การแต่งงานของชาวเขา

การแต่งงานของชาวเขา

เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้ชม 3,696

[16.2844429, 98.9325663, การแต่งงานของชาวเขา]

เมื่อฝ่ายชายและฝ่ายหญิงรู้จักกันและเกิดรักกัน ทั้ง2 คนอยากใช้ชีวิตร่วมกัน ฝ่ายชายและฝ่ายหญิงจะกลับมาบ้านของตนเอง และฝ่ายชายค่อยมาพาฝ่ายหญิงจากบ้านของฝ่ายหญิง โดยผ่านประตูผีบ้านของฝ่ายหญิง เพราะคนม้งถือและเป็นวัฒนธรรมของคนม้ง หลังจากที่ฝ่ายชายและฝ่ายหญิงกลับมาถึงบ้านของฝ่ายชาย พ่อ แม่ของฝ่ายชาย จะเอาแม่ไก่มาหมุนรอบศีรษะทั้งสองคน 3 รอบเรียกว่า “หรือข๊า” เป็นการต้อนรับคนทั้งสองเข้าบ้าน ซึ่งฝ่ายชายต้องแจ้งให้ญาติทางฝ่ายหญิงทราบภายใน 24 ชั่วโมง โดยจัดหาคน 2 คน เพื่อไปแจ้งข่าวให้พ่อแม่และญาติทางฝ่ายหญิงทราบ ว่าตอนนี้บุตรชายของเราได้พาบุตรสาวของท่านมาเป็นลูกสะใภ้ของเราแล้ว ท่านไม่ต้องเป็นห่วงบุตรสาว โดยคนที่ไปแจ้งข่าวนั้นคนม้งเรียกว่า “แม่โก๊ง”พ่อแม่ฝ่ายหญิงจะแจ้งให้ทางฝ่ายชายว่าทราบว่าอีก 3 วันให้ “แม่โก๊ง” มาใหม่ นั้นหมายถึงว่าพ่อแม่ทางฝ่ายหญิงต้องการจัดงานแต่งงาน สมัยก่อนคนม้งมักจะอยู่กินด้วยกันก่อนสองถึง 3 เดือน หรืออาจจะเป็นปีแล้วค่อยมาจัดงานแต่ง แต่ปัจจุบันนี้สังคมเปลี่ยนไปตามยุคเทคโนโลยี ทำให้การจัดงานแต่งงานของคนม้งได้กำหนดจัดงานแต่งงานภายใน 3 วันเป็นที่นิยมกันในปัจจุบัน ชาวม้ง จะไม่เกี้ยวพาราสี หรือแต่งงานกับคนแซ่หรือตระกูลเดียวกันเพราะถือเป็นพี่น้องกัน ชาวม้งนิยมแต่งงาน ในระหว่างอายุ 15-19 ปี เมื่อแต่งงานกันแล้วฝ่ายหญิงจะย้ายเข้ามาอยู่ในบ้านของฝ่ายชาย ซึ่งนับเป็นการเพิ่มสมาชิกในครอบครัวชายชาวม้งอาจมีภรรยาได้มากกว่าหนึ่งคน อยู่รวมกันในบ้านของฝ่ายสามี
 
 
ภาพโดย : http://www.hotsia.com/chiangrai/homestay/300/dsc00696.jpg 

คำสำคัญ : การแต่งงาน, ชาวเขา

ที่มา : http://www.sawadee.co.th/thailand/hilltribes/hmong.html

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2560). การแต่งงานของชาวเขา. สืบค้น 18 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?code_db=610004&code_type=05&nu=pages&page_id=158

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=158&code_db=610004&code_type=05

Google search

Mic

ความเชื่อ ความศรัทธาจากชาวจีนโพ้นทะเลสู่คลองลาน กำแพงเพชร

ความเชื่อ ความศรัทธาจากชาวจีนโพ้นทะเลสู่คลองลาน กำแพงเพชร

ชาวจีนโพ้นทะเล หรือชาวไทยเชื้อสายจีนที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยในปัจจุบันนั้นได้อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานและประกอบอาชีพในประเทศไทยเป็นเวลานาน โดยมีการผสมผสานกลมกลืนระหว่างวัฒนธรรมของชนทั้งสองกลุ่ม ความเชื่อ ความศรัทธารวมถึงเอกลักษณ์กลายเป็นวัฒนธรรมผสม แต่ถึงอย่างไรก็ตามชาวจีนโพ้นทะเลยังคงรักษา ความเชื่อ ขนบธรรมเนียม ประเพณี ของตนไว้เป็นอย่างดี อย่างที่เราจะเห็นได้ในทุกพื้นที่ที่มีคนจีนอาศัยอยู่ จะมีเทศกาลปีใหม่จีน(ตรุษจีน) สารทจีน ให้อยู่ในทุกพื้นที่ เพื่อเป็นการสร้างความเข้าใจที่ครบถ้วนเกี่ยวกับที่มาที่ไปของความเชื่อ ความศรัทธาของชาวไทยเชื้อสายจีน ผู้ศึกษาขอพาไปรู้จักกับประเพณีในรอบ 1 ปีของชาวจีนดังในหัวข้อ “ประเพณีที่ถือปฏิบัติในรอบปี”

เผยแพร่เมื่อ 13-06-2022 ผู้เช้าชม 1,327

การอนุรักษ์วัฒนธรรมชาวไทยภูเขา

การอนุรักษ์วัฒนธรรมชาวไทยภูเขา

กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมประเพณีและภาษาพูดเป็นของตนเอง อาศัยอยู่บนภูเขา มีอาชีพและรายได้จากการเกษตรเป็นหลัก ลักษณะด้านครอบครัว เครือญาติและชุมชนระดับหมู่บ้านของแต่ละเผ่า มีเอกลักษณ์ของตน ซึ่งแตกต่างกันทุกเผ่ายังคงนับถือผีที่สืบทอดมาจาก การที่ชาวไทยภูเขาอาศัยอยู่ร่วมกับคนไทยบนผืนแผ่นดินไทยได้ทั้งนี้จะต้องอยู่ภายใต้กฎหมายบ้านเมือง

เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 3,144

ชนเผ่าล่าหู่ (LAHU)

ชนเผ่าล่าหู่ (LAHU)

ตามประวัติศาสตร์ของชนชาติ “ลาหู่” มีมานานไม่ต่ำกว่า 4,500 ปี โดยชาวลาหู่มีถิ่นฐานดั้งเดิมอยู่ในธิเบต และอยู่ในภาคตะวันตกเฉียงใต้ของจีน ต่อมาได้ทยอยอพยพลงมาอยู่ทางตอนใต้ของจีน โดยแบ่งออกเป็นสองสาย คือส่วนหนึ่งอพยพเข้ามาในแคว้นเชียงตุง ประเทศพม่า เมื่อพ.ศ. 2383 และราว พ.ศ. 2423 ได้เข้ามาอยู่ทางตอนเหนือของประเทศไทย โดยตั้งรกรากที่อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นแห่งแรก อีกส่วนหนึ่งได้อพยพเข้าไปในประเทศลาวและเวียดนาม ทั้งนี้ชนเผ่าลาหู่ได้แบ่งเป็นเผ่าย่อยอีกหลายเผ่า อาทิ ลาหู่ดำ ลาหู่แดง ลาหู่เหลือง ลาหู่ขาว ลาหู่ปะกิว ลาหู่ปะแกว ลาหู่เฮ่กะ ลาหู่ลาบา ลาหู่เชแล ลาหู่บาลา เป็นต้น 

เผยแพร่เมื่อ 27-04-2020 ผู้เช้าชม 21,383

กลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอะญอ

กลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอะญอ

กลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอะญอ หรือเดิมเรียกกันว่ากลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยง เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีการอพยพย้ายถิ่นฐานกระจายไปทั่วประเทศไทย และส่วนหนึ่งได้มาตั้งถิ่นฐานที่อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร ซึ่งจากการสำรวจ มี 2 หมู่บ้าน คือ 1) หมู่ 3 บ้านคลองน้ำไหลใต้ ตำบลคลองลานพัฒนา อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร มีจำนวนประมาณ 80 หลังคาเรือน อาชีพหลัก คือ รับจ้างทำไร่มันสำปะหลัง 2) หมู่ 18 บ้านกะเหรี่ยงน้ำตก ตำบลคลองลานพัฒนา อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร มีจำนวนประมาณ 100 หลังคาเรือน อาชีพหลัก คือ ทำไร่มันสำปะหลังและหาของป่าขาย

เผยแพร่เมื่อ 16-08-2020 ผู้เช้าชม 1,473

ประเพณีโล้ชิงช้า

ประเพณีโล้ชิงช้า

จะมีการจัดขึ้นทุกๆ ปี ประมาณปลายเดือนสิงหาคมถึงต้นเดือนกันยายน ซึ่งจะตรงกับช่วงที่ผลผลิตกำลังงอกงาม และพร้อมที่จะเก็บเกี่ยวในอีกไม่กี่วัน ในระหว่างนี้อาข่าจะดายหญ้าในไร่ข้าวเป็นครั้งสุดท้าย หลังจากดายหญ้าแล้วก็รอการเก็บเกี่ยว ตรงกับเดือนของอาข่าคือ “ฉ่อลาบาลา” 

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 3,549

ชนเผ่าม้ง อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร

ชนเผ่าม้ง อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร

ชนเผ่าม้ง (Hmoob/Moob) เป็นสาขาหนึ่งของชนชาติจีน  มีภูมิลำเนาเดิมอยู่ในมณฑลไกวเจา มณฑลฮูนาน และอพยพเข้าอยู่ในมณฑลกวางสีและมณฑลยูนนานกว่า 500 ปีมาแล้ว เล่ากันว่าชนเผ่าม้งอาศัยอยู่บนเขาทางทิศใต้ของมองโกเลีย และเคลื่อนย้ายเข้ามายังแผ่นดินตอนกลางของประเทศจีนมีอาณาจักรและกษัตริย์ปกครองเป็นของตนเอง ชาวจีนเคยเรียกว่าชนชาติฮั่น ชาวจีนตอนใต้ได้แบ่งชนชาติที่ไม่ใช่ชาวจีนออกเป็น 3 ชาติ คือ พวกโล-โล, ฉาน (ไทย) กับ ชนเผ่าม้ง ชนเผ่าม้งแถบแม่น้ำแยงซีเกียงสร้างโรงเรือนคร่อมที่ดินฝาก่อด้วยดินดิบ มีเตาไฟกลางห้องปลูกข้าวโพด ข้าวฟ่าง ข้าวไร่ ถั่ว ฯลฯ เลี้ยงหมู เลี้ยงไก่ เวลารับประทานอาหารนั้นจะใช้ตะเกียบมีกระบะไม้ใส่ข้าวตั้งไว้บนโต๊ะ หมอสอนศาสนาชาวอเมริกันได้พบปะกับชนเผ่าม้ง, ชาวโล-โล และชาวปายีเป็นจำนวนมาก

เผยแพร่เมื่อ 20-06-2022 ผู้เช้าชม 3,244

ชนเผ่าปกาเกอะญอ หรือ กะเหรี่ยง ตำบลคลองลานพัฒนา อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร

ชนเผ่าปกาเกอะญอ หรือ กะเหรี่ยง ตำบลคลองลานพัฒนา อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร

กลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอะญอ หรือเดิมเรียกกันว่ากลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยง สะกอ หรือยางขาว เรียกตัวเองว่า ปกากะญอ เป็นกลุ่มที่มีประชากรมากที่สุดกะเหรี่ยงเป็นชนเผ่าที่จัดได้ว่ามีหลายเผ่าพันธุ์ หลายภาษา มีการนับถือศาสนาที่ต่างกัน แต่กะเหรี่ยงดั้งเดิมจะนับถือผี เชื่อเรื่องต้นไม้ป่าใหญ่ ภายหลังหันมานับถือพุทธ คริสต์ เป็นต้น กะเหรี่ยง มีถิ่นฐานตั้งอยู่ที่ประเทศพม่า แต่หลังจากถูกรุกรานจากสงคราม จึงมีกะเหรี่ยงที่อพยพเข้ามาอาศัยอยู่ประเทศไทย กะเหรี่ยงที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย แบ่งออกได้เป็น 4 ประเภท แบ่งออกเป็นกลุ่มย่อย กะเหรี่ยงสะกอ หรือที่เรียกนามตัวเองว่า ปากะญอ หมายถึงคน หรือมนุษย์นั้นเอง กะเหรี่ยงสะกอเป็นกลุ่มที่มีจำนวนมากที่สุด มีภาษาเขียนเป็นของตนเอง โดยมีมิชชันนารีเป็นผู้คิดค้นดัดแปลงมาจากตัวหนังสือพม่า ผสมภาษาโรมัน

เผยแพร่เมื่อ 13-06-2022 ผู้เช้าชม 7,969

ปีใหม่ลูกข่าง

ปีใหม่ลูกข่าง

เป็นประเพณีเปลี่ยนฤดูกาลทำมาเลี้ยงชีพ จัดขึ้นประมาณเดือนธันวาคมของทุกปี ตรงกับเดือนอาข่า คือ “ท้องลาบาลา” คนทั่วไปนิยมเรียกประเพณีนี้ว่า ปีใหม่ลูกข่าง ประเพณีนี้มีประวัติเล่ากันมาว่า เป็นประเพณีที่แสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงฤดูกาลทำมาหากิน ซึ่งภายหลังจากที่มีการเก็บเกี่ยวพืชพันธุ์จากท้องไร่นา เสร็จแล้วก็จะเข้าสู่ฤดูแห่งการพักผ่อน ถือเป็นประเพณีของผู้ชาย โดยผู้ชายทั้งเด็กและผู้ใหญ่ จะมีการทำลูกข่าง “ฉ่อง” 

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 3,507

ชนเผ่าเมียน (MIEN)

ชนเผ่าเมียน (MIEN)

ชาวเมี่ยน เป็นชนชาติเชื้อสายจีนเดิม ชนเผ่านี้เรียกตัวเองว่า เมี่ยน ซึ่งแปลว่า มนุษย์ มีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า เย้า ถิ่นเดิมของเมี่ยนอยู่ทางตะวันออกของมณฑลไกวเจา ยูนนาน หูหนาน และกวางสีในประเทศจีน ต่อมาการทำมาหากินฝืดเคืองและถูกรบกวนจากชาวจีนจึงได้อพยพมาทางใต้เข้าสู่เวียดนามเหนือ ตอนเหนือของลาว และทางตะวันออกของพม่าบริเวณรัฐเชียงตุงและภาคเหนือของไทย ชาวเมี่ยนที่ี่เข้ามาอยู่ในประเทศไทย อพยพมาจากประเทศลาวและพม่า ปัจจุบันมีชาวเมี่ยนอาศัยอยู่มากในจังหวัดเชียงราย พะเยา และน่าน รวมทั้งในจังหวัดกำแพงเพชร เชียงใหม่ ตาก เพชรบูรณ์ ลำปาง สุโขทัย

เผยแพร่เมื่อ 27-04-2020 ผู้เช้าชม 14,595

กะเหรี่ยง (KAREN)

กะเหรี่ยง (KAREN)

นามของชาวเขาเผ่าใหญ่ที่สุดในไทยนั้นเรียกขานกันว่า "กระเหรี่ยง" ในภาคกลาง ส่วนทางเหนือ (คำเมือง) เรียกว่า "ยาง" กะเหรี่ยงในไทยจำแนกออกเป็นพวกใหญ่ๆ ได้สองพวกคือสะกอ และโปว และพวกเล็กๆซึ่งตั้งถิ่นฐานอยู่แถบแม่ฮ่องสอนคือ ป่าโอ และค่ายา ซึ่งเราจะไม่กล่าวถึง ณ ที่นี้ เพราะมีจำนวนเพียงประมาณร้อย ละหนึ่งของประชากรกะเหรี่ยงทั้งหมดในไทย พลเมืองกะเหรี่ยวตั้งถิ่นฐานอยู่ในพม่าและไทย ส่วนใหญ่คือ ร่วมสี่ล้านคนอยู่ในพม่าในไทยสำรวจครั้งล่าสุดเมื่อปี ๒๕๒๖

เผยแพร่เมื่อ 27-04-2020 ผู้เช้าชม 5,695