ประวัติและตำนานการเปิดกรุ

ประวัติและตำนานการเปิดกรุ

เผยแพร่เมื่อ 16-08-2019 ผู้ชม 6,481

[16.4821705, 99.5081905, ประวัติและตำนานการเปิดกรุ]

        พระเครื่องสกุลพระกำแพงทุ่งเศรษฐีมีตำนานชัดเจนกรุและปีที่สร้าง ได้พบจารึกบนแผ่นลานเงินในกรุขณะรื้อพระเจดีย์องค์ใหญ่ของวัดพระบรมธาตุ เมืองนครชุมเหตุการณ์ที่ค้นพบพระเครื่องเป็นจำนวนมากนี้ มีบันทึกประวัติไว้ว่า
        เมื่อปีระกา จุลศักราช 1211 (ตรงกับ พ.ศ. 2392) สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) วัดระฆังฯ ได้ขึ้นมาเยี่ยมญาติที่เมืองกำแพงเพชร ได้อ่านศิลาจารึกอักษรไทยโบราณมีอยู่ที่วัดเสด็จฝั่งเมืองกำแพงเพชร ได้ความว่ามีพระเจดีย์โบราณบรรจุพระบรมธาตุของพระพุทธเจ้า อยู่ริมลำน้ำปิงฝั่งตะวันตก 3 องค์ชำรุดทั้งหมด พระยากำแพง (น้อย) เป็นเจ้าเมืองในขณะนั้น ได้ทำการค้นหาจนพบพระเจดีย์ทั้ง 3 องค์ ตามที่ปรากฏในศิลาจารึก พระเจดีย์องค์กลางใหญ่สุด ซึ่งบรรจุพระบรมธาตุ ขณะรื้อพระเจดีย์ทั้ง 3 องค์นั้น ได้พบกรุพระพิมพ์สกุลทุ่งเศรษฐีแบบต่าง ๆ จำนวนมาก ภายในกรุพบแผ่นลานเงินจารึกภาษาขอม กล่าวถึงตำนานการสร้างพระพิมพ์และวิธีการสักการบูชาพร้อมลำดับอุปเท่ห์ไว้ พระพิมพ์ที่ได้จากกรุนี้คือ พระกำแพงพลูจีบ พระกำแพงเม็ดขนุน พระกำแพงซุ้มกอ พระกำแพงเปิดโลก (เม็ดทองหลาง) พระเกสรว่านหน้าเงินหน้าทอง พระเม็ดน้อยหน่า พระนางกำแพง ฯลฯ
        ตำนานจารึกบนแผ่นลานเงินได้คัดจากสำเนาเดิม ดังนี้ ณ ตำบลเมืองพิษณุโลก เมืองกำแพงเพชร  เมืองพิชัย เมืองพิจิตร เมืองสุพรรณ ว่ามีฤาษี 11 ตน ฤาษีเป็นใหญ่ 3 ตนฤาษีพิราลัยตนหนึ่ง ฤาษีตาไฟตนหนึ่งฤาษีตาวัวตนหนึ่ง เป็นประธานแก่ฤาษีทั้งหลาย จึงปรึกษากันว่าเราทั้งนี้จะเอาอันใดให้แก่พระยาศรีธรรมาโศกราช ฤาษีทั้ง 3 จึงปรึกษาแก่ฤาษีทั้งปวงว่าเราจะทำด้วยฤทธ์ ทำเครื่องประดิษฐานเงินทองไว้ฉะนี้ฉลองพระองค์จึงทำเป็นเมฆพัตร อุทุมพรเป็นมฤตย์พิศม์ อายุวัฒนะ พระฤาษีประดิษฐานไว้ในถ้ำเหวใหญ่น้อย เป็นอานุภาพแก่มนุษย์ทั้งหลาย สมณชีพราหมณาจารย์ไปถ้วน 5,000 พรรษา พระฤาษีตนหนึ่งจึงว่าแก่ฤาษีทั้งปวงว่า ท่านจงไปเอาว่านทั้งหลายอันมีฤทธิ์เอามาให้ได้ 1,000 เก็บเอาเกสรดอกไม้อันวิเศษที่มีกฤษณาเป็นอาทิให้ได้สัก 1,000 ครั้นเสร็จแล้วฤาษีจึงป่าวร้องเทวดาทั้งปวงให้มาช่วยบดยาทำเป็นพระพิมพ์ไว้สถานหนึ่ง ทำเป็นเมฆพัตรสถานหนึ่ง ฤาษีทั้ง 3 ตนนั้นจึงบังคับฤาษีทั้งปวงให้เอาว่านทำเป็นผงปั้นเป็นก้อน ถ้าผู้ใดได้ถวายพระพรแล้ว จึงเอาไว้ใช้ตามอานุภาพเถิด ให้ระลึกถึงพระฤาษีที่ทำไว้นั้นเถิด

จดหมายเหตุ
        ในพระราชนิพนธ์เรื่องเสด็จพระพาสเมืองกำแพงเพชรของพระพุทธเจ้าหลวง รัชกาลที่ 5 ในปี 2449 ได้คัดมา โดยย่อว่านายชิดมหาดเล็กวรเดช เดิมรับราชการในกระทรวงมหาไทย ลาป่วยได้ขึ้นมารักษาตัวที่บ้านภรรยาเมืองกำแพงเพชรในปีนั้น ได้ทูลเกล้าถวายตำนานพระกำแพงทุ่งเศรษฐีเป็นจารึกบนแผ่นลานทองแต่รัชกาลที่ 5 นายชิดกล่าวว่าแผ่นลานทองไม่พบในกรุวัดพระบรมธาตุ ขุดได้เฉพาะในบริเวณทุ่งเศรษฐีเท่านั้นการพบกรุพระครั้งแรกที่วัดพระบรมธาตุนครชุมในปี พ.ศ. 2392 แล้ว พระเจดีย์ทั้ง 3 องค์ ได้ถูกซ่อมขึ้นรวมเป็นองค์เดียวกัน โดยชาวพม่าชื่อ พญาตะก่า แต่ไม่แล้วเสร็จเศรษฐีป่าไม้ชาวพม่าชื่อ พะโป๊ะ ได้บูรณะต่อมาจนเสร็จบริบูรณ์ แล้วสั่งยอดฉัตรจากประเทศพม่ามาประดับยอดพระบรมธาตุ ในปัจจุบันพระบรมธาตุเจดีย์องค์นี้มีรูปแบบศิลปะพม่า นายชิดมหาดเล็กได้บันทึกไว้ว่า หลังจากพบพระพิมพ์ครั้งแรกที่เจดีย์วัดพระบรมธาตุแล้ว ต่อมาชาวบ้านได้ทำการขุดค้นเจดีย์น้อยใหญ่ในบริเวณลานทุ่งเศรษฐีได้พระพิมพ์แบบต่างๆ จำนวนมาก พระพิมพ์เมืองกำแพงเพชรนี้ก่อนชาวบ้านนิยมนับถือกันมาช้านานแล้วว่ามีอานุภาพมากผู้ใดมีไว้จะทำการสิ่งใดก็มีความสำเร็จผลตามความปรารถนาทุกประการ รูปแบบพระพิมพ์เหล่านี้มีผู้ได้พบแล้วมีอยู่ 3 แบบคือ พระยืนอย่าง 1 พระลีลาอย่าง 1 พระนั่งอย่าง 1 พระเกสรว่าน อย่าง 1 พระพิมพ์เหล่านี้เหมือนกับที่ชาวบ้านได้พบครั้งแรกในเจดีย์พระบรมธาตุทุกอย่างนายชิดได้ทูลเกล้าถวายพระพิมพ์สกุลทุ่งเศรษฐีหลายแบบพร้อมด้วยแม่พิมพ์พระและสำเนาตำนานจารึกแผ่นลานเงินของพระพิมพ์สกุลทุ่งเศรษฐีแต่สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวด้วย(พระพิมพ์กรุนี้รัชกาลที่ 5 ได้นำออกแจกจ่ายแก่พระบรมวงศ์ศานุวงศ์ข้าราชการมหาดเล็กที่ติดตามเสด็จในครั้งนั้นโดยทั่วกัน) พระเครื่องหรือพระพิมพ์สกุลทุ่งเศรษฐี มีศิลปะสมัยสุโขทัยที่งดงามมากอาณาจักรสุโขทัยรับคติพุทธศาสนาแบบลังกาวงศ์พระพุทธรูปและพระพิมพ์ได้รับแบบจากศิลปะลังกาด้วย โดยเฉพาะพระซุ้มกอถอดแบบจากพระพุทธรูปศิลปะลังกาในสมัยอนุราชปุระความสำคัญของพระเจดีย์พระบรมธาตุเมืองนครชุมนี้ เป็นพระสถูปเจดีย์สำคัญและเป็นประธานของกลุ่มพระเจดีย์ในเมืองนครชุมรวมถึงในบริเวณลานทุ่งเศรษฐีด้วย เพราะได้บอกเรื่องราวของพระมหาธรรมราชาลิไท กษัตริย์องค์ที่ 5 ของกรุงสุโขทัย ทรงสถาปนาพระสถูปนี้และการรับพระพุทธศาสนาแบบลังกาวงศ์ พระบรมธาตุ ต้นศรีมหาโพธิ์เข้ามาประดิษฐานในเมืองกำแพงเพชรพระพิมพ์สกุลทุ่งเศรษฐีนี้สร้างขึ้นโดยพิธีกรรมของกษัตริย์บ่งบอกถึงศิลปะอันรุ่งเรืองของสมัยสุโขทัยที่สมเด็จพระมหาธรรมราชาลิไทสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 1900 รัชกาลของพระเจ้าลิไททรงครองราชย์ในปี พ.ศ. 1890 – 1909

คำอ่านหลักศิลาจารึกนครชุม หลักที่ 3
        ศักราชที่ 1279 ปีระกาเดือนแปด ออกห้าค่ำ วันศุกร์ หนไทยกัดเราบูรพผลคุณินักษัตรเมื่อยามวันสถาปนานั้น เป็นหกค่ำแล้ว พระยาฦาไทยราชผู้เป็นลูกพระยาเลอไทย เป็นหลานแก่พระยารามราชเมื่อได้เสวยราชย์ในเมืองศรีสัชนาลัยสุโขทัย ได้ราชาภิเษก อันฝูงท้าวพระยาทั้งหลายอันเป็นมิตรสหายอันมีในสี่ทิศนี้ แต่งกระยาดงวายของฝากหมากปลาไหว้ อันยัดยัญอภิเษกเป็นท้าวพระยา จึงขึ้นชื่อศรีสุริยพงษ์มหาธรรมราชาธิราชหากเอาพระศรีรัตนมหาธาตุอันนี้มาสถาปนาในเมืองนครชุมนี้ปีนั้นพระมหาธาตุนี้ใช่ธาตุอันสามานย์คือพระธาตุแท้จริงแล้วเอาลุกแต่ลังกาทวีปพู้นมาดายเอาทั้งพืชพระมหาโพธิอันพระพุทธเจ้าเราเสด็จอยู่ใต้ต้น และ ผจญพลขุนมาราธิราชได้ปราบแก่สัพพัญญุตาญาณเป็นพระพุทธเจ้า มาปลูกเบื้องหลังพระมหาธาตุนี้ ผิผู้ใดได้ไหว้นพกระทำบูชาพระศรีรัตนมหาธาตุและพระศรีมหาโพธิ์นี้ว่าไซร้มีผลอานิสงส์พร่ำเสมอดังได้นพตนพระเจ้าบ้างฯลฯ ตำนานบนแผ่นลานเงินได้บอกวิธีสำหรับอาราธนาพระกำแพงทุ่งเศรษฐี ดังนี้
        ถ้าผู้ใดได้ไหว้ให้ถวายพระพร แล้วจึงเอาไว้ใช้ตามอานุภาพ ให้ระลึกถึงคุณพระฤาษีที่ทำไว้นั้นเถิดฤาษีได้อุปเท่ห์ไว้ดังนี้
          - แม้อันตรายสักเท่าใดก็ดีให้นิมนต์พระใส่ศีรษะ อันตรายทั้งปวงหายสิ้นแล
         - ถ้าจะเข้าการรณรงค์สงครามให้เอาพระใส่น้ำมันหอม เข้าด้วยนวหรคุณ แล้วเอาใส่ผม ศักดิ์สิทธิ์ตามปรารถนา
         - ถ้าผู้ใดจะประสิทธิ์แก่หอกดาบศาสตราอาวุธทั้งปวงเอาพระสรงน้ำมันหอมแล้วเสกด้วย อิติปิโสภกูราติ เสก 3 ที 7 ทีแล้วใส่ขันสำริด พิษฐานตามควาปรารถนาเถิด
         - ถ้าผู้ใดจะใคร่มาตุคามเอาพระสรงน้ำมันหอม ใส่ใบพลูทาประสิทธิ์แก่คนทั้งหลาย
         - ถ้าจะสง่าเจรจาให้คนเกรงกลัวเอาพระใส่น้ำมันหอม หุงขี้ผึ้ง เสกด้วย นวหรคุณ 7 ที
         - ถ้าจะค้าขายก็ดีไปทางบกทางเรือก็ดี ให้นมัสการด้วยพาหุง แล้วเอาพระสรงน้ำมันหอมเสกด้วยพระพุทธคุณอิติปิโส ภกูราติ เสก 7 ที ประสิทธิ์แก่คนทั้งหลายแล
         - ถ้าจะให้สวัสดีสภาพรทุกวันให้เอาดอกไม้ดอกบัวบูชาทุกวัน ถ้าจะปรารถนาอันใดก็ได้ทุกอันแล
         - ถ้าผู้ใดพบพระเกสรก็ดีพระว่านก็ดี พระปรอทก็ดี (เข้าใจว่าเป็นพระเนื้อชินเข้าปรอท)เหมือนกันอย่าประมาท มีอานุภาพดังกำแพงล้อมกันภัยแก่ผู้นั้น
         - ถ้าจะให้ความสูญให้เอาพระสรงน้ำมันหอม เอาด้าย 11 เส้น (หมายถึงพระฤาษี 11 ตน) ชุบน้ำมันหอม แล้วทำไส้เทียนตามถวายพระ แล้วพิษฐานตามความปรารถนาเถิด
         - ถ้าผู้ใดจะสระหัวให้เขียนยันต์ใส่ไส้เทียนเถิด จะประเสริฐแล ฯลฯ

คำสำคัญ : พระเครื่อง กรุพระ

ที่มา : https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=yutchaorai&month=28-08-2014&group=3&gblog=2

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2562). ประวัติและตำนานการเปิดกรุ. สืบค้น 17 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?code_db=610005&code_type=01&nu=pages&page_id=1184

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1184&code_db=610005&code_type=01

Google search

Mic

พระนางกำแพง

พระนางกำแพง

พระเครื่องกำแพงเพชร ที่นำมาพูดถึงในวันนี้เป็น พระนางกำแพงเพชร และพระนางกำแพงกลีบบัว ของกรุทุ่งเศรษฐีครับ พระตระกูลนางกำแพงฯ นั้นมีอยู่หลายอย่างหลายกรุซึ่งสนนราคาก็แตกต่างกันไป และเป็นพระเครื่องที่พบมากที่สุดในพระตระกูลกำแพงเพชร เรียกได้ว่าแทบจะทุกกรุก็จะพบพระนางกำแพงปะปนอยู่แทบทุกกรุ แสดงว่าในสมัยที่สร้างพระเครื่องนั้นคงมีความนิยมพระพิมพ์นี้กันมากจึงได้สร้างกันไว้แทบทุกกรุ ศิลปะพระนางกำแพงเป็นศิลปะที่แสดงถึงศิลปะสุโขทัยหมวดสกุลช่างกำแพงเพชรได้อย่างชัดเจนที่สุด

เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 13,749

เนื้อที่จัดสร้างพระฯกรุ

เนื้อที่จัดสร้างพระฯกรุ

พระเครื่องเนื้อดิน พระเครื่องฝังตัวเมืองกำแพงเพชรจะสร้างด้วยเนื้อดินผสมว่าน เกสรว่าน เมล็ดว่าน ผงใบลานเผา ผงพุทธคุณทรายละเอียดและแร่ พระเครื่องเนื้อดินฝัั่งนครชุม (ทุงเศรษฐี) จะสร้างด้วยเนื้อดินละเอียดผสมว่าน เกสรว่าน เมล็ดว่าน ผงใบลานเผา ผงพุทธคุณ แต่บางกรุผสมทรายละเอียดด้วยก็มี พระเครื่องโลหะวัสดุการสร้างจะแบ่งออกได้ดังนี้ กล่าวคือ 1. ทองคำ 2. เงิน 3. ดีบุก 4. ทองแดง 5. ตะกั่ว 6. ทองเหลือง 7. แร่ เนื้อพระเครื่องโลหะโบราณ ทั้งฝังตัวเมืองกำแพงเพชร และฝั่งทุ่งเศรษฐี การสร้างพระเครื่องโลหะในจำนวน 100 ส่วน จำนวนพระเครื่องจะมี 99 ส่วน สร้างด้วยเนื้อเงินผสมด้วยดีบุกและตะกั่ว เป็นผิว ปรอทเรียกว่าพระชินเงิน 0.2 ส่วนสร้างด้วยเนื้อทองคำผสมดีบุก และทองแดงหรือทองเหลืองเรียกว่าพระเนืื้อสำริด 0.4 ส่วนสร้างด้วยแผ่นเนื้อเงินด้านหลังเป็นเนื้อว่าน เรียกว่าพระว่านหน้าเงิน และอีก 0.4 ส่วนสร้างด้วยแผ่นเนื้อทองคำด้านหลังเป็นเนื้อว่าน เรียกว่าพระว่านหน้าทอง พระชนิดนี้กรุส่วนมากจะมีบางกรุจะมีเพียงคู่เดียวถือเป็นพระประธานของกรุเนื้อว่าน ซึ่งนำมาจากต้นว่านเนื้อจะแกร่งเห็นว่าผุแต่ไม่ยุ่ย

เผยแพร่เมื่อ 14-08-2019 ผู้เช้าชม 4,268

“พระซุ้มกอ” กำแพงเพชร มีอีกชื่อว่า “พระฤๅษี” สุดยอดหนึ่งในชุดเบญจภาคี

“พระซุ้มกอ” กำแพงเพชร มีอีกชื่อว่า “พระฤๅษี” สุดยอดหนึ่งในชุดเบญจภาคี

ย้อนกลับไปในสมัยสุโขทัย ราวปี พ.ศ. 1800 พญาเลอไทยได้บูรณะเมืองชากังราวและยกฐานะขึ้นเป็นเมืองลูกหลวงเช่นเดียวกับเมืองศรีสัชนาลัย และโปรดเกล้าฯ ให้พระราชโอรสพระองค์หนึ่งมาครองเมือง ครั้นเมื่อพระเจ้าอู่ทองทรงตั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีของอาณาจักรทางใต้ ล่วงมาถึงรัชสมัยของสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 (ขุนหลวงพะงั่ว) พระองค์ยกทัพมาตีสุโขทัย ผลของสงครามทำให้สุโขทัยถูกแบ่งออกเป็นสองส่วน คือ ดินแดนทางริมฝั่งแม่น้ำปิงส่วนหนึ่ง และดินแดนทางริมฝั่งแม่น้ำยมและแม่น้ำน่านอีกส่วนหนึ่ง ทางด้านแม่น้ำปิงได้รวมเมืองชากังราว และเมืองนครชุมเข้าเป็นเมืองเดียวกัน แล้วเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น “เมืองกำแพงเพชร” ยกฐานะขึ้นเป็นเมืองราชธานีปกครองดินแดนทางลุ่มแม่น้ำปิงในย่านนี้ ส่วนทางลุ่มแม่น้ำยมและแม่น้ำน่าน ให้เมืองพิษณุโลกเป็นราชธานี โปรดเกล้าฯ ให้พญาไสลือไทย หรือพระมหาธรรมราชาที่ 2 เป็นเจ้าเมือง ล่วงมาถึงรัชสมัยพระบรมราชาธิราชที่ 2 หรือเจ้าสามพระยา การแบ่งเขตการปกครองออกเป็นสองส่วนดังกล่าว มีเรื่องไม่สงบเกิดขึ้นเสมอ ดังนั้น จึงรวมเขตการปกครองทั้งสองเข้าด้วยกัน โดยยุบเมืองกำแพงเพชรจากฐานะเดิมแล้วให้ทุกเมืองขึ้นต่อเมืองพิษณุโลกเพียงแห่งเดียว

เผยแพร่เมื่อ 16-08-2019 ผู้เช้าชม 3,387

ประวัติพระซุ้มกอ (พระกำแพงซุ้มกอ)

ประวัติพระซุ้มกอ (พระกำแพงซุ้มกอ)

พระกำแพงซุ้มกอ จัดเป็นพระที่สุดยอด และเอกของเมืองกำแพงเพชร เป็นพระที่อมตะ ทั้งพุทธศิลป์ และพุทธคุณถูกจัดอยู่ในชุดเบญจภาคีที่สูงสุดของพระเครื่องเมืองไทย พระกำแพงซุ้มกอ เป็นพระที่ทำจากเนื้อดินผสมว่านและเกสรดอกไม้ และทำจากเนื้อชิน ก็มีพุทธลักษณะของพระซุ้มกอนั้นองค์พระประติมากรรม ในสมัยสุโขทัย นั่งสมาธิลายกนกอยู่ด้านข้างขององค์พระนั่งประทับอยู่บนบัวเล็บช้าง ขอบของพิมพ์พระจะโค้งมนลักษณะคล้ายตัว ก.ไก่ คนเก่า ๆ จึงเรียกว่า “พระซุ้มกอ” พระกำแพงซุ้มกอ ที่ค้นพบมีด้วยกัน 5 พิมพ์ ประกอบด้วย พิมพ์ใหญ่ แยกออกเป็น 2 ประเภท คือ มีลายกนกและไม่มีลายกนก พระที่ไม่มีลายกนกส่วนใหญ่มักจะมีสีดำ หรือสีน้ำตาลแก่ซึ่งเรามักจะเรียกว่า “พระกำแพงซุ้มกอดำ” พิมพ์กลาง พิมพ์เล็ก พิมพ์เล็กพัดโบก พิมพ์ขนมเปี๊ย พระกำแพงซุ้มกอ ทั้งมีลายกนกและไม่มีลายกนกเป็นพระที่มีศิลปะของสุโขทัยปนกับศิลปะศรีลังกา โดยเฉพาะไม่มีลายกนกจะเห็นว่าเป็นศิลปะศรีลังกาอย่างเด่นชัด พระกำแพงซุ้มกอ เนื้อขององค์พระ ใช้ดินผสมกับว่านเกสรดอกไม้ จึงทำให้เนื้อของพระซุ้มกอมีลักษณะนุ่มมัน ละเอียดเมื่อนำสาลีหรือผ้ามาเช็ดถูจะเกิดลักษณะมันวาวขึ้นทันที

เผยแพร่เมื่อ 15-08-2019 ผู้เช้าชม 155,517

พระกรุกำแพงเพชร

พระกรุกำแพงเพชร

"การเรียนรู้พระกรุมีความสำคัญมาก เพราะปัจจุบันผิดเพี้ยนไปเกือบทั้งหมด ความถูกต้องแท้จริงไม่ได้ขึ้นอยู่กับคำพูดของใครคนใดคนหนึ่ง สิ่งที่สามารถบ่งบอกถึงความถูกต้องแท้จริงของพระกรุ ต้องมาจากธรรมชาติที่ปรากฏให้เห็นขององค์พระนั้นๆ" คำกล่าวของ "ชัยฤทธิ์ โสภณโภไคย" เจ้าของพิพิธภัณฑ์โสภณไคย ตั้งอยู่กลางเมืองกำแพงเพชร ถือเป็นพิพิธภัณฑ์เอกชนที่รวบรวมพระกรุกำแพงเพชรไว้มากที่สุดแห่งหนึ่ง

เผยแพร่เมื่อ 15-08-2019 ผู้เช้าชม 5,818

พระลีลาฝังดาบ ว่านหน้าทอง

พระลีลาฝังดาบ ว่านหน้าทอง

พระบางแบบที่มีคุณค่าทางโบราณวัตถุ เช่น พระว่านหน้าทอง กล่าวกันว่าหากมีการพบก็มักจะลอกเอาแผ่นทองไปหลอมขาย ส่วนเนื้อพระที่เป็นว่านก็ปล่อยทิ้งไว้เช่นนั้น ผุพังสลายไปกับดินตามธรรมชาติน่าเสียดายยิ่งนัก จนยุคต่อมา เมื่อพระเครื่องเป็นที่นิยมกันอย่างกว้างขวาง พระเครื่องจากเมืองกำแพงนั้นได้รับการจัดเข้าอยู่ในพระเครื่องชุดสุดยอดของเมืองไทย ที่รู้จักกันในนามว่า เบญจภาคี หรือ พระเครื่องสำคัญ ๕ องค์ ที่กลายเป็นสุดยอดปรารถนาของนักสะสมพระเครื่องตั้งยุคกึ่งพุทธกาลจนทุกวันนี้ด้วยพระพุทธคุณอันเป็นที่ประจักษ์ตลอดระยะเวลาอันยาวนาน พุทธศิลป์อันงดงามที่ปรากฏอยู่บนองค์พระ ที่สะท้อนให้เห็นความรุ่งโรจน์ของพระพุทธศาสนาในสมัยสุโขทัย เครื่องเมืองกำแพงนั้นได้รับการยกย่องให้เข้าอยู่ในพระเครื่องชุดเบญจภาคีถึง ๓ องค์ คือ พระกำแพง พลูจีบ พระกำแพงเม็ดขนุน และพรำกำแพงซุ้มกอ ทั้งนี้หมายความว่า เพียงองค์ใดองค์หนึ่งในพระเครื่องทั้งสามนี้ ก็เป็นองค์หนึ่งในชุดเบญจภาคีดุจเดียวกัน

เผยแพร่เมื่อ 21-02-2017 ผู้เช้าชม 7,160

พระเครื่องเนื้อดินกรุ

พระเครื่องเนื้อดินกรุ

การพิจารณาพระเนื้อดินก็พอๆ กับพระเนื้อชิน กล่าวคือต้องจดจำพุทธลักษณะรูปพิมพ์ของพระแต่ละกรุให้มากเป็นหลัก ให้พิจารณาว่าพระกรุนี้เป็นอย่างนี้ และพระกรุนั่นเป็นอย่างนั้น เป็นต้น ผิวของพระเครื่องเนื้อดิน พระส่วนมากเมื่อขึ้นจากกรุจะจับเกือบติดแน่นกับองค์พระหนามาก ขนาดนำมาล้างและขัดปัดแล้วก็ยังไม่เป็นเนื้อพระ และส่วนมากคราบกรุจะเคลือบติดแน่นอยู่ตามซอกขององค์พระเครื่องโดยธรรมชาติ จะแตกต่างกับคราบที่เลียนแบบใช้ดินใหม่ป้ายติดเฉพาะบนผิวจะไม่แน่นเหมือนคราบธรรมชาติ บางกรุองค์พระจะไม่มีคราบกรุก็มี

เผยแพร่เมื่อ 14-08-2019 ผู้เช้าชม 9,540

กรุวัดตะแบกลาย

กรุวัดตะแบกลาย

ที่ตั้งกรุพระวัดตะแบกลาย อยู่ทิศใต้ของกรุวัดเชิงหวาย ประมาณ 400 เมตร ประเภทพระที่พบ ได้แก่ พระลีลากำแพง พระซุ้มกอแผง พระเจ้าสิบพระองค์ พระสิบชาติ พระกลีบบัว พระลีลาสิบพระองค์ พระนารายณ์ทรงปีน พระสิบชาตินารายณ์แปรง และพิมพ์อื่นๆ

เผยแพร่เมื่อ 20-08-2019 ผู้เช้าชม 5,673

พระกำแพงห้าร้อย

พระกำแพงห้าร้อย

พระกำแพงห้าร้อย ได้มีการขุดพบอยู่หลายกรุในจังหวัดกำแพงเพชร พบครั้งแรกประมาณปี พ.ศ. 2392 ที่วัดพระบรมธาตุ ฝั่งทุ่งเศรษฐี ต่อมาในปี พ.ศ. 2475 ก็พบอีกที่กรุวัดกะโลทัย และต่อมาก็พบที่กรุวัดอาวาสน้อยทางฝั่งจังหวัด ศิลปะขององค์พระเป็นพระประทับนั่งปางมารวิชัย มีประภามณฑล ขนาดของแต่ละองค์มีขนาดเล็กมาก คาดว่าคงสร้างในสมัยสุโขทัย ในราวปี พ.ศ. 1900 พระที่พบมีแต่พระเนื้อชินเงินเท่านั้นพระกำแพงห้าร้อย ถ้าสมบูรณ์เต็มแผ่นนั้นหายากมากๆ และสนนราคาสูง นิยมทำแผงไม้ตั้งไว้บูชาประจำบ้าน ถือว่ากันไปได้ชะงัดนัก

เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 12,653

พระกำแพงเชยคางข้างเม็ด 2 จังหวัด

พระกำแพงเชยคางข้างเม็ด 2 จังหวัด

เป็นพระพิมพ์แบบเทหล่อแบบครึ่งซีก สัณฐานรูปสี่เหลี่ยมยาว ด้านบนโค้งมน ยอดแหลม ส่วนด้านล่างตัดตรง พุทธลักษณะองค์พระประธานประทับยืน แสดงปางลีลา เหนืออาสนะเส้นตรง 2 ชั้น ภายในซุ้มเรือนแก้ว รอบซุ้มและฐานประดับด้วยเม็ดไข่ปลา พระเกศเป็นมุ่นเมาลี 2 ชั้น บนสุดมีลักษณะคล้ายดอกบัวตูม พระศกเป็นเม็ดงายาวรีโดยรอบ พระพักตร์เอียงไปด้านซ้าย กลมกลืนกับพระอิริยาบถก้าวย่างพระบาท ปรากฏพระเนตร พระนาสิก และพระโอษฐ์ชัดเจน ลำพระศอไม่เด่นชัด แต่สร้อยพระศอปรากฏชัดเจน พระอังสากว้าง พระอุระอวบอูมล่ำสัน แต่แฝงความอ่อนช้อยงามสง่าในที ลำพระองค์วาดเว้ากลมกลืนอย่างมีทรงและทอดต่อลงมาจนถึงพระบาท เส้นพระอังสะและชายจีวรอ่อนช้อยแลดูไหวพลิ้ว พระกรข้างซ้ายขององค์พระยกพาดเหนือพระอังสา พระกรข้างขวาทอดแอ่นไปตามลำพระองค์ ส่วนด้านหลังเป็นหลังแบนเรียบปรากฏลายผ้าหยาบๆ

เผยแพร่เมื่อ 15-08-2019 ผู้เช้าชม 2,778