เสื้อลายดอก

เสื้อลายดอก

เผยแพร่เมื่อ 10-04-2020 ผู้ชม 1,600

[16.4258401, 99.2157273, เสื้อลายดอก]

        การสวมเสื้อลายดอกเป็นเอกลักษณ์สำคัญของภาคกลาง ในเทศกาลสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่จังหวัดกำแพงเพชร มีเอกลักษณ์การสวมเสื้อผ้าลายดอกเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ และเทศกาลสำคัญประจำเมืองมรดกโลกกำแพงเพชร ด้วยเหตุดังกล่าว เสื้อลายดอกและผ้าไทย จึงเป็นที่น่าสนใจของทุกสถาบันพากันสวมเสื้อลายดอกกันอย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง ทั้งระบบสถาบันและชาวกำแพงเพชร นิยมที่จะสวมใส่เสื้อลายดอกและผ้าไทยกันทุกรุ่นทุกวัย ทำให้กิจกรรมการตัดเย็บเสื้อผ้าลายดอกที่กำแพงเพชรจึงมีหลายร้าน ที่น่านิยมและสนใจ
        ที่เมืองนครชุม หมู่ที่ 1 บ้านวังยาง ตำบลนครชุม อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร ตรงข้ามกับโรงเรียนสาธิตฯ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร (โรงเรียนบ้านวังยางเดิม) บ้านนี้อยู่ติดกับวัดวังยาง ตัดเสื้อผ้าลายดอกผ้าไทยอย่างยอดเยี่ยมเป็นลักษณะของวิสาหกิจชุมชน คือชาวบ้านเกือบทั้งหมดหมู่บ้านรับงานจากบ้านหลังนี้ไปเย็บ ในวันหนึ่งราวสองร้อยตัว ทำให้ชาวบ้านมีรายได้แน่นอน น่ายกย่องอย่างยิ่ง ชาวบ้านมีงานทำทุกฤดูกาล ที่ร้านมีผ้าที่ตัดแล้วและยังไม่ได้ตัดวางไว้อย่างเป็นระเบียบ เสื้อผ้าแต่ละตัวล้วนมีฝีมือการตัดเย็บที่ดีเยี่ยม แขวนไว้อย่างงดงามพร้อมจำหน่าย แต่ละตัวมีสีสันและรูปทรงที่สวยงาม

วัสดุที่ใช้
        1. ผ้าซาติน
        2. ด้ายเย็บผ้า (สีตามลายผ้า)
        3. กรรไกร
        4. ช็อคสี
        5. กระดาษแบบ
        6. เข็มสอย
        7. เข็มจักร
        8. ไม้บรรทัด
        9. ดินสอ
        10. กระดุม
        11. เข็มหมุด
        12. จักรเย็บผ้า
        13. เตารีด

วิธีทำ
       1. วาดแบบลงกระดาษขาวธรรมดา ตามโครงสร้างของเสื้อ มีชิ้นหน้า ชิ้นหลัง แขน และสาบคอ
       2. นำแบบมาทาบบนผ้า แล้วตัดตามแบบนั้น
       3. เย็บติดกัน โดยเย็บที่สาบบ่า ไหล่ สาบคอ แขน ตัว ริมผ้า (โพ้ง) กระเป๋า และติดรังดุม

ภูมิปัญญาด้านทำเสื้อลายดอก 
       ได้แก่ นางวีรยา นันภักดี ปัจจุบันอยู่บ้านเลขที่ 36/1 หมู่ที่ 1 บ้านวังยาง ตำบลนครชุม อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร

หมายเหตุ : เสื้อผ้าลายดอกส่วนใหญ่ประชาชนชาวกำแพงเพชร จะใส่ในเทศกาลต่าง ๆ เช่น งานสารทรถไทยกล้วยไข่เมืองกำแพง งานสงกรานต์ งานนบพระเล่นเพลง เป็นต้น

คำสำคัญ : เสื้อลายดอก

ที่มา : สันติ อภัยราช. (2542). วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์ และภูมิปัญญาตำบลนครชุม อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร. กำแพงเพชร: สภาวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร.

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). เสื้อลายดอก. สืบค้น 26 เมษายน 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1391&code_db=610007&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1391&code_db=610007&code_type=01

Google search

Mic

เรือนรัตนบรรพต

เรือนรัตนบรรพต

เรือนร้านค้านายทองทรัพย์ รัตนบรรพต ตั้งอยู่เลขที่ 69 หมู่ที่ 5 ตำบลนครชุม อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชรริมคลองสวนหมากตรงกับบ้านพะโป้ โดยมีคลองสวนหมากคั่นกลาง นายทองทรัพย์เป็นบุตรชายของพะโป้กับแม่ทองย้อย คหบดีชาวกะเหรี่ยง ผู้มาค้าไม้ในครองสวนหมาก เกิดในปีพุทธศักราช 2446 สันนิษฐานว่าจะสร้างบ้านหลังนี้ ราวปี 2465 บ้านหลังนี้จึงมีอายุราว 94 ปี

เผยแพร่เมื่อ 06-03-2020 ผู้เช้าชม 1,389

การตีผึ้งหลวง

การตีผึ้งหลวง

การตีผึ้งเป็นอาชีพที่สำคัญในอดีตของชาวกำแพงเพชร การตัดหวาย การตักยาง การตีผึ้ง การทำยาสูบถูกบันทึกไว้ในวรรณกรรมทุ่งมหาราช ของครูมาลัย ชูพินิจ นับว่าเป็นวิถีชีวิตของคนกำแพงเพชร แต่ในปัจจุบันเราจะไม่เห็นการตีผึ้งหลวงได้ง่ายนัก เพราะขาดผู้ที่ชำนาญการในการตีผึ้ง แต่เราก็โชคดีที่พบกับหนุ่มสมชาย ภู่สอน ผู้ยึดอาชีพตีผึ้งมากว่าสิบปี เมื่อเดินมาที่สวน พบผึ้งหลวงรังขนาดใหญ่ อยู่บนต้นกระท้อน หนุ่มสมชายเริ่มต้นทำคบไฟเพื่อจุดเป็นควันเพื่อให้ผึ้งเมาขณะตี และไม่สามารถต่อยเขาได้ เริ่มเอาควันเข้าไปลนที่รังผึ้งหลวง ผึ้งแตกรังบินว่อนเต็มท้องฟ้า เมื่อผึ้งหนีไปหมดแล้ว ได้ใช้มีดปาดรังผึ้งหลวงลงมา เพื่อนำมาคั้นเอาน้ำผึ้งมาใช้ประโยชน์ต่อไป

เผยแพร่เมื่อ 10-04-2020 ผู้เช้าชม 3,627

เรือนสาวห้อม

เรือนสาวห้อม

ริมถนนเทศา ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร นับแต่วัดเสด็จขึ้นมา มีบ้านเรือนไทยอยู่มากมาย แต่ละหลังอายุไม่ต่ำกว่าร้อยปี รอดพ้นจากไฟไหม้ครั้งใหญ่ในกำแพงเพชร เมื่อเดือนเมษายน 2506 ทางด้านซ้ายมือ เมื่อขึ้นมาทางเหนือ ตามถนนเดินรถทางเดียว พบบ้านสามหลังต่อเนื่องกันยาวเหยียดลงในในสวนหลังบ้าน บ้านแต่ละหลังล้วนมีสถาปัตยกรรมเป็นของตนเอง หาชมที่อื่นใดไม่ได้อีกแล้ว

เผยแพร่เมื่อ 06-03-2020 ผู้เช้าชม 1,343

เรือนขุนทวีจีนบำรุง

เรือนขุนทวีจีนบำรุง

เป็นเรือนไม้สักพักอาศัย 2 ชั้น ทรงมนิลาประยุกต์หลังคาปั้นหยามีมุขยื่นด้านหน้าประดับไม้ฉลุแบบเรือนขนมปังขิง (เรือนขนมปังขิง เป็นชื่อเรียกอาคารประเภทหนึ่ง ซึ่งได้รับอิทธิพลจากสถาปัตยกรรมแบบตะวันตก ซึ่งแพร่เข้ามาในประเทศไทยในสมัยรัชกาลที่ 4 มีการประดับตกแต่ลวดลายฉลุที่วิจิตรพิสดาร หรูหรา สวยงาม เหมือนขนมปังขิง) หลังคามุงกระเบื้องดินเผาทางเข้าหน้าบ้านและหน้าเรือนที่เฉลียงมีซุ้มประตู ตัวเรือนยกพื้นสูงเกือบ 2 เมตร 

เผยแพร่เมื่อ 05-03-2020 ผู้เช้าชม 1,417

เรือนนายหอม รามสูต

เรือนนายหอม รามสูต

บ้านหลังนี้ เป็นบ้านทรงปั้นหยา (เรือนไม้แบบยุโรป มุงหลังคาด้วยกระเบื้อง หลังคาทุกด้านชนกันแบบพีระมิด ไม่มีหน้าจั่วเรือนปั้นหยาปรากฏมีอยู่ที่หลังคาพระราชวังต่างๆ ที่สร้างในสมัยต้นรัชกาลที่ 4 ซึ่งเป็นแบบปั้นหยา จากเรือนปั้นหยาได้วิวัฒนาการมาเป็นเรือนมะนิลา คือบางส่วนเป็นเรือนหลังคาปั้นหยาแล้ว เปิดบางส่วนให้มีหน้าจั่ว ในสมัยที่เรือนแบบมะนิลาซึ่งคงจะแพร่หลายมาจากเมืองมะนิลา) เข้ามาสู่ความนิยมอย่างแพร่หลายในพระราชวัง แล้วสู่วังของเจ้านายในราชสำนัก และมาสู่เรือนของผู้มีอันจะกินในต่างจังหวัดในที่สุด

เผยแพร่เมื่อ 05-03-2020 ผู้เช้าชม 1,211

เรือนปานะ

เรือนปานะ

เรือนนายไผ่–นางพรวน ประดิษฐ์ (บ้านนางพี ปานะ) บนถนนราชดำเนิน ก่อนถึงสี่แยกทางไปโรงพยาบาลกำแพงเพชร มีเรือนไทยที่สมบูรณ์แบบอยู่เรือนหนึ่ง เป็นเรือนของนางพี ปานะ มีลักษณะเป็นเรือนทรงไทยกำแพงเพชรแท้ๆ ที่ยังมิได้ดัดแปลงแก้ไข น่าศึกษาอย่างที่สุด เรือนนายไผ่-นางพรวน ประดิษฐ์ ตั้งอยู่เลขที่ 378 ถนนราชดำเนิน 1 ตำบลในเมือง อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร สร้างเมื่อประมาณปี พ.ศ.2452 ปลายๆ สมัยรัชกาลที่ 5 หรือประมาณเมื่อหนึ่งร้อยกว่าปีที่ผ่านมา บ้านเรือนไทยเดิมที่ถูกปลูกสร้างด้วยสามีภรรยา ผู้ประกอบอาชีพขายหวายและน้ำมันยาง

เผยแพร่เมื่อ 06-03-2020 ผู้เช้าชม 887

กล้วยไข่กำแพงเพชร

กล้วยไข่กำแพงเพชร

กล้วยไข่นับว่าเป็น "ของดีของเมืองกำแพง" ที่ชาวบ้านปลูกกันมานับร่วมร้อยปี จนกลายเป็นผลไม้ที่มีชื่อเสียงของจังหวัด และผูกพันกับประเพณีวิถีชีวิตของคนกำแพงมายาวนาน ทั้งงานบุญ งานสารทไทยกล้วยไข่ ควบคู่ไปกับวัฒนธรรมการกินกระยาสารทของคนกำแพงเพชร คนกำแพงเพชรปลูกกล้วยไข่กันมากในแทบทุกพื้นที่ เนื่องจากทั้งดิน น้ำ และอากาศที่เหมาะสม ทำให้ได้ผลผลิตที่ดีมีเอกลักษณ์โดดเด่น

เผยแพร่เมื่อ 20-01-2020 ผู้เช้าชม 2,101

ของที่ระลึกจากแป้งข้าวเหนียว

ของที่ระลึกจากแป้งข้าวเหนียว

ของที่ระลึกจากแป้งข้าวเหนียว ทำจากแป้งข้าวเหนียวมาปั้นเป็นส่วนประกอบของสินค้า ประกอบด้วยส่วนต่างๆ ของกล้วยไข่ เช่น ลำต้น เครือกล้วยไข่ แล้วนำมาประกอบเป็นต้นกล้วยไข่และทำเป็นพวงกุญแจ ใช้เป็นของที่ระลึก ของฝาก หรือทำเป็นของตกแต่งก็ดูสวยงาม

เผยแพร่เมื่อ 10-04-2020 ผู้เช้าชม 4,009

แคนหรือเก้งชนเผ่าม้ง

แคนหรือเก้งชนเผ่าม้ง

แคนหรือเก้งชนเผ่าม้ง ดนตรีชาวเขาเผ่าม้ง ไพเราะแว่วมาอย่างโหยหวน แสดงความสูญเสีย ที่สลับซับซ้อน ชาวม้ง เรียกดนตรีชิ้นนี้ว่า เก้ง คนพื้นราบเรียกกันว่า แคน แต่เดิมดนตรีที่เรียกว่าเก้งใช้ในการเป่าเพื่อส่งวิญญาณของผู้ตาย เมื่อได้ยินเพลงจากแคน แสดงถึงมีการตาย มีการลั่นกลองประกอบ เมื่อมีการตายชาวม้งต้องนำศพไปฝังบนเขาผู้นำขบวนจะเดินเป่าแคนเพื่อส่งวิญญาณไปสวรรค์ จากการสัมภาษณ์ นายหวั่งเซ้ง จังเจริญกุล ชาวเขาเผ่าม้ง อายุ 63 ปี มีอาชีพทำแคนขายท่านเล่าให้ฟังว่า ดนตรีประจำชาวเขาเผ่าม้งที่สำคัญ คือ แคนหรือเก้ง ใช้เป่าเพื่อส่งวิญญาณผู้ตายไปสู่สวรรค์ 

เผยแพร่เมื่อ 24-04-2020 ผู้เช้าชม 4,638

การตีมีดโบราณชนเผ่าม้ง

การตีมีดโบราณชนเผ่าม้ง

นายยูเล่ง แซ่ม้า อายุ 64 ปี เรียนรู้การตีมีดจากพ่อ พ่อเรียนรู้มาจากปู่ ปู่เรียนรู้มาจากทวด สืบทอดมาแสนนาน เขาเริ่มตีมีดมาตั้งแต่อายุ 16 ปี โดยการใช้เหล็กแท่งหรือเหล็กแหนบ เป็นวัตถุดิบสำหรับตี เตาที่ใช้ตีมีดเป็นเตาแบบโบราณที่ใช้ปู้หรือไฟสำหรับเป่าให้เหล็กแดง ทำด้วยไม้เนื้ออ่อนเจาะเข้าไปให้เป็นโพรงเป็นกระบอกสูบและใช้ขนไก่สำหรับเป็นลูกสูบ การสูบเบาแรงมากแทบไม่ต้องออกแรง เพียงดึงเบาๆ ก็ทำให้เกิดลมอัดอย่างแรง ทำให้ไฟลุกอย่างคุโชน ทำให้เหล็กแดง เมื่อได้ที่แล้วจึงนำมาใช้ตี มีเทคนิคการตีที่ไม่เคยเห็นมาก่อน

เผยแพร่เมื่อ 27-04-2020 ผู้เช้าชม 1,661