พระนางกำแพง

พระนางกำแพง

เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้ชม 14,024

[16.4746251, 99.5079925, พระนางกำแพง]

        พระตระกูลนางกำแพง นั้นประกอบด้วย พระกำแพงเม็ดมะลื่น พระนางกำแพงกลีบบัว พระนางกำแพงพิมพ์ลึก พระนางกำแพงพิมพ์ตื้น พระนางกำแพงพิมพ์ลูกแป้ง (เดี่ยว-คู่) พระนางกำแพงฐานตาตาราง พระนางกำแพงเม็ดมะเคล็ด เป็นต้น กรุที่พบมักพบมากในบริเวณทุ่งเศรษฐี ตำบลนครชุม เช่น กรุวัดพิกุล กรุหนองลังกา กรุเจดีย์กลางทุ่ง กรุวัดบรมธาตุ กรุนาตาคำ กรุท่าเดื่อ ทางใต้ของทุ่งเศรษฐีก็ยังพบบริเวณเมืองตรังตรึง เช่น กรุเจดีย์เจ็ดยอด กรุวัดวังพระธาตุ ส่วนทางฝั่งจังหวัดพบที่กรุวัดพระแก้ว กรุวัดป่ามืด กรุวัดอาวาสน้อย กรุวัดอาวาสใหญ่ กรุสี่อิริยาบถ กรุวัดเซิงหวาย กรุวัดช้าง กรุวัดกโลทัย เป็นต้นกรุพระนางกำแพง มีทั้งเนื้อดินเผา เนื้อว่าน เนื้อชินเงิน และเนื้อชินตะกั่วสนิมแดง เนื้อที่นิยมที่สุดก็เป็นเนื้อดินเผา เนื้อที่หายากก็คือเนื้อชินตะกั่วสนิมแดง และเนื้อว่าน ส่วนกรุที่เป็นที่นิยมมากที่สุดก็คือกรุวัดพิกุล และกรุวัดบรมธาตุ เนื่องจากมีเนื้อหนึกนุ่มสวยงามมาก พระนางกำแพงเม็ดมะลื่นจะนิยมมากกว่าพระนางกำแพงอื่นๆ สนนราคาก็สูงมากเช่นกัน ต้องว่ากันที่หลักแสนแทบทั้งสิ้น ลดหย่อนตามความสมบูรณ์เป็นหลัก พระนางกำแพงพิมพ์ตื้นแม้ว่าจะพบมากกว่าพระพิมพ์อื่นๆ ในจังหวัดกำแพงเพชร แต่ก็มีสนนราคาสูงพอสมควร ถ้าสวยมีหน้ามีตาก็ต้องอยู่ในหลักแสนต้นๆ เช่นกันครับ สภาพทั่วๆ ไปก็ต้องมีหลักหมื่นครับ ในวันนี้ผมได้นำรูปพระนางกำแพงพิมพ์ตื้น และนางกำแพงกลีบบัว กรุทุ่งเศรษฐี ของคุณเต้ สระบุรี            
        พุทธลักษณะ เป็นพระปางมารวิชัย และปางสมาธิสถิตย์อยู่บนพื้นฐานรูปสามเหลี่ยมทรงเรขาคณิต เช่นเดียวกับพระนางพญาของจังหวัดพิษณุโลก จึงมีผู้เรียกกันว่า “กำแพงนางพญา” หรือเรียกสั้นๆ ว่า “นางกำแพง” เป็นกรุไหน ก็เรียกตามชื่อกรุนั้น เช่น นางวัดพระบรมธาตุ นางวัดพิกุล นางวัดป่ามืด ฯลฯ เป็นต้น มีทั้งเนื้อชิน ดิน ว่าน และสัมฤทธิ์ก็มีบ้าง แต่มีน้อยมากมีหลายแบบ เช่น
        1.แบบนางเสน่ห์จันทร์ องค์พระคล้ายนางเสน่ห์จันทร์ แต่พระพักตร์ใหญ่อ่อนช้อยและชัดเจนกว่า พระเนตรพระกรรชัดเจน พุทธลักษณะเหมือนพระพุทธรูปสมัยสุโขทัย เนื้อจัดว่านละเอียดมาก
        2.แบบบัลลังก์แก้ว หรือที่เรียกกันง่ายๆ ว่า “นางตาตาราง” คือเป็นรูปอาสนบัลลังก์ก็เป็นรูปตาตาราง จึงเรียกกันว่า “นางตาตาราง”
        3.แบบนางอู่ทอง แบบนี้ก็มีที่เหมือน พระพุทธลักษณะรูปทรงเทริดและแบบที่มีพุทธลักษณะ คางยืดๆ เหมือนพระพุทธรูปสมัยอู่ทอง ก็เรียกกันว่า “นางอู่ทอง”
        4.แบบสกุลนางพญาพิษณุโลก พุทธลักษณะทั่วไปคล้ายกับพระนางพญาพิษณุโลก ผิดกันที่พระพักตร์ และพระเศียร ซึ่งคล้ายไปทางพระพุทธรูป ของสุโขทัยเป็นส่วนมาก
        5.แบบฐานบัว พุทธลักษณะคล้ายกับพระซุ้มยอมีฐานเป็นบัวสองชั้น จึงเรียกกันว่า “นางฐานบัวคู่” หรือ “นางฐานบัวสองชั้น”
        6.แบบหูตุ้ม หรือหูบายศรี พระกรรณเป็นปีกคล้ายกับหูพระพิฆเนศ บางท่านจึงเรียกว่า “หูช้าง” หรือ “หูฤาษี” ตามความเข้าใจ ขนาดแต่ละพิมพ์แต่ละแบบมีขนาดแตกต่างกันไป เช่น นางวัดพิกุล จะสูงประมาณ 2.5 ซม. กว้างประมาณ 1.5 ซม. นางเสน่ห์จันทร์ก็มีขนาดใกล้เคียงกับเสน่ห์จันทร์ของสุโขทัย พุทธคุณ ดีทางเมตตามหานิยม ความเป็นสิริมงคลตลอดจนแคล้วคลาด ก็นับเป็นที่ปรากฏมาแล้ว

ภาพโดย : https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=&pages=2&code_db=DB0003&code_type=

คำสำคัญ : พระเครื่องเมืองกำแพง

ที่มา : สมาคมกีฬาจังหวัดกำแพงเพชร. (2549). พระกรุเมืองกำแพง มรดกประวัติศาสตร์กำแพงเพชร. กำแพงเพชร: สมาคมกีฬาจังหวัดกำแพงเพชร.

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2560). พระนางกำแพง. สืบค้น 6 ตุลาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=197&code_db=610005&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=197&code_db=610005&code_type=01

Google search

Mic

กรุตาพุ่ม

กรุตาพุ่ม

ที่ตั้งกรุพระตาพุ่ม อยู่ทิศตะวันตกเฉียงใต้ของวัดพระบรมธาตุ ไปประมาณ 800 เมตร ประเภทพบที่พบ ได้แก่ พระซุ้มกอมีกนก พิมพ์ใหญ่ พระเทิดขนนก พระเม็ดมะลื่น พระนางพญากำแพงสนิมแดง พระอู่ทองกำแพงพิมพ์เล็ก พระซุ้มกอดำไม่มีกนกพิมพ์ใหญ่ พระเปิดโลกพิมพ์ใหญ่ พระกลีบบัว พระอู่ทองกำแพงพิมพ์ใหญ่ พระนางพญาตราตาราง และพิมพ์อื่นๆ

เผยแพร่เมื่อ 19-08-2019 ผู้เช้าชม 3,962

มะเคล็ด-กลีบบัว-พิมพ์ตื้น ตระกูลพระนางกำแพง เมืองกำแพงเพชร

มะเคล็ด-กลีบบัว-พิมพ์ตื้น ตระกูลพระนางกำแพง เมืองกำแพงเพชร

พระตระกูลพระนางกำแพง จังหวัดกำแพงเพชรนั้น ตามที่ทราบกันว่ามีมากมายหลายพิมพ์ ซึ่งแต่ละพิมพ์ก็ล้วนมีเนื้อหามวลสาร ความหนึกนุ่มซึ้ง และมีพุทธคุณเท่าเทียมกันทั้งด้านเมตตามหานิยมและโชคลาภ เพราะเป็นหนึ่งในพระเครื่องเมืองกำแพงเพชรที่ขุดค้นพบในยุคเดียวกับพระกำแพงซุ้มกอ นอกจากนี้ยังได้ชื่อว่าเป็นพระพิมพ์ที่มีพุทธศิลปะแสดงถึงศิลปะสุโขทัยหมวดสกุลช่างกำแพงเพชรได้อย่างชัดเจนที่สุดอีกด้วย มาดูพระนางกำแพง 3 พิมพ์ ซึ่งความแตกต่างโดยส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องสัณฐานพิมพ์ทรงครับผม

เผยแพร่เมื่อ 15-08-2019 ผู้เช้าชม 5,878

พระพุทธรูปกรุ

พระพุทธรูปกรุ

พระพุทธรูปโบราณใน 100 ส่วนจะเป็นเนื้อสำริดเสีย 99.5 ส่วน ดังนั้นตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาขึ้นไป พระพุทธรูปส่วนมากจะถูกสร้างด้วยเนื้อสำริดเท่านั้น ส่วนเนื้อศิลาไม่นำมาเขียนในที่นี้ ศิลปะการสร้าง จะสร้างอย่างประณีตฝีมือเป็นเลิศ เพราะสร้างเสร็จจะไม่มีร่องรอยในการตบแต่งหรือเพิ่มเติมใดๆ พระที่ถูกนำมาบรรจุตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย ถึงปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา นับว่านานหลายร้อยปี ฉะนั้นพระกรุใน 100 ส่วน ประมาณ 80 ส่วนจะมีรอยเดาะหรือชำรุดผุกร่อนตามองค์พระจุดใดจุดหนึ่ง ซึ่งจะปรากฏให้เห็นโดยเป็นธรรมชาติ 

เผยแพร่เมื่อ 14-08-2019 ผู้เช้าชม 7,882

พระกำแพงขาว

พระกำแพงขาว

พระกำแพงขาว เป็นพระปางลีลา ศิลปะสุโขทัย สกุลช่างกำแพงเพชร สาเหตุที่เรียกว่า พระกำแพงขาว เพราะว่าตอนขึ้นจากกรุใหม่ ๆ มีคราบฝ้าของกรุและปรอทจับตามองค์พระ คนรุ่นเก่าจึงเรียกว่า พระกำแพงขาวพระกำแพงขาว จัดว่าเป็นพระเอกลักษณ์ของเมืองกำแพงเพชรทีเดียว เพราะนอกจากเป็นฝีมือของช่างสกุลกำแพงเพชรแล้ว ในด้านพุทธคุณ พระกำแพงเพชรมีชื่อเสียงกระฉ่อนและโด่งดัง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องแคล้วคลาด เมตตา และด้านโภคทรัพย์

เผยแพร่เมื่อ 21-02-2017 ผู้เช้าชม 6,816

พระลูกแป้งเดี่ยว

พระลูกแป้งเดี่ยว

พระนางกำแพงลูกแป้ง เป็นพระเนื้อดินผสมว่านและเกสรดอกไม้ เป็นพระอีกพิมพ์หนึ่งที่ได้รับความนิยมอย่างสูงในบรรดาพระเครื่องของเมืองกำแพงเพชร เป็นพระในตระกูลพระนางพญากำแพงเพชรพิมพ์เล็กนั่นเอง พุทธลักษณะเป็นพระปางมารวิชัย ประทับนั่งสมาธิราบบนฐานหนึ่งชั้นและมีเส้นกรอบเป็นเส้นซุ้มรอบรูปสามเหลี่ยม และไม่มีการตัดขอบซึ่งจะต้องมีเส้นซุ้มรอบแบบนี้ทุกองค์ พบขึ้นจากกรุทั้งฝั่งนครชุมและลานทุ่งเศรษฐี ตลอดจนบริเวณที่ใกล้เคียง เช่นที่กรุวัดพิกุล กรุวัดอาวาสน้อย กรุวัดป่ามืด กรุวัดพระบรมธาตุ และกรุวัดพระแก้ว เป็นต้น พระนางกำแพงลูกแป้ง มีหลายพิมพ์ตามจำนวนองค์พระที่ปรากฎรวมกันอยู่ เช่น พระนางกำแพงลูกแป้งเดี่ยว พระนางกำแพงลูกแป้งคู่ พระนางกำแพงลูกแป้งสาม พระนางกำแพงลูกแป้งห้า เป็นต้น ส่วนทางด้านพุทธคุณนั้น เป็นที่ยอมรับการมาอย่างช้านานด้านเมตตามหานิยมและโชคลาภ

เผยแพร่เมื่อ 28-02-2017 ผู้เช้าชม 10,291

พระกำแพงซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่ กรุวัดหนองพิกุล

พระกำแพงซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่ กรุวัดหนองพิกุล

พระกำแพงซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่ กรุวัดหนองพิกุล พบจากกรุวัดหนองพิกุล หรือ เรียกกันสั้นๆ ว่าวัดพิกุล ซึ่งเป็นวัดร้างในบริเวณทุ่งเศรษฐี พระที่พบจากกรุนี้เช่น พระกำแพงซุ้มกอ พระเม็ดขนุน พระว่านหน้าทอง และพระอื่นๆเนื้อนุ่มจัด และมีพุทธศิลป์ที่งดงามอ่อนช้อย สมส่วน พระเครื่องกรุวัดพิกุลนี้ได้ถูกเปิดภายหลังจากกรุวัดพระบรมธาตุเพียงไม่กี่ปี มีพระพิมพ์ต่างเกือบทุกแบบเช่นเดียวกับที่พบในกรุวัดพระบรมธาตุ ลักษณะของพระซุ้มกอจากกรุวัดพิกุลนี้ จะเห็นว่ามีความแตกต่างจากพระกำแพงซุ้มกอ กรุฤาษีที่เคยนำมาให้ศึกษากันอยู่บ้าง กล่าวคือ พระพักตร์เรียวงาม ไม่ต้อป้อมเหมือนกรุฤาษี พระเศียรจะตั้งตรง (กรุฤาษีเอียงขวาเล็กน้อย) บัวที่อาสนะทั้ง 5 กลีบ กลีบบัวจะมนโค้ง ไม่มีลักษณเป็นเหลี่ยมและลายในกลีบบัวจะไม่ลึกเหมือนกรุฤาษี ความคมชัดของพิมพ์ไม่ชัดเท่ากรุฤาษี ซอกพระพาหาตื้นกว่าของกรุฤาษี และหากพิจารณาอย่างพิเคราะห์จะเห็นว่าเนื้อพระจะหนึกแน่นกว่ากรุฤาษี

เผยแพร่เมื่อ 16-08-2019 ผู้เช้าชม 35,995

กรุซุ้มกอ

กรุซุ้มกอ

ที่ตั้งกรุพระวัดซุ้มกอ อยู่ตรงข้ามท่ารถ บขส. ห่างริมถนนกำแพงเพชร ประมาณ 40 เมตร ประเภทพบที่พบ ได้แก่ พระซุ้มกอ พิมพ์กลาง พระเม็ดขนุน พระซุ้มยอ พระซุ้มกอ พิมพ์เล็ก พระลีลากำแพง พระกลีบบัว และพิมพ์อื่นๆ

เผยแพร่เมื่อ 19-08-2019 ผู้เช้าชม 7,371

พระสมเด็จเนื้อดิน

พระสมเด็จเนื้อดิน

พระอธิการกลึง วัดคูยาง กำแพงเพชร ได้รวบรวม พระเครื่องของกรุกำแพงเพชรที่แตกหัก ที่ได้ค้นพบจากการรื้อสร้างบูรณะพระเจดีย์ทั้งสามองค์ของวัดพระบรมธาตุ นำมาป่นแล้วกดพิมพ์ขึ้นใหม่ โดยมักจะล้อพิมพ์พระดังๆ หลา

เผยแพร่เมื่อ 27-02-2017 ผู้เช้าชม 19,520

กรุวัดพระสิงห์

กรุวัดพระสิงห์

วัดพระสิงห์ เป็นวัดขนาดย่อมยังไม่ได้ขุดแต่งและบูรณะ สันนิษฐานว่าใช้เวลาสร้างถึง 2 สมัย คือ สมัยสุโขทัยและสมัยอยุธยา กำแพงเป็นศิลาแลงโดยรอบ ภายในเป็นฐานเจดีย์มีซุ้มพระ 4 ทิศ ฐานเจดีย์กว้าง 11 เมตรสี่เหลี่ยม มีเจดีย์ราย 4 มุม ด้านหน้าเจดีย์ใหญ่มีฐานโบสถ์กว้าง 15 เมตร ยาว 30 เมตร ตั้งอยู่บนฐานอีกชั้นหนึ่งซึ่งกว้าง 23 เมตร ยาว 42 เมตร ด้านทิศใต้มีฐานวิหารใหญ่ 1 วิหาร และขนาดย่อมอีก 1 วิหาร ภายในวัดมีบ่อน้ำ 2 บ่อ เป็นบ่อกรุ ด้วยศิลาแลง ที่ตั้งกรุพระวัดสิงห์ อยู่ทิศเหนือของกรุพระวัดป่ามืดประมาณ 500 เมตร ประเภทพระที่พบ ได้แก่ พระนางเสน่ห์จันทร์ พระอู่ทองกำแพง พระนางพญากำแพง และพิมพ์อื่นๆ 

เผยแพร่เมื่อ 20-08-2019 ผู้เช้าชม 2,801

กรุตาลดำ

กรุตาลดำ

ที่ตั้งกรุพระวัดตาลดำ อยู่ทิศตะวันออกของกรุเจดีย์กลางทุ่ง ประมาณ 400 เมตร ปัจจุบันถูกชาวบ้านปราบเป็นที่ทำการเกษตร ประเภทพระที่พบ ได้แก่ พระนางพญากำแพง พระอู่ทองกำแพง พิมพ์ใหญ่ พระลูกแป้ง คู่ พระเจ้าห้าพระองค์ พระกลีบบัว พระลูกแป้ง เดียว พระเจ้าสามพระองค์ พระเจ้าสิบพระองค์ และพิมพ์อื่นๆ

เผยแพร่เมื่อ 19-08-2019 ผู้เช้าชม 5,352