กระบวนการทำพระเครื่องพิมพ์ดินของแหล่งเรียนรู้การทำพระเครื่องนครชุม

กระบวนการทำพระเครื่องพิมพ์ดินของแหล่งเรียนรู้การทำพระเครื่องนครชุม

เผยแพร่เมื่อ 02-06-2022 ผู้ชม 1,562

[16.457075, 99.3254668, กระบวนการทำพระเครื่องพิมพ์ดินของแหล่งเรียนรู้การทำพระเครื่องนครชุม]

บทนำ
         พระเครื่องเป็นหนึ่งในพุทธศิลป์ที่มีคุณค่าทางจิตใจต่อผู้ที่บูชาและยังมีคุณค่าในเชิงศิลปะ และสะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อและวิถีชีวิตของคนไทยในแต่ละยุคสมัยพระเครื่องหลายองค์สามารถบอกเล่าเรื่องราวในประวัติศาสตร์ได้อีกด้วย และจังหวัดกำแพงเพชรก็เป็นจังหวัดที่มีความสำคัญในฐานะของการเป็นเมืองมรดกโลกที่มีประวัติศาสตร์มาอย่างยาวนานร่วมกับจังหวัดสุโขทัย และศรีสัชนาลัย จังหวัดกำแพงเพชรขึ้นชื่อว่าเป็นเมืองกรุพระเครื่องที่มีความสำคัญแห่งหนึ่งของประเทศไทย ดังคำขวัญประจำจังหวัดที่ว่า “กรุพระเครื่อง เมืองคนแกร่ง ศิลาแลงใหญ่ กล้วยไข่หวาน น้ำมันลานกระบือ เลื่องลือมรดกโลก” เนื่องด้วยมาจากการที่จังหวัดกำแพงเพชรมีพระเครื่องที่สำคัญและมีพระเครื่องที่เป็นหนึ่งในห้าของ “พระเครื่องเบญจภาคี” นั้นคือ “พระซุ้มกอ”  โดยเฉพาะพระซุ้มกอจากกรุทุ่งเศรษฐีที่มีชื่อเสียงและเป็นที่ต้องการสูงของคนในวงการพระเครื่อง จัดว่าเป็นพระเครื่องที่มีมูลค่ามาก มีความต้องการนิยมบูชาเป็นอันดับสองรองจาก พระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์ใหญ่ เลยก็ว่าได้

ความเป็นมาของแหล่งเรียนรู้การทำพระเครื่องนครชุม
         แหล่งเรียนรู้การทำพระเครื่องนครชุม อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร หรือที่คนในท้องที่รู้จักกันในนาม “บ้านลุงโป้ย” มีนายสมหมาย พยอม หรือ ลุงโป้ย เป็นปราชญ์ชาวบ้าน มีความรู้ความสามารถเชี่ยวชาญในการทำพระเครื่องพิมพ์ดินเผาที่มีชื่อเสียงของจังหวัดกำแพงเพชรได้ทำการเปิดบ้านพักของตนเองและใช้พื้นที่บริเวณบ้านเปิดเป็นศูนย์เรียนรู้การทำพระเครื่องพิมพ์ดินเผาด้วยวิธีการโบราณดั้งเดิม ซึ่งเป็นองค์ความรู้ท้องถิ่นที่มีอยู่ในชุมชนนครชุม แต่ปัจจุบัน นายสมหมาย พยอม ได้เสียชีวิตไปแล้วแต่ก็ได้ถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับภรรยาของตน คือนางดวงรัตน์ พยอม ในการดำเนินงานของแหล่งเรียนรู้การทำพระเครื่อง พิมพ์ดินเผาในนครชุมสืบต่อไป ซึ่งแหล่งเรียนรู้นี้เป็นแหล่งเรียนรู้ที่สำคัญมากแห่งหนึ่งในการทำพระพิมพ์ดิน ซึ่งเป็นองค์ความรู้และทุนทางศิลปวัฒนธรรมที่สืบทอดอยู่ในชุมชน และควรอย่างยิ่งที่จะต้องได้รับการสนับสนุนส่งเสริม และให้ความสำคัญกับแหล่งเรียนรู้นี้ เพื่อให้คนรุ่นหลังที่สนใจศึกษาเรียนรู้ (ดวงรัตน์ พยอม. สัมภาษณ์. 25 มิถุนายน 2561)
         แหล่งเรียนรู้การทำพระเครื่องนครชุม เป็นแหล่งเรียนรู้ที่คอยถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับการทำพระเครื่องพิมพ์ดินเผา ด้วยกรรมวิธีโบราณแบบดั่งเดิมที่สืบทอดต่อกันมาของช่างทำพระเครื่องในสมัยอดีต ให้กับผู้ที่สนใจ ทั้งคนในชุมชน นักท่องเที่ยว ทั้งไทยและชาวต่างชาติ ปัจจุบันการจะหาชมพระเครื่องของเมืองนครชุมเป็นเรื่องที่ค่อนข้างยากเสียหน่อย แต่หากว่ามาที่ แหล่งเรียนรู้การทำพระเครื่องนครชุมแห่งนี้ก็จะได้เห็นพระเครื่องรวมถึงกระบวนการทำพระเครื่องจากตัวเจ้าของแหล่งเรียนรู้ด้วยตนเอง แหล่งเรียนรู้การทำ พระเครื่องนครชุมแห่งนี้ เริ่มต้นมาจาก นาย สมหมาย พยอม ผู้มีถิ่นฐานอยู่ในนครชุมและได้มีโอกาสคลุกคลีอยู่กับช่างทำพระเครื่องหรือผู้ที่อยู่ในวงการพระเครื่องบ่อยครั้งด้วยความที่มีใจรัก จึงศึกษาและจดจำวิธีการทำพระเครื่องจากช่างทำพระเครื่องในกำแพงเพชร แล้วนำมาทดลองทำพระซุ้มกอได้เป็นองค์แรก ในปี พ.ศ.2551 ก็ได้จัดตั้งแหล่งเรียนรู้การทำพระเครื่องนครชุมขึ้น ในพื้นที่บริเวณบ้านพักของตนเองเพื่อให้เป็นแหล่งเรียนรู้ของนักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไป ที่สนใจในเรื่องวิธีการทำพระเครื่อง ซึ่งภายในแหล่งเรียนรู้ก็จะมีสมาชิกที่คอยสาธิตกระบวนการทำพระเครื่องในขั้นตอนต่าง ๆ ให้ได้ชม ได้ฝึกปฏิบัติการการทำพระเครื่องด้วยมือตนเอง และยังสามารถนำพระเครื่องที่ตนได้ทำเองนั้นกลับไปได้อีกด้วย 

ขั้นตอนการพิมพ์พระเครื่องของแหล่งเรียนรู้การทำพระเครื่องนครชุม
        สำหรับการทำพระเครื่อง หรือพระพิมพ์ดินนั้น เริ่มจากการนำดินที่ได้มาทุบ แล้วหมักไว้ 1 คืน จากนั้นก็นำดินมานวดให้นิ่มพอดี ไม่แข็งหรือเหลวเกินไป ถัดมา ให้นำแป้งมาโดยที่แม่พิมพ์พระเพื่อที่เวลากดดินลง กับแม่พิมพ์แล้วดินจะได้ไม่ติดกับแม่พิมพ์ และสามารถนำดินออกมาได้ง่ายโดยแม่พิมพ์พระที่ใช้ก็ได้มาจากการจำลองจากพระเครื่องนครชุมของแท้ ที่เป็นของเก่าของแก่จึงทำให้พระพิมพ์ที่ทำออกมานั้นมีรูปร่างลักษณะคล้ายกับของเก่ามากทีเดียว เมื่อกดดินลงกับแม่พิมพ์จนดินขึ้นเป็นรูปแล้ว ก็นำออกมาใส่ถาดพึ่งลมไว้ในร่มประมาณจนแห้ง และนำออกตากแดดให้แห้งสนิทต่อด้วยการนำพระไปเผาที่เตาประมาณ ๒๔ ชั่วโมง ซึ่งจะต้องคอยเติมถ่าน และควบคุมไม่ให้ไฟแรงเกินไป ครบกำหนดเวลาแล้วก็นำพระออกจากเตา นำมาวางเรียงเพื่อใส่รา ใส่คราบพระ สุดท้ายให้นำใบตองแห้งของกล้วยน้ำว้ามาขัด ก็จะได้พระเครื่องนครชุมที่ดูคล้ายของเก่าแก่ พระเครื่องหรือพระพิมพ์ ที่ได้มานั้น ทำให้คนรุ่นปัจจุบันได้ศึกษาตั้งแต่ความเป็นมาตั้งแต่สมัยก่อน จนมาถึงกระบวนการทำพระในสมัยนี้ ที่ยังคงความงามตามภูมิปัญญาดั้งเดิมของชนชาวไทย และยังเป็นการสืบสานพุทธศิลป์ที่สวยงามนี้ไว้ต่อไป โดยในปัจจุบันมีคุณดวงรัตน์ พะยอม เป็นผู้สอนและถ่ายทอดกระบวนการทำพระเครื่องพิมพ์ดินให้กับที่แหล่งเรียนรู้การทำพระเครื่องนครชุม
         แหล่งเรียนรู้การทำพระเครื่องนครชุม จังหวัดกำแพงเพชร ได้มีขั้นตอนการพิมพ์พระได้แก่การทำพระพิมพ์เล็ก และพิมพ์ใหญ่ ดังรายละเอียดต่อไปนี้ (ดวงรัตน์ พยอม. สัมภาษณ์. 25 มิถุนายน 2561) ในกระบวนการทำพระเครื่องนั้นจะแบ่งขึ้นตอนการทำเอาไว้อยู่ 5 กระบวนการหลักๆ ดังนี้
         1. กระบวนการเตรียมดิน
         2. กระบวนการพิมพ์พระ
         3. กระบวนการผึ่งและตากพระ
         4. กระบวนการเผา
         5. กระบวนการใส่รายละเอียดพระ 

ตารางแสดงการเปรียบเทียบขั้นตอนในการทำพระเครื่องพิมพ์ดินเผาขนาดเล็กและขนาดใหญ่ 

ขั้นตอนการทำพระพิมพ์เล็ก

ขั้นตอนการทำพระพิมพ์ใหญ่

- ทุบดิน (หมักไว้ 1 คืน)

- ทุบดิน (หมักไว้ 1 คืน)

- นำดินมานวดให้นิ่ม (ไม่เหลวหรือแข็งเกินไป)

- นำดินมานวดให้นิ่ม (ไม่เหลวหรือแข็งเกินไป)

- โรยแป้งที่แม่พิมพ์พระ

- โรยแป้งที่แม่พิมพ์พระ

- นำดินมากดที่แม่พิมพ์พระ

- นำดินมากดที่แม่พิมพ์พระ

- นำพระออกจากแม่พิมพ์พระมาใส่ถาด

- นำพระออกจากแม่พิมพ์พระมาใส่ถาด

นำพระมาผึ่งลมในร่มประมาณ 2 วัน

- นำพระมาผึ่งลมในร่มให้แห้งสนิทประมาณ 15 วัน

- นำพระมาตากแดดจนแห้งสนิท

- นำพระมาตากแดดจนแห้งสนิทประมาณ 3 วัน

- นำพระไปเผาที่เตา และคอยเติมถ่าน ประมาณ 24 ชั่วโมง

- นำพระไปเผาที่เตา และคอยเติมถ่าน ประมาณ 24 ชั่วโมง

- นำพระออกจากเตา

- นำพระออกจากเตา

- นำพระมาเรียงใส่รา และใส่คราบพระ

- นำพระมาเรียงใส่รา และใส่คราบพระ

- นำใบตองแห้งมาขัดพระ (ใช้ใบตองจากต้นกล้วยน้ำว้า)

- นำใบตองแห้งมาขัดพระ (ใช้ใบตองจากต้นกล้วยน้ำว้า)

  1. กระบวนการเตรียมดิน
    ในการเตรียมดินนั้นจะต้องเตรียมดินโดยการทุบดินและหมักดินทิ้งไว้อย่างน้อย 1 คืน อาจเก็บไว้โดยใส่ในถุงพลาสติกปิดให้มิดชิดไม่ให้อากาศเข้า เพราะอากาศจะทำให้ดินแห้งและไม่สามารถนำมาใช้ในการทำพระเครื่องได้ เมื่อจะนำมาใช้ในการทำพระเครื่องให้นำดินออกมาจากถุงและนำมานวดให้นิ่ม การนวดดินต้องนวดให้พอประมาณ การนวดนานเกินไปจะทำให้ดินนิ่มหรือเหลวเกินไป ถ้านวดน้อยเกินไปก็จะทำให้ดินแข็ง ลักษณะดินอ่อนดินแข็งจะใช้ในการทำพระเครื่องที่มีพิมพ์ที่แตกตางกันออกไป บางพิมพ์จะต้องการใช้ดินที่นิ่ม บางพิมพ์จะต้องการใช้ดินที่แข็ง
  1. พิมพ์พระ
    พิมพ์พระที่มีอยู่ในแหล่งเรียนรู้การทำพระเครื่องส่วนใหญ่จะเป็นพิมพ์พระที่ได้แม่พิมพ์มาจากพระแท้ ดังนั้นความสวยงาม ความเหมือนจริงของพิมพ์จึงมีความสมบูรณ์ใกล้เคียงกับพระแท้มาก โดยพิมพ์พระแบบดั้งเดิมจะเป็นพิมพ์ดินเผา แต่ในปัจจุบันมีการใช้แม่พิมพ์ที่ทำจากเรซิ่นมากขึ้น เนื่องจากทำง่ายและดูแลรักษาง่ายกว่าแม่พิมพ์ดิน
  1. การโรยแป้ง
    การโรยแป้งลงบนแม่พิมพ์พระก่อนจะเป็นการช่วยให้เนื้อดินไม่ติดกับไม่พิมพ์ ทำให้ตอนที่แกะดินออกจากพิมพ์ทำได้ง่ายขึ้น ยิ่งดินที่นิ่มเกินไปจะติดแม่พิมพ์ได้ง่าย ทำให้แกะออกจากพิมพ์ยาก หรือแกะออกมาแล้วมีส่วนที่เสียหาย โดยแป้งที่นำมาโรยจะให้ผ้ามาหุ้มไว้แบบลูกประคบ เพื่อให้ง่ายต่อการใช้งานและควบคุมแป้งได้ง่ายขึ้น
  1. การกดพระ
    การกดพระเป็นหัวใจสำคัญในการทำพระเครื่องพิมพ์ดินเลยก็ว่าได้ การกดที่ออกแรงมากจนเกินไป จะทำให้ดินกดกับแม่พิมพ์มากเกินจนรายละเอียดที่ได้แตกไม่สวย ในทางกลับกันถ้าออกแรงกดน้อยเกินไป ดินก็จะสัมผัสกับแม่พิมพ์เพียงผิวเผินทำให้รายละเอียดที่ได้ขาดความคมชัดไป การกดพระจะเริ่มจากการวางดินที่นวดแล้วลงบนแม่พิมพ์และเริ่มกดดินจากส่วนบนไล่ลงล่าง เนื้อดินที่เหลือก็จะทำการดึงออกจากพิมพ์ ดังนั้นก่อนการกดดิน ควรกะขนาดและปริมาณของเนื้อดินที่จะกดให้พอดีกับแม่พิมพ์ด้วย เมื่อกดพระเสร็จก็จะเป็นขั้นตอน ในการดึงพระออกจากพิมพ์ โดยการใช้ดินก้อนเล็ก ๆ แตะบริเวณด้วนหลังของพระและดึงออกมาจากแม่พิมพ์ตรง ๆ เมื่อดึงขึ้นมาขอบพระ ผิวพระอาจจะมีส่วนที่บิดงอไม่สวย หรือรายละเอียดเสียไปเล็กน้อยก็ใช้วิธีการเอานิ้วจุ่มน้ำมาทำการลูบเก็บบริเวณขอบของพระให้เนียนเรียบเสมอกัน ส่วนด้านหลังพระที่ไม่เนียนเรียบก็ใช้วิธีการกระแทกพระลงกับ พื้นโต๊ะเบาๆเพื่อให้ด้านหลังนั้นเรียบเสมอกัน
  1. การตากพระ
    เมื่อดึงพระออกจากพิมพ์และตกแต่งรายละเอียดเรียบร้อยแล้ว ก็เป็นขั้นตอนของการตากพระให้แห้งโดยมีข้อห้ามคือ ห้ามนำพระที่ออกจากพิมพ์ใหม่ๆไปตากแดดเป็นอันขาดเพราะความร้อนจะทำให้ดินแห้งไวเกินไปและทำให้เกิดรอยร้าวรอยแตกได้ ให้นำพระที่ได้ตากร่มไว้ในร่มไม่ให้โดนแดดตรงๆประมาณ 2 วัน สำหรับพระพิมพ์เล็กหรือพระที่มีความหนาไม่มาก ส่วนพระพิมพ์ใหญ่หรือพระที่มีความหนามากต้องใช้เวลาในการตากลมประมาณ 15 วัน เพื่อให้ด้านในของพระแห้งสนิทจริง ๆ และเหลือความชื้นน้อยที่สุดจึงค่อยนำไปตากแดดอีกประมาณ 1-3 วัน เพื่อให้พรแห้งสนิทก่อนนำไปเผา
  1. การเผาพระ
    ในการเผาพระจะใช้ระยะเวลาในการเผ่าประมาณ 24 ชั่วโมง โดยการเผาจะใช้เตาเผาแต่เติมเชื้อเพลิงหรือถ่านเป็นระยะ ๆ เพื่อให้ความร้อนสม่ำเสมอ พระที่ถูกความร้อนพอดีจะเป็นสีส้ม ส่วนที่โดนขี้เถ้าคลุมไว้จะกลายเป็นสีดำ ดังนั้นจึงต้องคอยดูปริมาณขี้เถ้าในเตาให้ดีด้วย พระที่ไม่แห้งสนิท หรือบางมากเกินไป เมื่อโดนความร้อนมากอาจมีการระเบิดเสียหายเกิดขึ้นได้
  1. การใส่รา ใส่คราบ และการขัดใบตอง
    เมื่อนำพระออกจากเตาแล้วก็เป็นขั้นตอนของการทำพรให้ดูเหมือนพระเก่าโดยมีเทคนิคในการทำให้พระดูเก่าอยู่ด้วยกัน 3 ขั้นตอนคือ การใส่ราและการใส่คราบ และการขัดพระด้วยใบตองกล้วนน้ำว้าจะทำให้พื้นผิวของพระเป็นเงาขึ้นมา

สีของพระเครื่องเมืองกำแพง
         สีของพระเครื่องกำแพงเพชรมีหลายสี แต่พระเครื่องที่ปรากฏเป็นสีต่าง ๆ นั้นน่าจะมาจากสีของว่านเกสรและผงต่าง ๆ เช่นสีแดง ของว่านดอกมะขาม สบู่เลือด และอื่น ๆ สีเหลืองของดอกไม้นานาชนิด สีดำของผงใบลานเผา สีขาวจากผงพระพุทธคุณ และ ว่านบางชนิด จึงทำให้เกิดพระเครื่องสีต่าง ๆ ขึ้น ตามแต่จะมีส่วนผสมว่านหรือเกสร หรือผงอะไรมาก ก็ดูออกเป็นสีนั้น ๆ มาก เช่น
         สีแดง มีทั้งแดงจัด (คล้ายสีครั่ง) แดงชมพู (แดงปนขาว) แดงหม้อใหม่ (แดงปนเหลือง) แดงคล้ำ (แดงปนดำ)
         สีดำ มีทั้งดำจัด (แบบเนื้อผงใบลาน) เทาดำ (ดำปนขาว) ดำม่วง(ดำปนแดง) จะมีคล้ายสีหว้าหรือดอกมะเขือเข้ม ๆ
         สีเหลือง มีทั้งสีเหลืองเกสรดอกไม้ (สีพิกุลแห้ง) เหลืองจำปา (เหลืองปนแดง) เหลืองอ่อนสำหรับเหลืองปนดำ ทำให้เกิดสีที่สวยงามอีกสีหนึ่งคือ สีเขียว
         สีเขียว มีทั้งสีเขียวมอย (เขียวเทาๆ) และเขียวแก่ เป็นสีของว่าน ที่ผสมลงในเนื้อดิน

บทสรุป
         กระบวนการทำพระเครื่องพิมพ์ดินที่ทำขึ้นและถ่ายทอดให้แก่ผู้อื่น และกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นที่แหล่งเรียนรู้การทำพระเครื่องนครชุมแห่งนี้ เป็นการทำขึ้นเพื่อมุ่งเน้นในเรื่องของการศึกษาและให้ความรู้มากกว่าผลประโยชน์ในเชิงธุรกิจ การทำพระและกรรมวิธีในการทำพระต่าง ๆ เป็นการทำเพื่อให้พระเครื่องดูเหมือน  พระเก่า ซึ่งอาจมีคนเข้าในผิดคิดว่าแหล่งเรียนรู้แห่งนี้สอนการทำพระปลอม แต่วัตถุประสงค์ของแหล่งเรียนรู้ต้องการเพียงเพื่อต้องการแสดงให้เห็นกรรมวิธีการโบราณ ภูมิปัญญาในการทำพระเครื่องแบบโบราณเท่านั้น

คำสำคัญ : พระเครื่อง นครชุม

ที่มา : https://acc.kpru.ac.th/KPPStudies/index.php?title==กระบวนการทำพระเครื่องพิมพ์ดิน_ของ_แหล่งเรียนรู้การทำพระเครื่องนครชุม

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2565). กระบวนการทำพระเครื่องพิมพ์ดินของแหล่งเรียนรู้การทำพระเครื่องนครชุม. สืบค้น 30 มิถุนายน 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?code_db=610007&code_type=01&nu=pages&page_id=2081

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=2081&code_db=610007&code_type=01

Google search

Mic

เรือนปานะ

เรือนปานะ

เรือนนายไผ่–นางพรวน ประดิษฐ์ (บ้านนางพี ปานะ) บนถนนราชดำเนิน ก่อนถึงสี่แยกทางไปโรงพยาบาลกำแพงเพชร มีเรือนไทยที่สมบูรณ์แบบอยู่เรือนหนึ่ง เป็นเรือนของนางพี ปานะ มีลักษณะเป็นเรือนทรงไทยกำแพงเพชรแท้ๆ ที่ยังมิได้ดัดแปลงแก้ไข น่าศึกษาอย่างที่สุด เรือนนายไผ่-นางพรวน ประดิษฐ์ ตั้งอยู่เลขที่ 378 ถนนราชดำเนิน 1 ตำบลในเมือง อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร สร้างเมื่อประมาณปี พ.ศ.2452 ปลายๆ สมัยรัชกาลที่ 5 หรือประมาณเมื่อหนึ่งร้อยกว่าปีที่ผ่านมา บ้านเรือนไทยเดิมที่ถูกปลูกสร้างด้วยสามีภรรยา ผู้ประกอบอาชีพขายหวายและน้ำมันยาง

เผยแพร่เมื่อ 06-03-2020 ผู้เช้าชม 936

ของที่ระลึกจากแป้งข้าวเหนียว

ของที่ระลึกจากแป้งข้าวเหนียว

ของที่ระลึกจากแป้งข้าวเหนียว ทำจากแป้งข้าวเหนียวมาปั้นเป็นส่วนประกอบของสินค้า ประกอบด้วยส่วนต่างๆ ของกล้วยไข่ เช่น ลำต้น เครือกล้วยไข่ แล้วนำมาประกอบเป็นต้นกล้วยไข่และทำเป็นพวงกุญแจ ใช้เป็นของที่ระลึก ของฝาก หรือทำเป็นของตกแต่งก็ดูสวยงาม

เผยแพร่เมื่อ 10-04-2020 ผู้เช้าชม 4,180

เรือนขุนทวีจีนบำรุง

เรือนขุนทวีจีนบำรุง

เป็นเรือนไม้สักพักอาศัย 2 ชั้น ทรงมนิลาประยุกต์หลังคาปั้นหยามีมุขยื่นด้านหน้าประดับไม้ฉลุแบบเรือนขนมปังขิง (เรือนขนมปังขิง เป็นชื่อเรียกอาคารประเภทหนึ่ง ซึ่งได้รับอิทธิพลจากสถาปัตยกรรมแบบตะวันตก ซึ่งแพร่เข้ามาในประเทศไทยในสมัยรัชกาลที่ 4 มีการประดับตกแต่ลวดลายฉลุที่วิจิตรพิสดาร หรูหรา สวยงาม เหมือนขนมปังขิง) หลังคามุงกระเบื้องดินเผาทางเข้าหน้าบ้านและหน้าเรือนที่เฉลียงมีซุ้มประตู ตัวเรือนยกพื้นสูงเกือบ 2 เมตร 

เผยแพร่เมื่อ 05-03-2020 ผู้เช้าชม 1,503

เรือนส่างหม่อง

เรือนส่างหม่อง

ส่างหม่องเป็นชาวไทยใหญ่มาจากเมืองกุกกิก ประเทศพม่า เป็นคหบดี หรือมหาเศรษฐี ในสมัยรัชกาลที่ 5 เป็นผู้มีการศึกษาดี มีชีวิตที่ทันสมัยเหมือนชาวตะวันตก ได้เดินทางมาอยู่คลองสวนหมากในสมัยเดียวกับพะโป้ ได้เข้ามาประกอบอาชีพการทำป่าไม้ ในราว พ.ศ. 2420 และได้สมรสกับนางฝอยทอง มีบุตรธิดา 4 คน เมื่อนางฝอยทองเสียชีวิตลง ส่างหม่องจึงได้แต่งงานใหม่กับนางเฮียงสาวชาวลาวเวียงจันทน์ที่อพยพมาอยู่คลองสวนหมาก และได้ย้ายมาปลูกบ้านเรือนไทยปั้นหยาห่างจากบ้านหลังเดิมเล็กน้อย ส่างหม่องและนางเฮียงไม่มีบุตรด้วยกัน

เผยแพร่เมื่อ 06-03-2020 ผู้เช้าชม 1,965

มะขามป้อม สุดยอดสมุนไพรไทย แก้ไอ เจ็บคอ บำรุงกล่องเสียง

มะขามป้อม สุดยอดสมุนไพรไทย แก้ไอ เจ็บคอ บำรุงกล่องเสียง

ที่วัดโขมงหัก หมู่ที่ 13 ต.เทพนคร อ.เมือง จ.กำแพงเพชร มีกลุ่มวิสาหกิจชุมชนแพทย์แผนไทยหมอพื้นบ้านได้รวมกลุ่มกัน เพื่อทำยาอมมะขามป้อมเพชร เพื่อใช้รักษาบรรเทาอาการเจ็บคอ แก้ไอ บำรุงกล่องเสียง แก้เสมหะที่ลำคอ แก้เสลดหางวัว ยาอมมะขามป้อมเพชร ประกอบไปด้วย มะขามป้อม มะขามเปียก ดอกดีปลี ดอกช้าพลู เกลือ น้ำตาล ที่ถูกนำไปตากแห้งและอบ จากนั้นนำมาเคี่ยวในกระทะที่ร้อนคลุกเคล้าให้เข้ากันใช้เวลาประมาณ 4-5 ชั่วโมง 

เผยแพร่เมื่อ 12-05-2020 ผู้เช้าชม 1,307

บายศรี

บายศรี

บายศรี เป็นการใช้ภูมิปัญญาไทย ในการสร้างขวัญกำลังใจให้แก่ ผู้ได้รับการทำพิธี บายศรีจึงเป็นของสูง สิ่งมีค่าของไทยมาแต่โบราณ ในงานมงคลทุกงานจะมีพิธีที่มีบายศรีเป็นส่วนสำคัญ เป็นศาสนพิธีของศาสนาพราหมณ์ คำว่าบาย เป็นภาษาเขมร หมายถึง ข้าวสุก ศรี เป็นภาษาสันสกฤต หมายถึง มิ่งขวัญ บายศรี จึงหมายถึง ขวัญข้าว หรือภาชนะใส่เครื่องสังเวย  ก่อนทำพิธีสู่ขวัญ ต้องมีการจัดทำพาขวัญหรือขันบายศรี หมายถึง ภาชนะใส่เครื่องสังเวยบูชาก่อนการเรียกขวัญ ตกแต่งอย่างสวยงามด้วยใบไม้ เช่น ใบตองกล้วย นำมาพับ เป็นมุมแหลมและเย็บซ้อนอย่างสวยงาม อาจทำเป็น 3 ชั้น 5 ชั้น หรือ 7 ชั้น แล้วแต่ความเหมาะสมของผู้จัดพิธี บายศรีจึงเป็นความเชื่อของคนทุกภาคในประเทศไทย การทำพิธีโดยใช้บายศรี ก่อให้เกิดขวัญกำลังใจ ช่วยให้มีจิตใจที่เข้มแข็ง สามารถเผชิญภยันตรายได้อย่างดี ทำให้เกิดโชคลาภและสิริมงคลแก่ผู้กระทำ การใช้บายศรี มีทั้งเหตุการณ์ดีและเหตุการณ์ไม่ดี

เผยแพร่เมื่อ 10-04-2020 ผู้เช้าชม 31,838

กระบวนการทำพระเครื่องพิมพ์ดินของแหล่งเรียนรู้การทำพระเครื่องนครชุม

กระบวนการทำพระเครื่องพิมพ์ดินของแหล่งเรียนรู้การทำพระเครื่องนครชุม

พระเครื่องเป็นหนึ่งในพุทธศิลป์ที่มีคุณค่าทางจิตใจต่อผู้ที่บูชาและยังมีคุณค่าในเชิงศิลปะ และสะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อและวิถีชีวิตของคนไทยในแต่ละยุคสมัยพระเครื่องหลายองค์สามารถบอกเล่าเรื่องราวในประวัติศาสตร์ได้อีกด้วย และจังหวัดกำแพงเพชรก็เป็นจังหวัดที่มีความสำคัญในฐานะของการเป็นเมืองมรดกโลกที่มีประวัติศาสตร์มาอย่างยาวนานร่วมกับจังหวัดสุโขทัย และศรีสัชนาลัย จังหวัดกำแพงเพชรขึ้นชื่อว่าเป็นเมืองกรุพระเครื่องที่มีความสำคัญแห่งหนึ่งของประเทศไทย ดังคำขวัญประจำจังหวัดที่ว่า “กรุพระเครื่อง เมืองคนแกร่ง ศิลาแลงใหญ่ กล้วยไข่หวาน น้ำมันลานกระบือ เลื่องลือมรดกโลก” เนื่องด้วยมาจากการที่จังหวัดกำแพงเพชรมีพระเครื่องที่สำคัญและมีพระเครื่องที่เป็นหนึ่งในห้าของ “พระเครื่องเบญจภาคี” นั้นคือ “พระซุ้มกอ”  โดยเฉพาะพระซุ้มกอจากกรุทุ่งเศรษฐีที่มีชื่อเสียงและเป็นที่ต้องการสูงของคนในวงการพระเครื่อง จัดว่าเป็นพระเครื่องที่มีมูลค่ามาก มีความต้องการนิยมบูชาเป็นอันดับสองรองจาก พระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์ใหญ่ เลยก็ว่าได้

เผยแพร่เมื่อ 02-06-2022 ผู้เช้าชม 1,562

เสื้อลายดอก

เสื้อลายดอก

การสวมเสื้อลายดอกเป็นเอกลักษณ์สำคัญของภาคกลาง ในเทศกาลสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่จังหวัดกำแพงเพชร มีเอกลักษณ์การสวมเสื้อผ้าลายดอกเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ และเทศกาลสำคัญประจำเมืองมรดกโลกกำแพงเพชร ด้วยเหตุดังกล่าว เสื้อลายดอกและผ้าไทย จึงเป็นที่น่าสนใจของทุกสถาบันพากันสวมเสื้อลายดอกกันอย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง ทั้งระบบสถาบันและชาวกำแพงเพชร นิยมที่จะสวมใส่เสื้อลายดอกและผ้าไทยกันทุกรุ่นทุกวัย ทำให้กิจกรรมการตัดเย็บเสื้อผ้าลายดอกที่กำแพงเพชรจึงมีหลายร้าน ที่น่านิยมและสนใจ

เผยแพร่เมื่อ 10-04-2020 ผู้เช้าชม 1,682

ดอกไม้ประดิษฐ์จากต้นพลับพลึง

ดอกไม้ประดิษฐ์จากต้นพลับพลึง

ดอกไม้ประดิษฐ์ เป็นสิ่งประดิษฐ์ขึ้นจากวัสดุมีลักษณะคล้ายรูปร่างดอกไม้ที่ถูกผลิตขึ้นมาจากแรงงานฝีมือมนุษย์ เครื่องจักร หรืออุปกรณ์การผลิต โดยมีการใช้วัตถุดิบการผลิตจากธรรมชาติ หรือวัตถุดิบที่เกิดจากการสังเคราะห์มาผลิตโดยผ่านขั้นตอนการประดิษฐ์ ดัดแปลง อบ ย้อม เผา เคลือบสารเคมี รวมทั้งทำการตกแต่งตัดต่อเติม เพื่อก่อให้เกิดความสวยงาม โดยดอกไม้ที่ประดิษฐ์ขึ้นมาอาจจะมีความเหมือนหรือไม่เหมือนธรรมชาติก็ได้ขึ้นกับวัตถุประสงค์การใช้งาน โดยคุณสมบัติของดอกไม้ประดิษฐ์ที่สำคัญคือ มีความคงทน ง่ายต่อการเคลื่อนย้ายและดูแลรักษา มีความสวยงาม สามารถนำไปใช้ในการประดับในโอกาสต่างๆ 

เผยแพร่เมื่อ 10-04-2020 ผู้เช้าชม 2,161

แหล่งผลิตขนมโบราณ ขนมข้าวตอกอัด

แหล่งผลิตขนมโบราณ ขนมข้าวตอกอัด

ตั้งอยู่ในอำเภอนครชุม ไม่ไกลจากแหล่งเรียนรู้การทำพระเครื่องนครชุม เป็นบ้านไม้เก่าแก่ของครูมาลัย นักประพันธ์ชื่อดังแห่งเมืองกำแพงเพชรซึ่งตกทอดมาสู่รุ่นหลาน ที่นี่คือแหล่งผลิตขนมโบราณหาชิมได้ยากอย่าง ขนมข้าวตอก ขนมโบราณ รูปทรงสี่เหลี่ยมสีขาว ดูคล้ายก้อนเกล็ดหิมะสีขาว ทำมาจากน้ำตาลปี๊บเคี่ยวกับกะทิ คลุกเคล้ากับข้าวตอกบดละเอียดที่ทำมาจากข้าวเปลือกข้าวเหนียวที่คั่วไฟจนพอง ก่อนจะอัดพิมพ์แล้วอบด้วยเทียนหอม เนื้อเหนียวนุ่ม รสชาติหวานมัน นิยมนำไปใช้ในงานบุญ งานแต่ง

เผยแพร่เมื่อ 16-04-2020 ผู้เช้าชม 2,957