ภูมิปัญญาการแต่งกาย : เย้า

ภูมิปัญญาการแต่งกาย : เย้า

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้ชม 2,822

[16.121008, 99.3294759, ภูมิปัญญาการแต่งกาย : เย้า]

ภูมิปัญญาการแต่งกาย
        ชาวเมี่ยนมีชื่อเสียงในเรื่องการตีเครื่องเงิน ทั้งนี้เพราะเมี่ยนนิยมใช้เครื่องประดับที่เป็นเงินเช่นเดียวกับชาวชนเผ่ากลุ่มอื่นๆ และรูปแบบเครื่องประดับแต่ล่ะชิ้น เป็นงานฝีมือปราณีต เมื่อมีงานประเพณีผู้หญิงเมี่ยนจะประดับเครื่องเงินกันอย่างเต็มที่
        การตัดเย็บการปักลายและการใช้สีในการปักลายเครื่องใช้ต่างๆ ทั้งในชีวิตประจำวัน และใช้ในพิธีกรรมต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพิธีบวช (กว๋าตัง) และพิธีแต่งงานเช่น ผ้าต้มผาเป็นผ้าคลุมวางทับโครงไว้บนศีรษะของเจ้าสาวในพิธีแต่งงานแบบใหญ่ ฯลฯ แต่ที่เมี่ยนนิยมปักลายมีผ้าห่อเด็กสะพายหลัง [ซองปุ๋ย] และถุงใส่เงิน [ย่านบั่ว] และสิ่งที่เมี่ยนนำมาตกแต่งคือ การถักเส้นด้าย คล้ายดิ้นใช้สำหรับติดปลายชายเสื้อผ้าการใช้ผ้าตัดปะเป็นวิธีการอันเก่าแก่ของเมี่ยนที่ได้ รับอิทธิพลมาจากประเทศจีนส่วนใหญ่เมี่ยนที่พันหัวแบบหัวแหลม (ก่องเปลวผาน) จะนิยมการตัดปะ ส่วนการใช้พู่ประดับสตรีเมี่ยนทุกกลุ่มจะติดพู่ก้อนกลม สีแดงเป็นแถวยาวและสร้อยลูกปัดติดพู่ห้อย อาจจะใช้ไหมพรมสีแดงจำนวนเส้นคู่ตั้งแต่ 2-8 เส้นติดที่ชายเสื้อสตรีตรงข้างเอว
        ชาวเมี่ยนให้ความสำคัญกับการแต่งกายให้เหมาะสมก่อนการทำพิธีกรรม การเย็บปักชุดจึงเป็นเรื่องของหญิงเมี่ยน ซึ่งชุดการเข้าพิธีจะคล้ายกับชุดเทวภาพเต๋า (เมี้ยน) ที่เมี่ยนนำถือ ซึ่งก่อนการเข้าพิธีบวช (ก๋วาตัง) หญิงเมี่ยนจะต้องเตรียมชุดไว้ให้พร้อมก่อนการเข้าพิธีกรรม การปักผ้าชุดของผู้เข้าพิธกรรมีที่มีลวดลายปัก มีผ้าจุ้นและเส้นต้อตาย สีที่ใช้มีสีขาวและสีแดง เป็นส่วนใหญ่นอกจากนี้อาจารย์ผู้ประกอบพิธีกรรมและผู้เข้าพิธีกรรมต้องใช้คือผ้าชนิดต่างๆมาประกอบด้วย
 
ลักษณะการแต่งกายของผู้ชาย
         
ประกอบไปด้วยเสื้อตัวสั้นหลวม คอกลมชิ้นหน้าห่ออกอ้อมไปติดกระดุมลูกตุ้มเงินถึงสิบเม็ด เป็นแถวทางด้านขวาของร่างในบางที่อาจนิยม ปักลายดอกที่ผืนผ้าด้วย แล้วสวมกับกางเกงขาก๊วยทั้งเสื้อ และกางเกงตัดเย็บด้วยผ้าฝ้ายทอมือย้อมครามสีน้ำเงิน หรือย้อมดำคนรุ่นเก่ายังสวมเสื้อกำมะหยี่ในงานพิธี แต่ยิ่งอายุมากขึ้นเสื้อของชายเมี่ยนก็จะลดสีสันลงทุกทีจนเรียบสนิท ในวัยชราบุรุษเมี่ยนจะใช้ผ้าโพกศีรษะในงานพิธีเท่านั้น เครื่องแต่งกายเด็ก ทั้งเด็กหญิงและเด็กชายจะมีการแต่งกายที่คล้ายกับแบบฉบับของการแต่งกายผู้ใหญ่ทั้งหญิง และชาย เพียงแต่เครื่องแต่งกาย ของเด็กจะมีสีสันน้อยกว่าบ้าง เช่น เด็กหญิงอาจจะยังไม่ปักกางเกงให้ เพราะยังไม่สามารถรักษาหรือดูแลให้สะอาดได้ จึงเป็นการสวมกางเกง เด็กธรรมดาทั่วไป ส่วนเด็กชายก็เหมือนผู้ใหญ่ คือ มีเสื้อกับกางเกงและที่ไม่เหมือนคือเด็กชายจะมีหมวกเด็ก ซึ่งทั้งเด็กหญิงและเด็กชายจะมีการปักก็มีลักษณะคล้ายกัน แต่หมวกเด็กผู้ชายจะเย็บด้วยผ้าดำสลับผ้าแดง เป็นเฉกประดับด้วยผ้าตัดเป็นลวดลายขลิบริมด้วยแถบไหมขาวติดปุยไหมพรมแดงบนกลางศีรษะ หรือมีลายเส้นหนึ่งแถวและลายปักหนึ่งแถวสลับกันอย่างละสองแถว สำหรับหมวกเด็กหญิงมีลายปักเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งแถว หรือสองแถวและจะมีผ้าดำปักลวดลายประดับไหมพรมสีแดงสดบนกลางศีรษะและข้างหู

ลักษณะการแต่งกายของผู้หญิง
         
ประกอบไปด้วยกางเกงขาก๊วย ซึ่งเต็มไปด้วยลายปักเสื้อคลุมตัวยาวถึงข้อเท้า มีไหมพรมอยู่รอบคอ ผ้าคาดเอวและผ้าโพกศีรษะ การพันศีรษะต้องพันศีรษะ ด้วยผ้าพื้นเป็นชั้นแรก จากนั้นก็มาพันชั้นนอกทับอีกที การพันชั้นนอกจะใช้ผ้าพันลายปัก ซึ่งมีลักษณะการพันสองแบบคือแบบหัวโต (ก่องจุ้น) และแบบหัวแหลม (ก่องเปลวผาน) และผ้านี้จะพันไว้ตลอดแม้ในเวลานอน หญิงเมี่ยนนุ่งกางเกงขาก๊วยสีดำด้านหน้ากางเกง เป็นลายปักที่ละเอียด และงดงามมาก ลวดลายนี้ใช้เวลาปัก 1 - 5 ปีขึ้นอยู่กับความละเอียดของลวดลาย และเวลาว่างของผู้ปักเป็นสำคัญ ด้วยเหตุนี้หญิงเมี่ยนจึงอวดลายปักของตน ด้วยการรวบปลายเสื้อที่ผ่าด้านข้างทั้งสองมามัดด้านหลัง และใช้ผ้าอีกผืนหนึ่งทำหน้าเป็นเข็มขัดทับเสื้อ และกางเกงอีกรอบหนึ่ง โดยทิ้งชายเสื้อซึ่งปักลวดลายไว้ข้างหลัง การตัดเย็บจะตัดเย็บด้วยผ้าฝ้ายพื้นสีดำ ยกเว้นเสื้อคลุมซึ่งอาจใช้ผ้าทอเครื่องในบางกรณี การปักลายของเมี่ยนตามบางท้องถิ่นอาจเหมือนหรือแตกต่างกันบ้างตามความนิยม

คำสำคัญ : เครื่องแต่งกาย ชุดประจำชนเผ่า

ที่มา : http://www.openbase.in.th/node/5466

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2560). ภูมิปัญญาการแต่งกาย : เย้า. สืบค้น 23 มิถุนายน 2568, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=414&code_db=610007&code_type=02

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=414&code_db=610007&code_type=02

Google search

Mic

ลายตะโก๊ะเหล่

ลายตะโก๊ะเหล่

ตะโก๊ะเหล่ เป็นลวดลายกะเหรี่ยงที่ใช้กันทั้งกะเหรี่ยงโปและสะกอ ซึ่งสามารถพัฒนาลวดลายต่างๆได้ เช่น ลายตา ลายโค้ง กรรไกร ฯลฯ

เผยแพร่เมื่อ 27-02-2017 ผู้เช้าชม 1,655

ลายปักชุดชาวเขา

ลายปักชุดชาวเขา

ลายดาว เป็นลายผ้าทอของชาวเผ่าม้ง เป็นลายผ้าที่ชาวม้งส่วนใหญ่นิยมใส่กัน เป็นลายที่มีคล้ายดวงดาวบนท้องฟ้า จะมีกลีบเล็กกลีบใหญ่ออกมาเหมือนดวงดาว แล้วแต่คนชอบของลาย และอยู่ที่ความคิดสร้างสรรค์ของแต่ละคน

เผยแพร่เมื่อ 08-03-2017 ผู้เช้าชม 2,045

ภูมิปัญญาการแต่งกาย : ลัวะ

ภูมิปัญญาการแต่งกาย : ลัวะ

ชาวลัวะ มีขนบธรรมเนียมเครื่องแต่งกายต่างกับชาวเหนือ ผู้ชายนุ่งผ้าพื้นโจงกระเบนหรือโสร่ง ผู้หญิงสวมเสื้อสีดำผ่าอกแขนยาว ปักเป็นแผ่นใหญ่ที่หน้าอกตามแถวกระดุม และแถวรังดุมรอบคอ ปักที่ชายแขนเสื้อตรงข้อมือทั้งสองข้างและที่ใต้ตะโพกรอบเอวด้วยดิ้นเลื่อม ไหมเงินคล้ายเสื้อขุนนางไทยโบราณ ผ้าซิ่นติดผ้าขาวสลับดำเล็ก ๆ ตอนกลางเป็นริ้วลาย ชายซิ่นติดผ้าสีดำกว้างประมาณ 1 ศอก ตามปกติผู้หญิงอยู่บ้านไม่ค่อยสวมเสื้อชอบเปิดอกเห็นถัน

เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 5,068

ลายอ๊ะหน่ายือ (ฟันหมา)

ลายอ๊ะหน่ายือ (ฟันหมา)

อ๊ะหน่ายือ เป็นภาษาชนเผ่าลีซอ มีความหมายในภาษาไทยหมายถึง ฟันหมา  (สุนัข) เป็นลวดลายโบราณ ดั้งเดิมที่บรรพบุรุษชาวลีซอเลียนแบบรูปร่างของฟันสุนัข ลักษณะของลวดลายมีลักษณะเป็นสามเหลี่ยมเล็กๆ เย็บ เรียงต่อกันเป็นแถวยาว การสร้างลวดลายทําได้โดยการการนําผ้าที่ตัดเป็นชิ้นเล็กๆ พับเป็นสามเหลี่ยม นํามาเย็บ ติดกันต่อเนื่องกันเป็นสามเหลี่ยมซิกแซกดูคล้ายฟันของสุนัข

เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 1,253

ลายปะดังดอง (แมงมุม)

ลายอ่องกึ้ยหรือลายจก คือ ลวดลายที่เกิดจากการสอดด้ายสลับสีเข้าไปบางส่วนของเนื้อผ้า ตามลวดลายและสีในตำแหน่งที่ต้องการ ซึ่งลายจกของชาวกะเหรี่ยงที่พบมีทั้งลายดั้งเดิม และลายที่ดัดแปลง ขึ้นมาใหม่ มีดังนี้

เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 925

ลายฟูยิ้งเฉอะอิ้งขิ (หน้าท้องงูเขียว)

ลายฟูยิ้งเฉอะอิ้งขิ (หน้าท้องงูเขียว)

ฟูยิ้งเฉอะอิ้งขิเป็นภาษาชนเผ่าลีซอ ในภาษาไทยอาจหมายถึง หน้าท้องงูเขียว เป็นชื่อเรียกลวดลายโบราณ ดั้งเดิมที่มีการสืบทอดต่อเนื่องกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ รูปร่างของลวดลายหน้าท้องงูเขียวนี้มีลักษณะดูคล้ายรูปสี่เหลี่ยม เย็บปะติดซ้อนต่อกันสองชั้น

เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 1,056

อีก้อ

อีก้อ

อีก้อเป็นชาวเขาเผ่าหนึ่งที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยเรียกตนเองว่า "อาข่า" คนไทยและคนเมียนมาร์ เรียกว่า "อีก้อ" หรือ "ข่าก้อ" ลาวและชนชาติอินโดจีนตอนเหนือเรียกอีก้อว่า "โก๊ะ" คนจีนเรียกว่า "โวนี" หรือ "ฮานี" ซึ่งหมายรวมถึงชนเผ่าที่พูดภาษาโลโลในมณฑลยูนนานทางตอนใต้ด้วย อีก้อเป็นชาวเขาเผ่าหนึ่งที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยเรียกตนเองว่า อาข่า คนไทยและคนเมียนมาร์ เรียกว่า อีก้อ หรือ ข่าก้อ ลาวและชนชาติอินโดจีนตอนเหนือ เรียกอีก้อว่า โก๊ะ คนจีนเรี่ยกว่า โวนี หรือฮานี ซึ่งหมายรวมถึงชนเผ่าที่พูดภาษโลโลในมณฑลยูนนานทางตอนใต้ด้วย

เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 1,693

ลาย 7 สี

ลาย 7 สี

ชาวเขาเผ่าเมี่ยน หรือเย้า กับศิลปะการปักผ้านั้น มีความผูกพันเชื่อมโยงกับตำนานกำเนิดของชาวเมี่ยน ที่บรรพบุรุษได้เล่าสืบทอดต่อเนื่องมาถึงลูกหลานในปัจจุบันตำนานกำเนิดชาวเมี่ยนได้กล่าวไว้ว่า เมื่อหลายพันปีก่อนมีเทวดามาจุติในโลกมนุษย์เป็นสุนัขมังกรชื่อว่า ผันตาหู ในเวลานั้นบ้านเมืองเกิดกบฏ พระราชาจึงประกาศว่าหากใครสามารถปราบกบฏได้ จะให้แต่งงานกับลูกสาวของตน ผันตาหูได้ยินดังนั้นจึงเข้าอาสาช่วยปราบกบฏให้พระราชาจนสำเร็จ 

เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 1,588

ภูมิปัญญาการแต่งกาย : เย้า

ภูมิปัญญาการแต่งกาย : เย้า

ชาวเมี่ยน (เย้า) ถิ่นฐานเดิมอยู่ในประเทศจีนแถบแม่น้ำแยงซี “เมี่ยน” เป็นชื่อที่ทางราชการตั้งให้ หรือบางครั้งจะเรียกว่า “อิ้วเมี่ยน” แปลว่า มนุษย์ ได้รับการจัดให้อยู่ในเชื้อชาติ มองโกลอยด์ คือ อยู่ในตระกูลจีนธิเบต บรรพชนได้ตั้งถิ่นฐานอยู่ที่ราบรอบทะเลสาปตงถิง แถบแม่น้ำแยงซี ยอมอ่อนน้อมให้ชนชาติผู้ปกครองรัฐ และไม่ยินยอมอยู่ภายใต้การบังคับกดขี่ของรัฐ จึงได้ทำการอพยพเข้าไปในป่าลึกบนภูเขาสูง ได้ตั้งถิ่นฐานสร้างบ้านด้วยมือของเขาเอง เพื่อปกป้องเสรีภาพจึงถูกขนานนามว่า ม่อ เย้า ซึ่ง เหยา ซี เหลียน ได้บันทึกไว้ในเหลียงซูต่อมาในสมัยราชวงศ์ซ่ง คำเรียกนี้ี้ถูกยกเลิกไปเหลือแต่คำว่า "เย้า" เท่านั้น จุดเด่นของชนเผ่าเมี่ยน (เย้า) บ้านปางค่าใต้ ตำบลผาช้างน้อย อำเภอปง จังหวัดพะเยา ได้แก่ พาสปอร์ตที่ยาวที่สุดในโลก (ปัจจุบันในพื้นที่โครงการหลวงมีชาวเมี่ยนอาศัยอยู่ในพื้นที่ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงปังค่า อำเภอปง จังหวัดพะเยา)

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 2,822

ลายเท้าช้าง

ลายเท้าช้าง

ลายเท้าช้าง เป็นลายของผ้าชาวเผ่าม้งลายหนึ่งที่นิยมสวมใส่กันทั้งหญิงและชาย เป็นลายที่ชาวเขาเผ่าม้งยึดถือเป็นสิริมงคลแก่ผู้ที่สวมใส่ในลายผ้านี้ ซึ่งชาวม้งจะมีการทอผ้าอย่างมีความประณีต เพื่อให้ผ้าที่ปักนั้นมีความสวยงามและมีลายผ้าที่ออกมาดี เพื่อที่จะนำมาใช้งานได้

เผยแพร่เมื่อ 08-03-2017 ผู้เช้าชม 1,203