เรือนขุนทวีจีนบำรุง

เรือนขุนทวีจีนบำรุง

เผยแพร่เมื่อ 05-03-2020 ผู้ชม 1,534

[16.4746054, 99.5246328, เรือนขุนทวีจีนบำรุง]

        ทางฝั่งกำแพงเพชร บ้านขุนทวีจีนบำรุง เป็นบ้านที่มีลักษณะงดงามที่สุดอีกหลังหนึ่ง มีอายุ เกือบ 80 ปี ตั้งอยู่เลขที่ 53 ถนนเทศา 1 ตำบลในเมือง อำเภอเมืองกำแพงเพชรอยู่ระหว่างวัดเสด็จกับโรงพยาบาลแพทย์บัณฑิต จังหวัดกำแพงเพชร สร้างเมื่อประมาณปี พ.ศ.2480 สร้างด้วยไม้สักเป็นส่วนใหญ่ ขุนทวีจีนบำรุง (ทวี ล่ำซำ) เกิดเมื่อพ.ศ. 2426 ณ ตำบลจุ่งเห้ว ประเทศจีน เป็นบุตรของนายอึ้งอยู่ จ้อง และนางซ้อย มาประเทศไทยเมื่ออายุ 18 ปี ทำงานกับอา ชื่อนายล่ำซำ ต่อมา มาทำกิจการค้าไม้ที่กำแพงเพชร เป็นผู้จัดการบริษัทป่าไม้ล่ำซำ ท่านตั้งโรงสีไฟ และบริจาคเงินและที่ดินมากมาย จนกระทั่งได้รับพระราชทาน ราชทินนามว่า ขุนทวีจีนบำรุง ซึ่งหมายถึง ชาวจีนที่เสียสละบำรุงบ้านเมือง ในปีพ.ศ. 2474 ขุนทวีมีบุตรธิดา อยู่ 13 คน ท่านเป็นที่รักของชาวกำแพงเพชรอย่างยิ่ง ท่านถึงแก่กรรมที่โรงพยาบาลกำแพงเพชรในเดือนกุมภาพันธ์ 2505 รวมอายุได้ 78 ปี บ้านหลังนี้ ชาวบ้านเรียกกันว่านายห้าง สร้างโดยช่างไม้ชาวกำแพงเพชร ท่านเป็นคนละเอียดมาก จึงต้องเปลี่ยนช่างหลายชุด ตัวบ้านไม้พื้นชั้นล่างเป็นไม้สันไม้พื้นชั้นบนเป็นไม้มะม่วง ไม้ที่เป็นตงและรอด มีความหนาถึง 3 นิ้ว ไม้ฝาหนาถึงสามกระเบียด พื้นบ้านหนานิ้วครึ่ง บานประตูและหน้าต่างจะมีช่องลมให้ลมผ่าน แต่เดิมบ้านหลังนี้ใช้สลักไม้แทนตะปู 
        ลักษณะสถาปัตยกรรม เป็นเรือนไม้สักพักอาศัย 2 ชั้น ทรงมนิลาประยุกต์หลังคาปั้นหยามีมุขยื่นด้านหน้าประดับไม้ฉลุแบบเรือนขนมปังขิง (เรือนขนมปังขิง เป็นชื่อเรียกอาคารประเภทหนึ่ง ซึ่งได้รับอิทธิพลจากสถาปัตยกรรมแบบตะวันตก ซึ่งแพร่เข้ามาในประเทศไทยในสมัยรัชกาลที่ 4 มีการประดับตกแต่ลวดลายฉลุที่วิจิตรพิสดาร หรูหรา สวยงาม เหมือนขนมปังขิง) หลังคามุงกระเบื้องดินเผาทางเข้าหน้าบ้านและหน้าเรือนที่เฉลียงมีซุ้มประตู ตัวเรือนยกพื้นสูงเกือบ 2 เมตร แต่เดิมสามารถเข้าไปวิ่งเล่นใต้ถุนบ้านได้อย่างสบาย พื้นที่ชั้นล่างมีห้องรับแขกและห้องรับประทานอาหาร 2 ห้องนอน ห้องเก็บของและห้องน้ำ-ส้วม ชั้นบนมี 4 ห้องนอน ห้องโถงและระเบียงประตูภายในชั้นล่างเป็นบานเฟี้ยมลูกฟัก ด้านบนโปร่งด้วยลูกกรงเหล็กกลม 
        ส่วนหน้าต่างเป็นบานลูกฟักผสมบานเกล็ดกระทุ้งเปิดได้ ช่องลมประตู หน้าต่างประดับไม้ฉลุลาย ฝาไม้กระดานตีแนวนอน ปัจจุบันเป็นกรรมสิทธิ์ของนางเพ็ญศริิ เจียมพานทอง ลูกสาวคนเล็กของขุนทวี ที่น่าสังเกตคือห้องนอนของขุนทวีชั้นบนมีขนาดเล็กมาก ขนาดประมาณ กว้าง 3 เมตร ยาว 4 เมตร แสดงถึงความเป็นคนเรียบง่ายและสมถะของท่าน  
       เมื่อซ่อมบ้านครั้งใหญ่เมื่อ 3 ปีที่ผ่านมา มีการเปลี่ยนวัสดุมุงหลังคาจากกระเบื้องดินเผาเป็นกระเบื้องซีเมนต์สีส้ม เปลี่ยนเฉลียงไม้หน้าบ้านเรือนเป็นพื้นคอนกรีตเสริมเหล็ก เปลี่ยนราวบันไดลูกกรงที่ผุและทาน้ำยารักษาเนื้อไม้ทั้งหลัง เมื่อสร้างบ้านใหม่ๆ บ้านนายห้าง มีอาณาเขตกว้างขวาง มากใต้ถุนสูง มีบ่อน้ำอยู่หน้าบ้าน เมื่อสมัยน้ำท่วมกำแพงเพชรใหญ่ ปีพ.ศ. 2504 น้ำท่วมในตัวเมืองกำแพงเพชร ขุนทวีได้ให้ชาวบ้านที่เดือดร้อน เข้ามาอยู่อาศัยในบ้านด้วย ปัจจุบันลูกๆ ได้แบ่งที่ดินกันไป จึงทำให้เหลือที่ดินเฉพาะที่ตั้งเรือน บ้านหลังนี้จึงเป็นบ้านที่น่าสนใจมากอีกหลังหนึ่งที่คนกำแพงเพชรภูมิใจ

 

คำสำคัญ : เรือนขุนทวีจีนบำรุง, เรือนโบราณ

ที่มา : สันติ อภัยราช. (ม.ป.ป.). เอกสารประกอบการอบรมมัคคุเทศก์ เทศบาลเมืองกำแพงเพชร. กำแพงเพชร: เทศบาลเมืองกำแพงเพชร.

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). เรือนขุนทวีจีนบำรุง. สืบค้น 17 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?code_db=610007&code_type=01&nu=pages&page_id=1353

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1353&code_db=610007&code_type=01

Google search

Mic

เรือนสาวห้อม

เรือนสาวห้อม

ริมถนนเทศา ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร นับแต่วัดเสด็จขึ้นมา มีบ้านเรือนไทยอยู่มากมาย แต่ละหลังอายุไม่ต่ำกว่าร้อยปี รอดพ้นจากไฟไหม้ครั้งใหญ่ในกำแพงเพชร เมื่อเดือนเมษายน 2506 ทางด้านซ้ายมือ เมื่อขึ้นมาทางเหนือ ตามถนนเดินรถทางเดียว พบบ้านสามหลังต่อเนื่องกันยาวเหยียดลงในในสวนหลังบ้าน บ้านแต่ละหลังล้วนมีสถาปัตยกรรมเป็นของตนเอง หาชมที่อื่นใดไม่ได้อีกแล้ว

เผยแพร่เมื่อ 06-03-2020 ผู้เช้าชม 1,462

กล้วยไข่กำแพงเพชร

กล้วยไข่กำแพงเพชร

กล้วยไข่นับว่าเป็น "ของดีของเมืองกำแพง" ที่ชาวบ้านปลูกกันมานับร่วมร้อยปี จนกลายเป็นผลไม้ที่มีชื่อเสียงของจังหวัด และผูกพันกับประเพณีวิถีชีวิตของคนกำแพงมายาวนาน ทั้งงานบุญ งานสารทไทยกล้วยไข่ ควบคู่ไปกับวัฒนธรรมการกินกระยาสารทของคนกำแพงเพชร คนกำแพงเพชรปลูกกล้วยไข่กันมากในแทบทุกพื้นที่ เนื่องจากทั้งดิน น้ำ และอากาศที่เหมาะสม ทำให้ได้ผลผลิตที่ดีมีเอกลักษณ์โดดเด่น

เผยแพร่เมื่อ 20-01-2020 ผู้เช้าชม 2,318

เรือนครูมาลัย ชูพินิจ

เรือนครูมาลัย ชูพินิจ

บ้านที่มีอายุกว่า 120 ปี และยังรักษาสภาพเดิมๆ ไว้ได้กว่าร้อยละ 80 คือ บ้านครูมาลัย ชูพินิจ อยู่ปากซอยชากังราว อยู่เลยวัดพระบรมธาตุมาทางนครชุมเล็กน้อย ตามถนนสายหน้าเดิม ติดกับคลองสวนหมาก โดยหันหน้าออกไปทางคลองสวนหมาก และแม่น้ำปิง ครูมาลัยเป็นบุตรของกำนันสอน และนางระเบียบ ชูพินิจ กำนันตำบลปากคลองสวนหมาก อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร เดิมกำนันสอนตั้งบ้านเรือนอยู่บริเวณเดียวกันกับบ้านหลังนี้ บ้านหลังนี้เป็นฉากสำคัญในนวนิยายเรื่องทุ่งมหาราช

เผยแพร่เมื่อ 06-03-2020 ผู้เช้าชม 1,289

ของที่ระลึกจากแป้งข้าวเหนียว

ของที่ระลึกจากแป้งข้าวเหนียว

ของที่ระลึกจากแป้งข้าวเหนียว ทำจากแป้งข้าวเหนียวมาปั้นเป็นส่วนประกอบของสินค้า ประกอบด้วยส่วนต่างๆ ของกล้วยไข่ เช่น ลำต้น เครือกล้วยไข่ แล้วนำมาประกอบเป็นต้นกล้วยไข่และทำเป็นพวงกุญแจ ใช้เป็นของที่ระลึก ของฝาก หรือทำเป็นของตกแต่งก็ดูสวยงาม

เผยแพร่เมื่อ 10-04-2020 ผู้เช้าชม 4,240

การตีมีดโบราณชนเผ่าม้ง

การตีมีดโบราณชนเผ่าม้ง

นายยูเล่ง แซ่ม้า อายุ 64 ปี เรียนรู้การตีมีดจากพ่อ พ่อเรียนรู้มาจากปู่ ปู่เรียนรู้มาจากทวด สืบทอดมาแสนนาน เขาเริ่มตีมีดมาตั้งแต่อายุ 16 ปี โดยการใช้เหล็กแท่งหรือเหล็กแหนบ เป็นวัตถุดิบสำหรับตี เตาที่ใช้ตีมีดเป็นเตาแบบโบราณที่ใช้ปู้หรือไฟสำหรับเป่าให้เหล็กแดง ทำด้วยไม้เนื้ออ่อนเจาะเข้าไปให้เป็นโพรงเป็นกระบอกสูบและใช้ขนไก่สำหรับเป็นลูกสูบ การสูบเบาแรงมากแทบไม่ต้องออกแรง เพียงดึงเบาๆ ก็ทำให้เกิดลมอัดอย่างแรง ทำให้ไฟลุกอย่างคุโชน ทำให้เหล็กแดง เมื่อได้ที่แล้วจึงนำมาใช้ตี มีเทคนิคการตีที่ไม่เคยเห็นมาก่อน

เผยแพร่เมื่อ 27-04-2020 ผู้เช้าชม 1,722

แหล่งเรียนรู้การทำพระเครื่องนครชุม

แหล่งเรียนรู้การทำพระเครื่องนครชุม

พระเครื่องของจังหวัดกำแพงเพชรมีชื่อเสียงในด้านความสง่างามด้วยศิลปะอันเกิดจากประติมากรรมของสกุลช่างกำแพงเพชร ในอดีตมีผู้ค้นพบกรุพระพิมพ์หรือที่เรียกกันในปัจจุบันว่า “พระเครื่อง” บริเวณพระมหาธาตุเจดีย์ที่ถูกปล่อยให้รกร้างเป็นจำนวนมาก ซึ่งต่อมาก็ได้กลายเป็นจุดกำเนิดของกรุพระเครื่องตระกูลทุ่งเศรษฐี รวมถึงได้มีการพบตำนานการสร้างพระพิมพ์ซึ่งจารึกในแผ่นลานเงินรวมอยู่ในกรุที่ถูกค้นพบ ทำให้คนรุ่นหลังได้ทราบถึงตำนานความเป็นมาของพระเครื่องนครชุมที่มีประวัติศาสตร์อันยาวนาน  ด้วยเหตุนี้กำแพงเพชรจึงกลายเป็นจังหวัดที่มีชื่อเสียงในด้านพระเครื่อง

เผยแพร่เมื่อ 16-04-2020 ผู้เช้าชม 2,685

วิสาหกิจชุมชนผ้าทอมือบ้านใหม่ศรีอุบล ตำบลนิคมทุ่งโพธิ์ทะเล อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร

วิสาหกิจชุมชนผ้าทอมือบ้านใหม่ศรีอุบล ตำบลนิคมทุ่งโพธิ์ทะเล อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร

การจัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผ้าทอมือบ้านใหม่ศรีอุบล เกิดขึ้นจากการร่วมกลุ่มของประชาชนที่มีความรู้และทักษะของการทอผ้า ที่สืบทอดกันมาจากครอบครัว เป็นภูมิปัญญาที่ตกทอดกันมาสู่รุ่นต่อรุ่นได้มีการรวมตัวของประชาชนหลังจากว่างงานเกษตรกร โดยมีหัวหน้ากลุ่ม ได้แก่ นางสาวธโยธร ลายทอง เป็นหัวหน้ากลุ่มกลุ่มผ้าทอมือบ้านใหม่ศรีอุบล เริ่มผลิตผ้าจากการปั่นด้าย จนกระทั่งถึงการทอผ้า ตัดเย็บ ขายปลีกและขายส่งอย่างครบวงจร มีระบบและสามารถเลี้ยงตนเองได้ โดยได้รับการสนับสนุนจากจังหวัดกำแพงเพชร และองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งโพธิ์ทะเลอย่างต่อเนื่อง ทำให้ประชาชนมีรายได้จากการทอผ้า ตัดเย็บและเลี้ยงตัวได้ หลังจากการทำไร่ทำนา หรือว่างจากการทำเกษตรกรรมนับว่าเป็นตัวอย่างที่ดี สำหรับการรวมกลุ่มการทำงานอย่างเข้มแข็ง ของประชาชน ทำให้ชุมชนเกิดความเข้มแข็งมากขึ้น

เผยแพร่เมื่อ 01-08-2022 ผู้เช้าชม 836

กล้วยไข่สายพันธุ์กำแพงเพชร

กล้วยไข่สายพันธุ์กำแพงเพชร

อย่างไรจึงเรียกว่า "กล้วยไข่เมืองกำแพง" กล้วยไข่สายพันธุ์กำแพงเพชร จะมีลักษณะลำต้นตรงกาบด้านนอกเป็นสีเขียวอมเหลือง และกาบด้านในเป็นสีชมพูอมแดง มีลักษระผิวกาบมันวาว ลำต้นมีกาบใบที่ประกบกันแน่น ปลายใบเรียว สีใบกล้วยเป็็นสีเหลืองอ่อน ผิวใบมันวาว ใบชูตั้งชันยาวและรี มีเส้นใบจะเรียงขนานกัน กล้วยไข่กำแพงเพชรจะเริ่มตกปลีหลังจากปลูก 6-8 เดือน ปลีจะเกิดที่ใจกลางของลำต้น มีลักษณะปลีขนาดเล็ก ด้านนอกเป็นสีแดงม่วง เมื่อลอกกาบปลีออก ด้านในจะเป็นสีเหลือง

เผยแพร่เมื่อ 20-01-2020 ผู้เช้าชม 6,262

เรือนรัตนบรรพต

เรือนรัตนบรรพต

เรือนร้านค้านายทองทรัพย์ รัตนบรรพต ตั้งอยู่เลขที่ 69 หมู่ที่ 5 ตำบลนครชุม อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชรริมคลองสวนหมากตรงกับบ้านพะโป้ โดยมีคลองสวนหมากคั่นกลาง นายทองทรัพย์เป็นบุตรชายของพะโป้กับแม่ทองย้อย คหบดีชาวกะเหรี่ยง ผู้มาค้าไม้ในครองสวนหมาก เกิดในปีพุทธศักราช 2446 สันนิษฐานว่าจะสร้างบ้านหลังนี้ ราวปี 2465 บ้านหลังนี้จึงมีอายุราว 94 ปี

เผยแพร่เมื่อ 06-03-2020 ผู้เช้าชม 1,483

เรือนส่างหม่อง

เรือนส่างหม่อง

ส่างหม่องเป็นชาวไทยใหญ่มาจากเมืองกุกกิก ประเทศพม่า เป็นคหบดี หรือมหาเศรษฐี ในสมัยรัชกาลที่ 5 เป็นผู้มีการศึกษาดี มีชีวิตที่ทันสมัยเหมือนชาวตะวันตก ได้เดินทางมาอยู่คลองสวนหมากในสมัยเดียวกับพะโป้ ได้เข้ามาประกอบอาชีพการทำป่าไม้ ในราว พ.ศ. 2420 และได้สมรสกับนางฝอยทอง มีบุตรธิดา 4 คน เมื่อนางฝอยทองเสียชีวิตลง ส่างหม่องจึงได้แต่งงานใหม่กับนางเฮียงสาวชาวลาวเวียงจันทน์ที่อพยพมาอยู่คลองสวนหมาก และได้ย้ายมาปลูกบ้านเรือนไทยปั้นหยาห่างจากบ้านหลังเดิมเล็กน้อย ส่างหม่องและนางเฮียงไม่มีบุตรด้วยกัน

เผยแพร่เมื่อ 06-03-2020 ผู้เช้าชม 1,988