สมเด็จพระไชยราชาธิราชกับเมืองกำแพงเพชร

สมเด็จพระไชยราชาธิราชกับเมืองกำแพงเพชร

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้ชม 7,604

[16.4264988, 99.2157188, สมเด็จพระไชยราชาธิราชกับเมืองกำแพงเพชร]

           สมเด็จพระไชยราชาธิราช เป็นพระโอรสของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ต่างพระมารดาของสมเด็จพระบรมหน่อพุทธางกูร ซึ่งพระมารดานั้นเป็นเชื้อสายราชวงศ์เชียงราย ได้รับแต่งตั้งเป็นพระไชยราชา ตำแหนง่พระมหาอปุราชาครองเมืองพิษณุโลก ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2077 พระชนมายุ 19 พรรษา ได้ยกทัพจากเมืองพิษณุโลกเข้ายึดอำนาจจากสมเด็จพระรัษฎาธิราชกุมาร พระนัดดา ขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์กรุงศรีอยุธยา ทรงพระนามว่า สมเด็จพระไชยราชาธิราช เหตุการณ์ในรัชสมัยของสมเด็จพระไชยราชาธิราชที่เกี่ยวข้องกับเมืองกำแพงเพชร ปรากฎหลักฐานจากพระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ กล่าวไว้ว่า “พ.ศ. 2081 แรกให้พูนดิน ณ วัดชีเชียง ในเดือน 6 นั้น แรกสถาปนาพระพุทธเจ้าและพระเจดีย์เถิงเดือน 11 เสด็จไปเชียงกราน ถึงเดือน 4 ขึ้น 9 ค่ำ เพลาค่ำ ประมาณยามหนึ่ง เกิดลมพายุพัดหนักหนา และคอเรืออ้อมแก้วแสนเมืองมานั้นหัก และเรือแก้วนั้นทลาย อนึ่งเมื่อเสด็จมาแต่เมืองกำแพงเพชรนั้นว่า พระนารายณ์คิดขบถและให้กุมเอาพระนารายณ์นั้นฆ่าเสียในเมืองกำแพงเพชร 
           ปีจอ พ.ศ. 2081 พระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ได้ยกทัพเข้ามารุกรานอาณาจักรไทย โดยเข้าโจมตี เมืองเชียงกราน ซึ่งพระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ทรงเข้าพระทัยว่าเป็นเมืองมอญ จึงมีพระราชประสงค์จะรวม เอาไว้ในราชอาณาจักรของพระองค์ เมื่อพระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ตีได้เมืองเชียงกรานแล้ว ความก็ทราบถึง สมเด็จพระชัยราชาธิราช จึงได้เสด็จยกทัพหลวงพร้อมด้วยทหารอาสาชาวโปรตุเกสที่เข้ามาทำการค้าอยู่ในกรุงศรีอยุธยาไปทำศึกกับพม่า และสามารถตีเอาเมืองเชียงกรานกลับคืนมา การสงครามครังนี้เป็นสาเหตุที่ทำให้ไทยกับพม่าเป็นศัตรูกันต่อมา
           สมเด็จพระไชยราชาธิราช ได้ยกกองทับกลับมาถึงเมืองกำแพงเพชร และในการเสด็จยกทัพไปสกัดกั้นการรุกรานนของพม่าครั้งนั้น สมเด็จพระชัยราชาธิราช ทรงทราบว่า พระนารายณ์หรือพระยากำแพงเพชรเอาใจออกห่างฝักใฝ่กับพม่า โดยประพฤติตนเป็นสายให้พม่า จึงได้ทรงลงพระอาญาประหารพระยากำแพงเพชรเสีย สงครามระหว่างไทยพับพม่าครั้งแรกที่เมืองเชียงกรานเกิดขึ้นจากการสินสุดของอาณาจักรพุกาม และเกิดการแตกแยกชิงอำนาจกันทั้งจากพวกพม่า มอญ และไทยใหญ่ ต่อมาพระเจ้าตะเบงชะเวตี้ทรงรวบรวมพมา่ขึ้นใหม่ท่ี่เมืองตองอูต่อจากพระเจ้ามหาสิริชัยสุระพระราชบิดาที่ทรงสถาปนาราชวงศ์ตองอูขึ้นมา พระเจ้าตะเบงชะเวตี้ทรงเริ่มขยายอำนาจลงมาทางใต้เพื่อปราบอาณาจักรมอญที่เมืองพะโคหรือหงสาวดี ซึ่งมั่งคั่งร่ำรวยจากการค้าและมีกำลังผู้คนมาก ทำให้พวกมอญหลบหนีลงมาที่เมืองเชียงกราน เมืองนี้อยู่ภายใต้การปกครองของไทย พระเจ้าตะเบงชะเวตี้ได้ยกทัพกองทัพตามลงมาเมื่อ พ.ศ.2081 ทั้งนี้ตามที่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงสันนิษฐานจากข้อความในพระราชพงศาวดารกรุงเก่าฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ที่ว่า สมเด็จพระไชยราชาธิราชเสด็จไปเมืองไกรเชียงกรน
           สมเด็จพระไชยราชาธิราช ทรงทราบข่าวจึงเสด็จยกกองทัพไปขับไล่จำนวนทหารที่ยำไปนี้มีทหารอาสาโปรตุเกสหรือนักเผชิญโชคชาวโปรตุเกสร่วมไปด้วย 120 คน ทั้งนี้ตามความเห็นของสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ซึ่งอ้างหลักฐานจากข้อเขียนของเฟอร์นาว เมนเดส ปินโต (Fernao Mendes Pinto) นักเดินทางชาวโปรตุเกสที่เข้ามากรุงศรีอยุธยาและที่อื่น ๆ ในเวลานั้น แต่ถ้าพิจารณาข้อเขียนดังกล่าว ปินโตกล่าวถึงทหารอาสา 120 คน ในขณะที่กรุงศรีอยุธยาไปรบกับล้านนาในตอนปลายรัชกาล อย่างไรก็ดี น่าจะมีทหารอาสาในกองทัพของพระเจ้าตะเบงชะเวตี้ด้วย ผลของสงครามไทย-พมา่ ครั้งแรกนี้คือไทยสามารถขับไล่พม่าออกไปจากเมืองเชียงกรานได้  
           มีเรื่องราวที่เกี่ยวกับเมืองไทย เป็นบันทึกของเฟอร์ดินัน เมนเดช ปินโต ชาวโปรตุเกส เรื่อง “การเดินทางท่องเที่ยวและผจญภัยของเฟอร์ดินัน เมนเดช ปินโต (the travels, voyages and adventures of Ferdinand mendez pinto) ซึ่งมีข้อความบางตอนเกี่ยวเนื่องกับเมืองกำแพงเพรช ดังนี้  
            ...เริ่มด้วยศึกเชียงกราน เราออกเดินทาง 26 วัน ก็มาถึงกรุงศรีอยุธยาราชธานีของอาณาจักรโสน ปกติเรียกว่าสยาม ได้รับการต้อนรับอย่างน่าพิศวรและได้รับการปฏิบัติอย่างดีจากพวกโปรตุเกส จากที่นั่นข้าพเจ้าอาจสามารถเดินทางต่อไปยังญี่ปุ่นได้โดยไปในกลุ่มเรือโปรตุเกส 6 หรือ 7 ลำ ข้าพเจ้าลงมือทำบัญชีรายการสินค้าเป็นเงินหลายร้อยดูคัตส์ ในเวลาเดียวกันก็มีข่าวสำคัญมาถึงพระเจ้าแผ่นดินสยามที่กรุงศรีอยุธยา ว่าเจ้าเมืองเชียงใหม่ได้ร่วมมือกับพวกทิโมคูโฮ (Timncuho) เจ้าเมืองลาว เจ้าเมืองเงี้ยว ครอบครองดินแดนส่วนใหญ่เหนือเมืองกำแพงเพชรและพิษณุโลก คนเหล่านั้นได้มาล้อมเมืองกีเตรวน (Quiteruan) (กำแพงเพชร) ไว้ และได้สังหารผู้คนล้มตายไปกว่า 30,000 คน รวมทั้งออกญากำแพงเพชร ผู้สำเร็จราชการและนายทัพของชายแดนนั้นด้วย เมื่อทราบข่าวนี้ สมเด็จพระไชยราชาธิราชทรงสั่งให้เกณฑ์ไพร่พลทุกคนที่ไม่ใช่คนชราและคนพิการให้พร้อมที่จะออกทัพภายในเวลา 12 วัน
            พ.ศ. 2088 พระไชยราชาธิราชแห่งกรุงศรีอยุธยามาตีเชียงใหม่ มหาเทวีเห็นว่าจะสู้ไม่ได้ จึงใช้ยุทธวิธีแต่งบรรณาธิการไปถวายและต้อนรับด้วยสัมพันธไมตรี โดยเชิญเสด็จพระไชยราชาประทับที่เวียงเจ็ดลิน ทำให้เชียงใหม่รอดพ้นจากภัยสงครามในครั้งนั้น การยกทัพไปตีเมืองเชียงใหม่ เมื่อ พ.ศ. 2088 ทรงโปรดให้พระยาพิษณุโลก เป็นแม่ทัพยกพลออกไปตั้งทัพชัย (ตั้งทัพทำพิธีชัยชนะ) อยาที่ตำบลบางบาล พอวันเสาร์ เดือนเจ็ดขึ้นสิบสี่ค่ำ พระองค์จึงยกทัพหลวงจากทัพชัยขึ้นเหนือโดยทางเรือกว่า 3,000 ลำ มีทหารหลายแสนคน และมีทหารช่างชาติอย่างโปตุเกสร่วมมาด้วยนับหมื่นคน ไปตามแม่น้ำเจ้าพระยาแล้วยกขึ้นแม่น้ำปิงที่นครสวรรค์ ไปประทับที่บรรพตพิสัย ซึ่งอยู่ห่างจากกำแพงเพชรที่ถูกยึดโดยพวกเงี้ยวที่นำโดยเจ้าเมืองนายประมาณ 12 ลี้ เพื่อรอทัพช้างพันเชือก ทัพม้าและเกวียนที่บรรทุกปืนใหญ่สองร้อยเล่มซึ่งตามมาทางบก เพราะก่อนที่จะถึงเมืองเชียงใหม่นั้น กองทัพของกรุงศรีอยุธยาจะต้องผ่านเมืองกำแพงเพชรที่เป็นเมืองหน้าด่านของอยุธยา สมเด็จพระไชยราชาธิราชจึงต้องการช้างกับปืนใหญ่ในการที่จะยึดกำแพงเพชรกลับคืน ในระหว่างที่ประทับรออยู่ที่บรรพตพิสัยนั้น ทรงได้รับรายงานของกองลาดตระเวนว่าท่านฝ่ายเงี้ยวยึดครองเมืองกำแพงเพชรได้เตรียมการป้องกันเมืองเอาไว้อย่างเข้มแข็ง มีเรือรอบสองพันลำดักรออยู่สองฝากฝั่งแม่น้ำปิง และมีทหารอีกหลายแสนคน และอีก 40,000 คน นั่งรออยู่บนหลังม้า แต่ทหารของข้าศึกไม่มีช้าง
            ณ วันเสาร์ ขึ้น 14 ค่ำ เดือน 7 สมเด็จพระไชยราชาธิราชได้เคลื่อนทัพออกจากบรรพตพิสัยมุ่งหน้าสู่เมืองกำแพงเพชร โดยใช้เวลาในการเดินทาประมาณ 4 ลี้ต่อวัน ในวันที่ 3 กองทัพของสมเด็จพระไชยราชาธิราชก็เสด็จมาหยุดทัพที่ทุ่งแห่งหนึ่ง ชื่อว่า ศรีพุทไธ (SIPUTAY) น่าจะหมายถึงท่านพุทรา) ซึ่งอยู่ห่างจากเมืองกำแพงเพชรประมาณลี้ครึ่ง หลังจากทหารจำนวนมหาศาลกับช้างศึกทั้งปวงเข้าประจำที่มั่น นายกองต่างชาติและแม่ทัพชาวโปตุเกสจึงได้นำเคลื่อนพลไปยังเมืองกำแพงเพชรและไปถึงเมืองกำแพงเพชรก่อนพระอาทิตย์จะขึ้น โดยมีทหารเงี้ยวที่ยึดครองเมืองกำแพงเพรได้เตรียมพร้อมกับการรับมือของกองทัพจากกรุงศรีอยุธยา เมื่อกองทัพกรุงศรีอยุธยามาถึงทหารเงี้ยวได้เคลื่อนพลเข้ามาอย่างเชื่อมั่นในกองทัพม้าสี่หมื่นตัวอันเกรียงไกร และสามารถเอาชนะทหารของกรุงศรีอยุธยาได้อย่างไม่ยากเย็นนัก และสามารถฆ่าแม่ทัพนายกองที่มีเชื้อพระวงศ์ได้ 3 องค์ ทำให้สมเด็จพระเจ้าไชยราชาธิราชต้องเปลี่ยนกระบวนทัพใหม่ โดยสั่งให้ทหารของพระองค์เข้ามารวมเป็นกองเดียว ซึ่งประกอบด้วยทหารอาสาต่างชาติ 70,000 คน กองทัพช้าง 4,000 เชือก แล้วบุกตะลุยที่มั่นของข้าศึก และโดยแสนยานุภาพอันมหาศาลนี้ กองทัพกรุงศรีอยุธยาก็สามารถเอาชนะข้าศึกษาได้ ทำให้กองทัพของข้าศึกแตกกระจายไพร่พล เงี้ยวแพ้ศึกยับเยิน หลังจากได้ชัยชนะทางบกแล้ว สมเด็จพระไชยราชาธิราชตามไล่กองทัพเงี้ยวไปจนถึงฝั่งแม่น้ำปิง ซึ่งมีทหารเงี้ยวหนีไปรวมตัวกันเป็นจำนวนมากมายและทหารเหล่านี้มีกองทัพเรือคอยคุ้นกัน ทำให้สมเด็จพระไชยราชาธิราชไม่กล้าที่จะเข้าโจมตี เมื่อถึงเวลากลางคืนกองทัพเงี้ยวก็คือโอกาสถอยทัพหนีไปตามแม่น้ำ
            พระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ กล่าวไว้ว่า “เถิง ณ วันอังคาร แรม 9 ค่ำ เดือน 7 เสด็จตั้งทัพขึ้น ณ เมืองกำแพงเพชร” หลังจากสมเด็จพระไชยราชาธิราชได้รับชัยชนะในการศึกยึดเมืองกำแพงเพชรกับคืนมาได้แล้ว พระองค์ทรงมีรับสั่งให้สร้างกำแพงและป้อมปราการขึ้นเพื่อให้เมืองเป็นที่มั่นแข็งแรง ในช่วงนั้นเมืองเชียงใหม่ได้เกิดความวุ่นวายเรื่องเจ้าผู้ครองเมือง สมเด็จพระไชยราชาได้เสด็จยกทัพขึ้นไปปราบปราม แต่ก่อนที่จะขึ้นไปนั้น ชาวเมืองเชียงใหม่ได้ยกพระนางจิรประภามหาเทวีขึ้นครองเมืองเชียงใหม่แล้ว ครั้นกองทัพกรุงศรีอยุธยาไปถึงพระนางจิรประภาได้ต้อนรับและแสดงไมตรีกับกรุงศรีอยุธยาเหตุการณ์จึงสงบลงตลอด 7 ปี
            ช่วงเวลา 7 ปี พระเจ้าตะเบงชะเวตี้ กษัตริย์พม่าได้ทำสงครามปราบปรามหัวเมืองใกล้เคียงได้ ดินแดนมอญ พม่า และไทยใหญ่ ไว้ในอำนาจมากมาย และทำการตั้งเมืองหงสาวดีเป็นราชธานี แต่ในพงศาวดารเรียกพระเจ้าพระเบงชะเวตี้ด้วยเหตุที่พม่ามีอำนาจเข้ามายังดินแดนไทยใหญ่ทางตอนเหนือ จึงทำให้เมืองเชียงใหม่หันไปอ่อนน้อมกับพม่า สมเด็จไชยราชาธิราช เห็นว่าหากปล่อยให้เมืองเชียงใหม่นั้นไปอยู่กับพม่าเช่นนี้แล้วต่อไปจะเป็นช่องทางให้พม่าลงมารุกรานอาณาจักรได้ จึงมุ่งที่จะทำการปราบหัวเมืองทางเหนือให้ได้ ดังนั้นพระองค์จึงยกทัพตีเอาเมืองเชียงใหม่เสียให้ได้ ในพ.ศ. 2089 พระไชยราชาได้ยกกองทัพมาตีเมืองเชียงใหม่และลำพูนอีกครั้ง มหาเทวีพยายามเจรจาขอเป็นไมตรี แต่ไม่สำเร็จเมืองลำพูนถูกตีแตกในขณะที่เมืองเชียงใหม่สามารถต้านทัพอยุธยาไว้ได้ กองทัพอยุธยาจึงล่าถอยไป ดังพระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ กล่าวไว้ว่า “เถิง ณ วันพฤหัสบดี ขึ้น 6 ค่ำ เดือน 3 เสด็จออกตั้งทัพชัย เถิง ณ วันอาทิตย์ ขึ้น 9 ค่ำ เดือน 3 จึงยกทัพหลวงเสด็จไปเมืองเชียงใหม่ ระหว่างการเดินทางทัพไปเชียงใหม่พระองค์ได้ตีเมืองต่าง ๆ ระหว่างทางถึง 12 เมือง ในการศึกครั้งนี้ สมเด็จพระไชยราชาธิราชให้พระยาสุโขทัยนำทัพหน้าพร้อมกับอาวุธเดินทางมาตั้งทัพรออยู่ที่ปากน้ำลำพูน เมื่อทัพหลวงมาถึงจึงได้มีการเจรจาความเมืองให้พระมหาเทวีเจ้าจิรประภาให้ออกมาเจรจาความเมือง แต่ในที่สุดกองทัพสุโขทัยก็ตีลำพูนได้ เมื่อตีลำพูนได้แล้ว สมเด็จพระไชยราชาธิราชได้ยกกองทัพออกมาตั้งอยู่นอกเมือง เพราะเมืองลำพูนถูกเผาพินาศ ยากที่จะตั้งทัพได้ หลังจากตั้งทัพอยู่ได้ 3 วัน ก็ทรงตัดสินพระทัยยกทัพกลับไปเมืองกำแพงเพชร โดยให้กองทัพของพระยาสุโขทัย กองทัพพระยากำแพงเพชร และกองทัพพระยาพิจิตร อยู่ทำศึกกับกองทัพล้านนา
           สมเด็จพระไชยราชาธิราชถอยทัพกลับไปประทับที่เมืองกำแพงเพชร และประทับอยู่ 23 วัน ซึ่งในระหว่างที่ประทับอยู่ในเมืองกำแพงเพชรนั้น ทรงให้เสริมกำแพงและขุดคูลึกและกว้างรอบ ๆ เมือง ในช่วงที่ประทับอยู่กำแพงเพชรมีเหตุการณ์ประหาดเกิดขึ้นดังบันทึกในพระราชพงศาวดารว่า “วันศุกร์ ขึ้น 13 ค่ำ เดือน 4 มีอุบาทว์เห็นเลือดติดอยู่ ณ ประตูบ้านและเรือนและวัดทั้งปวง ในเมืองและนอกเมืองทั่วทุกตำบล”  มีการวิจารณ์เป็นลางว่าสมเด็จพระไชยราชาธิราชกำลังมีเคราะห์ หรือกองทัพหัวเมืองเหนอกำลังจะถูกกองทัพจากล้านนาผสมกองทัพล้านช้างทำลาย แต่สมเด็จพระไชยราชาธิราชยังคงประทับอยู่ที่เมืองกำแพงเพชรต่ออีกหลายวันจนพระองค์พอพระทัยว่าป้อมปราการต่าง ๆ ทำทำเลียนแบบป้อมของฝรั่งที่ใช้ศิลาแลงมาก่อเป็นกำแพง มีใบเสมา ช่องปืนได้สำเร็จเสร็จสิ้นลง และเมืองกำแพงเพชรสามารถห้องกันตัวเองได้เมื่อถูกรุกราน พระองค์ก็เสด็จกับกรุงศรีอยุธยาโดยเรือสามพันลำ ที่เสด็จพยุหยาตรามาจากกรุงศรีอยุธยา จากเหตุการณ์ประหลาดที่เกิดขึ้นถือเป็นลางร้ายอย่างแท้จริง เพราะเมื่อเสด็จพระไชยราชาธิราชเสด็จกลับถึงกรุงศรีอยุธยาก็ถูกลอบวางยาพิษ ส่วนแม่ทัพเมืองเหนือที่ไปศึกสงครามเชียงใหม่ต่างแตกถอยทัพ พระยาสุโขทัยพ่ายแต่หนี พระยากำแพงเพชรและพระยาพิจิตรตายในที่รบ

คำสำคัญ : กำแพงเพชร, สมเด็จพระไชยราชาธิราช

ที่มา : กองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร. (2557). ประวัติศาสตร์เมืองกำแพงเพชร ยุคหิน-ปัจจุบัน (เรียบเรียงจากการสัมมนาและทบทวน เมื่อวันที่ 27-28 กันยายน 2557). กำแพงเพชร: กองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร.

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). สมเด็จพระไชยราชาธิราชกับเมืองกำแพงเพชร. สืบค้น 17 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?code_db=610001&code_type=01&nu=pages&page_id=1303

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1303&code_db=610001&code_type=01

Google search

Mic

เฉลิมฉลอง 504 ปี พระอิศวร เมืองกำแพงเพชร

เฉลิมฉลอง 504 ปี พระอิศวร เมืองกำแพงเพชร

กำแพงเพชร มีเทวรูปศักดิ์สิทธิ์ที่คุ้มครองสัตว์สองตีนสี่ตีนในเมืองกำแพงเพชรมาช้านาน สิ่งศักดิ์สิทธิ์นั้นคือเทวรูปพระอิศวร พระอิศวร คือเทพสูงสุดแห่งศาสนาพราหมณ์ เรียกกันว่าพระศิวะก็ได้ พระอิศวรเป็นเทพเจ้าที่มีอำนาจมากและดุร้าย จึงนับว่าเป็นเทพผู้สร้าง ผู้ทำลาย เป็นเทพที่มีลักษณะพิเศษ คือพระศอสีนิล พระองค์สีแดง มีพระเนตรที่สาม เมื่อลืมตาที่สามแล้วจะทำลายล้างโลกได้สิ้น แล้วจึงสร้างใหม่ สิ่งที่เป็นสัญลักษณ์ของการเกิดคือ ศิวลึงค์ พระอิศวรมีพระมเหสี คือพระนางอุมาเทวี พระอิศวร มีงูเป็นสังวาล กะโหลกศีรษะมนุษย์ร้อยเป็นสร้อยพระศอ ทรงโคเผือก อุศุภราช นุ่งหนังเสือ แบบพระฤาษีทรงพระจันทร์เป็นปิ่นปักผม สถิต ณ เขาไกรลาส เป็นที่เคารพบูชาของผู้ที่นับถือศาสนาพราหมณ์ทั่วโลก

เผยแพร่เมื่อ 18-02-2020 ผู้เช้าชม 3,146

ย้อนรอย “เที่ยวเมืองพระร่วง”  ตอนที่ 5 (ถนนพระร่วง : ทางหลวงแผ่นดินสายโบราณ)

ย้อนรอย “เที่ยวเมืองพระร่วง” ตอนที่ 5 (ถนนพระร่วง : ทางหลวงแผ่นดินสายโบราณ)

เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎุเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเสด็จตรวจตราโบราณสถานในเขตเมืองและนอกเมืองของเมืองกำแพงเพชรจนเป็นที่พอพระราชหฤทัยแล้วได้เสด็จต่อไปเพื่อสำรวจร่องรอยตามเส้นทางถนนพระร่วง วันที่ 18 มกราคม 2450 เสด็จออกจากเมืองกำแพงเพชรทางประตูสะพานโคม แล้วเสด็จไปตามแนวถนนพระร่วง ผ่านเมืองพลับพลา เขานางทอง ประทับพักแรมที่เมืองบางพาน จากเมืองกำแพงเพชร สุโขทัย ศรีสัชนาลัย มีเส้นทางที่ใช้เชื่อมต่อกันเรื่อยมาตั้งแต่ครั้งโบราณ แต่เดิมอาจเป็นเส้นทางธรรมดา ภายหลังมีการยกคันดินขึ้นเป็นถนนแล้วเรียกชื่อว่า “ถนนพระร่วง”

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้เช้าชม 2,385

กำแพงเพชร : สมัยธนบุรี

กำแพงเพชร : สมัยธนบุรี

พ.ศ. 2313 สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งพระยาสุรบดินทร์ ข้าหลวงเดิมเป็นพระยากำแพงเพชร ล่วงมาถึงปีขาล 2313 มีข่าวมาถึงกรุรธนบุรีว่า เจ้าพระฝางให้ส่งกำลังลงมาลาดตระเวนถึงเองอุทัยธานี และเมืองชัยนาท เป็นทำนองว่าจะคิดลงมาตีกรุงธนบุรี พระเจ้ากรุงธนบุรีจึงมีรับสั่งให้เตรียมกองทัพจะยกไปตีเมืองเหนือในปีนั้น พระเจ้ากรุงธนบุรีเสด็จโดยกระบวนทัพเรือยกกำลังออกจากรุงธนบุรี เมื่อวันเสาร์ แรม 14 ค่ำ เดือน 8 ไปประชุมพล ณ ที่แห่งใดไม่ปรากฏหลักฐาน เมื่อพระเจ้ากรุงธนบุรีปราบชุมนุมพระฝางได้แล้ว ก็เท่ากับได้เมืองเหนือกลับมาทั้งหมด พระองค์ได้ประทับจัดการปกครองเมืองเหนืออยู่ตลอดฤดูน้ำ เกลี้ยกล่อมราษฏรที่แตกฉานซ่านเซ็นให้กลับมาอยู่ตามภูมิลำเนาเดิม จัดการสำรวจไพร่พลในเมืองเหนือทั้งปวง

เผยแพร่เมื่อ 24-02-2020 ผู้เช้าชม 2,129

คำขวัญประจำจังหวัดกำแพงเพชร

คำขวัญประจำจังหวัดกำแพงเพชร

กรุพระเครื่อง เมืองคนแกร่ง พระแสงฯล้ำค่า ศิลาแลงใหญ่ กล้วยไข่หวาน น้ำมันลานกระบือ เลื่องลือมรดกโลก  กรุพระเครื่อง หมายถึง จังหวัดกำแพงเพชร เป็นจังหวัดที่มีกรุพระเครื่องมากที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศไทย มีพระเครื่องหรือพระพิมพ์นับพันพิมพ์ พระที่มีชื่อเสียงมากที่สุดของจังหวัดกำแพงเพชร คือ พระซุ้มกอ พระเครื่องที่ศักดิ์สิทธิ์หนึ่งในเบญจภาคีของประเทศไทย เมืองคนแกร่ง หมายถึง จังหวัดกำแพงเพชรเป็นเมืองแห่งนักรบ นักสู้ เป็นเมืองที่ย่ิงใหญ่ในการสงคราม ประชาชนทำสงครามอย่างเข้มแข็ง เจ้าเมืองกำแพงเพชรทุกคนได้รับพระนามว่า พระยารามรณรงค์สงคราม ซึ่งหมายความว่า มีความกล้าหาญในสนามรบในสงครามราวกับพระราม มีพระยาวชิรปราการ เป็นคนแกร่งแห่งเมืองกำแพงเพชร พระแสงฯ ล้ำค่่า หมายถึง พระแสงราชศัสตราประจำจังหวัดกำแพงเพชร (ด้ามและฝักทองคำ) ซึ่งมีเพียงองค์เดียวในประเทศไทย เป็นสิ่งล้ำค่าและมีความสำคัญต่อประวัติศาสตร์จังหวัดกำแพงเพชร จึงขอเสนอเพิ่มคำขวัญจังหวัดกำแพงเพชร โดยเพิ่มคำว่า "พระแสงฯ ล้ำค่า" ลงในคำขวัญ โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้เป็นประวัติศาสตร์ และให้ชนรุ่นหลังได้ตระหนักถึงความสำคัญในการเชิดชูมรดกล้ำค่าของจังหวัดกำแพงเพชร

เผยแพร่เมื่อ 30-08-2019 ผู้เช้าชม 19,534

ประวัติอำเภอเมืองกำแพงเพชร

ประวัติอำเภอเมืองกำแพงเพชร

อำเภอเมืองกำแพงเพชร เป็นบ้านเมืองมาแต่สมัยใดยังไม่ปรากฏหลักฐานชัดเจนนัก สันนิฐานว่าอาจจะเป็นบ้านเมืองมาก่อนสมัยอาณาจักรสุโขทัยเพราะจากตำนานสิงหนวัติก็กล่าวถึงไว้ว่าพระเจ้าพรหม โอรสของพระเจ้าพังคราช ซึ่งประสูติเมื่อ พ.ศ.1461 พอพระชนมายุได้ 16 พรรษาก็ยกทับขับไล่พวกขอมลงมาจนถึงเมืองกำแพงเพชร และต่อมาพระเจ้าศิริ โอรสของพระพรหมได้อพยพไพร่พลหนีข้าศึกมอญมาสร้างเมืองกำแพงเพชรเป็นที่ประทับ ซึ่งปรากฏหลักฐานว่าในปัจจุบันยังมีศิลปวัตถุที่เป็นเทวาลัยของขอม เช่น วิหารพิกุลเดิม ซึ่งเป็นเครื่องชี้บอกให้เห็นว่าเมืองกำแพงเพชรเป็นบ้านเมืองตั้งแต่อาณาจักรสุโขทัย

เผยแพร่เมื่อ 12-02-2018 ผู้เช้าชม 3,584

ประวัติความเป็นมาของสายสกุล “นุชนิยม” และความเกี่ยวพันกับตระกูลพระยากำแพงเพชร

ประวัติความเป็นมาของสายสกุล “นุชนิยม” และความเกี่ยวพันกับตระกูลพระยากำแพงเพชร

นุชนิยม (อักษรโรมัน NUJANIYAMA) เป็นสกุลพระราชทาน ลำดับที่ 4787 ในรัชสมัยองค์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ผู้ขอพระราชทานนามสกุลคือ พระกำแหงสงคราม (ฤกษ์ นุชนิยม) กรมการพิเศษ จังหวัดลำปาง ตอนที่ขอพระราชทานนามสกุลนั้น พระกำแหงสงคราม ได้ขอไปให้ใช้คำว่า “ราม” นำหน้า แต่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เห็นว่ามีผู้ใช้คำนำหน้า “ราม” แล้วหลายสกุล กอปรกับเห็นว่า พระกำแหงสงครามได้ทำคุณงามความดีให้กับแผ่นดิน ในการปราบศึกฮ่อ ในรัชสมัยรัชกาลที่ 5 และมีเชื้อสายของพระยารามรณรงค์สงคราม (นุช)

เผยแพร่เมื่อ 03-03-2020 ผู้เช้าชม 4,197

เมืองคณฑี : เมืองต้นกำเนิดของราชวงศ์พระร่วง

เมืองคณฑี : เมืองต้นกำเนิดของราชวงศ์พระร่วง

เมืองคณฑีหรือบ้านโคน มีการสืบเนื่องของชุมชนมาช้านานแล้ว แม้ในปัจจุบันไม่ปรากฏร่องรอยของคูน้ำแนวคันดินอันเป็นที่ตั้งของเมือง แต่มีวัดและซากโบราณเก่าแก่ที่ทำให้เชื่อได้ว่าครั้งหนึ่งบริเวณบ้านโคนเคยเป็นที่ตั้งของเมืองโบราณ คือ เมืองคณฑี มีตำนานเล่าเรื่องถึงชาติภูมิหรือบรรพบุรุษของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ พระมหาธรรมราชหรือพระเจ้าโรจน หรือที่เรียกกันในภาษาพื้นบ้าน ว่าพระร่วง

เผยแพร่เมื่อ 11-03-2020 ผู้เช้าชม 1,564

นครไตรตรึงษ์ นครแห่งแรกของกำแพงเพชร

นครไตรตรึงษ์ นครแห่งแรกของกำแพงเพชร

เมืองไตรตรึงษ์เป็นนครแห่งแรกของเมืองกำแพงเพชร หมายถึงเมืองสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ มีพระอินทร์เป็นมหาราชา ประจำสวรรค์ชั้นนี้ นครไตรตรึงษ์ เป็นเมืองโบราณแห่งแรกของกำแพงเพชร นับว่ายิ่งใหญ่และเกรียงไกรอย่างยิ่ง เมืองไตรตรึงษ์คู่กับเมืองเทพนคร ตั้งอยู่คนละฟากฝั่งลำน้ำปิง เมืองไตรตรึงษ์ คือเมืองของนางอุษา เมืองเทพนคร คือเมืองของท้าวชินเสน หรือท้าวแสนปม ซึ่งเมืองทั้งสองยังมีหลักฐานที่ชัดเจน ในเขตอำเภอเมืองจังหวัดกำแพงเพชร มีคำขวัญที่แสดงถึงความยิ่งใหญ่ในอดีตของนครไตรตรึงษ์ว่า เจดีย์เจ็ดยอดงามสม ท้าวแสนปมนาม

เผยแพร่เมื่อ 02-03-2020 ผู้เช้าชม 3,707

เมืองไตรตรึงษ์สมัยพระพุทธเจ้าหลวงเสด็จประพาสต้น

เมืองไตรตรึงษ์สมัยพระพุทธเจ้าหลวงเสด็จประพาสต้น

เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2449 พระบาทสมเด็จพรจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 หรือพระพุทธเจ้าหลวงของปวงชนชาวไทย ได้เสด็จประพาสต้นหัวเมืองทางเหนือโดยมีจุดปลายปลายทางอยู่ที่เมืองกำแพงเพชร ในการเสด็จประพาสต้นในครั้งนั้นพระองค์ได้ทรงบันทึกเรื่องราวต่าง ๆ  ที่ได้ทอดพระเนตรและทรงให้บันทึกเรื่องราวเอาไว้เป็นบทพระราชนิพนธ์เสด็จประพาสต้น ซึ่งมีเนื้อเรื่องบางตอนเกี่ยวข้องกับเมืองไตรตรึงษ์ ดังข้อความดังนี้

เผยแพร่เมื่อ 02-03-2020 ผู้เช้าชม 1,244

ประวัติศาสตร์กำแพงเพชร จากใบบอกเมืองกำแพงเพชร

ประวัติศาสตร์กำแพงเพชร จากใบบอกเมืองกำแพงเพชร

ในสมัยโบราณ การติดต่อระหว่างเมืองประเทศราช เมืองพระยามหานคร และเมืองต่างๆ ในพระบรมโพธิสมภาร มีการติดต่อและรายงานโดยการใช้ใบบอก มีประโยชน์ในการรายงาน เรื่องราชการ ใบบอกเป็นเอกสารทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญอย่างหนึ่ง อาจมีข้อเท็จจริงอยู่ในใบบอกประสมกันอยู่ แต่อาจเป็นต้นเค้าของหลักฐานในการสืบค้นให้ลึกลงไปในอดีตที่ยังไม่มีใครสนใจนัก ประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่เป็นประวัติศาสตร์ของเมืองหลวงของราชธานี ส่วนประวัติศาสตร์ของหัวเมืองมิใคร่มีผู้ใดใส่ใจ ใบบอกจึงเป็นหลักฐานที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งที่ฉายภาพในอดีตของแต่ละเมืองอย่างชัดเจนในสมัยนั้นๆ

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้เช้าชม 6,267