คันทรง

คันทรง

เผยแพร่เมื่อ 25-05-2020 ผู้ชม 3,476

[16.4258401, 99.2157273, คันทรง]

คันทรง ชื่อวิทยาศาสตร์ Colubrina asiatica (L.) Brongn. จัดอยู่ในวงศ์พุทรา (RHAMNACEAE) 
สมุนไพรคันทรง มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ก้านตรง (สุรินทร์), ก้านถึง ก้านเถิ่ง ก้านเถิง ผักก้านเถิง (ภาคเหนือ), คันซง คันซุง คันชุง คันทรง (ภาคกลาง), กะทรง ทรง (ภาคใต้), เพลโพเด๊าะ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), ผักหวานต้น (ลั้วะ), ก้านเถง ผักก้านตรง ผักก้านถึง ผักคันทรง เป็นต้น

ลักษณะของคันทรง
        ต้นคันทรง จัดเป็นไม้พุ่มขนาดกลางกึ่งไม้เลื้อย ลำต้นตั้งตรงและมีความสูงของต้นประมาณ 2-3 เมตร บ้างว่าสูงได้ประมาณ 1-9 เมตร แตกกิ่งก้านมากตั้งแต่โคนต้น กิ่งก้านมีขนาดเล็กกลมสีเขียว กิ่งก้านสีเขียวเข้มเป็นมัน เปลือกต้นเป็นสีเทา มีรอยแตกเป็นร่องตื้น ๆ ถี่ ๆ และตามลำต้นจะมีตาที่ทิ้งใบเป็นตุ่มห่าง ๆ ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เมล็ดและวิธีการปักชำลำต้น มักขึ้นเองตามป่าราบ ป่าดงดิบ ป่าละเมาะ หรือที่รกร้างข้างทางทั่วไป โดยจะพบได้มากทางภาคเหนือ บ้างว่าพบได้มากตามชายทะเลหรือชายหาดหินปูน
        ใบคันทรง ใบเป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปรี รูปไข่ รูปไข่กว้าง หรือรูปหัวใจ ปลายใบเรียวแหลม โคนใบมนหรือแหลม ส่วนขอบใบหยักมนแกมจักเป็นฟันเลื่อยละเอียด ใบมีขนาดกว้างประมาณ 3-6 เซนติเมตรและยาวประมาณ 5-9 เซนติเมตร แผ่นใบบาง หลังใบเรียบเป็นมันและเป็นสีเขียวเข้มกว่าท้องใบ ส่วนท้องใบเรียบมีขนที่เส้นใบ ผิวใบทั้งสองด้านมันเงา โดยมีเส้นใบ 3 เส้นออกจากโคนใบ เส้นใบข้างอีก 3-4 เส้นออกจากเส้นกลางใบ ก้านใบยาวประมาณ 1-1.6 เซนติเมตร มีหูใบขนาดเล็กยาวประมาณ 1-1.5 มิลลิเมตร
         ดอกคันทรง ออกดอกเป็นช่อกระจุกเล็ก ๆ ตามซอกใบตามกิ่ง ช่อดอกยาวประมาณ 1 เซนติเมตร ก้านเรียงเป็นแถวเป็นช่อเล็ก ๆ ในแต่ละช่อดอกจะมีดอกย่อยอยู่ประมาณ 8-14 ดอก ดอกย่อยมีขนาดเล็ก เมื่อดอกบานจะมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 0.4-0.5 เซนติเมตร ดอกเป็นสีเหลืองอ่อนปนเขียว มีกลิ่นหอมอ่อน ๆ ในดอกย่อยจะประกอบไปด้วยดอกสมบูรณ์เพศประมาณ 2-3 ดอก และดอกเพศผู้อีกหลายดอก ลักษณะของดอกเป็นรูปจาน ดอกมีเกสรเพศผู้จำนวน 5 ก้าน กลีบดอกเป็นสีเหลืองแกมเขียวมี 5 กลีบ ปลายกลีบดอกแหลม ส่วนโคนกลีบดอกติดกันที่ฐานดอก จานรองสีเหลืองส้ม มีรังไข่ประมาณ 2-3 ห้องหลอมรวมกับจานรอง ส่วนกลีบเลี้ยงเป็นสีเขียวสดมี 5 กลีบ ลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยม ส่วนก้านดอกสั้น มีความยาวประมาณ 0.2-0.3 เซนติเมตร โดยจะออกดอกช่วงเดือนมิถุนายนถึงเดือนธันวาคม
         ผลคันทรง ผลเป็นผลเดี่ยว ลักษณะเป็นรูปทรงกลมหรือกลมแป้น ที่ขั้วผลมีวงกลีบเลี้ยงสีเขียวติดอยู่ เรียงห้อยลงเป็นแถว ๆ ตามกิ่ง ปลายผลเว้าเข้าแบ่งออกเป็นพู 3 พู ผลเป็นสีเขียวแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเมื่อผลแก่ ผลมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 0.8-0.9 เซนติเมตร ผิวผลเรียบเป็นมัน มีก้านผลที่ยาวประมาณ 0.4-0.6 เซนติเมตร ภายในผลมีเมล็ดขนาดเล็กจำนวน 3 เมล็ด เมล็ดมีลักษณะแบนและเป็นสีดำหรือเป็นสีน้ำตาลเทา มีขนาด 0.5-0.6 x 0.4-0.5 เซนติเมตร โดยจะติดผลในช่วงเดือนกันยายนถึงเดือนธันวาคม

สรรพคุณของคันทรง
1. ใบมีรสขม ช่วยทำให้เจริญอาหาร (ใบ)
2. ช่วยแก้อาการปวดศีรษะ (น้ำมันจากเมล็ด)
3. รากมีสรรพคุณเป็นยาเย็น ช่วยแก้พิษร้อนถอนพิษไข้ โดยนิยมใช้รากคันทรงร่วมกับรากย่านางและรากผักหวานบ้าน เพื่อใช้เป็นยาหลักในตำรับยาแก้ไข้ แก้ไข้พิษ ไข้ออกตุ่มต่าง ๆ ส่วน
    น้ำมันจากเมล็ดก็มีสรรพคุณเป็นยาแก้ไข้ด้วยเช่นกัน (ราก, น้ำมันจากเมล็ด)
4. รากนำมาฝนกับน้ำมะพร้าวใช้กินแก้ตานขโมยในเด็ก (โรคพยาธิในเด็กอายุระหว่าง 5-13 ปี เป็นโรคที่ทำให้เด็กมีอาการซูบผอม อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร และอาจมีอาการท้องเสียร่วมด้วย)
    (ราก)
5. รากใช้ดินแก้อาการร้อนในกระหายน้ำ (ราก)
6. ทั้งใบและผลมีสารซาโปนิน มีฤทธิ์ทำให้ง่วงนอน การบริโภคมากเกินไปอาจทำให้เกิดอันตรายได้ และสตรีมีครรภ์ไม่ควรรับประทานทั้งใบและผล (ผล, ใบ)
7. ในประเทศมาเลเซียจะใช้ต้นนำมาต้มรับประทานเพื่อช่วยบรรเทาอาการของโรคกระเพาะอาหาร (ต้น)
8. ผลทำให้แท้งบุตร สำหรับสตรีมีครรภ์ไม่ควรรับประทานทั้งผลและใบ (ผล)
9. รากใช้ฝนกับน้ำมะพร้าวกินเป็นยาแก้บวม (ราก)
10. เปลือกต้น ราก หรือใบมีรสฝาดเฝื่อน ช่วยแก้อาการบวมน้ำ (ใบ, เปลือกต้น, ราก)
11. เปลือกต้นและใบใช้ต้มอาบ จะช่วยแก้อาการบวมทั้งตัวเนื่องจากไตและหัวใจพิการ (เปลือกต้นและใบ)
12. ช่วยแก้น้ำเหลืองเสีย (ใบ, เปลือกต้น, ราก)
13. ใบนำมาปรุงเป็นยาต้มใช้ทาบรรเทาอาการระคายเคืองที่ผิว อาการแพ้ ผื่นคัน โรคผิวหนังอักเสบ ฝี และช่วยรักษาโรคผิวหนังได้บางชนิด (ใบ)
14. เปลือกต้นและใบใช้ต้มกับน้ำอาบจะช่วยแก้เม็ดผื่นคันตามตัว (เปลือกต้นและใบ)
15. ช่วยแก้อาการชา ช่วยบรรเทาอาการปวด แก้อาการปวดตามร่างกาย (น้ำมันจากเมล็ด)
16. ปลือกต้นและใบใช้ต้มอาบ ช่วยแก้อาการเหน็บชา (เปลือกต้นและใบ)
17. น้ำมันจากเมล็ดคันทรงใช้รักษาโรคข้อรูมาติกได้ (น้ำมันจากเมล็ด)

ประโยชน์ของคันทรง
      ใบอ่อนและยอดอ่อนนำมานึ่งหรือต้มให้สุก ใช้รับประทานเป็นผักจิ้มร่วมกับน้ำพริก น้ำพริกปลาร้า ตาแดง หรือใช้เป็นผักรองห่อหมก และยังนำมาใส่ในแกงแคร่วมกับผักอื่น ๆ ใช้ทำแกงกับปลาย่าง ใส่ในแกงขนุน ใช้ทำแกงผักคันทรงกุ้งสด นำมาทำแกงส้ม แกงเลี้ยง หรือนำมาผัดกับน้ำมัน
      ชาวฮาวายจะใช้ใบแทนสบู่ (ไม่ได้ระบุว่าใช้อย่างไร)
      ผลใช้เป็นยาเบื่อปลา

คำสำคัญ : คันทรง

ที่มา : ้https://medthai.com/

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). คันทรง. สืบค้น 25 เมษายน 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=1583&code_db=610010&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1583&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

เทียนกิ่ง

เทียนกิ่ง

เทียนกิ่ง (Henna Tree, Mignonette Tree, Sinnamomo, Egyptian Privet) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกต้น ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น เทียนป้อม, เทียนต้น, เทียนย้อม หรือเทียนย้อมมือ เป็นต้น ซึ่งต้นเทียนกิ่งนั้นเป็นพืชพรรณไม้ของต่างประเทศ โดยมีแหล่งกำเนิดอยู่ทางตอนเหนือของประเทศแอฟริกา, ออสเตรเลีย และภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่ในประเทศที่มีสภาพภูมิอากาศที่สามารถเพาะปลูกต้นเทียนกิ่งนี้ได้ดีคือ อียิปต์, อินเดีย และซูดาน

เผยแพร่เมื่อ 08-05-2020 ผู้เช้าชม 4,404

ผักตบชวา

ผักตบชวา

ลักษณะทั่วไป  วัชพืชน้ำที่มีอายุยืนหลายปี สูง 30-90 ซม.  ลำต้นสั้น รากแตกออกจากลำต้น บริเวณข้อ รากสีม่วงดำ เกิดจากสารแอนโทโซยานิน ลำต้นแตกไหล เกิดเป็นลำต้นใหม่ ติดต่อกันไป  ใบออกเป็นกลุ่มรอบลำต้น ใบกว้างใหญ่ มีรูปร่างค่อนข้างกลม ส่วนฐานใบเว้าเข้าหาก้านใบ มีหูใบ ปลายใบมน ขนาดของใบความยาวก้านใบขึ้นกับสภาพความอุดมสมบูรณ์ในบริเวณที่เจริญเติบโตอยู่ ก้านใบจะพองออกภายในมีรูพรุน ลักษณะคล้ายผองนำ ช่วยพยุงให้ลำต้นลอดน้ำได้ ดอกออกเป็นช่อชนิดสไปด์  ออกดอกได้ตลอดปี ในช่อหนึ่ง ๆ  มีดอกย่อย    6-30 ดอก มีก้านช่อดอก กลีบเลี้ยงและกลีบดอกหลอมรวมกัน มีสีม่วง มีจุดเหลืองรวมกันเป็นรูปกรวย  ปลายแยกเป็น  6  กลีบ  มีเกสรตัวผู้  6 ตัว เกสรตัวเมียเป็นเส้นบาง ๆ ที่ส่วนปลายเป็นตุ่มสีขาว

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 3,452

ติ่งตั่ง

ติ่งตั่ง

ต้นติ่งตั่ง จัดเป็นไม้พุ่มเลื้อยขนาดใหญ่หรือไม้เถาเลื้อยเนื้อแข็งขนาดใหญ่ สูงได้ประมาณ 1-5 เมตร เปลือกเป็นสีน้ำตาลมีขนปกคลุม ตามกิ่งอ่อนเป็นสันสี่เหลี่ยม มีขนสีน้ำตาลแกมแดงขึ้นปกคลุม ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด ตอนกิ่ง และปักชำกิ่ง เจริญเติบโตได้ในดินทุกประเภท ชอบแสงแดดจัด น้ำปานกลาง มีถิ่นกำเนิดในอินเดีย จีนตอนใต้ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ส่วนในประเทศไทยพบได้ทุกภาคตามป่าเบญจพรรณและตามป่าดิบแล้งทั่วไป

เผยแพร่เมื่อ 26-05-2020 ผู้เช้าชม 2,752

กากหมากตาฤาษี

กากหมากตาฤาษี

ต้นกากหมากตาฤาษี จัดเป็นพืชเบียน เกาะอาศัยแย่งอาหารจากรากพืชชนิดอื่น มีความสูงได้ประมาณ 10-25 เซนติเมตร ลำต้นอยู่รวมกันเป็นก้อนขนาดใหญ่อยู่ใต้ดิน โดยลำต้นจะมีอยู่หลายสี เช่น สีน้ำตาล สีแดง สีแดงปนน้ำตาล สีเหลือง หรือสีเหลืองปนส้ม มีเขตการกระจายพันธุ์ในอินเดีย จีนตอนใต้ พม่า ภูมิภาคอินโดจีน มาเลเซีย และทวีปออสเตรเลีย ส่วนในประเทศไทยพบได้ทั่วทุกภาคของประเทศ โดยพบขึ้นในป่าดิบชื้นทั่วไป บนเขาสูง ที่ความสูง 500-2,000 เมตร จากระดับน้ำทะเล 

เผยแพร่เมื่อ 18-05-2020 ผู้เช้าชม 2,469

ขลู่

ขลู่

ขลู่ (Indian Marsh Fleabane) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกหญ้า ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ภาคใต้เรียกคลู, หนาดวัว หรือหนาดงิ้ว เป็นต้น โดยพบมากในประเทศเขตร้อนอย่าง ไทย, จีน, มาเลเซีย, ฟิลิปปินส์ ฯลฯ ซึ่งเป็นพืชที่นิยมปลูกกันมากเพราะปลูกค่อนข้างง่าย เรียกว่าขึ้นได้ในดินแทบทุกชนิดเลยทีเดียว โดยเฉพาะในบริเวณพื้นที่ชื้นแฉะ และสามารถขยายพันธุ์ได้โดยการปักชำ

เผยแพร่เมื่อ 29-04-2020 ผู้เช้าชม 2,326

หมาก

หมาก

หมาก มีถิ่นกำเนิดในทวีปเอเชียเขตร้อน จัดเป็นไม้ยืนต้นจำพวกปาล์ม ลำต้นตั้งตรง เป็นต้นเดี่ยวไม่แตกกิ่งก้าน ลักษณะของลำต้นเป็นรูปทรงกระบอก เปลือกลำต้นเป็นรอยขวั้นรอบๆ ขึ้นไปตลอดลำต้น ในระยะแรกจะเจริญเติบโตด้านกว้างและด้านสูง แต่หลังจากหยุดการเจริญเติบโตจะเจริญเติบโตด้านความสูง ต้นหมากมีตายอดส่วนปลายสุดของลำต้น ถ้ายอดตายหมากจะตาย ตายอดจะเป็นที่เกิดของใบหลังจากใบร่วงหล่นจะทิ้งรอยติดของใบไว้ เรียกว่าข้อ ข้อของต้นหมากสามารถคำนวณหาอายุหมากได้ 1 ปี โดยหมากจะมีใบหรือข้อเพิ่มขึ้น 5 ใบ หรือ 5 ข้อ ต้นหมากจะมีเนื้อเป็นเสี้ยนยาวจับตัวกันแน่นบริเวณเปลือกนอกลึกเข้าไปประมาณ 2 เซนติเมตร 

เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 26,847

กระถินเทศ

กระถินเทศ

ต้นกระถินเทศเป็นพรรณไม้พุ่มขนาดย่อม สูงประมาณ 2-4 เมตร ลำต้นมีหนาม ต้นกิ่งก้านจะมีสีคล้ำน้ำตาล กิ่งย่อยมีหนาม กิ่งออกในลักษณะซิกแซ็ก ใบกระถินเทศมีสีเขียวแก่ เป็นใบประกอบ เรียงตัวลักษณะคล้ายขนนก 2 ชั้น ยาว 5-8 ซม. มีใบย่อย 10-20 คู่ หูของใบจะมีหนามยาวประมาณ 1-1.5 ซม. ดอกกระถินเทศเป็นช่อมีลักษณะเป็นพุ่มกลม เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 ซม. มีขนสั้น ๆ คลุมอยู่ มีสีเหลืองเข้ม จะมีกลิ่นหอม กลีบดอกเป็นหลอด ส่วนปลายจะมี 5 กลีบ รังไข่ยาวเป็นหลอด มีเกสรตัวผู้มาก ปลายก้านเกสรตัวเมียงอ ก้านช่อดอกยาวประมาณ 1-3 ซม.

เผยแพร่เมื่อ 13-05-2020 ผู้เช้าชม 2,383

กระเบียน

กระเบียน

ต้นกระเบียน จัดเป็นไม้ยืนต้นผลัดใบขนาดเล็กถึงขนาดกลาง เรือนยอดค่อนข้างเล็ก ไม่เป็นรูปทรง เปลือกต้นเป็นสีเทาเข้มแกมน้ำตาลหรือเป็นสีน้ำตาลหม่น ล่อนออกเป็นแผ่นบางๆ กิ่งก้านแข็งแรงหรืออาจมีหนามตรงออกเป็นคู่ที่ข้อ มักขึ้นเป็นกลุ่มหรือขึ้นประปรายในป่าเบญจพรรณและป่าเต็งรัง ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้ามสลับตั้งฉาก ใบเป็นรูปไข่กลับ กลม หรือรูปรี ปลายใบมนหรือแหลมเป็นติ่งสั้น ๆ โคนใบสอบเรียวไปจนถึงก้านใบ ส่วนขอบใบเรียบหรือเป็นคลื่นเล็กน้อย แผ่นใบเกลี้ยงทั้งสองด้าน ท้องใบมีขนนุ่ม ก้านใบสั้นมาก มีหูใบอยู่ระหว่างก้านใบเป็นรูปสามเหลี่ยม 1 คู่ อยู่ตรงข้ามกัน

เผยแพร่เมื่อ 09-07-2020 ผู้เช้าชม 4,689

มะหาด

มะหาด

มะหาด ต้น ไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ ลำต้นตั้งตรง ผิวเปลือกนอกขรุขระ สีน้ำตาล บริเวณเปลือกของลำต้นมักมีรอยแตก ไหลซึมแห้งติดกันใบเดี่ยวเรียงสลับ รูปไข่รูปยาวรี ปลายแหลม โคนเว้ามน ใบอ่อนมีขอบใบหยักใบแก่ขอบเรียบหูใบเรียวแหลมดอก ช่อกลมเล็ก ๆ สีเขียว อมเหลือง ดอกตัวผู้และดอกตัวเมียอยู่คนละช่อ แต่อยู่บนต้นเดียวกัน ดอกตัวเมียกลีบดอกกลมมนโคนกลีบเชื่อมติดกันเป็นหลอดดอกตัวผู้กลีบเป็นรูปขอบขนานผล เป็นผลรวม กลมแป้นใหญ่ เปลือกนอกขรุขระ เนื้อผลนุ่ม สีเขียว แก่มีสีน้ำตาลเหลือง เมล็ดรูปรี

เผยแพร่เมื่อ 23-02-2017 ผู้เช้าชม 1,320

ไทร

ไทร

ลักษณะทั่วไป  เป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดใหญ่มีลำต้นแข็งแรง บางชนิดมีเรือนยอดพุ่มทรงหนาทึบและบางชนิดเป็นทรงพุ่มโปร่งแต่บางชนิดตามลำต้น จะมีรากอากาศห้อยย้อยตามกิ่งก้าน  ใบต้นไทร มีรูปร่างลักษณะแตกต่างกันไปตามชนิดของมันแต่โดยมากสีของใบจะมีสีเขียวด่างขาว ด่างดำปนเทา หรือสีครีมก็มี  ถิ่นกำเนิดอยู่แถบทวีปเอเชีย อินเดีย ไทย จีน  เป็นไม้กลางแจ้ง ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด ตอนหรือปักชำ

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 3,634