ตะคร้อ

ตะคร้อ

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้ชม 22,474

[16.5055083, 99.509574, ตะคร้อ]

ตะคร้อ ชื่อสามัญ Ceylon oak
ตะคร้อ ชื่อวิทยาศาสตร์ Schleichera oleosa (Lour.) Merr.[2] (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Pistacia oleosa Lour., Schleichera oleosa (Lour.) Oken[1]) จัดอยู่ในวงศ์เงาะ (SAPINDACEAE)
ตะคร้อ มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า กาซ้อง คอส้ม (เลย), เคาะ (นครพนม, พิษณุโลก), ค้อ (กาญจนบุรี), เคาะจ้ก มะเคาะ มะจ้ก มะโจ้ก (ภาคเหนือ), ตะคร้อไข่ (ภาคกลาง), ซะอู่เสก (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), กาซ้อ คุ้ย (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี), ปั้นรั้ว (เขมร-สุรินทร์), ปั้นโรง (เขมร-บุรีรัมย์), บักค้อ ตะค้อ หมากค้อ เป็นต้น

ลักษณะของตะคร้อ
         ต้นตะคร้อ
 มีเขตการกระจายพันธุ์อยู่ทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันตกเฉียงใต้ ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศไทย ในต่างประเทศสามารถพบได้ที่ประเทศอินเดีย ศรีลังกา ภูมิภาคอินโดจีนและอินโดนีเซีย โดยจัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ มีความสูงของต้นประมาณ 15-25 เมตร แตกกิ่งก้านต่ำ เรือนยอดมีลักษณะเป็นทรงพุ่มแผ่กว้าง กิ่งก้านมักคดงอ ลำต้นเป็นปุ่มปมและพูพอน เปลือกลำต้นเป็นสีน้ำตาลแดงหรือเป็นสีน้ำตาลเทา เปลือกแตกเป็นสะเก็ดหนา ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด โดยสามารถพบได้ตามป่าผลัดใบ ป่าดิบเขา และตามป่าเบญจพรรณทั่วไป ที่ระดับความสูงถึง 1,200 เมตร
           
ใบตะคร้อ ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก ปลายใบออกเป็นคู่ออกเรียงเวียนสลับเป็นกลุ่มตามปลายกิ่ง ใบย่อยติดเรียงตรงข้ามหรืออาจเยื้องกันเล็กน้อยประมาณ 1-4 คู่ โดยใบคู่ปลายสุดของช่อใบจะมีขนาดใหญ่และยาวที่สุด ลักษณะของใบย่อยเป็นรูปรี หรือรูปรีขอบขนาน ปลายใบมนหรือหยัก มีหางสั้น ๆ หรือติ่งสั้น ๆ โคนใบมนหรือสอบและมักเบี้ยว ส่วนขอบใบเรียบเป็นคลื่น ใบมีขนาดกว้างประมาณ 4.5-12 เซนติเมตรและยาวประมาณ 8-25 เซนติเมตร แผ่นใบค่อนข้างหนาเรียบและเป็นคลื่นเล็กน้อย มองเห็นเส้นใบได้ชัดเจน เส้นแขนงใบมีประมาณ 8-16 คู่ ปลายเส้นจรดกันก่อนถึงขอบใบ ก้านใบย่อยจะสั้นมาก ส่วนก้านช่อใบยาวประมาณ 5-10 เซนติเมตร โดยใบอ่อนมีขนเล็กน้อยตามเส้นใบ
            
ดอกตะคร้อ ออกดอกเป็นช่อปลายยอดหรือตามซอกใบ ช่อดอกมีความยาวประมาณ 20-30 เซนติเมตร และช่อดอกมีลักษณะเป็นพวงแบบหางกระรอกห้อยลง ดอกย่อยมีขนาดเล็กเป็นสีขาวหรือสีเหลืองอ่อน ๆ กลีบเลี้ยงหรือกลีบรวมมีขนาดเล็กมาก มีแฉกแหลม 5 แฉก ดอกไม่มีกลีบดอก มีเกสรเพศผู้ประมาณ 6-8 ก้าน ส่วนรังไข่มีลักษณะกลมและมี 3 ช่อง ในแต่ละช่องจะมีออวุล 1 ออวุล เกสรเพศเมียส่วนปลายแยกเป็นแฉก 3 แฉก โดยจะออกดอกในช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนเมษายน

              ผลตะคร้อ ลักษณะของผลเป็นรูปทรงกลม มีขนาดประมาณ 2-3 เซนติเมตร ปลายผลเป็นจะงอยแหลมและแข็ง เปลือกผลหนาคล้ายแผ่นหนัง ผิวผลเกลี้ยงเป็นสีเขียวอมน้ำตาลหรือเป็นสีน้ำตาล ภายในผลมีเมล็ด 1-2 เมล็ด มีเนื้อหุ้มเมล็ดใสสีเหลือง ลักษณะฉ่ำน้ำ และมีรสเปรี้ยว ใช้รับประทานได้ โดยจะออกผลในช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนกรกฎาคม

สรรพคุณของตะคร้อ
1. ราก เปลือกราก หรือทั้งห้าส่วนเป็นยาแก้กษัย (ราก, เปลือกราก)
2. ใช้ใบเป็นยาแก้ไข้ โดยใบแก่นำมาขยี้กับน้ำแล้วนำมาเช็ดตัว (ใบแก่)
3. เนื้อผลเป็นยาระบาย รับประทานมากไปจะทำให้ท้องเสียได้ (เนื้อผล)
4. เปลือกต้นเป็นยาสมานท้อง (เปลือกต้น)
5. ช่วยแก้อาการท้องร่วง (เปลือกต้น)[1],[2],[5]บ้างว่าใช้แก้บิด มูกเลือดได้ด้วย โดยนำเปลือกต้นมาตำกิน (เปลือกต้น)
6. เปลือกต้นตะคร้อนำมาแช่กับน้ำดื่มแก้อาการท้องเสีย โดยใช้ร่วมกับเปลือกต้นมะกอก เปลือกต้นเป๋ยเบาะ เปลือกต้นตะคร้ำ (เปลือกต้น)
7. ช่วยขับปัสสาวะ (ทั้งห้า)
8. ทั้งห้าส่วนเป็นยาแก้ริดสีดวงภายนอกและภายใน (ทั้งห้า)
9. น้ำต้มจากเปลือกต้นตะคร้อช่วยรักษาอาการปวดประจำเดือนได้ (Mahaptma and Sahoo, 2008) (เปลือกต้น)
10. ใบใช้ตำพอกรักษาฝี (ใบ)
11. ทั้งห้าส่วนเป็นยาแก้ฝีในกระดูก ปอด กระเพาะ ลำไส้ ตับ และม้าม (ทั้งห้า)
12. ใบแก่นำมาเคี้ยวให้ละเอียด ใช้ใส่แผลสดเพื่อปิดปากแผลไว้ จะช่วยห้ามเลือดได้ (ใบ)
13. ช่วยรักษาบาดแผลสดจากของมีคม ด้วยการนำเปลือกต้นบริเวณลำต้นที่วัดความสูงตามบาดแผลที่เกิด ขูดเอาเปลือกตะคร้อ นำมาผสมกับยาดำ (เส้นผม, ขนเพชร) แล้วนำมาพอกบริเวณบาดแผล (เปลือกต้น)
14. รากเป็นยาถอนพิษ เช่น อยากหยุดเหล้า ก็ให้นำน้ำต้มกับรากมาผสมกับเหล้าและใช้ดื่มตอนเมาจะทำให้ไม่อยากกินอีก ปริมาณการใช้เท่ากับราก 1 กำมือผู้กิน เหล้า 1 ก๊ง (ราก)
15. ใบใช้ปรุงเป็นยาถ่ายพิษฝี ถ่ายเส้น ถ่ายกษัย (ใบ)
16. รากหรือเปลือกรากช่วยทำให้เส้นเอ็นหย่อน แก้เส้นเอ็น ช่วยถ่ายฝีภายใน (ราก, เปลือก)
17. เปลือกนำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้ฝีหนอง (ส่วนแก่นตะคร้อก็ใช้ได้เช่นกัน) (เปลือก)
18. น้ำมันจากเมล็ดสามารถนำมาใช้นวดแก้อาการปวดไขข้อได้ (Palanuvej and Vipunngeun, 2008) (น้ำมันจากเมล็ด)
19. น้ำมันจากเมล็ดตะคร้อ ช่วยแก้ผมร่วง (น้ำมันจากเมล็ด)
20. น้ำมันสกัดจากเมล็ดสามารถนำมาใช้รักษาอาการคัน สิว แผลไหม้ได้ (Palanuvej and Vipunngeun, 2008) (น้ำมันจากเมล็ด)

ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของตะคร้อ
       มีการศึกษาฤทธิ์ของสารสกัดจากเปลือกและลำต้นของต้นตะคร้อพบว่า สามารถช่วยลดการเกิดอนุมูลอิสระที่เป็นสาเหตุของการตายของเซลล์มะเร็งได้ (Pettit et al.,2000, Thind et al., 2010) และมีฤทธิ์ในต้านการเจริญเติบโตของเชื้อราและแบคทีเรีย (Ghosh et al., 2011)

ประโยชน์ของตะคร้อ
1. ผลสุกหรือเนื้อหุ้มเมล็ดใสสีเหลืองและฉ่ำน้ำ มีรสเปรี้ยว ใช้รับประทานเป็นผลไม้ได้ โดยจะนิยมรับประทานกันมากในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และเนื่องจากเนื้อผลมีฤทธิ์เป็นยาระบาย การรับประทานมากเกินไปอาจทำให้ท้องเสียได้[1],[2],[4],[6] หรือนำผลมารับประทานจิ้มกับเกลือหรือนำมาซั่วกิน ส่วนผลที่หวานมากก็นำมากินกับข้าวได้ ส่วนเปลือกผลส่วนก้นสามารถนำมาตำใส่เปลือก ผสมกับเนื้อ หรือนำมาตำเหมือนตำส้มตำ[9] นอกจากนี้ยังสามารถนำผลมาทำเป็นอาหารหวานได้อีกหลายชนิด เช่น ตะคร้อแก้ว น้ำตะคร้อ ลูกกวาดตะคร้อ แยม ไวน์ เป็นต้น
2. เปลือกต้นนำมาขูดเอาแต่เนื้อเปลือกตำใส่มดแดง (เปลือกนางกินกับตำเหมี่ยงโค่น กินกับใบส้มกบ ส้มลม ตำใส่เครื่องข่าตะไคร้ พริก)
3. ใบอ่อนตะคร้อสามารถนำมาใช้รับประทานเป็นผักแกล้มกับอาหารอีสานได้
4. เมล็ดใช้รับประทานได้แต่อย่าเกิน 3 เม็ด เพราะจะทำให้เมา หรือที่นิยมก็คือนำมาสกัดทำเป็นน้ำมันสำหรับเป็นยาสมุนไพร หรือใช้เป็นน้ำมันสำหรับจุดประทีป
5. เปลือกนอกของต้นนำมาขูดผสมกับเกลือ ใช้เป็นยารักษาสัตว์ (ไม่ได้ระบุว่าใช้รักษาอะไร)
6. เปลือกต้นใช้สกัดทำเป็นสีย้อมได้ โดยสีที่ได้คือสีน้ำตาล ส่วนเปลือกตะคร้อผสมกับเปลือกก่อจะให้สีกากี
7. เนื้อไม้ตะคร้อสามารถนำมาใช้ในงานอุตสาหกรรมไม้ทั่วไปได้ ทำเฟอร์นิเจอร์ ใช้ทำไม้เสาเรือนบ้าน อาคารบ้านเรือน ด้ามเครื่องมือ ตะลุมพุก ลูกหีบน้ำมัน ลูกหีบอ้อย ทำเขียง ครก สาก สากตำข้าว กระเดื่อง ฟันสีข้าว ดุมล้อเกวียน ส่วนประกอบของล้อเกวียน ฯลฯ (แต่ต้องเป็นต้นมีอายุมากหน่อย) หรือนำมาใช้ทำเป็นเชื้อเพลิง ทำฟืนและถ่านชนิดดี
8. ผลสุกมีรสเปรี้ยวอมหวาน สามารถนำมาใช้ทำเป็นผลิตภัณฑ์สำหรับล้างจาน ล้างห้องน้ำได้
9. ต้นตะคร้อใช้เป็นต้นไม้เพาะเลี้ยงครั่งได้ดี ซึ่งในประเทศอินเดียมีการใช้มานานแล้ว
10. ต้นตะคร้อสามารถนำมาใช้ปลูกเพื่อเป็นไม้ให้ร่มเงาได้ดี เพราะพุ่มใบมีลักษณะหนาทึบ เหมาะสำหรับการปลูกในพื้นที่กว้าง อีกทั้งยังช่วยดึงดูดนกได้อีกด้วย

คำสำคัญ : สมุนไพร

ที่มา : กมลทิพย์ ประเทศ และคนอื่นๆ. (2543). การสำรวจพรรณไม้ในอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2561). ตะคร้อ. สืบค้น 29 เมษายน 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=85&code_db=610010&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=85&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

พุดตาน

พุดตาน

พุดตาน มีถิ่นกำเนิดมาจากประเทศจีน ชาวจีนเชื่อว่าต้นพุดตานเป็นไม้มงคล เพราะดอกพุดตานสามารถเปลี่ยนสีได้ถึง 3 สีภายในวันเดียว เปรียบเสมือนของชีวิตคนที่เริ่มต้นเหมือนเด็กที่เป็นผ้าขาว แล้วค่อย ๆ เจริญเติบโตพร้อมกับสีสันที่แต่งแต้มขึ้นมา เมื่ออายุมากขึ้นก็พร้อมที่จะเปลี่ยนสีเป็นสีเข้มจนกระทั่งได้ร่วงโรยลงไป เชื่อว่าต้นพุดตานนี้ได้มีการนำเข้ามาปลูกในประเทศไทยในช่วงสมัยรัตนโกสินทร์ ซึ่งเป็นช่วงค้าขายกับชาวจีน โดยจัดเป็นพรรณไม้พุ่มที่มีความสูงประมาณ 5 เมตร ต้นและกิ่งมีขนสีเทา ต้นพุดตานชอบอยู่กลางแจ้ง ชอบแสงแดดจัด ๆ ไม่ชอบที่มีน้ำขังหรือที่แฉะ เจริญเติบโตได้ดีในที่ดอน มีดินร่วนซุย ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการตอนกิ่งและวิธีการปักชำ

เผยแพร่เมื่อ 16-07-2020 ผู้เช้าชม 6,740

ผักปลาบใบแคบ

ผักปลาบใบแคบ

ลักษณะทั่วไป  เป็นพืชล้มลุก สามารถเจริญเติบโตโดยอยู่ข้ามปีได้ มีลำต้นทอดเลื้อยไปตามพื้นดิน ลำต้นกลม เรียบหรือมีขนเล็กน้อย อวบน้ำ จะชูส่วนปลายยอด แตกแขนงบริเวณโคนต้น รากฝอยแตกออกตามข้อของลำต้น  ใบเป็นใบเดี่ยวออกจากลำต้นแบบสลับ ใบรูปร่างยาวรีรูปหยก ปลายใบแหลมไม่มีก้านใบ ฐานใบเรียวและแผ่ออกเป็นกาบห่อหุ้มลำต้น ใบกว้าง 1-2 ซม. ยาว 4-7 ซม.  ดอกออกเป็นช่อชนิดไซม์ บนก้านช่อดอกจะมีใบประดับดอก สีเขียวคล้ายใบเป็นแผ่นกลม หรือรูปหัวใจห่อหุ้มดอกเอาไว้ ช่อดอกแตกออกเป็น 2 กิ่ง กิ่งบนมีดอกย่อย 1-3 ดอก ก้านดอกยาว กิ่งล่างมีดอกย่อย 2-5ดอก ก้านดอกสั้น ดอกย่อยแต่ละดอกจะมีกลีบดอกด้านล่าง มีเกสรตัวผู้ 6 อัน เป็นหมัน 4 อัน เกสรตัวเมียมีท่อรังไข่ยาวสีขาว

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 5,081

ต้อยติ่ง

ต้อยติ่ง

ต้นต้อยติ่ง จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุก มีลำต้นสูงประมาณ 20-30 เซนติเมตร (ถ้าเป็นต้อยติ่งไทยจะมีความสูงประมาณ 60-100 เซนติเมตร) ตามลำต้นจะมีขนอ่อน ๆ ขึ้นปกคลุมอยู่เล็กน้อย ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด เป็นพรรณไม้ที่ขึ้นได้ง่ายตามที่รกร้างว่างเปล่าทั่วไป สามารถเพาะปลูกได้ง่าย จึงนิยมนำมาปลูกไว้ตามหน้าบ้าน ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงกันเป็นคู่ ๆ ไปตามข้อของลำต้น แผ่นใบมีสีเขียว ลักษณะใบเป็นรูปมนรี ปลายใบมน โคนใบแหลม ส่วนขอบใบเรียบไม่มีจักและอาจมีคลื่นเล็กน้อย ใบมีขนาดกว้าง

เผยแพร่เมื่อ 01-06-2020 ผู้เช้าชม 15,875

ดาวเรือง

ดาวเรือง

ดาวเรือง (African Marigold) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกไม้ล้มลุกขนาดเล็ก ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ภาคเหนือเรียก คำปู้จู้หลวง ส่วนกะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอนเรียก พอทู เป็นต้น ซึ่งดอกดาวเรืองนั้นถือได้ว่าเป็นดอกไม้ประจำจังหวัดสมุทรปราการ มีหลากหลายสายพันธุ์ โดยในประเทศไทยของเรานั้นจะนิยมใช้ดอกดาวเรืองพันธุ์ซอเวอร์เรนมาใช้ประโยชน์ทางด้านการค้า เนื่องจากมีดอกที่ใหญ่ดูสวย โดยขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดเป็นหลักจะได้ต้นใหญ่สวย หรือจะปักชำก็ได้แต่ต้นที่ได้จะมีขนาดเล็กกว่า เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนเพราะระบายน้ำได้ดี

เผยแพร่เมื่อ 08-05-2020 ผู้เช้าชม 3,612

กล้วยหักมุก

กล้วยหักมุก

สำหรับกล้วยหักมุกนั้นเป็นกล้วยที่สามารถเจริญเติบโตได้ดีในที่ดอน และไม่ชอบน้ำมาก ลำต้นสูงประมาณ 2.5-3.5 เมตร มีเส้นผ่านศูนย์กลางมากกว่า 15 เซนติเมตร กาบด้านในสีเขียวอ่อน ส่วนด้านนอกมีประดำเล็กน้อย บริเวณก้านใบมีร่องแคบ มีครีบ ใช้ทำเป็นใบตองได้ดี ส่วนดอกนั้นจะออกเป็นช่อ ปลีรูปไข่แบบป้อมๆ ม้วนงอขึ้นด้านบน และเมื่อออกผลใน 1 เครือ จะมีอยู่ประมาณ 7 หวี และในหวีหนึ่งๆ จะมีประมาณ 10-16 ผลใหญ่ ก้านผลจะยาว ปลายลีบลง เหลี่ยมค่อนข้างชัด เปลือกค่อนข้างหนา เมื่อดิบเป็นสีเขียว หากสุกแล้วจะเป็นสีเหลืองอมน้ำตาล เนื้อในสีส้ม

เผยแพร่เมื่อ 29-04-2020 ผู้เช้าชม 26,922

มะกล่ำตาช้าง

มะกล่ำตาช้าง

มะกล่ำตาช้าง, มะกล่ำต้น, มะแค้ก, หมากแค้ก, มะแดง, มะหัวแดง หรือ มะโหกแดง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Adenanthera pavonina) เป็นไม้ยืนต้นในวงศ์ Leguminasae วงศ์ย่อย Mimosoideae โคนต้นมีพูพอน ผิวเรียบ สีเทาอมน้ำตาล ใบประกอบแบบขนนกสองชั้น ใบย่อยรูปไข่ ดอกช่อแบบแตกแขนง เกสรตัวผู้สีเหลืองจำนวนมาก เห็นเป็นพู่ ผลเดี่ยว เป็นฝักแบน ยาวขดเป็นวง เมื่ออ่อนสีเขียวอ่อน สุกแล้วสีน้ำตาล เป็นผลแห้ง แตกตามตะเข็บ เมล็ดแบนสีแดง

เผยแพร่เมื่อ 23-02-2017 ผู้เช้าชม 3,087

เกล็ดมังกร

เกล็ดมังกร

ต้นเกล็ดมังกร จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุกที่มีลำต้นพันหรือเลื้อยเกาะยึดไปตามต้นไม้อื่นๆ ย้อยห้อยเป็นสายลงมา ยาวประมาณ 10-50 เซนติเมตร มีรากตามลำต้น ทุกส่วนของต้นมีน้ำยางสีขาวเหมือนน้ำนม ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด เป็นพรรณไม้ที่มักพบขึ้นตามบริเวณป่าเบญจพรรณหรือตามป่าทั่วๆ ไป มีเขตการกระจายพันธุ์อยู่ทั่วทุกภาคของประเทศ ในต่างประเทศพบได้ที่มาเลเซีย

เผยแพร่เมื่อ 18-05-2020 ผู้เช้าชม 3,759

อีเหนียว

อีเหนียว

อีเหนียว จัดเป็นไม้พุ่ม ลำต้นตั้งตรง มีความสูงของต้นประมาณ 60-150 เซนติเมตร กิ่งก้านอ่อน แตกกิ่งก้านที่ปลาย ตามลำต้นมีขนปกคลุมหนาแน่นถึงปานกลาง มีขนาดยาวประมาณ 1 มิลลิเมตร มีเขตการกระจายพันธุ์แอฟริกา เอเชีย มาเลเซีย และพบในทุกภาคของประเทศไทยตามป่าโปร่งทั่วไป ป่าเปิดใหม่ ที่ระดับสูงถึง 1,900 เมตร จากระดับน้ำทะเล

เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 2,437

จิก

จิก

จิก (Indian oak) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกต้น ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ภาคใต้เรียก จิกนา ส่วนหนองคายเรียก กระโดนน้ำ หรือกระโดนทุ่ง ภาคเหนือเรียก ดอง และเขมรเรียก เรียง เป็นต้น มักขึ้นในพื้นที่ชุ่มน้ำ ทนต่อภาวะน้ำท่วมขังได้เป็นอย่างดี ส่วนใหญ่มักนำไปต้นจิกนี้ไปปลูกอยู่ริมน้ำหรือในสวน ด้วยเพราะมีช่อดอกที่มีสวยงามมองแล้วสดชื่น

เผยแพร่เมื่อ 08-05-2020 ผู้เช้าชม 2,856

ยอเถื่อน

ยอเถื่อน

ลักษณะทั่วไป  เป็นไม้ยืนต้น สูง 15 เมตร  ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปวงรี  กว้าง 5-10 ซม. ยาว 10-20 ซม. หูใบอยู่ระหว่างก้านใบ ดอกช่อ ออกเป็นก้อนทรงกลมที่ซอกใบ กลีบดอกสีขาว ผลเป็นผลรวม รูปกลม  การขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดประโยชน์    สมุนไพร ตำรายาไทยใช้ ราก แก้เบาหวาน แก่นต้มน้ำดื่ม บำรุงเลือด ผลอ่อน แก้อาเจียน ผลสุก ขับระดู ขับลม ใบ อังไฟพอ ตายนึ่งปิดหน้าอก หน้าท้อง แก้ไอ แก้จุกเสียด หรือตำพอกศีรษะฆ่าเหา

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 2,163