วัดบ่อสามแสน
เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้ชม 3,937
[16.5100063, 99.4495505, วัดบ่อสามแสน]
วัดบ่อสามแสนเป็นวัดใหม่ สร้างเมื่อประมาณปีพุทธศักราช 2500 โดยเป็นที่พักสงฆ์มาตลอด แต่เดิมมีศาลาไม้ไผ่หนึ่งหลัง และกุฏิพระเพียงหลังเดียว เมื่อปีพุทธศักราช 2510 ชาวบ้านบ่อสามแสนได้ไปอาราธนาหลวงพ่อพล กุสโล จากวัดคลองเมืองนอก ตำบลโกสัมพี อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร มาเป็นเจ้าอาวาสรูปแรก เหตุที่เรียกว่าวัดบ่อสามแสนเพราะตั้งอยู่ที่หมู่ 6 บ้านบ่อสามแสน ด้านหน้าวัดมีบ่อศิลาแลง ขนาดใหญ่มหึมา ชาวกำแพงเพชรเรียกขานกันว่า บ่อสามแสน โดยมีตำนานว่าน้ำในบ่อมีจำนวนมาก แม้คนสามแสนคนใช้ดื่มกินก็ไม่มีวันหมด วัดใหม่จึงเรียกชื่อตามบ่อสามแสน ว่าวัดบ่อสามแสน หลวงพ่อพล กุสโล ได้ชักชวนชาวบ้านเพื่อสร้างหลวงพ่อพระนอนขึ้น เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2515 และวัดบ่อสามแสนได้รับอนุญาตให้เป็นวัดเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2525 มีเจ้าอาวาสต่อจากหลวงพ่อพลคือ หลวงพ่อยงค์ ทีฆายุโก เมื่อท่านมรณภาพ พระอาจารย์ทวี วชิรวังโส เจ้าคณะตำบลโกสัมพี มาเป็นเจ้าอาวาส จ้าอาวาสองค์ปัจจุบันคือ พระครูวชิรปัญญากร นามเดิมว่าพระอาจารย์อำนวย กรรณิกา ในปีพุทธศักราช 2538 พระครูวชิรปัญญากรได้ก่อสร้างพระอุโบสถขึ้น เป็นอุโบสถขนาดใหญ่ที่งดงาม สิ้นงบประมาณก่อสร้างไป สิบห้าล้านบาทแม้รูปลักษณ์ของหลวงพ่อพระนอน วัดบ่อสามแสน จะไม่งดงามเหมือนพระนอนที่สร้างโดยช่างหลวงก็ตามแต่ประชาชนชาวบ่อสามแสนเคารพนับถือในความศักดิ์สิทธิ์ของท่านฝีมือช่างราษฎรหรือช่างชาวบ้านก็ปั้นตามภูมิปัญญาของชาวบ้านแต่เป็นความภูมิใจที่สามารถสร้างเอกลักษณ์ของท้องถิ่นได้อย่างสมบูรณ์ชาวบ้านบ่อสามแสนจะจัดงานประเพณีไหว้พระนอน ในประมาณเดือนมีนาคม ของทุกปี ประมาณ 3 วัน 3 คืนชาวกำแพงเพชรและจังหวัดใกล้เคียงจะมาไหว้พระนอนกันอย่างมากมาย หลวงพ่อพระนอนมีขนาดใหญ่ที่สุดในจังหวัดกำแพงเพชรเมื่อท่านผ่านวัดบ่อสามแสนนอกจะแวะนมัสการหลวงพ่อพระนอนแล้วท่านจะได้มีโอกาสได้พบกับพระครูวชิรปัญญากรหรือหลวงพ่ออำนวยพระนักพัฒนาที่น่านับถืออย่างยิ่งความเป็นกำแพงเพชรความเป็นหนองปลิง ความเป็นบ่อสามแสน และความเป็นวัดบ่อสามแสน
ภาพโดย : https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=192&code_db=DB0011&code_type=F001
คำสำคัญ : วัดบ่อสามแสน
ที่มา : http://sunti-apairach.com/03/03X.htm
รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2560). วัดบ่อสามแสน. สืบค้น 29 พฤศจิกายน 2566, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=297&code_db=610009&code_type=01
Google search
การท่องเที่ยวเป็นอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญอย่างหนึ่งที่สามารถนำรายได้เข้าสู่ประเทศไทย ช่วยฟื้นฟูและพัฒนาเศรษฐกิจ สร้างความเป็นอยู่ที่ดีให้แก่ประชาชนในสังคม ในปัจจุบันอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวมีการเติบโตและแข่งขันกันสูง ทุกประเทศเริ่มนำสิ่งที่เรียกว่าวัฒนธรรมของตนเองที่เป็นอัตลักษณ์มาเป็นจุดขายในการดึงดูดนักท่องเที่ยวกันอย่างดุเดือด จังหวัดกำแพงเพชรก็เป็นอีกหนึ่งจังหวัดที่มีความโดดเด่นทางอัตลักษณ์ของศิลปวัฒนธรรม จากการได้รับขึ้นทะเบียนให้เป็นเมืองมรดกโลกจาก UNESCO โดยมีอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชรเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญทางประวัติศาสตร์เป็นจุดขาย เช่นเดียวกันกับ สุโขทัยและศรีสัชนาลัย ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเช่นเดียวกัน
เผยแพร่เมื่อ 27-06-2022 ผู้เช้าชม 477
เจดีย์ทรงปราสาท จากการวิเคราะห์องค์ประกอบส่วนต่างๆเบื้องต้นของเจดีย์วัดพระแก้ว เราได้ตั้งสมมติฐานเบื้องต้นว่าเจดีย์วัดพระแก้ว สรรคบุรีนั้นได้รับแรงบันดาลใจมาจากเจดีย์สองแบบด้วยกันเจดีย์แบบแรกคือเจดีย์ทรงปราสาทห้ายอดซึ่งมีเค้าโครงปรากฏในเจดีย์วัดพระแก้วในส่วนฐาน, เรือนธาตุสี่เหลี่ยมและสถูปยอด ส่วนเจดีย์อีกแบบหนึ่งคือเจดีย์ทรงแปดเหลี่ยมที่มีเค้าโครงปรากฏในส่วนบนของเจดีย์ตั้งแต่เรือนธาตุแปดเหลี่ยมขึ้นไปจนถึงส่วนยอด (ลายเส้นที่ ๖) ดังนั้นเพื่อที่จะตรวจสอบสมมติฐานดังกล่าว จะได้ทำการศึกษาองค์ประกอบส่วนล่างของเจดีย์ที่เกี่ยวข้องกับรูปแบบของเจดีย์ทรงปราสาทห้ายอดก่อน
เผยแพร่เมื่อ 03-04-2019 ผู้เช้าชม 2,417
หลวงพ่อศรีสรรเพชญ์วัดศรีโยธิน ที่วัดศรีโยธิน ตำบลหนองปลิง อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร เป็นวัดที่สร้างโดยรอ.ทำนอง โยธินธนสมบัติ ต่อมาท่านได้บวชและดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส นาม หลวงพ่อทำนอง คุณังกะโร เมื่อท่านสร้างวัด ท่านนิมิตว่า มีพระพุทธรูปองค์หนึ่งมาเข้านิมิตและจะมาช่วยสร้างวัด
เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 3,657
วัดรามรณรงค์ ในอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร เมืองมรดกโลก ใกล้กับวัดป่าแลง วัดหมาผี วัดตะแบก และวัดเตาหม้อ ในบริเวณนี้มีวัดที่มีชื่อที่น่าสนใจวัดหนึ่ง คือวัดรามรณรงค์
เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 1,276
เป็นวัดที่อยู่ในอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชรถ้านักท่องเที่ยวเดินทางมาจากทางวัดสิงห์แล้วให้ตรงไปตามทางจนเจอแยกให้ดูป้ายจะมีป้ายบอกว่าวัดกำแพงงามมาทางซ้ายตรงมาประมาณ 100-200 เมตร ก็จะถึงวัดกำแพงงาม วัดกำแพงงาม เป็นวัดขนาดใหญ่วัดหนึ่ง ในอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ส่วนที่สำคัญที่สุด คือมีกำแพงศิลาแลงที่มั่นคงและงดงามอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ จึงเรียกกันโดยสามัญว่า วัดกำแพงงามเพราะลักษณะของกำแพงงามนักส่วนชื่อเดิมของวัด ไม่มีผู้ใดทราบเช่นเดียวกับวัดอื่นๆ
เผยแพร่เมื่อ 16-02-2017 ผู้เช้าชม 2,530
หลวงพ่อเพชร วัดบาง เป็นหนึ่งในพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดกำแพงเพชรอีกองค์หนึ่ง ซึ่งประดิษฐานอยู่ในวิหารที่วัดบาง โดยปกตินั้นจะไม่ให้บุคคลทั่วไปเข้าไปสักการบูชา แต่ปัจจุบันได้มีการเปิดให้กับผู้ที่เลื่อมใสได้เข้าไปสักการบูชา
เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 4,099
วัดหมาผีเป็นวัดที่อยู่ในบริเวณอรัญญิกของเมืองกำแพงเพชร ตัววัดมีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมมีกำแพงศิลาแลงคั่นกลางระหว่างเขตพุทธาวาสและสังฆาวาสโดยมีคูน้ำล้อมรอบ ปัจจุบันเขตสังฆาวาสไม่ปรากฏหลักฐานของสิ่งก่อสร้าง ส่วนเขตพุทธาวาสปรากฏสิ่งก่อสร้างที่สำคัญ ได้แก่ เจดีย์ประธาน และวิหาร
เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 2,703
เป็นอีกวัดหนึ่งในอุทยานประวัติศาสตร์ที่ยังไม่ได้ไปสำรวจอย่างเป็นทางการ เมื่อศึกษาจากแผนที่แล้วจึงดั้นด้นเข้าไปสำรวจ ป้ายชื่อของวัดมะเคล็ดซึ่งเป็นป้ายขนาดใหญ่ มาหายไปทั้งหมดอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร
เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 817
วัดดงหวายตั้งอยู่นอกกำแพงเมืองไปทางทิศเหนือ ห่างจากประตูสะพานโคมไปประมาณ 200 เมตร ปัจจุบันทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 101 กำแพงเพชร สุโขทัย ตัดผ่านด้านหลังวัด ทำให้บริเวณสังฆาวาส และเจดีย์รายบางส่วนได้หายไปกับการสร้างถนน เหตุที่เรียกว่าวัดดงหวาย เพราะสมัยที่ประชาชนเข้าไปขุดค้นพระเครื่องและพระบูชานั้น บริเวณนั้นเป็นดงหวายจริงๆ กว่าจะเข้าไปถึงเจดีย์และวิหารได้ต้องแหวกดงหวายเข้าไป รกทึบมาก จึงเรียกวัดนี้ว่าวัดดงหวาย
เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 1,666
เป็นอาคารไม้ 2 ชั้น สร้างด้วยไม้สักทั้งหลัง รูปแบบไทยผสมตะวันตก ประดับด้วยไม้ฉลุลายอย่างประณีต เป็นบ้านของ พะโป้ คหบดีชาวพม่า ซึ่งมีอาชีพค้าไม้ที่บริเวณปากคลองสวนหมาก เมืองนครชุม ในสมัยรัชกาลที่ 5 โดยได้ซื้อบ้านมาจากพระยาราม ครั้งหนึ่ง สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเสด็จประพาสต้น เมืองกำแพงเพชร เมื่อปี พ.ศ. 2449 ได้เสด็จเยือนบ้านพะโป้ จนเป็นที่มาของชื่อ บ้านห้าง ร.5 ตามประวัติกล่าวว่า มองสุภอ หรือ พระยาตะก่า พี่ชายพะโป้ ได้เข้ามาขอรับเช่าทำการค้าไม้ จากพระยากำแพงเพชร (อ่อง) ในราวปลายรัชกาลที่ 4 พ.ศ. 2418 จนถึงปี พ.ศ. 2418 ได้ถึงแก่กรรม
เผยแพร่เมื่อ 16-02-2018 ผู้เช้าชม 5,202