ภูมิปัญญาการแต่งกาย : เย้า

ภูมิปัญญาการแต่งกาย : เย้า

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้ชม 2,267

[16.121008, 99.3294759, ภูมิปัญญาการแต่งกาย : เย้า]

ภูมิปัญญาการแต่งกาย
        ชาวเมี่ยนมีชื่อเสียงในเรื่องการตีเครื่องเงิน ทั้งนี้เพราะเมี่ยนนิยมใช้เครื่องประดับที่เป็นเงินเช่นเดียวกับชาวชนเผ่ากลุ่มอื่นๆ และรูปแบบเครื่องประดับแต่ล่ะชิ้น เป็นงานฝีมือปราณีต เมื่อมีงานประเพณีผู้หญิงเมี่ยนจะประดับเครื่องเงินกันอย่างเต็มที่
        การตัดเย็บการปักลายและการใช้สีในการปักลายเครื่องใช้ต่างๆ ทั้งในชีวิตประจำวัน และใช้ในพิธีกรรมต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพิธีบวช (กว๋าตัง) และพิธีแต่งงานเช่น ผ้าต้มผาเป็นผ้าคลุมวางทับโครงไว้บนศีรษะของเจ้าสาวในพิธีแต่งงานแบบใหญ่ ฯลฯ แต่ที่เมี่ยนนิยมปักลายมีผ้าห่อเด็กสะพายหลัง [ซองปุ๋ย] และถุงใส่เงิน [ย่านบั่ว] และสิ่งที่เมี่ยนนำมาตกแต่งคือ การถักเส้นด้าย คล้ายดิ้นใช้สำหรับติดปลายชายเสื้อผ้าการใช้ผ้าตัดปะเป็นวิธีการอันเก่าแก่ของเมี่ยนที่ได้ รับอิทธิพลมาจากประเทศจีนส่วนใหญ่เมี่ยนที่พันหัวแบบหัวแหลม (ก่องเปลวผาน) จะนิยมการตัดปะ ส่วนการใช้พู่ประดับสตรีเมี่ยนทุกกลุ่มจะติดพู่ก้อนกลม สีแดงเป็นแถวยาวและสร้อยลูกปัดติดพู่ห้อย อาจจะใช้ไหมพรมสีแดงจำนวนเส้นคู่ตั้งแต่ 2-8 เส้นติดที่ชายเสื้อสตรีตรงข้างเอว
        ชาวเมี่ยนให้ความสำคัญกับการแต่งกายให้เหมาะสมก่อนการทำพิธีกรรม การเย็บปักชุดจึงเป็นเรื่องของหญิงเมี่ยน ซึ่งชุดการเข้าพิธีจะคล้ายกับชุดเทวภาพเต๋า (เมี้ยน) ที่เมี่ยนนำถือ ซึ่งก่อนการเข้าพิธีบวช (ก๋วาตัง) หญิงเมี่ยนจะต้องเตรียมชุดไว้ให้พร้อมก่อนการเข้าพิธีกรรม การปักผ้าชุดของผู้เข้าพิธกรรมีที่มีลวดลายปัก มีผ้าจุ้นและเส้นต้อตาย สีที่ใช้มีสีขาวและสีแดง เป็นส่วนใหญ่นอกจากนี้อาจารย์ผู้ประกอบพิธีกรรมและผู้เข้าพิธีกรรมต้องใช้คือผ้าชนิดต่างๆมาประกอบด้วย
 
ลักษณะการแต่งกายของผู้ชาย
         
ประกอบไปด้วยเสื้อตัวสั้นหลวม คอกลมชิ้นหน้าห่ออกอ้อมไปติดกระดุมลูกตุ้มเงินถึงสิบเม็ด เป็นแถวทางด้านขวาของร่างในบางที่อาจนิยม ปักลายดอกที่ผืนผ้าด้วย แล้วสวมกับกางเกงขาก๊วยทั้งเสื้อ และกางเกงตัดเย็บด้วยผ้าฝ้ายทอมือย้อมครามสีน้ำเงิน หรือย้อมดำคนรุ่นเก่ายังสวมเสื้อกำมะหยี่ในงานพิธี แต่ยิ่งอายุมากขึ้นเสื้อของชายเมี่ยนก็จะลดสีสันลงทุกทีจนเรียบสนิท ในวัยชราบุรุษเมี่ยนจะใช้ผ้าโพกศีรษะในงานพิธีเท่านั้น เครื่องแต่งกายเด็ก ทั้งเด็กหญิงและเด็กชายจะมีการแต่งกายที่คล้ายกับแบบฉบับของการแต่งกายผู้ใหญ่ทั้งหญิง และชาย เพียงแต่เครื่องแต่งกาย ของเด็กจะมีสีสันน้อยกว่าบ้าง เช่น เด็กหญิงอาจจะยังไม่ปักกางเกงให้ เพราะยังไม่สามารถรักษาหรือดูแลให้สะอาดได้ จึงเป็นการสวมกางเกง เด็กธรรมดาทั่วไป ส่วนเด็กชายก็เหมือนผู้ใหญ่ คือ มีเสื้อกับกางเกงและที่ไม่เหมือนคือเด็กชายจะมีหมวกเด็ก ซึ่งทั้งเด็กหญิงและเด็กชายจะมีการปักก็มีลักษณะคล้ายกัน แต่หมวกเด็กผู้ชายจะเย็บด้วยผ้าดำสลับผ้าแดง เป็นเฉกประดับด้วยผ้าตัดเป็นลวดลายขลิบริมด้วยแถบไหมขาวติดปุยไหมพรมแดงบนกลางศีรษะ หรือมีลายเส้นหนึ่งแถวและลายปักหนึ่งแถวสลับกันอย่างละสองแถว สำหรับหมวกเด็กหญิงมีลายปักเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งแถว หรือสองแถวและจะมีผ้าดำปักลวดลายประดับไหมพรมสีแดงสดบนกลางศีรษะและข้างหู

ลักษณะการแต่งกายของผู้หญิง
         
ประกอบไปด้วยกางเกงขาก๊วย ซึ่งเต็มไปด้วยลายปักเสื้อคลุมตัวยาวถึงข้อเท้า มีไหมพรมอยู่รอบคอ ผ้าคาดเอวและผ้าโพกศีรษะ การพันศีรษะต้องพันศีรษะ ด้วยผ้าพื้นเป็นชั้นแรก จากนั้นก็มาพันชั้นนอกทับอีกที การพันชั้นนอกจะใช้ผ้าพันลายปัก ซึ่งมีลักษณะการพันสองแบบคือแบบหัวโต (ก่องจุ้น) และแบบหัวแหลม (ก่องเปลวผาน) และผ้านี้จะพันไว้ตลอดแม้ในเวลานอน หญิงเมี่ยนนุ่งกางเกงขาก๊วยสีดำด้านหน้ากางเกง เป็นลายปักที่ละเอียด และงดงามมาก ลวดลายนี้ใช้เวลาปัก 1 - 5 ปีขึ้นอยู่กับความละเอียดของลวดลาย และเวลาว่างของผู้ปักเป็นสำคัญ ด้วยเหตุนี้หญิงเมี่ยนจึงอวดลายปักของตน ด้วยการรวบปลายเสื้อที่ผ่าด้านข้างทั้งสองมามัดด้านหลัง และใช้ผ้าอีกผืนหนึ่งทำหน้าเป็นเข็มขัดทับเสื้อ และกางเกงอีกรอบหนึ่ง โดยทิ้งชายเสื้อซึ่งปักลวดลายไว้ข้างหลัง การตัดเย็บจะตัดเย็บด้วยผ้าฝ้ายพื้นสีดำ ยกเว้นเสื้อคลุมซึ่งอาจใช้ผ้าทอเครื่องในบางกรณี การปักลายของเมี่ยนตามบางท้องถิ่นอาจเหมือนหรือแตกต่างกันบ้างตามความนิยม

คำสำคัญ : เครื่องแต่งกาย ชุดประจำชนเผ่า

ที่มา : http://www.openbase.in.th/node/5466

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2560). ภูมิปัญญาการแต่งกาย : เย้า. สืบค้น 1 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?code_db=610007&code_type=02&nu=pages&page_id=414

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=414&code_db=610007&code_type=02

Google search

Mic

ลายปักชุดชาวเขา

ลายปักชุดชาวเขา

ลายดาว เป็นลายผ้าทอของชาวเผ่าม้ง เป็นลายผ้าที่ชาวม้งส่วนใหญ่นิยมใส่กัน เป็นลายที่มีคล้ายดวงดาวบนท้องฟ้า จะมีกลีบเล็กกลีบใหญ่ออกมาเหมือนดวงดาว แล้วแต่คนชอบของลาย และอยู่ที่ความคิดสร้างสรรค์ของแต่ละคน

เผยแพร่เมื่อ 08-03-2017 ผู้เช้าชม 1,591

ลายผ้ากะเหรี่ยง

ลายผ้ากะเหรี่ยง

ลายผ้าทอกะเหรี่ยงโบราณมาจากผู้ทำลายชื่อ นางมึเอ โดยนางจะทอผ้าอยู่ในถ้ำ ซึ่งมีอยู่วันหนึ่งมีงูเหลือมเข้าไปในถ้ำนางมึเอเห็นลายงูเหลือมจึงได้นำลายของงูเหลือมมาทอเป็นลายในผืนผ้า และต่อมาก็ได้มีการดัดแปลงจนเกิดเป็นลวดลายต่างในปัจจุบัน ซึ่งส่วนใหญ่ลวดลายนั้นจะมาจากการมองดูธรรมชาติรอบๆตัวแล้วนำมาดัดแปลงให้เป็นลวดลายในผืนผ้า โดยการยกเขา 4 เขา เป็นกะเหรี่ยงลายดั้งเดิมตั้งแต่นั้นมา

เผยแพร่เมื่อ 27-02-2017 ผู้เช้าชม 4,867

ภูมิปัญญาการแต่งกาย : มูเซอ

ภูมิปัญญาการแต่งกาย : มูเซอ

ลาหู่ หรือ มูเซอ อาศัยอยู่ในประเทศจีน เมื่อถูกรุกรานจึงอพยพมาทางตอนใต้เข้าสู่ประเทศพม่า และทางเหนือของประเทศไทย เมื่อกว่า 13 ปีมาแล้ว โดยเข้ามาทางอำเภอแม่จัน อำเภอเชียงแสน อำเภอเชียงของ อำเภอเวียงป่าเป้า อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย, อำเภอฝาง อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่, และอำเภอบางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน มีเพียงส่วนน้อยที่มาจากอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก มูเซอที่รู้จักกันมาก ได้แก่ มูเซอดำ มูเซอแดง มีวัฒนธรรมประเพณีคล้ายคลึงกัน มูเซอ เป็นภาษาพม่า แปลว่า นายพราน เนื่องจากมีความชำนาญในการล่าสัตว์โดยใช้หน้าไม้ ภาษาอังกฤษ เรียกว่า ลาฮู ในกลุ่มมูเซอดำ เรียกว่า ลาฮูนา มูเซอแดง เรียกว่า ลาฮูยี

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 5,641

ลายอ๊ะหน่ายือ (ฟันหมา)

ลายอ๊ะหน่ายือ (ฟันหมา)

อ๊ะหน่ายือ เป็นภาษาชนเผ่าลีซอ มีความหมายในภาษาไทยหมายถึง ฟันหมา  (สุนัข) เป็นลวดลายโบราณ ดั้งเดิมที่บรรพบุรุษชาวลีซอเลียนแบบรูปร่างของฟันสุนัข ลักษณะของลวดลายมีลักษณะเป็นสามเหลี่ยมเล็กๆ เย็บ เรียงต่อกันเป็นแถวยาว การสร้างลวดลายทําได้โดยการการนําผ้าที่ตัดเป็นชิ้นเล็กๆ พับเป็นสามเหลี่ยม นํามาเย็บ ติดกันต่อเนื่องกันเป็นสามเหลี่ยมซิกแซกดูคล้ายฟันของสุนัข

เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 1,036

ลายทูต๊ะ

ลายทูต๊ะ

ในอดีตการปักผ้าม้งบริเวณต่างๆ เหล่านี้เป็นสิ่งที่ผู้หญิงเผ่าม้งจะต้องทำเป็นทุกคน และต้องทำใส่เอง ถ้าใครทำไม่เป็นก็จะไม่มีเสื้อผ้าใส่ ทุกปีผู้หญิงม้งจะปักเสื้อผ้าอย่างน้อย 1 ชุดไว้ใส่ครั้งแรกในงานสำคัญหรือในช่วงปีใหม่ก็จะใส่ชุดใหม่กัน บางปีก็จะได้แค่ชุดเดียว และปักกับสามี ลูกชาย ด้วยเพราะผู้ชายจะไม่ปักผ้า แต่ถ้าเป็นชาวม้งภาคกลางหรือบางกลุ่มจะปักทั้งผู้ชายและผู้หญิง

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 655

กระทงเปลือกข้าวโพด ตำบลลานดอกไม้ตก อำเภอโกสัมพีนคร จังหวัดกำแพงเพชร

กระทงเปลือกข้าวโพด ตำบลลานดอกไม้ตก อำเภอโกสัมพีนคร จังหวัดกำแพงเพชร

การทำกระทงเปลือกข้าวโพดของตำบลลานดอกไม้ตก อำเภอโกสัมพีนคร จังหวัดกำแพงเพชร ทำจากวัสดุธรรมชาติที่ถูกทิ้งหลังจาการเก็บเกี่ยวทางการเกษตรจากการปลูกข้าวโพด เนื่องจากมีอยู่มากจึงมีปัญหาเกิดการเผาเปลือกข้าวโพด การนำเปลือกข้าวโพดไปทิ้งตามแม่น้ำจึงเกิดผลเสียต่างๆ ทั้งผลเสียจากมลพิษทางอากาศและน้ำเน่าเสีย ชาวบ้านจึงนำเปลือกข้าวโพดมาแปรรูปทำกระทง จากภูมิปัญญาชาวบ้านที่มีฝีมือจากการเย็บบายศรีจากใบตอง มาเย็บเปลือกข้าวโพด นำเปลือกข้าวโพดไปตากแห้งย้อมสีให้สวยงามแล้วนำมาขึ้นรูปต่อกันจนเกิดเป็นรูปร่างตามต้องการ การนำดอกหญ้าแห้งที่มีอยู่ในพื้นที่มาย้อมสีและตกแต่งจนเกิดความสวยงามเป็นความแปลกใหม่และเป็นที่นิยมต่อความต้องการของลูกค้าจนเกิดเป็นการสร้างรายได้ให้กับคนในชุมชน 

เผยแพร่เมื่อ 02-06-2022 ผู้เช้าชม 4,881

ลายขิด

ลายขิด

ลายขิด คือ การทอผ้าให้ลวดลายที่ปรากฏเหมือนกันทั้งผืน ลักษณะลายแบบยกดอกในตัว กะเหรี่ยงสะกอนิยมทอผ้าลายขิดเพื่อเย็บเป็นผ้าถุงสำหรับหญิงที่แต่งงานแล้ว ผ้าทอลายขิดของกะเหรี่ยงมีลักษณะคล้ายของชาวอีสาน แต่ลวดลายซับซ้อนน้อยกว่า กะเหรี่ยงนิยมทอลายขิดและใช้ด้ายสลับสีซึ่งแตกต่างจากของ ชาวอีสานที่ไม่นิยมใช้ด้ายสลับสี

เผยแพร่เมื่อ 27-02-2017 ผู้เช้าชม 1,493

ลายเรียบ

ลายเรียบ

ในการแต่งกายของชนเผ่ากระเหรี่ยง จะมีทั้งเสื้อกระเหรี่ยงชาย สำหรับผู้ชาย เสื้อกระเหรี่ยงหญิงสาวที่ยังไม่แต่งงานจะเป็นชุดสุ้มหล้อง หรือชุดยาวเป็นเสื้อกระโปรงในตัวเดียวกัน ส่วนหญิงที่แต่งงานแล้วจะใส่เสื้อผ้าทอที่มีการปักมะเดือยให้มีลวดลายสวยงาม โดยจะใส่คู่กับผ้าถุงที่เย็บจากผ้าทอในลวดลายและรูปแบบของชนเผ่า กระเหรี่ยงที่เรียกว่า ผ้าซิ่นกระเหรี่ยงแต่เดิม เครื่องนุ่งห่ม เครื่องแต่งกายของชนเผ่า จะเป็นแบบดั้งเดิม ไม่มีลวดลาย สีสัน เช่น เสื้อเม็ดมะเดือย, ผ้าถุง จะมีลายเดิมที่คิดค้นเอง คือลายดอก,ลายตะเคียน,ลายโซ่, เสื้อกระเหรี่ยงชาย ลวดลายจะมีสีขาว- แดงเท่านั้น และไม่มีชายเสื้อชุดสุ้มหล้อง จะไม่มีลวดลาย สีขาวล้วนธรรมชาติ กางเกงผู้ชาย จะไม่มีลวดลายสีขาวธรรมชาติ

เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 708

ภูมิปัญญาการแต่งกาย : กระเหรี่ยง

ภูมิปัญญาการแต่งกาย : กระเหรี่ยง

กะเหรี่ยงเป็นชนเผ่าที่จัดได้ว่ามีหลายเผ่าพันธุ์ หลายภาษา มีการนับถือศาสนาที่ต่างกัน แต่กะเหรี่ยงดั้งเดิมจะนับถือผี เชื่อเรื่องต้นไม้ป่าใหญ่ ภายหลังหันมานับถือพุทธ คริสต์ เป็นต้น กะเหรี่ยง มีถิ่นฐานตั้งอยู่ที่ประเทศพม่า แต่หลังจากถูกรุกรานจากสงคราม จึงมีกะเหรี่ยงที่อพยพเข้ามาอาศัยอยู่ประเทศไทย กะเหรี่ยงที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย แบ่งออกได้เป็น 4 ประเภท แบ่งออกเป็นกลุ่มย่อย กะเหรี่ยงสะกอ หรือที่เรียกนามตัวเองว่า ปากะญอ หมายถึงคน หรือมนุษย์นั้นเอง กะเหรี่ยงสะกอเป็นกลุ่มที่มีจำนวนมากที่สุด มีภาษาเขียนเป็นของตนเอง โดยมีมิชชันนารีเป็นผู้คิดค้นดัดแปลงมาจากตัวหนังสือพม่า ผสมภาษาโรมัน กลุ่มนี้หันมานับถือศาสนาคริสต์เป็นส่วนใหญ่ กะเหรี่ยงโปร์นั้นเป็นกลุ่มที่ค่อนข้างเคร่งครัดในประเพณี อาศัยอยู่มากที่อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ และแถบตะวันตกของประเทศไทย คือ กะเหรี่ยงบเว อาศัยอยู่มากที่อำเภอขุนยวม แม่ฮ่องสอน ส่วนปะโอ หรือตองสูก็มีอยู่บ้าง แต่พบน้อยมากในประเทศไทย

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 12,495

เผ่าถิ่น

เผ่าถิ่น

ถิ่นจัดอยู่ในสาขามอญ-เขมร ซึ่งอยู่ในกลุ่มภาษาออสโตรเอเชียติค มี 2 กลุ่มย่อยคือ ถิ่น คมาลหรือมาล และถิ่นคลำไปร๊ต์หรือไปร๊ต์ ถิ่นทั้ง 2 กลุ่มนี้ มีความแตกต่างกันในภาษาพูดและขนบธรรมเนียมประเพณีส่วนการตั้งถิ่นฐานและการแต่งกายเหมือนๆ กัน ถิ่นอพยพเข้ามาในประเทศไทยเมื่อ 60-80 ปีมานี้ โดยอพยพมาจากแขวงไชยบุรี ประเทศลาว เข้าสู่ประเทศไทยทิศตะวันออกเฉียงเหนือของจังหวัดน่าน ถิ่นในประเทศไทยอาศัยอยู่ในจังหวัดน่าน เพชรบูรณ์ และเลย

เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 1,476