ตดหมูตดหมา

ตดหมูตดหมา

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้ชม 8,172

[16.5055083, 99.509574, ตดหมูตดหมา]

ตดหมูตดหมา ชื่อสามัญ Fever vine
ตดหมูตดหมา ชื่อวิทยาศาสตร์ Paederia linearis Hook.f. จัดอยู่ในวงศ์เข็ม (RUBIACEAE)
สมุนไพรตดหมูตดหมา มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ตำยานตัวผู้ เครือตดหมา (นครราชสีมา), หญ้าตดหมา (ภาคเหนือ), พังโหม (ภาคกลาง), ย่านพาโหม (ภาคใต้), ตดหมูตดหมาหญ้าตดหมูตดหมา เป็นต้น
หมายเหตุ : ตดหมูตดหมาที่กล่าวถึงในบทความนี้ เป็นพรรณไม้คนละชนิดกับหญ้าตดหมา (Paederia pilifera Hook.f.) และเถาตดหมา (Merremia tridentata (L.) Hallier f.)

ลักษณะของตดหมูตดหมา
        ต้นตดหมูตดหมา จัดเป็นไม้เถาขนาดเล็ก มีกลิ่นเหม็นเขียวเฉพาะและมียาวสีขาวทั้งต้น เจริญเติบโตแบบไม้เลื้อยเนื้ออ่อน ลำต้นเป็นสีเขียว มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2.8-5 เซนติเมตร ก้านใบ กิ่งอ่อน ก้านช่อดอก และผลมีขนสั้น ๆ ปกคลุมอยู่หนาแน่น ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดและการปักชำ เจริญเติบโตได้ในดินทุกชนิด ชอบดินร่วนซุย แสงแดดจัด ทนแล้งได้ดี พบขึ้นทั่วไปในที่รกร้าง ในป่าธรรมชาติ โดยเฉพาะตามป่าผสมผลัดใบ ป่าเต็งรัง และป่าที่กำลังคืนสภาพที่ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 400-800 เมตร ในต่างประเทศพบได้ที่ประเทศอินเดียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ส่วนวิธีการป้องกันและจำจัด สามารถทำได้โดนการใช้วิธีการเขตกรรม (ถาก ตัดให้สั้นเพื่อไม่ให้ออกดอก หรือขุดทิ้ง) และใช้สารเคมีต่าง ๆ
        ใบตดหมูตดหมา ลักษณะของใบเป็นรูปใบหอก ปลายใบแหลมหรือเรียวยาว โคนใบเว้าเป็นรูปหัวใจ ขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 1-2.2 เซนติเมตร และยาวประมาณ 7.1-12 เซนติเมตร ใบเป็นสีเขียวถึงเขียวค่อนข้างเข้ม หน้าใบและหลังใบไม่มีขน แต่จะมีขนสั้น ๆ ละเอียดที่มุมเส้นใบตัดกับเส้นกลางใบ เส้นแขนงใบออกตรงข้ามกันและเยื้องกันบ้าง ปลายเส้นวิ่งไปจนเส้นถัดไป ไม่ถึงขอบใบ เส้นแขนงเล็ก ๆ สานกันเป็นร่างแห มีเส้นแขนงใบข้างละ 4-7 เส้น ก้านใบยาวประมาณ 1.2-2.3 เซนติเมตร
         ดอกตดหมูตดหมา ออกดอกเป็นช่อบริเวณยอดและตามซอกใบ ยาวประมาณ 15-25 เซนติเมตร ดอกย่อยมีจำนวนมากอยู่ชิดติดกันเป็นกระจุก กลีบดอกด้านนอกเป็นสีเขียว ส่วนด้านในเป็นสีม่วงเข้ม ดอกมีลักษณะเป็นรูปกรวยปลายแยกเป็นแฉก 5 แฉกและหยักตื้น โดยจะออกดอกในช่วงเดือนมกราคมถึงเดือนพฤษภาคม
         ผลตดหมูตดหมา ลักษณะของผลเป็นรูปไข่หรือกลมแบน ผลมีขนาดกว้างประมาณ 0.4-0.5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 0.5-0.7 เซนติเมตร ผลจะแก่ในช่วงเมษายนถึงพฤษภาคม

สรรพคุณของตดหมูตดหมา
1. ทั้งต้นมีรสขม สรรพคุณเป็นยาอายุวัฒนะ (ทั้งต้น)
2. ใบมีรสขม ใช้ทำเป็นอาหารบำรุงกำลังคนฟื้นไข้หรือคนชราได้ (ใบ)
3. ใบนำมาตำพอกเวลาปวดศีรษะ อาการปวดศีรษะจะดีขึ้น (ใบ)
4. ช่วยแก้ตัวร้อน (ทั้งต้น)
5. ใช้เป็นยาถอนพิษเหล้า ยาสูบ และพิษจากอาหาร (ทั้งต้น)
6. รากมีรสขมเย็น ใช้ฝนหยอดตา แก้ตาฟาง ตาแฉะ (ราก) ส่วนอีกข้อมูลระบุว่าให้ใช้รากนำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้ตาฟาง ตาแฉะ ตามัว (ราก)
7. ผลและใบใช้เป็นยาแก้อาการปวดฟัน (ใบ,ผล)
8. ใช้แก้อาการอักเสบที่คอและปาก (ยอดอ่อน)
9. รากใช้ต้มกับน้ำดื่มจะช่วยทำให้อาเจียน (ราก)
10. ช่วยขับลม (ทั้งต้น)ยอดและเถาใช้ผสมในตำรับยาแก้ท้องอืด ยาขับลมในลำไส้ บำรุงธาตุ แก้เจ็บท้อง จุกเสียด แน่นท้อง แก้นิ่ว (ยอดและเถา)
11. ทั้งต้นใช้เป็นยาแก้ท้องเสีย (ทั้งต้น)
12. ใช้เป็นยาระบายอ่อน ๆ (ยอดอ่อน)
13. ช่วยขับพยาธิไส้เดือน (ทั้งต้น)
14. รากใช้ฝาทาแก้ริดสีดวงทวาร (ราก)
15. ใบใช้เป็นยาแก้เริม แก้ปวดแสบปวดร้อน (ใบ)
16. ทั้งต้นใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาขับปัสสาวะ (ทั้งต้น)
17. ช่วยแก้พิษงู (ใบ)
18. ใช้เป็นยาขับน้ำนมของสตรี (ยอดอ่อน)
          นอกจากนี้ยังมีสรรพคุณอื่น ๆ นอกเหนือจากที่กล่าวมาแล้วว่ารากมีสรรพคุณแก้โรคตานขโมย รักษาดีซ่าน แก้ท้องเสีย ลำไส้พิการ แก้อาการจุกเสียด ช่วยขับน้ำเหลืองเสีย (ราก), เถามีสรรพคุณแก้ธาตุพิการ เป็นยาอายุวัฒนะ แก้ซาง ตานขโมย แก้ไข้ ตัวร้อน รักษารำมะนาด ท้องเสีย ช่วยขับลมในลำไส้ แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ เป็นยาระบายอ่อน ๆ ช่วยขับพยาธิ แก้ดีรั่ว ใช้ทาแผลที่ถูกงูกัด ช่วยถอนพิษงู (เถา), ใบมีสรรพคุณเป็นยาอายุวัฒนะ แก้ธาตุพิการ แก้ตานซาง แก้ตัวร้อน ไข้จับสั่น แก้รำมะนาด เป็นยาระบายอ่อน ๆ ช่วยขับพยาธิไส้เดือน แก้ดีรั่ว แก้อาการคัน (ใบ), ดอกมีสรรพคุณแก้ไข้จับสั่น ช่วยขับน้ำนม (ดอก), ผลมีสรรพคุณช่วยแก้ไข้จับสั่น หืดไอ แก้มองคร่อ แก้ท้องมาน แก้ริดสีดวง (ผล), นอกจากนี้ยังมีสรรพคุณเป็นยาแก้ไข้สัมประชวร แก้เสมหะ แก้ฟกบวมในท้อง และช่วยบำรุงธาตุไฟ (ไม่ระบุส่วนที่ใช้) (ข้อมูลจากเว็บไซต์ทองไทยแลนด์)

ประโยชน์ของตดหมูตดหมา
1. ใช้เป็นพืชอาหารและสมุนไพร โดยใช้ยอดอ่อนและใบอ่อนนำมากินเป็นผักสดจิ้มกับน้ำพริก แกล้มกับลาบ และตำมะม่วง หรือนำมาต้มหรือลวกรับประทานเป็นผักจิ้มกับน้ำ
    พริก
2. ใช้เป็นอาหารของสัตว์เลี้ยง เช่น โค กระบือ เป็นต้น ต้นมีกลิ่นเหม็นเขียวเพราะมีสาร Methyl mercaptan เมื่อนำมาต้มกลิ่นระเหยไป สามารถนำมาทำอาหารได้
3. ผลใช้ทาฟันทำให้ฟันมีสีดำ
4. รากนำมาปอกเปลือกแช่น้ำ นำไปตำกับข้าวเหนียวนึ่งเพื่อทำข้าวพอง (ข้าวโป่ง) หรือที่คนภาคกลางเรียกว่า "ข้าวเกรียบว่าว"
5. ใช้ปลูกเป็นไม้ดับ ด้วยการปลูกเป็นค้างให้เลื้อย ดอกมีขนาดเล็กแต่ออกดกมีสีสันสวยงาม

คำสำคัญ : สมุนไพร

ที่มา : กมลทิพย์ ประเทศ และคนอื่นๆ. (2543). การสำรวจพรรณไม้ในอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2561). ตดหมูตดหมา. สืบค้น 4 ตุลาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=86&code_db=DB0001&code_type=001

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=86&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

จักรนารายณ์

จักรนารายณ์

ต้นจักรนารายณ์ หรือ ต้นแปะตําปึง มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมในประเทศจีน โดยจัดเป็นพรรณไม้ล้มลุก มีอายุได้หลายปี มีความสูงของต้นประมาณ 30-50 เซนติเมตร ลำต้นและกิ่งก้านเป็นทรงกลมโตประมาณเท่านิ้วก้อยและเป็นสีม่วงแดง ทั้งต้นมีขนขึ้นปกคลุม รากอยู่ใต้ดินเป็นหัวเหง้าและแตกเป็นรากฝอย ขยายพันธุ์ด้วยการตัดกิ่งปักชำ พืชชนิดนี้ไม่ชอบอยู่ในที่ร่มมากนัก ชอบแสงแดดพอสมควร เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วน ชอบน้ำ แต่อย่าให้มีที่รองน้ำที่ก้นกระถาง เพราะรากจะเน่าได้

เผยแพร่เมื่อ 25-05-2020 ผู้เช้าชม 5,621

ข้าว

ข้าว

สำหรับประเทศไทยข้าวที่ปลูกจะเป็นชนิด indica โดยแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ข้าวเจ้าและข้าวเหนียว นอกจากนี้พันธุ์ข้าวยังได้ถูกปรับปรุงและคัดสรรสายพันธุ์มาโดยตลอด จึงทำให้มีหลากหลายสายพันธุ์ทั่วโลกที่มีรสชาติและคุณประโยชน์ของข้าวที่แตกต่างกันออกไป โดยพันธุ์ข้าวไทยที่มีชื่อเสียงระดับโลกก็คือ ข้าวหอมมะลิ โดยข้าวที่มีคุณค่าทางอาหารสูงก็คือ ข้าวกล้อง ข้าวซ้อมมือ ข้าวนึ่งก่อนสี และข้าวเสริมวิตามิน

เผยแพร่เมื่อ 19-05-2020 ผู้เช้าชม 13,293

มะเกลือ

มะเกลือ

มะเกลือ ไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูง 8-15 เมตร อาจสูงได้ถึง 30 เมตร ผลัดใบหรือไม่ผลัดใบ เปลือกสีดำ แตกเป็นสะเก็ดเล็กๆ ตามยาว แก่นสีดำสนิท เนื้อละเอียดมันสวยงาม ทุกส่วนของมะเกลือเมื่อแห้งจะเปลี่ยนเป็นสีดำ ใบอ่อนและกิ่งอ่อนมีขนนุ่มทั้งสองด้าน ใบเดี่ยว เรียงสลับ แผ่นใบรูปไข่ หรือรูปไข่แกมรูปขอบขนาน กว้าง 1.5-4 เซนติเมตร ยาว 4-8 เซนติเมตร ปลายแหลม โคนสอบมน ขอบใบเรียบ ก้านใบยาว 5-10 เซนติเมตร ใบอ่อนมีขนสีเงิน ใบแก่หนา ผิวเรียบมัน ด้านใต้ใบสีเขียวซีด บางเกลี้ยง

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 3,683

ชำมะนาด

ชำมะนาด

ชำมะนาดเป็นไม้เถาเลื้อย ลำต้นแข็งสีเขียวคล้ำตกกระ มีน้ำยางขาว ใบชำมะนาดเป็นใบเดี่ยว ออกตรงข้าม รูปรีกว้างแกมรูปไข่กลับ กว้าง 4-8 ซม. ยาว 7-15 เซนติเมตร ก้านใบยาว 2-3 เซนติเมตร ดอกชำมะนาดสีขาว มีกลิ่นหอม ออกเป็นช่อที่ซอกใบ ใกล้ปลายกิ่ง ช่อดอกยาว 2-6 เซนติเมตร มี 10-15 ดอก กลีบดอกเชื่อมกันเป็นรูปถ้วย ปลายแยกเป็น 5 แฉก เกสรผู้ 5 อัน ติดกันกลางดอกเป็นรูปลูกศร ผลชำมะนาดเมื่อแก่แห้งแตกตามรอยตะเข็บเพียงด้านเดียว

เผยแพร่เมื่อ 28-05-2020 ผู้เช้าชม 2,251

ปอบิด

ปอบิด

ลักษณะ ต้นเป็นไม้พุ่ม สูงประมาณ 2-4 เมตร  ใบเป็นใบเดี่ยว รูปไข่ ปลาบตัด โคนใบรูปหัวใจ  ดอกมีสีส้ม ออกเป็นช่อกระจุก  ผลเป็นฝักบิดเป็นเกลียว  การออกดอกมีสีส้ม ส้มแกมแดง ออกเป็นช่อกระจุกที่ใบการขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด  ประโยชน์ด้านสมุนไพรใช้เปลือกต้นและรากบำรุงธาตุ ผลแห้งแก้ปวดท้อง โรคกระเพาะอาหาร ท้องอืด ท้องเสีย แก้บิด ขับเสมหะ แก้ปวด เคล็ดบวม

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 1,484

ผักขี้หูด

ผักขี้หูด

ต้นผักขี้หูด จัดเป็นไม้ล้มลุกมีอายุ 1 ปี หรือ 2 ปี ลำต้นตั้งตรง มีขนแข็งปกคลุมเล็กน้อย ต้นขึ้นเป็นกอเหมือนกับผักกาดเขียว มีความสูงได้ประมาณ 30-100 เซนติเมตร ลำต้นเป็นรูปทรงกลมหรือทรงกระบอก ส่วนกลางของลำต้นจะกลวง ก้านใบแทงขึ้นจากดิน โดยเป็นผักพื้นบ้านทางภาคเหนือ ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด ชอบขึ้นในที่มีอากาศหนาวเย็นหรือที่มีความชุ่มชื้น หาพบในภาคอื่นได้น้อยมาก ส่วนทางภาคอีสานก็พบได้เฉพาะบนภูสูงเท่านั้น ดังนั้นผักชนิดนี้จึงเป็นที่รู้จักและใช้กันอย่างกว้างขวางทางภาคเหนือ

เผยแพร่เมื่อ 09-07-2020 ผู้เช้าชม 18,987

จันทร์ผา

จันทร์ผา

ลักษณะทั่วไป  ต้นจันทน์ผาเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง มีลำต้นสูงประมาณ 5 – 7 ฟุต ลำต้นแกร่งตั้งตรงเป็นลำเปลือกของลำต้นเกลี้ยงเป็นสีเทานวล  ใบจะแตกออกเป็นช่อ  ตามส่วนยอดหรือ บางทีก็แตกสาขาออกจากลำต้นใหญ่ได้อีกลักษณะของใบจะแคบเรียวยาว ปลายในแหลมรูปหอกขอบใบแหลมรูปหอก ขอบใบเรียบเกลี้ยงมีสีเขียวเข้ม ใบกว้างประมาณ 1.5 – 2 นิ้วยาวประมาณ 1.5 – 2 ฟุต ออกดอกเป็นพวงจะแตกออกตามโคนก้านใบคล้ายจั่นหมากพวงหนึ่ง ประกอบด้วยดอกเล็ก ๆ จำนวนมากมายหลายพันดอกด้วยกัน มีสีขาวดอก ๆ หนึ่งมีอยู่ 6 กลีบตรงกลางดอกจะมีจุดสีแดงสด ดอกบานเต็มที่ ประมาณ .5 นิ้ว จั่นพวงหนึ่งจะยาวห้อยลงมาตั้งแต่ 1.5 – 2 ฟุต

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 7,073

ผักแว่น

ผักแว่น

ผักแว่น จัดเป็นไม้น้ำล้มลุกจำพวกเฟิร์น มีลำต้นสูงได้ถึง 20 เซนติเมตร เจริญเติบโตในน้ำตื้นๆ มีลำต้นเป็นเหง้าเรียวยาวทอดเกาะเลื้อย และแตกกิ่งก้านไม่เป็นระเบียบ มีขนสีน้ำตาลอ่อนๆ ขึ้นปกคลุมและใบอยู่เหนือน้ำ โดยต้นอ่อนจะมีสีเขียว เมื่อแก่แล้วจะเป็นสีน้ำตาล ส่วนของรากสามารถเกาะติดและเจริญอยู่ได้ทั้งบนพื้นดินหรือเจริญอยู่ในน้ำก็ได้ ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เถา ไหล สปอร์ โดยผักแว่นมีเขตกระจายพันธุ์ทั่วไปในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไปจนถึงประเทศญี่ปุ่น สามารถพบได้ทั่วไปตามหนองน้ำที่ชื้นแฉะหรือตามทุ่งนาในช่วงฤดูฝน

เผยแพร่เมื่อ 13-07-2020 ผู้เช้าชม 13,217

ปีบ

ปีบ

ปีบ (Cork Tree, Indian Cork) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกต้น ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ภาคเหนือเรียก กาดสะลอง, กาซะลอง, ก้องกลางดง เป็นต้น โดยเป็นพรรณไม้ที่มีดอกและใบสวย พร้อมกลิ่นที่หอมชื่นใจ มักนิยมนำมาปลูกเป็นไม้ประดับตามบ้านเรือนหรือตามข้างทางเพื่อให้ร่มเงา และดอกปีบนั้นยังถือเป็นต้นไม้ประจำจังหวัดของปราจีนบุรีอีกด้วย และด้วยความที่เป็นต้นไม้ที่ให้ความร่มรื่นแก่ผู้คนจึงได้มีการนำมาเป็นสัญลักษณ์ของการพยาบาลไทย ตลอดจนนำมาทำเป็นเครื่องเรือนสำหรับตกแต่งบ้านเพื่อความสวยงาม พบมากตามป่าดิบแล้ง หรือป่าเบญจพรรณ โดยเฉพาะทางภาคเหนือ, ภาคตะวันตก และตะวันออกเฉียงเหนือของไทยเรา

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 2,034

ผักโขมหนาม

ผักโขมหนาม

ลักษณะทั่วไป  ต้นเป็นพันธุ์ไม้ล้มลุก ที่มีลำต้นตั้งตรง และแตกกิ่งก้านสาขามากมาย ตามโคนต้น    จะเรียบ และเป็นมันแต่ส่วนปลายนั้นจะมีขนปกคลุมอยู่บ้างประปราย ลำต้นมีสีเขียวเป็นมัน แต่บางที่ก็มีสีแดง สูงประมาณ 1 – 2 ฟุต เป็นพรรณไม้ที่มีอายุแค่ปีเดียว ใบเป็นไม้ใบเดี่ยว ออกสลับกันไปตามข้อต้น ลักษณะของใบจะเป็นหอกปลายแหลม โคนใบสอบเข้าหาก้านใบ ขอบใบเป็นคลื่นทั้งสองด้านและที่สังเกตได้ง่ายคือที่โคนก้านใบจะมีหนามแข็งแรงอยู่ 1 คู่ ใบกว้างประมาณ 0.5 – 1.5 นิ้ว ยาว 1.5 – 4 นิ้วมีสีเขียว ดอกจะมีออกเป็นช่อที่ปลายกิ่งและตามง่ามใบ ซึ่งดอกนี้เพศผู้และเมีย จะแยกกันอยู่คนละดอก ดอกเพศเมียจะออกอยู่จะออกอยู่ตรงง่ามใบในลักษณะเป็นกลุ่ม ส่วนเพศผู้ออกตรงปลายกิ่ง เป็นเส้นกลีบดอกมีกลีบอยู่ 5 กลีบ สีเขียวอ่อนสีขาวหรือสีเขียว

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 4,915