ฝายท่ากระดาน

ฝายท่ากระดาน

เผยแพร่เมื่อ 30-09-2022 ผู้ชม 693

[16.4495461, 99.4206895, ฝายท่ากระดาน]

       นายเลอศักดิ์ ริ้วตระกูลไพบูลย์ ที่ปรึกษาอธิบดีกรมชลประทาน ด้านบริหารจัดการน้ำ ประกอบพิธีเปิดการใช้งาน ประตูระบายน้ำฝายท่ากระดาน หมู่ที่ 9 ตำบลท่าขุนราม อำเภอเมืองจังหวัดกำแพงเพชร มีนายสุรชัย ริ้วตระกูลไพบูลย์ นายกมล สิมเมือง สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดกำแพงเพชร หัวหน้าส่วนราชการผู้นำท้องถิ่น กลุ่มเกษตรกรผู้ใช้น้ำโครงการ ฝายท่ากระดานร่วมเป็นสักขีพยานในพิธีฝายท่ากระดานในวันนี้
     นายอาจิตร์ สุวานิชวงศ์ผู้อำนวยการสำนักงานชลประทานที่ 4 กล่าว   อาคารชลประทานที่ก่อสร้างขึ้น เพื่อทดน้ำในคลองสวนหมาก ซึ่งเป็นลำน้ำสาขาของแม่น้ำปิง ซึ่งมีประวัติความเป็นมาอันยาวนาน เดิมเป็นฝายตอกหลัก ราษฎรได้ริเริ่ม และร่วมแรงร่วมใจกันก่อสร้างฝายหลักตอก ตามภูมิปัญญาท้องถิ่น มาตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2492 จนถึงปัจจุบัน รวมระยะเวลามากกว่า 60 ปี ต่อมา กรมชลประทานจึงได้ออกแบบและปรับปรุงฝายท่ากระดานขึ้นใหม่ มาเป็นฝายคอนกรีต ซึ่งได้ดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จในปีพุทธศักราช 2563 
       แม้ว่าฝายท่ากระดานจะได้รับการปรับปรุงให้เป็นฝายคอนกรีต ที่มีความมั่นคงถาวรตามหลักวิชาการแล้วก็ตาม แต่จากการที่ฝายท่ากระดาน ได้ถูกใช้งานผ่านฤดูน้ำหลาก มาเป็นระยะเวลายาวนาน ทำให้มีสภาพชำรุดทรุดโทรม น้ำสามารถรั่วซึมผ่านตัวฝายได้ อีกทั้งมีปริมาณตะกอนทรายตกจมสะสมอยู่ที่หน้าฝายจำนวนมาก ฝายท่ากระดานจึงไม่สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้เกิดปัญหาน้ำท่วมขังในพื้นที่ทางการเกษตร 3 ตำบลในฤดูน้ำหลาก และพื้นที่ทางการเกษตรได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงในฤดูแล้ง
       ดังนั้น ทางสำนักงานชลประทานที่ 4 โดยส่วนวิศวกรรม จึงได้พิจารณาออกแบบฝายท่ากระดานขึ้นใหม่ โดยประยุกต์ใช้การออกแบบเป็นประตูระบายน้ำ มาผสมผสานกับฝายหยักคอนกรีต ในอาคารเดียวกัน โดยที่ฝายหยักคอนกรีตจะมีคุณสมบัติในการเพิ่มความสามารถในการระบายน้ำ เพื่อลดปัญหาน้ำหลากในช่วงฤดูฝน และสำหรับประตูระบายน้ำขนาดความกว้างบานระบายน้ำ 6 เมตรสูง 6 เมตร จำนวน 4 ช่อง เพื่อให้สามารถควบคุมระดับน้ำได้ตามที่กลุ่มเกษตรกรมีความต้องการและเป็นช่องทางในการสามารถระบายทรายที่สะสมทางด้านหน้าฝายได้ ประตูระบายน้ำฝายท่ากระดาน ได้รับงบประมาณ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2557 และดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จในเดือนสิงหาคม พุทธศักราช 2559 รวมระยะเวลาในการก่อสร้าง จำนวน 840 วัน ใช้งบประมาณ รวมทั้งสิ้น 176,100,000 บาท
       ทั้งนี้ ประตูระบายน้ำฝายท่ากระดาน จะเป็นแหล่งน้ำสำหรับการอุปโภคบริโภค และการเกษตร แก่พื้นที่ จำนวน 14,500 ไร่ รวม 12 หมู่บ้าน 3 ตำบลในเขต ตำบลท่าขุนราม ตำบลคลองแม่ลาย และตำบลนครชุม อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร โดยโครงการชลประทานกำแพงเพชรและกลุ่มผู้ใช้น้ำโครงการ ฝายท่ากระดาน จะเข้ามาบริหารจัดการน้ำอย่างมีส่วนร่วม

คำสำคัญ : ฝายท่ากระดาน ฝายน้ำล้น

ที่มา : https://www.bangkokbiznews.com/news/721261

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2565). ฝายท่ากระดาน. สืบค้น 2 พฤษภาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=2164&code_db=610002&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=2164&code_db=610002&code_type=01

Google search

Mic
อุโมงค์ใต้ดิน 32 ปล่อง

บริเวณด้านหลังวัดศรีโยธิน มีสิ่งมหัศจรรย์ที่แปลกและสำคัญย่ิงของตำบลหนองปลิง คืออุโมงค์ 32 ปล่อง บางท่านเรียกว่า 33 ปล่อง เพราะมีอุโมงค์ขนาดกลาง ขนาดเล็กและขนาดใหญ่จำนวนมาก พื้นหินเป็นศิลาแลงหนาประมาณ 1 เมตร ลึกลงไปในดินกว่า 3 เมตร มีช่องเดินต่อถึงกันทั้งหมด มีรูอากาศสำหรับหายใจ โดยทั่วไปมีเนื้อที่ประมาณ 3 ไร่เศษ มีตำนานเล่าขานกันหลายตำนาน

เผยแพร่เมื่อ 19-04-2019 ผู้เช้าชม 1,898

ริมน้ำปิง

ริมน้ำปิง

บรรยากาศริมน้ำปิง จังหวัดกำแพงเพชร เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจของคนกำแพงเพชร อีกหนึ่งสถานที่ ช่วงเวลายามเย็นจะมีประชาชนมาวิ่งออกกำลังกาย นั่งชมบรรยากาศริมปิง เดินทางมาเป็นครอบครัว เป็นคู่ และบริเวณแม่น้ำปิง ตรงข้ามกับสวนสิริจิตอุทยาน ยังมีบริการนวดผ่าเท้า เพื่อผ่อนคลายท่ามกลางบรรยากาศที่สวยงามยามเย็นอีกด้วย

เผยแพร่เมื่อ 14-03-2019 ผู้เช้าชม 1,586

เมืองไตรตรึงษ์

เมืองไตรตรึงษ์

เมืองไตรตรึงษ์ ตั้งอยู่ที่ตำบลไตรตรึงษ์ เป็นเมืองเก่าแก่ สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าไชยสิริกษัตริย์เชียงราย ซึ่งได้หนีข้าศึกจากเชียงรายลงมาสร้างเมืองนี้ขึ้น เมื่อ พ.ศ. 1542 ปัจจุบันโบราณสถานต่างๆ ทรุดโทรมลงมาก เหลือเพียงซากเจดีย์และเชิงเทินเท่านั้น

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 3,850

วัดป่าเขาเขียว (หลวงพ่อถัง)

วัดป่าเขาเขียว (หลวงพ่อถัง)

เป็นวัดที่มีชื่อเสียงโด่งดังในด้านความเชื่อและศรัทราของประชาชนในจังหวัดกำแพงเพชร และจังหวัดใกล้เคียง โดยมีเจ้าอาวาสชื่อ พระครูสังฆรักษ์ ปัญญาสีลโชโต (ธ) หรือเป็นที่รู้จักกันดีในชื่อ "หลวงพ่อถัง" ชาวบ้านมีความเชื่อว่าท่านเจ้าอาวาสมีความสามารถพิเศษในการลงยันต์ และเสกคาถาอาคมลงบนถังตวงข้าวสาร หากใครนำไปบูชาแล้วจะทำมาค้าขายดี

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 2,343

อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร

อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร

กรมศิลปากรได้ดำเนินการคุ้มครองป้องกันโบราณสถานเมืองกำแพงเพชรและเมือนครชุม โดยการประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติ เมื่อ พ.ศ. 2478 และ พ.ศ. 2480 ต่อมาได้ประกาศขึ้นทะเบียนกำหนดขอบเขตอีกครั้งหนึ่งในปี พ.ศ. 2511 ในส่วนของการขุดแต่ง บูรณะ และพัฒนาโบราณสถาน ได้เริ่มดำเนินการครั้งแรก เมื่อพ.ศ. 2508 จนถึง พ.ศ. 2525 กรมศิลปากรจึงได้บรรจุงานปรับปรุงโบราณสถานเมืองกำแพงเพชรในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 5 (2525-2529) โดยใช้ชื่อ โครงการอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร มุ่งเน้นการอนุรักษ์และพัฒนากลุ่มโบราณสถานทั้งภายในเมืองเนื้อที่ 503 ไร่ และเขตอรัญญิก เนื้อที่ 1,611 ไร่ เพื่อป้องกันมิให้ถูกทำลายหรือเสื่อมค่า

เผยแพร่เมื่อ 02-02-2017 ผู้เช้าชม 2,136

กำแพงป้อมทุ่งเศรษฐี

กำแพงป้อมทุ่งเศรษฐี

ป้อมทุ่งเศรษฐี เป็นสถานที่ท่องเที่ยวเมืองกำแพงเพชร มีลักษณะเป็นป้อมปราการรูปสี่เหลี่ยม สร้างด้วยก้อนศิลาแลง ตั้งอยู่บนถนนพหลโยธิน ก่อนถึงตัวเมืองกำแพงเพชรเล็กน้อย จะเห็นกำแพงศิลาแลงเป็นป้อม มีใบเสมาเหลืออยู่ ป้อมก่อด้วยศิลาแลงกว้าง 83.5 เมตร รูปสี่เหลี่ยมสูงประมาณ 6 เมตร มีประตูทางเข้าตรงกลางป้อม 4 ด้าน ทางด้านในมีเชิงเทินพอเดินหลีกกันได้ ตรงฐานป้อมใต้เชิงเทินเป็นห้องมีทางเดินต่อต่อกันได้ ตรงมุมมีป้อมยื่นออก 4 มุม มีรูมองอยู่ติดกับพื้น 

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 4,236

สิริจิตอุทยาน

สิริจิตอุทยาน

สิริจิตอุทยาน เป็นสวนสาธารณะเอนกประสงค์ริมฝั่งแม่น้ำปิง มีเนื้อที่ 170 ไร่ ประกอบด้วยสนามเด็กเล่น สวนสุขภาพ ศาลาพักผ่อน สวนไม้ดอกไม้ประดับปลูก และลานอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย ซึ่งสร้างเป็นเรือนไทย มีการแสดงวิถีชีวิตความเป็นอยู่แบบไทยประจำท้องถิ่นที่ลานเวทีกลางแจ้ง และมีการจำหน่ายสินค้าโครงการ "หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์" ของชุมชนในเขตเทศบาลเมืองอีกด้วย

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 1,296

ศาลหลักเมืองกำแพงเพชร

ศาลหลักเมืองกำแพงเพชร

ศาลหลักเมืองกำแพงเพชร เป็นศาลที่เก่าแก่มานานกว่า 700 ปี เชื่อกันว่าพระเจ้าวรมันต์(เหม่) ผู้เรืองอำนาจเป็นผู้ก่อสร้างขึ้น ทำด้วยศิลาแลงรูปกลม ยาวประมาณ 2 เมตร ผังโผล่พื้นมาประมาณ 1 เมตร มีรูปเศียรเทพารักษ์อยู่บนยอดศิลาแลง ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หลังคาศาลได้พังลงมาทับเสาหลักเมืองและเศียรเทพารักษ์ หลังจากนั้นก็อยู่ในสภาพรกร้างมานาน และเมื่อปี พ.ศ. 2527 สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมารเสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ ประกอบพิธีเจิมเสาหลักเมือง เมื่อวันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2527 และมีพิธีเชิญเสาหลักเมืองและเศียรเทพารักษ์ขึ้นศาล เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2527

เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 2,586

มอกล้วยไข่

มอกล้วยไข่

มอกล้วยไข่ เป็นชื่อเรียกตลาดกล้วยไข่ของจังหวัดกำแพงเพชร ซึ่งถือว่าเป็นแหล่งจำหน่ายกล้วยไข่ที่ใหญ่ที่สุดของประเทศไทยเลยก็ว่าได้ครับ มีผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับกล้วยไข่ หลากหลาย ทั้ง เป็นหวี เป็นเครือ กล้วยฉาบ กล้วยแปรรูปต่างๆ หรือจะเลือกซื้อ แบบที่เป็นต้นไปปลุกก็มีจำหน่ายกันด้วย ถือว่าเป็นแหล่งกล้วยไข่และ ของฝากที่น่าสนใจไม่น้อย

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 3,583

ตลาดย้อนยุคนครชุม

ตลาดย้อนยุคนครชุม

บรรยากาศตลาดแบบย้อนยุคภายในตลาดจะมีพ่อค้า แม่ค้าแต่งกายด้วย ชุดไทยนำอาหารที่เป็นเอกลักษณ์ของชาวนครชุมหรือ ร่วมสมัยวางจำหน่ายรวมถึงศิลปหัตถกรรม อาทิ การจักสานไม้ไผ่ งานผีมือใบตองหรือการวาดรูป ระบายสี มุ่งเน้นการ แต่งกายพื้นบ้าน หรือวัฒนธรรมร่วมสมัยสร้างสำนึกในการมีส่วนร่วมของประชาชน พร้อมทั้งสร้างแหล่งเรียนรู้ปลูกฝังจิตสำนึกให้แก่เยาวชนรุ่นลูกๆ หลานๆ

เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 2,288