การแต่งกายของชนเผ่ามละ
เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้ชม 1,320
[16.2844429, 98.9325649, การแต่งกายของชนเผ่ามละ]
การแต่งกายของชนเผ่า มละ ในสมัยก่อนจะใช้เปลือกปอปกปิดร่างกายและเพื่อความอบอุ่นของร่างกาย โดยมีวิธีการ คือ ไปลอกเปลือกจากต้นปอมาแล้วนำเปลือกของต้นปอ ไปทุบให้ละเอียด ตากให้แห้ง แล้วนำมาทำเป็นเครื่องแต่งกายของชนเผ่า มละ ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย ซึ่งมีการทำแบบนี้มาเรื่อยๆ ชนเผ่ามละเล่าว่า ไม่มีการนำใบตองมาทำเป็น เครื่องแต่งกายอย่างที่สังคมเข้าใจในทุกวันนี้ เนื่องจากใบตองขาดง่ายและใส่ได้ไม่นาน สำหรับใบตองชนเผ่ามละจะใช้สำหรับทำเพิงพักอย่างเดียวเท่านั้น แต่มาปัจจุบันชนเผ่ามละ ก็หันไปใส่เสื้อผ้าเหมือนคนปกติทั่วไป ไม่มีการแต่งกายแบบดั้งเดิมให้เห็น จะมีให้เห็นก็แค่ผู้เฒ่าผู้แก่ในหมู่บ้านบางคนเท่านั้น
ธรรมเนียมอย่างหนึ่งของ ผีตองเหลือง คือ ชายหญิงทุกคนต้องเจาะหูทั้งสองข้างตั้งแต่เด็ก รูหูที่เจาะมีขนาดประมาณ 0.5-1.0 เซนติเมตร โดยใช้ไม้ไผ่เหลากลมปลายแหลม แทงลงไปบนเนื้ออ่อนบริเวณติ่งหู สมัยก่อนมักจะนำดอกไม้มาเสียบไว้ในรูหูเพื่อเป็นการประดับร่างกาย แต่ในปัจจุบันเมื่อติดต่อกับชนเผ่าอื่นๆ เช่น ม้งหรือเย้า ทำให้ธรรมเนียมนี้ลดความนิยมลงไป แต่ก็ยังมีปรากฏให้เห็นบ้างประปราย
ภาพโดย : http://www.sawadee.co.th/thailand/hilltribes/mlabri.html
คำสำคัญ : เครื่องแต่งกาย ชุดประจำชนเผ่า
ที่มา : http://www.sawadee.co.th/thailand/hilltribes/mlabri.html
รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2560). การแต่งกายของชนเผ่ามละ. สืบค้น 1 ตุลาคม 2566, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=427&code_db=610007&code_type=05
Google search
ทอลวดลายโดยแทรกวัสดุอื่นประกอบ เช่น ลูกเดือยหรือใช้พู่หรือกระจุกด้ายซึ่งเป็นการทอของกะเหรี่ยงโปว์และสะกอในบางหมู่บ้านแถบแม่ฮ่องสอน ใช้ประกอบในชุดของหญิงสาว และชุดเด็กหญิงเท่านั้น
เผยแพร่เมื่อ 27-02-2017 ผู้เช้าชม 558
แร่เงินเป็นแร่ยุคโบราณอยู่ควบคู่กับมนุษย์มาหลายยุคหลายสมัย ในอดีตแร่ที่มีความสำคัญเป็นอันดับหนึ่งคือ แร่ทอง เพราะเป็นเครื่องหมายของความสมบูรณ์ ร่ำรวย ทำให้สัญลักษณ์ของทองคือรูปวงกลม เพราะวงกลมจะไม่มีรอยต่อเป็นเส้นเดียวไม่มีเริ่มต้น ไม่มีสิ้นสุดจึงหมายถึงความสมบูรณ์ ส่วนแร่เงินถึงแม้จะเป็นรองแร่ทองแต่ในยุคก่อนประวัติศาสตร์ก็ได้ให้ความสำคัญกับแร่เงินพอๆ กัน โดยมีสัญลักษณ์คือรูปครึ่งวงกลมหรือรูปพระจันทร์เสี้ยว มนุษย์ได้ใช้แร่เงินเป็นเครื่องประดับตกแต่งและเป็นเครื่องใช้ต่างๆมานานแล้ว แร่เงินจึงถือว่าเป็นโลหะที่มีค่าเป็นอันดับสองรองจากทองคำ
เผยแพร่เมื่อ 19-02-2017 ผู้เช้าชม 508
เริ่มเลี้ยงวัวตั้งแต่ปี พ.ศ. 2559 โดยมีเพื่อนของลูกสาวที่อยู่ พงษ์พัฒน์ฟาร์ม เป็นคนแนะนำเพราะเศรษฐกิจไม่ดีจึงหันมาเริ่มเลี้ยงวัวขุนเริ่มแรกเลี้ยง 11 ตัวปัจจุบันมีประมาณ 100 กว่าตัวปัจจุบันมีหลายครัวเรือนที่เลี้ยงวัวครัวเรือนจะเลี้ยงตามทุ่งแต่ผู้ที่ทำการบุกเบิกในการเลี้ยงวัวคือคุณลุงเจ้าของฟาร์ม ลีโอฟาร์มวัว
เผยแพร่เมื่อ 15-08-2020 ผู้เช้าชม 1,754
ก่อนที่จะทำฟาร์มปูนาเคยทำอาชีพรับจ้างมาก่อน แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จจนมีหน่วยงานรัฐบาลมาให้ความรู้เกี่ยวกับการเพาะปูนา จึงทดลองเพาะเลี้ยงปูไว้ในที่ว่างหลังบ้าน จากนั้นก็มีกลุ่มพ่อค้าแม่ค้าเข้ามาขอซื้อไปขายต่อ จึงเริ่มหันมาสนใจการเลี้ยงปูนาอย่างเต็มตัว เมื่อเริ่มเพาะเลี้ยงปูนาได้มากขึ้นแต่บางช่วงตลาดตัน ราคาขายไม่สูง เลยได้นำไปแปรรูปเป็นอาหาร ส่งจำหน่ายแทน โดยจะนำไปวางจำหน่ายตามร้านขายของฝากต่างๆ รวมถึงส่งขายไปยังต่างประเทศ เพื่อสร้างรายได้ให้กับครอบครัวเป็นอย่างดี
เผยแพร่เมื่อ 16-08-2020 ผู้เช้าชม 1,916
ในครั้งนี้ กองศิลปาชีพ สำนักราชเลขาธิการ ในพระองค์สมเด็จพระบรมราชินีนาถ ได้นำส่งเงินค่าผลิตภัณฑ์ผ้าปักชาวเขาแก่สมาชิกศิลปาชีพ จำนวน 356 คน รวมเป็นเงิน 1,828,550.-บาท (หนึ่งล้านแปดแสนสองหมื่นแปดพันห้าร้อยห้าสิบบาทถ้วน) ซึ่งก่อให้เกิดประโยชน์สร้างรายได้ให้แก่ครอบครัวสมาชิกได้ในระดับหนึ่ง ตามพระราชเสาวนีย์ของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ
เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 931
เครื่องเงินชาวเขาในอำเภอคลองลานจังหวัดกำแพงเพชร ปัจจุบันมีผู้ผลิตอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งกลุ่มผู้ผลิตเครื่องเงินชาวเขานั้น จะแบ่งออกเป็น 2 ชนเผ่าหลักๆ ได้แก่ กลุ่มชนเผ่าเมี่ยน (เย้า) และกลุ่มชนเผ่าม้ง ซึ่งทั้งสองกลุ่มชนเผ่านี้ มีประวัติความเป็นมาเกี่ยวกับการเริ่มต้นทำเครื่องเงินชาวเขาที่แตกต่างกัน คือ กลุ่มชนเผ่าเมี่ยน (เย้า) เป็นช่างผลิตเครื่องเงินขาวเขากลุ่มแรกที่มีวิธีการผลิตสืบทอดงานฝีมือมาจากบรรพบุรุษ สำหรับกลุ่มชนเผ่าม้งนั้น เริ่มต้นทำเครื่องเงินจากการไปฝึกทักษะวิชาชีพที่จังหวัดสุโขทัย เนื่องจากที่นั่นได้ขึ้นชื่อเรื่องวิธีการผลิตเครื่องเงินชาวเขาเผ่าม้งและเมื่อหลังจากที่ชนเผ่าม้งได้เรียนรู้วิธีการผลิตเครื่องเงินแล้ว ก็ได้นำความรู้นั้นมาใช้เป็นการประกอบอาชีพ ณ ถิ่นฐานบ้านเกิดของตน
เผยแพร่เมื่อ 13-06-2022 ผู้เช้าชม 801
เป็นศูนย์เรียนรู้ของคลองน้ำไหลเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง เริ่มทำตั้งแต่ปี พ.ศ. 2556 โดยมีโครงการปิดทองหลังพระ ของ รัชกาลที่ 9 ลงมาที่หมู่ 16 บ้านสามัคคีธรรม และได้เข้าอบรมเรียนรู้การทำสมุนไพร เป็นโครงการหลวงที่สามารถนำมาช่วยลดรายจ่ายภายในครัวเรือนได้ เลยเริ่มรวมกลุ่มกันทำ น้ำยาอเนกประสงค์ เบอร์กลุ่มมีสมาชิกประมาณ 20 คนหรือ 30 ครัวเรือน โดยจะแบ่งเป็นหมู่ หมู่ละ 10 ครัวเรือน 3 หมู่ หมู่ที่ 1 จะเลี้ยงหมูหลุม หมู่ที่ 2 จะทำน้ำยาเอนกประสงค์ หมู่ที่ 3 การเลี้ยงไส้เดือนดินของพ่อหลวง
เผยแพร่เมื่อ 16-08-2020 ผู้เช้าชม 578
มาลาบรี (มละ) หรือ ผีตองเหลือง ชนกลุ่มนี้เรียก ตัวเองว่า “คนป่า” หรือ “มลาบรี” ไม่ชอบถูกเรียกว่า “ผีตองเหลือง” แต่ที่ผู้คนในที่ราบ คุ้นเคยกับคำว่า “ผีตองเหลือง” อาจเนื่องมาจากคนป่ากลุ่มนี้ มักชอบหายตัวไปอย่างว่องไว เมื่อเผชิญกับคนแปลกหน้าจะทิ้งไว้เพียงเพิงพัก ซึ่งมุงด้วยใบตองกล้วยป่าที่ผ่านการใช้งานมาหลายวัน จนใบตองเปลี่ยนจากสีเขียว จนเป็นสีเหลือง มลาบรีเป็นกลุ่มชาติพันธุ์มองโกลอยด์ดั้งเดิม
เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 1,320
เริ่มต้นจาก ตอนที่ป้าดำได้ไปช่วยงานพี่สาวที่ทุ่งโพธิ์ทะเล แล้วไปเห็นคนที่นั่น กำลังสานตะกร้ายางพาราอยู่ เลยเกิดความสนใจ จึงเรียนรู้ จากการได้ศึกษาจากบ้านทุ่งโพธิ์ทะเลแล้วประมาณ 5-6 วัน ได้ขอซื้อโครงจักสานมา กลับมาลองฝึกเองที่บ้าน พอสานเป็นก็เริ่มหาซื้อโครงมากขึ้น และเริ่มสอนในหมู่บ้านโดยการสอนไม่คิดค่าใช้จ่าย และเมื่อปี พ.ศ. 2552 ได้มีองค์การบริหารส่วนตำบลมาลงพื้นที่ จึงได้ให้ป้าดำเป็นผู้ก่อตั้งกลุ่ม จักสานยางพาราขึ้นมา เพื่อสอน ให้คนในชุมชนมีอาชีพ
เผยแพร่เมื่อ 16-08-2020 ผู้เช้าชม 697
มีการก่อตั้งกลุ่มขึ้นมาเป็นกลุ่มของพลังงานกลุ่มหนึ่งจะมีสมาชิกอยู่ประมาณ 20-30 คนแต่จะแบ่งแยกการศึกษาตามฐานเรียนรู้หลายฐานโดยจะมีฐานผลิตน้ำส้มควันไม้ เตาเผาถ่าน เตาพลังงาน เตาเศรษฐกิจ เตาย่างไร้ควัน น้ำหมักรกหมู
เผยแพร่เมื่อ 16-08-2020 ผู้เช้าชม 777