เมืองไตรตรึงษ์กับตำนานนิทานพื้นบ้านของชาวบ้านตำบลไตรตรึงษ์

เมืองไตรตรึงษ์กับตำนานนิทานพื้นบ้านของชาวบ้านตำบลไตรตรึงษ์

เผยแพร่เมื่อ 02-03-2020 ผู้ชม 1,097

[16.3194159, 99.4823679, เมืองไตรตรึงษ์กับตำนานนิทานพื้นบ้านของชาวบ้านตำบลไตรตรึงษ์]

             มีนิทานอันลือชื่อในท้องถิ่นของชาวไตรตรึงษ์เรื่อง “ท้าวแสนปม” ซึ่งเล่าสืบต่อกันมาแต่ครั้งโบราณถือเป็น นิทานฉบับท้องถิ่นโดยมีการถอดความจากการเล่าของนายสรวง ทองสีอ่อน ชาวบ้านวังพระธาตุ ตำบลวังพระ ธาตุ อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร ซึ่งได้เล่าไว้ดังนี้ “ประวัติเรื่องท้าวแสนปม เดิมทีท้าวแสนปมไม่ใช่คนที่อยู่ในจังหวัดกำแพงเพชร บ้านช่องพ่อแม่อยู่ที่ระแหง อยู่เหนือจังหวัดกำแพงเพชรขึ้นไป แต่พ่อแม่ของเจ้าแสนนี้ไม่ปรากฏว่าชื่ออะไร พอมีลูกชายก็ตั้งชื่อว่าเจ้าแสน เจ้าแสนคนนี้มีรูปร่างอัปลักษณ์ คือว่าผิวเนื้อของแกมีแต่ปุ่มเป็นปมขรุขระเหมือนผิวมะกรูด บางคน เรียกว่า เจ้าแสน บางคนเรียกว่าเจ้าปม บางคนมาเรียกรวมกันแล้ว เรียกว่าแสนปม แต่เจ้าแสนเป็นคนขี้เกียจ ไม่อยากทำงานทำการ กินแล้วก็นอน พ่อแม่จะว่าอย่างไรก็ช่าง นอนตะพึด พ่อแม่อิดหนาระอาใจขึ้นมาขืนเลี้ยงไว้ก็จะเปลืองเปล่าจะไม่เกิดประโยชน์อะไรจะต้องคิดกำจัดเถอะ ลอยแพไปเสียให้มันพ้นไปจะไปอยู่ที่ไหน จะไปเป็นตายที่ไหนช่าง ในเมื่อเจ้าแสนจะถูกเนรเทศนั้นก็ยอม เจ้าแสนก็ไม่คัดค้านพ่อแม่ ในเมื่อไม่รักลูกจะปล่อยลูกไปตามยถากรรมก็ตามใจ ผลที่สุดพ่อแม่ก็ต่อแพให้เจ้าแสนลงแพ เตรียมจอบเตรียมเสียมเตรียมเสบียงอาหารมาให้เสร็จ ขณะที่ปล่อยลอยแพมานั้น เจ้าแสนก็อธิษฐานให้ตัวเองว่าข้าพเจ้านี้ไปติดอยู่ที่ใดก็จะขออยู่ที่นั้นลอยมา ในระหว่างสายแม่ปิง ลอยมาถึงเกาะปม แพติดอยู่ที่เกาะปม เจ้าแสนก็เลยปลูกกระท่อมห้อมรังขึ้น อยู่บนเกาะก็ไม่ท้าอะไร มีผักมีหญ้าที่พ่อแม่ให้มากินเหลือก็เหวี่ยงทิ้งไป เม็ดมันขึ้นมาก็เอาไปปลูกมีปลูกพริก ปลูกมะเขือ แต่เจ้าแสนนี้ขี้เกียจน้ำท่าไม่รดหรอก ตื่นเช้ามาปวดท้องเยี่ยวลงจากกระท่อมไปเยี่ยวรดกกมะเขือ ไม่ใช้น้ำรดกะเขาหรอก เยี่ยวรดยังงั้นแหละ จนกระทั่งมะเขืองอกงามและมีลูกดก ก็มีลูกสาวเจ้าเมืองกำแพงเพชรเสด็จประพาสป่า จะเป็นด้วยเหตุอันใดดลใจก็ไม่รู้แน่ ก็ชักชวนพ่อให้มาเที่ยวป่า พ่อก็ตามใจลูกให้มาเที่ยวและมาเที่ยวถึงกระท่อมเจ้าแสนปม มาเห็นมะเขือเจ้าแสน มีลูกเข้าก็นึกอยากกินมะเขือ ก็ให้คนมาขอครั้งแรกเจ้าแสนก็ไม่ยอมให้เหมือนกัน ตานี้เห็นเป็นผู้หญิงอยากกินก็เลยอนุญาตให้ไป ครั้นเมื่อกลับไปแล้วมีอาการแพ้ท้อง ตั้งครรภ์ ในเมื่อตั้งครรภ์ขึ้นแล้ว เกิดมีลูกชายขึ้นมาพ่อแม่ก็สงสัย ผัวเจ้าไปไหน ใครเป็นผัวเจ้า นางลูกสาวนั้นก็ตอบไม่ถูกเพราะว่าไม่เคยไปสมสู่กับชายใดมาก่อน ก็ได้เพียงแต่ เล่าให้ฟังว่า ตั้งแต่ได้กินมะเขือเข้าไป ก็เกิดมีอาการแพ้ท้องและก็มีลูกขึ้นมา เจ้าเมืองก็จะขับไ ลไสส่งลูกก็ยัง ขับไล่ไสส่งไปไม่ได้ ก็ตั้งปณิธานว่าต้องหาผัว และว่าใครจะเป็นพ่อของเด็กก็เที่ยวให้ประชากรไปปิดประกาศกล่าวร้องพวกลูกเจ้าเมืองทั้งหลาย ว่าใครเป็นพ่อของเด็กก็ขอให้มา และอธิษฐานไว้ถ้าใครเป็นพ่อของเด็กแล้ว ให้เด็กคนนั้นคลานเข้าไปหา ผลที่สุดลูกขุนนางทั้งหลายก็มาซื้อเสื้อซื้อผ้ามาจะล่อใจเด็ก เมื่อมาแล้วเด็กมาเห็นเข้าก็ไม่พอใจใครทั้งนั้น เด็กไม่ออกไปหาใคร ผลสุดท้ายพวกนี้ก็ ไปหมดหาพวกประชาราษฎร์ พวกประชาราษฎร์ธรรมดา พวกราษฎรธรรมดาไป ไปแล้วก็ซื้อขนมนมเนย  ซื้อไปให้เด็ก เด็กก็ไม่ออกไม่ออกมาหาใครทั้งนั้น เหลืออยู่พวกหูหนวกตาบอดขาด้วนไปอีก ก็ไม่สำเร็จ  ไม่มีความสำเร็จสักคนเดียวก็เหลืออยู่เจ้าแสน พวกข้าราชการก็ไปบอกกล่าว เหลือคนอีกคนหนึ่ง  รูปร่างอัปลักษณ์น่าเกลียด ตัวเป็นปุ่มเป็นปม เจ้าเมืองก็ให้มาเชิญตานี้เจ้าแสนเมื่อถูกเชิญเข้ามา ก็ไม่มีอะไรจะไปฝากเสื้อผ้าก็ไม่มีขนม นมเนยก็ไม่มี มีข้าวเย็นก้นหม้ออยู่ก้อน ก็ตั้งใจอธิษฐานกับข้าวเย็น  ถ้าหากว่าเป็นบุญญาธิการของข้าพระพุทธเจ้าเมื่อชาติปางก่อน เคยเป็นผัวเมียกันและเคยเป็นพ่อเป็นลูกกัน ขอให้กุมารนั้นเห็นห่อชายผ้าขาวม้าไป เมื่อไปถึงที่ตำหนักของพระเจ้าแผ่นดิน และก็แก้ห่อข้าวเย็นออกมาวาง พอเด็กเห็นข้าวเย็นนั้นเด็กมันก็คลานเข้าไป คลานเข้าไปหาและก็เก็บเอาข้าวเย็นนั้น  ในเมื่อกินข้าวเย็นแล้ว เจ้าเมืองก็เห็นว่า“นี่เขาเป็นเนื้อคู่สู่สมกันแต่ชาติปางก่อนถึงแม้ว่ารูปร่างจะชั่วช้าอัปลักษณ์ในเมื่อเราตรัสออกไปแล้วว่าจะต้องยกให้เขาเราก็ต้องยกให้เขาจะไม่ให้เขาก็ไม่ได้  เพราะว่าเด็กก็ได้เข้าไปหาเขาแล้ว แสดงว่าเขาต้องเป็นพ่อของเด็ก” เมื่อยกให้กันแล้วก็ให้กลับมาอยู่ยังที่เดิม
            ในเมื่อกลับมาอยู่ยังที่เดิม ตานี้เจ้าแสนนั้นมีทั้งลูกทั้งเมียแล้ว จะขี้เกียจอยู่ก็ไม่ได้ ต้องขยันทำงาน งานนั้นก็ไม่มีอะไรหาปลา คือว่าไปตัดไม้มาสานเป็นลอบเป็นไซดักปลา ไปดักปลาที่คลองขมิ้น  มีชื่อคลองขมิ้นก็ยังมีเวลาไปกู้ปลาก็ไม่มีปลาติด มีแต่ขมิ้น ขมิ้นนั้นก็เป็นขมิ้นชันที่เขาใช้ตำทาเด็กสมัยก่อน กู้มาทีไรก็มีแต่ขมิ้นก็เทกอง ทีนี้เมียก็ถามว่า แกไปดักปลา ทำไมไม่ได้ปลาเล่า ตาแสนก็บอกปลาไม่มีเลย มีแต่ขมิ้น ขมิ้นทำไมไม่เอามาเททิ้งหมด ทีนี้เอามาให้ดูซิ ขมิ้นนั้นเป็นยังไง รุ่งเช้าก็ไปกู้ ลอบกู้ไซก็ติดขมิ้นอีก ติดขมิ้นก็เทใส่หม้อสะพายมาถึงบ้าน พอถึงบ้านเทขมิ้นออก ขมิ้นนั้นก็กลายเป็นทองคำไม่ได้เป็นขมิ้นอย่างเดิม ทีนี้ก็คิดกันว่าจะเอาไปทำอะไร อย่ากระนั้นเลยเราเอามาแผ่ทำเปลทำอู่สำหรับให้ลูกนอน ในเมื่อเอาทองคำมาทำเปลให้ลูกนอนก็เรียกว่า อู่ สมัยก่อนเขาเรียกว่า อู่ ก็เลยให้ลูกชาย ชื่อว่าอู่ทอง เปลทอง….อู่ทอง
            ต่อมาคิดอยากจะให้มันกว้างขวาง อยากจะทำไร่ทำนา ผลหมากรากไม้ ที่มันเป็นป่าเป็นดง ก็จะฟันให้มันเตียน เพื่อจะได้ทำไร่ เช้าขึ้นก็ไปฟันไร่ เมื่อเย็นลงก็กลับมา เช้าขึ้นก็ไปฟันต่อ ต้นไม้ก็ลุกขึ้น โงขึ้นเหมือนเดิม ไม่มีต้นไม้ต้นไหนล้มตายเลย ก็กลับมาบอกเมีย ว่ามันเป็นเพราะเหตุไร ต้นไม้ผัวฟันขาดโคนไปแล้ว มันทำไมถึงกลับขึ้นมาได้ เมียก็ไม่เชื่อหาว่าผัวยังมีสันดานขี้เกียจอยู่ เข้าใจว่าผัวไปหลับไปนอน ไม่ไปทำงานจริง ตาแสนนี้ก็ยืนยันว่าเป็นความจริง ไปตัดโค่นจริง ๆ แล้วก็ไปฟันอีก เช้าขึ้นก็ไปฟันครั้นเย็นลงก็กลับบ้าน เช้าขึ้นไปดูต้นไม้ลุกหมด ทีนี้ก็สงสัยนี่มันเป็นเพราะเหตุไร นี่มันจะเดือดร้อนถึงเทวดาถึงพระอินทร์คงจะเพ่งเล็งแล้ว แสนนี่นะคงจะไม่ใช่คนต่ำช้าจะต้องมีบญญาธิการก็จึงใช้วิษณุกรรมแปลงร่างมาเป็นลิงและให้ฆ้อง ฆ้องกายสิทธิ์ลูกหนึ่ง ถ้าตีขึ้นเมื่อไรต้นไม้นั้นจะลุกขึ้น ต้นไม้ที่ท้าวแสนปมฟันไว้นี่นะ ต้นไม้นั้นจะลุกขึ้นหมด ท้าวแสนแปลกใจ ฟันทีไรต้นไม้ลุกขึ้นหมดทุกต้น ไม่มีต้นไหนตายเลย อย่ากระนั้นเลยแอบดูเหอะ แอบดูซิว่ามันจะเป็นเพราะเหตุใด ก็ไปเที่ยวหาดูว่าตรงไหนมันจะเหมาะสมที่เราจะแอบดู บังเอิญมีต่อไม้อยู่ตอหนึ่ง ข้างล่างมันเป็นโพรง ก็เข้าไปอยู่ในโพรง ในเมื่อเข้าไปอยู่ในโพรงไม้ก็รอเวลา มันจะมีอะไรเกิดขึ้น ที่จะท้าให้ต้นไม้ลุกยืนขึ้นได้ ก็บังเอิญมีลิง ลิงตัวนั้นก็ลงมา ลิงตัวนั้นสีเขียว เมื่อลงมาแล้วก็ไม่ไปนั่งที่ไหนเสียด้วย ไปนั่งบนโพรงไม้ เอาหางหย่อนลงไปข้างล่าง เอาหางหย่อนลงไปในโพรง ตาแสนเห็นลิงตัวนี้เองมันมีฆ้องดูซิมันจะทำอย่างไร พอได้เวลา เจ้าลิงก็ตีฆ้อง พอตีฆ้อง ..ม้ง…ต้นไม้ก็ลุก … ม้ง….ต้นไม้ก็ลุก….ๆ…ๆ…. เจ้าแสนก็อ้อ…เป็นเพราะลิงตัวนี้เอง มันมีของวิเศษ เลยคว้าหางลิงพันแขวนไว้เลย เจ้าลิงก็ฉุด เจ้านี้ก็ฉุดต่างคนต่างแย่ง ลิงกับเจ้านี่ไม่ยอมปล่อย ในที่สุดลิงยอมให้เจ้าแสนจับได้ เมื่อจับได้แล้วก็ถามว่า ฆ้องอันนี้เอามาจากไหน ได้มาอย่างไร ประสิทธิภาพยังไง ลิงนั้นก็เล่าให้ฟังว่า ฆ้องอันนี้พระอินทร์ท่านให้มา ในเมื่อ ต้องการปรารถนาสิ่งใด ก็ปรารถนาได้ 3 ครั้ง กลับมาก็ลองปรารถนาว่า ขอให้ปมที่เป็นในตามตัวข้าพเจ้า ขอให้มันหลุดหายไปทั้งหมด พออธิษฐานเสร็จก็ตีฆ้อง พอตีฆ้องแล้ว ปมก็หลุดหายหมด หลุดหายไปหมด แล้วก็กลับบ้าน กลับมาถึงเมีย เมียสงสัยเลยจำไม่ได้ว่าใคร เพราะว่าสวย รูปร่างก็สะสวย ก็คิดว่า เอ๊ะ ….ชายไหนจะมาเกี้ยวพาราสีเรา ผัวเราไม่อยู่หรือยังไง ชักแปลกใจ เจ้าแสนก็เล่าให้ฟังอธิบายให้ฟัง เมียก็ไม่เชื่อ ยังไม่เห็นแก่ตา ก็ยังไม่เชื่อ เจ้าแสนต้องท้าให้ดู ตีฆ้องขึ้นมาอีกอธิษฐานให้มีปมขึ้นมาอีก เพื่อเมียจะได้เห็น ในเมื่ออธิษฐานให้เป็นปมแล้ว ก็ตีฆ้องเมื่อตีฆ้องแล้วก็เป็นปุ่มเป็นปมขึ้นมาอย่างเดิม เมื่อเป็นปุ่มเป็นปมขึ้นมาอย่างเดิม เมียเชื่อแล้วก็ เห็นว่าเป็นความจริงให้อธิษฐานให้ปมหาย ก็ตีฆ้องปมก็หาย อธิษฐานเอาบ้านเอาเมือง เอาช้าง เอาม้า เอาวัว เอาควาย เอาบริวาร ก็อธิษฐานขึ้น อธิษฐานแล้วตีฆ้องขึ้นมา มีปราสาทราชวัง มีช้าง มีม้า มีวัว มีควาย มีข้า บริวาร ถึงเวลาเอาช้างไปลงน้ำ น้ำจะอูดไปเพราะขี้ช้าง น้ำจะอูดขึ้นไปทดถึงเมืองพ่อตา พ่อตาสงสัย น้ำนี่มันมายังไงถึงได้มาท่วม ก็ให้ทหารมาดูผลที่สุดทหารก็กลับไปเล่าให้ฟังว่าแสนเขาสร้างเมืองแล้ว เข้าสร้างเมือง เขาแล้วมีช้าง ม้า วัว ควาย การที่น้ำอูดมานี้เพราะขี้ช้าง ที่เอาช้างไปลงน้ำ ที่นี่เจ้าเมืองก็มาเยี่ยมลูกชาย ลูกเขย ลูกเขยก็ให้สร้างสะพานทองอยู่เหนือขึ้นไป เมื่อเห็นแล้วก็ตั้งใจให้เป็นเจ้าเมือง สรุปแล้วก็เรียกว่า “ท้าวแสนปม ” มาจนทุกวันนี้     
          ตามเนื้อหาที่กล่าวมาเป็นนิทานของชาวบ้านในเขตตำบลไตรตรึงษ์ซึ่งเล่าสืบต่อกันมา เนื้อหาต้องการอธิบายถึงการกำเนิดของเมืองท้าวแสนปม (เมืองไตรตรึงษ์) ซึ่งท้าวแสนปมหรือตาแสนปมนั้นได้รับความเชื่อถือ ศรัทธาเป็นอย่างยิ่งในท้องถิ่นตำบลไตรตรึงษ์และชุมชนใกล้เคียง จึงได้มีการสร้างศาลไว้ที่ริมแม่น้ำปิง ใกล้กับวัดวังพระธาตุ เพื่อให้ชาวบ้านที่ศรัทธามากราบไหว้บูชา
          จากหลักฐานและร่องรอยตามตำนาน พงศาวดาร นิยายปรัมปราของเมืองไตรตรึงษ์ ล้วนเป็นร่องรอยที่ ยืนยันได้ว่าเมืองไตรตรึงษ์เป็นเมืองโบราณที่มีอยู่จริงและเป็นเมืองความสำคัญมีอายุไม่ต่ำกว่าสมัยทวาราวดีมาจนถึงกรุงสุโขทัย อยุธยา และรัตนโกสินทร์ตอนต้นในพงศาวดาร เมืองไตรตรึงษ์ได้ถูกกล่าวถึงในฐานะที่เป็นเมืองสำคัญตามประวัติศาสตร์ของไทยเมือง หนึ่ง ดังพงศาวดารโยนกที่กล่าว่า ในสมัยของพระเจ้าชัยศิริเสชียงแสนซึ่งหนีข้าศึกลงมาทางใต้ตามแม่น้ำปิง และไปพักพลอยู่ที่เมืองร้างฝั่งตรงข้ามกับเมืองกำแพงเพชร มีชีปะขาวมาชี้ให้ตั้งเมืองใหม่ที่มีชัยภูมิดี พระเจ้าชัยศิริจง ให้ไพร่พลตั้งหลักสร้างเมืองชื่อว่าเมืองไตรตรึงษ์  มีตำนานพื้นบ้านที่เล่าสืบต่อกันมาเกี่ยวกับราชธิดาของเจ้าเมืองไตรตรึงษ์ได้ประสูติกุมารออกมาโดยไม่รู้ ว่าผู้ใดเป็นบิดา เจ้าเมืองไตรตรึงษ์จึงต้องท้าการเสี่ยงทายได้ความว่าเป็นบุตรของคนทุตตะชื่อ นายแสนปม มีปุ่มเต็มตัว เจ้าเมืองไตรตรึงษ์จึงขับไล่ให้ออกจากเมืองไป นายแสนปมซึ่งความจริงเป็นคนมีบุญญาธิการได้รับความช่วยเหลือจากพระอินทร์ จึงไปสร้างเมืองใหม่ชื่อว่าเมืองเทพนคร ขึ้นครองราชย์เป็นเจ้าเมืองและได้น้าทองค้ามา เป็นอู่ให้กุมารน้อยผู้เป็นบุตรนอน กุมารน้อยจึงได้ชื่อว่า “พระเจ้าอู่ทอง” เมืองไตรตรึงษ์ เป็นเมืองที่มีขึ้นมาก่อนและอยู่ร่วมสมัยเดียวกันกับเมืองสุโขทัย และยังคงมีความเป็นเมืองสืบต่อกันมาอย่างยาวนานกว่าเมืองนครชุม ดังหลักฐานที่ปรากฏรายชื่อของเจ้าเมืองในจารึกหลักที่ 38 (จารึกกฎหมายลักษณะโจร) ว่าบรรดาเจ้าเมืองที่ไปเข้าเฝ้าเจ้าพระมหากษัตริย์จากกรุงศรีอยุธยาขณะที่มา ประทับ ณ เมืองกำแพงเพชรในครั้งที่จะสร้างศิลาจารึกกฎหมายลักษณะโจรนั้น มีเจ้าเมืองไตรตรึงษ์ปรากฏอยู่ด้วยต่างกับเมืองนครชุมที่กลายเป็นเมืองร้างและชื่อนั้นได้หายไปจากจารึกเสียแล้ว ความเจริญรุ่งเรื่องแห่งอดีตของเมืองไตรตรึงษ์กำลังเลือนหายไปจากความทรงจ้าของผู้คนในยุคปัจจุบัน จึงเป็นหน้าที่อันสำคัญที่คนรุ่นปัจจุบันต้องแสวงหาความยิ่งใหญ่แห่งอดีตของเมืองไตรตรึงษ์ให้กลับคืน มา เพื่อพลิกฟื้นความภาคภูมิใจของคนไทยทุกคน โดยเฉพาะชาวกำแพงเพชรและตำบลไตรตรึงษ์ซึ่งเป็นเจ้าของพื้นที่ให้รับรู้ร่วมกันว่า ณ ที่แห่งนี้ ครั้งหนึ่งเคยเป็นนครโบราณที่มีความเจริญรุ่งเรือง และมีคุณค่าทาง ประวัติศาสตร์เกินกว่าจะปล่อยให้สูญหายไป เหมือนอย่างเมืองบางพาน คณฑีและเทพนคร ที่ไม่เหลือแม้ เพียงเศษอิฐสักก้อน และหากเป็นเช่นนั้นเราจะเหลือความภาคภูมิใจอันใดไว้ให้ลูกหลานกันเล่า

คำสำคัญ : ไตรตรึงษ์, นิทานพื้นบ้าน

ที่มา : เมืองไตรตรึงษ์ ตามร่องรอยแห่งตำนานและประวัติศาสตร์. (ม.ป.ป). กำแพงเพชร: ม.ป.ท.

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). เมืองไตรตรึงษ์กับตำนานนิทานพื้นบ้านของชาวบ้านตำบลไตรตรึงษ์. สืบค้น 17 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?code_db=610001&code_type=01&nu=pages&page_id=1320

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1320&code_db=610001&code_type=01

Google search

Mic

จารึกลานเงินจารึกเรื่องการสร้างพระเครื่องและการอาราธนาพระเครื่องที่พบในเจดีย์พระบรมธาตุ นครชุม

จารึกลานเงินจารึกเรื่องการสร้างพระเครื่องและการอาราธนาพระเครื่องที่พบในเจดีย์พระบรมธาตุ นครชุม

เมื่อสมเด็จพุฒาจารย์(โต) ได้รื้อค้นพระเจดีย์พระบรมธาตุนครชุม ภายในกรุพบแผ่นลานเงินจารึกภาษาขอม กล่าวถึงตำนานการสร้างพระพิมพ์และวิธีการสักการบูชาพร้อมลำดับอุปเท่ห์ไว้พระพิมพ์ที่ได้จากกรุนี้คือ ว่ามีฤาษี ๑๑ ตน ฤาษีเป็นใหญ่ ๓ ตนฤาษีพิราลัยตนหนึ่ง ฤาษีตาไฟตนหนึ่งฤาษีตาวัวตนหนึ่ง เป็นประธานแก่ฤาษีทั้งหลาย จึงปรึกษากันว่าเราทั้งนี้จะเอาอันใดให้แก่พระยาศรีธรรมาโศกราช ฤาษีทั้ง ๓ จึงปรึกษาแก่ฤาษีทั้งปวงว่าเราจะทำด้วยฤทธิ์ ทำเครื่องประดิษฐานเงินทองไว้ฉะนี้ฉลองพระองค์จึงทำเป็นเมฆพัตร อุทุมพรเป็นมฤตย์พิศม์ อายุวัฒนะ

เผยแพร่เมื่อ 17-04-2020 ผู้เช้าชม 3,480

ประวัติอำเภอเมืองกำแพงเพชร

ประวัติอำเภอเมืองกำแพงเพชร

อำเภอเมืองกำแพงเพชร เป็นบ้านเมืองมาแต่สมัยใดยังไม่ปรากฏหลักฐานชัดเจนนัก สันนิฐานว่าอาจจะเป็นบ้านเมืองมาก่อนสมัยอาณาจักรสุโขทัยเพราะจากตำนานสิงหนวัติก็กล่าวถึงไว้ว่าพระเจ้าพรหม โอรสของพระเจ้าพังคราช ซึ่งประสูติเมื่อ พ.ศ.1461 พอพระชนมายุได้ 16 พรรษาก็ยกทับขับไล่พวกขอมลงมาจนถึงเมืองกำแพงเพชร และต่อมาพระเจ้าศิริ โอรสของพระพรหมได้อพยพไพร่พลหนีข้าศึกมอญมาสร้างเมืองกำแพงเพชรเป็นที่ประทับ ซึ่งปรากฏหลักฐานว่าในปัจจุบันยังมีศิลปวัตถุที่เป็นเทวาลัยของขอม เช่น วิหารพิกุลเดิม ซึ่งเป็นเครื่องชี้บอกให้เห็นว่าเมืองกำแพงเพชรเป็นบ้านเมืองตั้งแต่อาณาจักรสุโขทัย

เผยแพร่เมื่อ 12-02-2018 ผู้เช้าชม 3,584

ย้อนรอย “เที่ยวเมืองพระร่วง” ตอนที่ 2  (พระราชวัง,วัดพระแก้ว,วัดพระธาตุ)

ย้อนรอย “เที่ยวเมืองพระร่วง” ตอนที่ 2 (พระราชวัง,วัดพระแก้ว,วัดพระธาตุ)

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎุเกล้าเจ้าอยู่หัว เคยเสด็จมาเมืองกำแพงเพชรเป็นครั้งแรกเมื่อคราวล่องกลับจากเมืองเชียงใหม่ ่ในปี พ.ศ. 2448 เป็นเวลา 3 คืน 2 วัน ด้วยมีเวลาในครั้งนั้นน้อยอยู่ และไม่ค่อยได้มีโอกาสไปตรวจค้นทางโบราณคดีมากนัก จึงได้เสด็จขึ้นมาประพาสเมืองกำแพงเพชรอีกครั้งในช่วงวันที่ 14-18 มกราคม 2450 โดยประทับพักแรมอยู่ที่พลับพลาใกล้วัดชีนาเกา ซึ่งในครั้งนั้นได้มีการปลูกต้นสัก (ที่สวนสาธารณะเทศบาลฯ หลังธนาคารกรุงไทย) ไว้เป็นที่ระลึก และจารึกบันทึกเหตุการณ์เอาไว้ที่วงเวียนต้นโพธิ์ การเสด็จประพาสเมืองกำแพงเพชรของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎุเกล้าเจ้าอยู่หัวในครั้งที่ 2 นี้ได้ ทรงออกตรวจตราและวินิจฉัยข้อมูลทางประวัติศาสตร์ของเมืองกำแพงเพชรเอาไว้อย่างมากมาย

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้เช้าชม 1,237

เมืองไตรตรึงษ์สมัยสุโขทัย

เมืองไตรตรึงษ์สมัยสุโขทัย

เมืองไตรตรึงษ์ในสมัยสุโขทัยคงจะมีความเจริญรุ่งเรืองเป็นอันมากโดยได้ตกเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรสุโขทัย เป็นเมืองขึ้นของเมืองลูกหลวงกำแพงเพชร เพราะในช่วงนั้นสุโขทัยได้ขยายอาณาจักรลงมาทางตอนใต้ยึดได้เมืองไตรตรึงษ์ เลยลงไปถึงเมืองนครพระราม (ชัยนาท) โดยส่งลุงของกษัตริย์สุโขทัยมาเป็นเจ้าเมือง หลักฐานที่ว่าเมืองไตรตรึงษ์เป็นเมืองสำคัญชั้นลุงของกษัตริย์กรุงสุโขทัยคือข้อความที่พบในศิลาจารึกสุโขทัย (กฎหมายลักษณะโจร)

เผยแพร่เมื่อ 02-03-2020 ผู้เช้าชม 947

ดอกไม้ประจำจังหวัดกำแพงเพชร

ดอกไม้ประจำจังหวัดกำแพงเพชร

ดอกพิกุล ดอกไม้ประจำจังหวัดกำแพงเพชร พิกุลเป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลางสูงประมาณ 8–15 เมตร เป็นพุ่มทรงกลมใบออกเรียงสลับกันใบมนรูปไข่ปลายแหลม ลักษณะโคนใบมน สอบขอบใบโค้งเป็นคลื่นเล็กน้อย ใบเป็นมันสีเขียว ดอกเป็นดอกเดี่ยว ออกดอกเป็นกระจุกตามง่ามใบหรือยอด มีกลีบดอกประมาณ 8 กลีบ เรียงซ้อนกัน กลีบดอกเป็นจักรเล็กน้อย สีขาวนวลมีกลิ่นหอมมาก ผลรูปไข่หรือกลมรีผลแก่มีสีแสด เนื้อในเหลืองรสหวาน ภายในมีเมล็ดเดียว

เผยแพร่เมื่อ 30-08-2019 ผู้เช้าชม 5,240

เมืองไตรตรึงษ์สมัยพระพุทธเจ้าหลวงเสด็จประพาสต้น

เมืองไตรตรึงษ์สมัยพระพุทธเจ้าหลวงเสด็จประพาสต้น

เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2449 พระบาทสมเด็จพรจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 หรือพระพุทธเจ้าหลวงของปวงชนชาวไทย ได้เสด็จประพาสต้นหัวเมืองทางเหนือโดยมีจุดปลายปลายทางอยู่ที่เมืองกำแพงเพชร ในการเสด็จประพาสต้นในครั้งนั้นพระองค์ได้ทรงบันทึกเรื่องราวต่าง ๆ  ที่ได้ทอดพระเนตรและทรงให้บันทึกเรื่องราวเอาไว้เป็นบทพระราชนิพนธ์เสด็จประพาสต้น ซึ่งมีเนื้อเรื่องบางตอนเกี่ยวข้องกับเมืองไตรตรึงษ์ ดังข้อความดังนี้

เผยแพร่เมื่อ 02-03-2020 ผู้เช้าชม 1,245

จากเมืองนครชุม มาเป็นบ้านปากคลองสวนหมาก จากบ้านปากคลองสวนหมาก มาเป็นตำบลนครชุม

จากเมืองนครชุม มาเป็นบ้านปากคลองสวนหมาก จากบ้านปากคลองสวนหมาก มาเป็นตำบลนครชุม

นครชุม เป็นชื่อของเมืองโบราณในสมัยสุโขทัยต่อมาได้กลายเป็นเมืองร้างกว่า ๓๐๐ปี ในสมัยรัตนโกสินทร์ไม่มีชื่อเป็นที่รู้จัก ผู้คนทั่วไปคงเรียกบริเวณที่ตั้งบ้านเรือนของราษฎรบริเวณนี้ว่า “ปากคลองสวนหมาก” เพราะมีคลองสวนหมากไหลมาออกแม่น้ำปิง ราษฎรส่วนใหญ่เป็นชาวลาวที่อพยพมาจากเวียงจันทน์ ที่มารู้จักว่าชื่อแต่เพียงบ้านปากคลองสวนหมาก ไม่มีใครรู้จัก เมืองนครชุม ตำบลคลองสวนหมาก เป็นชุมชนที่สร้างตัวขึ้นมาในสมัยพระพุทธเจ้าหลวงจากเหย้าเรือนฝาขัดแตะไม่กี่หลังคาเรือน แต่มีที่ทำกินในผืนดินอันอุดมสมบูรณ์เนื่องจากมีแม่น้ำปิงไหลผ่านและมีคลองสวนหมากไหลมาจากป่าโป่งน้ำร้อนให้น้ำหล่อเลี้ยงมาอย่างต่อเนื่อง

เผยแพร่เมื่อ 16-04-2020 ผู้เช้าชม 1,629

จากชาวนครเวียงจันทน์มาเป็นประชาชนชาวปากคลอง

จากชาวนครเวียงจันทน์มาเป็นประชาชนชาวปากคลอง

ชาวบ้านปากคลองมีหลายชนชาติมาอาศัยอยู่มาก นอกจากลาวเวียงจันทน์แล้วยังมีชาวกะเหรี่ยง รวมถึงชาวเขาเผ่าต่างๆ ชาวจีนแผ่นดินใหญ่ อพยพมาอยู่กันมากมาย คนที่มาอยู่บ้านปากคลองได้ ต้องเป็นคนเข้มแข็ง และแกร่งจริงๆ เพราะเล่ากันว่า เมื่อจะขึ้นล่องจากปากน้ำโพไปเมืองตาก ต้องผ่านบ้านปากคลอง ว่าต้องหันหน้าไปมองทางฝั่งกำแพง ถ้ามองมาทางบ้านปากคลองจะเป็นไข้ป่าตายเป็นสิ่งที่คนกลัวกันมากจนลือกันไปทั่วกำแพง ปากน้ำโพ และเมืองระแหง

เผยแพร่เมื่อ 17-04-2020 ผู้เช้าชม 1,555

กษัตริย์เมืองกำแพงเพชรในสมัยทวารวดี

กษัตริย์เมืองกำแพงเพชรในสมัยทวารวดี

ในหนังสือวัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลกัษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดกำแพงเพชร หน้า 31 ได้กล่าวถึง เมืองโบราณบริเวณลุ่มแม่น้ำปิง ซึ่งมีการค้นพบและพอมีหลักฐานยืนยันได้ว่าเป็นเมืองเก่าแก่มาช้านาน คือ เมืองแปบ เมืองเทพนคร เมืองไตรตรึงษ์ เมืองพาน เมืองคณฑี เมืองนครชุม เมืองชากังราว เมืองพังคา เมืองโกสัมพี เมืองรอ เมืองแสนตอ เมืองพงชังชา และบ้านคลองเมือง ซึ่งล้วนตั้งอยู่อาณาเขตจังหวัดกำแพงเพชรทั้งสิ้น และในหนังสือเรื่องเล่มเดียวกันนั้นในหน้า 37-38 ได้กล่าวถึงเมือง 2 เมืองว่าเป็นเมืองในสมัยทวารวดี คือเมืองไตรตรึงษ์ และเมืองโบราณที่บ้านคลองเมือง

เผยแพร่เมื่อ 18-02-2020 ผู้เช้าชม 3,569

สะพานเก่าเมืองกำแพงเพชร

สะพานเก่าเมืองกำแพงเพชร

ภาพที่นำมาให้ชมกันนี้เป็นภาพสะพานกำแพงเพชร ซึ่งถ่ายเอาไว้เมื่อประมาณ พ.ศ. 2501อันเป็นช่วงที่สะพานแหง่นี้สร้างเสร็จใหม่ๆ มองดูโดดเด่นเป็นสง่าเหนือล้ำน้ำปิงและยืนหยัดกรำแดดกรำฝน รับใช้พี่น้องชาวกำแพงเพชรมากว่าสี่สิบปี ก่อนจะถูกบดบังจนมองเกือบไม่เห็นใน พ.ศ. 2542 ด้วย สะพานคู่ขนานขนาดใหญ่ตามวิถีการขยายตัวของสังคมเมือง เพื่อมิให้สะพานเก่าเมืองกำแพงเพชรเลือนหายไปจากความทรงจำ จึงขอนำเรื่องราวความเป็นมาของสะพานข้ามแม่น้ำปิงแห่งแรกของจังหวัดกำแพงเพชรมาทบทวนความทรงจำกันอีกครั้ง

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้เช้าชม 3,222