ชนเผ่าเมียน (MIEN)

ชนเผ่าเมียน (MIEN)

เผยแพร่เมื่อ 27-04-2020 ผู้ชม 18,577

[16.2844429, 98.9325649, ชนเผ่าเมียน (MIEN)]

       ชาวเมี่ยน เป็นชนชาติเชื้อสายจีนเดิม ชนเผ่านี้เรียกตัวเองว่า เมี่ยน ซึ่งแปลว่า มนุษย์ มีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า เย้า ถิ่นเดิมของเมี่ยนอยู่ทางตะวันออก ของมณฑลไกวเจา ยูนนาน หูหนาน และกวางสีในประเทศจีน ต่อมาการทำมาหากินฝืดเคืองและถูกรบกวนจากชาวจีนจึงได้อพยพมา ทางใต้ เข้าสู่เวียดนามเหนือ ตอนเหนือของลาว และทางตะวันออกของพม่าบริเวณรัฐเชียงตุงและภาคเหนือของไทย ชาวเมี่ยนที่ี่เข้ามาอยู่ในประเทศไทย อพยพมาจากประเทศลาวและพม่า ปัจจุบันมีชาวเมี่ยนอาศัยอยู่มากในจังหวัดเชียงราย พะเยาและน่านรวมทั้งในจังหวัดกำแพงเพชร เชียงใหม่ ตาก เพชรบูรณ์ ลำปาง สุโขทัย
       ภาษาเมี่ยนมีความ สัมพันธ์ใกล้ชิดกับภาษาม้งมากกว่าภาษาชาวเขาอื่นๆ ภาษาเขียน เมี่ยนได้รับอิทธิพลจากจีนมาก เป็นคำเดียวโดดๆ ไม่มีีภาษาเขียนเป็นของตนเอง เมี่ยนที่อยู่ในเมืองไทยส่วนใหญ่พูดภาษาไทยเหนือหรือคำเมืองพอรู้เรื่องบาง คนพูดภาษาไทยกลางได้ คนที่มีอายุพูดภาษาจีนกลางและจีนฮ่อได้ ผู้ชายชาวเมี่ยนมีคำนำหน้าว่า “เลา” ส่วนผู้หญิงมีคำนำหน้าว่า “อ่ำ” บุตรชายคนแรกเรียก ต่อนโห หรือ ต่อนเก๊า ลูกสาวคนแรกเรียก อ่ำม๋วย พวกเมี่ยนนิยมตั้งหมู่บ้านบนไหล่เขา บริเวณต้นน้ำลำธาร สูงประมาณ 3,000-3,500 ฟุต ซึ่งอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าหมู่บ้านม้งและลีซอ หมู่บ้านเมี่ยนมักมีขนาดเล็กประมาณ 15 หลังคาเรือน มีการโยกย้ายหมู่บ้านบ่อยๆ ในช่วงเวลา 10-15 ปี แต่บางแห่งตั้งอยู่อย่างถาวร
       ในหมู่บ้านเมี่ยนจะเอากระบอกไม้ไผ่ผ่าครึ่งทำเป็นท่อหรือรางน้ำเพื่อรองน้ำจากลำธารมาใช้ภายใน หมู่บ้านได้ ชาวเมี่ยนปลูกบ้านคร่อมดิน ใช้พื้นดินเป็นพื้นบ้าน บ้านมีลักษณะรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ามุงหลังคาด้วยหญ้าคาหรือใบหวาย ฝาบ้านทำจากไม้เนื้ออ่อนที่ผ่าด้วยขวานและลิ่มถากให้เรียบ กั้นฝาในแนวตั้ง บางหลังใช้ไม้ไผ่หรือฟางข้าวผสมดินโคลนก่อเป็นกำแพงเป็นฝาผนัง ถ้ามีสมาชิกหลายคนจะแบ่งเป็นห้องๆ หน้าบ้านมีีประตูเรียกว่า ประตูผี ประตูนี้จะเปิดใช้เมื่อส่งตัวบุตรสาวออกไปแต่งงาน หรือนำลูกสะใภ้เข้าบ้าน และใช้เวลายกศพออกจากบ้าน ตรงกับประตูหน้า จะมีหิ้งผีติดข้างฝาเรียกว่า “เมี้ยนป้าย” เป็นที่สิงสถิตของผีบรรพบุรุษ บางบ้านมีหิ้งผีอีกแบบหนึ่งเรียกว่า “เมี้ยน เตี่ย หลง”  
       เมี่ยนที่มีฐานะอาจสร้างบ้านยกพื้นมุงหลังคากระเบื้องหรือสังกะสี กั้นฝาและปูพื้นด้วยไม้กระดาน บางแห่งนิยมสร้างยุ้งข้าวโพดไว้หน้าบ้าน เมี่ยนไม่มีหัวหน้าเผ่ามีแต่หัวหน้าที่ได้รับการคัดเลือกมาจากผู้อาวุโสของหมู่บ้านหรือได้รับแต่งตั้งจากทางการ ผู้ที่เป็นหัวหน้าต้องมีความรู้ความสามารถจะทำหน้าที่ตัดสินข้อพิพาทต่างๆ รับเชิญไปในพิธีกรรมต่างๆ และติดต่อกับทางราชการ
       ครอบครัวของเมี่ยนมีทั้งครอบครัวเดี่ยวและขยาย ถ้าเป็นครอบครัวขยาย นิยมขยายทางฝ่ายชาย ในทัศนะของเมี่ยน คำว่า ญาติพี่น้อง นอกจากจะหมายถึงญาติพี่น้องทางสายโลหิตแล้ว ยังรวมถึงชนชาติอื่นๆ ที่เข้ามารวมอยู่ในชุมชนของชาวเมี่ยนด้วย ในเรื่องญาติพี่น้องของเมี่ยนนั้น มิได้หมายถึงความเกี่ยวพันทางสายโลหิตดังที่เข้าใจกัน แต่เกี่ยวพันกันในทางวิญญาณของบรรพบุรุษ เมี่ยนเชื่อว่าเด็กที่เกิดมานั้นเป็นผลผลิตของความร่วมมือระหว่างวิญญาณหญิงชายของบรรพบุรุษ ได้มอบวิญญาณเด็กให้แก่บิดามารดาซึ่งเป็นผู้สร้างร่างกายเด็กและเลี้ยงดูให้เติบโต บุคคลหนึ่งบุคคลใดจะยังไม่ได้เป็นชาวเมี่ยนโดยสมบูรณ์จนกว่าจะผ่านพิธีกรรมรับเข้าเป็นสมาชิก โดยการแนะนำตัวต่อวิญญาณบรรพบุรุษ หลังจากมีอายุครบ 12 ปีบริบูรณ์
       ในหมู่บ้านเมี่ยนจะเอากระบอกไม้ไผ่ผ่าครึ่งทำเป็นท่อหรือรางน้ำเพื่อรองน้ำจาก ลำธารมาใช้ภายในหมู่บ้านได้ ชาวเมี่ยนปลูกบ้านคร่อมดิน ใช้พื้นดินเป็นพื้นบ้าน บ้านมีลักษณะรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ามุงหลังคาด้วยหญ้าคาหรือใบหวาย ฝาบ้านทำจากไม้เนื้ออ่อนที่ผ่าด้วยขวานและลิ่มถากให้เรียบกั้นฝาในแนวตั้ง บางหลังใช้ไม้ไผ่หรือฟางข้าวผสมดินโคลนก่อเป็นกำแพงเป็นฝาผนัง ถ้ามีสมาชิกหลายคนจะแบ่งเป็นห้องๆ หน้าบ้านมีีประตูเรียกว่า ประตูผี ประตูนี้จะเปิดใช้เมื่อส่งตัวบุตรสาวออกไปแต่งงาน หรือนำลูกสะใภ้เข้าบ้าน และใช้เวลายกศพออกจากบ้าน ตรงกับประตูหน้า จะมีหิ้งผีติดข้างฝาเรียกว่า “เมี้ยนป้าย” เป็นที่สิงสถิตของผีบรรพบุรุษ บางบ้านมีหิ้งผีอีกแบบหนึ่งเรียกว่า “เมี้ยน เตี่ย หลง” เมี่ยนที่มีฐานะอาจสร้างบ้านยกพื้นมุงหลังคากระเบื้องหรือสังกะสี กั้นฝาและปูพื้นด้วยไม้กระดาน บางแห่งนิยมสร้างยุ้งข้าวโพดไว้หน้าบ้าน
       เมี่ยนไม่มีหัวหน้าเผ่ามีแต่หัวหน้าที่ได้รับการคัดเลือกมาจากผู้อาวุโสของหมู่บ้านหรือได้รับแต่งตั้งจากทางการ ผู้ที่เป็นหัวหน้าต้องมีความรู้ความสามารถ จะทำหน้าที่ตัดสินข้อพิพาทต่างๆ รับเชิญไปในพิธีกรรมต่างๆ และติดต่อกับทางราชการ
       ครอบครัวของเมี่ยนมีทั้งครอบครัวเดี่ยวและขยาย ถ้าเป็นครอบครัวขยาย นิยมขยายทางฝ่ายชาย ในทัศนะของเมี่ยน คำว่า ญาติพี่น้อง นอกจากจะหมายถึงญาติพี่น้องทางสายโลหิตแล้ว ยังรวมถึงชนชาติอื่นๆ ที่เข้ามารวมอยู่ในชุมชนของชาวเมี่ยนด้วย ในเรื่องญาติพี่น้องของเมี่ยนนั้น มิได้หมายถึงความเกี่ยวพันทางสายโลหิตดังที่เข้าใจกัน แต่เกี่ยวพันกันในทางวิญญาณของบรรพบุรุษ เมี่ยนเชื่อว่าเด็กที่เกิดมานั้นเป็นผลผลิตของ ความร่วมมือระหว่างวิญญาณหญิงชายของบรรพบุรุษ ได้มอบวิญญาณเด็กให้แก่บิดามารดาซึ่งเป็นผู้สร้างร่างกายเด็กและเลี้ยงดูให้เติบโต บุคคลหนึ่งบุคคลใดจะยังไม่ได้เป็นชาวเมี่ยนโดยสมบูรณ์จนกว่าจะผ่านพิธีกรรมรับเข้าเป็นสมาชิก โดยการแนะนำตัวต่อวิญญาณบรรพบุรุษ หลังจากมีอายุครบ 12 ปีบริบูรณ์ ชาวเมี่ยนมีอิสระเสรีในการเลือกคู่ครอง โดยไม่มีการบังคับกัน เมี่ยนมีประเพณีเที่ยวสาว ซึ่งชาวเมี่ยนได้ยึดถือปฏิบัติมาจนทุกวันนี้ การเที่ยวสาวนั้นไม่ได้มีเพียงการพูดจาเกี้ยวพาราสีเท่านั้น แต่เมื่อหญิงสาวชาวเมี่ยนพอใจหนุ่มคนใดเป็นพิเศษ ก็อาจจะร่วมหลับนอนกับชายคนนั้นได้ภายในห้องนอนของตนเอง
       การแต่งงานของเมี่ยนมี 2 แบบคือ การแต่งงานเล็ก และการแต่งงานใหญ่ การแต่งงานเล็กกระทำที่บ้านผู้หญิง ส่วนการแต่งงานใหญ่จัดที่บ้านผู้ชาย มีการกินเลี้ยง 3 วัน 3 คืน ชาวเมี่ยนไม่นิยมแต่งงานกับคนแซ่เดียวกัน และไม่ห้ามการมีภรรยาหลายคน โดยถือหลักว่า ถ้ามีภรรยาคนเดียวไม่สามารถทำมาหาเลี้ยงชีพได้เพียงพอ ก็ต้องหาภรรยาน้อยเพื่อมาช่วยทำงาน ครอบครัวเมี่ยนมักไม่ค่อยมีการหย่าร้าง ถ้าผู้หญิงมีชู้ ชายชู้ต้องเสียค่าปรับให้สามีเก่า การมีชู้เป็นเรื่องน่าอับอายสำหรับเมี่ยน ผู้ชายชาวเมี่ยนมีศักดิ์เหนือกว่า
       ผู้ชายชาวเมี่ยนมีศักดิ์เหนือกว่าสตรีและเด็กในครอบครัว เวลากินอาหาร จะจัดให้ผู้ชายก่อน สตรีและเด็กจะมากินทีหลัง ภรรยาต้องเคารพสามี ตื่นก่อนนอนทีหลัง ชาวเมี่ยนทำมาหากินโดยการทำไร่เลื่อนลอย พืชหลักที่ปลูกได้แก่ ฝิ่น ข้าว ข้าวโพด มันฝรั่ง พริก ฝ้าย มันเทศ เป็นต้น ไร่ข้าวของเมี่ยนจะไม่่มีต้นไม้ใหญ่เหมือนพวกกะเหรี่ยง ไร่ข้าวจะอยู่รอบหมู่บ้านในรัศมีเดินไม่เกินสองชั่วโมง ฤดูปลูกข้าวเริ่มปลูกปลายเดือนพฤษภาคมและมิถุนายน ข้าวที่เกี่ยวและนวดแล้วจะเก็บไว้ในยุ้งในไร่ไม่นิยมนำกลับมาบ้าน นอกจากเพาะปลูกแล้ว ชาวเมี่ยนยังเลี้ยงสัตว์ เช่น ม้า หมูและไก่ ม้าใช้สำหรับขี่ี่เดินทางหรือต่างของ หมูและไก่เลี้ยงไว้เพื่อเซ่นสังเวยผีในพิธีกรรม ชาวเมี่ยนยังมีฝีมือในการทำเครื่องประดับเครื่องเงิน เย็บปักถักร้อย ทำมีด จอบ ขวาน เคียว เป็นต้น
       เมี่ยนเชื่อว่า เงินเป็นกุญแจไปสู่ความสำเร็จทั้งในโลกมนุษย์และโลกของวิญญาณ กล่าวคือ ชาวเมี่ยนเชื่อว่าในขณะที่มี ชีวิตในโลกมนุษย์ ถ้าหากได้จ่ายเงินเพื่อทำบุญอย่างเพียงพอแล้ว เมื่อตายไปแล้ววิญญาณจะได้รับการเคารพนับถือจากดวงวิญญาณทั้งหลาย และอาศัยอยู่ในโลก วิญญาณอย่างมีความสุข ผู้ที่ได้รับการนับถือในสังคมเมี่ยนต้องมี ลักษณะอยู่ 3 ประการ คือ มีฐานะการเงินดี มีความเฉลียวฉลาด และมีความเมตตากรุณา
       เมี่ยนมีการนับถือผี พวกเขาเชื่อว่าทุกหนทุกแห่งมีผีสิงสถิตอยู่ทั้งนั้น เช่น ผีภูเขา ผีต้นไม้ ผีบ้าน ผีป่า ผีมี 2 พวกคือ ผีดีและผีร้าย ผีดี ได้แก่ ผีบนสวรรค์หรือท้องฟ้า ผีร้ายอาศัยอยู่ตามต้นไม้ในป่า ตามแอ่งน้ำ ลำธาร นอกจากนั้นเย้ายังนับถือผีอีกพวกหนึ่งซึ่งมีความสำคัญสูงสุด คือ ผีใหญ่หรือ “จุ๊ซัง เมี้ยน” มี 18 ตนด้วยกัน มีอำนาจลดหลั่นกันเป็นลำดับ ผีที่มีอำนาจสูงสุดมี 3 ตนด้วยกัน คือ สามด๋าวหรือฟามชิ้ง หมอผีของชาวเมี่ยนเรียกว่า“ซิมเมี้ยนเมียน” ทำหน้าที่ประกอบพิธีกรรมต่างๆ และรักษาโรค ชาวเมี่ยนเชื่อว่าร่างกายคนมีขวัญทั้งหมด 11 ขวัญ ขวัญเหล่านี้ชอบออกไปจากร่างกายเมื่อเจ็บป่วย ได้รับอันตรายหรือตกอกตกใจ แล้วผีร้ายจะเข้ามาสิงสู่แทน หมอผีจะเป็นผู้ประกอบพิธีเรียกขวัญ และเชิญผีครู ผีบรรพบุรุษ และผีสามด๋าวมาช่วยในการเรียกขวัญด้วย  
       การแต่งกายของชาวเมี่ยน ผู้หญิงนุ่งกางเกงด้วยผ้าสีน้ำเงินปนดำ ด้านหน้าจะปักลวดลาย ใส่เสื้อคลุมสีดำยาวถึงข้อเท้า ผ่าด้านหน้าตลอดติดไหมพรมสีแดงที่อกเสื้อรอบคอลงมาถึงหน้าท้อง ผ่าด้านข้าง อกเสื้อกลัดติดด้วยแผ่นเงินสี่เหลี่ยม ทาผมด้วยขี้ผึ้ง พันด้วยผ้าสีแดง และพันทับด้วยผ้าสีน้ำเงินปนดำ ส่วนผู้ชายนุ่งกางเกงสีดำขายาว ขลิบขอบขากางเกงด้วยไหมสีแดง สวมเสื้อดำอกไขว้แบบเสื้อคนจีน ติดกระดุมคอและรักแร้เป็นแนวลงไปถึงเอว เสื้อยาวคลุมเอว ปัจจุบันชาวเมี่ยนเริ่มแต่งกายคล้ายคนไทยพื้นราบมากขึ้น อาวุธของเมี่ยนได้แก่ ปืนคาบศิลาทำเอง ใช้คันร่มเป็นลำกล้องปืน

คำสำคัญ : เผ่าเมียน

ที่มา : สภาวัฒนธรรมอำเภอคลองลาน. (2549). วัฒนธรรมท้องถิ่นและภูมินามหมู่บ้านตำบลคลองลาน อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร. กำแพงเพชร: สภาวัฒนธรรมอำเภอคลองลาน.

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). ชนเผ่าเมียน (MIEN). สืบค้น 19 มกราคม 2568, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1444&code_db=610004&code_type=05

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1444&code_db=610004&code_type=05

Google search

Mic

ประเพณีกินข้าวใหม่ของม้ง

ประเพณีกินข้าวใหม่ของม้ง

เป็นประเพณีที่สืบทอดกันมาตั้งแต่สมัยรุ่นทวด-รุ่นปู่ ซึ่งม้งจะมีความเชื่อว่าจะต้องเลี้ยง ผีปู่-ผีย่า เพราะช่วงเวลาในหนึ่งรอบปีหรือในหนึ่งปีที่ผ่านมานั้นผีปู่-ผีย่า ได้ดูแลครอบครัวของแต่ละครอบครัวเป็นอย่างดี ดังนั้นจึงมีการปลูกข้าวใหม่เพื่อจะเซ่นบูชา คุณผีปู-ผีย่ากับเจ้าที่ทุกตน ซึ่งการกินข้าวใหม่จะทำกันในเดือน ตุลาคมของทุกปี ข้าวใหม่คือข้าวที่ปลูกขึ้นมาเพื่อที่จะเซ่นถวายให้กับผีปู่-ผีย่า

เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 4,259

การขับไล่สิ่งไม่ดีออกจากชุมชนของชาวเขา

การขับไล่สิ่งไม่ดีออกจากชุมชนของชาวเขา

เป็นเทศกาลที่จัดขึ้นประมาณเดือนตุลาคมของทุกปี ซึ่งจะตรงกับช่วงที่พืชพันธุ์ที่ปลูกลงไปในไร่มีผลผลิต และเริ่มที่จะเก็บเกี่ยวได้แล้ว อาทิเช่น แตงโม แตงกวา พืชผักต่างๆ เป็นต้น เทศกาลนี้จัดขึ้นมาเพื่อขับไล่สิ่งไม่ดีออกจากชุมชน เช่น ภูตผีปีศาจที่มาอาศัยอยู่ในชุมชน อาข่าเรียกว่า “แหนะ” รวมไปถึงโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ โดยมีการแกะสลักไม้เนื้ออ่อนเป็นดาบ หอก ปืน อาข่าเรียกอุปกรณ์เหล่านี้ว่า “เตาะมา”

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 1,574

ชนเผ่าม้ง : หนุ่มม้งกับกลางคืน

ชนเผ่าม้ง : หนุ่มม้งกับกลางคืน

กาลเวลาแปรเปลี่ยนไปพร้อมกับการหมุนของโลกที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา ซึ่งฤดูกาลเริ่มหมุนเวียน ไปเรื่อยๆ อย่างไม่สามารถหยุดยั้งได้ฤดูใบไม้ผลิเริ่มแวะเวียนมาอีกครั้ง วันเวลานำพาใบไม้ร่วงโรยไปตามฤดูกาล แต่ดูเหมือนบางสิ่งบางอย่างคงเดิมอยู่ตลอดเวลานั่นคือ ขบวนการจีบสาวของชายม้ง ไม่ว่ากาลเวลาจะแปรเปลี่ยนไปพร้อมกับกระแสของสังคมก็ตามที แต่ขบวนการจีบสาวๆ ยังคงยืนยงคงกระพันอยู่ ไม่มีแนวทางแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงได้เลย เพราะผู้หลักผู้ใหญ่ต่างคิดว่านั่นคือ ค่านิยม หรือ ประเพณี ไปแล้ว

เผยแพร่เมื่อ 20-09-2024 ผู้เช้าชม 123

ชนเผ่าปกาเกอะญอ หรือ กะเหรี่ยง ตำบลคลองลานพัฒนา อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร

ชนเผ่าปกาเกอะญอ หรือ กะเหรี่ยง ตำบลคลองลานพัฒนา อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร

กลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอะญอ หรือเดิมเรียกกันว่ากลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยง สะกอ หรือยางขาว เรียกตัวเองว่า ปกากะญอ เป็นกลุ่มที่มีประชากรมากที่สุดกะเหรี่ยงเป็นชนเผ่าที่จัดได้ว่ามีหลายเผ่าพันธุ์ หลายภาษา มีการนับถือศาสนาที่ต่างกัน แต่กะเหรี่ยงดั้งเดิมจะนับถือผี เชื่อเรื่องต้นไม้ป่าใหญ่ ภายหลังหันมานับถือพุทธ คริสต์ เป็นต้น กะเหรี่ยง มีถิ่นฐานตั้งอยู่ที่ประเทศพม่า แต่หลังจากถูกรุกรานจากสงคราม จึงมีกะเหรี่ยงที่อพยพเข้ามาอาศัยอยู่ประเทศไทย กะเหรี่ยงที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย แบ่งออกได้เป็น 4 ประเภท แบ่งออกเป็นกลุ่มย่อย กะเหรี่ยงสะกอ หรือที่เรียกนามตัวเองว่า ปากะญอ หมายถึงคน หรือมนุษย์นั้นเอง กะเหรี่ยงสะกอเป็นกลุ่มที่มีจำนวนมากที่สุด มีภาษาเขียนเป็นของตนเอง โดยมีมิชชันนารีเป็นผู้คิดค้นดัดแปลงมาจากตัวหนังสือพม่า ผสมภาษาโรมัน

เผยแพร่เมื่อ 13-06-2022 ผู้เช้าชม 9,324

ปีใหม่ของชาวเขาเผ่าม้ง

ปีใหม่ของชาวเขาเผ่าม้ง

ชาวเขาเผ่าม้งจังหวัดกำแพงเพชร สืบสานประเพณี จัดงานขึ้นปีใหม่ม้งคลองลาน จัดกิจกรรมการละเล่นลูกช่วง บรรยากาศเต็มไปด้วยความสนุกสนานรื่นเริงที่อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร นายสุรพล วาณิชเสนี ผู้ว่าราชการจังหวัดกำแพงเพชร เป็นประธานในพิธีเปิดงานสืบสานประเพณี จัดงานขึ้นปีใหม่ม้งคลองลาน โดยมี พันเอกพิเศษหญิง ศินีนาถ วาณิชเสนี นายกเหล่ากาชาด จังหวัดกำแพงเพชร นายสุนทร รัตนากร นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดกำแพงเพชร ประชาชน นักท่องเที่ยว และชาวม้งในอำเภอคลองลาน เข้าร่วมพิธีอย่างคับคั่ง

เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 4,603

ชนเผ่าลีซู (LISU)

ชนเผ่าลีซู (LISU)

ตำนานของลีซู มีตำนานเล่าคล้ายๆ กับชนเผ่าหลายๆ เผ่าในเอเชียอาคเนย์ถึงน้ำท่วมโลกครั้งใหญ่ ซึ่งมีผู้รอดชีวิตอยู่เพียงหญิงหนึ่งชายหนึ่งซึ่งเป็นพี่น้องกัน เพราะได้อาศัยโดยสารอยู่ในน้ำเต้าใบมหึมา พอน้ำแห้งออกมาตามหาใครก็ไม่พบ จึงประจักษ์ใจว่าตนเป็นหญิงชายคู่สุดท้ายในโลก ซึ่งถ้าไม่สืบเผ่ามนุษยชาติก็ต้องเป็นอันสูญพันธุ์สิ้นอนาคต แต่ก็ตะขิดตะขวางใจในการเป็นพี่น้อง เป็นกำลังจึงต้องเสี่ยงทายฟังความเห็นของสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย เห็นมีโม่อยู่บนยอดเขาจึงจับตัวครกกับลูกโม่แยกกันเข็นให้กลิ้งลงจากเขาคนละฟาก

เผยแพร่เมื่อ 27-04-2020 ผู้เช้าชม 7,794

กลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอะญอ

กลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอะญอ

กลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอะญอ หรือเดิมเรียกกันว่ากลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยง เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีการอพยพย้ายถิ่นฐานกระจายไปทั่วประเทศไทย และส่วนหนึ่งได้มาตั้งถิ่นฐานที่อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร ซึ่งจากการสำรวจ มี 2 หมู่บ้าน คือ 1) หมู่ 3 บ้านคลองน้ำไหลใต้ ตำบลคลองลานพัฒนา อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร มีจำนวนประมาณ 80 หลังคาเรือน อาชีพหลัก คือ รับจ้างทำไร่มันสำปะหลัง 2) หมู่ 18 บ้านกะเหรี่ยงน้ำตก ตำบลคลองลานพัฒนา อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร มีจำนวนประมาณ 100 หลังคาเรือน อาชีพหลัก คือ ทำไร่มันสำปะหลังและหาของป่าขาย

เผยแพร่เมื่อ 16-08-2020 ผู้เช้าชม 1,724

ความเชื่อเกี่ยวกับจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุดของชีวิตชาวม้ง อำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร

ความเชื่อเกี่ยวกับจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุดของชีวิตชาวม้ง อำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร

พิธีศพที่ครบถ้วนถูกต้องส่งวิญญาณผู้ตายไปสู่สุคติ และควรที่จะตายในบ้านของตน หรือบ้านญาติก็ยังดี เมื่อทราบแน่ชัดว่าบุคคลนั้นใกล้เสียชีวิตแล้ว บรรดาญาติสนิทจะมาชุมนุมพร้อมเพียงกัน เพื่อที่จะได้มาดูแล คนที่ใกล้จะเสียชีวิต ม้งมีความเชื่อว่าการตายในบ้านของตนเองนั้น เป็นผู้มีบุญมาก เพราะได้เห็นลูกหลานของ ตนเองก่อนตาย ผู้ตายจะได้นอนตายตาหลับพร้อมกับหมดห่วงทุกอย่าง เมื่อแน่ใจว่าสิ้นลมหายใจแล้ว ญาติจะยิงปืนขึ้นไปบนฟ้า 3 นัด เป็นสัญญาณบอกว่ามีการตายเกิดขึ้นในบ้านหลังนั้น

เผยแพร่เมื่อ 23-09-2024 ผู้เช้าชม 97

ชนเผ่าเมี่ยน หรือ เย้า ตำบลคลองลานพัฒนา อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร

ชนเผ่าเมี่ยน หรือ เย้า ตำบลคลองลานพัฒนา อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร

เมี่ยนได้ย้ายถิ่นมาพื้นที่จังหวัดกำแพงเพชร เพราะการกระทำของมนุษย์ การแทรกแซงของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยและการประกาศเขตอุทยานแห่งชาติซ้อนทับพื้นที่ของหมู่บ้านชาวเขาเผ่าเมี่ยน จึงถูกขับไล่ออกจากพื้นที่ป่ามายังพื้นที่ราบทำให้ไม่มีที่ดินทำการเกษตร จึงต้องปรับตัวด้วยการนำอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของตนมาสร้างสรรค์เป็นผลิตภัณฑ์เพื่อจำหน่าย งานสร้างสรรค์นี้คือ มีการปักผ้าลายเจ้าสาวทั้งที่เป็นกางเกงแบบสั้นและแบบยาว อีกทั้งมีลายผ้าประยุกต์ เพื่อนำชิ้นผ้าไปสร้างสรรค์ผลงานต่อไป ทางด้านองค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นผ้าปักชาวเขาถือว่ามีความจำเป็นต่อวิถีชีวิตตั้งแต่เกิดจนตาย การปักผ้าของชาวเมี่ยนนี้ นอกจากจะช่วยสร้างรายได้แล้ว ยังมีการปักผ้าส่งศูนย์ศิลปาชีพ ซึ่งถือว่าเป็นการถ่ายทอดความรู้จากผู้หญิงรุ่นหนึ่งไปสู่อีกรุ่นหนึ่ง

เผยแพร่เมื่อ 20-06-2022 ผู้เช้าชม 1,427

ประเพณีโล้ชิงช้า

ประเพณีโล้ชิงช้า

จะมีการจัดขึ้นทุกๆ ปี ประมาณปลายเดือนสิงหาคมถึงต้นเดือนกันยายน ซึ่งจะตรงกับช่วงที่ผลผลิตกำลังงอกงาม และพร้อมที่จะเก็บเกี่ยวในอีกไม่กี่วัน ในระหว่างนี้อาข่าจะดายหญ้าในไร่ข้าวเป็นครั้งสุดท้าย หลังจากดายหญ้าแล้วก็รอการเก็บเกี่ยว ตรงกับเดือนของอาข่าคือ “ฉ่อลาบาลา” 

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 3,989