ภูมิปัญญาการแต่งกาย : ม้ง

ภูมิปัญญาการแต่งกาย : ม้ง

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้ชม 5,279

[16.121008, 99.3294759, ภูมิปัญญาการแต่งกาย : ม้ง]

ลักษณะการแต่งกายของม้งขาว หรือ ม้งด๊าว
       ลักษณะการแต่งกายของม้งขาว หรือ ม้งด๊าว
       ชาย: ตัวเสื้อจะเป็นผ้ากำมะหยี่ เสื้อแขนยาวจรดข้อมือ ชายเสื้อจะยาวคลุมเอว ด้านหน้ามีสาบเสื้อสองข้างลงมาตลอดแนว สายเสื้อลงไปยังชายเสื้อ ด้านหลัง มักจะปักลวดลายสวยงามด้วย ปัจจุบันนิยมใส่ซิปลงขอบ สาบเสื้อ เพื่อสะดวกในการใส่ ส่วนกางเกงจะสวมใส่กางเกงขาก๊วย หรือกางเกงจีนเป้าตื้นขาบาน มีลวดลายน้อย และใส่ผ้าพันเอวสีแดง คาดทับกางเกง และอาจมีเข็มขัดเงินคาดทับอีกชั้นหนึ่งด้วยเหมือนกัน
        หญิง: ตัวเสื้อจะเป็นผ้ากำมะหยี่ เสื้ออาจจะเป็นสีน้ำเงินเข้มหรือดำ แต่ปัจจุบันก็มี การเปลี่ยนแปลงให้มีหลากสีมากขึ้น เป็นเสื้อแขนยาว ซึ่งที่ปลายแขนนี้มีการปักลวดลายใส่ด้านหน้ามีสาบเสื้อสองข้างลงมา และมีการปักลวดลายใส่ด้วย การแต่งกายของหญิงม้งขาว (ม้งเด๊อะ) เดิมจะสวมกระโปรงจีบรอบตัวสีขาวล้วนไม่มีการปักลวดลายใดๆ เมื่อสวมใส่จะปล่อยรอยผ่าไว้ด้านหน้าพร้อมกับมีผ้าสี่เหลี่ยมยาวปักลวดลาย ปิดทับรอยผ่า มีผ้าแถบสีแดงคาดเอวไว้ชั้นหนึ่ง โดยผูกปล่อยชายเป็นหางไว้ด้านหลัง ปัจจุบันนิยมใส่กระโปรงสีขาวเฉพาะงานสำคัญเท่านั้น เพราะกระโปรงขาวเปรอะเปื้อนได้ง่าย จึงหันมานิยมสวมกางเกงทรงจีนกับเสื้อแทนกระโปรง และมีผ้าสี่เหลี่ยมผืนยาวห้อยลงทั้งด้านหน้าและหลัง ผ้านี้มักจะปักลวดลายสวยงามมีผ้าแถบสีแดงคาดเอว สำหรับเครื่องโพกผมของหญิงม้งขาวนั้น นิยมพันมวยผมคล้อยมาด้านหน้า และใช้ผ้าสีดำโพกผมเป็นวงรอบศีรษะ โดยมีการปักลวดลายไว้ด้วย นอกจากนี้ยังมีเครื่องประดับอื่นประกอบเพิ่มเติม ซึ่งมักจะสวมใส่กันในงานสำคัญจำพวกเครื่องเงิน กำไลคอ กำไลข้อมือ ตุ้มหู แหวน รวมทั้งเหรียญเงินขนาดต่างๆ ทั้งรูปวงกลม และสามเหลี่ยม ที่ประดับตามเสื้อผ้าแพรพรรณ รวมทั้งสายสะพายปักลวดลายสวยงาม เวลาใช้จะสะพายไหล่เฉียงสลับกันสองข้าง

ลักษณะการแต่งกายของม้งดำ และ ม้งกั๊วมะบา
        ลักษณะการแต่งกายของม้งดำ และ ม้งกั๊วมะบา
        ชาย: เสื้อแขนยาวจรดข้อมือ แต่ชายเสื้อระดับเอว ปกสาบเสื้อด้านขวาจะป้ายเลยมาทับซีกซ้ายของตัวเสื้อตลอดจนแนวสาบเสื้อจะใช้ด้ายสี และผ้าสีปักลวดลายต่างๆ สะดุดตา กางเกงสีเดียวกับเสื้อ มีลักษณะขากว้างมากแต่ปลายขาแคบลง ส่วนที่เห็นได้เด่นชัดคือ เป้ากางเกงจะหย่อนลงมาจนต่ำกว่าระดับเข่า รอบเอวจะมี ผ้าสีแดงพันทับกางเกงไว้ซึ่งชายผ้าทั้งสองข้างปักลวดลายสวยงาม อยู่ด้านหน้า และนิยมคาดเข็มขัดทับผ้าแดงไว้
        หญิง: ปัจจุบันเสื้อม้งเขียวหรือม้งดำจะทำให้มีหลากหลายสีมากขึ้นเหมือนกัน ชายเสื้อยาวจะถูกปิดด้วยกระโปรงเวลาสวมใส่ สาบเสื้อทั้งสองข้างจะปักลวดลาย หรือขลิบด้วยผ้าสี ตัวกระโปรงจีบเป็นรอบ ทำเป็นลวดลายต่างๆ ทั้งการปัก และย้อมรอยผ่าของกระโปรงอยู่ด้านหน้า มีผ้าเหลี่ยมผืนยาวปักลวดลายปิดรอยผ่า และมีผ้าสีแดงคาดเอวทับอีกทีหนึ่ง โดยผูกปล่อยชาย เป็นหางไว้ด้านหลัง สำหรับกระโปรงนี้จะใส่ในทุกโอกาส และในอดีตนิยม พันแข้งด้วยผ้าสีดำอย่างประณีตซ้อนเหลื่อมเป็นชั้นๆ ปัจจุบันก็ไม่ค่อย นิยมใส่กันแล้ว ผู้หญิงม้งดำนิยมพันผมเป็นมวยไว้กลางกระหม่อม และมีช้องผมมวยซึ่งทำมาจากหางม้าพันเสริมให้มวยผมใหญ่ขึ้นใช้ผ้าแถบเป็นตาข่าย สีดำพันมวยผมแล้วประดับด้วยลูกปัดสีสวยๆ ส่วนเครื่องประดับเพิ่มเติมนั้น มีลักษณะเหมือนกับม้งขาว

ภาพโดย : http://www.sawadee.co.th/thailand/hilltribes/lahu.html

คำสำคัญ : เครื่องแต่งกาย

ที่มา : http://www.sawadee.co.th/thailand/hilltribes/lahu.html

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2560). ภูมิปัญญาการแต่งกาย : ม้ง. สืบค้น 28 เมษายน 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=410&code_db=610007&code_type=05

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=410&code_db=610007&code_type=05

Google search

Mic

การแต่งกายของชนเผ่ามละ

การแต่งกายของชนเผ่ามละ

มาลาบรี (มละ) หรือ ผีตองเหลือง ชนกลุ่มนี้เรียก ตัวเองว่า “คนป่า” หรือ “มลาบรี” ไม่ชอบถูกเรียกว่า “ผีตองเหลือง” แต่ที่ผู้คนในที่ราบ คุ้นเคยกับคำว่า “ผีตองเหลือง” อาจเนื่องมาจากคนป่ากลุ่มนี้ มักชอบหายตัวไปอย่างว่องไว เมื่อเผชิญกับคนแปลกหน้าจะทิ้งไว้เพียงเพิงพัก ซึ่งมุงด้วยใบตองกล้วยป่าที่ผ่านการใช้งานมาหลายวัน จนใบตองเปลี่ยนจากสีเขียว จนเป็นสีเหลือง มลาบรีเป็นกลุ่มชาติพันธุ์มองโกลอยด์ดั้งเดิม 

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 1,696

ทีลูคะ (ลายบอกนํ้าเต้า)

ทีลูคะ (ลายบอกนํ้าเต้า)

ลักษณะการวางลายเสื้อผู้หญิง สะกอจะปักตกแต่งบริเวณชายเสื้อ ด้านล่างการผสมผสานลาย มักใช้ลายลูกเดือยเป็นแนวกำหนดก่อน เพื่อให้ได้ช่องว่างที่จะเป็นแนวปักลวดลายชัดขึ้นจากนั้นจึงปักลงไป

เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 715

ลายดอกไม้

ลายดอกไม้

ในครั้งนี้ กองศิลปาชีพ สำนักราชเลขาธิการ ในพระองค์สมเด็จพระบรมราชินีนาถ ได้นำส่งเงินค่าผลิตภัณฑ์ผ้าปักชาวเขาแก่สมาชิกศิลปาชีพ จำนวน 356 คน รวมเป็นเงิน 1,828,550.-บาท (หนึ่งล้านแปดแสนสองหมื่นแปดพันห้าร้อยห้าสิบบาทถ้วน) ซึ่งก่อให้เกิดประโยชน์สร้างรายได้ให้แก่ครอบครัวสมาชิกได้ในระดับหนึ่ง ตามพระราชเสาวนีย์ของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 1,041

กลุ่มสตรีทอผ้าพื้นเมืองย้อมสีธรรมชาติบ้านชัยมงคล

กลุ่มสตรีทอผ้าพื้นเมืองย้อมสีธรรมชาติบ้านชัยมงคล

จัดตั้งกลุ่มเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2542 มีสมาชิกก่อตั้ง 6 คนมีกี่ทอผ้า 3 ตัวโดยใช้อาคารกลุ่มออมทรัพย์เป็นที่ตั้งทำการชั่วคราวสมาชิกลงทุนคนละ 1850 บาทสมาชิกกลุ่มได้รวมตัวกันจ้างครูฝึกสอนจาก อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย มาฝึกสอน 1 เดือนโดยใช้ ส่วนตัวของสมาชิก ปัจจุบันมีสถานที่ทำการกลุ่มจากกองทุนชุมชน

เผยแพร่เมื่อ 16-08-2020 ผู้เช้าชม 1,278

ภูมิปัญญาการแต่งกาย : ม้ง

ภูมิปัญญาการแต่งกาย : ม้ง

ม้ง หมายถึง อิสระชน เดิมอาศัยอยู่ในประเทศจีน ต่อมาชาวจีนเข้ามาปราบปราม เป็นเหตุให้อพยพลงมาถึงตอนใต้ของจีน และเขตอินโดจีน ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 และตอนเหนือของประเทศไทย ประมาณพ.ศ. 2400 โดยมีสองกลุ่มได้แก่ ม้งน้ำเงินและม้งขาว ไม่ชอบให้เรียกว่าแม้ว โดยถือว่าเป็นการดูถูกเหยียดหยาม ประชากรของม้งในประเทศไทย มีมากเป็นอันดับ 2 รองจากกะเหรี่ยง ตั้งถิ่นฐานอยู่ตามภูเขาสูง หรือที่ราบเชิงเขาในเขตพื้นที่จังหวัดเชียงราย พะเยา น่าน เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน แพร่ ลำปาง กำแพงเพชร เลย พิษณุโลก เพชรบูรณ์ สุโขทัย และตาก

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 5,279

การบูรฟักทอง

การบูรฟักทอง

เริ่มมาจากมีการก่อตั้งกลุ่มรวมใจเพชรน้ำหนึ่ง ที่เกิดจากการที่ป้าบังอรได้ไปสอนให้กับนักศึกษาการศึกษานอกระบบ เพื่อฝึกให้เป็นอาชีพเสริม

เผยแพร่เมื่อ 16-08-2020 ผู้เช้าชม 856

ลายไทย

ลายไทย

จุดเริ่มต้นของการก่อตั้งกลุ่ม เกิดจากความเสื่อมถอยของภูมิปัญญาท้องถิ่นหัตถกรรมเครื่องเงิน ซึ่งช่างฝีมือและคนในท้องถิ่นเริ่มหันไปประกอบอาชีพอื่น ทำให้หัตถกรรมเครื่องเงินในท้องถิ่นลดน้อยลง ในการอนุรักษ์และสืบสานมรดกชิ้นนี้ขึ้น จึงจัดกิจกรรมส่งเสริม พัฒนาเครื่องเงิน ในโอกาสจัดงาน ชาวเขาเผ่าเย้า หรือเมี้ยน ที่เราไปสัมภาษณ์การทำเครื่องเงินเพื่อประดับชุดผู้หญิงของเขาอยู่ที่บ้านเขาน้อย หมู่ที่ 1 ตำบลคลองลานพัฒนา อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร ซึ่งนิยมสร้างบ้านบริเวณที่ลาดชันตามไหล่เขา ผู้หญิงชาวเย้า จะแต่งตัวด้วย เครื่องเงินที่งดงามมาก มีน้ำหนักหลายกิโลกรัม แต่ละชุดจะมีมูลค่าของเครื่องเงินนับแสนบาท จึงทำให้ชายชาวเขา เป็นช่างที่ทำเครื่องเงินได้งดงามมากและหลากหลายรูปแบบมาก

เผยแพร่เมื่อ 06-02-2017 ผู้เช้าชม 994

เครื่องเงินชาวเขาเผ่าเมี่ยน (เย้า) อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร

เครื่องเงินชาวเขาเผ่าเมี่ยน (เย้า) อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร

เครื่องเงินชาวเขาในอำเภอคลองลานจังหวัดกำแพงเพชร ปัจจุบันมีผู้ผลิตอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งกลุ่มผู้ผลิตเครื่องเงินชาวเขานั้น จะแบ่งออกเป็น 2 ชนเผ่าหลักๆ ได้แก่ กลุ่มชนเผ่าเมี่ยน (เย้า) และกลุ่มชนเผ่าม้ง ซึ่งทั้งสองกลุ่มชนเผ่านี้ มีประวัติความเป็นมาเกี่ยวกับการเริ่มต้นทำเครื่องเงินชาวเขาที่แตกต่างกัน คือ กลุ่มชนเผ่าเมี่ยน (เย้า) เป็นช่างผลิตเครื่องเงินขาวเขากลุ่มแรกที่มีวิธีการผลิตสืบทอดงานฝีมือมาจากบรรพบุรุษ สำหรับกลุ่มชนเผ่าม้งนั้น เริ่มต้นทำเครื่องเงินจากการไปฝึกทักษะวิชาชีพที่จังหวัดสุโขทัย เนื่องจากที่นั่นได้ขึ้นชื่อเรื่องวิธีการผลิตเครื่องเงินชาวเขาเผ่าม้งและเมื่อหลังจากที่ชนเผ่าม้งได้เรียนรู้วิธีการผลิตเครื่องเงินแล้ว ก็ได้นำความรู้นั้นมาใช้เป็นการประกอบอาชีพ ณ ถิ่นฐานบ้านเกิดของตน

เผยแพร่เมื่อ 13-06-2022 ผู้เช้าชม 1,086

จักสานไม้ไผ่

จักสานไม้ไผ่

เริ่มสานไม้ไผ่ได้ 30 ปี ทำตั้งแต่รุ่นพ่อรุ่นแม่ แล้วส่งต่อมาให้นางเกษร นางเกษรได้เริ่มทำตั้งแต่อายุ 40 จนถึงปัจจุบันอายุได้ 70 แล้ว จักสานเป็นทุกอย่าง นอกจากนี้นางเกษรยังเป็นวิทยากรให้ตามโรงเรียนต่างๆ ที่ได้เชิญไปให้ความรู้ในเรื่องของการจักสานไม้ไผ่เสมอ และได้จัดตั้งกลุ่มจักสานไม้ไผ่ขึ้นมาเพื่ออนุรักษ์การจักสานไม้ไผ่อีกด้วย

เผยแพร่เมื่อ 16-08-2020 ผู้เช้าชม 2,124

ลีโอฟาร์มวัว

ลีโอฟาร์มวัว

เริ่มเลี้ยงวัวตั้งแต่ปี พ.ศ. 2559 โดยมีเพื่อนของลูกสาวที่อยู่ พงษ์พัฒน์ฟาร์ม เป็นคนแนะนำเพราะเศรษฐกิจไม่ดีจึงหันมาเริ่มเลี้ยงวัวขุนเริ่มแรกเลี้ยง 11 ตัวปัจจุบันมีประมาณ 100 กว่าตัวปัจจุบันมีหลายครัวเรือนที่เลี้ยงวัวครัวเรือนจะเลี้ยงตามทุ่งแต่ผู้ที่ทำการบุกเบิกในการเลี้ยงวัวคือคุณลุงเจ้าของฟาร์ม ลีโอฟาร์มวัว

เผยแพร่เมื่อ 15-08-2020 ผู้เช้าชม 2,056