ภูมิปัญญาการแต่งกาย : กะเหรี่ยง
ปัจจุบันกลุ่มกะเหรี่ยงที่ยังคงสวมใส่เครื่องแต่งกายประจำเผ่าในวิถีชีวิตปกติ มีเพียงกลุ่มโป และสะกอเท่านั้น ส่วนกลุ่มคะยา และตองสูไม่สวมใส่ชุดประจำเผ่าในชีวิตประจำวันแล้ว กะเหรี่ยงแต่ละกลุ่ม นอกจากจะมีการแต่งกายที่แตกต่างกัน กะเหรี่ยงกลุ่มเดียวกันแต่อยู่ต่างพื้นที่ ก็มีลักษณะการแต่งกายไม่เหมือนกันด้วย เช่น กะเหรี่ยงโปแถบอำเภอแม่เสรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน แต่งกายมีสีสันมากกว่าแถบจังหวัดเชียงใหม่ หญิงกะเหรี่ยงสะกอแถบจังหวัดแม่ฮ่องสอน และอำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ ตกแต่งเสื้อมีลวดลายหลากหลาย และละเอียดมากกว่าแถบจังหวัดตาก หรือกะเหรี่ยงโปแถบจังหวัดกาญจนบุรี
16.121008, 99.3294759
เผยแพร่เมื่อ 27-02-2017 ผู้เช้าชม 1,757
ภูมิปัญญาการแต่งกาย : ลัวะ
ชาวลัวะ มีขนบธรรมเนียมเครื่องแต่งกายต่างกับชาวเหนือ ผู้ชายนุ่งผ้าพื้นโจงกระเบนหรือโสร่ง ผู้หญิงสวมเสื้อสีดำผ่าอกแขนยาว ปักเป็นแผ่นใหญ่ที่หน้าอกตามแถวกระดุม และแถวรังดุมรอบคอ ปักที่ชายแขนเสื้อตรงข้อมือทั้งสองข้างและที่ใต้ตะโพกรอบเอวด้วยดิ้นเลื่อม ไหมเงินคล้ายเสื้อขุนนางไทยโบราณ ผ้าซิ่นติดผ้าขาวสลับดำเล็ก ๆ ตอนกลางเป็นริ้วลาย ชายซิ่นติดผ้าสีดำกว้างประมาณ 1 ศอก ตามปกติผู้หญิงอยู่บ้านไม่ค่อยสวมเสื้อชอบเปิดอกเห็นถัน
16.121008, 99.3294759
เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 4,374
การแต่งกายของชนเผ่ามละ
มาลาบรี (มละ) หรือ ผีตองเหลือง ชนกลุ่มนี้เรียก ตัวเองว่า “คนป่า” หรือ “มลาบรี” ไม่ชอบถูกเรียกว่า “ผีตองเหลือง” แต่ที่ผู้คนในที่ราบ คุ้นเคยกับคำว่า “ผีตองเหลือง” อาจเนื่องมาจากคนป่ากลุ่มนี้ มักชอบหายตัวไปอย่างว่องไว เมื่อเผชิญกับคนแปลกหน้าจะทิ้งไว้เพียงเพิงพัก ซึ่งมุงด้วยใบตองกล้วยป่าที่ผ่านการใช้งานมาหลายวัน จนใบตองเปลี่ยนจากสีเขียว จนเป็นสีเหลือง มลาบรีเป็นกลุ่มชาติพันธุ์มองโกลอยด์ดั้งเดิม
16.2844429, 98.9325649
เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 2,034
ภูมิปัญญาการแต่งกาย : มูเซอ
ลาหู่ หรือ มูเซอ อาศัยอยู่ในประเทศจีน เมื่อถูกรุกรานจึงอพยพมาทางตอนใต้เข้าสู่ประเทศพม่า และทางเหนือของประเทศไทย เมื่อกว่า 13 ปีมาแล้ว โดยเข้ามาทางอำเภอแม่จัน อำเภอเชียงแสน อำเภอเชียงของ อำเภอเวียงป่าเป้า อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย, อำเภอฝาง อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่, และอำเภอบางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน มีเพียงส่วนน้อยที่มาจากอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก มูเซอที่รู้จักกันมาก ได้แก่ มูเซอดำ มูเซอแดง มีวัฒนธรรมประเพณีคล้ายคลึงกัน มูเซอ เป็นภาษาพม่า แปลว่า นายพราน เนื่องจากมีความชำนาญในการล่าสัตว์โดยใช้หน้าไม้ ภาษาอังกฤษ เรียกว่า ลาฮู ในกลุ่มมูเซอดำ เรียกว่า ลาฮูนา มูเซอแดง เรียกว่า ลาฮูยี
16.121008, 99.3294759
เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 6,471
ภูมิปัญญาการแต่งกาย : ลีซอ
ลีซูเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่จัดอยู่ในกลุ่มธิเบต-พม่า ของชนชาติโลโล ถิ่นกำเนิดดั้งเดิมของชนเผ่าลีซูอยู่บริเวณต้นน้ำโขงและแม่น้ำสาละวิน อยู่เหนือหุบเขาสาละวินในเขตมณฑลยูนนานตะวันตกเฉียงเหนือและตอนเหนือของรัฐคะฉิ่น ประเทศพม่า ชนเผ่าลีซูส่วนใหญ่เชื่อว่าเมื่อ 4,000 ปี ที่ผ่านมา เคยมีอาณาจักร เป็นของตนเอง แต่ต้องเสียดินแดนให้กับจีนและกลายเป็นคนไร้ชาติต่อมาชนเผ่าลีซู จึงได้เคลื่อนย้ายเข้าสู่รัฐฉานตอนใต้ กระจัดกระจายอยู่ตามภูเขาในเมืองต่างๆ เช่น เมืองเชียงตุง บางส่วนอพยพไปอยู่เขตเมืองซือเหมา สิบสองปันนา ประเทศจีน หลังจากนั้นได้อพยพลงมา ทางใต้เนื่องจากเกิดการสู้รบกันระหว่างชนเผ่าอื่น นับเวลาหลายศตวรรษ ชนเผ่าลีซูได้ถอยร่นเรื่อยลงมา จนในที่สุดก็แตกกระจายกัน เข้าสู่ประเทศพม่า จีน อินเดีย แล้วเข้าสู่ประเทศไทย
16.121008, 99.3294759
เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 3,169
ภูมิปัญญาการแต่งกาย : เย้า
ชาวเมี่ยน (เย้า) ถิ่นฐานเดิมอยู่ในประเทศจีนแถบแม่น้ำแยงซี “เมี่ยน” เป็นชื่อที่ทางราชการตั้งให้ หรือบางครั้งจะเรียกว่า “อิ้วเมี่ยน” แปลว่า มนุษย์ ได้รับการจัดให้อยู่ในเชื้อชาติ มองโกลอยด์ คือ อยู่ในตระกูลจีนธิเบต บรรพชนได้ตั้งถิ่นฐานอยู่ที่ราบรอบทะเลสาปตงถิง แถบแม่น้ำแยงซี ยอมอ่อนน้อมให้ชนชาติผู้ปกครองรัฐ และไม่ยินยอมอยู่ภายใต้การบังคับกดขี่ของรัฐ จึงได้ทำการอพยพเข้าไปในป่าลึกบนภูเขาสูง ได้ตั้งถิ่นฐานสร้างบ้านด้วยมือของเขาเอง เพื่อปกป้องเสรีภาพจึงถูกขนานนามว่า ม่อ เย้า ซึ่ง เหยา ซี เหลียน ได้บันทึกไว้ในเหลียงซูต่อมาในสมัยราชวงศ์ซ่ง คำเรียกนี้ี้ถูกยกเลิกไปเหลือแต่คำว่า "เย้า" เท่านั้น จุดเด่นของชนเผ่าเมี่ยน (เย้า) บ้านปางค่าใต้ ตำบลผาช้างน้อย อำเภอปง จังหวัดพะเยา ได้แก่ พาสปอร์ตที่ยาวที่สุดในโลก (ปัจจุบันในพื้นที่โครงการหลวงมีชาวเมี่ยนอาศัยอยู่ในพื้นที่ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงปังค่า อำเภอปง จังหวัดพะเยา)
16.121008, 99.3294759
เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 2,562
ภูมิปัญญาการแต่งกาย : กระเหรี่ยง
กะเหรี่ยงเป็นชนเผ่าที่จัดได้ว่ามีหลายเผ่าพันธุ์ หลายภาษา มีการนับถือศาสนาที่ต่างกัน แต่กะเหรี่ยงดั้งเดิมจะนับถือผี เชื่อเรื่องต้นไม้ป่าใหญ่ ภายหลังหันมานับถือพุทธ คริสต์ เป็นต้น กะเหรี่ยง มีถิ่นฐานตั้งอยู่ที่ประเทศพม่า แต่หลังจากถูกรุกรานจากสงคราม จึงมีกะเหรี่ยงที่อพยพเข้ามาอาศัยอยู่ประเทศไทย กะเหรี่ยงที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย แบ่งออกได้เป็น 4 ประเภท แบ่งออกเป็นกลุ่มย่อย กะเหรี่ยงสะกอ หรือที่เรียกนามตัวเองว่า ปากะญอ หมายถึงคน หรือมนุษย์นั้นเอง กะเหรี่ยงสะกอเป็นกลุ่มที่มีจำนวนมากที่สุด มีภาษาเขียนเป็นของตนเอง โดยมีมิชชันนารีเป็นผู้คิดค้นดัดแปลงมาจากตัวหนังสือพม่า ผสมภาษาโรมัน กลุ่มนี้หันมานับถือศาสนาคริสต์เป็นส่วนใหญ่ กะเหรี่ยงโปร์นั้นเป็นกลุ่มที่ค่อนข้างเคร่งครัดในประเพณี อาศัยอยู่มากที่อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ และแถบตะวันตกของประเทศไทย คือ กะเหรี่ยงบเว อาศัยอยู่มากที่อำเภอขุนยวม แม่ฮ่องสอน ส่วนปะโอ หรือตองสูก็มีอยู่บ้าง แต่พบน้อยมากในประเทศไทย
16.121008, 99.3294759
เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 13,544
ภูมิปัญญาการแต่งกาย : ม้ง
ม้ง หมายถึง อิสระชน เดิมอาศัยอยู่ในประเทศจีน ต่อมาชาวจีนเข้ามาปราบปราม เป็นเหตุให้อพยพลงมาถึงตอนใต้ของจีน และเขตอินโดจีน ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 และตอนเหนือของประเทศไทย ประมาณพ.ศ. 2400 โดยมีสองกลุ่มได้แก่ ม้งน้ำเงินและม้งขาว ไม่ชอบให้เรียกว่าแม้ว โดยถือว่าเป็นการดูถูกเหยียดหยาม ประชากรของม้งในประเทศไทย มีมากเป็นอันดับ 2 รองจากกะเหรี่ยง ตั้งถิ่นฐานอยู่ตามภูเขาสูง หรือที่ราบเชิงเขาในเขตพื้นที่จังหวัดเชียงราย พะเยา น่าน เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน แพร่ ลำปาง กำแพงเพชร เลย พิษณุโลก เพชรบูรณ์ สุโขทัย และตาก
16.121008, 99.3294759
เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 6,536
การแต่งกายของชาวเขา
ลักษณะการแต่งกายของชาวเขา จังหวัดกำแพงเพชร จะมีตัวเสื้อจะเป็นผ้ากำมะหยี่ เสื้อแขนยาวจรดข้อมือ ชายเสื้อจะยาวคลุมเอว ด้านหน้ามีสาบเสื้อสองข้างลงมาตลอดแนว สายเสื้อลงไปยังชายเสื้อ ด้านหลัง มักจะปักลวดลายสวยงามด้วย ปัจจุบันนิยมใส่ซิปลงขอบ สาบเสื้อ เพื่อสะดวกในการใส่ ส่วนกางเกงจะสวมใส่กางเกงขาก๊วย หรือกางเกงจีนเป้าตื้นขาบาน มีลวดลายน้อย และใส่ผ้าพันเอวสีแดง คาดทับกางเกง และอาจมีเข็มขัดเงินคาดทับอีกชั้นหนึ่งด้วยเหมือนกัน
16.2844429, 98.9325663
เผยแพร่เมื่อ 14-02-2018 ผู้เช้าชม 13,593
การแต่งกายของชาวกำแพงเพชร
จุดกำเนิดของการแต่งกายต่าง ๆ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน จากการพบชุมชนโบราณที่เขากะล่อน พบเครื่องประดับประเภททำด้วยหิน เช่น กำไล หินขัด ชุมชนโบราณบ้านหนองกอง ตำบลนาบ่อคำ พบลูกปัดแก้ว ลูกปัดทำจากแร่อะเกตตา เนียล และชุมชนโบราณเมืองไตรตรึงษ์ พบลูกปัดแก้ว ลูกปัดหินทำเป็นสร้อยคอและสร้อยข้อมือ เป็นจุดกำเนิดของการแต่งกายของชาวกำแพงเพชรสมัยก่อนประวัติศาสตร์เท่าที่สืบค้นได้ในปัจจุบัน
16.4854533, 99.494347
เผยแพร่เมื่อ 21-02-2017 ผู้เช้าชม 6,013
Google search
-
ฐานข้อมูล - 152 ประวัติความเป็นมา
- 170 แหล่งท่องเที่ยว
- 37 บุคคลสำคัญ
- 190 ประเพณีและวัฒนธรรม
- 122 พระเครื่อง
- 57 วรรณกรรมพื้นบ้าน
- 108 ภูมิปัญญาท้องถิ่น
- 107 อาหารพื้นบ้าน
- 141 โบราณสถาน
- 445 สมุนไพรพื้นบ้าน
- 154 ร้านอาหารและเครื่องดื่ม
- 56 โบราณวัตถุ
- 102 หน่วยงานราชการ
- 171 โรงแรมและที่พัก
- 45 ของฝาก
ที่บริเวณบ้านหัวยาง ตำบลนครชุม อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร ตรงกับตีนสะพานข้ามลำน้ำปิง ฝั่งนครชุม มีสถานที่หนึ่ง ชาวบ้านเรียกกันว่า บ้านวังแปบ เล่าก
ต้นขมิ้นเครือ จัดเป็นพรรณไม้เลื้อยหรือไม้เถาเนื้อแข็ง ทุกส่วนเกลี้ยง ยกเว้นมีต่อมที่ใบ ลำต้นมีเนื้อไม้เป็นสีเหลือง เมื่อสับหรือฟันจะมียางสีเหล
ดินดำน้ำดี สามัคคีทั่วเขต การเกษตรก้าวหน้า ชาวประชาร่วมใจ เดิมเมื่อประมาณ พ.ศ.๒๔๖๐ เป็นท้องที่ตำบลระหานขึ้นการปกครองกับ อำเภอคลองขลุง จ
วัดเตาหม้อ เมื่อได้ยินชื่อวัดเตาหม้อ จะไม่มีใครรู้สึกว่าเป็นวัดสำคัญ คิดว่าเป็นวัดขนาดเล็กวัดหนึ่ง ในอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร แต่เมื่อได้มีโอกา