สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช (ตอน 2)

สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช (ตอน 2) "สงครามรวมชาติ"

เผยแพร่เมื่อ 03-08-2022 ผู้ชม 2,298

[16.5212962, 97.4942877, สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช (ตอน 2) "สงครามรวมชาติ"]

         สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช จะทรงเสด็จออกนำหน้าทัพเมื่อทำศึกสงคราม ซึ่งในขณะนั้นมีการใช้ปืนกันอย่างแพร่หลายแล้ว จึงเป็นการเสี่ยงอันตรายอย่างยิ่ง
         สงครามรวมชาติครั้งแรกของสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ เริ่มต้นด้วยการเลือกตีเมืองที่แข็งแกร่งที่สุด คือพิษณุโลกก่อน ด้วยมีพระราชดำริว่า ถ้าทำสำเร็จ การรวมหัวเมืองอื่นๆ ต่อจากนั้นก็น่าจะเป็นการง่ายขึ้น แต่เจ้าพระยาพิษณุโลกมีความสามารถทางการรบสูง ส่งทัพมาดักรอโจมตี บริเวณปากน้ำโพนครสวรรค์ และเกิดการปะทะกันขึ้น สมเด็จพระเจ้าตากสินเสด็จออกนำหน้า และทรงถูกกระสุนปืนได้รับบาดเจ็บ ทำให้ต้องถอนทัพกลับกรุงธนบุรีโดยด่วน การชิงเมืองครั้งแรกล้มเหลว
         ความล้มเหลวจากการตีเมืองพิษณุโลกทำให้สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ทรงเปลี่ยนยุทธวิธีใหม่ โดยเลือกตีเมืองที่อ่อนแอที่สุดก่อน นั่นก็คือเมืองพิมายและนครราชสีมา ขณะนั้นพิมายเป็นหัวเมืองใหญ่กว่านครราชสีมา มีอิทธิพลครอบคลุมไปจรดดินแดนลาวล้านช้างและกัมพูชา จัดว่ามีอาณาบริเวณที่กว้างใหญ่ไพศาลมาก
         เมื่อทรงหายประชวรจากการบาดแผลที่ต้องกระสุนปืนดีแล้ว สมเด็จพระเจ้าตากสินจึงทรงจัดทัพเพื่อบุกตีพิมายในทันที
         เจ้าเมืองพิมายในขณะนั้นคือ กรมหมื่นเทพพิพิธ ที่หนีทัพพม่ามาตั้งตนเป็นใหญ่ที่นี่ พงศาวดารบันทึกไว้ว่า เป็นเจ้านายที่มีพระปรีชาสามารถมากไม่แพ้พระเจ้าอุทุมพร เพียงแต่เกิดจากนางสนม จึงไม่มีโอกาสขึ้นครองราชย์
         แต่อย่างไรก็ตาม กรมหมื่นเทพพิพิธก็มิอาจสู้สมเด็จพระเจ้าตากสินได้ หลังจากเมืองพิมายแตก สมเด็จพระเจ้าตากสินก็มีพระเมตตาหมายจะชุบเลี้ยงไว้ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มาเข้าเฝ้า แต่กรมหมื่นเทพพิพิธกลับแสดงกิริยาก้าวร้าว ยโสโอหังต่อหน้าพระที่นั่ง จึงถูกนำไปประหารชีวิต
         หลังจากยึดพิมายและนครราชสีมาได้ พระองค์ทรงทัพต่อไปที่นครศรีธรรมราช ปรากฏว่า นครศรีธรรมราชแข็งแกร่งกว่าที่คิด สองแม่ทัพบก คือ พระยาเพชรบุรีและพระยาศรีพิพัฒน์ ได้เสียชีวิตขณะเข้าตีเมือง กองทัพเรือของสมเด็จพระเจ้าตากสินตัดสินใจ เปลี่ยนมาบุกนครศรีธรรมราชทางน้ำแบบสายฟ้าแลบ เจ้าเมืองนครศรีธรรมราชคิดไม่ถึงว่ากองทัพกรุงธนบุรีจะมาทางเรือ จึงไม่ได้วางแผนคอยสกัดไว้ กว่าจะรู้ตัวก็ถูกเข้าประชิดปากน้ำเมืองนครแล้ว สมเด็จพระเจ้าตากสินทรงนำหน้ายกพลขึ้นบกตีกองทหารที่รักษาเมืองจนแตก เมื่อเจ้าพระยานครศรีธรรมราชเห็นว่าจวนตัวสู้ไม่ได้แน่ จึงหนีไปอาศัยอยู่กับสุลต่านแห่งเมืองปัตตานี
         สมเด็จพระเจ้าตากสินทรงใช้เวลาเพียง 1 ปี (พ.ศ.2312) เท่านั้น หลังจากเสด็จขึ้นครองราชย์ ก็ทรงสามารถรวบรวมภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคใต้ทั้งหมดเข้าไว้ในราชอาณาจักรธนบุรีได้สำเร็จ
         หลังจากที่รวบรวมภาคใต้ได้ ปีต่อมา (พ.ศ.2313) สมเด็จพระเจ้าตากสินก็ทรงจัดทัพขึ้นตีพิษณุโลกเป็นครั้งที่สอง ด้วยบทเรียนความล้มเหลวจากครั้งก่อน ทำให้มีการวางแผนการรบอย่างรอบคอบ เมืองพิษณุโลกถูกตีแตกอย่างรวดเร็ว หลังจากนั้นก็มีรับสั่งให้กองทัพ เดินทางขึ้นเหนือต่อไปเพื่อยึดเมืองสวางคบุรี
         เมื่อยึดเมืองสวางคบุรีและพิษณุโลกได้สมบูรณ์แล้ว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้พระยาอภัยรณฤทธิ์ (ทองด้วง ซึ่งต่อมาคือ ร.1) ขุนศึกที่มีบทบาทสำคัญในการกู้ชาติเคียงบ่าเคียงไหล่กับพระองค์ เลื่อนตำแหน่งเป็น “พระยายมราช” ปกครองหัวเมืองฝ่ายเหนือทั้งหมด
         .....แล้วศึกที่สำคัญที่สุดก็มาถึง นั่นคือการยึดเมือง “เชียงใหม่” ที่ฝ่ายพม่าครอบครองอยู่ เป็นการเปิดศึกกับพม่าโดยตรง ผลปรากฏว่า แม้พระเจ้าตาก + เจ้าพระยาสุรสีห์ (พระอนุชา ร.1) + พระยายมราช (ต่อมาคือ ร.1) ร่วมกันต่อสู้สุดกำลัง ก็ยังไม่อาจเอาชนะได้ สูญเสียไพร่พลไปมากมาย จนต้องถอยทัพกลับธนบุรีแบบหมดกระบวนท่า
        หลังจากกลับจากศึกเชียงใหม่ครั้งนี้ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯเลื่อนตำแหน่งให้พระยายมราชเป็น “เจ้าพระยาจักรี”
        กลับมาตั้งหลักที่กรุงธนบุรีได้สามปี ก็เตรียมการตีเชียงใหม่เป็นครั้งที่สอง ทรงโปรดให้เจ้าพระยาจักรีและเจ้าพระยาสุรสีห์ฯ สองพี่น้องเข้าเฝ้าฯ แล้วแต่งตั้งให้เป็นแม่ทัพหน้ายกพลขึ้นไปตีเมืองเชียงใหม่ คราวนี้ไม่พลาด เจ้าพระยาจักรีนำทัพเข้าตีประตูสวนดอกทางด้านตะวันตกและประตูเมืองเชียงใหม่ทางด้านใต้แตก ส่วนเจ้าพระยาสุรสีห์ฯ นำทัพเข้าตีทางด้านตะวันออกจนประตูท่าแพแตกกระจุย เจ้าเมืองเชียงใหม่อาศัยประตูทางด้านเหนือที่เหลืออยู่ หนีหัวซุกหัวซุนกลับประเทศไป
        ครานี้สมเด็จพระเจ้าตากสินทรงปีติโสมนัสมากกว่าการชนะศึกทุกครั้งที่ผ่านมา ขณะที่ข้าหลวงเข้ามาทูลว่า เจ้าพระยาจักรีและเจ้าพระยาสุรสีห์ฯ ตีเชียงใหม่แตกแล้ว พระองค์ทรงยกพระหัตถ์ตบพระเพลาทั้งสองข้าง ทรงพระสรวลและตรัสว่า “ศึกครั้งนี้เก่งทั้งพี่ทั้งน้อง นี่จะว่าพี่หรือน้องดีกว่ากันไฉน” การตีเชียงใหม่ครั้งนี้ยึดอาวุธและพาหนะได้เป็นจำนวนมาก เช่น ปืนใหญ่เป็นจำนวนถึง 2,110 กระบอก ม้า 200 ตัว
        >>> หลังจากรวมชาติทุกภาคได้สำเร็จ ยังมิทันได้พักผ่อนพระวรกาย สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชก็ต้องพบกับศึกเอาคืนครั้งใหญ่ที่สุดจากพม่า นำโดยแม่ทัพนามระบือโลก ผู้สร้างความเข็ดขยาดให้กับกองทัพจีนและอินเดียมาแล้ว ที่ชื่อว่า “อะแซหวุ่นกี้”

คำสำคัญ : สงคราม, พระเจ้าตากสินมหาราช

ที่มา : https://www.facebook.com/doctorsom

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2565). สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช (ตอน 2) "สงครามรวมชาติ". สืบค้น 17 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?code_db=610001&code_type=TK001&nu=pages&page_id=2135

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=2135&code_db=610001&code_type=TK001

Google search

Mic

พระบารมี ปกเกล้าชาวตาก

พระบารมี ปกเกล้าชาวตาก

ชาวตากนับว่ามีโอกาสดีเคยรับเสด็จพระเจ้าอยู่หัวอยู่หลายครา แต่คราที่อยู่ในความทรงจำคือ ในคราวปีพ.ศ.2501 มีการจัดแต่งซุ้มประตูเฉลิมพระเกียรติบริเวณเส้นทางเสด็จพระราชดำเนินบนถนนตากสิน ในวโรกาสที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จมาทอดพระเนตรกิจในการสร้างเขื่อนภูมิพล และทรงเสด็จมาประทับที่จวนผู้ว่าราชการจังหวัดตากในย่านตัวเมืองตากเดิม (ย่านตรอกบ้านจีน) เหตุการณ์ในครั้งนั้นสร้างความซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณต่อชาวตากอย่างหาที่สุดมิได้

เผยแพร่เมื่อ 03-02-2022 ผู้เช้าชม 431

ประวัติอำเภอเมืองตาก

ประวัติอำเภอเมืองตาก

เมืองตากในอดีตเป็นเมืองที่มีชาวมอญอยู่มาก่อน ดังมี หลักฐานศิลปมอญปรากฏอยู่ที่อำเภอบ้านตาก มีประวัติความเป็นมาเก่าแก่ และเป็นหนึ่งในหัวเมืองที่มีอายุขัยเกินกว่าสองพันปีขึ้นไป เมื่อมีการ อพยพ ของชนชาติไทยจากลุ่มน้ำแยงซีเกียงตอนใต้ ลงมาตามแนวลำน้ำดง (ลำน้ำสาละวิน) มีพวกหนึ่งได้ข้ามลำน้ำสาละวิน ผ่านลุ่มน้ำเมยหรือแม่น้ำต่องยินเข้ามาทางช่องเขาด้าน อำเภอแม่สอดและมาถึงบริเวณที่ปัจจุบันเรียกว่า “เมืองตาก”

เผยแพร่เมื่อ 15-08-2018 ผู้เช้าชม 3,206

สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

นักประวัติศาสตร์ชี้ชัดว่า ช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อที่สำคัญที่สุดของกระบวนการสร้างชาติจนสามารถพัฒนามาเป็นประเทศไทยในทุกวันนี้ได้คือ ช่วงเวลาหลังจากเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สองในปี พ.ศ.2310 ขณะนั้นอาณาจักรได้เกิดการแตกแยกออกเป็นสี่ส่วนใหญ่ๆ ตามภาค คือ พิษณุโลกคุมภาคเหนือ นครศรีธรรมราชมีอำนาจในภาคใต้ทั้งหมด นครราชสีมาและพิมาย มีอิทธิพลครอบคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จันทบุรีเป็นหัวเมืองใหญ่ที่สุดทางภาคตะวันออก ส่วนเชียงใหม่ตกเป็นของพม่าเรียบร้อยแล้ว

เผยแพร่เมื่อ 03-08-2022 ผู้เช้าชม 1,127

สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช (ตอน 4) “สร้างบ้าน แปงเมือง”

สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช (ตอน 4) “สร้างบ้าน แปงเมือง”

หลังจากที่พระเจ้ามังระสวรรคต ทางพม่าก็เกิดการแย่งชิงอำนาจกันภายในอยู่หลายปี ทำให้กรุงธนบุรีมีโอกาสได้หายใจหายคอ ระหว่างนั้นสมเด็จพระเจ้าตากสินทรงมีพระบรมราชโองการให้สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกกับเจ้าพระยาสุรสีห์ฯ ยกทัพไปตีลาวและกัมพูชาเพิ่มเติม จนสร้างเขตแดนของอาณาจักรกรุงธนบุรี จรดเวียดนาม ส่วนพระองค์เร่งวางรากฐานให้กรุงธนบุรี

เผยแพร่เมื่อ 03-08-2022 ผู้เช้าชม 1,305

ปุนเถ่ากง หมุดยึดจีนเก่า-จีนใหม่ในเมืองตาก

ปุนเถ่ากง หมุดยึดจีนเก่า-จีนใหม่ในเมืองตาก

เมืองตากตั้งอยู่บนเส้นทางการค้าลำน้ำปิง ด้านตะวันตกติดกับชายแดนพม่าส่งผลให้กลายเป็นชุมทางหนึ่งที่สำคัญ โดยเฉพาะภายหลังจากการทำสนธิสัญญาเบาริงแล้วการค้าในสยามขยายตัวมากขึ้น พร้อมกับการเข้ามาของจีนแผนดินใหญ่ในระหว่างนี้เองจีนกลุ่มต่าง ๆ จึงได้เลือกที่ลงหลักปักฐานบนย่านที่ทำการค้าได้ดี เมืองตากเป็นเมืองหนึ่งที่ชาวจีนนิยมเลือกมาทำการค้าตั้งเป็นชุมชนการค้า พร้อมทั้งน่าจะมีการสร้างศาลเจ้าจีนไว้เป็นที่เคารพของคนในย่านนั้น ศาลเจ้าปุนเถ่ากง จึงเสมือนหมุดยึดโยงความเชื่อความรักในแผ่นดินระหว่างจีนเก่า-จีนใหม่ในเมืองตาก เป็นอนุสรณ์ของชาวจีนที่เมืองตากที่ยังคงมีลมหายใจของคนในพื้นที่

เผยแพร่เมื่อ 03-02-2022 ผู้เช้าชม 1,147

สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช (ตอน 3) “ศึกอะแซหวุ่นกี้”

สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช (ตอน 3) “ศึกอะแซหวุ่นกี้”

หลังจากเมืองเชียงใหม่แตก พระเจ้ามังระ ทรงเดือดดาลเป็นอย่างยิ่ง แผนการรวบแผ่นดินไทยให้เป็นส่วนหนึ่งของพม่าต้องพังทลายลง ทรงบัญชาให้อะแซหวุ่นกี้ แม่ทัพมือหนึ่ง ยกทัพเข้ามาทางด่านแม่ละเมา เมืองตาก แต่การบุกจากด้านเหนือจะต้องผ่านหัวเมืองสำคัญหลายเมือง และเมืองที่เป็นอุปสรรคต่อทัพพม่ามากที่สุด ก็คือพิษณุโลก

เผยแพร่เมื่อ 03-08-2022 ผู้เช้าชม 2,253

จีนแคะ หัวใจศิลปิน

จีนแคะ หัวใจศิลปิน

กลุ่มจีนแคะ เป็นจีนกลุ่มๆที่เดินทางเข้ามา จีนกลุ่มแรกที่เข้ามามีบทบาทสำคัญคือ จีนแต้จิ๋ว กลุ่มจีนแคะเดินทางเข้ามาระลอกใหญ่ หลังจากการเปิดเส้นทางรถไฟสถานีปากน้ำโพและสถานีเมืองพิษณุโลก ภายหลังอพยพต่อมายังเมืองใกล้เคียง เช่น แพร่ สุโขทัย กำแพงเพชร และที่เมืองตากก็เป็นอีกเมืองหนึ่งที่จีนแคะเลือกมาทำการค้า โดยหอบเอาความรู้ด้านเชิงช่างงาน ฝีมือติดตัวมาด้วย เลือกลงหลักปักฐานในย่านถนนตากสิน ซึ่งเป็นถนนการค้าริมน้ำที่สำคัญมาแต่ช่วงหลังสงครามมหาเอเชียบูรพาเป็นต้นมา 

เผยแพร่เมื่อ 04-02-2022 ผู้เช้าชม 852

สถานภาพบ้านตาก-เมืองตากจากสมัยอยุธยาถึงสมัยพระจอมเกล้าฯ

สถานภาพบ้านตาก-เมืองตากจากสมัยอยุธยาถึงสมัยพระจอมเกล้าฯ

แม่ตาก-บ้านตาก-เมืองตาก เป็นเมืองที่มีมาตั้งแต่สมัยอยุธยา เป็นเมืองหน้าด่านเหนือสุดบนสายแม่น้ำปิงของอยุธยาที่ต่อแดนกับรัฐล้านนา ลำปาง-เชียงใหม่ เมืองตากถูกยกให้เป็นชื่อเมืองที่มีความสำคัญมาตั้งแต่สมัยกรุงธนบุรี เพื่อรำลึกถึงการเป็นเมืองที่พระเจ้าตากทรงเคยมาเป็นเจ้าเมืองก่อนที่จะได้เป็นกษัตริย์ แต่ความสำคัญของกลุ่มเมืองตรงนี้อยู่ที่เมืองบ้านระแหงมากกว่า ดังนั้นจึงมีการใช้ชื่อเมือง 2 เมืองเข้าด้วยกันว่า บ้านระแหงเมืองตาก เมืองตากบ้านระแหง หรือบ้านระแหงแขวงเมืองตาก ต่อมาเมื่อมีการจัดการปกครองแบบเทศาภิบาลในกลางสมัยรัชกาลที่ 5 อาณาบริเวณตรงนี้ก็ถูกเรียกว่าเมืองตาก ที่มีศูนย์บริหารของผู้ว่าเมืองตั้งอยู่ที่บ้านระแหงกระทั่งได้ยกฐานะเป็นจังหวัดตากที่มีศูนย์กลางการบริหารในเขตเทศบาลเมืองตากมาจนถึงทุกวันนี้

เผยแพร่เมื่อ 04-02-2022 ผู้เช้าชม 1,158

หลักฐานยืนยันจากราชสำนักจีน สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ไม่เคยกู้หรือเบี้ยวหนี้จีน

หลักฐานยืนยันจากราชสำนักจีน สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ไม่เคยกู้หรือเบี้ยวหนี้จีน

จากหลักฐานที่มีอยู่ในปัจจุบันนี้ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชไม่ได้ทรงกู้เงิน 60,000 ตำลึง จากเมืองจีน เพราะว่าเมืองสยามกับเมืองจีนยังไม่ได้มีความสัมพันธไมตรีกันจนถึงปลายรัชกาลของพระองค์ โดยพระองค์ทรงส่งเครื่องราชบรรณาการถวายพระเจ้ากรุงจีนมากมาย 4 ลำเรือ และในยุครัตนโกสินทร์โดยเฉพาะรัชกาลที่ 1 ทรงบอกทางจีนว่า พระเจ้าตากเป็นพระราชบิดาของพระองค์โดยไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงราชวงศ์แต่ประการใด

เผยแพร่เมื่อ 03-08-2022 ผู้เช้าชม 2,004

โทรเลข

โทรเลข

การสื่อสารที่แสนทันสมัยในยุครัชกาลที่ 5 จังหวัด ตากเป็นเมืองที่มีอาณาเขตทางฝั่งตะวันตกในอำเภอแม่สอดติดกับประเทศพม่าสามารถเดินทางต่อไปยังเมืองท่ามะละแหม่ง ตากจึงเป็นชุมทางโทรเลขที่สำคัญมากที่สุดในการติดต่อกับชาติตะวันตกในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ภายหลังความนิยมใช้โทรเลขก็ลดบทบทลงตามสมัยนิยม เหลือไว้เพียงชื่อหมู่บ้านที่เป็นชุมทางโทรเลข เช่น ในเมืองตากย่านตรอกบ้านจีน ยังเคยเป็นชุมทางไปรณีย์ที่สำคัญในเมืองตาก เป็นที่ตั้งของเสาโทรเลขชาวตากจึงเรียกย่านนั้นว่า บ้านเสาสูง

เผยแพร่เมื่อ 04-02-2022 ผู้เช้าชม 464