ห่อข้าวสีดา
เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้ชม 1,472
[16.4258401, 99.2157273, ห่อข้าวสีดา]
ห่อข้าวสีดา ชื่อสามัญ Staghorn fern, Crown Staghorn, Disk Staghorn
ห่อข้าวสีดา ชื่อวิทยาศาสตร์ Platycerium coronarium (Mull.) Desv. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Osmunda coronaria Mull.) จัดอยู่ในวงศ์ POLYPODIACEAE
สมุนไพรห่อข้าวสีดา มีชื่อท้องถิ่นอื่นๆ ว่า สายม่าน สายวิสูตร (ชื่อทางการค้าในกรุงเทพฯ), กระจาด กระปรอกกระจาด (ชลบุรี), หัวสีดา (ประจวบคีรีขันธ์), หัวสีดา ห่อข้าวสีดา หัวอีโบ (ภาคอีสาน, ภาคตะวันออก), ห่อข้าวสีดา (ภาคกลาง, ภาคใต้), กระปรอก (ภาคใต้) เป็นต้น
ลักษณะของเฟิร์นห่อข้าวสีดา
- ต้นห่อข้าวสีดา จัดเป็นเฟิร์นที่เกาะอาศัยกับพรรณไม้อื่น เหง้าสั้นๆ มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางมากกว่า 1 เซนติเมตร ลำต้นเป็นเหง้าทอดเลื้อย ปลายยอดเหง้าปกคลุมไปด้วยเกล็ด เป็นแผ่นบางสีน้ำตาล ลักษณะเป็นรูปรีหรือรูปขอบขนาน ยาวประมาณ 1.5-3.5 เซนติเมตร ทั้งต้นเป็นสีเขียวอมเหลือง ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการแยกหน่อต้นใหม่ หรือขยายพันธุ์จากสปอร์ เจริญเติบโตออกใบใหม่ตลอดปีและโตเร็วมาก หากได้รับแสงและความชุ่มชื้นอย่างสม่ำเสมอ และเหง้ายังสามารถแตกกิ่งตายอดใหม่ได้ ห่อข้าวสีดามีเขตการกระจายพันธุ์ในไทย พม่า ลาว เขมร เวียดนาม ฟิลิปปินส์ ภูมิภาคอินโดจีน และมาเลเซีย ในประเทศไทยพบได้มากทางภาคใต้และทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ พบได้บ้างประปรายทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มักขึ้นตามคบไม้ที่มีแสงแดดส่องถึงตามป่าดิบชื้น ป่าดิบแล้ง ป่าโปร่ง และป่าพรุ ที่ระดับความสูงปานกลางจากระดับน้ำทะเล
- ใบห่อข้าวสีดา ใบจะออกรอบ ๆ ลำต้น มีสองชนิด ใบเกล็ดหรือใบที่ไม่สร้างสปอร์ (ใบกาบ) จะมีลักษณะชูตั้งขึ้นเป็นตะกร้า ลักษณะเป็นรูปรี ยาวประมาณ 40-100 เซนติเมตร ขอบใบเว้าเป็นพู แยกเป็นแฉก 2 แฉก ลึกประมาณ 20 เซนติเมตร แฉกย่อยกว้างยาวประมาณ 5 เซนติเมตร ปลายแฉกกลมหรือโค้งมน โคนใบมนกว้าง อวบน้ำ เส้นแขนงใบแตกเป็นแขนง เส้นแขนงใบย่อยเป็นแบบร่างแห
- ส่วนใบแท้หรือใบที่สร้างสปอร์ (ใบชายผ้า) จะมีลักษณะห้อยลง มองดูเหมือนสายม่านหรือตาข่าย มีความยาวกว่า 1 เมตร หรือยาวประมาณ 50-200 เซนติเมตร ใบแยกเป็นหลายพู พูละ 2 แฉก คล้ายกิ่ง ที่โคนแฉกมีขนาดไม่เท่ากัน ช่วงปลายแฉกเท่าๆ กัน เส้นแขนงใบแยกเป็นแฉก 2 แฉก
- แผ่นกลุ่มอับสปอร์ออกเดี่ยวๆ มีลักษณะคล้ายรูปหอยแครง เกือบกลม หรือเว้าเป็นรูปหัวใจ มีขนาดกว้างประมาณ 4-16 เซนติเมตร และยาวประมาณ 2-11 เซนติเมตร และมีก้านยาวได้ถึง 15 เซนติเมตร กลุ่มอับสปอร์จะติดทั่วทั้งแผ่น มีขนกระจุก
ข้อสังเกต : เฟิร์นห่อข้าวสีดา ถ้าสังเกตดูจากใบชายผ้า จะมีลักษณะที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละต้น ซึ่งพอจะแบ่งออกเป็นกลุ่มย่อยๆ อย่างไม่เป็นทางการได้ดังนี้ คือ กลุ่มใบชายผ้าเป็นริ้วแบนและกว้าง (พบทางภาคใต้), กลุ่มใบชายผ้าเป็นริ้วแคบสั้น และกลุ่มใบชายผ้าเป็นริ้วแคบยาว (ทั้งสองกลุ่มหลังนี้พบได้ทางภาคตะวันออก) ซึ่งคาดว่าลักษณะที่แตกต่างกันน่าจะมาจากถิ่นกำเนิด
สรรพคุณของห่อข้าวสีดา
- ใบนำมาต้มกับน้ำอาบหรือดื่มเป็นยาลดไข้ (ใบ)
- ตำรับยาพื้นบ้านล้านนาจะใช้ใบห่อข้าวสีดาผสมกับใบแห้งกล้วยตีบ ใบเปล้าใหญ่ นำมาต้มกับน้ำอาบเป็นยาแก้ไข้สูง (ใบ)
- ใบนำมาต้มกับน้ำอาบหรือดื่มเป็นยาช่วยบรรเทาอาการปวด (ใบ)
- ตำรับยาพื้นบ้านล้านนาจะใช้ใบห่อข้าวสีดานำมาผสมกับรากส้มชื่นและใบกล้วยง้วน แล้วนำมาต้มกับน้ำอาบเป็นยาแก้บวม (ใบ)
- ชาวเขาเผ่าแม้วจะใช้ใบเฉพาะส่วนของชายผ้า นำมาต้มกับน้ำดื่ม รักษาอาการไม่สบายและอ่อนเพลียของสตรีขณะอยู่ไฟหลังคลอด (ใบในส่วนของชายผ้า)
ประโยชน์ของห่อข้าวสีดา
- ใช้ปลูกเป็นไม้ประดับทั่วไป เป็นพืชที่สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดี การนำมาปลูกเลี้ยงจึงไม่ใช่เรื่องยาก ปลูกเป็นไม้เกาะอาศัย ชอบความชื้นสูงและแสงสว่างปานกลาง ไม่ชอบน้ำปริมาณมาก และไม่ทนต่อสภาพอากาศเย็น การนำมาปลูกจึงไม่ควรเอาไว้ในที่ร่มจัด โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝน หากได้รับน้ำมากเกินไปจะทำให้เน่าได้ง่าย
- ในด้านสมุนไพร ใบห่อข้าวสีดาสามารถนำมาใช้เป็นยาแทนใบชายผ้าสีดาได้
คำสำคัญ : ห่อข้าวสีดา
ที่มา : https://medthai.com/
รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). ห่อข้าวสีดา. สืบค้น 10 มิถุนายน 2566, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=1771&code_db=610010&code_type=01
Google search
ชิงชัน (Tamalin, Rosewood, Black-wood) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกต้น ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ภาคอีสานเรียก ประดู่ชิงชัน ส่วนภาคเหนือเรียก เกิดแดง เป็นต้น และที่สำคัญคือต้นชิงชันนี้เป็นต้นไม้ประจำจังหวัดหนองคายอีกด้วย ซึ่งต้นชิงชันนี้จะทำการขยายพันธุ์โดยเมล็ด เป็นไม้กลางแจ้ง ส่วนใหญ่อยู่ในป่าดิบแล้ง หรือป่าเบญจพรรณทั่วไป โดยสามารถเจริญเติบโตได้ดีกับดินทุกชนิดในทุกภาคของประเทศไทย, ลาว และพม่า ยกเว้นในภาคใต้ของไทยเท่านั้นที่ไม่สามารถกระจายพันธุ์ของชิงชันได้ นอกจากนี้จะเห็นได้ว่าต้นชิงชันมักจะเจริญอยู่ร่วมกับไม้ไผ่และไม้สักหรือในป่าเต็งรังด้วย
เผยแพร่เมื่อ 08-05-2020 ผู้เช้าชม 20,350
ต้นผักขี้มด จัดเป็นพุ่ม ลำต้นมีลักษณะตั้งตรงสูงได้ประมาณ 1-2 เมตร ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปขอบขนานแกมรูปใบหอก รูปวงรีแกมรูปไข่กลับ หรือรูปขอบขนานแกมรูปไข่กลับ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 3-5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 7-12 เซนติเมตร ผิวใบมีขนนุ่มละเอียดทั้งสองด้าน ออกดอกเป็นช่อกระจุกที่ซอกใบ มีดอกย่อยหลายดอก กลีบดอกเป็นสีเหลืองแกมเขียว ขนาดเล็ก ผลเป็นผลแห้งและแตกได้ ลักษณะของผลเป็นรูปกลมแป้นสีเขียว มีหลายพู
เผยแพร่เมื่อ 09-07-2020 ผู้เช้าชม 1,604
ต้นมะกล่ำเผือก จัดเป็นไม้เถาเลื้อยพาดพันกับต้นไม้อื่นหรือเลื้อยบนพื้นดิน ยาวประมาณ 50-100 เซนติเมตร ลำต้นแตกกิ่งก้านมากเป็นพุ่มทึบ สีน้ำตาลเข้มอมสีม่วงแดง ก้านเล็กปกคลุมด้วยขนสีเหลืองบาง ๆ เถามีลักษณะกลมเป็นสีเขียว รากมีลักษณะกลมใหญ่ ยาวประมาณ 60 เซนติเมตร มีเขตการกระจายพันธุ์ในจีน ภูฏาน เนปาล อินเดีย บังกลาเทศ ศรีลังกา พม่า ฟิลิปปินส์ ปาปัวนิวกินี ภูมิภาคอินโดจีนและมาเลเซีย โดยมักขึ้นกระจายทั่วไปตามป่าดิบชื้นและป่าดิบแล้งระดับต่ำ
เผยแพร่เมื่อ 10-07-2020 ผู้เช้าชม 1,685
ผักตบไทย มีถิ่นกำเนิดในแถบเชียตะวันออกเฉียงใต้ จัดเป็นไม้ล้มลุกมีอายุได้หลายปี อาศัยอยู่ในน้ำ มีเหง้าใหญ่ แตกลำต้นเป็นกอ มีความสูงได้ประมาณ 50-100 เซนติเมตร ลำต้นอยู่ใต้ดิน ชูก้านใบเหนือระดับน้ำ ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดหรือแยกต้นอ่อนไปปลูกในบริเวณที่ต้องการ มีเขตการกระจายพันธุ์กว้าง พบได้ตั้งแต่อินเดีย เนปาล ศรีลังกา พม่า ภูมิภาคอินโดจีน และภูมิภาคมาเลเซีย ในประเทศไทยพบได้ทุกภาคของประเทศ โดยมักขึ้นตามแหล่งน้ำจืด ริมหนองน้ำ คลองบึง ที่ชื้นแฉะ โคลนตม และตามท้องนาทั่วไป
เผยแพร่เมื่อ 10-07-2020 ผู้เช้าชม 3,604
ต้นกระเจานาเป็นไม้ล้มลุก ต้นเตี้ยเรี่ยพื้นจนถึงสูง 1 เมตร ลำต้นสีแดง เกลี้ยงหรือมีขน ใบกระเจานาใบเดี่ยวเรียงสลับ รูปไข่ กว้าง 3-5 เซนติเมตร ยาว 4-10 เซนติเมตร ปลายแหลม โคนมน ขอบจักฟันเลื่อย จักสุดท้ายตรงโคนใบมีระยางค์ยื่นออกมายาวประมาณ 7 มิลลิเมตร ข้างละ 1 เส้น เส้นแขนงใบออกจากโคนใบ 1 คู่ ยาวเกือบถึงปลายใบ ด้านล่างมีขนและเห็นเส้นแขนงใบชัดเจน ก้านใบยาว 2-3 เซนติเมตร มีขนและเป็นร่องทางด้านบน หูใบรูปสามเหลี่ยมเรียวแหลมยาวประมาณ 3 เซนติเมตร
เผยแพร่เมื่อ 12-05-2020 ผู้เช้าชม 2,033
แคดอกแดง (Cork Wood Tree) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกต้น ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ภาคกลางเรียกแค หรือแคบ้านดอกแดง ส่วนเชียงใหม่เรียกแคแดง เป็นต้น แคดอกแดงนี้เป็นไม้พื้นบ้านเนื้ออ่อน นิยมนำมาปลูกเพื่อเป็นรั้วบ้านเรือน สามารถปลูกได้ในทุกพื้นที่ สามารถขยายพันธุ์ได้ด้วยเมล็ดที่แก่จัด และจะยืนต้นตายมีอายุได้ไม่นาน
เผยแพร่เมื่อ 30-04-2020 ผู้เช้าชม 6,780
หากเอ่ยถึงเรื่องของอาหารเพื่อสุขภาพ แน่นอนว่าเมนูเห็ดย่อมเป็นหนึ่งในอาหารที่หลายๆ คนคิดถึงกันเป็นอันดับแรกๆ ด้วยความที่เห็ดนั้นเป็นอาหารที่มีรสชาติอร่อยถูกปาก ที่ปราศจากไขมัน แคลอรีต่ำ แถมยังมีปริมาณโซเดียมหรือเกลือน้อยมากๆ อีกด้วย เหมาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่ร่างกายอ่อนแอหรือกำลังลดน้ำหนักกันอยู่ และสามารถนำมาประกอบอาหารรับประทานกันได้หลากหลายเมนูมากๆ จึงทำให้หลายๆคนต่างติดใจในเมนูเห็ดกันอย่างมากมาย
เผยแพร่เมื่อ 12-05-2020 ผู้เช้าชม 12,155
ลักษณะทั่วไป เป็นต้นไม้ล้มลุก เป็นไม้พันอาศัย หรือเถาทอดเลื้อย ไปตามพื้นดิน ปลายยอดตั้งขึ้นลำต้นสีเขียวมีข้อเป็นปม มีไหลงอกเป็นต้นใหม่ได้ ใบเป็นใบเดี่ยว สีเขียวเข้ม เรียงสลับ รูปหัวใจ ผิวใบมัน มีเส้นแขนงใบชัดเจน มีกลิ่นหอม และมีรสเผ็ดเล็กน้อย ดอกเป็นช่อออกตามใบรูปทรงกระบอก ห้อยเป็นสาย มีดอกฝอย ขนาดเล็ก แยกเพศ กลีบดอกสีขาว ผลเป็นผลสดสีเขียว ลักษณะกลมผิวมัน ชอบขึ้นอยู่ตามที่ชื้นบริเวณโคนต้นไม้ใหญ่ในที่ร่ม การขยายพันธุ์ โดยการปักชำ แตกหน่อ ตำรายาไทยใช้ทั้งต้นขับเสมหะ ใบเป็นยาขับลม ช่วยเจริญอาหาร ขับเสมหะ รากบำรุงธาตุ นำไปรับประทานเป็นผัก
เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 1,210
เฟื่องฟ้า จัดเป็นไม้ยืนต้นประเภทพุ่มกึ่งเลื้อย มีอายุยืนหลายสิบปี สามารถเลื้อยไปได้ไกลถึง 10 เมตร ลักษณะของทรงพุ่มสามารถตัดแต่งและบังคับทิศทางการเจริญเติบโตได้ ลำต้นมีลักษณะกลมใหญ่ เนื้อแข็ง ผิวเป็นสีเทาหรือสีน้ำตาล ลำต้นเปราะและหักได้ง่าย มีหนามขึ้นตามลำต้นอยู่เหนือใบ หนามมีความยาวประมาณ 0.5-1 เซนติเมตร ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการตอนกิ่ง การปักชำกิ่ง เสียบยอด เจริญเติบโตได้ดีในดินปนทรายระบายน้ำดี ชอบความชื้นต่ำและแสงแดดแบบเต็มวัน
เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 12,320
จันทน์กะพ้อ จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลางไม่ผลัดใบ มีความสูงของต้นประมาณ 5-15 เมตร เรือนยอดเป็นทรงพุ่มกลมโปร่งไม่ค่อยสวย มีใบน้อย แตกกิ่งก้านจำนวนมากที่ยอด กิ่งเปลา เปลือกต้นเรียบเป็นสีน้ำตาลอมเทา หรือสีเทาคล้ำ และมักมียางใสซึมออกมาตามรอยแตก ส่วนเปลือกชั้นเป็นสีเหลือง ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด เจริญเติบโตได้ดีในดินที่มีการระบายน้ำดี มีร่มเงาจากไม้อื่น มีความชื้นในอากาศดี และลมไม่แรงมากนัก มีถิ่นกำเนิดในเอเชียเขตร้อน
เผยแพร่เมื่อ 26-05-2020 ผู้เช้าชม 5,976