นครไตรตรึงษ์ นครแห่งแรกของกำแพงเพชร

นครไตรตรึงษ์ นครแห่งแรกของกำแพงเพชร

เผยแพร่เมื่อ 02-03-2020 ผู้ชม 3,708

[16.3194159, 99.4823679, นครไตรตรึงษ์ นครแห่งแรกของกำแพงเพชร]

เจดีย์เจ็ดยอดงามสม ท้าวแสนปมนามกระเดื่อง วัดวังพระธาตุฟูเฟื่อง  เลื่องลือไกลไตรตรึงษ์

          เมืองไตรตรึงษ์เป็นนครแห่งแรกของเมืองกำแพงเพชร หมายถึงเมืองสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ มีพระอินทร์เป็นมหาราชา ประจำสวรรค์ชั้นนี้ นครไตรตรึงษ์ เป็นเมืองโบราณแห่งแรกของกำแพงเพชร นับว่ายิ่งใหญ่และเกรียงไกรอย่างยิ่ง เมืองไตรตรึงษ์คู่กับเมืองเทพนคร ตั้งอยู่คนละฟากฝั่งลำน้ำปิง เมืองไตรตรึงษ์ คือเมืองของนางอุษา เมืองเทพนคร คือเมืองของท้าวชินเสน หรือท้าวแสนปม ซึ่งเมืองทั้งสองยังมีหลักฐานที่ชัดเจน ในเขตอำเภอเมืองจังหวัดกำแพงเพชร มีคำขวัญที่แสดงถึงความยิ่งใหญ่ในอดีตของนครไตรตรึงษ์ว่า เจดีย์เจ็ดยอดงามสม ท้าวแสนปมนาม
          เจดีย์เจ็ดยอดงามสม หมายถึง ภายในกำแพงเมืองโบราณของนครไตรตรึงษ์ มีวัดประจำเมืองคือวัดเจดีย์เจ็ดยอด ซึ่งเมื่อครั้งพระพุทธเจ้าหลวงเสด็จประพาสต้นกำแพงเพชร ในเดือนสิงหาคม พุทธศักราช 2449 เมื่อถึงนครไตรตรึงษ์ ทรงพระราชนิพนธ์ไว้ว่า “วิหารเจดีย์พังตั้งอยู่เบื้องหลัง ถัดเข้าไปอีกหน่อยหนึ่ง เรียกว่าเจดีย์เจ็ดยอด จะเป็นด้วยผู้มาตรวจตราค้นพบ สามารถจะถางเข้าไปได้แค่เจ็ดยอดแต่ที่จริงคราวนี้ เขาถางได้ดีกว่า จึงได้พบมากกว่า 7 คือ พระเจดีย์ใหญ่ขนาดพระมหาธาตุริมน้ำอยู่กลาง มีพระเจดีย์สามด้าน” เจดีย์เจ็ดยอด มีเจดีย์รายล้อม พระมหาเจดีย์ อยู่ 3 ด้าน รวม 14 องค์ ลักษณะเจดีย์ เป็นเจดีย์ฐานสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่ ก่อด้วยอิฐ เจดีย์ประธานเป็นลักษณะเจดีย์ทรงดอกบัวหรือทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ ฐานล่างก่อเป็นแบบฐานหน้ากระดานสี่เหลี่ยมซ้อนกันสี่ชั้นถัดขึ้นไปเป็นฐานบัวคว่ำาบัวหงาย จึงเป็นส่วนเรือนธาตุย่อไม้ยี่สิบ ส่วนยอดพังทลาย ฐานด้านหน้าหรือด้านตะวันออก ทำเป็นซุ้มพระยื่นออกมา รายรอบเจดีย์ประธานมีฐานเจดีย์รายเล็ก ๆ ก่อด้วยอิฐหลายองค์ มีลักษณะที่งดงามมากสม เป็นวัดประจพเมืองไตรตรึงษ์ เมืองสวรรค์ชั้นที่สามสิบสามหรือดาวดึงส์เมืองแห่งอินทราธิราชเจดีย์เจ็ดยอดจึงงาม สมกับเมืองไตรตรึงษ์อย่างที่สุด
          ท้าวแสนปมนามกระเดื่อง หมายถึง ท้าวแสนปม เป็นสัญลักษณ์สำคัญของนครไตรตรึงษ์มีนิทานเล่ากันมาว่า เจ้าเมืองไตรตรึงษ์มีพระธิดาสิริโสภาองค์หนึ่งซึ่งเป็นที่รักใคร่ดังดวงแก้วตา ทรงพระนามว่า นางอุษา ที่ใกล้เมืองไตรตรึงษ์นี้มีชายคนหนึ่งซึ่งร่างกายเต็มไปด้วยปุ่มปม ชาวบ้านเรียกเขาว่านายแสนปม มีอาชีพปลูกผักสวน ครัวขายเลี้ยงตัว มะเขือที่เขาปลูกเอาไว้ต้นหนึ่งมีผลโตนำกินเพราะ นายแสนปมถ่ายปัสสาวะรดเป็นประจำ อยู่มาวันหนึ่งเทวดาดลใจให้พระธิดา นึกอยากเสวยมะเขือ พวกนางข้าหลวงจึงออกเสาะหาจน มาพบมะเขือในสวนของนายแสนปมลูกใหญ่อวบจึงขอซื้อ ไปถวาย หลังจากพระราชธิดาเสวยมะเขือของนายแสนปมได้ไม่นานก็เกิดตั้งครรภ์ขึ้น ท้าวไตรตรึงษ์รู้สึกอับอายขายหน้า พยายามสอบถามอย่างไรพระธิดาก็ไม่ยอมบอกว่าใครคือพ่อของเด็กในท้อง ครั้นเมื่อพระกุมารได้เติบโตพอรู้ความ ท้าวไตรตรึงษ์จึงประกาศให้บรรดาขุนนางและเหล่าราษฎร์ทั้งหลายให้นำของกินเข้ามาในวัง หากพระกุมารยอมกินของผู้ใดผู้นั้นจะได้เป็นเขยหลวง บรรดาชายหนุ่มในเมืองต่างก็รีบเดิน ทางเข้าวังพร๎อมของกินดี ๆ นายแสนปมทราบข่าวก็เข้าวังมาด้วยเช่นกัน โดยถือเพียงข้าวสุกติดมือมาก้อนเดียว แต่พระกุมารรับไปเสวย ท้าวไตรตรึงษ์ทรงกริ้ว ที่พระธิดาไปได้กับคนชั้นไพรํ มิหนำซ้ำยังอัปลักษณ์จึงขับไล่ออกจากวัง นายแสนปมพาพระธิดากับพระกุมารเดินทางเข้าไปหาที่อยู่ใหม่ ร้อนถึงพระอินทร์ต้องแปลงเป็นลิงนำกลองวิเศษมามอบให้ กลองนี้อยากได้อะไรก็ตีเอาตามได้ดังสารพัดนึก (บางตำนานว่าเป็นฆ้อง) นายแสนปมอธิษฐานให้ปุ่มปมตามตัวหายไปแล๎วตีกลองวิเศษ ร่างก็กลับเป็นชายรูปงาม จึงตีกลองขอบ้านเมือง ขึ้นมาเมืองหนึ่งให้ชื่อว่าเมืองเทพนคร และสถาปนาตัวเองเป็นพระเจ้าแผ่นดิน ทรงพระนามว่า ท้าวแสนปม ปกครองไพรํฟ้าด้วยความสงบสุข และเชื่อกันว่าราชโอรสของท้าวแสนปมคือพระเจ้าอู่ทอง กษัตริย์ผู้ก่อตั้งกรุงศรีอยุธยา จึงทำให้ชื่อเสียงของท้าวแสนปมดังไปทั่วประเทศ จนกระทั่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า นำไปพระราชนิพนธ์ เรื่องท้าวแสนปม ทำให้คนทั้งประเทศรู๎จักท้าวแสนปมมากขึ้น
           วัดวังพระธาตุฟูเฟื่อง หมายถึง ที่นครไตรตรึงษ์มีวัดขนาดใหญ่ นอกเมืองไตรตรึงษ์ทางทิศตะวันออกตามลำน้ำปิง มีโบราณสถานขนาดใหญ่แห่งหนึ่ง เรียกว่า วัดวังพระธาตุ หลวงพ่อเจริญ ชูโชติ หรือพระครูสถิตวชิรคุณ เจ้าอาวาสวัดวังพระธาตุ อายุ 78 พรรษา บวชมา 58 พรรษา หลวงพ่อเล่าว่าเมื่อตอนที่หลวงพ่อมาอยู่ที่วัดวังพระธาตุนี้ก็พบว่ามี โบสถ์ เจดีย์ และวิหารอยู่แล้ว แต่ก่อนวัดแห่งนี้ไม่มีพระจำพรรษาอยู่เลย จะเริ่มมีพระมาจำพรรษาอยู่ตั้งแต่ประมาณปี พ.ศ.2493 และแต่ก่อนที่วัดแห่งนี้เป็นป่ารกร้าง บริเวณพระวิหารมีเนินดินและต้นไม้ ใหญ่ปกคลุมจนแทบมองไม่เห็นพระวิหาร ต่อมากรมศิลปากรก็ได้มาบูรณะให้ใหม่จนมีสภาพปัจจุบัน และยังพบว่า มีอุโมงค์จากเจดีย์ไปถึงแม่น้ำ ที่ทราบว่ามีอุโมงค์จากแม่น้ำไปถึงเจดีย์ ก็เพราะว่าเมื่อถึงหน้าน้ำ น้ำจากแม่น้ำก็จะไหลเข้าไปในอุโมงค์ก็จะได้ยินเสียงสัตว์น้ำส่งเสียงบริเวณเจดีย์ และยังมีความเชื่อว่าในป่าบริเวณวัดมีเมืองลับแลอยู่ด้วย เนื่องจากมีคนเคยเห็นว่ามีคนกวักมือเรียกให้เข้าไปบริเวณป่านั้นด้วย นอกเมืองเก่า ไตรตรึงษ์ริมฝั่งแม่น้ำปิง มีวัดโบราณที่สำคัญวัดหนึ่ง ประชาชนเรียกขานกันว่าวัดวังพระธาตุ เชื่อกันว่า ภายในพระมหาเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ขนาดใหญ่ และสมบูรณ์ที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศไทย บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ในวันมาฆบูชา วันวิสาขบูชา และวันอาสาฬบูชา ชาวบ้านในเขตใกล้กับวัดทั่วไปพบปรากฏการณ์มหัศจรรย์ คือ พระบรมธาตุจากวัดวังพระธาตุ จะลอยมามีขนาดประมาณผลส้มเกลี้ยงลอยวนไปมา แล้วลอยมาที่วัดเสด็จในเมืองกำแพงเพชร แล้วลอยไปที่วัดพระบรมธาตุนครชุม เป็นอย่างนี้ทุกปีมา จนกระทั่งวัดเสด็จได้ชื่อว่าวัดเสด็จ คือพระบรมธาตุเสด็จนั่นเอง เป็นที่กล่าวสรรเสริญกันไปในยุค 50 ปีที่ผ่านมา เหตุผลที่เรียกขานกันว่าวัดวังพระธาตุเพราะหน้าวัดเป็นห้วงน้ำใหญ่ เรียกกันโดยสามัญว่า วังเมื่อมีพระธาตุตั้งอยู่ จึงเรียกกันว่าวังพระธาตุ ท่านเจ้าอาวาสพระครูสถิตวชิรคุณ ได้เล่าให้ฟังว่า บริเวณวังน้ำหน้าวัดใกล้กับศาลท้าวแสนปมเดิม มีวังน้ำขนาดใหญ่ มีอุโมงค์เข้าไปถึงองค์พระเจดีย์ มีสมบัติซ่อนอยู่มากมาย เมื่อน้ำปิงขึ้นสูงน้ำจะไหลเข้ามาตามอุโมงค์ จนมาถึงฐานพระมหาเจดีย์ มีแผ่นหินใหญ่ปิดไว้ แต่ปัจจุบันไม่มีหลักฐานให้เห็น นอกจากคำบอกเล่าเท่านั้น สถานที่สำคัญของวัดวังพระธาตุคือ พระมหาเจดีย์ ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์สมัยสุโขทัยขนาดใหญ่มากที่สุดเท่าที่พบในจังหวัดกำแพงเพชร ได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์แล๎วจากกรมศิลปากร ศิลปะงดงามสร้างด้วยแผ่นอิฐขนาดใหญ่ เมื่อในปีพุทธศักราช 2449 พระพุทธเจ้าหลวงเสด็จกำแพงเพชร แวะที่วัดวังพระธาตุ ทรงบันทึกไว้ว้า ...พระธาตุนี้มีฐานแท่นซ้อนสามชั้น แล้วถึงชั้นคูหาบนเป็นรูปกลม ซึ่งกรมหลวงนริศ เรียกว่า ทะนาน ถัดขึ้นไปจึงถึงบัลลังก์ปล้องไฉนเจ็ดปล้องปลีแล้วปักฉัตร ไม่ผิดกับพระเจดีย์เมืองฝาง.....องค์พระเจดีย์ ชำรุดพังลงมาเสียซีกหนึ่ง มีรากระเบียงรอบวิหาร 4 ทิศ วิหารใหญ่ที่บูชาอยู่ทิศใต้ พระอุโบสถซึ่งมีสีมาเป็นสำคัญ อยู่ทิศตะวันออกเยื้องไม่ตรงกลางเขาปลูกโรงหลังคามุงกระเบื้องในที่ใกล๎พระเจดีย์ด้านตะวันออก มีพระพุทธรูปทั้งนั่ง ทั้งยืนหลายองค์ พระพุทธรูปหน้าตาดีแปลกกว่าที่เคยเห็น เวลานี้มีพระซึ่งมาแต่เมืองนนท์ เป็นคนเคยรู้จักกันมาแต่ก่อน ขึ้นมาจำพรรษาอยู่ที่นี้ คิดจะปฏิสังขรณ์ปลูกกุฏิที่เยื้องหน้าพระธาตุ... พระวิหารสภาพชำรุดแต่เดิมเห็นแคํเนินดินเท่านั้น สร้างด้วยอิฐเป็นฐานเสาเป็นศิลาแลง คงสร้างในสมัยเดียวกับพระเจดีย์ เป็นวิหารยกพื้นมีบันไดห้าขั้นทางทิศเหนือและทิศใต้ สภาพได้รับการบูรณะแล้วบางส่วนเป็นรายละเอียดของวัดวังพระธาตุ
         เลื่องลือไกลไตรตรึงษ์ นครไตรตรึงษ์ตามตำนานสิงหนวัติกุมาร สร้างสมัยพระเจ้าชัยศิริหรือพระเจ้าศิริชัยเชียงแสนตาม ตำนานท้าวแสนปม และกำเนิดพระเจ้าอู่ทอง ปฐมกษัตริย์แห่งอยุธยา เมื่อราวปีพุทธศักราช 1547 เมืองไตรตรึงษ์มีกำแพงเมืองสามชั้นที่เรียกกันว่าตรีบูร สภาพกำแพงเมืองชั้นในยังอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ คูเมืองยังลึกและงดงามมาก กำแพงเมืองชั้นนอกสุดถูกปาดไปเป็นถนนส่วนหนึ่ง กำแพงชั้นกลางยังพอให้เห็นอยู่บ้างเล็กน้อย กำแพงชั้นในบางส่วนถูกไถเพื่อทำไร่น้อยหน่า ไร่มันสำปะหลังไปบ้าง การมาสำรวจเมืองไตรตรึงษ์ในครั้งนี้ พบว่าแนวกำแพงเมืองคูเมืองได้รับความเสียหายมาก กว่าเมื่อห้าปีที่ผานมาความจริงเมืองไตรตรึงษ์เป็นเมืองที่สง่างามตั้งบนชัยภูมิที่เหมาะสม คือตำบลมอพระธาตุ น้ำท่วมไม่ถึงมีแม่น้ำปิงเป็นแนวคูเมือง ผันน้ำจากลำน้ำปิง มาหล่อเลี้ยงคูเมืองทั้งสามชั้น ต้องตามตำรับพิชัยสงคราม แต่กลับเป็นเมืองที่ทิ้งร้าง มาราว 200 ปี ถ้ามีโอกาสชุบชีวิตเมืองไตรตรึงษ์ขึ้นมาเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางอารยธรรมจะสามารถทำได้สมบูรณ์ยิ่งใหญ่มากจะเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของกำแพงเพชรเลยทีเดียวเพราะแวะชมได้ง่ายและอยู่ไม่ห่างจากถนนพหลโยธิน ได้ไปพบกับคุณสมานและคุณสมพงษ์ วันเชื้อ สองสามีภรรยา ผู้พบเครื่องปั้นดินเผา แวดินเผา ลูกปัดโบราณจำนวนมาก ทั้งสองท่านเล่าว่าทุกวันที่มีฝนตกจะมีเครื่องปั้นดินเผาและลูกปัดโบราณสมัยทวาราวดี ลอยขึ้นมาจากดินจำนวนมาก
         ในบริเวณเมืองเก่าไตรตรึงษ์มีวัดประจำเมือง เรียกกันโดยสามัญว่าวัดเจดีย์เจ็ดยอดรูปทรงงดงาม แม้กรมศิลปากรจะขุดแต่งแล้ว แต่เมื่อเข้าไปใกล้เจดีย์ทั้งเจดีย์ถูกเจาะเข้าไปทุกด้าน ทั้งด้านบนและด้านล่าง เจดีย์รายทั้งหมดได้ถูกขุดทำลายโดยสิ้นเชิง ร่องรอยถูกขุดใหม่ ๆ ยังปรากฏอยู่ ซึ่งชาวบ้านแถบนั้นพูดกันว่าป้องกันได๎ยากมาก เพราะผู้ขุดมาขุดในเวลายามวิกาล เมืองไตรตรึงษ์ในอดีตเป็นเมืองที่ยิ่งใหญ่มากมานับพันปี เป็นต้นกำเนิดของปฐมกษัตริย์แห่งอยุธยา ในอนาคตเมืองไตรตรึงษ์อาจเหมือนอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร หรือเนรมิตให้เหมือนเวียงกุมกามที่เชียงใหม่ รับรองได้ว่าจะงดงามอย่างที่สุด 
        เจดีย์เจ็ดยอดงามสม ท้าวแสนปมนามกระเดื่อง วัดวังพระธาตุฟูเฟื่อง เลื่องลือไกลไตรตรึงษ์ จึงเป็นคำขวัญที่แสดงถึงความยิ่งใหญ่ในอดีตของนครไตรตรึงษ์อย่างแท้จริง เมื่อผ่านเมืองนครไตรตรึงษ์ควรอย่างยิ่งที่ท่านจะได้ แวะชมความยิ่งใหญ่ของนครไตรตรึงษ์ แล้วท่านจะประทับใจอย่างที่สุด

คำสำคัญ : ไตรตรึงษ์

ที่มา : เมืองไตรตรึงษ์ ตามร่องรอยแห่งตำนานและประวัติศาสตร์. (ม.ป.ป). กำแพงเพชร: ม.ป.ท.

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). นครไตรตรึงษ์ นครแห่งแรกของกำแพงเพชร. สืบค้น 17 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?code_db=610001&code_type=01&nu=pages&page_id=1334

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1334&code_db=610001&code_type=01

Google search

Mic

เมืองแปบ หรือวังแปบ

เมืองแปบ หรือวังแปบ

ที่บริเวณบ้านหัวยาง ตำบลนครชุม อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร ตรงกับตีนสะพานข้ามลำน้ำปิง ฝั่งนครชุม มีสถานที่หนึ่ง ชาวบ้านเรียกกันว่า บ้านวังแปบ เล่ากันว่า เดิมเป็นเมืองสำคัญเมืองหนึ่ง ที่เรียกขานกันว่าเมืองแปบ เป็นเมืองโบราณ อายุกว่าพันปี ปัจจุบันน้ำกัดเซาะจนเมืองเกือบทั้งเมืองตกลงไปในลำน้ำปิง เหลือโบราณสถานไม่กี่แห่งที่เป็นหลักฐานว่า บริเวณแห่งนี้ เคยเป็นเมืองสำคัญมาก่อน มีเรื่องเล่าต่อๆ กันมาว่า 

เผยแพร่เมื่อ 16-04-2020 ผู้เช้าชม 1,489

เมืองไตรตรึงษ์สมัยทวาราวดี

เมืองไตรตรึงษ์สมัยทวาราวดี

เมืองไตรตรึงษ์เป็นเมืองโบราณที่เก่าแก่อีกเมืองหนึ่งของจังหวัด กำแพงเพชรพบหลักฐานแสดงว่าเป็นเมืองเก่าในสมัยทวารวดีต่อเนื่องมาถึงสมัยสุโขทัย ดังหลักฐานวัตถุโบราณจากการขุดค้นภายในบริเวณเมืองพบเศษภาชนะ ดินเผา ตะกรันขี้เหล็กจ้านวนมาก พบตะเกียงดินเผาสมัยทวาราวดี จึงสันนิษฐานว่าเมืองนี้น่าจะพัฒนามาตั้งแต่สมัยทวารวดีหรือก่อนหน้านั้น

เผยแพร่เมื่อ 02-03-2020 ผู้เช้าชม 1,507

กำแพงเพชร : ยุคหิน

กำแพงเพชร : ยุคหิน

ชุมชนดั้งเดิมของกำแพงเพชร ชุมชนยุคหิน เขากะล่อน (แผนที่ทหารเรียกว่าเขาการ้อง) เป็นเขาลูกรัง เป็น แนวติดต่อกันสามลูก ไปทางทิศเหนือและทิศใต้ อยู่ที่บ้านหาดชะอม ตำบลป่าพุทรา อำเภอขาณุวรลักษบุรี ห่างจากลำน้ำปิงไปทางตะวันออก ราว 2 กิโลเมตร จากการสำรวจของนายปรีชา สระแก้ว นายช่างกรมทางหลวง เมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๐ ขุดค้นพบ ขวานหินขัด หัวธนูหิน กำไลหิน ลูกปัดหิน อายุราว 10,000 ปี

เผยแพร่เมื่อ 18-02-2020 ผู้เช้าชม 2,037

จารึกลานเงินจารึกเรื่องการสร้างพระเครื่องและการอาราธนาพระเครื่องที่พบในเจดีย์พระบรมธาตุ นครชุม

จารึกลานเงินจารึกเรื่องการสร้างพระเครื่องและการอาราธนาพระเครื่องที่พบในเจดีย์พระบรมธาตุ นครชุม

เมื่อสมเด็จพุฒาจารย์(โต) ได้รื้อค้นพระเจดีย์พระบรมธาตุนครชุม ภายในกรุพบแผ่นลานเงินจารึกภาษาขอม กล่าวถึงตำนานการสร้างพระพิมพ์และวิธีการสักการบูชาพร้อมลำดับอุปเท่ห์ไว้พระพิมพ์ที่ได้จากกรุนี้คือ ว่ามีฤาษี ๑๑ ตน ฤาษีเป็นใหญ่ ๓ ตนฤาษีพิราลัยตนหนึ่ง ฤาษีตาไฟตนหนึ่งฤาษีตาวัวตนหนึ่ง เป็นประธานแก่ฤาษีทั้งหลาย จึงปรึกษากันว่าเราทั้งนี้จะเอาอันใดให้แก่พระยาศรีธรรมาโศกราช ฤาษีทั้ง ๓ จึงปรึกษาแก่ฤาษีทั้งปวงว่าเราจะทำด้วยฤทธิ์ ทำเครื่องประดิษฐานเงินทองไว้ฉะนี้ฉลองพระองค์จึงทำเป็นเมฆพัตร อุทุมพรเป็นมฤตย์พิศม์ อายุวัฒนะ

เผยแพร่เมื่อ 17-04-2020 ผู้เช้าชม 3,479

กำแพงเพชร : สมัยธนบุรี

กำแพงเพชร : สมัยธนบุรี

พ.ศ. 2313 สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งพระยาสุรบดินทร์ ข้าหลวงเดิมเป็นพระยากำแพงเพชร ล่วงมาถึงปีขาล 2313 มีข่าวมาถึงกรุรธนบุรีว่า เจ้าพระฝางให้ส่งกำลังลงมาลาดตระเวนถึงเองอุทัยธานี และเมืองชัยนาท เป็นทำนองว่าจะคิดลงมาตีกรุงธนบุรี พระเจ้ากรุงธนบุรีจึงมีรับสั่งให้เตรียมกองทัพจะยกไปตีเมืองเหนือในปีนั้น พระเจ้ากรุงธนบุรีเสด็จโดยกระบวนทัพเรือยกกำลังออกจากรุงธนบุรี เมื่อวันเสาร์ แรม 14 ค่ำ เดือน 8 ไปประชุมพล ณ ที่แห่งใดไม่ปรากฏหลักฐาน เมื่อพระเจ้ากรุงธนบุรีปราบชุมนุมพระฝางได้แล้ว ก็เท่ากับได้เมืองเหนือกลับมาทั้งหมด พระองค์ได้ประทับจัดการปกครองเมืองเหนืออยู่ตลอดฤดูน้ำ เกลี้ยกล่อมราษฏรที่แตกฉานซ่านเซ็นให้กลับมาอยู่ตามภูมิลำเนาเดิม จัดการสำรวจไพร่พลในเมืองเหนือทั้งปวง

เผยแพร่เมื่อ 24-02-2020 ผู้เช้าชม 2,129

ย้อนรอย “เที่ยวเมืองพระร่วง” ตอนที่ 1

ย้อนรอย “เที่ยวเมืองพระร่วง” ตอนที่ 1

ย้อนหลังไปเมือง พ.ศ. 2450 หรือ 107 ปี ที่ผ่านมา ชาวกำแพงเพชรได้มีโอกาสต้อนรับการเสด็จมาของเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดินพระองค์หนึ่ง ดำรงพระยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ซึ่งทรงสนพระทัยเกี่ยวกับเรื่องราวของเมืองพระร่วงคือเมืองกำแพงเพชร สุโขทัยและศรีสัชนาลัย และได้เสด็จขึ้นมาตรวจตราโบราณสถาน โบราณวัตถุ และศึกษาข้อมูลตามตำนานในท้องถิ่น แล้วทรงพระราชนิพนธ์เอาไว้เป็นหนังสือเรื่อง “เที่ยวเมืองพระร่วง” ซึ่งยอมรับกันว่าเป็นหนังสือนำเที่ยวเมืองไทยเล่มแรกที่มีคณุค่ายิ่งนัก และถือเป็นหนังสือดีอีกเล่มหนึ่งที่ชาวกำแพงเพชรควรต้องอ่าน ด้วยความสำนึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎุเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ทรงเสด็จเที่ยวเมืองกำแพงเพชรและทรงบันทึกเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ครั้งสำคัญเอาไว้อย่างละเอียดเป็นบทพระราชนิพนธ์ “เที่ยวเมืองพระร่วง”

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้เช้าชม 4,620

ย้อนรอย “เที่ยวเมืองพระร่วง” ตอนที่ 4 (เมืองหน้าด่าน “เนินทอง” อยู่ที่หนองปลิง)

ย้อนรอย “เที่ยวเมืองพระร่วง” ตอนที่ 4 (เมืองหน้าด่าน “เนินทอง” อยู่ที่หนองปลิง)

บทพระราชนิพนธ์ เที่ยวเมืองพระร่วง ที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎุเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงบันทึกเอาไว้ ตอนหนึ่งมีความว่า “…ยังมีสิ่งที่ทำให้น่าเชื่อถือมากขึ้นคือถนนระหว่างกำแพงเพชรกับสุโขทัยนั้นได้ผ่านไปใกล้เมืองย่อมๆ 3 เมืองตรงตามความในหลักศิลา แต่เมื่อข้าพเจ้าเดินตามถนนนั้นได้เห็นปลายถนนทางด้านตะวันตกไปหมดอยู่เพียงขอบบึงใหญ่อันหนึ่ง ห่างจากเมืองกำแพงเพชรกว่า 100 เส้น พระวิเชียรปราการแสดงความเห็นว่าน่าจะข้ามบึงไป แต่น้ำได้พัดทำลายไปเสียหมดแล้ว ข้อนี้ก็อาจจะเป็นได้ แต่ข้าพเจ้ายังไม่สู้จะเชื่อนัก ยังนึกสงสัยอยู่ว่าคงจะมีต่อไปจนถึงเมืองเชียงทอง แต่เมื่ออยู่ที่กำแพงเพชรก็ยังไม่ได้ความ

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้เช้าชม 945

เมืองไตรตรึงษ์ตามตำนานสิงหนวัติกุมาร

เมืองไตรตรึงษ์ตามตำนานสิงหนวัติกุมาร

มีเนื้อความในต้านานสิงหนวัติกุมารเล่าว่ากาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว มีโอรสของพระเจ้าพีล่อโก๊ะองค์หนึ่ง ชื่อพระเจ้าสิงหนวัติ ได้มาสร้างเมืองใหม่ขึ้นทางใต้ ชื่อเมืองโยนกนาคนคร เมืองดังกล่าวนี้อยู่ในเขตละว้า หรือในแคว้นโยนก เมื่อประมาณปี พ.ศ.1111 เป็นเมืองที่สง่างามของย่านนั้น ในเวลาต่อมาก็ได้รวบรวมหัวเมืองต่าง ๆ ที่อ่อนน้อมให้มาเป็นเมืองขึ้นแล้วตั้งชื่อเป็นแคว้นชื่อว่าโยนกเชียงแสน มีอาณาเขตทางทิศเหนือตลอดสิบสองปันนา ทางใต้จดแคว้นหริภุญชัย มีกษัตริย์สืบเชื้อสาย ต่อเนื่องกันมา จนถึงสมัยพระเจ้าพังคราชจึงได้ เสียเมืองให้แก่ขอมดำ 

เผยแพร่เมื่อ 02-03-2020 ผู้เช้าชม 3,791

พะโป้วีรบุรุษแห่งบ้านปากคลอง

พะโป้วีรบุรุษแห่งบ้านปากคลอง

คำกล่าวถึงพะโป้ ในวรรณกรรมทุ่งมหาราช ของครูมาลัย ชูพินิจ ดูแต่วัดพระธาตุที่ทอดทิ้งกันชำรุดทรุดโทรมมาแต่สมัยปู่ย่าตายาย ใครล่ะทำนุบำรุง ใครล่ะปฏิสังขรณ์รื้อสร้างรวมเป็นองค์เดียว แล้วยกช่อฟ้าใบระกาใหม่? ใคร? นอกจากพญาตะก่ากับพะโป้ อย่าลืมว่านั่นเป็นกะเหรี่ยงสองพี่น้อง ไม่ใช่คนไทย ไม่ใช่คนพื้นเพปากคลอง ...นี่เองพะโป้ผู้ยิ่งใหญ่ พะโป้ผู้มีคุณแก่ขาวกำแพงเพชรโดยทั่วไป และคลองสวนหมากโดยเฉพาะ พะโป้ผู้นำฉัตรทองแต่ตะโก้ง (เมืองย่างกุ้ง)มาประดิษฐาน ณ ยอดพระบรมธาตุเป็นสัญลักษณ์แห่งบวรพระพุทธศาสนา

เผยแพร่เมื่อ 16-04-2020 ผู้เช้าชม 2,288

ย้อนรอย “เที่ยวเมืองพระร่วง” ตอนที่ 2  (พระราชวัง,วัดพระแก้ว,วัดพระธาตุ)

ย้อนรอย “เที่ยวเมืองพระร่วง” ตอนที่ 2 (พระราชวัง,วัดพระแก้ว,วัดพระธาตุ)

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎุเกล้าเจ้าอยู่หัว เคยเสด็จมาเมืองกำแพงเพชรเป็นครั้งแรกเมื่อคราวล่องกลับจากเมืองเชียงใหม่ ่ในปี พ.ศ. 2448 เป็นเวลา 3 คืน 2 วัน ด้วยมีเวลาในครั้งนั้นน้อยอยู่ และไม่ค่อยได้มีโอกาสไปตรวจค้นทางโบราณคดีมากนัก จึงได้เสด็จขึ้นมาประพาสเมืองกำแพงเพชรอีกครั้งในช่วงวันที่ 14-18 มกราคม 2450 โดยประทับพักแรมอยู่ที่พลับพลาใกล้วัดชีนาเกา ซึ่งในครั้งนั้นได้มีการปลูกต้นสัก (ที่สวนสาธารณะเทศบาลฯ หลังธนาคารกรุงไทย) ไว้เป็นที่ระลึก และจารึกบันทึกเหตุการณ์เอาไว้ที่วงเวียนต้นโพธิ์ การเสด็จประพาสเมืองกำแพงเพชรของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎุเกล้าเจ้าอยู่หัวในครั้งที่ 2 นี้ได้ ทรงออกตรวจตราและวินิจฉัยข้อมูลทางประวัติศาสตร์ของเมืองกำแพงเพชรเอาไว้อย่างมากมาย

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้เช้าชม 1,237