ภูมิปัญญาการแต่งกาย : มูเซอ

ภูมิปัญญาการแต่งกาย : มูเซอ

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้ชม 5,429

[16.121008, 99.3294759, ภูมิปัญญาการแต่งกาย : มูเซอ]

ภูมิปัญญาการแต่งกาย
        ลักษณะการแต่งกายของชนเผ่าลาหู่ หรือ มูเซอ
ชาวลาหู่ในแต่กลุ่มมีเครื่องแต่งกายที่เป็นลักษณะเฉพาะตัวในด้านสีสัน และผ้าของลาหู่ใช้ผ้าสีดำ หรือผ้าสีฟ้าและสีแดง ซึ่งขึ้นอยู่กับว่าลาหู่กลุ่มใด และตกแต่งด้วยผ้าหลายสีเป็นลวดลายสวยงาม รูปแบบของเสื้อลาหู่จึงแตกต่างกันไปตามกลุ่ม แต่ทุกกลุ่มจะนุ่งซิ่นเช่นเดียวกัน รูปแบบของเสื้อผู้หญิง จะเป็นเสื้อแขนยาวตัวสั้นแค่เอว ตกแต่งด้วยผ้าหลากสีและเครื่องเงิน สำหรับเสื้อผ้าของผู้ชายลาหู่ ทั้งเสื้อและกางเกงจะใช้ผ้าสีดำและใช้ผ้าสีต่างๆ ลวดลายที่สวยงามเหมือนของผู้หญิง
         ชาวลาหู่ในสมัยก่อนเวลามีการประกอบพิธีกรรมทางศาสนาก็จะมีการสวมใส่ชุดประจำเผ่าเสมอ แต่มาถึงปัจจุบัน การใส่ชุดประจำเผ่าในชนเผ่าลาหู่เริ่มหาดูได้ยาก เนื่องจากการพัฒนาของสังคมเมือง ทำให้ค่านิยมในการใส่เสื้อเปลี่ยนไป หันไปใส่เสื้อผ้าแบบทันสมัยใหม่ เช่นกางเกงยีนต์ เสื้อยีนต์เป็นต้น เพราะว่ามีการวางขายตามร้านทั่วไป ส่วนชุดชนเผ่าหาได้ยาก อีกอย่างสังคมไม่ยอมรับ เมื่อใส่ชุดชนเผ่าเข้าในเมือง กลับถูกมองเหมือนตัวประหลาดตัวหนึ่ง จึงทำให้เด็กรุ่นใหม่ไม่ชอบใส่ชุดประจำเผ่ากัน เพราะว่าอายคนในเมืองและ บางคนคิดว่าเขามีการพัฒนาพอที่จะแยกแยะออกว่า ควรใส่ช่วงเวลาไหนและไม่ควรใส่ช่วงเวลาไหน

ลักษณะการแต่งกายของผู้ชาย

         ลักษณะการแต่งกายของผู้ชายคือสวมใส่เสื้อแขนยาวสีดำ ประัดับด้วยเม็ดโลหะเงินและลายปักต่างๆ ส่วนกางเกงใช้สีดำ สีเขียว สีฟ้า เย็บปักด้วยมือที่สวยงาม
         มูเซอแดง: จะสวมเสื้อสีดำ ผ่าอกกลาง กระดุมโลหะเงิน หรือกระดุมเปลือกหอย กางเกงจีนสีดำหลวมๆ ยาวลงไปแค่เข่าหรือใต้เข่าเล็กน้อย
         มูเซอดำ: จะสวมกางเกงขาก๊วยสีดำ เสื้อสีน้ำเงินแขนยาวผ่าหน้าป้ายข้าง สั้นแค่บั้นเอว
ลักษณะการแต่งกายของผู้หญิง
         ลักษณะการแต่งกายของผู้หญิงคือสวมใส่เสื้อแขนยาว สวมผ้าถุงยาวถึงข้อเท้า ตกแต่งด้วยแถบผ้าสีต่างๆและ มีเม็ดอลูมิเนียมเล็กๆ เย็บติดเสื้อ และมีสวดลายต่างๆ แปะติดไว้ด้านหน้าและด้านหลังอย่างสวยงาม
         มูเซอแดง: จะสวมเสื้อตัวสั้นสีดำ แขนยาว ผ่าอก ติดแถบผ้าสีแดงที่สาบเสื้อ รอบชายเสื้อและแขน ตกแต่งเสื้อด้วยกระดุมเงิน ส่วนผ้าซิ่นใช้สีดำเป็นพื้น มีลายสีต่างๆ สลับกันอยู่ที่เชิงผ้าโดยเน้นสีแดงเป็นหลัก
         มูเซอดำ: จะแต่งกายด้วยเสื้อแขนยาว ตัวเสื้อยาวถึงครึ่งน่อง ผ่ากลางตลอดตัวขลิบชายเสื้อและตกแต่งตัวเสื้อด้วยผ้าสีขาว นุ่งกางเกงขาก๊วยสีดำ โพกศีรษะด้วยผ้าดำยาว และปล่อยชายผ้าห้อยไปข้างหลังยาวประมาณ 1 ฟุต ปัจจุบันใช้ผ้าเช็ดตัวโพกศีรษะแทน ใช้ผ้าสีดำพันแข้ง

ภาพโดย :  http://www.sawadee.co.th/thailand/hilltribes/lahu.html

คำสำคัญ : เครื่องแต่งกาย ชุดประจำชนเผ่า

ที่มา : http://www.sawadee.co.th/thailand/hilltribes/lahu.html

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2560). ภูมิปัญญาการแต่งกาย : มูเซอ. สืบค้น 26 เมษายน 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=425&code_db=610007&code_type=02

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=425&code_db=610007&code_type=02

Google search

Mic

ลายกาบาท

ลายกาบาท

ลวดลายบนผืนผ้าแต่ละผืนจะมีความแตกต่างกันไปตามแต่ความชํานาญของผู้วาด ลวดลายมีทั้งลาย ดั้งเดิมที่สืบทอดต่อๆ กันมา และลวดลายทเกี่ ิดจากจิตนาการ การสร้างสรรค์ใหม่ๆ แต่กระนั้นก็ยังมีลักษณะ ลวดลายที่สะทอนความเป ้ ็นชนเผ่าม้งให้ปรากฎอยู่บนผืนผ้าแต่ละผืน เชน่ ลายกากบาท ลายก้นหอย

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 933

เผ่าถิ่น

เผ่าถิ่น

ถิ่นจัดอยู่ในสาขามอญ-เขมร ซึ่งอยู่ในกลุ่มภาษาออสโตรเอเชียติค มี 2 กลุ่มย่อยคือ ถิ่น คมาลหรือมาล และถิ่นคลำไปร๊ต์หรือไปร๊ต์ ถิ่นทั้ง 2 กลุ่มนี้ มีความแตกต่างกันในภาษาพูดและขนบธรรมเนียมประเพณีส่วนการตั้งถิ่นฐานและการแต่งกายเหมือนๆ กัน ถิ่นอพยพเข้ามาในประเทศไทยเมื่อ 60-80 ปีมานี้ โดยอพยพมาจากแขวงไชยบุรี ประเทศลาว เข้าสู่ประเทศไทยทิศตะวันออกเฉียงเหนือของจังหวัดน่าน ถิ่นในประเทศไทยอาศัยอยู่ในจังหวัดน่าน เพชรบูรณ์ และเลย

เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 1,380

ลายตะโก๊ะเหล่

ลายตะโก๊ะเหล่

ตะโก๊ะเหล่ เป็นลวดลายกะเหรี่ยงที่ใช้กันทั้งกะเหรี่ยงโปและสะกอ ซึ่งสามารถพัฒนาลวดลายต่างๆได้ เช่น ลายตา ลายโค้ง กรรไกร ฯลฯ

เผยแพร่เมื่อ 27-02-2017 ผู้เช้าชม 1,404

ลายอ๊ะหน่ายือ (ฟันหมา)

ลายอ๊ะหน่ายือ (ฟันหมา)

อ๊ะหน่ายือ เป็นภาษาชนเผ่าลีซอ มีความหมายในภาษาไทยหมายถึง ฟันหมา  (สุนัข) เป็นลวดลายโบราณ ดั้งเดิมที่บรรพบุรุษชาวลีซอเลียนแบบรูปร่างของฟันสุนัข ลักษณะของลวดลายมีลักษณะเป็นสามเหลี่ยมเล็กๆ เย็บ เรียงต่อกันเป็นแถวยาว การสร้างลวดลายทําได้โดยการการนําผ้าที่ตัดเป็นชิ้นเล็กๆ พับเป็นสามเหลี่ยม นํามาเย็บ ติดกันต่อเนื่องกันเป็นสามเหลี่ยมซิกแซกดูคล้ายฟันของสุนัข

เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 970

ลาย 7 สี

ลาย 7 สี

ชาวเขาเผ่าเมี่ยน หรือเย้า กับศิลปะการปักผ้านั้น มีความผูกพันเชื่อมโยงกับตำนานกำเนิดของชาวเมี่ยน ที่บรรพบุรุษได้เล่าสืบทอดต่อเนื่องมาถึงลูกหลานในปัจจุบันตำนานกำเนิดชาวเมี่ยนได้กล่าวไว้ว่า เมื่อหลายพันปีก่อนมีเทวดามาจุติในโลกมนุษย์เป็นสุนัขมังกรชื่อว่า ผันตาหู ในเวลานั้นบ้านเมืองเกิดกบฏ พระราชาจึงประกาศว่าหากใครสามารถปราบกบฏได้ จะให้แต่งงานกับลูกสาวของตน ผันตาหูได้ยินดังนั้นจึงเข้าอาสาช่วยปราบกบฏให้พระราชาจนสำเร็จ 

เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 1,348

ลายฟูยิ้งเฉอะอิ้งขิ (หน้าท้องงูเขียว)

ลายฟูยิ้งเฉอะอิ้งขิ (หน้าท้องงูเขียว)

ฟูยิ้งเฉอะอิ้งขิเป็นภาษาชนเผ่าลีซอ ในภาษาไทยอาจหมายถึง หน้าท้องงูเขียว เป็นชื่อเรียกลวดลายโบราณ ดั้งเดิมที่มีการสืบทอดต่อเนื่องกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ รูปร่างของลวดลายหน้าท้องงูเขียวนี้มีลักษณะดูคล้ายรูปสี่เหลี่ยม เย็บปะติดซ้อนต่อกันสองชั้น

เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 783

ลายน้ําเต้า

ลายน้ําเต้า

บรรพบุรุษของชนเผ่ามูเซอนั้นมีทั้งกลุ่มที่นับถือผีและกลุ่มที่นับถือคริสต์ศาสนา ดังนั้นในการ สร้างสรรค์ศิลปะเอกลักษณ์ลวดลายบนผืนผ้าของชาวมูเซอจึงมักสะท้อนออกมาถึงเรื่องราวที่ความเกี่ยวพันกับ ความเชื่อเรื่องผีวิญญาณ และลวดลายที่มีความสอดคล้องกับความเชื่อในพระคัมภีร์ของคริสต์ศาสนาผสม รวมเข้าอยู่ด้วยกัน ดังเช่น ลายน้ําเต้า หรือในภาษาชนเผ่ามูเซอเรียกว่า อ่าพู้

เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 652

ภูมิปัญญาการแต่งกาย : มูเซอ

ภูมิปัญญาการแต่งกาย : มูเซอ

ลาหู่ หรือ มูเซอ อาศัยอยู่ในประเทศจีน เมื่อถูกรุกรานจึงอพยพมาทางตอนใต้เข้าสู่ประเทศพม่า และทางเหนือของประเทศไทย เมื่อกว่า 13 ปีมาแล้ว โดยเข้ามาทางอำเภอแม่จัน อำเภอเชียงแสน อำเภอเชียงของ อำเภอเวียงป่าเป้า อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย, อำเภอฝาง อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่, และอำเภอบางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน มีเพียงส่วนน้อยที่มาจากอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก มูเซอที่รู้จักกันมาก ได้แก่ มูเซอดำ มูเซอแดง มีวัฒนธรรมประเพณีคล้ายคลึงกัน มูเซอ เป็นภาษาพม่า แปลว่า นายพราน เนื่องจากมีความชำนาญในการล่าสัตว์โดยใช้หน้าไม้ ภาษาอังกฤษ เรียกว่า ลาฮู ในกลุ่มมูเซอดำ เรียกว่า ลาฮูนา มูเซอแดง เรียกว่า ลาฮูยี

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 5,429

กระทงเปลือกข้าวโพด ตำบลลานดอกไม้ตก อำเภอโกสัมพีนคร จังหวัดกำแพงเพชร

กระทงเปลือกข้าวโพด ตำบลลานดอกไม้ตก อำเภอโกสัมพีนคร จังหวัดกำแพงเพชร

การทำกระทงเปลือกข้าวโพดของตำบลลานดอกไม้ตก อำเภอโกสัมพีนคร จังหวัดกำแพงเพชร ทำจากวัสดุธรรมชาติที่ถูกทิ้งหลังจาการเก็บเกี่ยวทางการเกษตรจากการปลูกข้าวโพด เนื่องจากมีอยู่มากจึงมีปัญหาเกิดการเผาเปลือกข้าวโพด การนำเปลือกข้าวโพดไปทิ้งตามแม่น้ำจึงเกิดผลเสียต่างๆ ทั้งผลเสียจากมลพิษทางอากาศและน้ำเน่าเสีย ชาวบ้านจึงนำเปลือกข้าวโพดมาแปรรูปทำกระทง จากภูมิปัญญาชาวบ้านที่มีฝีมือจากการเย็บบายศรีจากใบตอง มาเย็บเปลือกข้าวโพด นำเปลือกข้าวโพดไปตากแห้งย้อมสีให้สวยงามแล้วนำมาขึ้นรูปต่อกันจนเกิดเป็นรูปร่างตามต้องการ การนำดอกหญ้าแห้งที่มีอยู่ในพื้นที่มาย้อมสีและตกแต่งจนเกิดความสวยงามเป็นความแปลกใหม่และเป็นที่นิยมต่อความต้องการของลูกค้าจนเกิดเป็นการสร้างรายได้ให้กับคนในชุมชน 

เผยแพร่เมื่อ 02-06-2022 ผู้เช้าชม 4,712

ลายก๊ากื้อ

ลายก๊ากื้อ

หญิงชาวเผ่าม้ง ต่างมีทักษะความเชี่ยวชาญในด้านการปักผ้า ไม่แพ้หญิงชนเผ่าอื่นๆ ศิลปะการปักผ้า ของหญิงสาวชาวเผ่าม้งแบบหนึ่งที่แสดงถึงทักษะฝีมือของผู้ปักคือการปักแบบเย็บปะ หรือที่ชาวม้งเรียกเทคนิค การปักแบบนี้ว่า เจี๋ย ซึ่งถือว่าเป็นเทคนิคที่ค่อนข้างยากกว่าเทคนิคอื่นๆ ของชาวม้ง เจี๋ย หมายถึง เทคนิคการ ตัดผ้าเป็นลวดลายที่กําหนด แล้วนํามาเย็บติดซ้อนกับผ้าพื้นอีกชั้นหนึ่ง ความยากของเทคนิคนี้อยู่ที่ความ ละเอียด ลวดลลายที่แสดงเอกลักษณ์ของเทคนิค เจี๋ย ที่นิยมของชาวม้ง คือ การปักลายก๊ากื้อ หรือลายก้น หอย ผู้ปักตองใช ้ ้ทั้งฝีมือ ต้องมีทักษะความเชี่ยวชาญ ใช้ความละเอียดและความอดทนมากเป็นพิเศษจึงจะปักลวดลายนี้ได้สําเร็จ ประณีตและออกมาสวยงาม

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 2,499