เมืองไตรตรึงษ์สมัยอยุธยา

เมืองไตรตรึงษ์สมัยอยุธยา

เผยแพร่เมื่อ 02-03-2020 ผู้ชม 1,407

[16.3194159, 99.4823679, เมืองไตรตรึงษ์สมัยอยุธยา]

          เอกสารจากพงศาวดารฉบับปลีก ซึ่งนายไมเคิล ริคคารี่ ได้นำลงในหนังสือสยามสมาคม มีข้อความสรุปได้ว่า เมืองสุโขทัยได้ตกเป็นเมืองขึ้นของอยุธยาอีกครั้งเมื่อสมัยของพระบรมราชาธิราชที่ 2 และได้แบ่งอาณาจักรสุโขทัยออกเป็น 4 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 ให้พระมหาธรรมราชาที่ 4 (บรมปาลมหาธรรมราชา) ครองเมืองอยู่ที่สองแควหรือพิษณุโลก ส่วนที่ 2 ให้พระยารามครองเมืองอยู่ที่สุโขทัย ส่วนที่ 3 ให้พระยาเชลียงครองเมืองอยู่ที่สวรรคโลก และส่วนที่ 4 ให้เจ้าแสนสอยดาว ครองเมืองอยู่กำแพงเพชร มีข้อความในพงศาวดารอีกฉบับหนึ่งซึ่งเป็นฉบับคู่แฝดกับพงศาวดารฉบับปลีกของนายไมเคิล ริคคารี ซึ่งบอกให้ทราบว่าเจ้าแสนสอยดาวผู้ครองเมืองกำแพงเพชรนั้นเป็นพี่ของพระยาเชลียง และมีข้อความเกี่ยวพันกับเมืองไตรตรึงษ์ตอนหนึ่งกล่าวว่า
          “เจ้าศรีวภักดี ซึ่งเป็นรองจากแสนสอยดาว ได้เจรจากับพระยาราม และมหาธรรมราชาที่ 4 ว่าจะเป็นทัพหน้ายกขึ้นไปไตรตรึงษ์ ข้อความในพงศาวดารที่ยกขึ้นมาดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าในช่วงนั้นเมืองกำแพงเพชรมีเจ้าแสนสอยดาวปกครองอยู่ เมืองกำแพงเพชรต้องสู้รบกับเมืองอื่น ๆ ทัพหน้าที่ยกมาเมืองไตรตรึงษ์ถูกตีกลับมาจนต้องให้พระยาเชลียงไปช่วยตีเมืองแล้วแต่งตั้งให้เจ้าไกรได้ครองเมืองไตรตรึงษ์ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าในช่วง พ.ศ. 1975 เมืองไตรตรึงษ์มีเจ้าเมืองจากทางเหนือเข้ามาปกครองเมืองไตรตรึงษ์ จากหนังสือลิลิตยวนพ่าย ซึ่งแต่งขึ้นมาเพื่อสรรเสริญสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเป็นเรื่องราวการทำศึกสงครามระหว่างอยุธยากับล้านนา กล่าวถึงพระยายุทธิษฐิระ เจ้าเมืองพิษณุโลกว่าเอาใจออกห่างจากกรุงศรีอยุธยา โดยไปติดต่อกับพระเจ้าติโลกราชเจ้าเมืองเชียงใหม่ให้ยกทัพมาตีเมืองชัยนาท สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถจึงทรงยาตราทัพไปประชิดทัพเมืองเชียงใหม่เพื่อตีเมืองเชียงชื่น ทัพทั้งสองสู้รบกันเป็นสามารถโดยทัพเชียงใหม่เป็นฝ่ายปราชัย ในจำนวนโคลงดั้น 365 บท มีอยู่หลายบทที่กล่าวถึงเมืองกำแพงเพชร เมืองไตรตรึงษ์ และเมืองเทพนคร ซึ่งแสดงให้เห็นถึงหลักฐานของความเป็นบ้านเป็นเมืองที่ยังคงมีความเจริญรุ่งเรืองอยู่ ดังบทที่ 183 ความว่า หยหัศดิพิรพ่าหพ้องพลแขวง หนึ่งฤา ปูนแปดพันปลายปอง เกลื่อนแก้ว หัวเมืองกำแพงเพชร ครองเคลื่อน ไคลแฮ ธงเทศพรายแพร้วกั้ง กูบเงิน เมื่อทัพของพระเจ้าติโลกราชจากหัวเมืองล้านนายกลงมาตีเมืองพิษณุโลกซึ่งสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถครองเมืองอยู่กองทัพจากเมืองกำแพงเพชรจึงยกทัพเพื่อจะไปร่วมรบกับทัพของกรุงศรีอยุธยา ส่วนอีกบทหนึ่งกล่าวถึงกองทัพของกรุงศรีอยุธยาได้เมืองไตรตรึงษ์ไว้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ในตอนนั้นเมืองไตรตรึงษ์และเทพนครคงเข้ากับเมืองทางล้านนา ดังบทที่ว่า ชัยชัยยศโยคก้องไตรตรึงษ์ บุญเบิกเวียงทองปือ ไต่เต้าชัย ชัย ล้าพึงเสียง ฤาลาภ สรนั่น นิ้วนอบเข้า อยู่มือ บทต่อมากล่าวถึงเมืองเทพนครก็ยอมเข้าถวายตัวคือโคลงบทที่ 290 ชัยชยานุภาพ เทียมทิน กรแฮ เมืองเทพคนธรรม์ฤา อยู่ถ้อย ชัยชัยพ่อเพียงอินทร์นุภาพ บุญบอกเมืองถ้วนร้อย รอบถวาย และบทต่อมากล่าวถึงเมืองกำแพงเพชร ชัยชัยเมื่อปราบอ้อมกำแพงเพชร ผืนแผ่นสายเสมา ออกกว้าง ชัยชัยท่านไตรเตร็จในนารถ ยศโยกบุญท้าวอ้าง อาจครวญ
             นอกจากจะถูกกล่าวถึงในลิลิตยวนพ่ายซึ่งเป็นสมัยพระบรมไตรโลกนาถแล้ว เมืองไตรตรึงษ์ยังเป็นเมืองที่ปรากฏชื่อในจารึกหลักที่ 38 (ศิลาจารึกกฎหมายลักษณะโจร) สรุปใจความได้ว่า ในบรรดาเจ้าเมืองต่าง ๆ ที่พากันมาเข้าเฝ้าพระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยาซึ่งเสด็จมาประทับที่ในเมืองกำแพงเพชรในตอนที่จะสร้างศิลาจารึกกฎหมายลักษณะโจรนั้น มีเจ้าเมืองไตรตรึงษ์รวมอยู่ด้วยองค์หนึ่ง ช่วงอายุของศิลาจารึกหลักที่ 38 อยู่ในช่วงระหว่างรัชกาลของสมเด็จพระนครินทราธิราชมาถึงรัชกาลสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 แห่งกรุงศรีอยุธยา แสดงให้เห็นว่าเมืองไตรตรึงษ์ยังคงมีความเป็นบ้านเป็นเมืองมาอย่างต่อเนื่องผิดกับเมืองนครชุมที่หมดความสำคัญและหายไปจากหน้าประวัติศาสตร์แล้ว  

คำสำคัญ : ไตรตรึงษ์

ที่มา : เมืองไตรตรึงษ์ ตามร่องรอยแห่งตำนานและประวัติศาสตร์. (ม.ป.ป). กำแพงเพชร: ม.ป.ท.

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). เมืองไตรตรึงษ์สมัยอยุธยา. สืบค้น 30 มิถุนายน 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?code_db=610001&code_type=01&nu=pages&page_id=1331

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1331&code_db=610001&code_type=01

Google search

Mic

สมเด็จพระไชยราชาธิราชกับเมืองกำแพงเพชร

สมเด็จพระไชยราชาธิราชกับเมืองกำแพงเพชร

สมเด็จพระไชยราชาธิราช เป็นพระโอรสของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ต่างพระมารดาของสมเด็จพระบรมหน่อพุทธางกูร ซึ่งพระมารดานั้นเป็นเชื้อสายราชวงศ์เชียงราย ได้รับแต่งตั้งเป็นพระไชยราชา ตำแหน่งพระมหาอปุราชาครองเมืองพิษณุโลก ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2077 พระชนมายุ 19 พรรษา ได้ยกทัพจากเมืองพิษณุโลกเข้ายึดอำนาจจากสมเด็จพระรัษฎาธิราชกุมาร พระนัดดา ขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์กรุงศรีอยุธยา ทรงพระนามว่า สมเด็จพระไชยราชาธิราช เหตุการณ์ในรัชสมัยของสมเด็จพระไชยราชาธิราชที่เกี่ยวข้องกับเมืองกำแพงเพชร ปรากฎหลักฐานจากพระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ 

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้เช้าชม 7,544

จากเมืองนครชุม มาเป็นบ้านปากคลองสวนหมาก จากบ้านปากคลองสวนหมาก มาเป็นตำบลนครชุม

จากเมืองนครชุม มาเป็นบ้านปากคลองสวนหมาก จากบ้านปากคลองสวนหมาก มาเป็นตำบลนครชุม

นครชุม เป็นชื่อของเมืองโบราณในสมัยสุโขทัยต่อมาได้กลายเป็นเมืองร้างกว่า ๓๐๐ปี ในสมัยรัตนโกสินทร์ไม่มีชื่อเป็นที่รู้จัก ผู้คนทั่วไปคงเรียกบริเวณที่ตั้งบ้านเรือนของราษฎรบริเวณนี้ว่า “ปากคลองสวนหมาก” เพราะมีคลองสวนหมากไหลมาออกแม่น้ำปิง ราษฎรส่วนใหญ่เป็นชาวลาวที่อพยพมาจากเวียงจันทน์ ที่มารู้จักว่าชื่อแต่เพียงบ้านปากคลองสวนหมาก ไม่มีใครรู้จัก เมืองนครชุม ตำบลคลองสวนหมาก เป็นชุมชนที่สร้างตัวขึ้นมาในสมัยพระพุทธเจ้าหลวงจากเหย้าเรือนฝาขัดแตะไม่กี่หลังคาเรือน แต่มีที่ทำกินในผืนดินอันอุดมสมบูรณ์เนื่องจากมีแม่น้ำปิงไหลผ่านและมีคลองสวนหมากไหลมาจากป่าโป่งน้ำร้อนให้น้ำหล่อเลี้ยงมาอย่างต่อเนื่อง

เผยแพร่เมื่อ 16-04-2020 ผู้เช้าชม 1,587

ความทรงจำเรื่องปราบศึกฮ่อ

ความทรงจำเรื่องปราบศึกฮ่อ

พวกฮ่อนี้เดิมทีเป็นจีนแท้ ทำการขบถขึ้นในเมืองจีน เรียกว่าพวกขบถ “ไต้เผง” จะช่วงชิงอำนาจกับพวก “เม่งจู” ในที่สุดพวกไต้เผงสู้พวกเม่งจูไม่ได้ ต้องแตกฉานซ่านเซ็นหลบหนีไปซุ่มซ่อนตัวตามป่าเขา จีนขบถไต้เผงพวกหนึ่งมีกำลังหลายพันคน หัวหน้ากลุ่มชื่อ “จ่ออาจง” อพยพเข้ามาอยู่ในเขตแดน ญวน ทางเมืองตั้งเกี๋ยเมื่อราว พ.ศ. ๒๔๐๐ ฝ่ายพวกญวนเห็นว่าพวกขบถไต้เผงอพยพเข้ามในเขตของตน เกรงว่าจะเป็นอันตราต่อญวนในภายภาคหน้า จึงแต่งฑูตเข้าไปในประเทศจีน ขอกองทัพจากกษัตริย์เม่งจู มาสมทบกับกองทัพของญวน ช่วยกันขับไล่พวกขบถ พวกกบถก็แตกทัพลงมาในดินแดนของพวกแม้ว คือชายแดนจีนติดต่อกับดินแดนสิบสองจุไทย พวกขบถได้รวบรวมกันและตั้งมั่นอยู่ และได้เรียกชื่อใหม่ว่าเป็น “พวกฮ่อ”

 

 

เผยแพร่เมื่อ 02-03-2020 ผู้เช้าชม 2,697

ย้อนรอย “เที่ยวเมืองพระร่วง” ตอนที่ 3 (วัดช้างรอบ,วัดพระนอน,วัดตึกพราหมณ์)

ย้อนรอย “เที่ยวเมืองพระร่วง” ตอนที่ 3 (วัดช้างรอบ,วัดพระนอน,วัดตึกพราหมณ์)

จากบทพระราชนิพนธ์ “เที่ยวเมืองพระร่วง” ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎุเกล้าเจ้าอยู่หัวเกี่ยวกับการสำรวจโบราณสถานที่บริเวณเขตพระราชวัง วัดพระแก้ว วัดพระธาตุ แล้วเสด็จไปตามถนนโบราณผ่านสระแก้ว สระคำ เพื่อสำรวจวัดใหญ่ๆ อีกหลายวัด สำหรับในตอนนี้จะเป็นการนำเสนอบทบนัทกึที่ทรงเสด็จ ตรวจตราโบราณสถานในเขตอรัญญิกกำแพงเพชรกันต่อ เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎุเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จตรวจตราโบราณสถานที่วัดอาวาสใหญ่และบ่อสามแสนแล้ว ได้เสด็จต่อยังวัดอื่นๆ อีก ดังบทพระราชนิพนธ์ที่ทรงบันทึกไว้ดังนี้ “ยังมีที่วัดใหญ่ และที่มีพระเจดีย์เป็นชิ้นสำคัญอยู่อีกวัดหนึ่ง คือวัดที่ราษฎรเรียกกันว่า วัดช้างรอบ

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้เช้าชม 1,501

เมืองคณฑี

เมืองคณฑี

ตำบลคณฑี หรือตำบลบ้านโคน หรือ เมืองคณฑี เมืองที่ยิ่งใหญ่ ในอดีตมีคำขวัญประจำตำบลที่นำเสนอเอกลักษณ์ของตำบลอย่างชัดเจน เมืองคณฑีเป็นเมืองยุคแรกๆของกำแพงเพชร ตามตำนานเมืองเหนือกล่าวไว้ว่า พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ แห่งกรุงสุโขทัย เสด็จไปจากบ้านโคน หรือเมืองคณฑี แสดงว่าเมืองคณฑีนี้เก่าแก่กว่าสุโขทัยเจริญรุ่งเรืองมาก่อนกรุงสุโขทัย นับร้อยปี ทำให้ชาวบ้านโคนภูมิใจในบรรพบุรุษจึงนำมาเป็นคำขวัญประจำเมือง

เผยแพร่เมื่อ 30-08-2019 ผู้เช้าชม 3,423

ย้อนรอย “เที่ยวเมืองพระร่วง”  ตอนที่ 5 (ถนนพระร่วง : ทางหลวงแผ่นดินสายโบราณ)

ย้อนรอย “เที่ยวเมืองพระร่วง” ตอนที่ 5 (ถนนพระร่วง : ทางหลวงแผ่นดินสายโบราณ)

เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎุเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเสด็จตรวจตราโบราณสถานในเขตเมืองและนอกเมืองของเมืองกำแพงเพชรจนเป็นที่พอพระราชหฤทัยแล้วได้เสด็จต่อไปเพื่อสำรวจร่องรอยตามเส้นทางถนนพระร่วง วันที่ 18 มกราคม 2450 เสด็จออกจากเมืองกำแพงเพชรทางประตูสะพานโคม แล้วเสด็จไปตามแนวถนนพระร่วง ผ่านเมืองพลับพลา เขานางทอง ประทับพักแรมที่เมืองบางพาน จากเมืองกำแพงเพชร สุโขทัย ศรีสัชนาลัย มีเส้นทางที่ใช้เชื่อมต่อกันเรื่อยมาตั้งแต่ครั้งโบราณ แต่เดิมอาจเป็นเส้นทางธรรมดา ภายหลังมีการยกคันดินขึ้นเป็นถนนแล้วเรียกชื่อว่า “ถนนพระร่วง”

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้เช้าชม 2,358

เมืองแปบ หรือวังแปบ

เมืองแปบ หรือวังแปบ

ที่บริเวณบ้านหัวยาง ตำบลนครชุม อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร ตรงกับตีนสะพานข้ามลำน้ำปิง ฝั่งนครชุม มีสถานที่หนึ่ง ชาวบ้านเรียกกันว่า บ้านวังแปบ เล่ากันว่า เดิมเป็นเมืองสำคัญเมืองหนึ่ง ที่เรียกขานกันว่าเมืองแปบ เป็นเมืองโบราณ อายุกว่าพันปี ปัจจุบันน้ำกัดเซาะจนเมืองเกือบทั้งเมืองตกลงไปในลำน้ำปิง เหลือโบราณสถานไม่กี่แห่งที่เป็นหลักฐานว่า บริเวณแห่งนี้ เคยเป็นเมืองสำคัญมาก่อน มีเรื่องเล่าต่อๆ กันมาว่า 

เผยแพร่เมื่อ 16-04-2020 ผู้เช้าชม 1,456

หนึ่งพันปีเมืองกำแพงเพชร

หนึ่งพันปีเมืองกำแพงเพชร

จังหวัดกำแพงเพชร เป็นเมืองโบราณที่สำคัญยิ่ง มาตลอดยุคสมัย และเกี่ยวข้องกับพระมหากษัตริย์ไทยมาโดยตลอด อาจนับตั้งแต่ พระร่วงโรจนราช กษัตริย์ต้นราชวงศ์พระร่วง
จากตำนานชินกาลมาลีปกรณ์ว่ามาจากบ้านโคน เมืองคณฑี จังหวัดกำแพงเพชร ซึ่งชาวบ้านโคนถือกันว่าเป็นเรื่องสำคัญมาก แม้ตำนานท้าวแสนปม ได้กล่าวถึงท้าวแสนปมเป็นพระราชบิดาของ พระเจ้าอู่ทอง ปฐมกษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา..เป็นความเชื่อทั้งสองเรื่องที่คู่กับจังหวัดกำแพงเพชรเล่าขานสืบต่อกันมาช้านาน…ว่าปฐมกษัตริย์ทั้งกรุงสุโขทัย และอยุธยามาจากกำแพงเพชรทั้งสองพระองค์ …. จากตำนานสิงหนวติกุมาร ฉบับสอบค้น ของนายมานิต วัลลิโภดม ได้กล่าวถึงกำแพงเพชรที่เกี่ยวข้องกับพระมหากษัตริย์หลายตอน

เผยแพร่เมื่อ 21-01-2020 ผู้เช้าชม 2,637

เมืองไตรตรึงษ์สมัยพระพุทธเจ้าหลวงเสด็จประพาสต้น

เมืองไตรตรึงษ์สมัยพระพุทธเจ้าหลวงเสด็จประพาสต้น

เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2449 พระบาทสมเด็จพรจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 หรือพระพุทธเจ้าหลวงของปวงชนชาวไทย ได้เสด็จประพาสต้นหัวเมืองทางเหนือโดยมีจุดปลายปลายทางอยู่ที่เมืองกำแพงเพชร ในการเสด็จประพาสต้นในครั้งนั้นพระองค์ได้ทรงบันทึกเรื่องราวต่าง ๆ  ที่ได้ทอดพระเนตรและทรงให้บันทึกเรื่องราวเอาไว้เป็นบทพระราชนิพนธ์เสด็จประพาสต้น ซึ่งมีเนื้อเรื่องบางตอนเกี่ยวข้องกับเมืองไตรตรึงษ์ ดังข้อความดังนี้

เผยแพร่เมื่อ 02-03-2020 ผู้เช้าชม 1,228

กษัตริย์เมืองกำแพงเพชรในสมัยทวารวดี

กษัตริย์เมืองกำแพงเพชรในสมัยทวารวดี

ในหนังสือวัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลกัษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดกำแพงเพชร หน้า 31 ได้กล่าวถึง เมืองโบราณบริเวณลุ่มแม่น้ำปิง ซึ่งมีการค้นพบและพอมีหลักฐานยืนยันได้ว่าเป็นเมืองเก่าแก่มาช้านาน คือ เมืองแปบ เมืองเทพนคร เมืองไตรตรึงษ์ เมืองพาน เมืองคณฑี เมืองนครชุม เมืองชากังราว เมืองพังคา เมืองโกสัมพี เมืองรอ เมืองแสนตอ เมืองพงชังชา และบ้านคลองเมือง ซึ่งล้วนตั้งอยู่อาณาเขตจังหวัดกำแพงเพชรทั้งสิ้น และในหนังสือเรื่องเล่มเดียวกันนั้นในหน้า 37-38 ได้กล่าวถึงเมือง 2 เมืองว่าเป็นเมืองในสมัยทวารวดี คือเมืองไตรตรึงษ์ และเมืองโบราณที่บ้านคลองเมือง

เผยแพร่เมื่อ 18-02-2020 ผู้เช้าชม 3,487