พระกำแพงเชยคางข้างเม็ด 2 จังหวัด
เผยแพร่เมื่อ 15-08-2019 ผู้ชม 2,955
[16.4821705, 99.5081905, พระกำแพงเชยคางข้างเม็ด 2 จังหวัด]
เป็นพระพิมพ์แบบเทหล่อแบบครึ่งซีก สัณฐานรูปสี่เหลี่ยมยาว ด้านบนโค้งมน ยอดแหลม ส่วนด้านล่างตัดตรง พุทธลักษณะองค์พระประธานประทับยืน แสดงปางลีลา เหนืออาสนะเส้นตรง 2 ชั้น ภายในซุ้มเรือนแก้ว รอบซุ้มและฐานประดับด้วยเม็ดไข่ปลา พระเกศเป็นมุ่นเมาลี 2 ชั้น บนสุดมีลักษณะคล้ายดอกบัวตูม พระศกเป็นเม็ดงายาวรีโดยรอบ พระพักตร์เอียงไปด้านซ้าย กลมกลืนกับพระอิริยาบถก้าวย่างพระบาท ปรากฏพระเนตร พระนาสิก และพระโอษฐ์ชัดเจน ลำพระศอไม่เด่นชัด แต่สร้อยพระศอปรากฏชัดเจน พระอังสากว้าง พระอุระอวบอูมล่ำสัน แต่แฝงความอ่อนช้อยงามสง่าในที ลำพระองค์วาดเว้ากลมกลืนอย่างมีทรงและทอดต่อลงมาจนถึงพระบาท เส้นพระอังสะและชายจีวรอ่อนช้อยแลดูไหวพลิ้ว พระกรข้างซ้ายขององค์พระยกพาดเหนือพระอังสา พระกรข้างขวาทอดแอ่นไปตามลำพระองค์ ส่วนด้านหลังเป็นหลังแบนเรียบปรากฏลายผ้าหยาบๆ
เท่าที่พบเห็นมีอยู่ 2 เนื้อ คือ เนื้อชินเงินและเนื้อตะกั่วสนิมแดง แต่ส่วนมากจะเป็นพระเนื้อชินเงิน พิมพ์ที่พบมี 3 พิมพ์ ซึ่งมีพุทธลักษณะเหมือนกัน ต่างกันที่ขนาดขององค์พระ คือ พิมพ์ใหญ่ ขนาดประมาณ 2.2 X 5.6 ซ.ม. พบเห็นน้อยมาก, พิมพ์กลาง ประมาณ 2 X 5 ซ.ม. พบเป็นจำนวนมากกว่าพิมพ์อื่นๆ และเช่าหาเป็นพิมพ์มาตรฐาน และ พิมพ์เล็ก ประมาณ 1.7 X 4.6 ซ.ม.
เนื่องจากเป็นพระพิมพ์ที่พบคนละกรุ ผิวขององค์พระในแต่ละกรุจึงแตกต่างกัน “กรุวัดบรมธาตุและกรุบริเวณทุ่งเศรษฐี” จะมีผิวสนิมตีนกาเป็นสีดำๆ เป็นส่วนใหญ่ ส่วนที่ “กรุวัดอาวาสน้อยและวัดสี่อิริยาบถ” มักจะมีผิวปรอทหลงเหลืออยู่ ผิวมักจะออกขาวซีดๆ ที่พบเป็นชินแก่ตะกั่ว มีไขขาวและสนิมแดงก็พบบ้างแต่น้อยมาก
พระกำแพงเชยคางข้างเม็ด จังหวัดกำแพงเพชร ค้นพบบริเวณลานทุ่งเศรษฐี กรุวัดบรมธาตุ วัดอาวาสน้อย และวัดสี่อิริยาบท เป็นพระกรุเก่าแก่ที่มีพุทธลักษณะอันอ่อนช้อยงดงาม ลายเส้นต่างๆ มีความประสานกลมกลืน โดยฝีมือสกุลช่างยุคสุโขทัยบริสุทธิ์ ที่เรียก “พระกำแพงเชยคางข้างเม็ด” นั้น มาจากพุทธลักษณะที่พระกรด้านซ้ายยกขึ้นพาดพระอังสาคล้ายการ ‘เชยคาง’ และโดยรอบซุ้มเรือนแก้วขององค์พระจะมีเม็ดไข่ปลาปรากฏอยู่
แต่ละกรุ ผิวขององค์พระในแต่ละกรุจึงแตกต่างกัน “กรุวัดบรมธาตุและกรุบริเวณทุ่งเศรษฐี” จะมีผิวสนิมตีนกาเป็นสีดำๆ เป็นส่วนใหญ่ ส่วนที่ “กรุวัดอาวาสน้อยและวัดสี่อิริยาบถ” มักจะมีผิวปรอทหลงเหลืออยู่ ผิวมักจะออกขาวซีดๆ ที่พบเป็นชินแก่ตะกั่ว มีไขขาวและสนิมแดงก็พบบ้างแต่น้อยมาก
พระกำแพงเชยคางข้างเม็ด จ.สุพรรณบุรี ค้นพบที่กรุวัดชุมนุมสงฆ์ กรุใหญ่กรุหนึ่งเมืองสุพรรณ ในคราวเปิดกรุอย่างเป็นทางการเมื่อปี พ.ศ.2504 สันนิษฐานว่าเป็นพระสมัยอยุธยาตอนต้น ในราวปี พ.ศ.1967 ลักษณะพิมพ์ทรงเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ด้านบนเรียวแหลม ยกขอบเป็นเส้นลวดนูน 2 ชั้น คล้ายซุ้มเรือนแก้ว มีเส้นขีดคล้ายลายกนกโดยรอบ พุทธลักษณะองค์พระประธานประทับยืน แสดงปางลีลา บนฐานบัว 2 ชั้น พระเกศจิ่ม แหลม และยาวจดเส้นซุ้ม เส้นไรพระศกเป็นเส้นนูนชัดเจน พระพักตร์รูปไข่ ส่วนล่างค่อนข้างแหลม ปรากฏพระเนตร พระนาสิก และพระโอษฐ์ โดยเฉพาะพระเนตรนูนเด่นคล้ายตาตั๊กแตน พระเศียรเอนไปด้านซ้ายเล็กน้อย พระอังสาด้านขวาขององค์พระยกขึ้นเล็กน้อย และมีการแอ่นเอนของพระวรกาย แสดงความสมดุลและกลมกลืนได้อย่างสละสลวย พระกรด้านซ้ายจะยกขึ้นแนบพระอุระ การวาดลำพระกรทั้ง 2 ข้างอ่อนช้อยและเน้นเส้นลึกชัด ส่วนชายจีวรเส้นจะแผ่วบาง นับเป็นพระที่มีพุทธศิลป์ที่อ่อนช้อยงดงามแสดงถึงศิลปะบริสุทธิ์อันเป็นเอกลักษณ์ของไทยอย่างแท้จริง
ที่เรียกขานในชื่อ ‘พระกำแพงเชยคางข้างเม็ด’ เช่นเดียวกับที่จังหวัดกำแพงเพชร ก็เนื่องจากมีพุทธลักษณะคล้ายคลึงกัน จะต่างกันตรง ‘การเชยคาง’ พระกรด้านซ้ายจะยกขึ้นแนบพระอุระ ยกขอบเป็นเส้นลวดนูน 2 ชั้น คล้ายซุ้มเรือนแก้ว และมีเส้นขีดคล้ายลายกนกโดยรอบ และขนาดขององค์พระค่อนข้างเขื่องกว่า คือ ประมาณ 2.5 X 8 ซ.ม.
เท่าที่พบมีเพียงเนื้อเดียว เป็นพระเนื้อชินเงินซึ่งออกจะแก่เงิน เนื้อองค์พระจึงแข็งกว่าพระพิมพ์เนื้อชินของกรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุซึ่งแก่ตะกั่ว ดังนั้นจุดสำคัญในการพิจารณาคือ “ความเก่า” พระเนื้อชินที่บรรจุในกรุเป็นเวลาเนิ่นนานเกือบ 600 ปี ต้องพิจารณาคราบกรุ สนิมไข รอยร้าวและรอยระเบิดให้ดีๆ ครับผม
คำสำคัญ : พระเครื่อง
ที่มา : http://www.arjanram.com/relic_detail.php?g=2&id=125
รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2562). พระกำแพงเชยคางข้างเม็ด 2 จังหวัด. สืบค้น 2 พฤศจิกายน 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1165&code_db=610005&code_type=01
Google search
พระกำแพงซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่ กรุวัดหนองพิกุล พบจากกรุวัดหนองพิกุล หรือ เรียกกันสั้นๆ ว่าวัดพิกุล ซึ่งเป็นวัดร้างในบริเวณทุ่งเศรษฐี พระที่พบจากกรุนี้เช่น พระกำแพงซุ้มกอ พระเม็ดขนุน พระว่านหน้าทอง และพระอื่นๆเนื้อนุ่มจัด และมีพุทธศิลป์ที่งดงามอ่อนช้อย สมส่วน พระเครื่องกรุวัดพิกุลนี้ได้ถูกเปิดภายหลังจากกรุวัดพระบรมธาตุเพียงไม่กี่ปี มีพระพิมพ์ต่างเกือบทุกแบบเช่นเดียวกับที่พบในกรุวัดพระบรมธาตุ ลักษณะของพระซุ้มกอจากกรุวัดพิกุลนี้ จะเห็นว่ามีความแตกต่างจากพระกำแพงซุ้มกอ กรุฤาษีที่เคยนำมาให้ศึกษากันอยู่บ้าง กล่าวคือ พระพักตร์เรียวงาม ไม่ต้อป้อมเหมือนกรุฤาษี พระเศียรจะตั้งตรง (กรุฤาษีเอียงขวาเล็กน้อย) บัวที่อาสนะทั้ง 5 กลีบ กลีบบัวจะมนโค้ง ไม่มีลักษณเป็นเหลี่ยมและลายในกลีบบัวจะไม่ลึกเหมือนกรุฤาษี ความคมชัดของพิมพ์ไม่ชัดเท่ากรุฤาษี ซอกพระพาหาตื้นกว่าของกรุฤาษี และหากพิจารณาอย่างพิเคราะห์จะเห็นว่าเนื้อพระจะหนึกแน่นกว่ากรุฤาษี
เผยแพร่เมื่อ 16-08-2019 ผู้เช้าชม 36,579
ที่ตั้งกรุพระวัดช้าง อยู่ทิศตะวันออกของศาลหลักเมือง จากศาลหลักเมืองไป ถนนกำแพงพรานกระต่าย 150 เมตร เลี้ยวขวาเข้าไปประมาณ 200 เมตร วัดช้างกรุเก่า ประเภทพระที่พบ ได้แก่ พระกำแพงลีลา พระกลีบบัวนาคปรก พระนางพญากำแพง พระซุ้มยอ พระกำแพงห้าร้อย พระกลีบบัว พระอู่ทองกำแพง พระซุ้มกระรอกกระแต และพิมพ์อื่นๆ ส่วนกรุใหม่ ประเภพพระที่พบ ได้แก่ พระซุ้มกอหน้ายักษ์มีกนกพิมพ์ใหญ่ พระซุ้มกอหน้าหนุ่มมีกนกพิมพ์ใหญ่ พระซุ้มกอแดง-ดำพิมพ์กลาง พระซุ้มกอหน้าแก่มีกนกพิมพ์ใหญ่ พระซุ้มกอดำ-แดงไม่มีกนกพิมพ์ใหญ่ พระเม็ดขนุนแดง
เผยแพร่เมื่อ 23-08-2019 ผู้เช้าชม 4,534
ย้อนกลับไปในสมัยสุโขทัย ราวปี พ.ศ. 1800 พญาเลอไทยได้บูรณะเมืองชากังราวและยกฐานะขึ้นเป็นเมืองลูกหลวงเช่นเดียวกับเมืองศรีสัชนาลัย และโปรดเกล้าฯ ให้พระราชโอรสพระองค์หนึ่งมาครองเมือง ครั้นเมื่อพระเจ้าอู่ทองทรงตั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีของอาณาจักรทางใต้ ล่วงมาถึงรัชสมัยของสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 (ขุนหลวงพะงั่ว) พระองค์ยกทัพมาตีสุโขทัย ผลของสงครามทำให้สุโขทัยถูกแบ่งออกเป็นสองส่วน คือ ดินแดนทางริมฝั่งแม่น้ำปิงส่วนหนึ่ง และดินแดนทางริมฝั่งแม่น้ำยมและแม่น้ำน่านอีกส่วนหนึ่ง ทางด้านแม่น้ำปิงได้รวมเมืองชากังราว และเมืองนครชุมเข้าเป็นเมืองเดียวกัน แล้วเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น “เมืองกำแพงเพชร” ยกฐานะขึ้นเป็นเมืองราชธานีปกครองดินแดนทางลุ่มแม่น้ำปิงในย่านนี้ ส่วนทางลุ่มแม่น้ำยมและแม่น้ำน่าน ให้เมืองพิษณุโลกเป็นราชธานี โปรดเกล้าฯ ให้พญาไสลือไทย หรือพระมหาธรรมราชาที่ 2 เป็นเจ้าเมือง ล่วงมาถึงรัชสมัยพระบรมราชาธิราชที่ 2 หรือเจ้าสามพระยา การแบ่งเขตการปกครองออกเป็นสองส่วนดังกล่าว มีเรื่องไม่สงบเกิดขึ้นเสมอ ดังนั้น จึงรวมเขตการปกครองทั้งสองเข้าด้วยกัน โดยยุบเมืองกำแพงเพชรจากฐานะเดิมแล้วให้ทุกเมืองขึ้นต่อเมืองพิษณุโลกเพียงแห่งเดียว
เผยแพร่เมื่อ 16-08-2019 ผู้เช้าชม 3,707
ที่ตั้งกรุพระวัดซุ้มกอ อยู่ตรงข้ามท่ารถ บขส. ห่างริมถนนกำแพงเพชร ประมาณ 40 เมตร ประเภทพบที่พบ ได้แก่ พระซุ้มกอ พิมพ์กลาง พระเม็ดขนุน พระซุ้มยอ พระซุ้มกอ พิมพ์เล็ก พระลีลากำแพง พระกลีบบัว และพิมพ์อื่นๆ
เผยแพร่เมื่อ 19-08-2019 ผู้เช้าชม 7,685
ที่ตั้งกรุพระวัดพระนอน อยู่เหนือกรุพระวัดป่ามืดประมาณ 200 เมตร ประเภทพระที่พบ ได้แก่ พระลีลากำแพง พระร่วงนั่ง พระบรรทมศิลป์ พระสืบชาตินารายณ์แปลง พระเปิดโลก พระอู่ทองกำแพง พระสืบชาต และพิมพ์อื่นๆ
เผยแพร่เมื่อ 20-08-2019 ผู้เช้าชม 2,697
ที่ตัั้งกรุพระ สปจ. อยุ่ในรั้วที่ทำการศึกษานิเทศก์จังหวัดกำแพงเพชร มุมรั้วทิศตะวันออกเฉียงเหนือติดถนนราชดำเนิน เข้าด้านถนนเทศา ประเภทพระที่พบ ได้แก่ พระสังกัจจายณ์ พระร่วงนั่งพิมพ์ฐานสูง พระร่วมนั่งพิมพ์สามเหลี่ยม พระอู่ทองกำแพงพิมพ์ใหญ่ พระนางพญากำแพง พระร่วงนั่งพิมพ์ปีกกว้าง พระเชตุพนพิมพ์ฐานบัว พระอู่ทองกำแพงพิมพ์กลาง และพิมพ์อื่นๆ
เผยแพร่เมื่อ 23-08-2019 ผู้เช้าชม 4,928
ที่ตั้งกรุพระเจดีย์กลางทุ่ง อยู่ทิศตะวันออกเฉียงใต้ของท่ารถ บขส. ไป ประมาณ 600 เมตร ประเภทพบที่ ได้แก่ พระซุ้มกอ มีกนกพิมพ์ใหญ่ พระซุ้มกอ มีกนกพิมพ์เล็ก พระนางพญากำแพง พิมพ์ลึก พระอู่ทองกำแพง พิมพ์เล็ก พระเชตุพนพิมพ์ใหญ่-เล็ก พระงบน้ำอ้อยสิบพระองค์ พระซุ้มกอ มีกนกพิมพ์กลาง พระเม็ดขนุน พิมพ์ใหญ่ พระนางพญากำแพง พิมพ์ตื้น พระกลีบบัว พระเชตุพน พิมพ์บัวชั้นเดียว พระปรางมารวิจัย และพิมพ์อื่นๆ
เผยแพร่เมื่อ 19-08-2019 ผู้เช้าชม 7,504
ที่ตั้งกรุพระวัดป่ามืด ถนนกำแพง-พรานกระต่ายจากศาลเจ้าพ่อหลักเมือง 200 เมตร เลี้่ยวซ้ายไปประมาณ 900 เมตร ถึงวัดป่ามืดนอก แล้ววัดป่ามืดอยู่ทิศตะวันตกติดกัน ประเภทพระที่พบ ได้แก่ พระเม็ดขนุน พระเปิดโลก พระเปิดโลกพิมพ์ใหญ่ พระลีลากำแพงเพชร พระเม็ดมะลื่น พระยอดขุนพลพิมพ์ใหญ่-กลาง พระนางพญาท้องลอน พระนางพญากำแพงพิมพ์ใหญ่ พระเล็บมือนาง พระเชตุพนพิมพ์บัวสองชั้น พระเชตุพน พระอู่ทองกำแพงพิมพ์ใหญ่ พิมพ์เล็ก พระฝักดาบ พระกลีบจำปา พระเปิดโลกทิ้งดิ่ง พระประทานพร พระซุ้มยอ พระท่ามะปราง พระนาคปรก พระนางพญากำแพงพิมพ์ใหญ่ พระนางพญากำแพงพิมพ์เล็ก พระนางพญากำแพงพิมพ์ตื้น พระกลีบบัว พระเชตุพนพิมพ์ใหญ่ พระอู่ทองซุ้มเสมา พระกำแพงใบตำแย และพิมพ์อื่นๆ
เผยแพร่เมื่อ 20-08-2019 ผู้เช้าชม 5,223
พระซุ้มชินราช กำเนิดที่วัดร้าง คือวัดหัวมีนาและวัดโพธิ์ ตำบลท่าเรือ จังหวัดนครศรีธรรมราช วัดสองวัดนี้ปัจจุบันไม่มีแล้วเพราะสถานที่ทั้งสองกลายเป็นโรงเรียนนาฏศิลป์ไปแล้ว พระถูกค้นพบเมื่อประมาณพ.ศ. ๒๔๙๖ นอกจากจะพบพระซุ้มชินราชแล้งยังพบพระพิมพ์อื่นปนออกมาหลายพิมพ์ เช่นพิมพ์วงเขน พิมพ์ตรีกรายฯ ส่วนใหญ่จะเป็นเนื้อดิน ส่วนเนื้อชินมีน้อย ศิลปะของพระกรุนี้จะเป็นยุคอยุธยาตอนต้น
เผยแพร่เมื่อ 23-02-2017 ผู้เช้าชม 9,697
พระลีลา กำแพงขาว จังหวัดกำแพงเพชร คราบฝ้าขาวของกรุ และปรอทจับตามองค์พระกระจายทั่วไป จึงเป็นที่มานามแห่ง “กำแพงขาว” ถือได้ว่า กล่าวขวัญกันมากที่สุด สำหรับนักสะสมเนื้อชิน และองค์นี้สวยถือว่าสวยสมบูรณ์แท้ ไม่เป็นสองรองใครถ้าพูดถึงพระเครื่อง เนื้อชิน ที่ถูกยกย่องเป็น “พระในฝัน” ของเหล่าบรรดานักนิยมสะสมพระเครื่อง สายเนื้อชินกันแล้วหล่ะก็ นามแห่ง “กำแพงขาว” ถือได้ว่า กล่าวขวัญกันมากที่สุดพิมพ์หนึ่ง จนสามารถพูดได้ว่า “พระกำแพงขาว” คือ 1 ใน 10 พระเครื่องเนื้อชิน ที่มีผู้อยากจะได้ไว้ครอบครองบูชามากที่สุดอีกพิมพ์หนึ่งกันเลยทีเดียว สมัยเก่าก่อนเขาให้ความนิยมเชื่อถือศรัทธาเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งพุทธคุณด้านคงกระพันชาตรี ต่างยกนิ้วให้ด้วยความชื่นชมว่า “คงกระพันชาตรี เหนียวสุดๆ” รวมถึงแคล้วคลาด และเมตตามหานิยม
เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 18,066