ผักชี

ผักชี

เผยแพร่เมื่อ 10-07-2020 ผู้ชม 2,607

[16.4258401, 99.2157273, ผักชี]

ผักชี ชื่อสามัญ Coriander

ผักชี ชื่อวิทยาศาสตร์ Coriandrum sativum L. จัดอยู่ในวงศ์ผักชี (APIACEAE หรือ UMBELLIFERAE)

ผักชี มีชื่อท้องถิ่นอื่นๆ ว่า ผักชีไทย (ความหมายที่เข้าใจโดยทั่วไป), ผักหอม (นครพนม), ยำแย้ (กระบี่), ผักหอมป้อม ผักหอมผอม (ภาคเหนือ), ผักหอมน้อย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) เป็นต้น

ผักชี มีถิ่นกำเนิดในแถบเมดิเตอร์เรเนียน สำหรับแหล่งเพาะปลูกสำคัญ ๆ ในประเทศไทย ได้แก่ จังหวัดราชบุรี จังหวัดนครปฐม และกรุงเทพมหานคร ถ้าเป็นต่างประเทศจะเพาะปลูกในแถบทวีปยุโรป ทวีปอเมริกาใต้ ในประเทศอินเดีย เป็นพืชผักที่สามารถปลูกได้ตลอดปี แต่ช่วงที่เหมาะที่สุดคือฤดูหนาว เพราะจะทำให้ผักชีโตเร็วมาก

ผักชีไทย เป็นผักที่มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว จึงเป็นที่นิยมอย่างมากในการนำมาใช้ประกอบอาหารต่าง ๆ เพื่อทำให้อาหารมีกลิ่นหอมน่ารับประทานมากยิ่งขึ้น แถมยังมีคุณประโยชน์ต่อร่างกายหลากหลายประการอีกด้วย และด้วยสีเขียวสดของผักชีและรูปร่างของใบที่มีความเป็นเอกลักษณ์ ผักชีไทยจึงเป็นที่นิยมในการนำมาทำเป็นผักแต่งจานอาหารให้น่ารับประทานอีกด้วย ซึ่งเป็นที่มาของคำว่า "ผักชีโรยหน้า" ซึ่งมีความหมายว่า ทำอะไรให้ดูดีแค่ภายนอกหรือการทำความดีอย่างผิวเผิน เรื่องอื่นค่อยว่ากันทีหลัง !

การรับประทานผักชีควรรับประทานในปริมาณที่เหมาะสม หากรับประทานมากจนเกินไปอาจจะทำให้มีกลิ่นตัวแรง มีอาการตาลาย ลืมง่ายได้

สรรพคุณของผักชี

  1. ช่วยบำรุงและรักษาสายตา
  2. ช่วยให้เจริญอาหารมากยิ่งขึ้น ด้วยการใช้ผลแห้งนำมาบดเป็นผงรับประทานหรือนำมาต้มกับน้ำดื่ม (ผล, ใบ)
  3. ช่วยบำรุงธาตุในร่างกาย (ใบ)
  4. ช่วยแก้อาการกระหายน้ำ (ใบ)
  5. ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด (ใบ)
  6. ช่วยกระตุ้นการทำงานของเลือดพลาสมาและกล้ามเนื้อ (ใบ)
  7. ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็ง (ใบ)
  8. ช่วยขับเหงื่อ ด้วยการใช้ต้นสดประมาณ 60 กรัมนำไปต้มกับน้ำดื่ม หรือจะคั้นเอาเฉพาะน้ำมาดื่มแก้อาการก็ได้ (ทั้งต้น)
  9. ใช้เป็นน้ำกระสายยา ช่วยกระทุ้งพิษไข้หัว ไข้อีดำอีแดง (ราก)
  10. ช่วยแก้อาการหวัด (ใบ)
  11. ช่วยแก้ไอ (ใบ)
  12. ช่วยละลายเสมหะ ด้วยการใช้ต้นสดประมาณ 60 กรัมนำไปต้มกับน้ำดื่ม หรือจะคั้นเอาเฉพาะน้ำมาดื่มแก้อาการก็ได้ (ทั้งต้น)
  13. ช่วยแก้อาการสะอึก (ใบ)
  14. ช่วยแก้อาการคลื่นไส้อาเจียน (ใบ)
  15. ช่วยแก้อาการวิงเวียนศีรษะ (ใบ)
  16. ช่วยแก้อาการอาหารเป็นพิษ (ใบ)
  17. ใช้แก้อาการปวดฟัน เจ็บปาก ด้วยการใช้ผลนำมาต้มน้ำ แล้วนำมาอมบ้วนปากบ่อย ๆ (ผล)
  18. ช่วยบำรุงกระเพาะอาหาร ด้วยการใช้ผลแห้งนำมาบดเป็นผงรับประทานหรือนำมาต้มกับน้ำดื่ม (ผล)
  19. ผลแก่ใช้เป็นเครื่องเทศ มีกลิ่นหอม เมื่อใช้ผสมกับตัวยาอื่น จะช่วยกระตุ้นต่อมในกระเพาะอาหารและลำไส้ เพิ่มน้ำดีให้มากขึ้น (ผลแก่)
  20. ช่วยรักษาอาการปวดท้อง (ผล)
  21. ช่วยแก้อาการบิด ถ่ายเป็นเลือด ด้วยการใช้ผลประมาณ 1 ถ้วยชา นำมาตำผสมกับน้ำตาลทรายแล้วนำมาผสมน้ำดื่ม (ผล)
  22. ช่วยแก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ด้วยการใช้ผลประมาณ 2 ช้อนชานำมาต้มกับน้ำดื่ม (ผล)
  23. ช่วยย่อยอาหาร (ผล, ใบ)
  24. ช่วยขับลมในกระเพาะ (ใบ)
  25. ช่วยรักษาโรคริดสีดวงทวาร มีเลือดออก ด้วยการใช้ผลสดนำมาบดให้แตกผสมกับเหล้า ดื่มวันละ 5 ครั้ง หรือจะใช้ต้นสดประมาณ 120 กรัม นำมาใส่นม 2 แก้วผสมน้ำตาลดื่ม (ผล, ต้นสด)
  26. ช่วยแก้พิษตานซาง (ใบ)
  27. ช่วยแก้ตับอักเสบ (ใบ)
  28. ช่วยขับลมพิษ (ใบ)
  29. ช่วยแก้โรคหัด (ใบ)
  30. ใช้รักษาเหือด หิด อีสุกอีใส (ราก)
  31. ช่วยต่อต้านเชื้อรา เชื้อแบคทีเรีย และไข่ของแมลง (ใบ)
  32. ช่วยแก้เด็กเป็นผื่นแดง ไฟลามทุ่ง ด้วยการใช้ต้นสด นำมาหั่นเป็นฝอย ๆ ใส่ลงไปในเหล้าแล้วต้มให้เดือด นำมาใช้ทา (ต้นสด)
  33. ช่วยให้ผื่นหัดออกเร็วขึ้น โดยใช้ต้นสดนำมาหั่นเป็นฝอย ๆ ใส่ลงไปในเหล้า ต้มให้เดือด นำมาใช้ทา (ต้นสด)
  34. ช่วยลดอาการปวดบวมตามข้อ (ใบ)

ประโยชน์ของผักชี

  • ใบนำมารับประทานเป็นผักแนม รับประทานกับอาหารอื่น หรือนำมาใช้ปรับแต่งหน้าอาหาร (ใบ)
  • ช่วยถนอมอาหาร (ใบ)
  • ช่วยดับกลิ่นเนื้อและกลิ่นคาวต่าง ๆ (ผล)

คำสำคัญ : ผักชี

ที่มา : https://medthai.com/

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). ผักชี. สืบค้น 21 มิถุนายน 2568, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=1690&code_db=610010&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1690&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

ชำมะเลียง

ชำมะเลียง

ชำมะเลียงเป็นไม้พุ่มถึงไม้ต้นขนาดเล็ก สูงได้ถึง 8 เมตร ใบชำมะเลียงเป็นใบ ประกอบแบบขนนก ใบย่อยรูปไข่ถึงรูปไข่กลับ กว้าง 2-8 ซม. ยาว 9-30 ซม. ปลายใบแหลมทู่ โคนใบสอบ ผิวใบเกลี้ยง มีหูใบ แผ่เป็นแผ่น รูปเกือบกลม ขนาดกว้าง 2-3.5 ซม. เรียงเวียน ซ้อนกันบริเวณโคนก้านใบใกล้ปลายยอด ดอกชำมะเลียงสีขาวครีม ออกเป็น ช่อห้อย ยาวถึง 75 ซม. แยกเพศ ดอกบานกว้าง 5-7 มม. กลีบรองดอก 4 กลีบ รูปเกือบกลม กลีบดอก 4 กลีบ เกสรผู้ 5-8 อัน รังไข่มี 2 ช่อง

  • ผลชำมะเลียงรูปไข่ถึงรูปรีป้อม สีม่วงดำถึงออกแดง ผิวเกลี้ยงมักมี 2 เมล็ด

เผยแพร่เมื่อ 28-05-2020 ผู้เช้าชม 2,293

บานเย็น

บานเย็น

บานเย็น มีถิ่นกำเนิดในประเทศเปรู เม็กซิโก อเมริกากลาง และมีเขตการกระจายพันธุ์เฉพาะในทวีปอเมริกาใต้ และบางครั้งอาจขึ้นเป็นวัชพืช โดยจัดเป็นไม้พุ่มเนื้ออ่อนมีอายุหลายปี มีเหง้าหรือหัวอยู่ใต้ดิน ลำต้นมีความสูงประมาณ 1-1.5 เมตร มีลำต้นสีแดงออกนวลเล็กน้อย แตกกิ่งก้านจำนวนมาก เป็นทรงพุ่มแผ่กว้าง เป็นไม้ที่เลี้ยงง่าย ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด ควรปลูกไว้กลางแจ้งและดินที่ปลูกควรเป็นดินร่วนมีธาตุอาหารสมบูรณ์ ต้องการน้ำและความชื้นปานกลาง

เผยแพร่เมื่อ 02-06-2020 ผู้เช้าชม 13,570

โด่ไม่รู้ล้ม

โด่ไม่รู้ล้ม

โด่ไม่รู้ล้ม (Prickly Leaved Elephant’s Foot) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกหญ้า ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ภาคเหนือเรียก หนาดผา, หญ้าสามสิบสองหาบ หรือหญ้าไก่นกคุ้ม ส่วนภาคใต้เรียก หญ้าปราบ ชัยภูมิเรียก คิงไฟนกคุ้ม สุราษฎร์ธานีเรียก หนาดมีแคลน ชาวกะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอนเรียก ตะชีโกวะ ชาวกะเหรี่ยงเรียก นกคุ้มหนาดผา หรือหญ้าไฟ ส่วนชาวจีนแต้จิ๋วเรียก โช่วตี่ต้า และชาวจีนกลางเรียก ขู่ตี่ต่าน เป็นต้น โดยลักษณะพิเศษตามชื่อของต้นโด่ไม่รู้ล้มนี้คือ เมื่อถูกเหยียบหรือถูกทับแล้วจะสามารถดีดตัวขึ้นมาใหม่ได้ตลอด เรียกว่าสมชื่อโด่ไม่รู้ล้มจริงๆ ซึ่งสามารถขยายพันธุ์ได้โดยการใช้เมล็ด ชอบขึ้นตามป่าโปร่ง, ป่าดิบ, ป่าเต็งรัง, ป่าสนเขา หรือดินทราย เรียกได้ว่าแทบทุกภาคในประเทศไทยเลยทีเดียว รวมทั้งประเทศในเขตร้อนด้วย

เผยแพร่เมื่อ 08-05-2020 ผู้เช้าชม 7,391

กระเช้าสีดา

กระเช้าสีดา

ต้นกระเช้าสีดาไม้เถา รากมีเนื้อแข็ง กิ่งยาวเรียวเป็นร่อง ใบกระเช้าสีดาใบเดี่ยวเรียงสลับ รูปสามเหลี่ยมแคบ กว้าง 5-5 ซม. ยาว 5-10 ซม. ปลายเรียวแหลม โคนตัดตรง ขอบเรียบหรือเป็นคลื่นเล็กน้อย เส้นใบออกจากโคนใบ 3-5 เส้น ใบมีกลิ่น ดอกกระเช้าสีดาช่อดอกสั้น ออกตามง่ามใบ กลิ่นเหม็น ช่อหนึ่งมีเพียง 2-3 ดอก ก้านดอกยาว 5-1 ซม. กลีบดอกมีเพียงชั้นเดียว ยาว 2-3.5 ซม. เชื่อมติดกันเป็นหลอด โคนหลอดพองออกเป็นกระเปาะกลม กระเปาะและหลอดดอกด้านนอกสีเขียวอ่อน ภายในกระเปาะเป็นที่ดักย่อยแมลงเพื่อเป็นอาหารเสริม 

เผยแพร่เมื่อ 13-05-2020 ผู้เช้าชม 8,410

แห้ม

แห้ม

ต้นแห้ม หรือ ต้นแฮ่ม จัดเป็นพืชวงศ์เดียวกับบอระเพ็ด ลำต้นที่นำมาใช้เป็นยาสมุนไพร จะมีลักษณะเป็นชิ้นหรือแท่งตรงทรงกระบอก เรียกว่า "Coscinium" อาจพบในขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางถึง 10 เซนติเมตร ผิวภายนอกเป็นสีน้ำตาลเหลือง ส่วนเนื้อในเป็นสีเหลือง ไม่มีกลิ่นแต่มีรสขม โดยพืชชนิดนี้ถูกบรรจุอยู่ใน The British Phamaceutical Codex 1991 ภายใต้หัวข้อ Coscinium[1] ยังไม่มีการปลูกในประเทศไทย และต้องนำเข้ามาจากประเทศลาวเท่านั้น สามารถหาซื้อได้ตามร้านขายสมุนไพร โดยจะมีทั้งแบบที่เป็นผงสีเหลือง (คล้ายขมิ้น) และแบบที่หั่นเป็นชิ้นเฉียงๆ หนาประมาณ 2-3 มิลลิเมตร เนื้อไม้มีรูพรุนและเป็นสีเหลือง

เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 7,491

หนุมานประสานกาย

หนุมานประสานกาย

หนุมานประสานกาย จัดเป็นพรรณไม้พุ่ม ที่มีลำต้นสูงประมาณ 1-4 เมตร ผิวของลำต้นค่อนข้างเรียบเกลี้ยง ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด ตอนกิ่ง และปักชำ เจริญเติบโตได้ดีในดินทุกประเภท ต้องการน้ำและความชื้นปานกลาง และเป็นพรรณไม้กลางแจ้ง ใบเป็นใบประกอบแบบนิ้วมือ ออกเรียงสลับ ลักษณะของใบย่อยเป็นรูปยาวรี รูปวงรี หรือรูปใบหอก ปลายใบเรียวแหลม โคนใบมีหูใบซึ่งจะติดอยู่กับก้านใบพอดี ส่วนริบขอบใบเป็นคลื่นเล็กน้อย พื้นผิวใบเรียบเป็นมัน ส่วนก้านใบย่อยยาวได้ประมาณ 8-25 มิลลิเมตร

เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 12,341

ชะพลู

ชะพลู

ชะพลู (Wildbetal Leafbush) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกต้น ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ภาคใต้เรียก นมวา ส่วนภาคอีสานเรียก ผักอีไร หรือช้าพลูต้น และภาคเหนือเรียก ผักปูนก, พลูนก หรือพลูลิง เป็นต้น ซึ่งต้นชะพลูนี้หลายๆ คนอาจเข้าใจผิดคิดว่าเป็นต้นพลูที่ไว้รับประทานกับหมาก ด้วยชื่อและลักษณะที่คล้ายกัน แต่ในความจริงแล้วเป็นคนละชนิดกัน ต้นชะพลูนั้นจะมีขนาดเล็กกว่าต้นพลู ส่วนใบพลูจะมีรสจัดกว่าชะพลู โดยต้นชะพลูนี้มักชอบขึ้นในพื้นที่ลุ่มที่มีความชื้น และขยายพันธุ์โดยการปักชำ

เผยแพร่เมื่อ 08-05-2020 ผู้เช้าชม 5,371

ขิง

ขิง

ขิงเป็นไม้ล้มลุก มีเหง้าอยู่ใต้ดินสีน้ำตาลอมเหลือง ส่วนเนื้อในจะเป็นสีนวลๆ มีกลิ่นอันเป็นเอกลักษณ์ของขิง ขึ้นโดยการแทงหน่อหรือลำต้นเทียมขึ้นมาบนดิน ส่วนใบเป็นใบเดี่ยวออกแบบเรียงสลับกันเป็นรูปขอบขนาน แผ่นใบสีเขียวเข้ม ขอบเรียบ และดอกนั้นจะออกเป็นช่อสีเหลืองอมเขียว แทงออกมาจากเหง้าใต้ดิน ส่วนผลจะมีลักษณะกลมและแห้ง ข้างในมีเมล็ดมากมาย

เผยแพร่เมื่อ 29-04-2020 ผู้เช้าชม 5,345

กระดูกไก่

กระดูกไก่

ต้นกระดูกไก่เป็นพรรณไม้พุ่มที่มีความสูงประมาณ 5-2.5 เมตร ลำต้นมีข้อบวมพอง ใบกระดูกไก่เป็นใบเดี่ยว ออกตรงข้ามกันเป็นคู่ ๆ ใบมีลักษณะเป็นรูปรี หรือรูปหอก ปลายและโคนเป็นใบเรียวแหลม ขนาดของใบกว้างประมาณ 5-4 นิ้ว ยาวประมาณ 3-8 นิ้ว ริมขอบใบหยัก ผิวใบบาง ก้านใบยาวประมาณ 0.2-1.5 ซม. ดอกกระดูกไก่ออกเป็นช่อ ติดก้านช่อดอก ดอกไม่มีกลีบดอกหรือกลีบรองดอก แต่จะไม่มีใบประดับและเกสรตัวผู้เป็นสีขาว ซึ่งจะออกเรียงกันอยู่ข้างใน และมีอับเรณู 4 พู รังไข่ 1 ช่อง เชื่อมติดกันอยู่โคนใบประดับ

เผยแพร่เมื่อ 13-05-2020 ผู้เช้าชม 4,038

กุยช่าย

กุยช่าย

กุยช่าย (Chinese Chive) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกผัก ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ภาคเหนือเรียกหัวซู ภาคอีสานเรียกหอมแป้น กูไฉ่ หรือผักแป้น เป็นต้น ซึ่งโดยทั่วไปกุยช่ายนั้นจะมีอยู่ด้วยกัน 2 ประเภท คือ กุยช่ายเขียว และกุยช่ายขาว โดยทั้งสองสายพันธุ์นี้ก็ไม่ได้แตกต่างอะไรกันเลย เพียงแต่จะต่างในเรื่องของการปลูกและดูแลรักษาเท่านั้น

เผยแพร่เมื่อ 29-04-2020 ผู้เช้าชม 3,358