พระกรุกำแพงเพชร

พระกรุกำแพงเพชร

เผยแพร่เมื่อ 15-08-2019 ผู้ชม 5,857

[16.4821705, 99.5081905, พระกรุกำแพงเพชร]

       "การเรียนรู้พระกรุมีความสำคัญมาก เพราะปัจจุบันผิดเพี้ยนไปเกือบทั้งหมด ความถูกต้องแท้จริงไม่ได้ขึ้นอยู่กับคำพูดของใครคนใดคนหนึ่ง สิ่งที่สามารถบ่งบอกถึงความถูกต้องแท้จริงของพระกรุ ต้องมาจากธรรมชาติที่ปรากฏให้เห็นขององค์พระนั้นๆ" คำกล่าวของ "ชัยฤทธิ์ โสภณโภไคย" เจ้าของพิพิธภัณฑ์โสภณไคย ตั้งอยู่กลางเมืองกำแพงเพชร ถือเป็นพิพิธภัณฑ์เอกชนที่รวบรวมพระกรุกำแพงเพชรไว้มากที่สุดแห่งหนึ่ง
       ชื่อของ "ชัยฤทธิ์" รู้จักกันดีในแวดวงนักเลยพระกรุ โดยเฉพาะที่กำแพงเพชร เพราะนอกจากจะเป็นผู้ที่มีพระกรุกำแพงเพชรไว้ในครอบครองมากทีสุดแล้ว ยังนับเป็น "ผู้รู้" เรื่องพระกรุกำแพงเพชรอย่างหาตัวจับได้ยาก ระหว่างศึกษาข้อมูลและข้อเท็จจริงของพระกรุ บางคนถึงกับกล่าวหาว่าเขาเป็น "คนบ้า" ที่จู่ๆ ก็ปืนขึ้นไปบนกำแพงวัด ก้มๆ เงยๆ อยู่บนนั้นนานหลายวัน ขณะที่บางครั้งก็ไปขุดดินใต้ต้นไม้ลึกลงไปเป็นเมตร โดยไม่รู้ว่าเขากำลังทำอะไร แต่สำหรับชัยฤทธิ์แล้วการกระทำเหล่านั้น ทำให้ได้ความรู้กลับมาเป็นผลตอบแทน ไม่ใช้รู้แบบงูๆ ปลาๆ แต่ละเอียด ลึกซึ้ง และรอบด้าน
       นอกจากมีพิพิธภัณฑ์ของตัวเองแล้ว ชัยฤทธิ์ยังเป็นนักอนุรักษ์ที่อยากถ่ายทอดความรู้และเรื่องราวอันล้ำค่าของพระกรุกำแพงเพชรให้แก่คนรุ่นหลังได้สืบสานรักษาพระดีของเมืองกำแพงเพชรให้คงอยู่อย่างถูกต้องชั่วลูกชั่วหลาน เขาจึงตัดสินใจเปิดอบรมเรือ่งพระกรุกำแพงเพชรของแท้ในแนวทางและวิธีการของเขาเอง ซึ่งมีรายละเอียดเฉพาะตัว
       ก่อนหนัานี้ชัยฤทธิ์ ไม่คิดจะเป็น "ผู้ชี้แนะ" เท่าไหร่นัก เขามักถ่อมตัวว่าไม่มีความรอบรู้พอที่จะเป็นครูบาอาจารย์สอนใครได้ ได้แต่นำความรู้ที่มีทั้งหมดแปรเปลี่ยนเป็นตัวอักษร จนได้หนังสือดีออกมาหนึ่งเล่ม ชื่อ "พระกรุกำแพงเพชร" เนื้อหาบอกเล่าถึงพระกรุของเมืองกำแพงเพชรที่มีในปัจจุบัน รวมถึงกระกรุพิมพ์ต่างๆ ลักษณะ รูปร่างแต่ละพิมพ์เป็นอย่างไร
       ชัยฤทธิ์ กล่าวว่าที่ผ่านมาคนนจำนวนมากถูกหลอกในวงการขายพระ และคนทำพระปลอมก็นิยมทำปลอมพระซุ้มกอและพระลีลาเม็ดขนุน เพราะอยู่ในชุด "เบญจภาคี" อีกทังเชื่อ "มีกูแล้วไม่จน" ซึ่งเขากล่าวปนเสียงหัวเราะว่า คนที่ไม่จนคือคนที่ขายพระปลอมนั่นเอง เพราะทำขายกันจนรวยเป็นล่ำเป็นสัน "ในอดีตคนรุ่่นก่อนจะนิยมเรียกพระกรุ โดยระบุว่าเป็นวัดนั้น วันนี้ เช่น กรุวัดพิกุล กรุวัดบรมธาตุ เป็นต้น ที่ต้องเรียกอย่างนี้ก็เพื่อให้พระกรุของวัดนั้นๆ ทำราคาได้ ปัจจุบันก็ยังเป็นหมือนในอดีตที่เรียกกัน แต่อยากถามว่าการระบุว่าเป็นพระกรุวัดนั้้น วันนี้ เขารู้แท้แน่ชัดหรือไม่ ว่ามันใช่พระกรุจริงๆ หรือทำปลอมขึ้นมา ผมว่าทุกคนต่างก็ไม่รู้ เพราะไม่ใช่คนสร้าง ไม่ใช่คนขุด แล้วถามว่าคนวงการพระในปัจจุบันยอมรับความจริงข้อนี้กันได้ไหม คำตอบสำหรับผมคือ เขารับไม่ได้ เพราะมีเรื่องผลประโยชน์เงินทองเข้ามาเกี่ยวข้อง เขาจำเป็นเหลือเกินที่จะต้องระบุว่าเป็นพระกรุวัดอะไร" นี้คืออีกเหตุผลหนึ่งของการเปิดอบรมดูพระกรุครั้งนี้
       สำหรับการอบรม ชัยฤทธิ์บอกเล่าตั้งแต่เบื้องต้นของพระองค์จริง การดูพระเนื้อเป็นอย่างไร คราบรา นวลกรุ "คำว่านวลกรุ ต้องดูว่า รา กับ นวลกรุ อันไหนเกิดก่อนกัน คำตอบคือราต้องเกิดติดเนื้อองค์พระก่อน เพราะฉะนั้น พระองค์ไหนก็ตามถ้าเกิดราปิดทับนวลกรุ โยนท้ิงได้ทันที เพราะตามหลักวิทยาศาสตร์แล้ว ราต้องอยู่ใต้นวบกรุ เพราะนวลกรุเป็นส่ิงสะสมที่เกิดขึ้นทีหลัง ค่อยสะสมไปเรื่อยๆ จนติดแน่น ดังนั้นนวลกรุจะปิดทับราเสมอ ต้องไม่ลืมหลักวิทยาศาสตร์ข้อนี้ ถ้าลืมเมื่อไรก้เท่ากับว่าเราเข้าไปตกบ่วงของคนขายพระปลอม ต้องระวัน"
       ข้อสำคัญประการหนึ่งของการเรียนรู้ คือต้องเห็นด้วยตา ด้วยเหตุนี้ในการอบรมของชัยฤทธิ์ เขาจึงลงทุนหอบหิ้วพระกรุของแท้จากพิพิธภัณฑ์สมบัติส่วนตัว ไปให้คนเรียนได้ส่องพระจริงถึง 50 องค์ เพื่อให้เห็นจุดเด่นจุดด้อยกับตาตัวเองกันเลยทีเดียว "จุดประสงค์ของผม คืออยากให้ทุกคนที่มาอบรมได้เห็นพระองค์จริง พระนี้ผมจัดใส่ตู้ไว้ให้ดู ถ้าใครมีกล้องก็สามารถส่องดูที่องค์พระได้เลย นอกจากนี้ ผมยังจัดเตรียมไว้ให้หยิบสิ่งกับมือตัวเองอีกประมาณ 10 องค์ เพราะฉะนั้น ถามหน่อยว่ามีใครจะนำพระชุ้มกอ พระลีลาเม็ดขนุนที่เป็นของกรุแท้ๆ ให้คุณได้หยิบส่อง นอกจากที่นี้ที่เดียว         
       อย่างไรก็ดี การสอนให้คนรู้ดูพระให้เป็นว่าจริงหรือไม่จริง แท้หรือไม่แท้ ชัยฤทธิ์บอกว่าเหมือนโปลิสจับขโมย พอแท้ทางหนึ่งได้ ก็ไปโผล่อีกทาง "พวกขายพระปลอมมีวิธีหนึ่งที่บอกได้ยากมาก ถ้าเขาใช้วิธีนี้ต้องบอกเลยว่า จับผิดได้ยากมาก แต่ก็สามารถจับได้ ผมจะบอกว่าวิธีเป็นอย่างไร ขอไปเฉลยในการอบรม ต้องไปดูตอนอบรมเท่านั้น ไปเห็นองค์จริงแล้วผมจะบอก" เจ้าของพิพิธภัณฑ์โสภณไคยเย้าแหย่กันเล่นพอสนุก
       สุดท้ายแล้ว พระกรุกำแพงเพชรทุกรุที่คนรุ่นก่อนสร้างไว้ ในเรื่องพุทธคุณนั้นบอกได้ว่าทุกส่ิงดีหมด แต่อยู่ที่ตัวคนปฏิบัติเท่านั้นว่าจะทำอย่างไร ผิดศีลธรรมหรือไม่ เมื่อทำไม่ดี ย่อมได้ไม่ดีตอบแทน หากใครจะแย้งว่าเยอะแยะไปที่ทำไม่ดี แต่ได้ดี บอกเลยว่านั้นเป็นเพราะ "บุญเก่า" เขายังไม่หมด เมื่อไรที่หมดบุญเก่า เขาต้องประสบชะตากรรมอย่างแน่นอน

 

คำสำคัญ : พระเครื่อง

ที่มา : https://www.matichon.co.th/prachachuen/prachachuen-scoop/news_1390456

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2562). พระกรุกำแพงเพชร. สืบค้น 27 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1151&code_db=610005&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1151&code_db=610005&code_type=01

Google search

Mic

“พระซุ้มกอ” กำแพงเพชร มีอีกชื่อว่า “พระฤๅษี” สุดยอดหนึ่งในชุดเบญจภาคี

“พระซุ้มกอ” กำแพงเพชร มีอีกชื่อว่า “พระฤๅษี” สุดยอดหนึ่งในชุดเบญจภาคี

ย้อนกลับไปในสมัยสุโขทัย ราวปี พ.ศ. 1800 พญาเลอไทยได้บูรณะเมืองชากังราวและยกฐานะขึ้นเป็นเมืองลูกหลวงเช่นเดียวกับเมืองศรีสัชนาลัย และโปรดเกล้าฯ ให้พระราชโอรสพระองค์หนึ่งมาครองเมือง ครั้นเมื่อพระเจ้าอู่ทองทรงตั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีของอาณาจักรทางใต้ ล่วงมาถึงรัชสมัยของสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 (ขุนหลวงพะงั่ว) พระองค์ยกทัพมาตีสุโขทัย ผลของสงครามทำให้สุโขทัยถูกแบ่งออกเป็นสองส่วน คือ ดินแดนทางริมฝั่งแม่น้ำปิงส่วนหนึ่ง และดินแดนทางริมฝั่งแม่น้ำยมและแม่น้ำน่านอีกส่วนหนึ่ง ทางด้านแม่น้ำปิงได้รวมเมืองชากังราว และเมืองนครชุมเข้าเป็นเมืองเดียวกัน แล้วเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น “เมืองกำแพงเพชร” ยกฐานะขึ้นเป็นเมืองราชธานีปกครองดินแดนทางลุ่มแม่น้ำปิงในย่านนี้ ส่วนทางลุ่มแม่น้ำยมและแม่น้ำน่าน ให้เมืองพิษณุโลกเป็นราชธานี โปรดเกล้าฯ ให้พญาไสลือไทย หรือพระมหาธรรมราชาที่ 2 เป็นเจ้าเมือง ล่วงมาถึงรัชสมัยพระบรมราชาธิราชที่ 2 หรือเจ้าสามพระยา การแบ่งเขตการปกครองออกเป็นสองส่วนดังกล่าว มีเรื่องไม่สงบเกิดขึ้นเสมอ ดังนั้น จึงรวมเขตการปกครองทั้งสองเข้าด้วยกัน โดยยุบเมืองกำแพงเพชรจากฐานะเดิมแล้วให้ทุกเมืองขึ้นต่อเมืองพิษณุโลกเพียงแห่งเดียว

เผยแพร่เมื่อ 16-08-2019 ผู้เช้าชม 3,420

สมเด็จพุฒาจารย์ (โต) กับวัดเสด็จ

สมเด็จพุฒาจารย์ (โต) กับวัดเสด็จ

สมเด็จพุฒาจารย์ (โต) กับวัดเสด็จ เมืองกำแพงเพชร เป็นที่ทราบกันดีว่า สมเด็จพุฒาจารย์โต เป็นชาวกำแพงเพชร หลักฐานจากบันทึกของมหาอำมาตย์ตรี พระยาทิพโกษา (สอน โลหะนันท์) ความว่า... ครั้งนั้นเจ้าพระยาจักรี ตั้งทัพอยู่ ณ เมืองกำแพงเพชร เวลาเช้าวันหนึ่งออกลาดตระเวนกองทัพทั้งปวงเพื่อบัญชาการ และชักม้าลัดเพื่อตัดทาง ม้าก็เลยพาท่านเข้าป่าฝ่าพง จำเพาะมายังบ้านปลายนาใต้เมืองกำแพงเพชรเป็นเวลาเย็น จึงแลเห็นโรงหนึ่งตั้งอยู่ปลายทุ่งนา เจ้าคุณแม่ทัพผู้นั้นจึงได้ชักม้าไปถึงโรงนั้น ไม่เห็นมีคนผู้ใหญ่อยู่ ได้เห็นแต่หญิงสาวคนหนึ่งเดินออกมา เจ้าคุณแม่ทัพผู้นั้นจึงบอกแก่นางสาวคนนั้นว่า ข้ากระหายน้ำ เจ้าจงตักน้ำมาให้กินสักขันเถิด... 

เผยแพร่เมื่อ 17-01-2020 ผู้เช้าชม 5,420

พระนางกำแพงเนื้อว่าน

พระนางกำแพงเนื้อว่าน

พระนางกำแพง หนึ่งในพระเครื่องเมืองกำแพงเพชร ที่เรียกได้ว่าไม่เป็นสองรองใครเช่นกัน และมีพุทธศิลปะที่แสดงถึงศิลปะสุโขทัยหมวดสกุลช่างกำแพงเพชรได้อย่างชัดเจนที่สุด ทั้งยังเป็นพระที่สร้างในสมัยเดียวกับพระกำแพง ซุ้มกอ พระกำแพงเม็ดขนุน ฯลฯดังนั้น เนื้อหามวลสาร ความหนึกนุ่มซึ้งของเนื้อพระ รวมถึงด้านพุทธคุณในด้านเมตตามหานิยมและโชคลาภจึงเท่าเทียมกัน และเป็นที่นิยมและแสวงหา ในแวดวงนักนิยมสะสมพระเครื่องเช่นเดียวกัน แต่ด้วยพระในตระกูลพระเครื่องเมืองกำแพงเพชรนั้นก็มีปรากฏอยู่มากมายหลายพิมพ์และหลายกรุ โดยเฉพาะ "พระนางกำแพง" มีขึ้นแทบจะทุกกรุในบริเวณทุ่งเศรษฐี ทำให้ค่านิยมและการแสวงหาจึงลดหลั่นกันลงไป

เผยแพร่เมื่อ 23-02-2017 ผู้เช้าชม 7,344

พระเม็ดขนุน

พระเม็ดขนุน

พระลีลาเม็ดขนุนนั้น เป็นพระดินเผา เหมือนพระซุ้มกอ พระนางกำแพง พระพลูจีบ พระกลีบจำปา และพิมพ์อื่นๆ เป็นหลายสิบพิมพ์ เป็นพระดินเผาที่เป็นดินบริสุทธิ์ไม่มีกรวดทรายผสม มีแต่ทรายเงินทรายทองผสมเป็นบางส่วนเท่านั้น เนื้อดินเผาจึงดูนุ่มมีเอกลักษณ์ของพระดินเผา จังหวัดกำแพงเพชร 

เผยแพร่เมื่อ 21-02-2017 ผู้เช้าชม 27,595

เหรียญรูปเหมือนหลวงพ่อจุล รุ่นแรก

เหรียญรูปเหมือนหลวงพ่อจุล รุ่นแรก

“พระวชิรสารโสภณ” หรือ “หลวงพ่อจุล อิสสรญาโณ” อดีตเจ้าอาวาสวัดหงษ์ทอง ตำบลสลกบาตร อำเภอขาณุวรลักษบุรี จังหวัดกำแพงเพชร และอดีตเจ้าคณะอำเภอขาณุวรลักษบุรี วัตถุมงคลที่ได้รับความนิยมคือ “เหรียญรูปเหมือนหลวงพ่อจุล รุ่นแรก วัดหงษ์ทอง กำแพงเพชร พ.ศ.2499″… จัดสร้างขึ้นวาระที่คณะศิษย์ชาวเมืองกำแพงเพชร สร้างถวายไว้แจกเป็นที่ระลึก ลักษณะเป็นเหรียญรูปสี่เหลี่ยม มีหูห่วง จัดสร้างเป็นเนื้อทองแดงกะไหล่ทอง ด้านหน้าเหรียญ ตรงกลางเป็นรูปเหมือนหลวงพ่อจุลนั่งขัดสมาธิเต็มองค์หันหน้าตรง ใต้รูปเหมือนเขียนคำว่า “ที่ระฤกในงานถวายของขวัญพระครูวิกรมวชิรสาร วันที่ 30 มีนาคม พ.ศ.2499” ด้านหลังเหรียญไม่มีขอบ ตรงกลางเป็นอักขระยันต์ ปัจจุบันเริ่มหายาก ส่วนใหญ่ถูกตามเก็บเข้ากรุ …

เผยแพร่เมื่อ 06-09-2019 ผู้เช้าชม 3,605

พระซุ้มยอ

พระซุ้มยอ

พระซุ้มยอนี้ นักพระเครื่องสมัยก่อนเห็นลวดลายเรือนแก้วของพระเครื่องพิมพ์นี้ใหญ่เป็นตุ่มคล้ายลูกยอ จึงเรียกกันว่า “ ปรกลูกยอ “ เนื้อดินมักมีคราบกรุจับและมีว่านดอกมะขามอยู่ทั่วไป เนื้อดินมีทั้งชนิดเนื้อค่อนข้างหยาบและเนื้อละเอียดนุ่ม มีทั้งกลังเรียบและหลังเบี้ย เนื้อชินเป็นชินเงินสนิมเขียว สนิมปรอท และสนิมดำก็มี สำหรับชนิดเนื้อชินมักทำหลังเป็นร่อง หลังเรียบก็มีบ้างแต่ก็มีน้อยมาก ขนาดมี 2 ขนาด ขนาดเล็กและขนาดใหญ่แต่ว่าต่างกันเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ขนาดใหญ่สูงประมาณ 2.5 ซม.กว้าง 1.5 ซม.” 
พระกำแพงซุ้มยอพบที่กรุวัดพระบรมธาตุ ทั้งชนิดเนื้อชินและเนื้อดิน จากนั้นก็พบที่บริเวณทุ่งเศรษฐีที่กรุหนองพิกุล และกรุซุ้มกอ นับว่าเป็นพระเครื่องทุ่งเศรษฐีอีกพิมพ์หนึ่งที่มีชื่อเสียงเคียงคู่มากับบรรดาพระชั้นนำของเมืองกำแพงเพชร ปัจจุบันนี้พระกำแพงซุ้มยอเป็นพระที่หายากไปแล้ว ราคาค่านิยมยังไม่สูงมากเหมือนกับพระกำแพงซุ้มกอ แต่ก็ถือว่าเป็นพระที่นำมาอาราธนาบูชาติดตัวได้อย่างเชื่อมั่นไม่น้อยไปกว่าพระพิมพ์อื่นๆ

เผยแพร่เมื่อ 19-08-2019 ผู้เช้าชม 12,635

กรุนาตาคำ

กรุนาตาคำ

ที่ตั้งกรุพระวัดนาตาคำ อยู่ทิศใต้ของป้อมบ้านเศรษฐี ประมาณ 800 เมตร ปัจจุบันถูกขุดเป็นบ่อปลา ประเภทพระที่พบ ได้แก่ พระซุ้มกอพิมพ์กลาง พระซุ้มกอขนมเปี๊ยะ พระลีลากำแพง พระกลีบบัว พระซุ้มกอพิมพ์เล็ก พระกลีบจำปาเนื้อเหลือง พระเปิดโลก พระมารวิชัย และพิมพ์อื่นๆ

เผยแพร่เมื่อ 19-08-2019 ผู้เช้าชม 7,760

พระประทานพรยืน

พระประทานพรยืน

กรุที่พบหรือสถานที่พบพระพิมพ์นี้คือ บริเวณบ้านของครูกำยาน ตรงด้านใต้เชิงสะพานฝั่งตะวันตก ซึ่งรวมอยู่ฝั่งนครชุมของเมืองกำแพงเพชรนั่นเอง เป็นพระกรุพิมพ์หนึ่งที่มีศิลปะสมัยสุโขทัย บวกศิลปะกำแพงเพชรโบราณ พระกรุแตกเมื่อปี พ.ศ.2537 ได้พบพระพิมพ์ต่าง ๆ มากมาย มีทั้งพระเนื้อชินเงิน พระเนื้อดินเผา และพระพุทธรูปบูชา-เทวรูปศิลปะสมัยลพบุรีก็รวมอยู่ด้วย มีพระเครื่อง-พระบูชาหลายขนาด

เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 10,931

พระร่วงเปิดโลก

พระร่วงเปิดโลก

พระร่วงเปิดโลก เม็ดทองหลาง ยืนตอ สีดำ กรุพิกุล ลานทุ่งเศรษฐี จังหวัดกำแพงเพชรวันนี้ผมอยากจะพูดถึง พระร่วงเปิดโลก จังหวัดกำแพงเพชร เป็นพระที่สร้างและเปิดกรุได้จากกรุต่างๆ ในลานทุ่งเศรษฐี จังหวัดกำแพงเพชร ควบคู่กับพระซุ้มกอและพระลีลาเม็ดขนุน ซึ่งทั้งสององคืนั้นถือเป็นหนึ่งในชุดเบญจภาคียอดนิยม พระร่วงเปิดโลกมีพุทธลักษณะทั่วไปมี 3 แบบคือ แบบฐานยื่นหรือที่เรียกว่า “พระร่วงยืนตอ” แบบประดิษฐานรอยพระบาท คือยืนที่ปลายเท้าหรือที่เรียกว่า “พระร่วงทิ้งดิ่ง” หรือแบบท่ายืนแบบทหาร เรียกว่า “พระร่วงยืนตรง” มีทั้งขนาดใหญ่ ขนาดกลาง ขนาดเล้ก หรือขนาดพิมพ์จิ๋ว มีปรากฎอยู่เกือบทุกกรุในกำแพงเพชร พุทธคุณดีทางอำนาจบารมี เมตตามหานิยม และโภคทรัพย์สมบูรณ์พูนสุข

เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 20,448

พระเครื่องสกุลกำแพงเพชร

พระเครื่องสกุลกำแพงเพชร

พระเครื่องสกุลกำแพงเพชร ปรากฏหลักฐานชัดเจนจากการพบจารึกบนแผ่นลานเงินในกรุขณะรื้อพระเจดีย์องค์ใหญ่ของวัดพระบรมธาตุ เมืองนครชุม ในพระราชนิพนธ์ เรื่อง เสด็จประพาสกำแพงเพชร ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ซึ่งเขียนเมื่อ พ.ศ. 2449 ได้กล่าวถึงจารึกบนแผ่นลานทอง อันมีข้อความเกี่ยวกับการขุดพบพระต่างๆ ตามกรุต่างๆ หลักฐานชิ้นสำคัญ อันเกี่ยวกับเมืองกำแพงเพชร ได้แก่ ศิลาจารึกนครชุม ที่กล่าวถึงการสร้างเมือง โดยพระมหาธรรมราชาลิไท ประมาณ พ.ศ. 1279 จากหลักฐานการศึกษา เทียบเคียงทั้งหลายมีข้อสันนิษฐาน ที่น่าเชื่อถือได้โดยสรุปว่า พระซุ้มกอกำแพงเพชรนั้น สร้างโดยพระมหาธรรมราชาลิไท เมื่อครั้งดำรงพระยศผู้ครองเมืองชากังราว ในฐานะเมืองหน้าด่านสำคัญของอาณาจักรสุโขทัย ก่อนที่จะทรงได้รับการสถาปนาเป็นกษัตริย์องค์ที่ 5 แห่งราชวงศ์สุโขทัยและปลุกเสกโดยพระฤๅษี ดังนั้นอายุการสร้างของพระซุ้มกอกำแพงเพชรจนถึงปัจจุบันจึงมีประมาณ 700-800 ปี สถานที่ขุดค้นพบบริเวณฝั่งตะวันตกของลำแม่น้ำปิง จ.กำแพงเพชร เป็นบริเวณทุ่งกว้างที่มีชื่อว่า “ลานทุ่งเศรษฐี” หรือโบราณเรียกว่า “เมืองนครชุมเก่า” บริเวณลานทุ่งเศรษฐีอันกว้างใหญ่นี้ ปรากฏซากโบราณสถานอยู่มากมาย เป็นชื่อวัดนับสิบกว่าวัดด้วยกัน พระซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่ พิมพ์มีกนก 

เผยแพร่เมื่อ 14-08-2019 ผู้เช้าชม 7,360