต้เพียงสองด้าน ลักษณะเด่นของฐานวิหารฆ้องชัยคือ การก่อฐานสูงเป็นเสาศิลาแลงแปดเหลี่ยม ภายในอาคารยังปรากฏแท่นอาสนสงฆ์และแท่นประดิษฐานพระประธาน ซึ่งเดิมเป็นพระพุทธรูปนั่งเจดีย์ประธานตั้งอยู่ถัดจากวิหารไปทางด้านหลัง
เผยแพร่เมื่อ 08-02-2017 ผู้เช้าชม 2,199
เป็นวัดใหม่ สร้างเมื่อประมาณปีพุทธศักราช 2500 โดยเป็นที่พักสงฆ์มาตลอด แต่เดิมมีศาลาไม้ไผ่หนึ่งหลัง และกุฏิพระเพียงหลังเดียว เมื่อปีพุทธศักราช 2510 ชาวบ้านบ่อสามแสนได้ไปอาราธนาหลวงพ่อพล กุสโล จากวัดคลองเมืองนอก ตำบลโกสัมพี อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร มาเป็นเจ้าอาวาสรูปแรก
เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 6,573
อยู่ถัดจากวัดพระสี่อิริยาบถไปทางทิศเหนือประมาณ 100 เมตร สันนิษฐานว่าใช้เวลาสร้างถึง 2 สมัย คือสมัยสุโขทัยและสมัยอยุธยา ผังรวมของวัดแบ่งเขตพุทธาวาสให้อยู่ในกลุ่มกลางล้อมรอบด้วยเขตสังฆาวาสหรือกุฏิสงฆ์ โดยมีพระเจดีย์ฐานสี่เหลี่ยม มีซุ้มทั้ง 4 ด้านเป็นประธาน ด้านหน้าเป็นพระอุโบสถขนาดใหญ่ ยกฐานประทักษิณสูง บนฐานประทักษิณนี้ ประดิษฐานพัทธสีมาไว้ทั้งแปดทิศ มุขด้านหน้าของฐานประทักษิณ มีรูปสิงห์ นาค ประดับ
เผยแพร่เมื่อ 08-02-2017 ผู้เช้าชม 3,618
วัดเชิงหวาย เป็นวัดร้าง ที่อยู่นอกเขตอุทยานประวัติศาสตร์ เป็นวัดขนาดใหญ่ มีเจดีย์ประธานทรงลังกา ที่มีรูปทรงชะลูดงดงาม ฐานมี 4 เหลี่ยม ซ้อนกัน 4 ชั้น ยอดเจดีย์พังตกลงมา มีประวัติเล่ากันต่อมาว่า ผู้ขุดค้นและทำลายเจดีย์ เมื่อ 70 ปีก่อนนั้น ได้นำหวาย ในบริเวณวัด คล้องยอดเจดีย์กับต้นไม้ขนาดใหญ่ และโค่นต้นไม้นั้น ทำให้แรงดึงของต้นไม้ทำให้ยอดเจดีย์พังตกลงมาด้วย เหตุที่เรียกว่า วัดเชิงหวาย เพราะ บริเวณนี้ อาจเป็นส่วนหนึ่งของดงหวาย
เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 2,060