เผ่าถิ่น

เผ่าถิ่น

เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้ชม 1,341

[16.121008, 99.3294759, เผ่าถิ่น]

ถิ่นผลิตเพื่อการยังชีพไปวันๆ หนึ่ง การเพาะปลูกจึงเป็นอาชีพที่สำคัญ โดยเฉพาะการปลูกข้าวไร่เพื่อให้พอกินตลอดปี จึงทำให้ถิ่นต้องมีพิธีเลี้ยงผีหลายครั้ง เพื่อให้ผลผลิตมากพอกิน ส่วนการผลิตเพื่อนำเงินสดนั้น ถิ่นจะหาได้จากการล่าสัตว์ หรือขายสัตว์เลี้ยง การรับจ้างและการหาของป่าไปขาย นอกจากข้าวไร่ที่ปลูกกันทุกหมู่บ้านแล้ว มีบางหมู่บ้านเริ่มทำนาดำบ้าง ส่วนพืชอื่นๆ นั้น มีข้าวโพด ข้างฟ่าง และพืชผักต่างๆ บางหมู่บ้านมีการเก็บเกี่ยวชาป่าทำเมี่ยงเพื่อขายต่อไป และบางหมู่บ้านแถบตำบลบ่อเกลือเหนือ และบ่อเกลือใต้ มีการทำเกลือเพื่อขายให้คนในหมู่บ้านใกล้เคียงอีกด้วย ถิ่นมีความสามารถเฉพาะเผ่าของตนอีกอย่างหนึ่งคือ การจักสานเสื่อหญ้าสามเหลี่ยม โดยจะนำหญ้าสามเหลี่ยมมาสานผสมกับใบตองจิงทำให้มีลวดลายที่สวยงาม สัตว์เลี้ยงที่นิยมเลี้ยงมี ไก่ หมู เพื่อใช้ประกอบพิธีกรรม และยังสามารถขายลูกหมูเป็นรายได้อีกด้วย สุนัขเลี้ยงไว้เฝ้าบ้าน และช่วยในการล่าสัตว์ วัว ควาย เลี้ยงไว้เพื่อขายแก่คนพื้นราบ หรือเพื่อให้เช่าไปทำการไถนา

ภาพโดย :  https://sites.google.com/site/deevaku/phea-thin

คำสำคัญ : เครื่องแต่งกาย ชุดประจำชนเผ่า

ที่มา : https://sites.google.com/site/deevaku/phea-thin

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2560). เผ่าถิ่น. สืบค้น 19 มีนาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=500&code_db=610007&code_type=02

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=500&code_db=610007&code_type=02

Google search

Mic

ลาย 7 สี

ลาย 7 สี

ชาวเขาเผ่าเมี่ยน หรือเย้า กับศิลปะการปักผ้านั้น มีความผูกพันเชื่อมโยงกับตำนานกำเนิดของชาวเมี่ยน ที่บรรพบุรุษได้เล่าสืบทอดต่อเนื่องมาถึงลูกหลานในปัจจุบันตำนานกำเนิดชาวเมี่ยนได้กล่าวไว้ว่า เมื่อหลายพันปีก่อนมีเทวดามาจุติในโลกมนุษย์เป็นสุนัขมังกรชื่อว่า ผันตาหู ในเวลานั้นบ้านเมืองเกิดกบฏ พระราชาจึงประกาศว่าหากใครสามารถปราบกบฏได้ จะให้แต่งงานกับลูกสาวของตน ผันตาหูได้ยินดังนั้นจึงเข้าอาสาช่วยปราบกบฏให้พระราชาจนสำเร็จ 

เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 1,317

ลายอ๊ะหน่ายือ (ฟันหมา)

ลายอ๊ะหน่ายือ (ฟันหมา)

อ๊ะหน่ายือ เป็นภาษาชนเผ่าลีซอ มีความหมายในภาษาไทยหมายถึง ฟันหมา  (สุนัข) เป็นลวดลายโบราณ ดั้งเดิมที่บรรพบุรุษชาวลีซอเลียนแบบรูปร่างของฟันสุนัข ลักษณะของลวดลายมีลักษณะเป็นสามเหลี่ยมเล็กๆ เย็บ เรียงต่อกันเป็นแถวยาว การสร้างลวดลายทําได้โดยการการนําผ้าที่ตัดเป็นชิ้นเล็กๆ พับเป็นสามเหลี่ยม นํามาเย็บ ติดกันต่อเนื่องกันเป็นสามเหลี่ยมซิกแซกดูคล้ายฟันของสุนัข

เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 942

ลายตะโก๊ะเหล่

ลายตะโก๊ะเหล่

ตะโก๊ะเหล่ เป็นลวดลายกะเหรี่ยงที่ใช้กันทั้งกะเหรี่ยงโปและสะกอ ซึ่งสามารถพัฒนาลวดลายต่างๆได้ เช่น ลายตา ลายโค้ง กรรไกร ฯลฯ

เผยแพร่เมื่อ 27-02-2017 ผู้เช้าชม 1,379

ลายทูต๊ะ

ลายทูต๊ะ

ในอดีตการปักผ้าม้งบริเวณต่างๆ เหล่านี้เป็นสิ่งที่ผู้หญิงเผ่าม้งจะต้องทำเป็นทุกคน และต้องทำใส่เอง ถ้าใครทำไม่เป็นก็จะไม่มีเสื้อผ้าใส่ ทุกปีผู้หญิงม้งจะปักเสื้อผ้าอย่างน้อย 1 ชุดไว้ใส่ครั้งแรกในงานสำคัญหรือในช่วงปีใหม่ก็จะใส่ชุดใหม่กัน บางปีก็จะได้แค่ชุดเดียว และปักกับสามี ลูกชาย ด้วยเพราะผู้ชายจะไม่ปักผ้า แต่ถ้าเป็นชาวม้งภาคกลางหรือบางกลุ่มจะปักทั้งผู้ชายและผู้หญิง

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 564

ภูมิปัญญาการแต่งกาย : มูเซอ

ภูมิปัญญาการแต่งกาย : มูเซอ

ลาหู่ หรือ มูเซอ อาศัยอยู่ในประเทศจีน เมื่อถูกรุกรานจึงอพยพมาทางตอนใต้เข้าสู่ประเทศพม่า และทางเหนือของประเทศไทย เมื่อกว่า 13 ปีมาแล้ว โดยเข้ามาทางอำเภอแม่จัน อำเภอเชียงแสน อำเภอเชียงของ อำเภอเวียงป่าเป้า อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย, อำเภอฝาง อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่, และอำเภอบางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน มีเพียงส่วนน้อยที่มาจากอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก มูเซอที่รู้จักกันมาก ได้แก่ มูเซอดำ มูเซอแดง มีวัฒนธรรมประเพณีคล้ายคลึงกัน มูเซอ เป็นภาษาพม่า แปลว่า นายพราน เนื่องจากมีความชำนาญในการล่าสัตว์โดยใช้หน้าไม้ ภาษาอังกฤษ เรียกว่า ลาฮู ในกลุ่มมูเซอดำ เรียกว่า ลาฮูนา มูเซอแดง เรียกว่า ลาฮูยี

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 5,306

ลายฟูยิ้งเฉอะอิ้งขิ (หน้าท้องงูเขียว)

ลายฟูยิ้งเฉอะอิ้งขิ (หน้าท้องงูเขียว)

ฟูยิ้งเฉอะอิ้งขิเป็นภาษาชนเผ่าลีซอ ในภาษาไทยอาจหมายถึง หน้าท้องงูเขียว เป็นชื่อเรียกลวดลายโบราณ ดั้งเดิมที่มีการสืบทอดต่อเนื่องกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ รูปร่างของลวดลายหน้าท้องงูเขียวนี้มีลักษณะดูคล้ายรูปสี่เหลี่ยม เย็บปะติดซ้อนต่อกันสองชั้น

เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 757

กระทงเปลือกข้าวโพด ตำบลลานดอกไม้ตก อำเภอโกสัมพีนคร จังหวัดกำแพงเพชร

กระทงเปลือกข้าวโพด ตำบลลานดอกไม้ตก อำเภอโกสัมพีนคร จังหวัดกำแพงเพชร

การทำกระทงเปลือกข้าวโพดของตำบลลานดอกไม้ตก อำเภอโกสัมพีนคร จังหวัดกำแพงเพชร ทำจากวัสดุธรรมชาติที่ถูกทิ้งหลังจาการเก็บเกี่ยวทางการเกษตรจากการปลูกข้าวโพด เนื่องจากมีอยู่มากจึงมีปัญหาเกิดการเผาเปลือกข้าวโพด การนำเปลือกข้าวโพดไปทิ้งตามแม่น้ำจึงเกิดผลเสียต่างๆ ทั้งผลเสียจากมลพิษทางอากาศและน้ำเน่าเสีย ชาวบ้านจึงนำเปลือกข้าวโพดมาแปรรูปทำกระทง จากภูมิปัญญาชาวบ้านที่มีฝีมือจากการเย็บบายศรีจากใบตอง มาเย็บเปลือกข้าวโพด นำเปลือกข้าวโพดไปตากแห้งย้อมสีให้สวยงามแล้วนำมาขึ้นรูปต่อกันจนเกิดเป็นรูปร่างตามต้องการ การนำดอกหญ้าแห้งที่มีอยู่ในพื้นที่มาย้อมสีและตกแต่งจนเกิดความสวยงามเป็นความแปลกใหม่และเป็นที่นิยมต่อความต้องการของลูกค้าจนเกิดเป็นการสร้างรายได้ให้กับคนในชุมชน 

เผยแพร่เมื่อ 02-06-2022 ผู้เช้าชม 4,629

ลายเรียบ

ลายเรียบ

ในการแต่งกายของชนเผ่ากระเหรี่ยง จะมีทั้งเสื้อกระเหรี่ยงชาย สำหรับผู้ชาย เสื้อกระเหรี่ยงหญิงสาวที่ยังไม่แต่งงานจะเป็นชุดสุ้มหล้อง หรือชุดยาวเป็นเสื้อกระโปรงในตัวเดียวกัน ส่วนหญิงที่แต่งงานแล้วจะใส่เสื้อผ้าทอที่มีการปักมะเดือยให้มีลวดลายสวยงาม โดยจะใส่คู่กับผ้าถุงที่เย็บจากผ้าทอในลวดลายและรูปแบบของชนเผ่า กระเหรี่ยงที่เรียกว่า ผ้าซิ่นกระเหรี่ยงแต่เดิม เครื่องนุ่งห่ม เครื่องแต่งกายของชนเผ่า จะเป็นแบบดั้งเดิม ไม่มีลวดลาย สีสัน เช่น เสื้อเม็ดมะเดือย, ผ้าถุง จะมีลายเดิมที่คิดค้นเอง คือลายดอก,ลายตะเคียน,ลายโซ่, เสื้อกระเหรี่ยงชาย ลวดลายจะมีสีขาว- แดงเท่านั้น และไม่มีชายเสื้อชุดสุ้มหล้อง จะไม่มีลวดลาย สีขาวล้วนธรรมชาติ กางเกงผู้ชาย จะไม่มีลวดลายสีขาวธรรมชาติ

เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 633

ภูมิปัญญาการแต่งกาย : ลัวะ

ภูมิปัญญาการแต่งกาย : ลัวะ

ชาวลัวะ มีขนบธรรมเนียมเครื่องแต่งกายต่างกับชาวเหนือ ผู้ชายนุ่งผ้าพื้นโจงกระเบนหรือโสร่ง ผู้หญิงสวมเสื้อสีดำผ่าอกแขนยาว ปักเป็นแผ่นใหญ่ที่หน้าอกตามแถวกระดุม และแถวรังดุมรอบคอ ปักที่ชายแขนเสื้อตรงข้อมือทั้งสองข้างและที่ใต้ตะโพกรอบเอวด้วยดิ้นเลื่อม ไหมเงินคล้ายเสื้อขุนนางไทยโบราณ ผ้าซิ่นติดผ้าขาวสลับดำเล็ก ๆ ตอนกลางเป็นริ้วลาย ชายซิ่นติดผ้าสีดำกว้างประมาณ 1 ศอก ตามปกติผู้หญิงอยู่บ้านไม่ค่อยสวมเสื้อชอบเปิดอกเห็นถัน

เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 3,528

ลายกาบาท

ลายกาบาท

ลวดลายบนผืนผ้าแต่ละผืนจะมีความแตกต่างกันไปตามแต่ความชํานาญของผู้วาด ลวดลายมีทั้งลาย ดั้งเดิมที่สืบทอดต่อๆ กันมา และลวดลายทเกี่ ิดจากจิตนาการ การสร้างสรรค์ใหม่ๆ แต่กระนั้นก็ยังมีลักษณะ ลวดลายที่สะทอนความเป ้ ็นชนเผ่าม้งให้ปรากฎอยู่บนผืนผ้าแต่ละผืน เชน่ ลายกากบาท ลายก้นหอย

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 897