ประวัติน้ำมันลานกระบือ

ประวัติน้ำมันลานกระบือ

เผยแพร่เมื่อ 21-01-2020 ผู้ชม 15,924

[16.6172991, 99.7389869, ประวัติน้ำมันลานกระบือ]

          หากจะพูดถึงน้ำมันดิบในไทยแล้วละก็ ยุคแรกก็ต้องน้ำมันดิบฝาง แต่ถ้าเป็นของเอกชนทีรัฐบาลให้สัมปทาน ที่ดังก่อนใครก็ต้อง น้ำมันดิบเพชร ของอำเภอลานกระบือ จังหวัดกำแพงเพชร      
          อำเภอลานกระบือ เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดกำแพงเพชร มีชื่อเสียงโดดเด่นหลายด้าน โดยเฉพาะการค้นพบแหล่งน้ำมันดิบ คือ "แหล่งน้ำมันสิริกิติ์" บ่อน้ำมันสิริกิติ์ ตั้งอยู่ที่บ้านเด่นพระ หมู่ที่ 4 บ้านหนองตาสังข์ ตำบลลานกระบือ อำเภอลานกระบือ จังหวัดกำแพงเพชร อยู่ห่างจากที่ว่าการ อำเภอลานกระบือ ไปตามเส้นทางถนนสายลานกระบือ-พิษณุโลก ประมาณ 7 กิโลเมตร
          กำแพงเพชร มีทรัพยากร ที่ล้ำค่าอยู่ภายใต้พื้นดินคือน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ ซึ่งมีการ ขุดเจาะ ตั้งแต่ วันที่ 11 กันยายน ปีพุทธศักราช 2524 จึงเป็นจุดเริ่มต้น ของแหล่งน้ำมันสิริกิติ์ นามพระราชทาน น้ำมันดิบที่ขุดได้ที่อำเภอลานกระบือเรียกว่าน้ำมันดิบเพชร
          สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินมาเป็นองค์ประธานในพิธีเปิดแหล่งน้ำมันสิริกิติ์ เมื่อวันวันที่ 12 มกราคม 2526 น้ำมันลานกระบือ ได้รับสัมปทานจากบริษัทไทยเชลล์เอ็กซพลอเรชั่นแอนโปรดักชั่น มาตั้งแต่พุทธศักราช 2522 – 2546 ผลิตน้ำมันได้ครบ 150 ล้านบาร์เรล ในปัจจุบัน บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตเลียม จำกัด (มหาชน)ได้ซื้อหุ้นทั้งหมดของบริษัทไทยเชลล์ 
          ใต้แผ่นดินลานกระบือ ยังมีน้ำมันดิบจำนวนมาก สามารถผลิตได้ อีกนาน โดยมีฐานผลิตทั้งหมด 58 ฐาน จำนวนหลุมขุดเจาะ 340 หลุม ( เดือนพฤศจิกายน 2548 ) มีความยาวท่อส่งน้ำมันทั้งสิ้น 270 กิโลเมตร….แต่ละหลุมต้องเจาะลึก ประมาณ 2,000 เมตร หรือ 2 กิโลเมตร เส้นผ่าศูนย์กลางหลุม 20 เซนติเมตร สามารถหักเห ในการขุดเจาะจากศูนย์กลาง ได้ 50 – 1,000 เมตรจากจุดศูนย์กลาง โดยใช้เวลาขุดเจาะ ประมาณ 7 วัน ต่อหลุม
          ปริมาณการผลิต ณ เดือนพฤศจิกายน 2548 แหล่งน้ำมันลานกระบือของเราผลิตได้แล้ว 162 ล้าน บาร์เรล ปัจจุบัน เราสามารถผลิต น้ำมันดิบ ได้ 19,000 – 20,000 บาร์เรล ต่อวัน ผลิตก๊าซธรรมชาติ ได้ 40 –50 ล้านลูกบาศก์ฟุต ต่อวัน ผลิตก๊าซหุงต้ม (แอล พี จี) 280-300 ตัน ต่อวันถึงแม้ว่า ผลผลิตของบ่อน้ำมันลานกระบือ จะได้เพียง ร้อยละ3 ของการใช้ทั้งหมดภายในประเทศ แต่ก็ยังทำให้ เงินตราของเราไม่ไหลไปต่างประเทศมากนัก นับว่าลานกระบือของเรามีส่วนช่วย บ้านเมืองได้ไม่น้อยเลยทีเดียว……เมื่อคิดเป็นค่าของเงิน…
          อำเภอลานกระบือ ซึ่งเมื่อ 22 ล้านปีมาแล้ว บริเวณนั้นเป็นทะเลสาบน้ำจืด ขนาดใหญ่ คลุมไปถึงกำแพงเพชร จึงทำให้เกิดแหล่งทรัพยากรที่ยิ่งใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศไทย เป็นความภูมิใจ ….ของชาวกำแพงเพชร และชาวไทยร่วมกัน
          หากเริ่มต้นที่กำแพงเพชร เพื่อจะดูว่าแหล่งน้ำมันจะเป็นอย่างไรในไทย เพราะส่วนมากจะเห็นบ่อน้ำมันของต่างประเทศเสียมากกว่า ก็ต้องเริ่มที่ถนนสายกำแพงเพชร-พิจิตร จากกำแพงเพชรราว 40 กิโลเมตร จะพบทางเข้า เมื่อเข้าไปแล้วจะพบป้ายบอกระยะทางถึงลานกระบือประมาณ 13 กิโลเมตร เข้าไปจนผ่านตัวตลาดซึ่งเป็นที่ตั้งของอำเภอด้วย แล้วจะเริ่มพบท่อเหล็กข้างถนน นี่แหละคือท่อน้ำมันดิบ โดยจะมีป้ายบอกชื่อหลุมน้ำมันไว้ด้วย ชื่อหลุมน้ำมันจะเริ่มตั้งแต่อักษร A เรียงตามลำดับต้วอักษรภาษาอังกฤษ หลุมน้ำมันลานกระบือพบประมาณสิบกว่าหลุม ท่อน้ำมันยิ่งมากแสดงว่า ผ่านหลุมน้ำมันมามากขึ้น หลุมน้ำมันมักจะไม่อยู่ข้างถนน แต่ต้องเลี้ยวเข้าไปในถนนเล็กๆจึงจะพบหลุมน้ำมัน สภาพหลุมน้ำมันจะล้อมรั้วกันบุกรุก และมีอุปกรณ์ตั้งอยู่บนหลุม วิทยากรจากบริษัท เชลล์ ได้บรรยายว่า เมื่อพบน้ำมันดิบใหม่ๆน้ำมันดิบไหลขึ้นมาด้วยความดันตัวเองแล้วไหลผ่านท่อเหล็ก โดยเวลากลางวันอุณหภูมิสูงน้ำมันดิบจะไหลได้เอง แต่เวลากลางคืนอุณหภูมิต่ำ น้ำมันจะหนืดจนไม่สามารถไหลได้ ตอนนี้น้ำมันดิบเหลือน้อยแล้วไม่รู้ว่าไหลขึ้นมาอย่างไร ผลพลอยได้จากน้ำมันดิบ คือก๊าซธรรมชาติ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ได้ซื้อก๊าซจาก ปตท มาผลิตไฟฟ้า โดยตั้งโรงไฟฟ้าพลังก๊าซ ใกล้กับแหล่งน้ำมัน ทั้งหมดเป็นสภาพของแหล่งน้ำมันในไทย คือ น้ำมันลานกระบือ จังหวัดกำแพงเพชร

คำสำคัญ : น้ำมัน, ลานกระบือ

ที่มา : https://sites.google.com/site/oillankrabue/prawati-phu-cad-tha/prawati-b-xna-man

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). ประวัติน้ำมันลานกระบือ. สืบค้น 30 มิถุนายน 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?code_db=610001&code_type=01&nu=pages&page_id=1281

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1281&code_db=610001&code_type=01

Google search

Mic

ในหลวงกับการเสด็จกำแพงเพชร ครั้งที่ 3 เสด็จพระราชดำเนินพระราชทานธงลูกเสือชาวบ้าน

ในหลวงกับการเสด็จกำแพงเพชร ครั้งที่ 3 เสด็จพระราชดำเนินพระราชทานธงลูกเสือชาวบ้าน

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชได้เสด็จพระราชดำเนินเมืองกำแพงเพชร เป็นครั้งที่ 3 เมื่อวันที่ 29 มกราคม 2521 โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินาถ และสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าสิรินธรได้เสด็จพระราชดำเนินไปพระราชทานธงประจำรุ่นลูกเสือชาวบ้านของอำเภอต่างๆ 117 รุ่น ณ อำเภอเมืองกำแพงเพชร และทรงเยี่ยมราษฏรที่มาเข้าเฝ้ารับเสด็จฯ อยู่ในบริเวณนั้น ในครั้งนั้นได้มีราษฏรกิโล 2 บ้านกิโล 3 บ้านกิโล 6 และชาวบ้านใกล้เคียงในเขตอำเภอเมืองกำแพงเพชรได้กราบบังคมทูลของพระราชทานให้ทรงช่วยเหลือจัดหาน้ำให้ราษฏรเพื่อใช้ในการเพาะปลูก และอุปโภคและบริโภคได้ตลอดทั้งปี เมื่อพระองค์ได้ทรงทราบถึงทุกข์ของชาวบ้านกำแพงเพชร จึงได้ทรงให้กรมชลประทานดำเนิน “โครงการพระราชดำริคลองท่อทองแดง”

เผยแพร่เมื่อ 18-02-2020 ผู้เช้าชม 1,675

เมืองโบราณวังโบสถ์ บ้านเทพนคร

เมืองโบราณวังโบสถ์ บ้านเทพนคร

เมืองโบราณเทพนคร ตำบลเทพนคร อำเภอเมือง ตั้งอยู่บนฝั่งตะวันออกของแม่น้ำปิง ตรงกันข้ามกับเมืองโบราณนครไตรตรึงษ์ เมืองเทพนครเป็นชุมชนโบราณมีคูน้ำและคันดินล้อมรอบชั้นเดียว เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาดกว้างประมณ 800 เมตร ยาวประมาณ 900 เมตร แนวคัดดินและคูเมืองถูกทำลายไปเกือบหมด เหลือพอเห็นบ้างทางทิศตะวันออกเท่านั้น พื้นที่ส่วนใหญ่ถูกไถปรับระดับเพื่อเกษตรกรรมหมด

เผยแพร่เมื่อ 11-03-2020 ผู้เช้าชม 3,108

พระเจ้าศิริไชยเชียงแสน (บุรุษแสนปม) สร้างเมืองเทพนคร

พระเจ้าศิริไชยเชียงแสน (บุรุษแสนปม) สร้างเมืองเทพนคร

เทศนาจุลยุทธการวงศ ์ พระเจ้าศิริไชยเชียงแสน (บุรุษแสนปม) ได้ทรงสร้างเมืองเทพนคร  เมื่อจุลศักราช 681 (พุทธศกัราช 1862) ในช่วงระยะที่ยังไม่พบเมืองเทพนครนั้น นักประวัติศาสตร์จึงยังไม่เชื่อว่าเรื่องราวในเทศนาจุลยุทธการวงศ์เป็นความจริง เป็นเพียงตำนานที่เล่ากันต่อมา ในคราวหลังพบหลักฐานทางโบราณคดี มีเมืองไตรตรึงษ์และเมืองเทพนครเกิดขึ้นจริง ดังผังเมืองโบราณและภาพถ่าย ซึ่งกรมศิลปากรได้ทำบัญชีทะเบียนทรัพย์สินด้านโบราณสถาน จังหวัดกำแพงเพชรไว้ 

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้เช้าชม 2,566

เมืองไตรตรึงษ์ตามตำนานพระเจ้าพรหม

เมืองไตรตรึงษ์ตามตำนานพระเจ้าพรหม

ในพระราชพงศาวดาร ซึ่งกรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรสทรงนิพนธ์พระราชพงศาวดารสังเขปขึ้นมาใหม่ มีความต้นเรื่องต่างกับพงศาวดารกรุงสยาม (ของรัชกาลที่ 2) เริ่มด้วยกษัตริย์เมืองเชียงรายพ่ายศึก ได้อพยพชาวเมืองเชียงรายหนีลงมาทางทิศใต้ แล้วสร้างบ้านเมืองใหม่บริเวณเมืองแปบ ซึ่งเป็นเมืองร้างอยู่ริมแม่น้ำปิง (อยู่คนละฟากเมืองกำแพงเพชรปัจจุบัน) ภายหลังให้ชื่อใหม่ว่าเมืองไตรตรึงษ์ ต่อมามีลูกเขยเป็นสามัญชนคนเข็ญใจชื่อ นายแสนปม ได้เป็นกษัตริย์เมืองเทพนคร พระนามว่าสมเด็จพระเจ้าศิริชัยเชียงแสน มีโอรสชื่อเจ้าอู่ทอง ซึ่งต่อมาคือ สมเด็จพระรามาธิบดี ผู้ทรงสร้างกรุงศรีอยุธยา

เผยแพร่เมื่อ 02-03-2020 ผู้เช้าชม 1,508

พระบรมธาตุเสด็จออกจากเจดีย์พระบรมธาตุนครชุม

พระบรมธาตุเสด็จออกจากเจดีย์พระบรมธาตุนครชุม

ในกำแพงเพชรมีเรื่องเล่าขาน ถึงพระบรมสารีริกธาตุ ขนาดเท่าผลส้มเกลี้ยงสุกสว่าง ลอยวนไปมาเหนือพระเจดีย์ อยู่หลายแห่ง อาทิเจดีย์วัดวังพระธาตุ เจดีย์วัดเสด็จ (ปัจจุบันเหลือแต่ฐาน) เจดีย์วัดกะโลทัย เจดีย์วัดพระบรมธาตุ และเจดีย์วัดบ้านธาตุ มีเรื่องเล่าว่า ในวันเดือนมืดสนิท จะมีดวงไฟขนาดใหญ่ออกจากพระเจดีย์ดังกล่าว ลอยทักษิณาวรรต ๓ รอบ ณ พระเจดีย์แล้ว ทุกดวงจะเสด็จมาที่เจดีย์วัดพระบรมธาตุ แสดงปาฏิหาริย์ให้เห็นบ่อยครั้ง

เผยแพร่เมื่อ 17-04-2020 ผู้เช้าชม 1,396

หนึ่งพันปีเมืองกำแพงเพชร

หนึ่งพันปีเมืองกำแพงเพชร

จังหวัดกำแพงเพชร เป็นเมืองโบราณที่สำคัญยิ่ง มาตลอดยุคสมัย และเกี่ยวข้องกับพระมหากษัตริย์ไทยมาโดยตลอด อาจนับตั้งแต่ พระร่วงโรจนราช กษัตริย์ต้นราชวงศ์พระร่วง
จากตำนานชินกาลมาลีปกรณ์ว่ามาจากบ้านโคน เมืองคณฑี จังหวัดกำแพงเพชร ซึ่งชาวบ้านโคนถือกันว่าเป็นเรื่องสำคัญมาก แม้ตำนานท้าวแสนปม ได้กล่าวถึงท้าวแสนปมเป็นพระราชบิดาของ พระเจ้าอู่ทอง ปฐมกษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา..เป็นความเชื่อทั้งสองเรื่องที่คู่กับจังหวัดกำแพงเพชรเล่าขานสืบต่อกันมาช้านาน…ว่าปฐมกษัตริย์ทั้งกรุงสุโขทัย และอยุธยามาจากกำแพงเพชรทั้งสองพระองค์ …. จากตำนานสิงหนวติกุมาร ฉบับสอบค้น ของนายมานิต วัลลิโภดม ได้กล่าวถึงกำแพงเพชรที่เกี่ยวข้องกับพระมหากษัตริย์หลายตอน

เผยแพร่เมื่อ 21-01-2020 ผู้เช้าชม 2,637

เมืองคณฑี : เมืองที่ถูกจารไว้ในจารึกสมัยสุโขทัย

เมืองคณฑี : เมืองที่ถูกจารไว้ในจารึกสมัยสุโขทัย

เมืองคณฑี ตั้งอยู่ในเขตตำบลคณฑี ริมฝั่งแม่น้ำปิงทางด้านตะวันออก เยื้องตรงข้ามกับวัดวังพระธาตุลงมาทางใต้ประมาณ 8 กิโลเมตร แม้ไม่มีการตรวจพบร่องรอยของคูน้ำและคันดิน แต่เหนือบ้านโคนขึ้นไปมีร่องรอยบริเวณที่มีคูน้ำโดยรอบ มีผุ้พบซากเจดีย์ร้าง และเศษโบราณวัตถุเป็นจำนวนมากในป่าก่อนจะถูกปรับไถให้โล่งเตียน โดยเฉพาะบริเวณวัดกาทิ้งได้ปรากฏร่องรอยบริเวณที่มีคูน้ำโอบล้อม มีซากโบราณสถานและเศษโบราณวัตถุ โคกเนินต่าง ๆ แม้จะถูกชาวบ้านปรับไถที่ดินทำไร่ทำนา จนหมดสิ้น 

เผยแพร่เมื่อ 11-03-2020 ผู้เช้าชม 2,185

ตำนานสามล้อกำแพงเพชร

ตำนานสามล้อกำแพงเพชร

สามล้อถีบเมืองกำแพงเพชร มีมาก่อนพุทธศักราช 2490 มารุ่งเรืองสูงสุด ในปี 2500 รายได้ดีมาก สามารถเลี้ยงชีวิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามล้อท่านแรกที่รู้จัก คือลุงเอก บ้านอยู่หน้าโรงเรียนอนุกูลศึกษาทางไปโรงพยาบาลกำแพงเพชร (ปัจจุบันเลิกกิจการแล้ว) ผู้เขียนเป็นเพื่อนรักกับลูกชายลุงเอก คือนาย อุ่น ไปมาหาสู่กันเป็นประจำไปนอนเล่นบ้านลุงเอกเสมอ ท่านใจดีมาก ๆ มีฐานะดีด้วย 

 

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้เช้าชม 1,153

เมืองไตรตรึงษ์สมัยสุโขทัย

เมืองไตรตรึงษ์สมัยสุโขทัย

เมืองไตรตรึงษ์ในสมัยสุโขทัยคงจะมีความเจริญรุ่งเรืองเป็นอันมากโดยได้ตกเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรสุโขทัย เป็นเมืองขึ้นของเมืองลูกหลวงกำแพงเพชร เพราะในช่วงนั้นสุโขทัยได้ขยายอาณาจักรลงมาทางตอนใต้ยึดได้เมืองไตรตรึงษ์ เลยลงไปถึงเมืองนครพระราม (ชัยนาท) โดยส่งลุงของกษัตริย์สุโขทัยมาเป็นเจ้าเมือง หลักฐานที่ว่าเมืองไตรตรึงษ์เป็นเมืองสำคัญชั้นลุงของกษัตริย์กรุงสุโขทัยคือข้อความที่พบในศิลาจารึกสุโขทัย (กฎหมายลักษณะโจร)

เผยแพร่เมื่อ 02-03-2020 ผู้เช้าชม 929

ย้อนรอย “เที่ยวเมืองพระร่วง” ตอนที่ 1

ย้อนรอย “เที่ยวเมืองพระร่วง” ตอนที่ 1

ย้อนหลังไปเมือง พ.ศ. 2450 หรือ 107 ปี ที่ผ่านมา ชาวกำแพงเพชรได้มีโอกาสต้อนรับการเสด็จมาของเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดินพระองค์หนึ่ง ดำรงพระยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ซึ่งทรงสนพระทัยเกี่ยวกับเรื่องราวของเมืองพระร่วงคือเมืองกำแพงเพชร สุโขทัยและศรีสัชนาลัย และได้เสด็จขึ้นมาตรวจตราโบราณสถาน โบราณวัตถุ และศึกษาข้อมูลตามตำนานในท้องถิ่น แล้วทรงพระราชนิพนธ์เอาไว้เป็นหนังสือเรื่อง “เที่ยวเมืองพระร่วง” ซึ่งยอมรับกันว่าเป็นหนังสือนำเที่ยวเมืองไทยเล่มแรกที่มีคณุค่ายิ่งนัก และถือเป็นหนังสือดีอีกเล่มหนึ่งที่ชาวกำแพงเพชรควรต้องอ่าน ด้วยความสำนึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎุเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ทรงเสด็จเที่ยวเมืองกำแพงเพชรและทรงบันทึกเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ครั้งสำคัญเอาไว้อย่างละเอียดเป็นบทพระราชนิพนธ์ “เที่ยวเมืองพระร่วง”

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้เช้าชม 4,587